ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: Pracob@sb4af.org
ศึกษาและเรียบเรียงจาก “กฎการใช้อำนาจ 48 ข้อ” The 48 Laws of Power”, 1998 โดย Robert Greene and Joost Elffers.
Keywords: power48, Administration, การบริหาร, management, การจัดการ, power, อำนาจ
Enter Action with Boldness
การเข้ากระทำการอย่างเฉียบพลัน
ถ้าไม่แน่ใจ อย่าเพิ่งไปดำเนินการ เหมือนกับสิงโตที่จะล่าเหยื่อ การวิ่งล่าไปอย่างไร้จุดหมายจะทำให้เสียพลัง เมื่อต้องการจัดการกับเหยื่อ ก็ต้องทำอย่างรวดเร็วและเฉียบพลัน ทำแล้วบรรลุวัตถุประสงค์
เมื่อผู้นำจะเคลื่อนไหว ต้องกระทำด้วยความมั่นใจ (Absolute confidence) กระทำอย่างอาจหาญ ความสำคัญของการโกหก คือทำให้ศัตรูไม่สามารถจับโกหกได้ เพราะเป็นการกระทำที่กล้า (Audacity) อย่างที่ฝ่ายศัตรูไม่สามารถคาดคิดได้
Audacity = ความกล้า, ความมุทะลุ, อหังการ, ความไร้มารยาท
หากกระทำการอย่างที่ลังเล ก็จะทำให้ผู้นำไม่อยู่ในสถานะอำนาจอีกต่อไป ผู้นำไม่สามารถนำได้ด้วยคำว่า “อาจจะ” หรือ “ผมคิดว่า” การลังเลหรือรีรอจะทำให้ศัตรูสามารถแทรกเข้ามาได้ “การทำอะไรอย่างครึ่งหัวใจเท่ากับขุดหลุมฝังศพตนเองไปครึ่งหนึ่งแล้ว”
มีหลายสิ่งที่น่าจะทำในโลก บางอย่างง่าย แต่ไม่เป็นประโยชน์ บางอย่างยาก เป็นประโยชน์เหมาะที่จะทำ แต่เวลาและโอกาสยังไม่พร้อม ก็ให้ใช้เวลาคิดและเตรียมการไปก่อน
บางอย่างยาก ท้าทาย เป็นประโยชน์ และโอกาสน่าจะพร้อมแล้ว สถานการณ์สุกงอมแล้ว พร้อมที่จะทำ และเมื่อทำแล้ว ก็ต้องทำอย่างเฉียบพลัน อย่างไม่ให้ตั้งตัวติด ทำแล้วนำไปสู่ชัยชนะในที่สุด
ภาพ นายพลไอเซนเฮาว์ (Eisenhower ) แม่ทัพใหญ่พันธมิตร ในการเตรียมยกพลบุกยุโรปในช่วงแตกหักของ D-Day เพื่อบุกสู่ยุโรปผ่านทางภาคใต้ของฝรั่งเศส ตอนค่ำของวันที่ 5 เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944
ในเกมฟุตบอล เขาไม่ได้นับเวลาที่เป็นฝ่ายรุก ว่าจะสามารถครอบครองบอลได้นานกว่ากัน แต่เขานับกันที่การทำประตู จะรุกไปกี่ครั้ง แต่ถ้าทำประตูไม่ได้ ก็ไม่เรียกว่าชนะ ดังนั้นแผนการเล่นฟุตบอลคือ การรู้จักรับและรู้จักรุก เมื่อจะรุก ก็ต้องรุกอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว แม่นยำ และมีโอกาสทำประตูได้มากที่สุด
ในสงคราม การตัดสินแพ้ชนะไม่ใช่การรบด้วยการทิ้งระเบิดฝ่ายตรงข้ามไปเรื่อยๆ แต่สำคัญที่สุดจะตัดสินกันด้วยการรุกเข้าไปด้วยกองทัพบก การครองพื้นที่ ซึ่งแน่นอนว่ามันจะต้องประทะและมีความสูญเสียเกิดขึ้น
D-Day วันสำคัญ
D-Day เป็นวันที่สัมพันธมิตรบุกขึ้นฝั่งในยุโรป โดยขึ้นฝั่งที่ชายหาดเมืองนอร์มังดี (Normandy landings) โดยมีชื่อเป็นรหัสลับว่า Operation Neptune หรือใช้ชื่อว่า “ฝ่ายพันธมิตรบุกนอร์มังดี” หรือ Operation Overlord ที่ได้กระทำในสงครามโลกครั้งที่สอง การบุกขึ้นฝั่งกระทำเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 เริ่มเวลา 6:30 AM ตามเวลา British Double Summer Time (GMT+2)
ภาพ แผนที่ในการรบวัน D-Day
ในการยกพลขึ้นบกกระทำเป็นสองขั้นตอน คือขั้นแรก การนำพลกระโดดร่มประมาณ 24,000 คน อันประกอบด้วยทหารจากอังกฤษ (British), อเมริกัน (American), แคนาดา (Canadian) ฝรั่งเศสเสรี (Free French) เป็นการนำพลขึ้นฝั่งอย่างรวดเร็วด้วยพลร่ม (airborne troops)
ภาพ การลำเลียงพลด้วยพลร่ม
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของฝ่ายพันธมิตรคือนายพลไอเซนเฮาว์ (General Dwight Eisenhower) โดยมีผู้นำภาคพื้นดินที่เรียกว่า “กองทัพบกที่ 21” (21st Army Group) ได้มอบให้นายพล Bernard Montgomery เป็นผู้บัญชาการปฏิบัติการ ซึ่งในการวางแผนมีนายพลจัตวา Lieutenant-General Frederick Morgan
ภาพ การลำเลียงพลด้วยเรือสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก
ส่วนกำลังส่วนที่ใหญ่ที่สุด และนับเป็นการใช้ทหารจำนวนมากที่สุดถึง 160,000 คน โดยใช้เป็นกองพลสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก (amphibious landing) ที่ได้ปฏิบัติการในวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 โดยมีการใช้กองเรือจำนวน 5,000 ลำเข้าเกี่ยวข้องในการลำเลียงพล
การรุกเข้ายึดต้องใช้ทหารที่บุกเข้ามาจากฝั่งอังกฤษ โดยมีการใช้ทั้งกำลังทางอากาศ เรือ และการบุกภาคพื้นดิน แนวการรุกยาวตลอดแนว 80 กิโลเมตรตลอดชายฝั่งของนอร์มังดีที่แบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ Utah, Omaha, Gold, Juno และ Sword
ความสูญเสีย
ฝ่ายพันธมิตรใช้กำลังทหาร 175,000 นาย ฝ่ายอักษะมีกำลัง 10,000 นาย
ฝ่ายพันธมิตรมีความสูญเสียที่เกิดขึ้น (Casualties and losses) อันด้วยการถูกฆ่า บาดเจ็บ สูญหาย หรือถูกจับประมาณ 10,000 คน ซึ่งประกอบด้วยทหารสหรัฐ (United States) 6,603, ในจำนวนนี้ 2,499 เสียชีวิต ทหารอังกฤษ (United Kingdom) 2,700 คน ทหารแคนาดา (Canada) 1,074 คน เสียชีวิต 359 คน
ฝ่ายอักษะหรือเยอรมัน มีเสียชีวิต 4,000 นาย
No comments:
Post a Comment