ประกอบ คุปรัตน์
Pracob CooparatE-mail: Pracob@sb4af.orgความนำ
ฝึกการใช้จังหวะเวลาอันเหมาะสมบทเรียนหลักสำหรับศิลปะเกี่ยวกับเวลา
(Key Lessons in the Art of Timing)
เงื่อนไขอันเกี่ยวกับเวลา 3 ลักษณะ
1. การต้องใช้เวลาระยะยาว (Long time)
2. ระยะเวลาบังคับ (Forced time) เป็นระยะเวลาสั้นๆที่จะต้องจัดการ
3. เวลาที่จะต้องทำให้เสร็จสิ้น (End time) เพื่อให้จบเกมส์
การจัดการเกี่ยวกับจังหวะเวลา (Mastering Time)
ศึกษาและเรียบเรียงจาก “กฎการใช้อำนาจ 48 ข้อ” The 48 Laws of Power”, 1998 โดย Robert Greene and Joost Elffers.
Keywords: power48, Administration, การบริหาร, management, การจัดการ, power, อำนาจ
Master the Art of Timing
การทำงานไปจำเป็นต้องเร่งรีบ แต่บางครั้งบางอย่างเร่งเกินไปเสียกำลัง แต่ถ้ารอให้จังหวะเหมาะสม แล้วค่อยดำเนินการ จะเสียพลังน้อยกว่า และได้ผลกว่า ในสุภาษิตไทยที่มีสอนกันต่อๆ มา คือ “ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม” อันคนเรานั้นถ้าเราทำตนอย่างเข้าใจเวลา เวลาก็เป็นเพื่อนเรา แต่บางครั้งเราเร่งรีบ ทำไปโดยไม่รู้จังหวะ เวลานั้นก็เป็นศัตรูของเรา
ในทางธุรกิจก็เช่นกัน คนบางคนมีความคิดริเริ่มที่ดีๆ แต่เมื่อเริ่มธุรกิจ นำเสนอผลิตภัณฑ์นั้นๆ ไปล่วงหน้า แต่เมื่อคนไม่เข้าใจ ตลาดยังไม่ยอมรับ สิ่งที่นำเสนอไปก่อนนั้นก็เสียหายไปได้ และที่สำคัญเราอาจไม่มีทรัพยากรเหลือที่จะดำเนินการต่อ หรือแก้ข้อผิดพลาดได้อีก
ภาพ สาย Fibre-optic ที่มีผลต่อการปฏิวัติระบบการรับและส่งสารผ่านสายเคเบิล
Fibre-optic Technologies สามารถนำมาใช้พัฒนาระบบสื่อสาร และยังพัฒนาไปได้อีกมาก แต่การนำมาใช้อย่างเร็วเกินไป ทำให้มีอุปทานในตลาดมากเกินไป จะทำให้ค่าบริการลดลง การแข่งขันในวงการเทคโนโลยีการสื่อสารจะเป็นไปอย่างรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก และหลายๆ ฝ่ายจะต้องล้มและสูญหายไปจากวงการ คนในวงการเทคโนโลยี เขารู้ว่าสิ่งที่เขาค้นพบนั้นในทางเทคนิคพร้อมแล้ว แต่เพราะตลาดจะยังไม่พร้อมที่จะรับผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ เขาก็จะรอไปสักระยะ เพราะเวลาและตลาดเป็นของเขาอยู่แล้ว
อย่ารีบร้อน การรีบทำให้ท่านต้องสูญเสียการควบคุมในช่วงเวลาดังกล่าว จงมีความอดทนเสมอ เหมือนดังท่านจะรู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างกำลังจะดำเนินไปในทิศทางของท่านในที่สุด จึงเป็นคนเหมือนอ่านจังหวะเวลาออก ติดตามเหมือนดมกลิ่นเวลาและแนวโน้มที่จะทำให้ท่านมีอำนาจ เรียนรู้ที่จะหันมายืนข้างหลังเมื่อเวลายังไม่พร้อม สภาพแวดล้อมยังไม่สุกงอม แต่เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว ก็ต้องพร้อมที่จะโจมตีอย่างดุเดือด กระทำแล้วต้องหวังได้ผล
เวลา (Time) เป็นแนวคิดที่มนุษย์ประดิษฐขึ้น ทำให้สิ่งที่เหมือนไม่มีขอบเขต เป็นสิ่งที่ไม่รู้จบ (Eternity) ในจักรวาลเป็นสิ่งที่มนุษย์พอทนได้ และเมื่อมนุษย์เป็นผู้สร้างเวลาขึ้น เราก็เป็นคนที่จะเข้าไปจัดการกับมัน เล่นเกมส์กับมัน เหมือนเวลาของเด็กๆมักจะดูเหมือนมันยาวนาน แต่สำหรับผู้ใหญ่แล้ว เวลาเป็นเรื่องที่สั้นและมาอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ
ท่านที่เป็นผู้นำและนักบริหารไม่ว่าจะในองค์การใด ของราชการ เอกชน หรือการทหาร ท่านก็ต้องมีบทเรียนที่ควรต้องเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะการจัดการกับจังหวะเวลา
1. ท่านต้องเห็นความสำคัญในการตระหนักจิตวิญญาณในเรื่องจังหวะเวลา
2. ท่านต้องทำงานในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวะเวลา (Timing) ต้องคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะมีอะไรที่อาจบิดเบือนผิดพลาด แล้วทำให้เราต้อง “พลาดเรือ” ไม่สามารถบรรลุจุดหมายปลายทางได้ตามที่ต้องการ
3. การตระหนักในเรื่องจังหวะเวลานั้นไม่ใช่จะไปฟังเสียงที่ก่นหรือบ่นดังที่สุด แต่ต้องดูว่าอะไรที่เป็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ และอาจมีความสำคัญอย่างมาก คนบางคนบางกลุ่มอาจเจตนาสร้างเสียงดัง แล้วทำให้ประเด็นนั้นๆมีความสำคัญเกินกว่าความเป็นจริง แต่บางส่วนเป็นวิกฤติมาก จนคนที่ประสบวิกฤติหมดแรง แม้แต่จะแสดงความเห็นใดๆออกมา หรือเพราะเขาเป็นคนไร้อำนาจจนไม่สามารถแสดงอะไรออกมาได้
4. ต้องตระหนักว่า แม้เมื่อจังหวะลมมาแล้ว แต่มิได้หมายความว่าจะต้องวิ่งตามกระแสลมตลอดเวลา หรือกระทำในทันที ท่านไม่จำเป็นต้องรีบเร่งปลูกข้าว เพียงเพราะฝนแรกได้มาถึงแล้ว เพราะมันอาจกลายเป็นฝนมาแบบทิ้งช่วง หากเพาะปลูกอะไรไป ก็จะทำให้แห้งตายไปเพราะขาดน้ำในระยะต่อมา
5. ในการเคลื่อนไหวทางสังคมนั้นมีผลให้เกิดผลปฏิกิริยาตอบสนอง และจะดีมากหากมีการคาดการณ์ได้ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองนั้นจะออกมาในรูปใด คนที่มีประสบการณ์ มีความรู้กว้างขวาง คนที่มีความสามารถในการวิเคราะห์จะเป็นประโยชน์
6. แทนที่จะต้องไต่ยอดคลื่น (Cresting wave) อยู่ในกระแสแนวหน้าเสมอ เราอาจรอให้จังหวะน้ำขึ้น (Tide) ที่จะตามมาอย่างแน่นอนกว่า แล้วพาเราสู่อำนาจ
7. ในบางจังหวะ เราอาจะต้องเสี่ยงพนันเลยว่า เวลาได้สุกงอมแล้ว และทำให้ตัวเองเข้าไปอยู่ในแนวหน้า (Vanguard) การจะอ่านสถานการณ์ว่าสุกงอมแล้วหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ต้องมีความสังเกตสถานการณ์ ตลอดจนมีระบบสืบความลับ (Intelligence) ที่ดีพอ
Vanguard = แนวหน้า, กองหน้า, ระดับแนวหน้า, ทัพหน้า
8. แต่หากเราไม่มีความอดทน แม้มีดาบและโล่อยู่ในมือ แต่เวลาไม่เหมาะสม เราก็อาจพลาดได้ และนั่นก็คือทำให้เป็นฝ่ายแพ้อย่างไม่มีทางเลือก
9. อย่าตัดสินใจ หรือเข้ากระทำการอย่างดิ้นรน ใช้อารมณ์ หรือกระทำการอย่างหุนหัน
10. ต้องมีใจสงบนิ่ง รักษาระดับความนิ่งไม่ทำตัวให้เป็นที่สังเกต อดทน สร้างฐานสนับสนุนให้มั่นคง เพื่อพร้อมที่จะขึ้นสู่อำนาจ
ภาพ Napoleon Bonaparte นักรบและนักยุทธศาสตร์ที่เลื่องชื่อ
Recognize the moment, then, to hide in the grass or slither under a rock, as well as the moment to bare your fangs and attack. Space we can recover, time never. Napoleon Bonaparte, 1769-1821
ต้องตระหนักในจังหวะ แล้วซ่อนตัวในหญ้าหรือหลังหินใหญ่ แล้วรอจังหวะที่จะเข้าโจมตี สำหรับพื้นที่หากเสียไป เราสามารถเข้าครอบครองที่หลังได้ แต่หากเสียเวลาและจังหวะ เราจะไม่มีโอกาสอีกแล้ว ~ นโปเลียน โบนาปาร์ต ค.ศ. 1769-1821
งานบางอย่างต้องใช้เวลาเป็นปี หรือหลายๆปี การทำงานในลักษณะดังกล่าวจึงต้องมีความอดทน และมีคำแนะนำที่อ่อนโยน สุภาพ เพราะการทำงานช่วงยาวๆ คนทำงานอาจขาดขวัญกำลังใจ การบริหารงานช่วงยาวๆเช่นนี้ ต้องบริหารงานอย่างอนุรักษ์ ทำอย่างรอบคอบ ต้องมีศิลปะในการทำงานอย่างไม่หุนหันพลันแล่น แต่ต้องรอจังหวะอันเหมาะสมเป็นช่วงๆไป
บางครั้งการเร่งงานไปเพราะความกลัวและการขาดความอดทน ท่านจะไปสร้างปัญหาใหม่เหมือน “ลิงติดแห” ยิ่งดิ้นก็ยิ่งมัด ต้องใช้เวลาและทรัพยากรเข้าไปแก้ปัญหา ซึ่งกลับจะต้องใช้เวลานานกว่าเดิมที่ตั้งใจไว้
คนที่รีบร้อน (Hasteners) อาจเข้าไปถึงปัญหานั้นได้ก่อน แต่จะมี “ฝุ่นคลุ้งตลบ” มีปัญหาและอันตรายใหม่ๆเกิดขึ้น แล้วเขาก็ต้องประสบกับปัญหาวิกฤติที่ตามด้วยวิกฤติ และต้องคอยแก้ปัญหาที่ตนเองได้สร้างขึ้น
บางจังหวะ การไม่เข้าไปกระทำในช่วงอันตรายนั้นกลับจะเป็นผลดีที่สุด ท่านอาจรอ หรือตั้งใจให้ช้าลง และในขณะที่เวลาผ่านไป ท่านอาจจะพบว่าจังหวะของท่านกำลังตามมาอย่างที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน
เวลาบังคับ นับเป็นเวลาในช่วงสั้นๆที่ท่านต้องจัดการ และทำให้ได้ตามประสงค์ เพื่อไม่ให้เวลาที่เลื่อนนั้นไปกระทบกับส่วนประกอบอื่นๆ ในเรื่องนี้ต้องพิจารณาว่าเป็นการจัดการจังหวะเวลาของฝ่ายท่านเอง หรือไปเกี่ยวกับจังหวะเวลาของศัตรู
หากเป็นเวลาของศัตรู เราบังคับจังหวะเวลาให้เปลี่ยนแปลงได้
การบังคับจังหวะเวลา โดยให้ไปกระทบจังหวะเวลาของฝ่ายอื่นๆ
ทำให้ฝ่ายตรงกันข้ามต้องเร่ง หรือทำให้รอ ทำให้ฝ่ายตรงกันข้ามต้องเสียจังหวะ หรือเข้าใจเรื่องจังหวะเวลาผิดพลาด
ในขณะที่ก่อความสับสนในเรื่องจังหวะเวลาของฝ่ายตรงกันข้าม ท่านอาจอยู่อย่างสงบ ท่านอาจเปิดโอกาสให้กับตนเอง ซึ่งนับเป็นความสำเร็จไปช่วงหนึ่งแล้ว
เวลาที่ต้องจบหรือปิดเกมส์ เป็นเวลาที่แผนจะต้องมีการดำเนินการไปด้วยความเร็วและเต็มกำลัง เราต้องคอยเวลานั้น และเมื่อถึงเวลานั้น ก็จะต้องไม่รีรอ
รอด้วยความอดทน หาจังหวะที่เหมาะเพื่อเข้ากระทำ ทำให้คู่ต่อสู้ผิดฟอร์ม โดยทำให้เขาเสียจังหวะ แต่ทั้งหมดนี้จะไม่เป็นผลเลยหากท้ายสุดท่านเองไม่รู้ว่าจะเผด็จศึกได้อย่างไร
อย่าเป็นคนประเภทที่อดทนเป็นสุดยอด แต่แท้จริงแล้วเป็นพวกที่ไม่รู้จะทำงานให้จบได้อย่างไร
ความอดทนจะไร้ค่าหากไม่ประสมประสานกับความมุ่งมั่นที่จะล้มฝ่ายตรงข้ามให้ได้ในจังหวะเวลาอันเหมาะสม
ท่านอาจรอได้นานเท่าที่จำเป็น แต่เมื่อถึงเวลาที่จะต้องกระทำการแล้ว ก็ต้องสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว
เมื่อเข้ากระทำ ใช้ความเร็วที่จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นอัมพาต กลบเกลื่อนข้อผิดพลาดที่อาจมีขึ้น และทำให้คนประทับใจในสิ่งที่ท่านทำจนประสบความสำเร็จ
Cluttered = เสียงอึกทึก, ความรก, การวุ่นว่าย, เครื่องถ่วง, เสียงดัง, การรวมเป็นกลุ่ม
ประการแรก เมื่อสมองของเราไม่ถูกรบกวนด้วยเรื่องเร่งด่วน เราจะเห็นไปได้ไกลในอนาคต
ประการที่สอง เราจะไม่หลง “กินเหยื่อแล้วติดเบ็ด” ที่คนเขาเอามาล่อ แล้วรักษาตัวรอดได้ในยามที่เสี่ยงอาจเป็นคนหน้าโง่ที่ขาดความอดทนอีกคนหนึ่ง
ประการที่สาม เราจะมีเวลามากขึ้นที่จะยึดหยุ่น แล้วจะมีโอกาสที่เกิดขึ้นที่เราอาจไม่ได้คาดคิดมาก่อน หากเราไม่เร่งดำเนินการเสียแต่ในระยะแรกๆที่ยังไม่พร้อม
ประการที่สี่ เราต้องไม่เคลื่อนจากการทำเรื่องหนึ่งไปยังเรื่องอื่นๆ โดยไม่ได้ทำให้เสร็จเป็นเรื่องๆไป การสร้างฐานอำนาจนั้นต้องใช้เวลาหลายปี ต้องให้แน่ใจว่าฐานนั้นมีความมั่นคง อย่าทำเหมือนเป็นไฟไหม้ฟาง ความสำเร็จที่สร้างอย่างช้าๆและอย่างมั่นใจจะเป็นความสำเร็จที่ยืนยาวกว่า
ในท้ายที่สุด การทำเวลาให้ช้าลง เราจะเข้าใจช่วงเวลาที่เรากำลังดำรงอยู่นี้ ปล่อยให้เรามีระยะห่างจากรีบร้อน และลดความรุนแรงของอารมณ์ เพื่อให้เห็นสิ่งที่จะมา ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คนรีบร้อนมักจะผิดพลาดมองเห็นสิ่งที่เป็นเพียงผิวของปรากฏการณ์ แต่ไม่ใช่เป็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง เห็นเพียงสิ่งที่เขาอยากให้เห็น มันจะดีกว่าหากเราจะได้เห็นในสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริงๆ แม้สิ่งนั้นจะดูไม่น่าชื่นชมนัก หรือมันทำให้งานของท่านหนักขึ้น
No comments:
Post a Comment