Thursday, September 15, 2011

กฎข้อที่ 30 ทำความสำเร็จให้เป็นดังเรื่องง่าย

กฎข้อที่ 30 ทำความสำเร็จให้เป็นดังเรื่องง่าย

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: Pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก “กฎการใช้อำนาจ 48 ข้อThe 48 Laws of Power”, 1998 โดย Robert Greene and Joost Elffers.

Keywords: power48, Administration, การบริหาร, management, การจัดการ, power, อำนาจ

ความนำ

Make your Accomplishments Seem Effortless
ทำให้ความสำเร็จของท่านดูง่ายดาย

นักบริหารต้องมีทักษะที่จะทำงานที่บางครั้งคนอื่นๆ เห็นว่ายาก แต่เราสามารถทำสำเร็จได้ และดูเหมือนทำได้อย่างง่ายๆ สิ่งเหล่านี้ บางที่เรียกว่า ลูกเล่น การที่เราทำบางอย่างให้ประสบความสำเร็จได้โดยง่าย จะทำให้คนอื่นเกิดความทึ่งและประหลาดใจ และถ้าทำสำเร็จสิ่งอื่นๆ ที่ยากกว่า คนก็จะเริ่มเชื่อว่าเราก็น่าจะมีโอกาสทำได้

ดังนั้นเมื่อเริ่มงานใด จงมองหาโอกาสที่จะทำงานที่สำเร็จได้ไม่ยาก ทำแล้วคนพอใจ ทำได้อย่างง่ายๆ เพื่อเรียกศรัทธาไว้เป็นพลังสำหรับที่จะใช้ในการทำงานใหญ่ต่อไป

ลูกเล่นอย่างง่ายๆ และทำได้ไม่ยาก ทำแล้วคนส่วนใหญ่พอใจ ดังเช่น

- เมื่อเข้าสู่อำนาจทางการเมือง คือ ปล่อยนักโทษการเมืองที่เขาถูกจับกุมคุมขังอย่างไม่เป็นธรรม

- การรุกเข้าไปยึดครองบ้านเมืองเขา ก็รีบแก้ปัญหาข้ายากหมากแพง แล้วนำอาหารและน้ำมาแจกจ่ายแก่ประชาชนผู้อดอยาก ดังเช่นสหรัฐเมื่อเข้ายึดครองประเทศญี่ปุ่น สิ่งแรกที่ทำคือการแก้ปัญหาความอดหยากหลังสงคราม

- เมื่อเกิดอุทกภัย และสาธารณภัย ก็มีการนำอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และการไปยังที่เกิดเหตุให้คนได้เห็นหน้า สิ่งเหล่านี้สามารถกระทำได้ทันที ซึ่งกระทำได้ง่ายกว่าการบูรณะเศรษฐกิจของชุมชนภายหลังวิกฤติ แต่หากไม่ใส่ใจ ไม่รู้ร้อนรู้หนาว และไม่รีบดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ศรัทธาที่มีต่อรัฐบาลก็จะเสื่อมไปได้โดยง่าย

อานันท์ ปันยารชุน


ภาพ นายอานันท์ ปันยารชุน

ในสมัยนายอานันท์ ปันยารชุน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยแรกระหว่างวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 ถึง 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 จากการเสนอชื่อโดยพลเอกสุจินดา คราประยูร การมาบริหารประเทศหลังการรัฐประหาร นอกจากมีทหารหนุนหลังแล้ว นอกนั้นต้องอาศัยประสิทธิภาพการบริหาร ที่ต้องแสดงความเป็นมืออาชีพ และความซื่อสัตย์สุจริตเป็นเครื่องทดแทน

การสร้างภาพลักษณ์ของคนทำงานเป็น เลือกคนทำงานที่มีความสามารถ

ภารกิจหลักของรัฐบาลนายอานันท์ในสมัยแรก คือ การร่างรัฐธรรมนูญ และจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายอานันท์ ได้นำบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถ และมีภาพพจน์ที่ดี มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เช่น นายนุกูล ประจวบเหมาะ นายเสนาะ อูนากูล นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ซึ่งเป็นคนทำงานด้านเศรษฐกิจที่มีความเป็นมืออาชีพทั้งจากภาครัฐและเอกชนมาเป็นทีมงานเศรษฐกิจ

การเน้นความโปร่งใส เป็นอิสระจากคณะรัฐประหาร

การบริหารประเทศของนายอานันท์ ได้ประกาศเน้นเรื่อง "ความโปร่งใส" นอกจากนั้นยังดำเนินนโยบายเป็นเอกเทศ ไม่ยอมอยู่ใต้คำสั่งของคณะทหารผู้กระทำการรัฐประหาร หรือคณะรสช. ทำให้รัฐบาลได้รับเสียงชื่นชมจากประชาชน และได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ จนได้รับฉายาว่า "รัฐบาลโปร่งใส" และตัวนายอานันท์เองได้รับฉายาว่า "ผู้ดีรัตนโกสินทร์"

การเลิกนโยบายแทกซี่แบบกำหนดโควตา

ภาพ รถแทกซี่ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันจะไม่มีรถเก่าเหลือวิ่ง เพราะเปิดเป็นแทกซี่เสรี ไม่จำกัดโควต้า ปัจจุบันมัแทกซี่วิ่งอยู่ในกรุงเทพฯมากกว่า 100,000 คัน

สิ่งที่รัฐบาลอานันท์ฯดำเนินการในเวลาไม่นาน คือการเลิกระบบโควตารถแทกซี่ในกรุงเทพนมหานคร เปิดให้มีการจดทะเบียนรถแท็กซี่ได้เสรี โดยก่อนหน้านี้มีรถแทกซี่รุ่นเก่ามากๆ ก็ยังใช้วิ่งตามท้องถนน และเป็นแท็กซี่ที่แม้ติดมิเตอร์ แต่ก็จะใช้การเจรจาต่อรอง โดยประชาชนคนนั่งไม่สามารถให้รถแทกซี่เรียกเก็บค่าโดยสารได้ตามมิเตอร์ ในบรรดาเจ้าของอู่ก็ไม่คิดจะซื้อรถใหม่มาเปลี่ยนรถเก่าที่หมดสภาพ ดังนั้นเมื่อรัฐบาลสั่งเลิกระบบโควตารถแท็กซี่ ก็ทำให้คนขับแท้กซี่ที่มีเงินไม่มาก ก็ไปดาวน์รถคันใหม่ออกมาขับ โดยไม่ต้องไปเสียค่าเช่าราคาแพง ก็มีเงินรายได้พอที่จะผ่อนรถแทกซี่เป็นของตนเองได้ สำหรับรถเก่าที่ค่าป้ายมีราคาถึงแผ่นละ 7-8 แสนบาท ก็ทำให้ไม่มีค่าเหลืออยู่มากนัก รถแทกซี่เก่าก็ถูกขจัดออกไปจากถนน เพราะไม่มีคนใช้บริการอยากเรียกรถเก่า เจ้าของรถเก่าก็ไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้ เพราะผู้ใช้บริการแทกซี่ส่วนใหญ่พอใจกับสภาพรถใหม่ พอใจกับการมีรถแทกซี่ปริมาณมากขึ้น และการเรียกค่าโดยสารที่ต้องมาต่อรองกัน ก็ไม่ต้อง ให้ใช้เรียกเก็บตามแบบสากลในเมืองใหญ่ๆในโลก

การเปลี่ยนนโยบายโดยให้มีแทกซี่เสรีนี้สร้างความพอใจให้กับคนกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่คนที่เป็นเจ้าของรถแทกซี่เก่าแม้ไม่พอใจ แต่ก็เป็นคนส่วนน้อย เขาไม่ได้เสียสิทธิอันใด แม้แท้จริงต้องเสียประโยชน์ที่เคยได้รับมาแบบเดิมอย่างมาก

No comments:

Post a Comment