ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: Pracob@sb4af.org
ศึกษาและเรียบเรียงจาก “กฎการใช้อำนาจ 48 ข้อ” The 48 Laws of Power”, 1998 โดย Robert Greene and Joost Elffers.
Keywords: power48, Administration, การบริหาร, management, การจัดการ, power, อำนาจ
ความนำ
Play to People’s Fantasies
เล่นไปกับความฝันของคน
คนและกลุ่มคนทุกคนมีความฝัน ใช้ความฝันนั้นๆ ให้เป็นประโยชน์ คนยากจนอยากมั่งมี คนรวยแม้มีหลายอย่างพร้อม แต่ก็อยากมีสุขภาพดี มีความมั่นคง ลูกหลานมีอนาคต
ความฝันทุกอย่างมีค่าใช้จ่าย ในบางครั้ง ความจริงเป็นสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง เพราะมันเป็นความน่าเกลียด และไม่น่าชื่นชม ดังนั้นเมื่อจะขายฝัน จึงไม่บอกความจริงเสียทั้งหมด จนกว่าจะแน่ใจและได้เตรียมรับอารมณ์โกรธของคน
แต่ในทางตรงกันข้าม การทำให้คนเดินไปตามความฝัน แม้จะจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง แต่ความฝันและความหวังนั้น แม้จะเป็นดังแหล่งน้ำในทะเลทราย มีน้ำเพียงน้อยนิด แต่คนก็แห่แหนไปหา อำนาจในการทำให้คนแห่แหนไปตามความฝันนั้น จึงเป็นทักษะของนักธุรกิจ นักการเมือง และอาชีพนักการเมืองก็คือนักขายฝันนั่นเอง
คลองปานามา
ตัวอย่างการสร้างคลองปานามาที่เป็นความฝันอันสวยงาม หากสร้างได้เสร็จจริง จะแก้ปัญหาการเดินทางการขนส่งสินค้าด้วยเรือของยุคสมัยได้มากมาย ซึ่งต้องติดตามศึกษาประวัติการสร้างคลองปานามาที่ต้องผ่านวิบากกรรมต่างๆมามากมาย
คลองปานามา หรือ Panama Canal มีความยาว 77 กิโลเมตร เป็นคลองสำหรับเรือเดินทะเลที่จะผ่านบริเวณประเทศปานามา โดยเป็นจุดเชื่อมระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) และมหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ซึ่งสร้างในระหว่างปี ค.ศ. 1904 ถึงปี ค.ศ. 1914 ในระยะเริ่มต้นมีเรือผ่านปีละ 1,000 ลำ จนในปัจจุบัน ปีค.ศ. 2008 มีเรือผ่านปีละ 14,702 ลำ คิดเป็นสินค้ารวม 309.6 ล้านตัน ตลอดรวมตั้งแต่เปิดใช้งานจนปัจจุบัน มีเรือผ่านคิดเป็น 815,000 ลำ คลองปานามาจัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์หนึ่งในเจ็ดของโลกโดยสมาคมวิศวกรรมโยธาแห่งสหรัฐอเมริกา (American Society of Civil Engineers)
งานสร้างคลองปานามานับเป็นงานวิศวกรรมโยธา งานก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและยากที่สุดที่ได้เคยมีการทำกันมา มันมีผลต่อการเดินเรือเชื่อมระหว่างสองมหาสมุทร เป็นการลดระยะทางเดินเรือไปกว่า 9,500 กิโลเมตร
ที่ว่าการสร้างคลองปานามาเป็นเรื่องยากนี้ เพราะในช่วงศตวรรษที่ 16 ก็ได้เคยมีความคิดที่จะสร้างมาแล้ว แต่เทคโนโลยียังไม่พร้อม ตราบจนกระทั่งในปี ค.ศ. 1880 ภายใต้การนำของฝรั่งเศสได้มีความพยายามจะสร้างให้เสร็จ แต่หลังจากประสบความยุ่งยาก และมีผู้เสียชีวิตไป 21,900 คน ส่วนใหญ่ป่วยเป็นไข้มาเลเรีย และไข้เหลือง และดินถล่ม
หลังจากนั้นสหรัฐได้เข้ามาใช้ความพยายามทำเป็นครั้งที่สอง ซึ่งก็ต้องเสียชีวิตผู้คนไปอีก 5,600 คน และมาสำเร็จในปี ค.ศ. 1914
คนที่มีส่วนที่ทำให้การขุดคลองประสบความสำเร็จ
โครงการคลองปานามา ผ่านการออกแบบและควบคุมงานในช่วงยาวนาน ตั้งแต่สมัยฝรั่งเศส มาจนถึงในสมัยของอเมริกัน
ภาพ ประธานาธิบดี Theodore Roosevelt
ภาพ John Frank Stevens วิศวกรใหญ่ควบคุมงาน
วิศวกรใหญ่ที่ทำให้งานสร้างคลองสำเร็จคือ John Frank Stevens ซึ่งเขาเกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1853 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1943 เขาเป็นวิศวกรชาวอเมริกันผู้มีประสบการณ์ในการก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือ (Great Northern Railway) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งนับเป็นงานที่มีความยากลำบากในขนาดใหญ่เช่นกัน เขาได้รับมอบหมายจากประธานาธิบดี Theodore Roosevelt ให้เป็นวิศวกรควบคุมงานก่อสร้างทั้งหมดให้แล้วเสร็จ โดย Roosevelt เป็นฝ่ายบุกเบิกแก้ปัญหาทางการเงินและการเมืองที่ต้องผ่านการสนับสนุนทั้งรัฐสภาสหรัฐและต้องใช้อำนาจทางการทหารเพื่อควบคุมบริเวณดังกล่าวในอเมริกาใต้
งานของวิศวกร Stevens ไม่ได้เน้นไปเพียงด้านเทคโนโลยี แต่เป็นการบริหารจัดการโครงการขนาดใหญ่ โดยเขาต้องเรียนรู้จากปัญหาต่างๆที่ประสบมาในสมัยดำเนินการโดยฝรั่งเศส และเมื่ออเมริกันเข้าดำเนินการแทน ก็ประสบปัญหาด้านสุขอนามัยสืบเนื่องมาเช่นกัน เพราะไม่มีการปรับสภาพสิ่งแวดล้อมให้เหมาะแก่การอยู่อาศัยของคนจำนวนมาก สิ่งที่เขาทำคือ
1. ต้องแก้ปัญหาสุขอนามัย จัดการเขตป่าทึบที่เต็มไปด้วยโรคระบาดอย่างมาเลเรียและไข้เหลือง ปรับปรุงสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนทำงาน ตลอดจนการมีสวัสดิการของครอบครัวที่ต้องย้ายมาอยู่ด้วย
2. การแก้ปัญหาติดขัดในแบบราชการ และการลงทุน ที่ต้องทำให้เป็นที่ยอมรับของฝ่ายการเมืองและประชาชนในสหรัฐอเมริกา
3. การเปลี่ยนแนวคิดจากให้คลองมีระดับน้ำเช่นเดียวกับทะเล มาเป็นให้มีประตูน้ำ (Locks) เพื่อปรับระดับน้ำที่สองฟากมหาสมุทรมีระดับแตกต่างกัน ตลอดจนระดับที่ผ่านแผ่นดินมีบริเวณสูงที่ต้องปรับระดับน้ำ
ภาพ คลองปานามา ที่มีระบบประตู่น้ำ (Locks) ปรับระดับน้ำทะเลที่ต่างกัน
ในที่สุดในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1913 จึงเป็นการระเบิดหินช่วงสุดท้ายที่เป็นการจุดชนวนโดยผ่านทางโทรเลขจากประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในระยะนั้น คือ Woodrow Wilson ซึ่งส่งสัญญาณจากรุงวอชิงตัน ดีซี ในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1914 เรือยกสินค้า (Crane boat) ชื่อ Alexandre La Valley ได้กลายเป็นเรือลำแรกที่สามารถแล่นผ่านคลองปานามาด้วยกำลังแรงเครื่องจักรไอน้ำด้วยตัวเอง นับเป็นการสิ้นสุดระยะการก่อสร้างสุดท้ายของคลอง
ทักษิณกับนโยบายประชานิยม
การชูนโยบาย กองทุนหมู่บ้าน – 30 บาทรักษาทุกโรค – บ้านเอื้ออาทร – แทกซี่เอื้ออาทร – หวยบนดิน – OTOP – เมืองใหม่สุวรรณภูมิ – รถไฟฟ้าราคาถูก ฯลฯ
รถยนต์ไฟฟ้า Nissan Leaf
ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า Nissan Leaf
ภาพ ภายในของรถยนต์ไฟฟ้า Nissan Leaf
Nissan Leaf ซึ่งคำว่า LEAF มาจากคำว่า Leading, Environmentally friendly, Affordable, Family car หรือรถระดับนำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ราคาที่ซื้อหาได้ และเป็นรถสำหรับครอบครัว แต่ในอีกด้านหนึ่ง Leaf คือ “ใบไม้” สัญญลักษณ์ของการดูแลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รถ Nissan Leaf เป็นรถยนต์ไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า Electric car หรือ Electric Vehicle – EV เป็นรถยนต์แบบ 5 ประตูแบบ Hatchback ผลิตโดยบริษัท Nissan ที่นำเสนอโดยฝ่ายญี่ปุ่นและมีตลาดใหญ่ในการเริ่มงานที่สหรัฐอเมริกา โดยสถิติที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ รถสามารถวิ่งได้ 117 กิโลเมตร โดยใช้พลังงาน 765 kilojoules ต่อกิโลเมตร มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่เทียบเท่ากับ 2.9 ลิตร/100 กม. โดยวิ่งได้ 175 กม.ต่อการชาร์ตไฟหนึ่งครั้ง ตามมาตรฐาน New European Driving Cycle
ภาพ อดีตนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นคนที่ 56 นายจุนอิชิโร โคอิซูมิ และ นายกเทศมนตรี เมืองโยโกฮามา ให้เกียรติร่วมแสดงความยินดี โดยมีคาร์ลอส กอส์น (Carlos Ghosn) นายใหญ่ของเรโนลต์ และนิสสัน เป็นทั้งเจ้าบ้าน และผู้ดำเนินรายการ ทั้งหมด บนเวที
ในสหราชอาณาจักรรถยนต์ไฟฟ้า Nissan Leaf มีราคาคันละ GB£30,990 ในสหรัฐอเมริกามีราคาคันละ US$32,780 แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาจะมีการลดภาษีให้ทั้งในระดับรัฐบาลกลาง และรัฐบาลของรัฐหรือเมืองท้องถิ่น ทำให้ราคารถยนต์ลดลงมาเหลือเท่าๆกับรถยนต์ธรรมดาในขนาดเดียวกัน
เพราะความที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าทั้งระบบ (all-electric car) จึงไม่มีการปล่อยควันพิษ (tailpipe pollution) หรือเป็นตัวปัญหาแก๊สเรือนกระจก (greenhouse gas emissions) ทำให้รถนี้ไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันปิโตรเลียมจากต่างประเทศ
Nissan Leaf ได้รับรางวัลมากมายในช่วง 2 ปี ดังเช่น Green Car Vision Award award,[21] ในปี ค.ศ. 2011 ได้รับรางวัล European Car of the Year รางวัลรถยนต์แห่งปี 2011 (World Car of the Year) จัดเป็นรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ดีที่สุดในโลกในเวลาปัจจุบัน เมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ใช้พลังงานทุกรูปแบบ
Carlos Ghosn
ความสำเร็จในการแก้ปัญหาพลังงานปิโตรเลียมกำลังหมดโลก ปัญหาก๊าซเรือนกระจก และโลกร้อน ทำให้ยานพาหนะที่มีส่วนในการใช้พลังงานปิโตรเลียมอย่างมาก ต้องมีทางออกอื่นๆ ที่ทำให้รถยนต์สามารถใช้พลังงานทางเลือกได้ และการแก้ปัญหานี้ต้องมีทั้งฝ่ายที่เป็นนักเทคนิควิทยา และอีกส่วนหนึ่งคือนักบริหาร ที่ต้องนำและจัดการให้เทคโนโลยีได้มีการพัฒนาต่อไปสู่สิ่งที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ซึ่ง Nissan Leaf ส่วนหนึ่งต้องให้เครดิตการนำของ Carlos Ghosn
ภาพ Carlos Ghosn ผู้บริหารใหญ่ CEO ของบริษัทผลิตรถยนต์ Nissan-Renault
Carlos Ghosn เป็นนักธุรกิจชาวเลบานอนเชื้อสายบราซิล ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการบริหารใหญ่ของบริษัท Nissan ของญี่ปุ่น และ Renault ของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งทั้งสองบริษัทรวมกันผลิตรถยนต์มากกว่าร้อยละ 10 ในโลก
Ghosn เป็นคนที่ได้รับการกล่าวขวัญกันมากที่สามารถกู้สถานะของบริษัท Nissan จากการล้มละลายในช่วงปี ค.ศ. 1990s Ghosn ได้รับฉายาว่าเป็น “นักหั่นราคา” (Le cost killer) และนักแก้ปัญหา (Mr. Fix It) เขามีส่วนทำให้ Nissan กลับมาเป็นบริษัทที่มีกำไรได้ ด้วยการปรับโครงสร้างของบริษัท ลดค่าใช้จ่าย มีการออกแบบรถยนต์ของ Nissan ที่มีรูปโฉมที่เปลี่ยนไปทันสมัยแบบยุโรป แต่มีราคาแบบเอเชีย ในระยะหลัง เขามีส่วนตัดสินใจผลัก Nissan ให้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Nissan Leaf แบบข้ามหน้าบริษัท Toyota ที่ยังติดอยู่กับรถยนต์ไฟฟ้าแบบลูกประสม (Hybrid) ร
เพราะความที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าทั้งระบบ ไม่ใช่รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสม (Hybrids) ที่ยังต้องใช้น้ำมันปิโตรเลียมเหมือนกับรถยนต์ Toyota Prius ที่ได้เริ่มมาประมาณ 10 ปีล่วงหน้า ทศวรรษต่อไปนี้ Nissan Leaf จึงจัดเป็นความก้าวหน้าแห่งทศวรรษ ได้รับรางวัลรถยนต์มีวิสัยทัศน์เพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Car Vision Award) รถยนต์แห่งปีของยุโรปในปี ค.ศ. 2011 (2011 European Car of the Year) และรถยนต์แห่งปี 2011 ของโลก (2011 World Car of the Year)
สรุป
คนจะมีอำนาจนั้นส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของการเข้าใจความฝันและความต้องการของคน และต้องทำให้ความฝันนั้นกลายเป็นความจริงอย่างเป็นรูปธรรม
ยกตัวอย่างในประเทศไทย การเป็นสังคมมีกินมีใช้เศรษฐกิจพอเพียง นั่นเป็นทางออกที่เป็นจริง แต่สิ่งที่คนยากจนที่เป็นฐานคะแนนเสียงเขาต้องการสิ่งที่มากกว่า คือเรื่องของปากท้อง รายได้ที่สูงขึ้น มีบ้านที่อยู่อาศัยที่ดีเป็นของตนเอง ลูกหลานมีการศึกษาที่ดีทันสมัย สำหรับเกษตรกร แน่นอนว่าต้องการให้พืชผลที่ผลิตได้มีราคาสูงในตลาด ผลิตแล้วมีกำไร มีน้ำเพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอทั้งปี การทำให้เป็นจริงหรือเชื่อว่าจะเป็นจริงได้นั้น จึงเป็นเรื่องที่จะได้คะแนนเสียงสนับสนุนจากการเลือกตั้ง และนำมาซึ่งอำนาจ แต่การที่ทำให้ความฝันหรือความต้องการนั้นๆเป็นจริง ฝ่ายการเมืองจะต้องมีวิธีการบริหารการเงิน การจัดการทรัพยากร และเทคโนโลยีที่ทำให้สิ่งที่ฝันนั้นเป็นจริงได้อย่างถาวร มิฉะนั้นก็จะเสียอำนาจที่ได้รับความไว้วางใจไปในระยะยาว
No comments:
Post a Comment