รถสามล้อไฟฟ้าบีแมค รุ่น BEMAC 68VM Electric Tricycle ผลิตในประเทศฟิลิปปินส์
ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Keywords: Phyathai Superblock, e-trike, e-tuk tuk, BEMAC e-trike, Pecolo E-trike
ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Keywords: Phyathai Superblock, e-trike, e-tuk tuk, BEMAC e-trike, Pecolo E-trike
ความนำ
ผมเขียนบทความนี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ "ชุมชนพญาไทพัฒนา" (Phyathai Superblock) เพื่อเป็นหนึ่งในต้นแบบการพัฒนาชุมชนใหม่ของคนกรุงเทพฯ ที่ต้องการเห็นชุมชนที่เน้นการดูแลสิ่งแวดล้ออม ใช้พลังงานที่มีอยู่อย่างจำกัด ลดปริมาณ Carbon ในอากาศในรูปแบบต่างๆ เน้นการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน โดยทำให้คนเดินกันมากขึ้น ใช้ยานพาหนะที่ใช้แรงงานคนอย่างจักรยานสองล้อ / สามล้อ ส่วนโครงการรถสามล้อโดยสารไฟฟ้า หรือ E-trike หรือ E-Tuk Tuk นับเป็นตัวช่วยให้คนเดินทางไปและกลับ ตลอดจนการสัญจรในชุมชนได้ โดยไม่ต้องใช้พลังงานเผาไหม้อย่างน้ำมันเชื้อเพลิง
ภาพ รถสามล้อไฟฟา BEMAC ที่ผลิตแล้ว พร้อมวิ่งตามถนนในประเทศฟิลิปปินส์
ภาพ รถสามล้อไฟฟ้า BEMAC ขนาดจุผู้โดยสารได้ 6 คน นั่งแบบรถสองแถว ขึ้นลงรถทางด้านหลัง
ภาพ รถ BEMAC ที่พัฒนาตัวถังแล้ว เป็นแบบโดรงเป็นโลหะกลวงเบา และมีตัวถังหุ้มที่เป็นไฟเบอร์กลาส หล่อได้ง่ายๆทั้งคัน
ภาพ รถ BEMAC ที่ใช้วิ่งในเมือง Guezon City ที่เป็นส่วนหนึ่งของ Metro Manila คล้้ายๆชุมชนย้านนนทบุรี ปทุมธานี ธนบุรี ฯลฯ
ภาพ รถจี๊ปดัดแปลง ต่อตัวถึงให้ยาวขึ้น ใช้เครื่องยนต์เก่าจากญี่ปุ่น รถพวกนี้ใช้พลังงานที่สิ้นเปลือง และก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ
ภาพ รถสามล้อไฟฟ้า เพื่อสันทนาการ ชื่อ Arcimoto ในสหรัฐอเมริกา นั่งได้ 2 คน เหมาะแก่การเดินทางได้เหมือนรถยนต์ แต่ใช้พลังงานเพียง 1 ใน 5 หรือ 6 ของรถยนต์ โดยใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่
ภาพ จักรยาน 3 ล้อไฟฟ้าแบบมีแรงงานคนช่วยถีบ ใช้แบตเตอรี่ขนาด 500-1000 วัตต์ ใช้เดินทางไกลได้ แต่เหมาะแก่การขี่เพื่อสันทนาการ และออกกำลังกาย
ภาพ จักรยานสามล้อใช้คนถีบ แต่อาจมีมอเตอร์ช่วยสนับสนุน เหมาะแก่การส่งเสริมกิจการท่องเที่ยวของเมือง ดังที่มีใช่ในเมืองใหญ่อย่าง New York, สหรัฐอเมริกา
ภาพ เมืองมานิลา ประเทศฟิลิปปินส์ มีหมอกควันปกคลุมเมืองตลอดเวลาเป็นปกติ คนไม่คุ้น มาใช้ชีวิตเดินตามเมืองไม่นานจะรู้สึกว่ามีอาการปอดหรือหลอดลมอักเสบ
ภาพ เมืองมานิลา ประเทศฟิลิปปินส์ในหมอกควัน ปัญหามลพิษทางอากาศ ที่ลดคุณภาพชีวิตของประชาชน
ภาพ การจราจรบนถนนสาทร ในกรุงเทพมหานคร การเพิ่มรถยนต์ไม่ใช้เพิ่มคุณภาพชีวิต เมื่อรถยนต์ไม่มีที่วิ่ง แต่ปล่อยควันพิษตลอดเวลาขณะอยู่ยนท้องถนน
ชุมชนพญาไทพัฒนา
(Phyathai
Superblock)
ผมรับปากกับเพื่อนๆชาวพญาไท ย่านซอยอารียสัมพันธ์
ชุมชนที่ทางใต้มีถนนราชวิถี ทางเหนือมีถนนปฏิพัทธิ์ ทางตะวันตกมีถนนพระราม 6
ทางตะวันออกมีถนนพหลโยธิน พื้นที่ในระหว่าง 4 ถนนนี้
ผมอยากจะเรียกให้ง่ายๆว่าเป็น “ชุมชนพญาไทพัฒนา” เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “Phyathai
Superblocks” คล้ายๆกับชุมชนต้นแบบในเมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน
ที่เขาปรับชุมชนที่มีถนนตัดผ่านบลอค (Blocks) ปกติของเขา
แต่ละบลอคของชุมชนในบาร์เซโลนา เป็นเหมือนเกาะที่มีรถยนต์ความเร็วสูงวิ่งผ่านไปทั่ว
ไม่เหมาะแก่การเป็นชุมชนที่มุ่งให้ชีวิตมีความเป็นอยู่ที่ช้าลง ลดมลพิษในเมือง เป็นชุมชนในเมืองแบบใหม่
มีคุณภาพชีวิต คนจับจ่ายใช้สอยสิ่งของสำหรับชีวิตประจำวันได้ โดยการเดิน
การขี่จักรยาน หรือจักรยานไฟฟ้า
ดูจากแผนที่
ผมจะเขียนเรื่อง Phyathai Superblock นี้อย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง เป็นแนวคิดอย่างคร่าวๆ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่
แต่ในวันนี้จะได้เขียนถึงโครงการนึ่งที่วางแผนให้เป็นต้นแบบขนาดเล็กๆ
โดยเริ่มใช้รถสามล้อไฟฟ้าสัก 5-10 คันเพื่อมาวิ่งทดแทนรถสามล้อใช้น้ำมันเผาไหม้แบบเดิม
โดยเป็นการวิ่งระยะทางไม่เกิน 1.5-2.0 กม.
ขนส่งผู้โดยสารแบบเหมือนรถสองแถวที่วิ่งในต่างจังหวัด แต่ใช้เป็นสามล้อไฟฟ้า
คิดค่าโดยสารรายคนที่คนละ 10 บาท/เที่ยว รับผู้โดยสารได้ 4-6
คนก็ออกรถ ซึ่งปัจจุบันรถสามล้อรับผู้โดยสารเป็นคนหรือต้องเป็นกลุ่ม
เที่ยวละ 30 บาท
การใช้รถสามล้อไฟฟ้า
ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาโครงการรถสามล้อไฟฟ้าต้นแบบ
(Pilot Project) ที่จะใช้วิ่งตามตรอก ระยะทางไม่เกิน 2-3
กิโลเมตร ต้องการได้รถไฟฟ้าสามล้อที่มีราคาไม่เกิน 350,000-400,000
บาท เป็นการจัดยานพาหนะให้คนขับรถตุ๊กตุ๊กที่มีอยู่แล้วในรูปให้เงินยืม
และส่งคืนในระยะเวลา 2 ปี จะเริ่มโครงการ จะเริ่มโครงการโดยใช้เงินที่ชาวชุมชน
บ้าน บริษัทห้างร้าน ร้านค้าในซอย ปากซอย
บริษัทห้างร้านที่เป็นประโยชน์จากการลดมลภาวะในกรุงเทพฯด้วยระบบไฟฟ้า (Electrification)
คิดว่าคงต้องมีการระดมเงินและก่อตั้งองค์การในรูป
Social enterprise มีการบริหารแบบโปร่งใส
มีคณะกรรมการบริหารที่ไม่มีเงินเดือน แต่ได้ประโยชน์จากชุมชนที่พัฒนา
ได้เติบโตอย่างยั่งยืน มีมลภาวะทางอากาศที่ลดอย่างเห็นได้ชัด สัก 25-30 เปอร์เซ็นต์ ผู้คนได้ออกมาเดิน หรือใช้ยานพาหนะที่ไม่สร้างมลพิษ
อย่างขี่จักรยาน หรือใช้ยานพาหนะไฟฟ้ามากขึ้น
การมีรถสามล้อไฟฟ้า (E-trikes) ที่สามารถใช้ได้จริงมาเป็นตัวทดสอบ โดยให้ใช้ยานพาหนะในลักษณะคล้ายกับ BEMAC
68VM ขอยืม Specs ของเขามาเป็นบรรทัดฐาน ใครมีความคิดเห็นหรือทางเลือกที่ดีเท่า
หรือดีกว่าก็ให้เสนอมาครับ ผมจะเป็นผู้ประสานงานให้ในช่วงแรกนี้
แน่นอนว่าในระยะยาว เราควรมีระบบอุตสาหกรรมนี้ในประเทศไทย
รถสามล้อไฟฟ้าบีแมค รุ่น BEMAC 68VM Electric Tricycle การริเริ่มอันเกิดจากความจำเป็นในเมืองใหญ่อย่างมานิลา
ประเทศฟิลิปปินส์ ที่มีปัญหาด้านมลภาวะขั้นวิกฤติ คล้ายๆกับในเมืองใหญ่อื่นๆในโลก
เช่น ปักกิ่ง เซียงไฮ จาร์กาต้า ซึ่งเป็นผลมาจากการเผาไหม้ของยานพาหนะทั้งหลาย
ฟิลิปปินส์คิดแก้ปัญหานี้มานับเป็นสิบๆปี
ดังเช่น ลดและจำกัดรถที่สร้างปัญหาควันพิษมากที่สุดอย่างรถโดยสารดัดแปลงอย่าง Jeepney
ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลใช้แล้วจากประเทศญี่ปุ่น
และอีกด้านหนึ่งคือทำให้รถสามล้อแบบเดิมที่ดัดแปลงจากรถจักรยานยนต์
มาสู่การใช้รถสามล้อไฟฟ้า ที่พัฒนาขึ้นใหม่ ในรูปแบบคล้ายๆรถตุ๊กตุ๊กในประเทศไทย ในช่วง
2-3 ปีที่ผ่านมา
ราคาแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าได้ลดลงอย่างรวดเร็ว
ประสิทธิภาพของรถใช้แบตเตอรี่มีสมรรถนะและราคาเริ่มเหนือกว่ารถยนต์ใช้น้ำมันเผาไหม้แล้ว
ราคาแบตเตอรี่ในยุคต่อไปนี้จะมีราคาลดลงต่ำกว่า USD100 หรือ 3300
บาทต่อกิโลวัตต์
รถสามล้อไฟฟ้าบรรทุก BEMAC 68VM เป็นการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่น
และใช้ระบบอุตสาหกรรมขนาดกลาง ผลิตรถที่แข็งแรง โครงสร้างเบาด้วยใช้วัสดุโลหะกลวง
และไฟเบอร์กลาสที่ผลิตได้ง่าย ขนาดผลิตที่พอจะอยู่ได้ คือผลิตเดือนละ 500 คัน สำหรับในประเทศไทย หากจะมีอุตสาหกรรมดังนี้ ก็ทำได้
โดยต้องให้มีนโยบายจากรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนยานพาหนะในเมืองให้หันไปใช้ระบบไฟฟ้า
แทนระบบเผาไหม้
BEMAC E-trikes มีขนาดไม่ใหญ่ ตัวรถ ยาว 3,300 มม. กว้าง 1,440 มม. ยาว 3,300 มม. จากฐานล้อหน้าถึงล้อหลัง 2,450 มม. ใต้ท้องรถสูง
170 มม. น้ำหนักตัวรถ 530 กก.
รวมน้ำหนักบรรทุก 915 กก. จุผู้โดยสารรวมคนขับ 6+1 หากรวมที่นั่งเสริมข้างคนขับด้านซ้ายและขวาอีก 2 คน
เป็นบรรทุกได้ 8 คน เพราะความเป็นรถสามล้อ สะดวกในการกลับรถบริเวณปากซอยหรือในถนนแคบๆได้
เหมาะแก่การใช้ระบายผู้คนออกจากซอยมาสู่ถนนใหญ่
BEMAC E-trikes ตัวถังออกแบบและผลิตเพื่อรองรับการใช้งานที่ต้องทนต่อสภาพอากาศน้ำเค็ม
และถนนที่ขุขระ และอาจมีน้ำท่วมได้ (Tough, robust and rust-proofed chassis
designed for Philippine road conditions) คล้ายๆในประเทศไทย
ระบบชาร์จไฟแบตเตอรี่
(On-board
220V charger included. Charge anywhere, anytime!) ใช้ไฟฟ้าทั่วไปของฟิลิปปินส์ที่ใช้ระบบ
220 โวลต์ ใช้เวลาชาร์จไฟ 4 ชั่วโมง
โดยเจตนาเมื่อใช้เป็นรถสามล้อไฟฟ้าเพื่อขนส่งผู้คน จะใช้ระบบยกเปลี่ยนได้ (Swapping) โดยเสียเวลาเพียง 1-2 นาที หากพัฒนาให้ชาร์จไฟด้วยระบบ
Supercharge ใช้กระแสฟ้าที่สูงขึ้นจะลดเวลาชาร์จไฟได้ภายใน 1-2
ชั่วโมง
BEMAC E-trikes เปลี่ยนระบบหยุดรถโดยนำพลังกลับมาใช้ใหม่ได้ (Regenerative
braking.) ซึ่งเป็นมาตรฐานของรถยนต์ไฟฟ้าทั่วไป
มอเตอร์ขนาด
5kW
ระบบ AC (Powerful 5kW AC Motor and flood resistant gearbox
assembly) ขนาดเพียง 1 ใน 10-15 ของรถยนต์ไฟฟ้าดังเช่น Tesla Model 3 หรือ Model
S แต่ก็มีขนาดมอเตอร์ใหญ่กว่ารถจักรยานไฟฟ้าทั่วไป 10 เท่า ขนาดของแบตเตอรี่และมอเตอร์ที่ใช้ในฟิลิปปินส์เล็ก
เพราะเขาต้องการให้ใช้ความเร็วอย่างจำกัด คือไม่เกิน 60 กม./ชั่วโมง สำหรับในประเทศไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ
ใช้วิ่งรับส่งคนในตรอกหรือถนนคับแคบ ซึ่งก็จะเคลื่อนตัวได้ประมาณ 10-20 กม./ชั่วโมง และเพื่อความปลอดภัยสำหรับคนเดินถนนตามตรอกซอย ที่บางแห่งไม่มีทางเดินเท้าสำหรับคน
สำหรับยานพาหนะไม่ว่าจะเป็นรถจักรยาน จักรยานยนต์สองล้อ สามล้อ หรือรถยนต์
ก็ต้องจำกัดความเร็ว แต่ถ้าต้องออกถนนใหญ่บ่อยๆ
ก็ต้องทำให้มีมอเตอร์และแบตเตอรี่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น เป็นความเร็วสูงสุดที่ไม่เกิน 80
กม./ชั่วโมง
BEMAC E-trikes ใช้แบตเตอรี่แบบ Lithium-ion ซึ่งมีน้ำหนักเบา
มีความจุพลังงานได้มากกว่าระบบใช้ตะกั่วแบบเดิม และแน่นอนว่า หากในอนาคต 5-10
ปี มีเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่เบาลงอีก เช่นระบบ Solid State ราคาประหยัดยิ่งขึ้น และมีอายุยืนยาว
สิ่งเหล่านี้ก็สามารถปรับมาใช้กับรถสามล้อไฟฟ้าได้