Friday, May 31, 2013

อย่าให้เกิดการเหยียดผิวในวงการฟุตบอลของไทย


อย่าให้เกิดการเหยียดผิวในวงการฟุตบอลของไทย

ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: สังคม, society, วัฒนธรรม, culture, การกีฬา, sports, ฟุตบอล, football, การเหยียดผิว, racism, Thailand Premier League – TPL



ภาพ ทีมฟุตบอลอาชีพไทย Buriram United ที่มีผู้เล่นต่างชาติที่มีความแข็งแกร่งมาเสริมนักเล่นจากท้องถิ่น

ในการกีฬาเป็นเรื่องของการแข่งขัน ซึ่งต่างฝ่ายก็ต้องการชนะ ดังในกีฬาฟุตบอลอาชีพของไทย (Thailand Premier League – TPL) ที่มีการนำนักกีฬาต่างชาติเข้ามาเล่นในทีมของตน เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง ให้สามารถชนะได้

เมื่อมีการนำนักกีฬาต่างชาติเข้ามา ก็มีความแตกต่างในด้านเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรมตามมาด้วย ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดการเหยียดผิว (Racism) โดยเฉพาะกับนักกีฬาจากอัฟริกาซึ่งมีผิวดำ สิ่งเหล่านี้กำลังเกิดในยุโรป ที่มีการเหยียดผิว กีดกันนักกีฬาจากที่อื่นๆ โดยเฉพาะคนผิวดำ มีทั้งระหว่างนักกีฬาในทีมเดียวกัน ระหว่างทีมในการแข่งขัน และจากคนดูในสนาม โดยเฉพาะในสนามที่ทีมนั้นๆไปเยือน การเหยียดผิวที่รุนแรงขึ้น ประกอบกับทัศนะต่อต้านนคนต่างชาติในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ จึงทำให้วงการกีฬาต้องออกมาแสดงทัศนะ ในการประชุมใหญ่ขององค์การฟุตบอลสากล FIFA ได้ประกาศมติร่วมอย่างเอกฉันท์ ต่อต้านและจะลงโทษแก่ผู้เล่น ทีมฟุตบอล และสนามแข่งขันที่ปล่อยให้มีการเหยียดผิวในวงการกีฬา

แต่ในทวีปอเมริกา สหรัฐอเมริกาได้มีปัญหาเรื่องการเหยียดผิว (Racism) มาก่อนยาวนาน และสังคมได้ปรับเปลี่ยนไปมากแล้ว ที่จะยอมรับความแตกต่างด้านเชื้อชาติมากขึ้นทั้งในวงการกีฬา และในสังคมทั่วไป

ในสหรัฐอเมริกา ทั้งประเทศมีสัดส่วนอเมริกันเชื้อสายอัฟริกาอยู่ประมาณร้อยละ 25 แต่ในวงการกีฬาอย่างอเมริกันฟุตบอลและบาสเกตบอล กลับมีสัดส่วนคนผิวดำอยู่เป็นอันมาก ในกีฬาบาสเกตบอล National Basketball Association (NBA) มีผู้เล่นอเมริกันเชื้อสายอัฟริกันร้อยละ 75 ในวงการอเมริกันฟุตบอล National Football League (NFL) มีผู้เล่นอเมริกันเชื้อสายอัฟริกันร้อยละ 65 ในสองกีฬาหลักของชาติ หากปราศจากผู้เล่นผิวดำ ก็ต้องปิดสนามกันไปเลย

ในวงการฟุตบอลอาชีพของไทยเพิ่งจะได้เริ่มขึ้น การมีนักกีฬาต่างชาติเข้ามาเสริมทีม นับเป็นการช่วยกระตุ้นวงการกีฬาในประเทศไทย ทำให้เยาวชนไทย ตลอดจนพ่อแม่ และสังคมเห็นความจำเป็นที่ต้องพัฒนากีฬากันแต่พื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างจุดอ่อนของนักกีฬาไทย เช่น เรื่องความแข็งแกร่ง (Strength) ความอดทน (Endurance, stamina) ความเร็ว (Speed) แรงประทะ ซึ่งเกี่ยวกับขนาดของร่างกาย ตลอดจนทักษะและเทคนิคทางกีฬา ซึ่งจะทำให้เยาวชนไทยรุ่นใหม่ต้องหันมาพัฒนาสุขภาพร่างกายขั้นพื้นฐาน ทั้งด้านโภชนาการและการออกกำลังกายกันอย่างจริงจัง

และเมื่อมีนักกีฬาต่างชาติเข้ามา เราก็ควรต้อนรับเขาอย่างอบอุ่น ซึ่งประเทศไทยในเกือบจะทุกพื้นที่มีทักษะในการดูแลต้อนรับดีอยู่แล้วดังในกิจการท่องเที่ยว เราต้องไม่ให้เกิดความรู้สึกแบ่งแยก ถือผิว ดังที่เคยเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา และกำลังเกิดในยุโรป เราก็ต้องถือโอกาสได้เรียนรู้วัฒนธรรมของชาติต่างๆไปพร้อมๆกันนี้ด้วย


ภาพ มาริโอ บอลอตเตลลี (Mario Balotelli) นักฟุตบอลผิวสี ผู้ประกาศว่า เขาจะไม่ยอมต่อการเหยียดผิวในวงการฟุตบอลในยุโรป

 

ภาพ ฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส ทีมีผู้เล่นผิวสีจำนวนมาก


Thursday, May 30, 2013

Late Bloomer ดอกไม้บานช้า จะอยู่คงทน ...



Late Bloomer ดอกไม้บานช้า จะอยู่คงทน ...

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat

Keywords: การศึกษา, ปฐมวัย, elementary education, late bloomer, ดอกไม้บานช้า, Thomas Edison, Albert Einstein,

พิมพ์ประไพ บุญปลอด - เครียดมากคะ ลูกชายเพิ่งขึ้นป.1 เขียนหนังสือช้ามาก เวลาเรียนก็ใจลอย ตอนนี้ 4 ทุ่มเพิ่งทำการบ้านเสร็จ สงสารก็สงสาร แต่เพราะเขียนช้าไม่รู้จะทำไงแล้ว ปวดหัวมากใครมีวีธีช่วยแนะนำที

เรียนคุณพิมพ์ประไพ - อย่าเพิ่งไปเครียดเลย จริงๆแล้ว ตัวผมเองเมื่อเป็นเด็ก ก็เคยทำความเครียดให้กับแม่ ต้องตื่นตั้งแต่ตี 4 มาช่วยกันทำการบ้าน เพราะเขียนได้ช้า แถมผมเป็นคนถนัดซ้าย ถูกบังคับให้เขียนด้วยมือขวา ในสมัยก่อน ผู้ใหญ่กลัวจะใช้ปากกาคอแร้งแล้วทำให้หมึกเลอะเทอะ

เด็กในลักษณะเช่นนี้อาจเป็นอย่างที่ฝรั่งเขาเรียก Late bloomer คือเหมือนดอกไม้บานช้า แต่เมื่อบานแล้วจะอยู่ได้ทน เหมือนดอกกล้วยไม้ บางคนสามารถเอาชนะความช้าของตนเองได้ กลายเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ก็มี ดัง Thomas Edison นักประดิษฐชาวอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ หรือ Albert Einstein นักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะ ผู้สร้างทฤษฏีสัมพันธภาพ อันนำไปสู่กากรพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์

เด็กอาจเรียนช้าไปบ้าง แต่การศึกษามิใช่เพียงหัดเขียนหนังสือ ก.ไก่ ข.ไข่ มันยังมีอีกหลายๆมิติ ช่วยกันทำให้การศึกษาเป็นเรื่องสนุก เช่นพาไปเที่ยว ได้เรียนรู้จากการเห็นสิ่งที่หลากหลาย ให้ได้เรียนศัพท์ ได้อ่านการ์ตูนแบบสร้างสรรค์ที่มีภาพประกอบ เด็กเรียนช้าในช่วงแรก อย่าให้เขาต้องไปอยู่ในสถานะต้องแข่งขันกับเด็กอื่นๆ ให้เขาได้เติบโตไปตามจังหวะของเขาเองสักระยะ

ที่สำคัญ ในช่วงของการเริ่มเรียนดังนี้ อย่าไปทำให้เขาเกิดทัศนคติที่เบื่อการศึกษา เบื่อเรียน เบื่อไปโรงเรียน แล้วขาดความมั่นใจในตนเอง หากเขาเป็น Late bloomer ก็ให้เวลาเขามากหน่อย ทอดเวลาออกไป เมื่อเขาพร้อมแล้ว เขาก็จะก้าวไปได้อย่างแข็งแรง แล้วไปได้ไกล ยาวนาน และดีกว่าคนอื่นๆเสียอีก

Late bloomer - Wikipedia

A late bloomer is a person whose talents or capabilities are not visible to others until later than usual. The term is used metaphorically to describe a child or adolescent who develops more slowly than others in their age group, but eventually catches up and in some cases overtakes their peers, or an adult whose talent or genius in a particular field only appears later in life than is normal – in some cases only in old age.

This article discusses late-blooming children, adolescents, and adults.


ภาพ Albert Einstein ในวัย 14 ปี เคยเป็นเด็กมีปัญหาการเรียนในวัยเด็ก แต่เมื่อเขาโตขึ้น ก็แก้ไขปัญหานั้นๆได้ และได้กลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลกในช่วงเมื่อเขาเติบโตขึ้น


ภาพ เมื่อเด็กๆเข้ากลุ่ม ก็สอนให้เขาเรียนรู้ความร่วมมือ อย่าเพิ่งไปผลักดันเขาให้ต้องอยู่ในสถานะแข่งขันมากจนเกินไป เพราะเมื่อแข่งขัน ก็ต้องมีคนแพ้และคนชนะ



กิจของรัฐบาล คือการไม่ไปทำธุรกิจเสียเอง

กิจของรัฐบาล คือการไม่ไปทำธุรกิจเสียเอง

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat

E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, governance, ธรรมาภิบาล, good governance, free enterprise, free market, rice business,


ภาพ ทุ่งนา ปลูกข้าวที่พร้อมจะเก็บเกี่ยว

The business of the government is no business.
กิจของรัฐบาล คือการไม่ไปทำธุรกิจเสียเอง

รัฐบาลไม่มีกลไกในการแข่งขัน คนทำธุรกิจเองก็จะเตือนราชการว่า อย่ามาทำธุรกิจแข่งกับเอกชนเลย หน้าที่ของรัฐบาลในระบบทุนนิยมเสรี และตลาดเสรี (Free market) คือการอำนวยความสะดวก การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้เอกชนสามารถประกอบการธุรกิจ แข่งขันกันเองในประเทศได้อย่างเสรีและเป็นธรรมกับ่ทุกฝ่าย และเมื่อต้องค้าขายกับต่างประเทศ ก็ทำให้มีต้นทุนต่ำพอที่จะค้าแข่งกันระหว่างประเทศได้

แต่กระนั้นในรัฐบาลปัจจุบัน (2556) เราก็ยังจะเห็นภาครัฐเข้าไปทำธุรกิจเสียเอง ในที่ๆควรปล่อยให้เอกชนดำเนินการ

เมื่อรัฐบาลเข้าไปดำเนินการในธุรกิจใด อาจจะทำดีได้ในระยะแรกๆ  เพราะมีก้อนเงินที่จะลงทุน แต่ในระยะยาว เมื่อขาดกลไกการแข่งขัน ท้ายสุดก็กลายเป็นองค์กรธุรกิจผูกขาด ตั้งราคาสินค้าและบริการได้เอง ประสิทธิผลและประสิทธิภาพลดลง เกิดการคอรัปชั่น การเล่นพรรคเล่นพวก กลายเป็นปัญหาของการบริหารประเทศ

มีบางกิจการ ที่รัฐบาลต้องดำเนินการ เช่น การป้องกันประเทศ กิจการตำรวจ ซึ่งต้องเข้าไปดำเนินการ แต่ก็สามารถให้รัฐบาลท้องถิ่นแบ่งไปดำเนินการได้ การดูแลด้านกฎหมายและความยุติธรรม การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ต้องรับผิดชอบ และสามารถดำเนินการได้อย่างกระจายอำนาจให้รัฐบาลและองค์กรท้องถิ่นไปดำเนินการ การสาธารณสุข ที่รัฐต้องให้หลักประกันการรักษาดูแลสุขภาพให้ตลอดชีวิต ซึ่งต้องรับผิดชอบโดยประมาณร้อยละ 25 ของความต้องการด้านสุขภาพ เพื่อให้แน่ใจได้ว่า แม้คนที่ตกอับ ยากจนที่สุด เมื่อเจ็บป่วย ก็จะยังได้รับการดูแลจากรัฐตามหลักสิทธิมนุษยชน

ในประเทศไทย รัฐเข้าไปดำเนินการในหลายๆเรื่องที่ไม่พึงเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น กิจกาธนาคาร การขนส่ง รถไฟ รถโดยสารประจำทาง การบิน การไฟฟ้า การพลังงาน ฯลฯ รัฐวิสาหกิจในประเทศไทยในปัจจุบันที่ทำงานด้านดังกล่าว ที่อยู่ได้ เพราะมันเป็นการผูกขาด แต่เมื่อใดที่ต้องเปิดสู่ตลาดเสรี กิจการนั้นก็จะอยู่ได้ลำบาก

อีกกิจการหนึ่งที่รัฐควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวให้น้อยที่สุด คือการค้าข้าว และพืชผลการเกษตรทั้งหลาย

การค้าข้าว ไม่ว่าจะเป็นแบบ G To G หรือรัฐบาลต่อรัฐบาล แต่ในท้ายสุดประเทศคู่ค้าก็จะนำเอากลุ่มธุรกิจเข้ามาสวมรอย เพราะรัฐบาลขาดกลไกในการดำเนินการ นอกจากนี้ การที่ฝ่ายการเมืองเข้าไปกำกับการค้าข้าว ก็ยังใช้หลักธุรกิจที่การดำเนินการถือเป็น "ความลับ" ทางการตลาด ค้าขายกันอย่างไรในเงินที่ใช้ไปเป็นหลายแสนล้านบาท ขาดการตรวจสอบที่ดี ประชาชนเจ้าของเงินไม่ได้รับทราบถึงผลการดำเนินการในแต่ละปี นับเป็นการขาดหลัก “ความโปร่งใส” (Transparency) โดยสิ้นเชิง

ในรัฐบาลก่อน การค้าข้าวใช้การประกันราคาข้าว คือเมื่อข้าวราคาตกต่ำกว่าเกณฑ์ เกษตรกรต้องขาดทุน หรือประสบภัยพิบัติน้ำท่วมหรือน้ำแล้ง รัฐบาลก็จะใช้กลไกของรัฐเช่นธนาคารเพื่อการเกษตรจ่ายเงินชดเชย

การเข้าไปเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่รัฐบาลขาดกลไก ตั้งแต่โรงสี ยุ้งฉาง ตลาด และตลอดจนเจ้าหน้าที่ๆมีความเชี่ยวชาญ ท้ายสุดก็นำไปสู่การสูญเสีย ดังเช่น เมื่อรัฐบาลเข้ามาดำเนินการค้าข้าว โดยหวังว่าจะทำให้ราคาข้าวดีพอสำหรับเกษตรกรทุกคน

เมื่อประกาศราคารับจำนำข้าวที่ขั้นต่ำตันละ 15,000 บาท แต่ปรากฏว่าในปี 2554-2555 รัฐบาลเข้าไปดำเนินการรับจำนำข้าว ราคาข้าวในตลาดโลกตกต่ำ นอกจากรัฐบาลจะดำเนินการไม่ได้ทั่วถึงแล้ว ยังทำให้รัฐสูญเสียเงินไป 260,000 ล้านบาท และเงินเหล่านี้ไม่ได้ไปถึงชาวนาอย่างเต็มที่ แต่ในทางตรงกันข้าม การดำเนินการได้ทิ้งร่องรอยของการรั่วไหลมากมาย จนท้ายสุดปรากฏว่า ข้าวราคาตลาดโลกที่ 8,500-12,000 บาท/ตัน แต่รัฐต้องไปประมูลปล่อยขายข้าวไปในราคาต่ำสุดที่ตันละ 5,800 บาท หรือเพียง 1 ใน 3 ของราคารับจำนำ คือที่ 15,000 บาท/ตัน

ในราคาประกาศรับจำนำข้าวที่ 15,000 บาท/ตัน แต่ชาวนาจะได้เงินจริงเพียง 10,000-12,000 บาท แต่ต้องลงนามขายข้าวไปในราคา 15,000 บาท และพ่อค้าคนกลางที่มีส่วนร่วมได้เสีย ก็ไปสวมสิทธิรับเงินจากรัฐบาลกลาง ชาวนาจะไม่ลงนามหรือไม่ทำตามก็ไม่ได้ เพราะอำนาจการรับซื้อไปอยู่ในมือของพ่อค้าคนกลาง เจ้าของยุ้งฉาง ผู้รับซื้อข้าวจากชาวนา

ปัญหาได้เกิดขึ้นแล้ว มีความเสียหายแล้ว เพราะเมื่อรัฐบาลเข้าไปยุ่งกับธุรกิจที่ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐบาล ทำงานอย่างรั่วไหล ไม่รัดกุม เกิดการขาดทุนมากมาย เงินรายได้ของรัฐไม่เข้าเป้า ก็ต้องเพิ่มภาษี เพิ่มราคาน้ำมันที่รัฐเป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งต้องขอกลับมาที่หลักการของประเทศทุนนิยมเสรีว่า “The business of government is no business.” ซึ่งหมายความว่า “กิจของรัฐบาล คือการไม่เข้าไปทำธุรกิจเสียเอง”



ภาพ เครื่องสีข้าวขนาดเล็ก เหมาะสำหรับสนับสนุนชาวนา เพื่อให้มีกินมีใช้


ภาพ ข้าวในกลไกตลาดที่ซับซ้อน ทำให้รัฐบาลเมื่อมาค้าข้าวเสียเอง ก็จะติดตามดูแลไม่ทั่วถึง

สโลน สตีเฟนส์ (Sloane Stephens) ดาวรุ่งเทนนิสหญิง จากสหรัฐอเมริกา

สโลน สตีเฟนส์ (Sloane Stephens) ดาวรุ่งเทนนิสหญิง จากสหรัฐอเมริกา

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: กีฬา, sports, เทนนิส, tennis, เทนนิสหญิง, women tennis, WTA, สหรัฐอเมริกา, USA, United States, สโลน สตีเฟนส์, Sloane Stephens


ภาพ สโลน สตีเฟนส์ (Sloane Stephens) 

สโลน สตีเฟนส์ (Sloane Stephens) เกิดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1993 เป็นนักเทนนิสอาชีพชาวอเมริกัน ผู้ที่ในวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 2013 นี้ อยู่ในอันดับที่ 17 ของโลกตามการจัดอันดับโดยสมาคมเทนนิสหญิง (Women's Tennis Association - WTA) สตีเฟนส์ด้วยวัย 20 ปียังอยู่ในช่วงไต่อันดับเทนนิสหญิงอาชีพของโลก โดยได้เข้าถึงรอบรองสุดท้าย (Semifinals) ซึ่งรวมถึงใน 2013 Australian Open ซึ่งเธอสามารถชนะเซลีน่า วิลเลี่ยมส์ (Serena Williams) มือหนึ่งของโลก ในรอบ 4 คนสุดท้าย (Quarterfinals) สตีเฟนส์จัดเป็นนักเทนนิสหญิงดาวรุ่งที่มีอนาคตไกลคนหนึ่ง และในอเมริกา ที่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีแต่พี่น้องตระกูลวิลเลียมส์ คือ วีนัส และ เซลีน่า (Venus & Selena) ที่เป็นนักเทนนิสหญิงสุดยอดของอเมริกา แทบจะไม่มีใครอื่นเลยจากอเมริกาที่เข้าถึงรอบชนะเลิศในเทนนิสรายการใหญ่


ประเทศ
Country
สหรัฐอเมริกา
United States[1]
พำนักที่
Residence
คอรัล สปริงส์ รัฐฟลอริด้า
Coral Springs, Florida[1]
เกิดเมื่อวันที่
Born
20 มีนาคม ค.ศ. 1993
March 20, 1993 (age 20)[1]
Plantation, Florida[1]
ส่วนสูง
Height
1.70 เมตร (5 ft 7 in)[1]
น้ำหนัก
Weight
61 กก. (130 lb; 9.6 st)
ก้าวสู่เทนนิส
อาชีพ
Turned pro
2009
การเกษียณ
Retired
Active
สไตล์
Plays
ถนัดมือขวา ตีแบคแฮนด์สองมือRight-handed (two-handed backhand)[1]
เงินรางวัล
Prize money
US $1,288,170
เทนนิสหญิงเดี่ยว
Singles
สถิติCareer record
ชนะ 115; แพ้ 84
115–84
ตำแหน่งในเทนนิสอาชีพ
Career titles
ได้ชนะเลิศ 1 ครั้ง
ITF
อันดับสูงสุด
Highest ranking
อันดับที่ 16
No. 16 (February 18, 2013)
อันดับในปัจจุบัน
Current ranking
อันดับที่ 17
No. 17 (April 29, 2013)
ผลการแข่งขันในรายการใหญ่
Grand Slam Singles results
รอบรองชนะเลิศ
SF (2013)
รอบที่ 4
4R (2012)
รอบที่ 3
3R (2012)
รอบที่ 3
3R (20112012)
แข่งขันคู่
Doubles
สถิติคู่Career record
29–32
ตำแหน่ง
Career titles
ITF
อันดับสูงสุด
Highest ranking
No. 94 (October 24, 2011)
อันดับในปัจจุบัน
Current ranking
No. 218 (April 29, 2013)
การแข่งรายการใหญ่
Grand Slam Doubles results
ตกรอบแรก
1R (2012)
Last updated on: February 18, 2013.



ภาพ สโลน สตีเฟนส์ (Sloane Stephens) ดาวรุ่งเทนนิสหญิง จากสหรัฐอเมริกา

Wednesday, May 29, 2013

มาริโอ บอลอตเตลลี (Mario Balotelli): นักสู้อิตาเลียนผู้เขย่าวงการฟุตบอล


มาริโอ บอลอตเตลลี (Mario Balotelli): นักสู้อิตาเลียนผู้เขย่าวงการฟุตบอล

สุริยา เผือกพันธ์
Suriya Puegpunt

May 25 via Facebook - YouTube


ภาพ มาริโอ บอลอตเตลลี (Mario Balotelli) ในสนาม

1 ใน 100 ที่ได้รับการยอกย่องให้เป็นผู้มีอิทธิพลต่อชาวโลก (TIME, 2013) Zola (อดีตดาวดังฟุตบอลอิตาลี) กล่าวถึงเขาว่า มาริโอเป็นนักกีฬาที่มีคุณภาพระดับสูง ทรงพลังและเป็นนักกีฬาโดยแท้มีความเข้าใจในเกมการแข่งขัน ซึ่งทุกอย่างที่มีในตัวเขาล้วนเป็นคุณ

โซล่า เคยทำงานกับมาริโอในช่วงเวลาสั้น ๆ แรกที่เห็นก็ชอบเขาทันที ชอบตรงที่เขาเป็นคนชอบช่วยเหลือตนเอง มีความสำรวมและสงบเสงี่ยมในทุกสถานการณ์ มาริโอสามารถสลัดทุกสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวออกได้เมื่ออยู่ในเกม จึงเป็นผู้เล่นที่ความสงบเสงี่ยมอย่างยิ่งใหญ่

เขาเคยเล่นในเกมส์ใหญ่ ๆ และแก้ปัญหาในช่วงวินาทีวิกฤตได้ ด้วยการเป็นผู้ที่สามารถกุมสถานการณ์นั้นได้ นั่นคือสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเขา ในระยะที่ผ่านมาคนอาจเข้าใจว่าเขาเป็นบ้า แต่ไม่ใช่อย่างนั้น มาริโอเป็นคนรักเด็ก มีความอ่อนน้อมถ่อมตนและสนุกสนาน รับประกันได้ว่าเขายินดีเป็นมิตรกับทุกคนที่มีความสัมพันธ์

เขากลับจากอังกฤษไปยังอิตาลี ในฐานะคนที่มีความตั้งใจอย่างสูง ปัจจุบันเขาเป็นผู้เล่นที่สามารถกุมสถานการณ์และตั้งใจแน่วแน่ มาริโอได้รับความกดดันแต่ก็สามารถค้นพบดุลยภาพแห่งชีวิตได้ ในสนามการแข่งขันมาริโอเขย่าวงการฟุตบอล แต่ในสนามชีวิตมาริโอจะเขย่าคุณ....We Will Rock You.

Pracob Cooparat เขียน



ภาพ มาริโอ บอลอตเตลลี (Mario Balotelli) เมื่อฝึกซ้อม


มาริโอ บอลอตเตลลี (Mario Balotelli) เป็นนักเตะที่มีพรสวรรค์ และบางครั้งดูเหมือนเป็นคนขี้โอ่ ชอบแสดงออก ดูจากทรงผมและท่าทางที่เขาแสดงออกในสนาม นั่นเป็นวิธีการขาย สร้างจุดสนใจของนักกีฬา แต่สิ่งที่เขานำสู่วงการฟุตบอลคือ เขาต้องเผชิญกับการเหยียดผิวในวงการฟุตบอลที่คนทั่วไปไม่เข้าใจ ซึ่งในสนามจะมีการแขวะกัน ทั้งคำพูด กิริยาท่าทาง และการเล่นให้เกมสะดุด ทำให้นักเล่นเสียความรู้สึก เสีย Focus ในจังหวะเล่นที่สำคัญ

ฟุตบอลเป็นกีฬาค่าตัวสูงสำหรับนักเตะที่มีความสามารถ บอลอตเตลลี เป็นความหวังสำหรับนักเตะผิวดำในยุโรป และนักเตะตรงจากอัฟริกาอีกเป็นอันมาก ที่มีความฝันจะมาค้าแข้งในยุโรป แต่ก็จะถูกกีดกันจากนักเตะผิวขาว ทั้งในทีมเดียวกัน และทีมฝ่ายตรงกันข้าม

บอลอตเตลลี ให้สัมภาษณ์หลายครั้ง เขาบอกว่า เขาจะไม่ทนต่อ "การเหยียดผิว" (Racism) ในวงการฟุตบอล และเขาพร้อมจะฟ้องให้โลกเห็น

อองซาน ซูจี (Aung San Suu Kyi) : โคมทองส่องแสงประชาธิปไตย


อองซาน ซูจี (Aung San Suu Kyi) : โคมทองส่องแสงประชาธิปไตย

สุริยา เผือกพันธ์
Suriya Puegpunt แปลและเรียบเรียง

Keywords: การเมือง, การปกครอง, พม่า, Burma, Myanmar, อองซาน ซูจี, Aung San Suu Kyi, ความอดทน, Tolerance, การแก้ปัญหาความขัดแย้ง, conflict management


ภาพ อองซาน ซูจี, Aung San Suu Kyi

1 ใน 100 ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้มีอิทธิพลต่อชาวโลก (TIME, 2013) อัลไบรท์ (Albright) อดีตเลขาธิการมลรัฐในสหรัฐอเมริกาได้กล่าวว่า ในปี 1990 กองทัพพม่าได้ปฏิเสธและไม่ยอมรับอองซาน ซูจี หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยที่ก้าวหน้า (พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย, National League for Democracy, NLD) ผู้ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง (แถมยังได้กักขังเธอไว้ในบ้านของตนเอง) ห้าปีหลังจากนั้น เมื่ออองซาน ซูจีได้รับการปลอดปล่อยจากการจองจำ ฉันได้ไปเยี่ยมเธอที่เมืองย่างกุ้ง (Rangoon) ที่ที่ซึ่งเธอเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ต้องการให้มีการปลดปล่อยนักโทษการเมืองและปิดฉากความหวาดกลัวต่อรัฐบาล

มันเป็นการทดสอบสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของประเทศพม่า ระหว่างด้านหนึ่งคือ กลุ่มเผด็จการ (Totalitarian junta) และอีกด้านหนึ่งคือ ผู้หญิงที่ทรหด

หลายปีผ่านมาดูเหมือนว่าจะไม่มีความหวังใดๆ แต่แล้ว ในปี 2011 ผู้มีอำนาจเริ่มที่จะอ่อนข้อให้ (Back down) การจับผิด (Censorship) เริ่มลดลง นักโทษได้รับการปลดปล่อย ซูจีได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่รัฐสภา ปัจจุบันนี้ประชาธิปไตยที่แท้จริงได้แสดงบทตามสัญญา

ซูจีมิได้เป็นนักโทษอีกต่อไป เธอได้กลายเป็นผู้นำทางการเมืองที่การตัดสินใจใดๆ ตั้งอยู่ในสภาวะแวดล้อมทางการเมืองที่เปราะบาง ความกล้าหาญของซูจีในการต่อต้านความไม่ชอบธรรมและชัยชนะที่ได้รับมานี้ ความอดกลั้นเท่านั้น ที่จะยื่นความหวังให้แก่ทุกคนที่ถนอมรักเสรีภาพ Lady Lady….we will support you.

คนเป่านกหวีดโครงการรับจำนำข้าวไทย (Whistle blower)


คนเป่านกหวีดโครงการรับจำนำข้าวไทย (Whistle blower)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, government, คนเป่านกหวีด, whistle blower, ธรรมาภิบาล, good governance, ผู้นำเป็นพิษ, toxic leaders, Enron, WorldCom, FBI เชอร์รอน วัตคิน, Sherron Watkins, ซินเธียร์ คูเปอร์, Cynthia Cooper, คอลีน โรวลีย์, Coleen Rowley, สุภา ปิยจิตติ, นายแพทย์ วรงค์ เดชกิจวิกรม

คนเป่านกหวีด

คงจำกันได้ว่า เชอร์รอน วัตคิน (Sherron Watkins)ผู้เกิดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1959 ผู้เป็นรองประธานกรรมการใหญ่ฝ่ายพัฒนาองค์การของบริษัทเอนรอน (Enron Corporation) ซึ่งได้รับฉายาว่าเป็น “คนเป่านกหวีด” กรณีอื้อฉาวที่บริษัทเอนรอนในปี ค.ศ. 2001

Enron เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานไฟฟ้า (Major electricity), ก๊าซธรรมชาติ (Natural gas), การสื่อสาร (Communications), และเยื่อไม้และกระดาษ (Pulp and paper) เคยมีคนทำงานกว่า 20,000 คน มีรายได้ต่อปีกว่า 101,000 ล้านเหรียญ

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2001 วัตคินได้ร่อนเอกสารภายในเพื่อเตือนผู้บริหารสูงสุดของเอนรอนชื่อเคเนธ เลย์ (Kenneth Lay) เกี่ยวกับความไม่ชอบมาพากลของบัญชีการเงินของบริษัท แต่วัตคินได้รับคำวิพากษ์จากสาธารณะว่าไม่บอกเรื่องราวแก่ประชาชนเร็วกว่านี้ เพราะการเขียนบันทึกข้อความของเธอไม่อาจถึงประชาชนทั่วไปได้ จนอีก 5 เดือนต่อมา คำท้วงติงของเธอจึงถึงประชาชนภายนอก ซึ่งไม่ทันการ


ภาพ TIME บุคคลแห่งปี The Whistleblowers ที่เปิดเผยความไม่โปร่งใสของการบริหารในองค์การ 3 แห่ง

ในระยะต่อมา วัตคินได้ให้ปากคำแก่สภาผู้แทนและวุฒิสภาของสหรัฐ เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 และเธอได้รับเลือกจากนิตยสาร TIME ให้เป็น 1 ใน 3 ของบุคคลแห่งปี โดยเธอ “เป่านกหวีด” เรื่องอื้อฉาวใน Enron ซึ่งนำไปสู่การรับรู้ของสาธารณชน และความล่มสลายของ Enron ธุรกิจพลังงานยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ

คนเป่านกหวีดอีกสองคนได้แก่ ซินเธียร์ คูเปอร์ (Cynthia Cooper) กับการเปิดเผยเรื่อง WorldCom ธุรกิจการสื่อสารยักษ์ใหญ่ ที่ปกปิดความล้มเหลวทางธุรกิจกว่า 11,000 ล้านเหรียญ และคอลีน โรวลีย์ (Coleen Rowley) เกี่ยวกับเรื่องอื้อฉาวของหน่วยสืบสวนกลางสหรัฐเอง (FBI)

คนเป่านกหวีด โครงการรับจำนำข้าว


ภาพ สุภา ปิยจิตติ ผู้จัดทำรายงานการรับจำนำข้าวของไทยอย่างตรงไปตรงมา เป็น "คนเป่านกหวีด" ที่ควรได้รับการยกย่อง

Korn Chatikavanij (28 พฤาภาคม พ.ศ. 2556) เขียนเกี่ยวกับการรายงานผลการดำเนินการนโยบายรับจำนำข้าว ว่า ....

รองสุภาฯ -

อาทิตย์ที่แล้วผมเขียนไว้ว่ามีข่าวลือว่าจะมีการย้ายรองปลัดคลังฯที่ชื่อสุภา ปิยจิตติ ออกจากตำแหน่งประธานปิดบัญชีโครงการจำนำข้าว สืบเนื่องจากที่คุณสุภาได้รายงานอย่างตรงไปตรงมาว่าการจำนำข้าวขาดทุนไปแล้ว 260,000 ล้านบาท

วันนี้ชัดเจนแล้วว่าคุณสุภาถูกปลดจริง โดยที่รมว.อ้างว่าเป็นอำนาจของปลัดกระทรวงการคลัง ส่วนปลัดฯ รับคำสั่งมาจากใครหรือเปล่านั้นก็ให้คิดกันเอาเอง

จริงๆผมอยากจะเล่าให้ฟังว่า ในสมัยที่ผมเป็นรัฐมนตรี คุณสุภาเคยมีสิทธิที่จะได้เป็นปลัดกระทรวง แต่ท่านได้ขอผมว่า ท่านขอยกโอกาสให้คนอื่น ส่วนตัวท่านเองขอเพียงมีโอกาสทำงานที่ถนัด ก็คือคุมกรมบัญชีกลาง ดูแลรัฐวิสาหกิจ และก็เป็นที่มาของการทำงานเป็นประธานคณะกรรมการฯที่ทำให้รัฐบาลต้องยอมรับในผลขาดทุนที่ตนเองเคยยืนยันว่าไม่มีวันเกิดขึ้น และถ้าเกิดขึ้นจริงตนจะลาออก

ส่วนท่านปลัดฯที่ลงนามย้ายคุณสุภาออกจากตำแหน่งนั้น ผมก็เห็นใจ เพราะถ้าขัดนโยบายของผู้มีอำนาจ คงมีสิทธิถูกแขวนอยู่ที่สำนักนายกฯได้อีกยาว

แต่เมื่อปกป้องดูแลคนทำงานที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ได้ ก็ระวังจะมีแค่ตำแหน่งนะครับ แต่จะไม่มีบารมี

แปลกใจไหม 3 คนที่กล่าวมา กับ 1 ข้าราชการระดับสูงของไทย ล้วนเป็นสตรีทั้งสิ้น แล้วผู้ชายตัวใหญ่ๆ หายไปไหน จึงไม่กล้าพูดกล้าแสดงออก แต่เกือบทั้งหมดผู้ชายที่เป็นผู้บริหาร ล้วนเป็นพวกนักบริหารและผู้นำเป็นพิษ (Toxic leaders) ที่ก่อความเสียหายมหาศาลแก่ระบบ จนทำให้ประเทศแม้แต่อย่างอเมริกาเกือบเอาตัวไม่รอด

ขอมอบ "กำลังใจให้คนดี มีที่ยืน"

 ...รองปลัดฯ "สุภา ปิยะจิตติ"

ขอมอบ กำลังใจ ให้คนดี
เพื่อได้มี ที่ยืน ไม่ขื่นขม
รองปลัดคลัง"สุภา" น่านิยม
ขอชื่นชม เคารพ ควรปรบมือ

"รัฐบาล ปกปิดชั่ว ของตัวเอง"
คงหวั่นเกรง หนี้เปิดหมด ลดเชื่อถือ
จึงปรับย้าย รองปลัดฯ ปัดข่าวลือ
แทงหนังสือ ด่วนที่สุด คิดหยุดยั้ง

คิด"ปิดปากข้าราชการ"น้ำดี"
เปลี่ยนหน้าที่ ยักเยื้อง พบเบื้องหลัง
การตรวจสอบ พันผูก ถูกปิดบัง
ประดุจ"รัง-สีอำมหิต" โปรดคิดดู

การโยกย้าย "ปลัดสุภา" พ้นหน้าที่
สาเหตุมี มากนานา น่าอดสู  
โครงการ "รับจำนำ" ทำให้รู้
ทั้ง"เงินกู้" ละลาย หลายแสนล้าน

"โครงการน้ำ ริยำ ทำซิกแซ็ก"
คิดจำแนก จ่ายงบฯ พบล้างผลาญ
เรื่องจัดซื้อ-จัดจ้าง วางแผนการ
"วิธีพิเศษ" ไม่ผ่าน งานคัดกรอง

"รองสุภา" ซื่อสัตย์ คิดขัดขวาง
หลากหลายอย่าง หยิบยก คอยปกป้อง-
เรื่องทุจริต เห็นอะไร ไม่สอดคล้อง
ท่านมีส่วน เกี่ยวข้อง ไม่มองเมิน

"มอบกำลังใจ ให้คนดี มีที่ยืน"
ขอหยิบยื่น ตอกย้ำ คำสรรเสริญ
ผู้กลั่นแกล้ง หลงผิด คิดดำเนิน
จงพบเผชิญ "หนี้กรรม" ที่ทำไว้๚
จาก OKNation พุธที่ 29 พฤษภาคม 2556


ภาพ เชอร์รอน วัตคิน (Sherron Watkins) รองประธานกรรมการบริษัท Enron ผู้เปิดเผยสิ่งผิดปกติทางรายงานการเงินของบริษัท ซึ่งในที่สุดต้องประกาศล้มละลาย


าพ ซินเธียร์ คูเปอร์ (Cynthia Cooper) ผู้เคยทำงานเป็นรองประธานกรรมการฝ่ายตรวจสอบบัญชีภายในของบริษัท WorldCom ในปี ค.ศ. 2002 เธอและทีมงานได้ตรวจสอบการทำงานแม้ยามดึก ทำอย่างลับๆเพื่อหาข้อมูลการปกปิดการโกงเงินโดยผู้บริหารระดับสูง กว่า 3800 ล้านเหรียญสหรัฐจากกิจการของ WorldCom



ภาพ คอลีน โรวลีย์, (Coleen Rowley) ผู้เปิดเผยจุดอ่อนของกระบวนการข่าวของหน่วยงานสหรัฐที่ทำให้ไม่ได้ศึกษากรณีก่อการร้ายที่จะเกิดขึ้นดัง 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ที่ได้มีการแจ้งข่าวแล้ว แต่ไม่มีผู้ติดใจนำไปดำเนินการต่อ


ภาพ นายแพทย์ วรงค์ เดชกิจวิกรม

เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร ระดับปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) และวุฒิบัตรแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทาง สาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

น.พ.วรงค์ เริ่มต้นงานการเมืองภายหลังลาออกจากราชการ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548, 2550 และ พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เขาเคยได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร

น.พ.วรงค์ มีบทบาทในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในเรื่องนโยบายจำนำข้าว และเป็นที่ยอมรับของฝ่ายค้านด้วยกัน แม้จะอยู่คนละฐานะกับคนที่อยู่ภายใน และตระหนักถึงความไม่ชอบมาพากลจากภายใน แต่ในเรื่องการประสานรับรู้ข้อมูลจากภายนอก และการสืบเสาะหาข้อมูลอย่างมากที่สุดก็มีความจำเป็น

Tuesday, May 28, 2013

ธรรมาภิบาลกับความโปร่งใสของระบบ


ธรรมาภิบาลกับความโปร่งใสของระบบ

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, government, governance, ธรรมาภิบาล, good governance, รัฐบาล, ความโปร่งใส, transparency, สุภา ปิยจิตติ, Korn Chatikavanij, rice policies,


ภาพ โรงสีและไซโลเก็บและตากข้าว อุตสาหกรรมข้าวต้องการความชัดเจนและโปร่งใสจากรัฐบาล

ความนำ

ขอนำข้อความใน Facebook มาลงซ้ำ เพื่อจะขยายความต่อเกี่ยวกับ ธรรมาภิบาล

Korn Chatikavanij (28 พฤาภาคม พ.ศ. 2556) เขียนเกี่ยวกับการรายงานผลการดำเนินการนโยบายรับจำนำข้าว ว่า ....

รองสุภาฯ -

อาทิตย์ที่แล้วผมเขียนไว้ว่ามีข่าวลือว่าจะมีการย้ายรองปลัดคลังฯที่ชื่อสุภา ปิยจิตติ ออกจากตำแหน่งประธานปิดบัญชีโครงการจำนำข้าว สืบเนื่องจากที่คุณสุภาได้รายงานอย่างตรงไปตรงมาว่าการจำนำข้าวขาดทุนไปแล้ว ๒๖๐,๐๐๐ ล้านบาท

วันนี้ชัดเจนแล้วว่าคุณสุภาถูกปลดจริง โดยที่รมว.อ้างว่าเป็นอำนาจของปลัดกระทรวงการคลัง ส่วนปลัดฯ รับคำสั่งมาจากใครหรือเปล่านั้นก็ให้คิดกันเอาเอง

จริงๆผมอยากจะเล่าให้ฟังว่า ในสมัยที่ผมเป็นรัฐมนตรี คุณสุภาเคยมีสิทธิที่จะได้เป็นปลัดกระทรวง แต่ท่านได้ขอผมว่า ท่านขอยกโอกาสให้คนอื่น ส่วนตัวท่านเองขอเพียงมีโอกาสทำงานที่ถนัด ก็คือคุมกรมบัญชีกลาง ดูแลรัฐวิสาหกิจ และก็เป็นที่มาของการทำงานเป็นประธานคณะกรรมการฯที่ทำให้รัฐบาลต้องยอมรับในผลขาดทุนที่ตนเองเคยยืนยันว่าไม่มีวันเกิดขึ้น และถ้าเกิดขึ้นจริงตนจะลาออก

ส่วนท่านปลัดฯที่ลงนามย้ายคุณสุภาออกจากตำแหน่งนั้น ผมก็เห็นใจ เพราะถ้าขัดนโยบายของผู้มีอำนาจ คงมีสิทธิถูกแขวนอยู่ที่สำนักนายกฯได้อีกยาว

แต่เมื่อปกป้องดูแลคนทำงานที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ได้ ก็ระวังจะมีแค่ตำแหน่งนะครับ แต่จะไม่มีบารมี

หลักความโปร่งใส

หลักข้อหนึ่งของธรรมาภิบาล คือการต้องมีข้อมูลต่อสาธารณะ (Availability of Information to the Public) ดังในกรณีการบริหารระบบราชการ และการบริหารองค์กรสาธารณะทั้งหลาย ซึ่งอาจมีคนเขียนโดยใช้คำว่า “ความโปร่งใส” (Transparency)

สำหรับหน่วยงานราชการ การจัดทำรายงานประจำปี (Annual report) ซึ่งถือเป็นงานหลัก ที่หน่วยงานราชการ รับผิดชอบต่อเงินของแผ่นดิน ต้องรายงานต่อฝ่ายบริหาร รัฐสภา และประชาชนเจ้าของประเทศ

หากเป็นองค์กรไม่แสวงกำไร แต่ทำหน้าที่ให้กับสาธารณะ ก็จะต้องมีรายงานรายได้ (income), รายจ่าย (expenses) และทรัพย์สินที่คงมี (Ending net assets) ในกรณีที่รัฐบาลเข้าไปค้าข้าวแทนประชาชนตามนโยบายรับจำนำข้าว ซึ่งตามหลักไม่ควรทำ แต่เมื่อทำแล้ว ก็ต้องมีหน้าที่รายงานกิจการเกี่ยวกับข้าว ขายข้าวไปแล้วจำนวนเท่าใด ขายไปให้กับใคร ประเทศอะไร ซึ่งควรทำเป็นรายงานสรุป ไม่ใช่ไปสั่ง Printout         หนาเป็นฟุต

เมื่อขายข้าวแล้วได้เงินมาเท่าใด ใช้เงินในการซื้อข้าว หรือในกรณีนี้คือรับจำนำข้าวไปแล้วเท่าไร มีค่าบริหารโครงการ ค่าขนส่ง ค่าจ้างรับฝากข้าว เพราะราชการไม่มียุ้งข้าวเป็นของตนเอง และต้องรายงานให้รู้ว่า มีข้าวเหลือค้างอยู่เท่าไร และต้องให้มีการรับรู้ในเรื่องเหล่านี้โดยเร็วที่สุด เพราะการใช้เงินไปในระดับหลายแสนล้านบาทจากภาษีที่จัดเก็บจากประชาชน ก็ต้องมีหน้าที่แจงแก่ประชาชนโดยตรง หรือผ่านทางสภาผู้แทนของประชาชน

ส่วนประชาชนเจ้าของเงิน บางส่วนอาจมีนักวิชาการ สื่อมวลชน นักวิเคราะห์อิสระ ต้องไปศึกษาในรายละเอียด หากในปีนี้ขาดทุนไป 260,000 ล้านบาท สำหรับเฉพาะการค้าข้าว แล้วสินค้าเกษตรอื่นๆเป็นอย่างไรบ้าง ได้มีการกระจายเงินสนับสนุนไปทุกภาคส่วนอย่างยุติธรรมหรือไม่ เมื่อเปรียบกับ ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยางพารา ฯลฯ ซึ่งสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าส่งออกได้ มีสิทธิรับการสนับสนุนจากรัฐในแบบเดียวกัน ก็ต้องมีการนำมาศึกษาให้เห็นสภาพความเป็นไป

ฝ่ายราชการต้องปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมา

ข้อมูลการค้าขายของรัฐ เปรียบไปก็เหมือนข้อมูลสุขภาพ ระดับน้ำตาลในเลือด กรดยูริค คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ในเลือด ข้อมูลที่เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับสถานภาพของร่างกาย คนไข้มีสิทธิรู้ ไม่ใช่เพียงหมอ ดังนั้นเมื่อคนไข้ถามหมอ หมอที่มีจรรยาบรรณก็ต้องบอก หรือต้องมีรายงานที่พิมพ์มาส่งให้คนไข้ไว้เก็บเพื่อติดตามศึกษาสุขภาพตนเองด้วย

ข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจหรือสุขภาพของประเทศก็เช่นกัน ต้องตรงไปตรงมา แม่นยำ

ส่วนฝ่ายราชการที่ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ถือว่าเป็นเรื่องปกติและเป็นเรื่องที่ดี เขาทำตามหน้าที่อันควรของเขา รัฐบาลจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ต้องรักษาคนตรงเอาไว้ในระบบ หากเป็นองค์กรเอกชน หากฝ่ายบริหารเปลี่ยนตัวสับเปลี่ยนผู้ดูแลรับผิดชอบทางการเงินบ่อยๆ รายงานการเงินและงบประมาณอย่างตะกุกตะกัก รายงานไม่ครบถ้วน มีปิดๆซ่อนๆ คงไม่มีใครสบายใจที่จะมาทำงานเป็นคณะกรรมการบริหารองค์การนั้นๆ

ด้วยเหตุนี้ ทุกองค์กรสาธารณะ วัด องค์กรพัฒนาเอกชน มูลนิธิ ฯลฯ ล้วนต้องการให้ฝ่ายตรวจสอบทางการเงินได้รายงานตรงต่อคณะกรรมการบริหาร และหากมีปัญหาใดๆ ก็ให้รายงานต่อคณะกรรมการ โดยไม่ต้องเกรงใจฝ่ายบริหาร เขาเรียกการทำงานในหน้าที่นี้ว่า “คนเป่านกหวีด” (Whistleblower) หากมีปัญหาอะไรต้องกล้าพูดกล้าแสดงออก

คราวนี้ รัฐบาลเป็นคนสับเปลี่ยนคนเป่านกหวีดเสียเอง แล้วจะให้ประชาชนคิดอย่างไร จะไว้วางใจรัฐบาลได้หรือ


คริสโตเฟอร์ เฟเบียน และ อีริคา โคชิ (Christopher Fabian and Erica Kochi)


คริสโตเฟอร์ เฟเบียน และ อีริคา โคชิ (Christopher Fabian and Erica Kochi)
: ใช้เทคโนโลยีง่าย ๆแต่สามารถแก้ปัญหาใหญ่ ๆ ได้

สุริยา เผือกพันธ์
Suriya Puegpunt

แปลและเรียบเรียงจาก The 2013 TIME 100 - TIME presents its annual list of the 100 most influential people in the world, from artists and leaders to pioneers, titans and icons.

1 ใน 100 ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อชาวโลก (TIME, 2013) มากกว่าครึ่งหนึ่งของคนจำนวน 6 ล้านคน ในประเทศไนจีเรีย ที่การเกิดในแต่ละปีไม่ได้บันทึกหลักฐานการเกิดไว้ จึงทำให้ปราศจากเอกสารรับรองการเกิด เด็กน้อยคนได้รับการศึกษา ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค หรือไม่ได้รับการประกันสุขภาพ

สองหนุ่มสาวจาก ยูนิเซฟ (UNICEFE) คือ คริสโตเฟอร์ เฟเบียน และ อีริคา โคชิ (Christopher Fabian and Erica Kochi) ได้ร่วมกัน ทำการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วภายใต้องค์การที่มีอายุ 66 ปี พวกเขาได้ทำการลงทะเบียนการเกิดด้วยวิธีการง่าย ๆ เหมือนการส่งหนังสือ ในวิธีเดียวกันพวกเขาได้รับจ้างทำการป้องกันการเสียชีวิตเร็วก่อนวัยอันควรด้วย โดยการสร้างระบบให้มีช่องทางการกระจายวิธีการกำจัดยุงเพื่อป้องกันไข้มาเลเลียให้หยุดการแพร่กระจาย แก่คนบางส่วนในจำนวน 63 ล้านคนที่มีมุ้งนอนแย่ ๆ

คริสโตเฟอร์และอีริคา เป็นผู้ใช้เทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึง หยั่งรู้และการเชื่อมโยงเข้าสู่การเผชิญหน้ากับเปลี่ยนแปลงเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์ชาติและการพัฒนาในนานาประเทศได้ฉับพลัน โลกได้ประโยชน์จากความพยายามอย่างไม่ลดละพวกเขา......Heal The World.


ภาพ คริสโตเฟอร์ เฟเบียน และ อีริคา โคชิ (Christopher Fabian and Erica Kochi)

นโยบายโรงเรียนรัฐบาลคุณภาพต้องมาก่อนขนาด


นโยบายโรงเรียนรัฐบาลคุณภาพต้องมาก่อนขนาด
(Quality must trump size in govt’s school policy)

Supanutt Sasiwuttiwat: เขียน
สุริยา เผือกพันธ์
: แปล

ขนาดโรงเรียนก็เป็นเรื่องสำคัญแต่ไม่ควรจะเป็นสิ่งเดียวที่นำมาพิจารณา

ระหว่างสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องที่กระทรวงศึกษาธิการจะยุบและควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท

บางคนกล่าวว่าการยุบโรงเรียนขนาดเล็กเป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง เพราะจะทำให้นักเรียนต้องเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางไกลไปโรงเรียน และยังอาจเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นตามมา เช่นอุบัติเหตุจากรถยนต์ ค่าใช้จ่ายจากการเดินทางที่เพิ่มขึ้นและยังเป็นการกัดกร่อนจิตวิญาณของชุมชนที่ฝังลึกอยู่ในโรงเรียน เป็นต้น

ผมต้องการให้รายละเอียดด้วยการอภิปรายเพิ่มเติมโดยการพิจารณาเรื่องที่สำคัญ 2 เรื่องคือ การเข้าถึงและคุณภาพของระบบการศึกษา

เรื่องแรก คือความสามารถในการเข้าถึง (Accessibility) แหล่งเรียนรู้ที่ดีของโรงเรียนขนาดเล็ก ต้องทำให้นักเรียนในพื้นที่ชนบทเข้าถึงได้ดีขึ้น การศึกษาขั้นพื้นฐานควรจัดให้นักเรียนแต่ละคนและทุก ๆ คนอย่างทั่วถึงอันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาความสามารถของมนุษย์

อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงมิได้หมายถึงคุณภาพเสมอไป

นักเรียนควรมีความสามารถในการเข้าถึงระบบการศึกษาได้อย่างเท่าเทียม จะด้วยการใช้ความพยายามหรือไม่ก็ตาม ก็ต้องทำให้ได้ และพวกเขาต้องเข้าถึงความมีคุณภาพทางการศึกษาที่สูงขึ้นด้วย

นี่คือสิ่งที่จะนำพวกเราไปสู่การพิจารณาเรื่องสำคัญเรื่องที่  2 คือ คุณภาพ ขนาดโรงเรียนจะนำมาซึ่งการพิจารณาถึงประสิทธิภาพของการใช้งบประมาณ โรงเรียนได้รับงบประมาณเป็นรายหัว (per-head subsidies) จากรัฐบาลเพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกแก่ครู โดยธรรมชาติแล้วโรงเรียนขนาดเล็กต้องได้งบประมาณน้อยกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่เพราะมีจำนวนนักเรียนมากกว่า

ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในปีท้ายสุดแสดงให้เห็นว่า โรงเรียนขนาดเล็ก (นักเรียน 41-60 คน) โดยเฉลี่ยมีครู 4-5 คน ขณะที่โรงเรียนขนาดใหญ่ (นักเรียน 500 -1,499 คน) โดยเฉลี่ยมีครู 30 คน

นี่คือสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีครูไม่เพียงพอต่อการสอนได้ครบทุกรายวิชา ครูแต่ละคนจะต้องสอนให้ได้มากกว่า 2 หรือ 3 รายวิชาแก่นักเรียนในหลายระดับชั้น ขณะที่การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่จะมีประกาศใช้ในบางโรงเรียน กระบวนการดำเนินการไม่ควรกลายเป็นการได้ผลลัพธ์ทางการศึกษาที่นักเรียนยังเข้าไม่ถึงแหล่งเรียนรู้ การตัดสินใจควบรวมควรจะพิจารณาเป็นราย ๆ

ดังนั้น เราจะมีความคาดหวังกับการควบรวมโรงเรียนเพียงใด

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวว่า โรงเรียนขนาดเล็กสามารถที่จะได้รับการยกเว้นการควบรวม ถ้าโรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเดินทาง

บางโรงเรียนจะได้รับการยกเว้นด้วย ถ้าแสดงให้เห็นว่าผลงานของนักเรียนหรือความสำเร็จสอดคล้องกับค่าเฉลี่ยมาตรฐานการสอบระดับชาติ

ยินดีให้ข้อยกเว้น โดยเฉพาะผู้ที่เรียกร้องที่อยู่ตรงข้ามกับนโยบายนี้ ถ้าหากโรงเรียนขนาดเล็กใดมีคะแนนการสอบ 0-Net สูงกว่าปี 2012

อย่างไรก็ตาม แผนการปัจจุบันของรัฐมนตรี มีการเสนองบประมาณให้นักเรียนคนละ 15-30 บาทต่อคนต่อวัน สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่อาจมีไม่เพียงพอ รัฐบาลควรจะดำเนินการต่อไปถึงการอธิบายเพิ่มเติมว่า จะทำให้การเดินทางปลอดภัยอย่างไรสำหรับเด็กนักเรียน จะต้องอธิบายเกี่ยวกับเรื่องสังคมที่ใหญ่ขึ้นและวัฒนธรรมที่หลากหลายจากกลุ่มคนต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นจะทำอย่างไร

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (The Thailand Development Research Institute’s: TDRI) ได้ทำการวิจัยและเสนอแนะว่าขนาดโรงเรียนตามที่พูดถึงอยู่นี้เพียงอย่างเดียวไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ รัฐบาลควรคิดเกี่ยวกับเรื่องที่สำคัญอีก 2 ประการคือ

ประการแรก หลักสูตรการเรียนการสอนไม่มีการปรับให้เข้ากับการสอนนักเรียนว่า จะทำอย่างไรที่จะทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จได้ในศตวรรษที่ 21 หลักสูตรล้มเหลวในการสอดแทรกทักษะที่เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ การทำงานเป็นทีมและการสื่อสาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในโลกแห่งการงานในปัจจุบัน

ประการที่สอง ระบบการศึกษาขาดการตรวจสอบความรับผิดชอบ (Accountability) ในการผลิตการศึกษาที่มีคุณภาพตกต่ำ เมื่อนักเรียนมีผลการเรียนต่ำลงไม่มีใครสามารถตรวจสอบได้ ความก้าวหน้าและเงินเดือนของครูไม่สอดคล้องกับคุณภาพนักเรียน

ปัจจัยอื่น ๆ เช่น คุณภาพของครู การฝึกอบรม การพัฒนาหลักสูตรและการประเมินผลต้องนำมาพิจารณาด้วยเมื่อตัดสินใจว่าจะพัฒนาคุณภาพโรงเรียนอย่างไร

รายละเอียดของข้อเสนอเหล่านี้สามารถหาอ่านได้ในงานของ Somkiat Tangkitvanich หนังสือพิมพ์ Bangkok Post ฉบับวันที่ 27 มีนาคม 2013 ในหน้า Opinion และมีฉบับที่เป็นภาษาไทยหาอ่านได้ที่ www.tdri.or.th

ในท้ายสุด ถ้าขนาดโรงเรียนทำให้มีผลต่อคุณภาพการศึกษา รัฐบาลควรระมัดระวังในเรื่องการสื่อสารและการลงมือปฏิบัติ ตามแผนปฏิบัติการอันจะทำให้กระทบต่อความรู้ของผู้ที่เกี่ยวข้องในเข้ามาให้ความช่วยเหลือ

หรืออีกนัยหนึ่ง ถ้าโรงเรียนขนาดเล็กได้รับการยกเว้นจากการควบรวม รัฐบาลควรมีข้อเสนอแผนพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนเหล่านี้ด้วย

การมีนโยบายที่เป็นจริง จะทำให้การประกาศสาระสำคัญที่เกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาและผู้จัดทำนโยบายได้คิดให้กว้างไกลออกไปถึงวิธีการปฏิรูปสถาบันทางการศึกษาของเราด้วย สิ่งนี้จะเป็นการรับรองไม่ให้พวกเขาต้องตกหลุมพรางของความไร้ประสิทธิภาพและขาดมาตรฐานในอนาคต หวังว่าในระยะยาวแล้ว เราจะได้ฟังเรื่องเหล่านี้น้อยลง

คัดจาก หนังสือพิมพ์ Bangkok Post ฉบับวันที่ 22 พฤษภาคม 2013 คอลัมน์ POLICY FOCUS หน้า 11

Sunday, May 26, 2013

กาย ฟอกซ์ (Guy Fawkes) ผู้เป็นต้นฉบับของหน้ากากขาว


กาย ฟอกซ์ (Guy Fawkes) ผู้เป็นต้นฉบับของหน้ากากขาว

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat

E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, government, ศาสนา, แคธอลิก, Religious conflict, Church of England, กาย ฟอกซ์, Guy Fawkes, สิทธิมนุษยชน, human rights, ประวัติศาสตร์, history, , อังกฤษ, United Kingdom, UK, England, สเปน, สงคราม 80 ปี, ทักษิณ ชินวัตร


ภาพ หน้ากากขาว สัญลักษณ์การต่อต้านทักษิณ ชินวัตร (พฤษภาคม 2556)


ภาพ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ผู้ต้องโทษและหลบหนี่จากเมืองไทย แต่เป็นที่รู้กันว่าเป็นผู้มีบทบาทแท้จริงในการบริหารบ้านเมืองของไทยในปัจจุบัน และเป็นเหตุของการขัดแย้งแบ่งขั้วอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ความนำ

ในประเทศไทยกำลังเกิดกระแสการต่อต้านระบอบทักษิณ (พฤษภาคม 2556) โดยใช้สัญลักษณ์ภาพหน้ากากขาว ซึ่งได้มาจากภาพยนตร์เรื่อง V For Vendetta ซึ่งเป็นบทประพันธ์ที่ได้กลายเป็นภาพยนตร์ในปี คงศ. 2005 แต่ต้นเรื่องของหน้ากากขาว มาจากประวัติการต่อสู้ในสงครามที่เกี่ยวกับศาสนา และเรื่องของเขาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้กับฝ่ายอำนาจและรัฐบาลในยุคสมัยนั้น และคนสำคัญของเรื่องนี้ คือกาย ฟอกซ์ (Guy Fawkes) ผู้เกี่ยวข้องกับแผนวินาศกรรมรัฐสภาของอังกฤษ (Gun Powder Plot)

แผนวินาศกรรมรัฐสภา
Gunpowder Plot
กาย ฟอกซ์
Guy Fawkes
รายละเอียด
Details
บิดา
Parents
Edward Fawkes, Edith (née Blake or Jackson)
เกิดเมื่อวันที่
Born
วันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1570
13 April 1570 (presumed)
ที่เมืองยอร์ค ประเทศอังกฤษ
York, England
ชื่อและฉายาอื่นๆAlias(es)
กุยโด ฟอกซ์ - Guido Fawkes, จอห์น จอห์นสัน -John Johnson
อาชีพ
Occupation
ทหาร
Soldier; Alférez
Plot
บทบาท
Role
วางระเบิด
Explosives
เข้าร่วมในการก่อการ
Enlisted
20 พฤษภาคม ค.ศ. 1604
20 May 1604
ถูกจับได้เมื่อ
Captured
5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1605
5 November 1605
ต้องโทษข้อหา
Conviction(s)
ทรยศต่อชาติ
High treason
โทษ
Penalty
แขวนคอและลากประจานไปทั่วเมือง
Hanged, drawn and quartered
เสียชีวิต
Died
31 มกราคม ค.ศ. 1606
31 January 1606
อาคารรัฐสภา กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
Westminster, London, England
สาเหตุของการตาย
Cause
ถูกแขวนคอ
Hanged

กาย ฟอกส์ (Guy Fawkes) เกิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1570 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1606 เป็นที่รู้จักกันในชื่อ กุยโด ฟอกซ์ (Guido Fawkes) เมื่อเขาเข้าร่วมต่อสู้ให้กับประเทศสเปนในบริเวณประเทศผู้อยู่ภายใต้อาณานิคม (Low Countries) เขาเป็นสมาชิกของกลุ่มชาวอังกฤษผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคธอลิก ผู้วางแผนสังหารหมู่ และล้มเหลวในเหตุการณ์วางระเบิดในปี ค.ศ. 1605

ฟอกซ์เกิดและได้รับการศึกษาในเมืองยอร์ค (York) บิดาของเขาเสียชีวิตเมื่อเขาอายุได้ 8 ปี หลังจากนั้น มารดาของเขาแต่งงานใหม่กับคนผู้นับถือนิกายโรมันแคธอลิก ฟอกซ์ในช่วงต่อมาได้เปลี่ยนศาสนาเป็นแคธอลิกตามสามีของมารดา แล้วเขาออกจากเกาะอังกฤษไปอยู่ในส่วนภาคพื้นทวีป ซึ่งเขาได้ร่วมต่อสู้ในสงครามอันเกิดจากความข้ดแย้งทางศาสนา 80 ปี โดยเข้ากับฝ่ายสเปนซึ่งคนส่วนใหญ่นับถือนิกายแคธอลิก ทำการต่อสู้กับฝ่ายต่อต้านศาสนจักรโรมันแคธอลิก คือพวกดัชฝ่ายปฏิรูปศาสนา (Dutch reformers) เขาเดินทางไปสเปน เพื่อขอการสนับสนุนให้กับฝ่ายชาวอังกฤษที่ยังนับถือคริสตศาสนานิกายโรมันแคธอลิก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ในช่วงต่อมา เขาพบกับโธมัส วินทัวร์ (Thomas Wintour) และได้ร่วมกันกลับมาอังกฤษ

สงคราม 80 ปี หมายถึงสงครามที่ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายใต้อาณานิคม ซึ่งรวมถึงเนเธอร์แลนด์ อันได้แก่ สหมณฑล (United Provinces) อังกฤษ ( England) นาสซอ (Nassau) ฮูเกอโนทซ์ (Huguenots) และฝรั่งเศส (France) กับ อีกฝ่ายหนึ่ง คือจักรวรรดิสเปน (Spanish Empire) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยฝ่ายศาสนจักรโรมัน (Holy Roman Empire)

วินทัวร์แนะนำเขาให้รู้จักกับโรเบิร์ต แคทส์บีย์ (Robert Catesby) ผู้วางแผนสังหารพระเจ้าเจมส์ที่ 1(Jame I) และหวังกลับมาสถาปนาราชวงศ์ใหม่ผู้นับถือนิกายโรมันแคธอลิก คณะผู้ก่อการวางแผนวางถังดินปืนจำนวนมากไว้ใต้อาคารสภาขุนนาง (House of Lords) ฟอกซ์ได้รับมอบหมายให้เป็นคนเฝ้าดินระเบิดในบริเวณใต้อาคารนั้น แล้วให้รอสัญญาณจากจดหมายที่ไม่แจ้งผู้ส่ง แต่ฝ่ายรัฐบาลได้เข้าค้นวังเวสมินเตอร์ (Westminster Palace) ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 5 พฤศจิกายนเสียก่อน และพบฟอกซ์กำลังเฝ้ากองระเบิด ในช่วงหลายวันต่อมาฟอกซ์ถูกจับทรมานเพื่อสอบสวน และในที่สุดเขาก็ทนความเจ็บปวดไม่ไหว แล้วบอกความลับออกมาว่ามีใครเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายบ้าง

หลังจากนั้น ในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1606 เขาถูกนำตัวขึ้นแท่นประหารบนเวทีสูง ในช่วงก่อนที่จะถูกแขวนคอ เขาได้รีบกระโดดจากเวทีหัวฟาดพื้น คอหักตาย ทั้งนี้เพื่อหลีกหนีความโหดร้ายในการต้องถูกฆ่าแล้วหั่นศพไปประจานตามมุมต่างๆของเมือง

ฟอกซ์ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของ “แผนวางระเบิดรัฐสภา” (Gunpowder Plot) ที่ล้มเหลว แล้ววันที่ พฤศจิกายน ค.ศ. 1905 ได้กลายเป็นวันเฉลิมฉลองของฝ่ายนิกายแคธอลิก ซึ่งจะมีการเผาหุ่นของเขา และตามด้วยการจุดพลุเฉลิมฉลอง


ภาพ กาย ฟอกซ์ (Guy Fawkes) คนที่สามจากทางขวา เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้กับรัฐบาล ในช่วงวางแผนล้มรัฐบาลและราชวงศ์อังกฤษในช่วงปี ค.ศ. 1904-1905


พลตำรวจเอก วสิษฐ เดชกุญชร (คนขวา ใส่เสื้อสีอ่อน) นายตำรวจนอกราชการและนักคิดนักเขียน และอาจารย์แก้วสรร อติโพธิ (คนซ้าย)