Saturday, August 31, 2013

การจัดการกับสงครามกลางเมืองในซีเรีย ไม่ใช่เรื่องง่าย


การจัดการกับสงครามกลางเมืองในซีเรีย ไม่ใช่เรื่องง่าย

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, foreign relations, สงครามกลางเมือง, civil war, สหประชาชาติ, UN, สหรัฐอเมริกา, USA, ซีเรีย, Syria, อาวุธสงครามสารเคมี, chemical weapons,


ภาพ ผู้เสียชีวิตจากอาวุธเคมีซีเรีย ในครั้งเดียวกว่า 1400 คน

ศึกษาและเรียบเรียงจาก “Three Reasons Congress May Not Approve War In Syria.” Obama has challenged Congress to approve action in Syria, it’s a challenge Congress may not be able to meet, Time, Jay Newton-Small @JNSmall, Aug. 31, 2013

ในทัศนะของอเมริกัน - ในซีเรีย (Syria) มีการสังหารหมู่ด้วยแก๊สพิษ คนเสียชีวิต 1500 คน รวมถึงเด็กๆหลายร้อยคน รัฐบาลอัสซาดได้ก้าวข้ามสิ่งที่เคยถูกปรามมาก่อนนี้ อเมริกันเองถูกท้าทายในอิหร่าน เกาหลีเหนือ และเวเนซูเอล่า ด้วยระบบสืบราชการลับ ไม่ใช่เรื่องยากที่จะรู้ชัดว่าใครเป็นฝ่ายกระทำ และเผด็จการอัสซาดผู้พ่อของซีเรีย ก็เคยกระทำกับฝ่ายกบถ สังหารคนนับแสนมาก่อนหน้านี้มาแล้ว

เมื่อประธานาธิบดีโอบามา (Barack Obama) นำเรื่องนี้เพื่อรับคำปรึกษา และให้รัฐสภาอภิปราย นั่นคือซื้อเวลาตัดสินใจโจมตีซีเรียอีกอย่างน้อย 10-15 วัน และคำตอบไม่ง่าย ด้วย 3 ประเด็น

หนึ่ง เมื่อมีเรื่องเกี่ยวกับสงครามเข้าอภิปรายในสภา ดังกรณีของการใช้กำลังในลิเบีย ก็ไม่เกิดผลเป็นมติออกมา เสียงของสภาแตก ไม่มีมติที่ชัดเจน

สอง อเมริกามีสองพรรค เสียงมักจะแตกออกเป็นสองเสี่ยง และพรรคดีโมแครตเองก็เป็นพวกไม่อยากทำสงครามนอกประเทศ และ

สาม การเข้าทำสงครามในนอกประเทศ โดยเฉพาะในช่วงอเมริกันต้องการการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เปราะบาง ย่อมไม่ได้รับความนิยมทางการเมืองจากคนอเมริกัน

โอบาม่าเอง เข้าบริหารประเทศในปี ค.ศ. 2008 ด้วยนโยบายยุติสงคราม แล้วนำทหารอเมริกันกลับบ้านหาครอบครัว แทนที่จะต้องแบกโลงศพกลับอย่างไม่มีวันจบ

จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ประธานาธิบดีจะได้แรงสนับสนุนจากรัฐสภา ในการจัดการกับฝ่ายอัสซาดแห่งซีเรีย ส่วนสหประชาชาติบอกว่าต้องใช้เวลาอีก 2 เดือนกว่าจะยืนยันผลการพิสูจน์อย่างแน่นอน แล้วอีกด้านหนึ่ง สหประชาชาติก็ให้ความเห็นมาว่า “การใช้กำลังทหารไม่ใช่ทางออกของปัญหาความขัดแย้งในซีเรีย” แต่การจะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ก็แน่ชัดว่าจะต้องได้รับการขัดขวางจากรัสเซียและจีน

จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะใช้กำลังทหารเข้าจัดการลงโทษเผด็จการอัสซาดในการสังหารหมู่ประชาชนด้วยอาวุธเคมี


Wednesday, August 21, 2013

พรรคประชาธิปัตย์ ต้องสู้ในสภา และสู้ในทุกวิถีทางตามกฎหมาย


พรรคประชาธิปัตย์ ต้องสู้ในสภา และสู้ในทุกวิถีทางตามกฎหมาย

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, ธรรมาภิบาล, good governance, government, ประชาธิปไตย, สังคมอารยะ, civil society, พรรคประชาธิปัตย์, Democrat Party, parliamentary system


ภาพ ที่ดูไม่สวยงามในรัฐสภาไทย


ภาพ การนำกำลังตำรวจเข้าล้อมประธานสภาฯ ยิ่งทำให้ภาพสภาฯไทย เหมือนเป็นสภาเผด็จการ

ใน Facebook มีผู้ตั้งคำถามต่อบทบาทพรรคประชาธิปัตย์ ในการต่อสู้เรื่อง “กฎหมายนิรโทษกรรม” ที่อาจมีการซ่อนเงื่อนช่วยเหลือปล่อยคนผิดในคดีอาชญากรรม คดีคอรัปชั่น โดยเฉพาะการช่วยพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้หนีคดีอาญาที่ได้มีการตัดสินคดีความไปแล้ว

ภาพ และคำถาม “ปชป อยู่ในสภาแล้วต้องสู้กันแบบนี้ มาสู้กันนอกสภาจะดีกว่ามั้ย
Thai Hrd shared astvpolitics's photo. Via Facebook, วันที่ 20 สิงหาคม 2556

ภาพบรรยากาศการประชุมร่วมรัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มาของ ส.ว. ระหว่างเกิดความวุ่นวายหลังจากที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ได้ให้ตำรวจสภา เข้ามานำตัว ส.ส.ออกจากที่ประชุม หลังไม่พอใจการลงมติที่ระบุว่าแปรญัตติเป็นการขัดต่อหลักการ จนเป็นเหตุให้มีการปะทะกันระหว่าง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และตำรวจขึ้น

คำถามอย่างนี้มีคนจำนวนหนึ่งที่สงสัยแนวทางการต่อสู้ของพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ว่า การต่อสู้กับเผด็จการทางรัฐสภาของฝ่ายรัฐบาลยิ่งลักษณ์-ทักษิณ และพรรคเพื่อไทย เป็นการต่อสู้ที่จะสูญเปล่า มีแต่จะแพ้ และเท่ากับไปตอกย้ำ ให้ความชอบธรรมแก่รัฐบาลในการทำอะไรได้ตามใจ เพียงมีเสียงข้างมากในรัฐสภาหรือไม่?

 ซึ่งก็เป็นการตั้งคำถามของคนจำนวนหนึ่งที่ผมเองก็ให้ความเคารพในความคิดนี้ แต่ผมก็มีความคิดและหลักยึดอย่างหนึ่ง ที่แตกต่างกันออกไป แม้โดยหลักการเห็นด้วยกับการต่อต้านระบอบทักษิณ และการเล่นการเมืองแบบ “ประชานิยม” (Populism politics) และการใช้วิธีการเผด็จการทางรัฐสภา
ที่ไม่เห็นด้วยกับการต่อสู้แบบล้มระบบรัฐสภา เพราะ ...

พรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคการเมืองตามกฎหมาย มีหน้าที่ต้องต่อสู้ในระบบรัฐสภา และควรสู้ในทุกวิถีทางในระบอบรัฐสภา ฐานเสียงส่วนใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์ ก็เป็นพวกไม่นิยมต่อสู้นอกกรอบประชาธิปไตย

พรรคประชาธิปัตย์ ควรอภิปรายในทุกประเด็นที่เห็นว่าไม่ถูกต้อง โดยใช้หลักการข้อเท็จจริง และเหตุผล บันทึกทั้งด้วยภาพ และถอดความ เก็บไว้เป็นหลักฐานว่าได้พูดแล้ว เตือนแล้ว

พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อเหลืออด จะประท้วง โดยการเดินออกจากห้องประชุม (Walk out) ไม่ร่วมสังฆกรรม ไม่ให้ความชอบธรรมในสิ่งที่ไม่ถูกต้องในบางประเด็นที่เป็นหลักการ ก็ทำได้

พรรคประชาธิปัตย์ จะเปิดเจรจากับฝ่ายรัฐบาลอย่างเปิดเผยก็ทำได้ ทั้งในและนอกสภา การนิรโทษกรรม และสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ (Reconciliation) นั้นเป็นหนทางทางการเมืองอย่างหนึ่ง ที่นำบ้านเมืองให้กลับสู่ความเป็นปกติ แต่นั่นต้องไม่ไปทำลายหลักนิติรัฐและประเพณีการปกครองอันดี

พรรคประชาธิปัตย์ ต้องใช้สื่อทุกด้านให้เป็นประโยชน์ สื่อทีวีเสรี สื่อวิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และสื่อออนไลน์ Social media ดัง Twitter และ Facebook สื่อกระแสหลักแม้จะเป็นของรัฐ และถูกครอบงำโดยฝ่ายมีอำนาจ แต่เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองไม่เป็นปกติมากยิ่งขึ้น คนจะยิ่งหันมาดูมาฟังสื่อทางเลือกที่ไม่สามารถปิดกั้นได้แล้วในปัจจุบัน

พรรคประชาธิปัตย์ มีความชอบธรรมที่จะสู้ด้วยการเปิดอภิปรายนอกสภา ร่วมกับกลุ่มอื่นๆรณรงค์ต่อต้านระบอบทักษิณ “ในฐานะบุคคล” โดยไม่ผิดกฎหมายในระบอบประชาธิปไตย

พรรคประชาธิปัตย์ ต้องสู้ในทุกการเลือกตั้งท้องถิ่น (Local politics) หากคนมีอำนาจเงิน มีอิทธิพล และมีฐานเสียงมากที่สุด พรรคจะสรรหามาสู้ไม่ได้ แต่คนที่ดี คนมีศักยภาพ และที่สำคัญ คือคนที่ใจสู้พร้อมเป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริงก็ยังมีอยู่ จะเล่นการเมืองแล้วเล่นแบบน้ำเน่าเหมือนเขา มันจะมีประโยชน์อันใด

แต่สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่พึงกระทำแน่ๆ ก็คือ ...

การอิงกับทหาร เพื่อการทำรัฐประหาร โค่นล้มระบอบทักษิณด้วยวิธีการนอกรัฐธรรมนูญ

การสู้ด้วยการร่วมกับประชาชน ต่อสู้ในแบบใช้กำลังอาวุธ เหมือนที่กลุ่มต่อต้านรัฐบาลอัสซาดของประเทศซีเรีย (Syria) กระทำ และกลุ่มมุสลิมภราดรภาพ (Muslim Brotherhood) ในประเทศอียิปต์ เพราะนั่นหมายถึงการนำประเทศเข้าสู่ความเป็นสงครามกลางเมือง (Civil war) ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีความจำเป็น ประเทศไทยยังมีวิธีการต่อสู้ในหลักการสันติภาพ และตามวิถีทางประชาธิปไตยอื่นๆอยู่อีกมาก

การก้าวสู้ความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ในที่สุด ก้าวสู่ความเป็นสังคมอารยะของประเทศไทยนั้น ยังอีกยาวไกล แต่เราก็กำลังเดินไปตามเส้นทางนั้น และไม่มีหนทางลัดบนเส้นทางนี้




Tuesday, August 20, 2013

คำแนะนำจาก ดร. สุทธิพร จีระพันธุ - สู่ความสำเร็จในชีวิตคู่


คำแนะนำจาก ดร. สุทธิพร จีระพันธุ - สู่ความสำเร็จในชีวิตคู่

Keywords: ความสำเร็จ ชีวิตคู่, life success, marriage, wedding,

ในงานมงคลสมรสระหว่างทันตแพทย์หญิงขวัญเดือน ภารา ธิดาของคุณเกียรติยา ภารา และนายปราชญ์ คุปรัตน์ บุตรชายของผม ประกอบ คุปรัตน์และ ผศ.ดร. ณัฐนิภา คุปรัตน์ ณ โรงแรม Four Seasons ถนนราชดำหริ กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ผมในนามเจ้าภาพของทั้งสองฝ่าย ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ได้มาร่วมเป็นเกียรติและส่งความปรารถนาดีในงานดังกล่าว


ภาพ ดร. สุทธิพร จีระพันธุ (ใส่เสื้อสีเข้มยืนด้านหลัง) ถ่ายภาพร่วมกับเพื่อนเทพศิรินทร์รุ่น 04-06 เมื่อมาประชุมที่บ้านอิฐแดง (Red Brick House) 134 ซอยอารีย์สัมพันธ์ 5 ถนนพหลโยธิน กทม. 10400

ดร. สุทธิพร จีระพันธุ เพื่อนร่วมรุ่นเทพศิรินทร์ 04-06 อดีตรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยภริยา คุณสุมาลี จีระพันธ์ ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในงานฝ่ายเจ้าบ่าว และท่านได้ให้โอวาทแก่คู่บ่าวสาวที่จำได้ง่ายๆและมีค่ายิ่ง ท่านได้ให้หลัก 3 ประการในการใช้ชีวิตคู่ คือ “อดทน อดกลั้น และอดออม” ซึ่งผมขอนำหลักนี้มาขยายความ เพื่อเป็นหลักคิดสำหรับผู้จะใช้ชีวิตคู่ทั้งหลายต่อไปในอนาคตด้วย

อดทน (Persistence) หรือความเพียร ความไม่ย่อท้อ ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคใดๆได้โดยง่าย ชีวิตคู่เป็นชีวิตเริ่มต้นที่ไม่สมบูรณ์ แต่เราทำให้มันสมบูรณ์ขึ้นได้ ชีวิตคู่เป็นชีวิตที่ต้องเดินไปข้างหน้า เดินไปด้วยกัน ด้วยความเพียรพยายาม เพราะเราไม่ได้บากบั่นเพียงเพื่อตัวเรา แต่สำหรับคนที่เรารัก และลูกหลานต่อๆไปในอนาคตด้วย

อดกลั้น (Tolerance) ความอดกลั้นสำคัญที่สุด คือความอดกลั้นที่จะไม่ใช้อารมณ์เข้าหากัน ต้องทำใจให้กว้างที่จะเข้าใจความแตกต่างซึ่งกันและกัน ทั้งทางด้านความคิดเห็น ค่านิยม และแม้แต่จุดหมายในชีวิตที่อาจไม่เหมือนกัน คนที่จะใช้ชีวิตคู่ ต้องไม่ทำอะไรเพียงตามใจตัวเอง ต้องคิดถึงอย่างเอาใจเขามาใส่ใจเรา ใช้ความรักและมีความเข้าใจต่อกันให้มาก มากกว่าที่จะมาตัดสินผิดถูกหรือคิดอย่างเอาแพ้เอาชนะกัน

อดออม (Conserve, save) เราอยู่ในโลกที่มีความจำกัด เราต้องรู้จักใช้ทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่โดยรอบอย่างใช้สติและปัญญาควบคู่กัน ต้อง “ใช้ให้น้อยกว่าที่หาได้” ในด้านใช้ชีวิตส่วนตัว ให้ยืดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ให้อดเปรี้ยวไว้กินหวาน ให้ทำงานหนักเมื่อหนุ่ม/สาว ไว้กินเมื่อยามแก่เฒ่า จริงอยู่เราอาจคิดว่า มีเงินมีทองก็ให้ใช้ไป ตายแล้วเอาไปไม่ได้ แต่สิ่งที่ต้องคิดอย่างอนุรักษ์คือ การใช้อย่างไม่มีขีดจำกัด แม้ยังไม่ตายก็หมดตัวเสียแล้ว แทนที่จะเป็นที่พึ่งแก่คนอื่นๆ กลับกลายเป็นภาระให้คนอื่นๆรอบข้าง ดังนี้จะเป็นเรื่องที่น่าเสียใจอย่างมาก

การเริ่มชีวิตคู่ ก็เหมือนกับการเดินเรือ ที่เริ่มหันหัวเรือออกสู่ทะเล ชีวิตต่อไปในอนาคตไม่มีใครรู้ แต่ก็ให้มองเสียว่า ชีวิตเหมือนการเดินเรือท่องทะเล มันมีการผจญภัย มีอะไรที่แปลกใหม่ ตื่นเต้น มีผิดหวังสมหวัง มีปัญหาและอุปสรรค และมีสิ่งใหม่ๆที่เราจะเรียนรู้มากมาย และเราต้องสนุกที่จะเผชิญกับมัน หากมีปัญหาใดๆในอนาคต ก็ให้เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหานั้นๆไป ตราบที่ทั้งสองมีความรักและความปรารถนาดีต่อกัน ไม่มีอะไรที่ยากเกิน

สุดท้าย ขออวยพรให้ทุกคู่ที่จะใช้ชีวิตร่วมกัน ได้ประสบความสุข ความสำเร็จทั้งในชีวิตการทำงาน และชีวิตครอบครัวตลอดไป

พี่น้องชาวไทย เตรียมรับสภาพเศรษฐกิจถดถอย ...


พี่น้องชาวไทย เตรียมรับสภาพเศรษฐกิจถดถอย ...

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: เศรษฐกิจ, economy, economics, เศรษฐกิจถดถอย, recession, การเมือง, politics, การปกครอง, governance, ธรรมาภิบาล, good governance, ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, populism policy, corruption

ดรรชนีตลาดหลักทรัพย์ หรือ SET ในวันที่ 20 สิงหาคม 2556 อยู่ที่ 1,370.86 ติดลบจากวันก่อน -27.62 คิดเป็นร้อยละ -1.98 มีการซื้อขายกันที่ 58,041.96 ล้านบาท ดรรชนีตลาดหลักทรัพย์เคยขึ้นสูงถึงเกือบ 1600 จุด แล้วลดลงมาเป็นลำดับ จนถึงวันนี้ 1,370.86

ในอีกด้านหนึ่ง ทางฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ต่างก็ออกมาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ไทยได้เข้าสู่สภาพเศรษฐกิจถดถอยแล้ว อ่านได้จาก The Nation, Bangkok Post, ในประเทศไทย สำหรับต่างประเทศ ติดตามได้ที่ Bloomberg, Reuters, BBC News, The Economists, Asianewsnet, Taipei Times ของไต้หวัน และอีกมากมาย

สำหรับคนระดับชาวบ้านธรรมดาอย่างผม ที่ไม่ได้ทำธุรกิจใหญ่โต ก็พอมองเห็นสาเหตุของความถดถอยว่ามาจากอะไรในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มันเป็นเหตุจากในประเทศไทยเองเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยพื้นฐานเศรษฐกิจของไทยมีความแข็งแกร่งอย่างมากอยู่แล้ว หากภาครัฐบาลรู้จักบริหารประเทศอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ทำการบริหารบ้านเมืองให้โปร่งใส ใช้หลักธรรมาภิบาล ในทางเศรษฐกิจ ก็ให้ยึดหลักละเอียดและถี่ถ้วนในการใช้เงินงบประมาณของแผ่นดิน จะลงทุนทำอะไรก็ต้องคิดถึงผลได้ผลเสีย อย่านำประเทศไปสุ่มเสี่ยงกับนโยบายประชานิยม (Populism policy) ใช้เงินอย่างไม่เป็นเหตุเป็นผล กลับไปสร้างความอ่อนแอ เปลี่ยนประชาชนส่วนหนึ่งที่ควรจะยืนอยู่บนขาของตัวเองได้ให้กลายเป็นขอทาน

แต่กลับเป็นตรงกันข้าม ความมีอำนาจทางการเมืองภายใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์-ทักษิณ และพรรคเพื่อไทย กลับกระทำการบริหารประเทศอย่างย่ามใจ ไม่ได้คำนึงถึงเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศว่าจะได้รับผลเสียอย่างไรบ้าง

จากข่าวและข้อมูลทางธุรกิจและเศรษฐกิจ ทำให้ผมต้องมาอ่านข้อมูลจากฝ่ายเศรษฐกิจของพรรคฝ่ายค้าน กรณ์ จาติกวณิชย์ (Korn Chatikavanij) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ได้โพสต์ข้อความลงใน Facebook ในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งเขียนเอาไว้อย่างง่ายๆ เพื่อเตือนสตินักธุรกิจและนักลงทุนทั้งหลาย

โปรดอ่านดูครับ แล้วลองคิดดู

Korn Chatikavanij · 342,554 like this, 20 hours ago ·

ถดถอย?

"Recession" คือ 'ภาวะถดถอย' ทางเศรษฐกิจ วิธีวัดทางเทคนิคคือการเปรียบเทียบอัตราการขยายตัวของ GDP ในแต่ละไตรมาสเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านั้น และถือว่าเข้าสู่ 'ภาวะถดถอย' ถ้าการเปรียบเทียบเช่นนีี้ติดลบสองไตรมาสติดต่อกัน

วันนี้ถือว่าเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ 'ภาวะถดถอย' อย่างเป็นทางการแล้วหลังจากที่สภาพัฒน์ได้เปิดเผยตัวเลขทางเศรษฐกิจซึ่งสร้างความตกใจให้กับนักลงทุนพอสมควร โดยสรุปคือไตรมาส ๒ มีการขยายตัวติดลบ 0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาส ๑ และไตรมาส ๑ เองติดลบ 1.7% เมื่อเทียบกับไตรมาส ๔ ของปีที่แล้ว

ถือว่าเป็นการเข้าสู่ภาวะถดถอยครั้งแรกตั้งแต่ช่วงวิกฤติปี ๕๑-๕๒ ความหมายคืออะไร

อันดับแรก เทียบกับปีที่แล้วโดยรวมเศรษฐกิจยังโตอยู่ เพียงแต่อัตราการขยายตัวชะลอลงอย่างมาก และที่เป็นเช่นนั้นเพราะตัวขับเคลื่อนทุกตัวชะลอตัวหมด ไม่ว่าจะเป็นการอุปโภคบริโภค การลงทุน การส่งออก หรือ การลงทุนโดยรัฐ

ถามว่าถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไปมีผลอย่างไรกับเรา มีเยอะครับ อันดับแรก ธุรกิจต่างๆซบเซาก็ทำให้เงินฝืด ขาดความคล่องตัว รายได้ทุกคนลดลง มนุษย์เงินเดือนอย่างเก่งก็คือขาดโอที ขาดโบนัส เลวร้ายกว่านั้นก็คือถูกลดเงินเดือนหรือถูกปลดออกจากตำแหน่ง นักศึกษาจบมาใหม่ก็จะหางานยากขึ้น ประชาชนจำนวนมากวันนี้รับภาระหนี้อยู่หนักอึ้งอยู่แล้วก็จะลำบากมากขึ้นเพราะภาระหนี้ยังคงอยู่แต่รายได้ลดลง

ส่วนภาครัฐรายได้ภาษีก็จะลดลง นอกเสียจากจะรีดไถชาวบ้านหนักมากขึ้น เพราะดันไปลดภาษีกำไรให้ผู้ประกอบการไปแล้วปีละเกือบ ๒ แสนล้านบาท การขาดดุลมากขึ้นก็คือต้องกู้มากขึ้น และเมื่อ GDP โตช้า ฐานคำนวณหนี้สาธารณะก็จะเล็กลง สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ก็จะเพิ่มขึ้น มีผลต่อเครดิตของประเทศและระดับความเชื่อมั่น ต้นทุนการกู้ยืมของเราจะสูงขึ้น ขีดความสามารถในการแข่งขันก็จะลดลง
ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ 'ฝ่ายค้าน' มองในแง่ลบเกินไป แต่เป็นข้อเท็จจริงตามหลักเศรษฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นแน่ถ้าสถานการณ์ไม่ดีขึ้น

ที่น่าแปลกใจคือประเทศไทยเราเข้าสู่สภาวะนี้ทั้งๆที่ไม่ได้มี 'วิกฤติ' อะไรมาเป็นตัวฉุด

และนี่เรายังไม่ได้เห็นผลจากการถอนเงินทุนโดยต่างประเทศที่อาจจะเกิดขึ้นถ้าสหรัฐส่งสัญญาณยกเลิกการกระตุ้นด้วยนโยบายการเงิน (QE)

แต่ที่ปฏิเสธไม่ได้อีกก็คือนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ประชานิยมที่เงินไม่ถึงมือชาวบ้าน ซํ้าร้ายกลายเป็นการเพิ่มภาระหนี้ให้เขา และเป็นภาระมหาศาลต่องบประมาณแผ่นดิน

ส่วนนโยบายการคลังก็พลาดเพราะมัวทำเก๋ ลดงบลงทุนในงบประมาณมาสองปีติดเพื่อพยายามหลอกชาวบ้านว่างบขาดดุลน้อยลง มีวินัยการคลัง แต่จริงแล้วหลบไปใช้วิธีกู้ 'นอกระบบ' ซึ่งจนถึงวันนี้ก็ยังเดินหน้าไม่ได้ และอาจจะเดินหน้าไม่ได้เลย เสียเวลาฟรีในการลงทุนไปเป็นปี นี่เป็นรัฐบาลมาสองปีเต็มแล้ว การลงทุนไม่ขยับ มีแต่การ 'พูด' ว่าจะลงทุน

ถึงวันนี้ไม่มีทางเลือกแล้วครับ กระตุ้นการบริโภคด้วยการกระตุ้นให้ชาวบ้านเพิ่มหนี้ก็ไม่ได้แล้ว ต้องหาวิธีเพิ่มรายได้อย่างเดียว และต้องทำด้วยการ ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ ลดการกินหัวคิว เพิ่มราคาพืชผลการเกษตร พัฒนาทักษะแรงงานไทยทุกระดับ ลดภาระหนี้ของประชาชน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งบประมาณโดยภาครัฐ และลดเงื่อนไขขัดแย้งทางการเมืองที่มีผลต่อบรรยากาศการลงทุนโดยรวม

ส่วนพวกนโยบายหลอกล่อชาวบ้าน เลิกได้แล้วครับ เลือกตั้งคุณก็ชนะมาตั้งนานแล้ว ควรเอาจริงกับหน้าที่การเป็นรัฐบาลมากกว่า มีใครได้ข่าวการทำงานของครม.เศรษฐกิจบ้างไหม มีใครได้ฟังแนวทางการแก้ปัญหาจากท่านนายกฯ หรือรองนายกฯเศรษฐกิจหรือไม่ มีการพูดคุยเรื่องอย่างนี้ในสภาฯบ้างหรือเปล่า ไม่มีเลยครับ แถลงผลงานปีแรกยังไม่กล้าทำ สภาฯก็ไม่ยอมเข้า ถ้าผลงานดีไม่ว่า แต่ถ้าเป็นแบบนี้ต้องต่อว่าครับ

คิด เขียน โพสต์ - ความอัปยศสภาผู้แทนไทย


คิด เขียน โพสต์ - ความอัปยศสภาผู้แทนไทย

โดย วัชรินทร์ สอนพูด via Facebook, วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556


ภาพ วัชรินทร์ สอนพูด

Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, government, ประเทศไทย, Thailand, รัฐสภา, parliament, ประชาธิปไตย, democracy, ความสมานฉันท์และการแสวงหาความจริง, truth and reconciliation


หลังเลิกงาน ผมนั่งชมการถ่ายทอดสดการประชุมสภาผู้แทนราษฎรจนถึงพักการประชุม พบเห็นพฤติกรรมของนักการเมือง ที่มักเรียกกันว่า "ผู้ทรงเกียรติ" บางคนไม่กล้าแตะต้อง เพราะ..เข้าใจผิดในข้อเท็จจริงว่า "นักการเมือง"แตะต้องไม่ได้ กด LIKE ถูกจับแน่ กด SHARE ติดคุก..??

โดยความจริงคือ"บุคคลสารธารณะ"ที่ประชาชนต้องการ คือ ต้องกล้าหาญทางจริธรรมในการวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งกลุ่มคนแค่หยิบมือเดียวเหล่านี้ "กินเงินประชาชน" ประจำเดือน เช่น ประธานสภา 120,590 บาท/เดือน, รัฐมนตรี 115,740 บาท/เดือน, ส.ส.และส.ว. 113,560 บาท/เดือน

จุดยืนผมตอกย้ำชัดเจนมาอย่างต่อเนื่อง ปัญหาของชาติบ้านเมืองขณะนี้เป็นปัญหาปากท้อง การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะเปลี่ยนผ่านจาก "สภาผัวเมีย" สู่ "สภาครอบครัว" ไม่ได้ทำให้ประชาชนลืมตาอ้าปากจากค่าครองชีพที่แสนแพงได้ การเมืองเป็นเรื่องผลประโยชน์ที่ต้อง "กินแบ่ง" ไม่ใช่มุ่งสู่การ "จะกินรวบ" อย่างเบ็ดเสร็จ

ผมอยากเห็นการปรองดองที่ยึดหลักนิติรัฐ โดยหลักข้อเท็จจริงและหลักกฎหมายได้รับการพิสูจน์ให้สิ้นกระแสสงสัย อาทิ

1. อยากเห็นการพิสูจน์ว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นฆาตกรฆ่า 91 ศพ จริงหรือไม่?

2. อยากเห็นพล.ต.จำลอง ศรีเมือง และพันธมิตร มีความผิดข้อกล่าวหาก่อการร้าย จริงหรือไม่?

3. พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธแดง ใครเป็นคนฆ่ากันแน่? ซึ่ง น.ส.ขัตติยา (เดียร์) บุตรสาวเรียกร้องมากอยากรู้ว่า "ใครฆ่าพ่อ" ผมอยากรู้ และ

4. คดีอื่นที่มีคนในข่ายการนิรโทษกรรมไม่กี่คนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดว่าจะผิดถูกอย่างไรหรือไม่?

ในความเป็นจริง ความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันไม่เป็นปัญหาเลยสำหรับสังคมไทย เรา..ท่านคิดต่างกันได้ รัก ชอบที่แตกต่างกันได้ แต่ ! ต้องไม่กระทำผิดกฎหมายบ้านเมือง ไม่ละเมิดสิทธิ ชีวิตและร่างกายของผู้อื่น

"สมรภูมิทางอารมณ์" ของสภาผู้แทนราษฎรวันนี้ นี่คือความน่าอับอาย ความถ่อยเถื่อน และเป็นการจุดชนวนความขัดแย้งใหม่

นี่...คือสัญญาณร้ายอันตรายต่อประเทศไทย...ผมรำลึกถึงตำนานสุภาพบุรุษที่เลี้ยงช้างโดยพลัน นั่นคือกำนันชัย ชิดชอบ...ช่วยตอบโจทย์แทนผมด้วยครับ !

วัชรินทร์ สอนพูด @ 20 สิงหาคม 2556 @

Friday, August 16, 2013

อียิปต์ปกป้องการตอบโต้ฝ่ายผู้ประท้วงรุนแรง ท่ามกลางการประณามจากทั่วโลก


อียิปต์ปกป้องการตอบโต้ฝ่ายผู้ประท้วงรุนแรง ท่ามกลางการประณามจากทั่วโลก

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, government, governance, ความขัดแย้ง, conflict, ความรุนแรง, violence, อียิปต์, Egypt, โมฮัมเหม็ด มอร์ซี, Mohamed Morsy, มุสลิมภราดรภาพ, Muslim Brotherhood

เรียบเรียงจาก “Egypt defends protest response amid condemnation.” โดย Reza Sayah และ Michael Pearson, CNN, August 16, 2013 -- Updated 0523 GMT (1323 HKT)


ภาพ สตรี 2 คน ท่ามกลางความรุนแรงในการต่อสู้ และกวาดล้างฝ่ายต่อต้านรัฐบาล


ภาพ ผู้สนับสนุนฝ่ายนายมอร์ซี กำลังหลบบุกเข้ากวาดล้างของฝ่ายกองกำลังรัฐบาล ในวันที่ 14 สิงหาคม


ภาพ ความรุนแรงในการกวาดล้างผู้ประท้วง ที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 500 คน วันที่ 14 สิงหาคม


ภาพ ผู้สนับสนุนนายมอร์ซีกำลังวิ่ง ในขณะที่ฝ่ายกองกำลังรักษาความมั่นคงได้ยิงมายังเขา ในวันที่ 14 สิงหาคม




ภาพ ตำรวจอียิปต์ร่วมในพิธีศพของเพื่อนตำรวจที่เสียชีวิต ในวันที่ 15 สิงหาคม


ภาพ ประชาชนกำลังค้นหาซากปรักหักพังที่จัตุรัส Rabaa al-Adawiya วันที่ 15 สิงหาคม

ความรุนแรงในอียิปต์

กรุงไคโร (CNN) – หนึ่งวันหลังจากมีผู้เสียชีวิต 580 คน (พุธที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 2013) ในการประทะกันระหว่างผู้ประท้วงและฝ่ายรักษาความมั่นคง รัฐบาลอียิปต์ปกป้องการกระทำต่อฝ่ายผู้ประท้วงที่รุนแรง ท่ามกลางการประณามจากทั่วโลก ฝ่ายรัฐบาลบอกว่าฝ่ายกองกำลังรักษาความปลอดภัยต้องยิงตอบโต้เพื่อป้องกันตนเอง และไม่รับผิดชอบต่อผู้เสียชีวิตจำนวนมากนี้

ความรุนแรงนี้ทำให้ผู้นำในโลกประณาม บางส่วนเป็นมิตรกับรัฐบาลอียิปต์มาเป็นเวลานาน โดยเกือบทั้งหมดวิจารณ์รัฐบาลกรุงไคโรที่กระทำที่รุนแรงต่อผู้ประท้วงผู้สนับสนุนประธานาธิบดีนายโมฮัมเหม็ด มอร์ซี (Mohamed Morsy) ซึ่งได้ถูกรัฐประหารปลดออกจากตำแหน่งในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
นอกจากมีผู้เสียชีวิตไปหลายร้อยคน กระทรวงสาธารณสุขของอียิปต์ได้รายงานว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 4,000 คนในช่วงวันพุธที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมา เมื่อกองกำลังได้เคลื่อนพลเข้าสลายการชุมนุมสนับสนุนนายมอร์ซี ทั้งนี้ตามรายงานของทีวีของรัฐบาล

ไม่มีความรุนแรงใดจะเท่ากับครั้งนี้ ในช่วงตั้งแต่การปฏิวัติอาหรับในปี ค.ศ. 2011 ที่มีการขับไล่ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค (Hosni Mubarak) แต่กระนั้น ฑูตอียิปต์ประจำกรุงลอนดอนได้กล่าวว่า รัฐบาลอียิปต์ได้ทำในสิ่งที่ต้องทำ และทำอย่างรับผิดชอบ และกล่าวตำหนิผู้ประท้วงที่ยั่วยุและท้าทายให้เกิดความรุนแรง

“การที่รัฐบาลอียิปต์ได้กระทำ และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำหน้าที่ของรัฐต่อประชาชนนั้น เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ” ฑูตอัซราฟ เอลโคลี (Ashraf Elkholy) “ในช่วงเวลา 48 วันในการยึดครองพื้นที่ในอียิปต์ที่สำคัญ หยุดการเดินทางของพลเรือนที่จะต้องออกจากบ้าน ไปทำงาน และไปโรงเรียน เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ไม่ว่าในชุมชนใดก็ตาม”

ฝ่ายมุสลิมภราดรภาพ (Muslim Brotherhood) กลุ่มอิสลามที่นำโดยนายมอร์ซีและเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ถูกกวาดล้าง ที่กล่าวว่าผู้เสียชีวิตมีมากกว่าที่ได้รายงานเสียอีก และมีทัศนะที่ต่างออกไป เจ้าหน้าที่ของกลุ่มมุสลิมได้ประณามการกระทำของฝ่ายรัฐบาลคือการสังหารหมู่  (Massacre) และยืนยันจะดำเนินการต่อไปจนกว่านายมอร์ซีจะได้กลับคืนสู่อำนาจ

การประท้วงจะไม่หยุดยั้ง จะดำเนินต่อไปทั้งกลางวันและกลางคืน โดยการนั่งประท้วง การรณรงค์ทั่วประเทศจนกว่าประชาธิปไตยและการยึดกฎหมายที่ถูกต้องจะกลับสู่อียิปต์อีกครั้งหนึ่ง ผู้นำของมุสลิมภราดรภาพ นายเอสซัม อีเลอเรียน (Essam Elerian) ได้กล่าวในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา 

ข้อมูลพื้นฐานอียิปต์
Egypt

จาก Wikipedia, the free encyclopedia

สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์
Arab Republic of Egypt
جمهورية مصر العربية
Ǧumhūriyyat Miṣr al-ʿArabiyyah
เพลงประจำชาติ
Anthem: Bilady, Bilady, Bilady
My country, my country, my country
เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด
Capital
and largest city
ภาษาทางการ
Official languages
ภาษาอาหรับ
Arabic[a]
ชื่อเรียกชาวอียิปต์
Demonym
รัฐบาล
Government
 - 
รักษาการประธานาธิบดี
Acting President
 - 
รักษาการนายกรัฐมนตรี
Acting Prime Minister
 - 
รองนายกรัฐมนตรี
Deputy Prime Minister
ฝ่ายนิติบัญญัติ
Legislature
รัฐสภาถูกยกเลิก
Parliament(dissolved)
 - 
สภาสูง
Upper house
สภาสูงถูกยกเลิก
Shura Council(dissolved)
 - 
การกำเนิดประเทศ
Establishment
 - 
รวมประเทศอียิปต์ตอนบนและล่างเป็นหนึ่งเดียว
Unification of Upper
and Lower Egypt
[1][2]
3200 ปีก่อนคริสตกาล
c. 3200 BC 
 - 
สถาปนาราชวงศ์ในยุคใหม่
Muhammad Ali Dynasty inaugurated
9 กรกฎาคม ค.ศ. 1805
9 July 1805[3] 
 - 
เป็นอิสระจากประเทศสหราชอาณาจักร
Independence from
the United Kingdom
28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1922
28 February 1922 
 - 
ประกาศเป็นสาธารณรัฐ
Republic declared
18 มิถุนายน ค.ศ. 1953
18 June 1953 
 - 
วันปฏิวัติ
Revolution Day
25 มกราคม ค.ศ. 2011
25 January 2011 
พื้นที่
Area
 - 
ทั้งหมด
Total
1,002,450 ตารางกม. (30th)
 - 
พื้นน้ำ
Water (%)
0.632
ประชากร
Population
 - 
ประมาณการปี ค.ศ. 2013
2013 estimate
84,550,000 คน [4] (15th)
 - 
สำรวจประชากร
2006 census
72,798,000 คน [5]
 - 
ความหนาแน่นประชากร
Density
84 คน/ตรกม. (126th)
รายได้ประชาชาติ
GDP (PPP)
ประมาณการ ปี2013 estimate
 - 
มวลรวม
Total
$559.843 พันล้านดอลลาร์
billion[6]
 - 
รายได้ต่อหัว
Per capita
$6,652[6]
รายได้ต่อหัว
GDP (nominal)
2013 estimate
 - 
มวลรวม
Total
$264.701 billion[6]
 - 
รายได้ต่อหัว
Per capita
$3,146[6]
ค่าเงิน
Gini (2008)
30.8[7]
medium
ดรรชนีย์ความสุข
HDI (2011)
Description: Increase 0.644[8]
ปานกลาง
medium · 113th
เงินแลกเปลี่ยน
Currency
เขตเวลา
Time zone
EET (UTC+2[b])
การใช้ถนน
Drives on the
ขับด้านขวา
right

ข้อมูลจาก Wikipedia –


ภาพ แผนที่ประเทศอียิปต์


ภาพ ธงชาติอียิปต์

สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (อังกฤษ: Arab Republic of Egypt; อาหรับ:جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (อังกฤษ: Egypt; อาหรับمصر) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด

ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (Sinai Peninsula - เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย (Libya) ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน (Sudan) ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล (Israel) ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean) และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง

ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (Nile River - ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง

ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค (MemphisThebes, Karnak) และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ

ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) [นิยมใช้ในภาษาไทยว่า ไอยคุปต์] ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์โบราณว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองทีบส์



Monday, August 12, 2013

รถยนต์ไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ UNSW Sunswift วิ่งได้เร็ว 140 กม./ชั่วโมง

รถยนต์ไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ UNSW Sunswift วิ่งได้เร็ว 140 กม./ชั่วโมง

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat

E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การเดินทาง, การขนส่ง, transportation, รถยนต์ไฟฟ้า, ev, electric car, รถพลังแสงอาทิตย์, solar-powered car, UNSW Sunswift

ศึกษาและเรียบเรียงจาก “UNSW Sunswift launch 140 km/h “eVe” Cruiser Class Solar Racecar.” EV News, MONDAY, AUGUST 12, 2013

UNSW Solar Racing Team Sunswift revealed their solar racing car eVe at the University of New South Wales last Friday.


ภาพ รถยนต์ไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ นั่งได้ 2 คน พัฒนาโดยทีมงานของมหาวิทยาลัย UNSW ในประเทศออสเตรเลีย

ทีมพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ของมหาวิทยาลัย New South Wales (UNSW) ได้พัฒนารถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ Sunswift ในแบบที่วิ่งบนถนนปกติได้แบบ Cruiser class มี 4 ล้อ มีลักษณะตามกรอบมาตรฐานรถยนต์ของประเทศ เป็นการพัฒนาเพิ่มขึ้นมาจากเดิม ที่พัฒนาเพื่อการแข่งขันรถไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่นั่งได้คนเดียว แลไม่ใช้แบตเตอรี่เลย และไม่สามารถใช้วิ่งบนท้องถนนปกติได้

ซึ่งรถยนต์ที่วิ่งบนท้องถนนปกติได้ ต้องมีคนนั่งได้ 2 คน เป็นอย่างน้อย รถไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ 
Sunswift ใหม่นี้ ใช้พลังจากมอเตอร์ในกงล้อ 2 ตัว เรียกว่า CSIRO wheel motors ขนาดพลัง 2x 1.8 Kw (10 Kw Peak) ซึ่งพัฒนาด้วยลิขสิทธิ์ทางปัญญาของ Marand Precision Engineering สามารถให้ความเร็วสูงสุดที่ 140 กม./ชม. โดยใช้แบตเตอรี่แบบลิเธียม-ไอออน ขนาด 15 kWh น้ำหนัก 63 กิโลกรัม ทำให้วิ่งได้ 500 กิโลเมตรด้วยการชาร์จไฟครั้งเดียว ซึ่งวิ่งได้ไกลเท่ากับรถยนต์ไฟฟ้าหรู Tesla Model S รุ่นที่ใช้แบตเตอรี่ขนาด 85 kWh ซึ่งใหญ่เป็น 6 เท่า

การที่ Sunswift สามารถวิ่งได้ไกลในระดับเดียวกัน เพราะออกแบบเพื่อให้น้ำหนักรถเบา โดยใช้เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ โครงสร้างคาร์บอนไฟเบอร์โมโนคอค (Carbon fiber monocoque) และการออกแบบพลศาสตร์ที่มีค่าประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy efficient) 98.3% โดยมีการส่งพลังโดยตรงไปถึงล้อ

eVe มีขนาด กว้าง 1800 มม. ยาว 4500 มม. ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า Tesla Roadster มีขนาดพื้นที่ 4 ตารางเมตร เป็นแผงพลังเซลแสงอาทิตย์มาจากโซลาเซลล์แบบ Mono-crystalline silicon cells ของ SunPower ซึ่งตามกฎของการแข่งขัน World Solar Challenge อนุญาตให้ใช้พื้นที่รถยนต์รับพลังแสงอาทิตย์ได้ถึง 6 ตารางเมตร

ส่วนการแข่งขันรถไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ World Solar Challenge จะเริ่มต้นในวันที่ 6 ตุลาคมที่เมืองดาร์วิน (Darwin) และวิ่งไประยะทาง 3,000 กม. และไปจบที่เมืองอาดิเลด (Adelaide) ในวันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม


ภาพ รถยนต์ไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ร่วมกับแบตเตอรี่ขนาดเล็ก น้ำหนักเพียง 63 กิโลกรัม วิ่งได้ 500 กิโลเมตรด้วยการชาร์จไฟครั้งเดียว