Wednesday, January 26, 2011

มารู้จักประธานาธิบดี ฮอสนี่ มูบารัค แห่งอียิปต์

มารู้จักประธานาธิบดี ฮอสนี่ มูบารัค แห่งอียิปต์

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail:
pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: การเมืองระหว่างประเทศ, ตะวันออกกลาง, Egypt, อียิปต์,

ภาพ ประธานาธิบดี Muhammad Hosni Sayyid Mubarak แห่งอียิปต์

Muhammad Hosni Sayyid Mubarak มีชื่อเรียกสั้นๆว่า ฮอสนี่ มูบารัค (Hosni Mubarak) เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1928 เป็นประธานาธิบดีคนที่สี่ของสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt) เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานาธิบดีเมื่อปี ค.ศ. 1975 และเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1981 เมื่อประธานาธิบดี Anwar El-Sadat ถูกลอบสังหาร อันเป็นผลมาจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยที่ซาดัตไปทำสัญญาสันติภาพกับอิสราเอล มูบารัคเป็นผู้ปกครองประเทศอียิปต์ที่ครองอำนาจยาวนานที่สุด นับแต่ Muhammad Ali Pasha ก่อนที่จะเข้าสู่วงการเมือง มูบารัคเป็นนายทหารอากาศในกองทัพอากาศของอียิปต์ และทำหน้าที่เป็นแม่ทัพอากาศในช่วงปี ค.ศ. 1972 ถึงปี ค.ศ. 1975

ประธานาธิบดีมูบารัคได้รับการเลือกด้วยระบบประชามติ (Referendum) ซาวเสียงในรัฐสภา และให้มีการออกคะแนนเสียงโดยประชาชน เขาได้รับเลือกด้วยวิธีการดังกล่าวส่วนใหญ่ติดต่อกัน 4 ครั้ง โดยมีการเลือกตั้งใน ปี ค.ศ. 1987, 1993, 1999 แต่ก็มีผู้สงสัยในความน่าเชื่อถือของระบบการเลือกตั้งในแบบอียิปต์

ในครั้งสุดท้าย ในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 มูบารัคได้ประกาศลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี และกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 2005 แต่ตามการรายงานการเลือกตั้งได้แสดงให้เห็นว่าพรรคของมูบารัคได้ใช้ยานพาหนะของราชการในการขนคนไปลงคะแนนเสียงให้ตนเอง มีการซื้อเสียงในเขตคนยากจนในชนบท มีการปล่อยให้คนที่ไม่ได้มีการลงทะเบียนมีสิทธิออกเสียง ได้ลงคะแนน จนในที่สุด ดร.อัยมาน นัวร์ (Dr. Ayman Nour) ผู้นำฝ่ายค้าน และเป็นตัวแทนของพรรคแห่งวันข้างหน้า (Al-Ghad party) ได้ร้องขอให้มีการเลือกตั้งใหม่

ในการกดดันฝ่ายต่อต้าน ดร. นัวร์ ถูกจับกุมและนำขึ้นศาล และลงโทษฐานการปลอมแปลง ต้องโทษใช้แรงงานหนักเป็นเวลา 5 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 2005 ในวันที่ได้รู้ผลการตัดสินคดี ฝ่ายเลขาด้านสื่อมวลชนได้ออกแถลงการณ์ แสดงความไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลอียิปต์

การเมืองในอียิปต์เป็นการต่อสู้ที่มีความรุนแรงมาตลอด นับตั้งแต่มีสงครามระหว่างอียิปต์ภายใต้การนำของประธานาธิบดีนัสเซอร์กับอิสราเอล ถึงสองครั้ง และช่วงของการเจรจาเพื่อสันติภาพในตะวันออกกลาง ที่ผลักดันโดยสหรัฐ จนถึงการลงนามในสัญญาโดยประธานาธิบดีอันวา ซาดัต

ประธานาธิบดีอันวา ซาดัต ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขา ก็ถูกลอบสังหารอันเป็นผลจากการเมืองในเขตตะวันออกกลาง ประธานาธิบดีมูบารัคเอง เคยถูกลอบสังหารแล้ว 6 ครั้ง มีทั้งด้วยแก๊สพิษ อาวุธอื่นๆ รวมทั้งมีด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

มูบารัคเป็นฝ่ายไม่เห็นด้วยกับการที่อเมริกันบุกอิรัค เขาให้ความเห็นว่า เพราะจะทำให้เกิดความเกลียดชังต่อต้านตะวันตก จะมี "บิน ลาเดน" อีก 100 คน

อีกเรื่องหนึ่งที่รัฐบาลอียิปต์ภายใต้มูบารัคได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ คือการประกาศกฏอัยการศึกอย่างต่อเนื่อง นับแต่เมื่อประธานาธิบดีซาดัตถูกลอบสังหาร ซึ่งกฎหมายดังกล่าวทำให้รัฐบาลสามารถจับกุมคุมขังคนได้นานไม่จำกัด และไม่ต้องมีเหตุผล รัฐบาลเองอ้างเหตุผลของการที่มีฝ่ายต่อต้านหัวรุนแรงอย่าง Muslim Brotherhood ที่อาจเข้ามามีอำนาจและใช้ความรุนแรง อียิปต์จึงเป็นประเทศที่ไม่มีสิทธิเสรีภาพ อันมีผู้วิจารณ์ว่าขาดหลักการแห่งประชาธิปไตย ประชาชนไม่มีสิทธิได้รับการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรม และไม่มีสิทธิในการออกเสียงเพื่อหาผู้เหมาะสมในการปกครองประเทศ

ประธานาธิบดีมูบารัคในบทบาทผู้นำของอียิปต์ เปรียบไปก็เหมือนการขึ่หลังเสือ เขาเองได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายทหาร ข้าราชการ และฝ่ายธุรกิจที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน แต่ขณะเดียวกัน การได้อยู่ในตำแหน่งมานาน ก็มีโอกาสทำผิดเอาไว้มาก สร้างศัตรูเอาไว้ไม่น้อย จะดำรองตำแหน่งต่อไปก็ด้วยความยากลำบาก และแรงต่อต้านก็จะมากขึ้น แต่จะลงจากตำแหน่ง ก็จะเป็นเรื่องยากด้วยเช่นกัน

ในวันนี้อียิปต์กำลังต้องผจญกับกระแสการเปลี่ยนแปลงเรียกร้องประชาธิปไตย ที่ได้เกิดขึ้นในตูนีเซีย อันเรียกว่า ปฏิวัติดอกมะลิ (Jasmine Revolution) ในวันนี้ คลื่นเรียกร้องความเปลี่ยนแปลงประเทศสู่ความเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้นได้เข้าสู่อียิปต์อย่างรวดเร็ว อนาคตของประธานาธิบดีผู้นี้จะเป็นอย่างไร ก็ต้องติดตามกันต่อไป

มารู้จักผู้นำการศึกษาคนหนึ่ง Michelle A. Rhee

มารู้จักผู้นำการศึกษาคนหนึ่ง Michelle A. Rhee

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail:
pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, The free encyclopedia


Michelle A. Rhee


Michelle Rhee, February 14, 2008

Born

Michelle Rhee (Korean Hangul: 이양희,[1] RR: I Yang-hui, M-R: Yi Yanghŭi)
December 25, 1969 (
1969-12-25) (age 41)
Ann Arbor, Michigan[2]

Residence

Washington, D.C.

Nationality

American

Education

B.A. in Government
Master of Public Policy

Alma mater

Cornell University (B.A.),
John F. Kennedy School of Government at Harvard University
(M.P.P.)

Home town

Toledo, Ohio

Salary

US$275,000 annually [3]

Title

Chancellor, District of Columbia Public Schools

Predecessor

Superintendent Clifford Janey

Successor

Kaya Henderson

Spouse

Kevin Huffman (divorced 2007)

Kevin Johnson (engaged)[4]

Children

Two daughters, Starr and Olivia [5]

Parents

Shang and Inza Rhee[3]

มิแชล เอ ลี (Michelle A. Rhee) เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1969 เป็นอดีตผู้บริหารการศึกษาสูงสุดของเขตพื้นที่การศึกษาของ District of Columbia Public Schools ของเมืองหลวงสหรัฐ คือ Washington, D.C. ในปี ค.ศ. 1997 เธอได้จัดตั้ง ครูยุคใหม่ (The New Teacher Project - TNTP) ในช่วงเวลา 10 ปี ได้มีครูที่สรรหาจากทั้งหมด 20 รัฐในสหรัฐอเมริกาจำนวน 10,000 คน ในวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2010 เธอได้ลาออกจากตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาสุงสุดของเขต District of Columbia (DC) และปัจจุบัน เธอได้ก่อตั้งและเป็นผู้บริหารของโครงการ นักเรียนต้องมาก่อน (StudentsFirst) ทำหน้าที่รณรงค์ทางการเมือง เพื่อการปฏิรูปการศึกษา

Michelle Rhee เกิดที่เมือง Ann Arbor, ในมลรัฐ Michigan ปัจจุบันพำนักที่เมือง Washington, D.C. ถือสัญชาติอเมริกัน จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางรัฐศาสตร์ (Government) จากมหาวิทยาลัย Cornell University ในรัฐนิวยอร์ค ได้ศึกษาปริญญาโททางด้านรัฐศาสตร์จาก John F. Kennedy School of Government ที่ Harvard University (M.P.P.) ในรัฐแมสสาชูเซต

Tuesday, January 25, 2011

มารู้จักประเทศอียิปต์ (Egypt)

มารู้จักประเทศอียิปต์ (Egypt)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, The free encyclopedia

Keywords: ภูมิศาสตร์, การเมือง, เศรษฐกิจ, ตะวันออกกลาง, Egypt, อียิปต์

ประเทศอียิปต์ (Egypt) หรือมีชื่อเรียกเต็มว่า สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt) เป้นประเทศหลักหนึ่งในอัฟริกาเหนือ (North Africa) โดยมีแหลมไซไน (Sinai Peninsula) เป็นแผ่นดินดังสะพานเชื่อไปยังเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (Southwest Asia) อียิปต์จัดเป็นส่วนเชื่อมต่อ (transcontinental country) เป็นประเทศที่มีอิทธิพลหลักแห่งหนึ่งในอัฟริกา และเขตเมดิเตอเรเนียน (Mediterranean region) และในโลกอาหรับ (Islamic world) ประเทศมีพื้นที่ครอบคลุม 1,010,000 ตารางกิโลเมตร ทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอเรเนียน (Mediterranean Sea) ฉนวนกาซ่า (Gaza Strip) และประเทศอิสราเอล (Israel) ทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีทะเลแดง (Red Sea) ทางตะวันออก มีประเทศซูดาน (Sudan) ทางทิศใต้ และลิเบีย (Libya) ทางตะวันตก

อียิปต์จัดเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในอัฟริกา และตะวันออกกลาง (Middle East) โดยมีประชากรรวมถึง 79 ล้านคน อาศัยอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำไนล์ (Nile River) โดยประเทศมีพื้นที่ๆผู้คนอาศัยเป็นหลักประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นพื้นที่แห้งแล้ง (arable land) มีพื้นที่ขนาดใหญ่อยู่ในบริเวณทะเลทรายซาฮารา (Sahara Desert) ซึ่งมีประชากรเบาบาง ประชากรประมาณครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในเขตเมือง โดยมีประชากรหนาแน่นในเขตเมืองหลักอันได้แก่ Cairo, Alexandria และเมืองหลักอื่นๆตามชายฝั่งและลุ่มแม่น้ำไนล์ (Nile Delta)

อียิปต์มีชื่อเสียงด้านโบราณสถาน และเป็นเขตอารยะธรรมเก่าแก่ (ancient civilization) มีสถานที่มีชื่อเสียงเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก อันได้แก่ บริเวณปิรามิดกิซ่า (Giza pyramid complex) และมีหินแกะสลักขนาดใหญ่ คือ สิงโตสฟิงค์ (Great Sphinx) มีสถานที่ๆเป้นปรักหักพังที่ Memphis, Thebes, Karnak และที่หุบเขาแห่งราชา (Valley of the Kings) ซึ่งเป็นแหล่งศึกษาถึงอารยธรรมโบราณ และมีชิ้นงาน (artefacts) ศิลปะที่มีคุณค่าที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ทั่วโลก

อียิปต์มีเศรษฐกิจที่หลากหลายที่สุดแห่งหนึ่งในตะวันออกกลาง มีทั้งด้านการท่องเที่ยว กสิธรรม อุตสาหกรรม และบริการในลักษณะที่เท่าๆกัน เศรษฐกิจของอียิปต์เติบโตอย่างรวดเร็ว ฝ่ายนิติบัญญัติของอียิปต์มีลักษณะจัดเพื่อการดึงดูดการลงทุน เพื่อให้เกิดความมั่นคงทั้งภายในและมีเสถียรภาพทางการเมืองทั้งภายในและระหว่างประเทศ โดยในระยะหลังได้เปิดให้มีระบบตลาดเสรีมากขึ้น

ภาพ ปิระมิดกิซ่า (Giza Pyramids)

ภาพ หินสลัก Great Sphinx :ซึ่อยู่ในบริเวณ Pyramids of Giza, สร้างขึ้นในยุคอาณาจักรโบราณ (Old Kingdom) และเป็นสัญลักษณ์ของชาติ เป็นหัวใจของอียิปต์และการท่องเที่ยว

ภาพ แม่น้ำไนล์ (Nile River) ใกล้เขื่อนอัสวาน (Aswan)

ภาพ โบสถ์แขวน (Hanging Church) อยู่ในเมืองไคโร สร้างขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 3 และ 4 จัดเป็นโบสถ์ (Coptic Churches) ที่มีชื่อเสียงที่สุดในอิยิปต์

Wednesday, January 19, 2011

รถพลังแสงอาทิตย์ (Solar Vehicles)

รถพลังแสงอาทิตย์ (Solar Vehicles)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail:
pracob@sb4af.org

Keywords: transportation, vehicles, green technology, รถยนต์ไฟฟ้า, EV, battery, แบตเตอรี่, Solar cells,

ภาพ รถยนต์พลังแสงอาทิตย์ พัฒนาโดย University of Michigan ชื่อ Infinium ในขณะทดลองวิ่งทดสอบที่ Stuart Highway.

ยานพาหนะพลังแสงอาทิตย์ (Solar Vehicles) คือยานยนต์ใช้พลังไฟฟ้า (electric vehicle – EV) ชนิดหนึ่งที่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแสงอาทิตย์ ทั้งนี้โดยมีแผงรับแสง (solar panels) โดยติดตั้งแผงรับแสงนี้ไว้ที่หลังคา หรือหน้าต่างของยานพาหนะ หรือใช้กับเสื้อที่ทำสำหรับรองรับแสงอาทิตย์ (solar jacket) แล้วต่อเชื่อมกับรถจักรยานไฟฟ้า (electric bicycles) ซึ่งมีตัวเซลแปลงแสง (Photovoltaic - PV) เปลี่ยนพลังแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังไฟฟ้า (electrical energy)

รถพลังแสงอาทิตย์ยังไม่ได้มีการพัฒนาถึงในระดับผลิตเป็นรถที่เสนอขายในตลาดได้ตามปกติในปัจจุบัน โดยทั่วไปยังเป็นในระดับเพื่อการสาธิต และการฝึกหัดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาทางวิศวกรรม และเป็นงานวิจัยที่สนับสนุนโดยรัฐบาล โดยทั่วไปแล้ว พลังแสงอาทิตย์สามารถใช้กับเรือ (solar boats) ซึ่งมีการผลิตขายในเชิงพาณิชย์แล้ว

พลังแสงอาทิตย์ที่ได้นั้นยังมีความไม่แน่นอน ตามสภาพดินฟ้าอากาศ มีแสงในตอนกลางวัน แต่ไม่มีในตอนกลางคืน และในยามที่ท้องฟ้ามีเมฆหมอกมาก คุณภาพของแสงก็จะลดลง แต่ในภูมิประเทศที่มีแสงแดดจ้า ดังในบริเวณทะเลทราย ภูมิอากาศแห้งแล้ง ดังในรัฐเนวาด้า (Nevada) ในสหรัฐ หรือในเขตทะเลทรายและเขตแห้งแล้งกลางประเทศของออสเตรเลีย และในอีกหลายประเทศ ยานพาหนะดังกล่าวอาจเป็นทางเลือกเพื่อการเดินทางได้

ภาพ รถยนต์พลังแสงอาทิตย์ Solar cars จาก 2 มหาวิทยาลัย คือ University of Michigan และ University of Minnesota กำลังมุ่งไปทางตะวันตก เพื่อไปถึงเส้นชัย ในปี ค.ศ. 2005 ในงานที่เรียกว่า 2005 North American Solar Challenge.


ภาพ รถยนต์พลังแสงอาทิตย์ ชื่อ Ned, สร้างเมื่อปี ค.ศ. 1999 เนื่องในงาน South Australian Solar Car Consortium สามารถให้ความเร็วสูงสุดที่ 120 กม./ชั่วโมง

ภาพ เซลรับแสง Cells, Modules, และ Arrays[4

ระยะเริ่มแรกของรถยนต์ไฟฟ้าเริ่มเมื่อทศวรรษ 1890s จนถึง 1900s

ระยะเริ่มแรกของรถยนต์ไฟฟ้าเริ่มเมื่อทศวรรษ 1890s จนถึง 1900s

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail:
pracob@sb4af.org

Keywords: transportation, vehicles, green technology, รถยนต์ไฟฟ้า, EV, battery, แบตเตอรี่

รถยนต์ไฟฟ้า (Electric cars) ไม่ใช่เพิ่งเริ่มขึ้นเมื่อทศวรรษที่ผ่านมา แต่มันเป็นจุดเริ่มต้นของรถยนต์ ก่อนที่การพัฒนารถยนต์จะหันมาใช้พลังงานจากการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง และจุดระเบิดในลูกสูบ (internal combustion engines) ในระยะเริ่มแรก รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งในขณะนั้นจะเรียกว่า electric automobiles ได้ครองสถิติด้านความเร็วและระยะทางเอาไว้อย่างน่าสนใจ ที่สำคัญที่สุด มันสามารถวิ่งได้เร็วกว่า 100 กม/ชั่วโมง ซึ่งทำโดย Camille Jenatzy ในวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1899 โดยยานพาหนะรูปคล้ายกับจรวด ชื่อ Jamais Contente ซึ่งสถิติสูงสุดทำได้ 105.88 กม./ชั่วโมง ก่อนหน้าทศวรรษ 1920s รถยนต์ไฟฟ้าได้แข่งกับรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เผาไหม้เป็นยานพาหนะที่มีคุณภาพในเมือง

ภาพ Thomas Edison กับรถยนต์ไฟฟ้าในปี ค.ศ. 1913 ภาพโดยความอนุเคราะห์จาก National Museum of American History

ในปี ค.ศ. 1896 เพื่อทำให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานรองรับการชาร์ตไฟ (Recharging infrastructure) ได้มีการเสนอใช้บริการเปลี่ยนแบตเตอรี่ ซึ่งเสนอโดย Hartford Electric Light Company เพื่อใช้กับรถบรรทุกไฟฟ้า (Electric trucks)

ในแผนงานบริการ เจ้าของรถยนต์ซื้อรถจากบริษัทไฟฟ้า คือ General Electric Company (GVC) โดยไม่มีแบตเตอรี่ แต่แบตเตอรี่และบริการจะได้จากบริษัท Hartford Electric ที่จะทำหน้าที่สลับเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่ชาร์ตไฟแล้วให้เจ้าของจ่ายค่าบริการตามระยะทางที่วิ่งในแต่ละเดือน ซึ่งจะครอบคลุมค่าดูแลและเก็บรักษารถบรรทุก บริการนี้มีบริการกันในช่วงปี ค.ศ. 1910 – 1924 โดยกิจการในลักษณะนี้ได้มีเปิดบริการในเมืองชิคาโก (Chicago) ที่เจ้าของผู้ซื้อรถแบบไม่ต้องมีแบตเตอรี่จาก Milburn Light Electric

ในปี ค.ศ. 1897 ได้มีบริการรถแทกซี่ไฟฟ้าในสหรัฐเป็นบริการแทกซี่ด้วยรถยนต์เป็นครั้งแรกในเมืองนิวยอร์ค โดยรถสร้างจากบริษัท Electric Carriage and Wagon Company ที่อยู่ที่เมือง Philadelphia ในขณะนั้นในอเมริกามีผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหลายบริษัท อันได้แก่ Anthony Electric, Baker, Columbia,Anderson, Edison [disambiguation needed], Fritchle, Studebaker, Riker, Milburn และอื่นๆอีกมาก ซึ่งมีจนกระทั่งช่วงแรกของศตวรรษที่ 20

ภาพ สภาพรถยนต์เมื่อต้องวิ่งออกนอกเมืองในสมัยก่อน

แต่เพราะขีดความสามารถที่จะวิ่งได้ระยะทางจำกัด จึงไม่มีบริการรถยนต์ไฟฟ้าวิ่งระหว่างเมือง แต่รถยนต์ไฟฟ้าแม้จะวิ่งได้ไม่เร็วนัก แต่ก็มีข้อดีหลายประการ เช่น การไม่มีอาการสั่นไหวมาก ไม่มีเสียง กลิ่นควัน ที่จะพบในรถยนต์ใช้เครื่องยนต์เผาไหม้ รถยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นรถยนต์ที่ได้รับความนิยมจากคนชั้นสูงที่จะใช้เป็นบริการวิ่งในเมือง ซึ่งระยะทางที่วิ่งไม่เป็นปัญหามากนัก นอกจากนี้ รถยนต์ไฟฟ้ายังสตาร์ทออกตัวได้ง่ายกว่ารถยนต์ใช้เครื่องยนต์ที่ต้องมีการไปหมุนเครื่องยนต์ในแต่ละครั้งที่ต้องเดินทาง รถยนต์ไฟฟ้าจึงเหมาะสำหรับคนขับที่เป็นสตรี เพราะไม่ยุ่งยากในการใช้งาน

ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า ชื่อ Henney Kilowatt ผลิตในปี ค.ศ. 1961 โดยอาศัยพื้นฐานจาก Renault Dauphine

ในปี ค.ศ. 1911 หนังสือพิมพ์ New York Times ได้กล่าวถึงรถยนต์ไฟฟ้าในฐานะที่เป็นรถยนต์ที่เหมาะสม ด้วยความสะอาดกว่า เงียบกว่า และประหยัดกว่ารถยนต์ใช้เครื่องยนต์เผาไหม้ รายงานโดย Washington Post ได้กล่าวถึงความเชื่อไม่ได้ของแบตเตอรี่รถยนต์ในขณะนั้น

ในระยะหลัง เมื่อมีการค้นพบปิโตรเลียมในดินกว้างขวางทั่วไป ทำให้มีน้ำมันถูก บริษัทผู้ผลิตรถยนต์จึงหันไปพัฒนาเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันปิโตรเลียมแทน และเมื่อมีน้ำมันที่สามารถจัดเก็บในถังได้ ทำให้วิ่งระยะทางไกลๆได้ วิ่งข้ามเมืองได้ ทำให้รถยนต์ใช้เครื่องยนต์เผาไหม้ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และในที่สุดก็เป็นจุดจบของรถยนต์ไฟฟ้าในระยะต่อๆมา

สรุปรวมความ รถยนต์ไฟฟ้าได้มีการพัฒนากันมานานแล้ว และดำเนินไปได้ดี จนกระทั้งเมื่อมีน้ำมันปิโตรเลียมในราคาถูก ประกอบกับขีดความสามารถของเทคโนโลยีแบตเตอรี่ในขณะนั้น ยังทำให้ระยะทางวิ่งจากการชาร์ตไปแต่ละครั้งไปได้ไม่ไกล จึงในที่สุดได้เสียการแข่งขันไปให้กับรถยนต์ใช้ระบบเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น การจะพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าให้ก้าวหน้าต่อไป พึงต้องศึกษาจากความล้มเหลวของระบบที่ได้เคยมีมา และหาทางแก้ไขจุดอ่อนที่เคยมี

แต่ที่แน่ๆ น้ำมันเชื้อเพลิงราคาถูกจากปิโตรเลียมกำลังจะหมดไป เรามีน้ำมัน แต่จะมีราคาแพงขึ้นอย่างมากจนไม่สามารถใช้พลังงานจากปิโตรเลียมได้ในไม่ช้า ส่วนบริการไฟฟ้านั้น ระบบเครือข่ายไฟฟ้าในปัจจุบันมีลักษณะครอบคลุมกว้างขวางไปทั่วประเทศ ทั้งในประเทศที่เจริญแล้ว และประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย ประกอบกับเมืองในยุคใหม่มีขนาดใหญ่โตกว้างขวาง และมีปัญหามลพิษสูงอยู่แล้วตามธรรมชาติ และปัญหาโลกร้อน (Global warming) ที่เพราะเรามีการใช้พลังงานจากฐานคาร์บอนมากเกินกว่าที่ธรรมชาติจะแบกรับได้

โลกยุคต่อไปจึงเป็นโอกาสใหม่ของรถยนต์ไฟฟ้า