Sunday, June 30, 2013

เก้าอี้แอรอน (Aeron Chair) การออกแบบที่ลงตัวด้านประโยชน์ใช้สอย


เก้าอี้แอรอน (Aeron Chair) การออกแบบที่ลงตัวด้านประโยชน์ใช้สอย

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การออกแบบ, designs, สำนักงาน, Office, เก้าอี้ทำงาน, work chair, เก้าอี้, side chair, ม้านั่ง, stool, Aeron chair, เฮอร์แมน มิลเลอร์, Herman Miller


ภาพ เก้าอี้แอรอน (Aeron Chair) สำหรับการทำงานที่ต้องนั่งโต๊ะทำงานเป็นเวลานานๆ

จอร์จ แมคเคน (George McCain) ประธานกรรมการของสมาคมนักออกแบบอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกา (Industrial Designers Society of America – IDSA) ได้ยกให้เก้าอี้แอรอนเป็นการออกแบบหนึ่งใน 12 รายการที่ดีที่สุดในรอบ 100 ปี งานออกแบบเก้าอี้นี้ทำโดย เฮอร์แมน มิลเลอร์ (Herman Miller) จะพบในทุกสำนักงาน  มันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่นั่งในสำนักงานที่เคยทำของหนัก นั่งไม่สบาย ไม่สอดคล้องกับหลักสรีระ ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นเก้าอี้ที่ไม่เป็นมิตรกับคนนั่ง

เก้าอี้แอรอน เป็นเก้าอี้สำหรับสำนักงาน หรือเป็นเก้าอี้สำหรับคนทำงานที่ต้องนั่งอยู่กับที่นานๆ ผลิตโดย เฮอร์แมน มิลเลอร์ (Herman Miller) ในปี ค.ศ. 1994 และออกแบบโดย ดอน แชดวิค และ บิล สตัมป์ (Don Chadwick & Bill Stumpf) งานออกแบบนี้ได้รับการบรรจุในพิพิธภัณฑ์ศิลปะยุคใหม่อย่างถาวร

การให้ความหมายใหม่ของเก้าอี้นั่งทำงาน (Work Chair)

การออกแบบอย่างคิดสร้างสรรค์ การทำให้สอดรับกับหลักสรีรศาสตร์ (Ergonomics) และภาพลักษณ์ที่ดูแตกต่าง และอาจเป็นชื่อเดียวที่คนเรียกติดปากว่า Aeron Chair เป็นเก้าอี้ที่รองรับคนได้ทุกขนาดและรูปร่าง และรูปแบบการเคลื่อนไหวที่เราต้องนั่งทำงานบนเก้าอี้นี้ตลอดวัน เก้าอี้ถูกออกแบบให้มีความสบายสอดรับหลักสุขภาวะ มีระบบรองรับร่างกายที่พร้อมด้วยนวตกรรม ง่ายที่จะปรับให้เหมาะ สามารถทำเป็นเก้าอี้ทำงาน (Work chair), เก้าอี้ตั้งข้างห้อง (Side chair) และเป็นม้านั่ง (Stool) ที่จะสนับสนุนในกิจกรรมในสำนักงานทุกประเภท

เก้าอี้แอรอน (Aeron Chair) งานออกแบบที่ดีที่สุดหนึ่งใน 12 รายการ ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา

บันไดเลื่อน (Escalator) สิ่งประดิษฐ์ยอดเยี่ยมในรอบ 100 ปี


บันไดเลื่อน (Escalator) สิ่งประดิษฐ์ยอดเยี่ยมในรอบ 100 ปี

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การออกแบบ, designs, อุตสาหกรรม, industry, คนเดิน, pedestrian,


ภาพ บันไดเลื่อน (Escalator)

CNN: โดยเริ่มแรก บันไดเลื่อนถูกนำเสนอให้เป็น “ประสบการณ์” สำหรับคนที่จะจ่ายเพื่อการขึ้นและลงบันได้ แต่ “เมื่อได้เริ่มใช้ในงานอาคารและสถาปัตยกรรมในโลกของเรา มันทำให้มีชีวิตชีวา นับตั้งแต่ครั้งแรก” คำกล่าวโดยนักออกแบบชาวดัช Daan Roosegaarde

บันไดเลื่อน (Escalator) งานออกแบบที่ดีที่สุด หนึ่งใน 12 รายการ ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา - CNN

บันไดเลื่อน หรือ Escalator (อ่านว่า เอสคาเลเตอร์) เป็นบันไดที่สามารถเลื่อนขึ้นหรือลงได้ โดยคนเพียงก้าวเข้าสู่บันได แล้วมันจะพาขึ้นหรือลงให้เอง บันไดเลื่อนใช้ติดตั้งระหว่างชั้นของอาคาร บันไดเลื่อนประกอบด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า (Motor) ที่มีสายโซ่ที่เชื่อมต่อแต่ละขั้นของบันได ที่เมื่อหมุนแล้วจะทำให้เคลื่อนขึ้นหรือลงได้ โดยขั้นของบันไดจะอยู่ในแนวระนาบ (Horizontal) ตลอดเวลา

บันไดเลื่อนมีการใช้กันทั่วโลก เพื่อช่วยให้คนเดินเท้า (Pedestrians) ได้เคลื่อนไหวแทนที่การใช้ลิฟต์ (Elevators) ที่ไม่เหมาะสมในบางสภาพแวดล้อม ดังเช่น ต้องการเคลื่อนคนจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นการเคลื่อนไปที่ละชั้นได้ ซึ่งลิฟต์เหมาะแก่การเคลื่อนคนจำนวนหนึ่งที่จำกัดตามพิกัดน้ำหนักและขนาดของลิฟต์ แล้วเคลื่อนไปได้หลายๆชั้น

บริเวณที่เหมาะจะใช้บันไดเลื่อน คือ ห้างสรรพสินค้า (Department stores), ศูนย์การค้า (Shopping malls), สนามบิน (Airports), ระบบขนส่งมวลชน (Transit systems), ศูนย์การประชุม (Convention centers), โรงแรมขนาดใหญ่ที่มีคนพลุกพล่าน (Hotels), สนามกีฬา (Arenas, stadiums) และสถานที่สาธารณะ (Public buildings) ทั้งหลาย

ข้อดีของบันไดเลื่อนมีหลายประการ กล่าวคือ มันสามารถเคลื่อนย้ายคนจำนวนมากไปได้อย่างต่อเนื่อง และมันสามารถใช้สถานที่ในแบบเดียวกับที่มีบันได้ทั่วไป มันเคลื่อนคนไปได้จำนวนมากในช่วงการจราจรหนาแน่น มันเป็นตัวนำคนไปยังจุดหมายที่มีงาน หรือออกจากงาน สามารถทำให้ติดตั้งในที่ๆอาจเปียกฝนได้ ติดตั้งกลางแจ้งได้ และเมื่อจะไม่เดินเครื่อง มันก็ทำหน้าที่เหมือนบันไดทั่วไป ในขณะที่หากเป็นลิฟต์ เมื่อเครื่องเสีย ก็ต้องหยุดการใช้งานไปเลย

บันไดเลื่อนในปัจจุบันเกือบทั้งหมดจะมีราวเกาะด้านข้าง ที่ต้องเคลื่อนไปพร้อมๆกับบันได ในบริเวณที่บางครั้งอาจไม่มีคนใช้บริการตลอดเวลา มันก็สามารถติดตั้งตาอัตโนมัติ เปิดเครื่องเมื่อคนเดินผ่าน เครื่องจะเดินโดยอัตโนมัติ และเมื่อหยุดใช้งานสักระยะ มันจะปิดเครื่องเพื่อประหยัดไฟโดยอัตโนมัติ บันไดเลื่อนในปัจจุบันถูกออกแบบมาให้ประหยัดพลังงานยิ่งกว่าเดิม แต่โดยโครงสร้างแล้ว มันจะไม่ต่างจากเมื่อมีการประดิษฐ์ขึ้นมามากนัก


ภาพ บริเวณที่มีการติดตั้งบันไดเลื่อนหลายๆตัว ดังเช่นทางเท้าสำหรับผู้โดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน




ภาพ บันได้เลื่อนจะมีที่เกาะด้านข้าง เพื่อการทรงตัวของผู้ใช้


ภาพ บันไดเลื่อนแบบติดตั้งสลับไขว้กัน จะพบตามศุนย์การค้า หรือสถานที่หลายๆชั้น ขนาดใหญ่


ภาพ บันได้เลื่อนรุ่นเก่า มีส่วนประกอบที่ทำด้วยไม้ ดังเช่นตัวลูกบันได พบได้ที่ห้าง Macy's ในกรุงนิวยอร์คประเทศสหรัฐอเมริกา เขายังรักษาไว้ให้ใช้ได้ตามปกติ ซึ่งมันมีอายุการใช้งานเกือบร้อยปีแล้ว (1927)

Saturday, June 29, 2013

เวสป้า (Vespa) สุดยอดมดงานของอิตาลี


เวสป้า (Vespa) สุดยอดมดงานของอิตาลี

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การขนส่ง, transportation, การเดินทาง, traveling, commuting, ยานพาหนะจักรยานยนต์,motorcycle, สกูตเตอร์, scooter, เวสป้า, Vespa, wasp, Piaggio


ภาพ Vespa รุ่นแรก 1946

เวสป้า (Vespa) มาจากคำในภาษาอิตาลี เป็นรถสกูตเตอร์ (Scooter) ที่ผลิตโดยบริษัท Piaggio เวสป้า (Vespa) มีความหมายว่า “มดตะนอย” (Wasp) ในภาษาอิตาลี

จักรยานยนต์ Vespa เป็นการออกแบบสำหรับทั้งสองเพศอย่างอัจฉริยะ ทั้งชายและหญิงที่ใส่กระโปรงสามารถท่องเที่ยวได้อย่างสง่างามนักออกแบบชาวอิตาลี Gianfranco Zaccai ได้เสนอให้รถสกูตเตอร์ (Scooter) ที่มีชื่อเสียงนี้เป็นหนึ่งใน 12 งานออกแบบที่ดีที่สุดในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา Vespa ปรากฏในภาพยนตร์อมตะ ชีวิตที่หวานชื่น” (La Dolce Vita) และเป็นที่ชื่นชอบของนักร้องวงดนตรีบีทเทิลส์ (Beatles) Vespa มีผลกระทบอย่างมากต่อวัฒนธรรม ผลิตภาพ และสังคม

CNN: งานออกแบบที่ดีที่สุดหนึ่งใน 12 รายการ ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา
เวสป้าเริ่มพัฒนาจากมีแบบเดียว เป็นรถสกูตเตอร์ที่ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 1946 โดยบริษัท Piaggio & Co. S.p.A. ของ Pontedera อันเป็นบริษัทผลิตเครื่องบินในอิตาลี และได้ขยายตัวออกมาเป็น 7 บริษัทที่เป็นของบริษัทแม่ คือ Piaggio

เมื่อเริ่มต้น สกูตเตอร์ของเวสป้าเป็นที่รู้จักกันด้วยสีเขียวมะกอกที่ใช้พ่น และตัวถึงเหล็กปั๊มเป็นโครงสร้างคลุมตัวเครื่อง โดยมีเครื่องยนต์กลไกและสิ่งที่อาจก่อความสกปรกที่อยู่ภายใน ไม่ให้มาเลอะเทอะคนขับขี่ ด้านหน้ามีที่รองเท้า (Flat floorboard) และป้องกันส่วนเท้าและขาของคนขี่ ส่วนหน้ามีกระบัง (Fairing) ป้องกันลม ทำให้ผู้ขับขี่แม้เป็นสตรีที่ใส่กระโปรง ก็ไม่ปลิวแล้วโป๊

ประวัติความเป็นมา (History)


ภาพ Vespa 150 TAP, ดัดแปลงจากเวสป้า เพื่อใช้ในกิจการทหารของฝรั่งเศส เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวเร็วเพื่อทำลายรถถัง

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศอิตาลีภายใต้ข้อตกลงยุติสงครามกับฝ่ายพันธมิตร กิจการผลิตเครื่องบินจะถูกจำกัดอย่างมาก ทั้งในด้านปริมาณการผลิตและขีดความสามารถ

บริษัท Piaggio จึงเกิดขึ้นท่ามกลางโรงงานผลิตเครื่องบินรบ Pontedera ที่ถูกทิ้งระเบิดไป เศรษฐกิจของอิตาลีหลังสงครามย่ำแย่ สภาพถนนก็เสียหาย ไม่เหมาะแก่การใช้รถยนต์ และทำให้ไม่สามารถกลับมาพัฒนาตลาดรถยนต์ได้ในช่วงแรกๆ Enrico Piaggio บุตรชายของ Rinaldo Piaggio ผู้ก่อตั้งบริษัท Piaggio ตัดสินใจถอยจากกิจการผลิตเครื่องบิน แล้วหันมาผลิตสิ่งที่เป็นที่ต้องการของอิตาลีอย่างเร่งด่วน นั่นคือการผลิตยานพาหนะที่ทันสมัยและเป็นที่ซื้อหาได้สำหรับคนส่วนใหญ่

แนวคิด (Concept)

แรงดลใจในการออกแบบเวสป้า เริ่มมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง มาจาก รถสกูตเตอร์ของ Cushman ที่ผลิตจากรัฐเนบราสก้า ประเทศสหรัฐอเมริกา (Nebraska, USA) ซึ่งในขณะนั้นรถสกูตเตอร์สีเขียวมะกอก มีใช้กันจำนวนมากในอิตาลี เป็นการสั่งออกแบบโดยทางรัฐบาลสหรัฐ เพื่อใช้เป็นยานพาหนะในภาคสนามสำหรับทหารพลร่ม (Paratroops) และทหารเหล่านาวิกโยธิน (Marines) ฝ่ายทหารสหรัฐใช้สกูตเตอร์เพื่อเข้าใกล้แนวป้องกันของเยอรมันนาซี (Nazi) เพื่อเข้าทำลายถนนและสะพานที่อยู่ในบริเวณเทือกเขาแอลป์ (Alps) และบริเวณชายแดนของออสเตรีย

การออกแบบ (Design)


ภาพ Piaggio MP5 "Paperino", the initial Piaggio prototype

ในปี ค.ศ. 1944 วิศวกรของ Piaggio ชื่อเรนโซ สปอลติ (Renzo Spolti) และวิตตอริโอ คาซินี (Vittorio Casini) ได้ออกแบบรถจักรยานยนต์ (Motorcycle) ที่มีตัวถังแบบปิดเครื่องยนต์ และมีตัวกำบังด้านหน้า สามารถบังคับเครื่องยนต์และเบรกได้จากที่มือจับ (Handlebar) ใช้ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ มีล้อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็กแต่หน้ากว้าง มีส่วนกลางที่สูงขี้นมาเป็นส่วนเก็บเครื่องยนต์ และที่นั่งขี่

เมื่อออกแบบใช้ชื่อว่า MP5 หรือ Moto Piaggio no. 5 รถต้นแบบนี้มีชื่อเล่นเรียกกันว่า Paperino หรือ ลูกเป็ดขี้เหร่ (Duckling) หรือ Donald Duck ในภาษาอิตาลี

Enrico Piaggio ไม่พอใจกับ MP5 โดยเฉพาะในส่วนกลางที่สูง เขาจึงไปว่าจ้างคอร์ราดิโน ดาสคานิโอ (Corradino D'Ascanio) วิศวกรเครื่องบิน ให้ออกแบบสกูตเตอร์ให้ใหม่ D'Ascanio เคยให้คำปรึกษาแก่เฟอร์ดินานโด อินโนเซนติ (Ferdinando Innocenti) เกี่ยวกับการออกแบบสกูตเตอร์ ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเขาเกลียดรถจักรยานยนต์ เขาเห็นว่ามันเทอะทะ สกปรก และเชื่อถือไม่ได้
D'Ascanio ออกแบบสกูตเตอร์ต้นแบบ MP6 โดยให้เครื่องยนต์มาอยู่ด้านหลัง ติดกับล้อหลัง ล้อต่อตรงจากเครื่อง ลดปัญหาระบบเพราหรือการส่งกำลังด้วยสายโซ่ ที่ทำให้ต้องมีน้ำมันเครื่องมาเลอะเทอะขากางเกง ตัวถังเป็นเหล็กแผ่นที่ใช้ปั๊มเป็นโครงร่าง เก็บเครื่องยนต์ไว้ในส่วนหลัง ทำให้ส่วนกลางด้านหน้าของคนขี่กลายเป็นที่ว่างสำหรับวางเท้าหรือสิ่งของได้ ส่วนล้อหน้าและล้อหลัง มีระบบกันกระเทือน (Suspension) ด้านเดียว โดยล้อทั้งหน้าและหลังออกแบบมาให้ถอดเปลี่ยนได้อย่างง่าย หากเกิดชำรุด หรือยางแตกต้องนำไปปะซ่อม และใช้ล้อขนาดเล็กที่ติดไปกับรถ ทำเป็นล้อสำรองไปกับรถได้ ในส่วนอื่นๆมีลักษณะใกล้เคียงกับ MP5 Paperino โดยมีกลไกบังคับการขับจากที่สำหรับมือจับ มีกระบังลมหน้าสูง และกันน้ำกระเด็นจากรถคันหน้า (Splash guard)

Enrico Piaggio ในครั้งแรกที่เห็นเขาอุทานว่า “มันเหมือนมดตะนอย” (Sembra una vespa) ซึ่งเรียกในภาษาอังกฤษเรียกว่า Wasp เขาจึงตั้งชื่อรถสกูตเตอร์รุ่นใหม่นี้ว่า Vespa หรือเจ้ามดตะนอย ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะของมัน คือมีท้ายป่องเป็นกระเปาะ ส่วนหน้าเพรียวเบาเหมือนเอวมดที่คอด และมีที่มือจับเป็นคันบังคับ คล้ายเป็นหนวด (Antenna) ของมดหรือแมลง



ภาพ Vespa ที่ผลิตใช้ในประเทศอินโดนีเซีย


ภาพ Vespa ในรุ่นหลังๆ มีการทำที่เก็บของด้านหน้า ใส่กุญแจล็อคได้


ภาพ Vespa รุ่นล่าสุด Vespa 946



ภาพ Vespa รุ่นที่ออกในปี ค.ศ. 2013 จะมีสไตล์โฉบเฉี่ยวขึ้น แต่โครงสร้างและแนวคิดเดิม

Friday, June 28, 2013

หลักการออกแบบที่ดี 3 ประการ โดย Gianfranco Zaccai


หลักการออกแบบที่ดี 3 ประการ โดย Gianfranco Zaccai

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การออกแบบ, designs, สถาปัตยกรรม, architecture, อุตสาหกรรม, industry, การบริการ, service sector


ภาพ Gianfranco Zaccai

Gianfranco Zaccai เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง เป็นประธานกรรมการ และหัวหน้าฝ่ายออกแบบของบริษัท Continuum บริษัทที่ปรึกษาด้านนวตกรรมและการออกแบบของโลก ซึ่งสามารถติดตามได้ใน Contimuum ผ่านทาง Twitter

CNN: อะไรคือหลักที่สำคัญที่สุดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดี Gianfranco Zaccai ตอบว่า หลักที่ดี 3 ประการในการประยุกต์ใช้ในการออกแบบ มิใช่เพียงออกแบบผลิตภัณฑ์ แต่ในการออกแบบทั่วๆไปด้วย คือ

1. การเอาใจใส่ (Empathy) หมายถึงว่าการออกแบบใดๆนั้น ไม่ใช่เพื่อตัวท่านเอง แต่สำหรับคนอื่นๆ ท่านจึงต้องเข้าไปสัมผัสกับผู้คนที่จะต้องใช้มัน

2. หลักปฏิบัตินิยม (Pragmatism) เป็นหลักทั่วไปที่จะต้องใช้ได้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ คือมันจะต้องทำหน้าที่ได้ตามกำหนด ต้องมีความคุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย (Cost effective) และต้องสามารถนำไปผลิตได้ (Producible) สิ่งเหล่านี้ต้องสามารถทำเป็นตัวเลขได้

3. กิเลส (Passion) หรือชอบมากๆ หากท่านทำอะไรแล้วคิดแต่เพียงตัวเลข การได้กำไรหรือขาดทุน แล้วหยุดอยู่ตรงนั้น แสดงว่าท่านยังไปไม่ไกลพอ ลองคิดถึงอาหารมื้อที่ดีที่สุดที่ท่านเคยได้รับประทาน มันไม่ใช่เพียงส่วนผสมหรือส่วนประกอบของอาหาร แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และความรู้สึกสัมผัสได้ (Sensitivity) ในรสชาดของอาหารที่ทำให้มันเป็นสิ่งพิเศษ


พระราชินีอังกฤษได้รับรายได้เพิ่มร้อยละ 5 อันเป็นผลจากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์


พระราชินีอังกฤษได้รับรายได้เพิ่มร้อยละ 5 อันเป็นผลจากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, government, good governance, สถาบันกษัตริย์, monarchy, สหราชอาณาจักร, United Kingdom, UK, พระราชินีอลิซาเบธที่สอง (Queen Elizabeth II), สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (Crown Estate)

ศึกษาและเรียบเรียงจากข่าว “Britain's queen set for 5% raise on back of bumper real estate profits.” โดย Laura Smith-Spark, CNN, June 27, 2013 -- Updated 1822 GMT (0222 HKT)


ภาพ ผู้เสียภาษีอังกฤษมอบรายได้เพิ่มแก่พระราชินี

ในปีที่ผ่านมา สำนักงานทรัพย์สินฯได้ใช้เงินรวมถึงการซ่อมอพาร์ทเมน 1 แห่งเป็นเงินประมาณ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อปรับปรุงที่พักของเจ้าชายวิลเลียมและแคเธอรีน (William and Catherine)
ลอนดอน (CNN) – พระราชินีอลิซาเบธที่สอง (Queen Elizabeth II) แห่งสหราชอาณาจักรได้รับรายได้เพิ่มร้อยละ 5 อันเป็นผลจากรายได้ที่ได้เพิ่มเป็นประวัติการของการจัดการอสังหาริมทรัพย์ในที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

สำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (Crown Estate) เป็นหน่วยงานราชการ ทำหน้าที่จัดการทรัพย์สินของราชวงศ์ในนามสถาบัน ซึ่งมีรายได้ในปีที่ผ่านมาสูงเป็นประวัติการถึง 252.6 ล้านปอนด์อังกฤษ หรือ 11,940 ล้านบาทไทย (1 ปอนด์ = 47.27 บาท) เพิ่มจากปีก่อนหน้านี้ร้อยละ 5.2

นับเป็นข่าวดีของประเทศที่เงินทั้งหมดจากอสังหาริมทรัพย์นี้จะกลับคืนสู่คลัง (Public coffers) และในแต่ละปี พระราชินีจะได้รับเงินงบประมาณร้อยละ 15 จากผลประโยชน์เมื่อ 2 ปีก่อนหน้านี้

ซึ่งหมายความว่าพระราชินีผู้ฉลองการครองราชย์ครบรอบ 60 ปี ในปีที่ผ่านมา จะได้รับเงินเดือน 38 ล้านปอนด์/ปี หรือคิดเป็นเงินไทย 1,796 ล้านบาท ทั้งนี้ตามรายงานประจำปีจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเปิดเผยในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ใช่เป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ของพระราชินี แต่เป็นทรัพย์สินในนามสถาบันกษัตริย์ พระราชินีไม่มีอำนาจที่จะควบคุมทรัพย์สินเหล่านี้โดยตรง ปัจจุบันสำนักงานมีทรัพย์สินมูลค่า 8,100 ล้านปอนด์ หรือ 382,887 ล้านบาทไทย

รายได้สู่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาจากแทบจะทุกอย่าง เช่นร้านขายสินค้าแฟชั่นในลอนดอน ไปถึงการให้เช่าพื้นที่ตั้งฟาร์มกังหันลมชายฝั่งทะเล (Offshore wind farms) และการพัฒนาบ้านพักในชนบท

แม้แต่บริษัทของสหรัฐ อย่าง J. Crew ก็ยังเป็นผู้ใช้บริการจัดการอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้ ซึ่งรวมถึงผู้เช่าห้างสรรพสินค้าแบรนด์ดังของโลกที่เปิดขึ้นในถนนรรีเจนท์ (Regent Street) กลางกรุงลอนดอน ดังเช่น แบรนด์ Apple, Banana Republic และ Anthropologie ซึ่งเป็นบริษัทอเมริกันที่มีชื่อเสียง ที่เช่าใช้ที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ในด้านพลังงาน กังหันลมขนาดใหญ่ 300 ตัวติดตั้งนอกชายฝั่งในช่วงปีที่ผ่านมา ก็อยู่บนที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพราะสำนักงานจัดการที่ดินชายฝั่งเกือบทั้งหมดของอังกฤษ และบางที่เป็นที่วนอุทยานที่สวยงามที่สุด รวมทั้ง Windsor Great Park ที่อยู่ใกล้กับพระราชวัง Windsor Castle

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของที่ดินในชนบทรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของประเทศ เป็นเจ้าของที่ดินกว่า 356,000 เอเคอร์ 900,425 ไร่ อันเป็นที่ดินเพื่อการเกษตรและป่า รวมทั้งบางที่เป็นแหล่งแร่ ที่ก่อสร้างบ้าน และอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เพื่อการพาณิชย์

รายได้ที่ใช้เป็นการส่วนพระองค์แล้ว บางส่วนก็ใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์ ดังเช่นในปีที่ผ่านมา ได้ใช้เงิน 250,000 ปอนด์เพื่อสร้างทางจักรยานในสวนสาธารณะที่ Glenlivet Estate ในสกอตแลนด์ และใช้เงิน 1 ล้านปอนด์สนับสนุนชุมชนชายฝั่งและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางน้ำ

ตามการประชาสัมพันธ์ของเว็บไซต์สำนักงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ “เป็นการจัดการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่พึงได้รับความเคารพที่สุดในสหราชอาณาจักร ซึ่งถือเป็นการจัดการอสังหาริมทรัพย์ในนามของประเทศชาติ”

ในปีงบประมาณ 2012-2013 พระราชินีได้รับงบประมาณที่เพิ่มจาก 31 ล้านปอนด์ เป็น 36 ล้านปอนด์ พระองค์ใช้จ่ายเกินกว่างบประมาณ 2.3 ล้านปอนด์จากที่ได้รับในปีงบประมาณ เนื่องจากมีพระราชกรณียกิจที่มากเป็นพิเศษในปีแห่งการเฉลิมฉลอง 60 ปีของการครองราชย์ (Diamond jubilee) ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนี้ จะอยู่ในส่วนของเงินสำรอง (Reserve fund)

ในปีกิจกรรม พระราชินีมีพระราชกรณียกิจที่ต้องกระทำ 288 ครั้ง/ปี และเจ้าชายฟิลิป (Prince Philip)พระสวามีมี 275 ภารกิจ พระราชินีไม่ได้เสด็จต่างประเทศในปีที่ผ่านมา แต่ได้มอบให้พระราชวงศ์ ซึ่งรวมถึงเจ้าชายวิลเลียมและแฮรี (William and Harry) ได้ไปแทนพระองค์ในต่างประเทศ 30 ครั้ง 

พลตรี นเรศวร์ ประเสริฐศิลป์ - เทพศิรินทร์ รุ่น 04-06


พลตรี นเรศวร์ ประเสริฐศิลป์  - เทพศิรินทร์ รุ่น 04-06

Keywords: เทพศิรินทร์, 04-06, Debsirin

พลตรี นเรศวร์ ประเสริฐศิลป์ (28)
76/174 หมุ่บ้านนนท์นคร
ซอยทานสัมฤทธิ์ ถนนติวานนท์
อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

รวมภาพของ พลตรี นเรศวร์ ประเสริฐศิลป์  


ภาพ พลตรี นเรศวร์ ประเสริฐศิลป์  

ภาพ ถ่ายร่วมกับเพื่อนเทพศิรินทร์ 04-06 เมื่อไปร่วมงานศพ ของเพื่อน อุปฤทธิ์ ศรีจันทร์









ภาพ เมื่อร่วมไปกับเพื่อนเพื่อไปเยี่ยมเพื่อนเก่า นิพนธ์ โตสวัสดิ์ (มหา) ที่จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย วิชิต, นเรศ, ประสิทธิ, เหม่ง, และนคร


ภาพ จากซ้ายไปขวา - วิชิต, นเรศ, ประสิทธิ, นิพนธ์, เหม่ง, และนคร


ภาพ จากซ้ายไปขวา - วิชิต, นเรศ, ประสิทธิ, นิพนธ์, ประกอบ, เหม่ง, และนคร


ภาพ จากซ้ายไปขวา - นเรศ, วิชิต, นคร, ประสิทธิ, เหม่ง, และนิพนธ์


ภาพ นเรศ คนขวาสุด
ภาพ จากซ้ายไปขวา - นคร, เหม่ง, นิพนธ์, วิชิต, ประสิทธิ์, และนเรศ


ภาพ นเรศ คนขวาสุด
ภาพ จากซ้ายไปขวา - ประกอบ, นคร, เหม่ง, นิพนธ์, วิชิต, ประสิทธิ์, และนเรศ


ภาพ นเรศ คนขวาสุด
จากซ้ายไปขวา - นคร, วิชิต, ประสิทธิ์,และนเรศ


ภาพ นเรศ คนขวาสุด
ภาพ จากซ้ายไปขวา - นคร, วิชิต, ประกอบ, เหม่ง, และนเรศ



Wednesday, June 26, 2013

ทำไมการศึกษาในอเมริกาจึงล้มเหลว บทเรียนจากต่างแดนจะสามารถนำมาพัฒนาได้อย่างไร


ทำไมการศึกษาในอเมริกาจึงล้มเหลว บทเรียนจากต่างแดนจะสามารถนำมาพัฒนาได้อย่างไร

สุริยา เผือกพันธ์
Suriya Puegpunt

Keywords: การศึกษา, education, การปฏิรูปการศึกษา, education reform, การบริหารการศึกษา, educational administration, สหรัฐอเมริกา, USA education system, Jal Mehta

แปลและเรียบเรียงจาก สารัตถะในหนังสือ The Coming of post-industrial Society  เขียนโดย Jal Mehta ที่ตีพิมพ์ในปี 1973

โดยแดเนียล เบลล์ (Daniel Bell) นักสังคมศาสตร์ประกาศว่า สหรัฐอเมริกาจะเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจที่เน้นการใช้แรงงาน (Labor-intensive economy) ในการผลิตสินค้าไปสู่การใช้ความรู้เป็นฐานในการผลิต ปรับเข็มมุ่งสู่การให้บริการ สัมฤทธิ์ผลของการทำงานที่ใช้มือ (Manual) งานการผลิตแบบสายการผลิต (Assembly-line work) ประสบความสำเร็จได้ไม่นานก็เกิดความต้องการทักษะที่ก้าวหน้าและความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น อย่างน้อยก็ตั้งแต่นักการเมืองและผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันได้มีกฎระเบียบที่เน้นย้ำในเวลาต่อมาว่า การศึกษาคือ กุญแจสำคัญที่ไขไปสู่อนาคตของประเทศ ดูเหมือนว่าทุก ๆ คนจะเห็นด้วยว่า โรงเรียนที่ดีคือ โรงเรียนที่เตรียมการเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง เตรียมการรับมือกับสังคมที่มีการเคลื่อนย้ายผู้คนและสร้างสังคมที่ประชากรมีสุขภาพดี ความเห็นเหล่านี้ นักการเมืองใช้หาเสียงไว้กับประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งที่กลายเป็นสาระสำคัญผูกพันต่อสาธารณะในทุกวันนี้

แม้ว่าจะไม่มีใครโต้แย้งเรื่องคุณค่าของการศึกษา แต่ประเทศควรจะพัฒนาอย่างไรในสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรงเช่นนี้ ตามแนวคิดใหม่ในทุก ๆ สองสามปี การบำรุงรักษาโรงเรียนในอมริกา ทำเพียงการปฏิบัติตามมาตรฐาน เปิดโรงเรียนตามกฎหมาย เสนอการรับรองเพื่อการศึกษาเอกชนหรือใช้จ่ายให้กับครูตามผลการปฏิบัติงานของพวกเขา เมื่อเร็ว ๆ นี้ เกิดมีแผนการ 2 แผนการได้ร่วมกันแสวงหาคำตอบตามแนวทางการดำเนินงานของระบบการศึกษาในอเมริกา คือแผนการใช้กฎหมายที่ชูคำขวัญเรื่อง No Child Left Behind ในปี 2001 โดยมองหาการใช้มาตรฐานและการตรวจสอบเพื่อผลักดันนักเรียนทั้งหมดไปสู่ความมีประสิทธิภาพในปี 2014 และแผนการแข่งขันไปสู่ความเป็นเลิศ ด้วยการเริ่มต้นการบริหารของประธานาธิบดีโอบามา ที่พยายามจูงใจให้มีการเปลี่ยนแปลงโดยนำเสนอให้มีการแข่งขันให้มลรัฐ ปฏิบัติตามวาระการปฏิรูป แต่ทุกกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติ มีความก้าวหน้าในบางพื้นที่ การพัฒนาไม่ได้เกิดผลอย่างกว้างขวาง โรงเรียนในสหรัฐอเมริกายังอ่อนแอ คุณภาพลดลงไปอยู่ในระดับปานกลางของการจัดลำดับคุณภาพในนานาชาติ ซึ่งอยู่หลังหลาย ๆ ประเทศอย่าง Estonia และ Slovenia และครึ่งหนึ่งของศตวรรษหลังการสิ้นสุดของการแบ่งแยกผิว ช่องว่างกว้างใหญ่ของการแบ่งแยกเชื้อชาติและชนชั้นของนักเรียนยังคงอยู่อย่างต่อเนื่อง ดูจากผลการประเมินความก้าวหน้าทางการศึกษาระดับชาติ (National Assessment of Education Progress) ที่คะแนนเฉลี่ยในการอ่านของนักเรียนผิวดำที่จบชั้นปีที่ 12 มีค่าเท่ากับคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนผิวขาวที่จบชั้นปีที่ 8 ผลการประเมินเหล่านี้ เป็นระดับความน่าเชื่อถือของการประเมินมาตรฐานในระยะยาว ที่เกิดจากการปฏิบัติงานของโรงเรียนในสหรัฐอเมริกา

สหรัฐอเมริกาต้องการวิธีการที่เป็นระบบและมีความสมบูรณ์มากขึ้นในการพัฒนาการศึกษา โดยดูจากการใช้ความพยายามอย่างมากโดยมีองค์ประกอบ 4 ประการต่อไปนี้ เป็นเครื่องยืนยันที่ทุก ๆ กลุ่มสาขาอาชีพนำมาใช้พิจารณาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ประกอบด้วยเรื่องของทุนมนุษย์ (Human capital) ซึ่งประกอบด้วยการสรรหา (Attracting) การคัดเลือก (Selecting) การฝึกอบรม (Training) และการรักษา (Retaining) สำหรับคนที่ทำงานอยู่แล้ว สาระความรู้หลัก (A core of knowledge) ที่ใช้แนะนำการทำงานคือ โครงสร้างองค์การที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมถึงการจัดการและการตรวจสอบการปฏิบัติงาน(Performance management and accountability)  ทุก ๆ อาชีพต้องการจัดลำดับความสำคัญภายในและระหว่างองค์ประกอบทั้ง 4 นี้ เพื่อที่พวกเขาจะได้ทำงานร่วมกันด้วยความสามัคคี อันจะนำไปสู่ความสำเร็จที่สมบูรณ์แบบ

ในหลายปีไม่นานมานี้ ระบบการศึกษาในสหรัฐอเมริกาได้มีการเปลี่ยนมาให้ความสนใจอย่างมาก ต่อองค์ประกอบท้ายสุดคือ “การตรวจสอบ” ที่มุ่งเน้นขยายความก้าวหน้าออกไป เพื่อให้เกิดความสำเร็จไปยังที่อื่น ๆ ด้วย ส่วนใหญ่ของความทะเยอทะยานในการปฏิรูปการศึกษาของประเทศเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ตามนโยบาย No Child Left Behind ได้เพิ่มการตรวจสอบ ด้วยการดำเนินการประเมินโรงเรียนเป็นรายปี ในการทดสอบนักเรียนในด้านการอ่านและคณิตศาสตร์ แต่การดำเนินการเหล่านั้นไม่ได้ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นแต่อย่างใด ความล้มเหลวได้ขยายวงออกไปสู่องค์ประกอบอื่น ๆ ในการทำงาน ความไม่สมดุลเป็นส่วนหนึ่งที่อธิบายได้ว่า ทำไมการเริ่มต้นปฏิรูปการศึกษาจึงไม่มีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย ในทางตรงกันข้าม วิชาชีพที่มีความเข้มแข็งในสหรัฐอเมริกา เช่น แพทย์ศาสตร์ นิติศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ได้ให้ความสนใจต่อการสร้างพื้นฐาน (Foundations) มากกว่าการยึดเอาการตรวจสอบการปฏิบัติของพวกเขา ยกตัวอย่างเช่น หมอ จะต้องทำความเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับมาตรการที่สร้างไว้ (High bars) ก่อนไปทำงาน ด้วยการพัฒนาฐานความรู้อย่างกว้างขวาง ผ่านหลักสูตรและการฝึกปฏิบัติงานในสถานพยาบาลและกลับไปฝึกอบรมใหม่อย่างต่อเนื่อง ด้วยการปฏิบัติในโรงพยาบาล ในสถานที่ทำงาน วิชาชีพแพทย์ศาสตร์ให้ความสนใจน้อยต่อการกำหนดเป้าหมายและการประชุมนายแพทย์ร่วมกัน เพราะที่นั่นไม่มีสิ่งใดสำคัญมากมายจนต้องกล่าวว่า ไม่มีคนป่วยหลบซ่อนอยู่ข้างหลัง (No Patient Left Behind)

ในขณะเดียวกันประเทศอื่น ๆ ได้แสดงให้เห็นวิธีการที่ดีกว่าในการให้การศึกษาแก่เด็ก ๆ ของพวกเขา ประเทศที่มองดูคล้ายกับระบบการศึกษาแบบในสหรัฐอเมริกามีน้อยและมองดูคล้ายกับวิชาชีพที่มีความเข้มแข็งมีมาก การวิจัยนานาชาติเมื่อเร็ว ๆ นี้เสนอว่า ในประเทศต่าง ๆ ที่ถูกจัดลำดับคุณภาพการศึกษาให้อยู่ในลำดับยอดเยี่ยมระดับนานาชาติ ความสำเร็จของพวกเขาเกิดจากวิธีดำเนินการที่มีความหลากหลายในวิธีการ ที่ตรงข้ามกับวิธีการในอเมริกา ประเทศต่าง ๆจำนวนมาก ประกอบด้วย แคนาดา ฟินแลนด์ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ผู้เรียนมีคะแนนสูงสุดในการทดสอบ PISA (Program for International Student Assessment) ซึ่งการทดสอบนี้ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ด้วยการทดสอบนักเรียนอายุ 15 ปี ที่วัดการแก้ปัญหาระดับสูงในวิชาคณิตศาสตร์ การอ่านและวิทยาศาสตร์ ทุกประเทศดังกล่าว ทำคล้าย ๆ กัน คือคัดเลือกครูจากผู้มีความสามารถที่สุด ฝึกอบรมพวกเขาอย่างเข้มข้น สร้างโอกาสให้พวกเขาพัฒนางานโดยร่วมมือกับกลุ่มเพื่อนภายในโรงเรียนและโรงเรียนอื่น  เสนอให้พวกเขาได้รับการสนับสนุนจากภายนอก ถ้าพวกเขาต้องการทำงานให้ดีขึ้นและลงนามเห็นด้วยกับความพยายามทั้งหมดกับรัฐบาลที่มีระบบสวัสดิการที่เข้มแข็ง เพราะว่าประเทศต่าง ๆ เหล่านี้เริ่มต้นทำงานได้ดี ด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีความซื่อสัตย์ต่อการเป็นนักการศึกษา  พวกเขามีความต้องการการติดตามการปฏิบัติงานของโรงเรียนจากภายนอกน้อยมาก

ถ้าสหรัฐอเมริกาต้องการเป็นผู้นำโลกในด้านความผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน จะต้องขอยืมแนวความคิดบางอย่างจากประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสุดยอดในนานาชาติในปัจจุบันนี้ มาใช้ ซึ่งค่อนข้างเป็นไปได้มากกว่าการใช้วิธีการธรรมดา ๆ ตรวจสอบครูและโรงเรียนที่มีความล้มเหลวให้ยกระดับการปฏิบัติงานให้สำเร็จตามความคาดหวัง ประเทศจะต้องสร้างระบบใหม่จากพื้นฐานด้วยผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ ที่สามารถยืนยันให้ผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูงได้

อาคารเรียนคล้ายกับโรงงาน
(
SCHOOLHOUSE AS FACTORY)

ระบบโรงเรียนในสหรัฐอเมริกาสันนิษฐานว่า เป็นรูปแบบที่ทันสมัยน้อยกว่าหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมาในระหว่างยุคสมัยที่ก้าวหน้า (Progressive Period) ระหว่างยุคที่มีความก้าวหน้า ในหนึ่งชั่วอายุคนระหว่างปี 1890 – 1920 กลุ่มของคนชั้นสูงได้เปลี่ยนแปลงประเทศแบบอาคารเรียนหนึ่งห้องสู่การจัดตั้งระบบโรงเรียนในเมือง ที่ได้รับอิทธิพลจากรูปแบบที่มีอยู่ทั่วไปขององค์การทางธุรกิจ ซึ่งมีการจัดระดับความมีประสิทธิภาพ ระบบนี้ได้มอบอำนาจให้ผู้บริหารระดับสูงที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายได้ปฏิบัติคล้ายกับเป็น CEO ของโรงเรียนในเมือง ซึ่งครูที่เป็นผู้หญิงส่วนใหญ่จะต้องปฏิบัติตามกฎและระเบียบที่ผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้เลือก

ในรูปแบบการบริหารองค์การแบบบังคับบัญชาตามลำดับชั้น (Hierarchical Model) นี้ ครูมีอำนาจอย่างเป็นทางการเพียงเล็กน้อยที่จะต่อต้านคำสั่งจากข้างบน แม้ว่าการเชื่อมโยงสายบังคับบัญชาจากผู้บริหารระดับสูงจะสูญเสียไป ทำให้ขาดการติดตามผู้ปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด แต่ก็ทำให้ครูมีอำนาจควบคุมการปฏิบัติงานของตนได้ทั้งหมดว่ามีอะไรเกิดขึ้นในห้องเรียนของพวกเขาบ้าง ครูได้รับการฝึกอบรมน้อยเพราะ มีสมมุติฐานว่าพวกเขาไม่มีความยุ่งยากในการปฏิบัติงาน โรงเรียนที่จัดการศึกษาได้คุณภาพในระดับยอดเยี่ยมส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการฝึกอบรมครู เห็นการสอนคล้ายกับเป็นงานที่มีสถานภาพต่ำ เป็นสิ่งที่น่าละอาย เป็นงานของผู้หญิง พวกเขาถูกปลูกฝังให้ตำแหน่งผู้บริหารเป็นของผู้ชาย ซึ่งจะต้องเป็นผู้บริหารระบบ

นานนับครึ่งศตวรรษ รูปแบบการบริหารแบบนี้ดำเนินไปด้วยดี เพราะว่ามีความคาดหวังอย่างมาก ว่าอะไรที่เป็นความต้องการของโรงเรียน รูปแบบการบริหารแบบนี้จะสร้างการผลิตที่มีขอบเขตอย่างยุติธรรม  การสูญเสียสายบังคับบัญชาทำให้ครูมีอำนาจด้วยตนเองเพียงพอแก่การสร้างพวกเขาให้รู้สึกในการทำหน้าที่ ผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการโรงเรียนมีอำนาจอย่างเป็นทางการเพียงพอที่จะรักษาไว้ซึ่งระบบของโรงเรียนที่พวกเขาให้การแนะนำและตั้งแต่ผู้นำเหล่านี้ได้รับการเลือกตั้งหรือได้รับการแต่งตั้งโดยเจ้าหน้าที่เลือกเข้ามา โรงเรียนจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมโดยระบบประชาธิปไตย ครูส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงจะมีการจ้างผู้อื่นที่เป็นผู้ชายบ้างก็เพียงสองสามคนและโดยทั่วไปไม่ได้เป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัว ดังนั้นแม้พวกเขาจะได้รับค่าจ้างน้อยก็ แต่ไม่ได้เป็นสิ่งยั่วยุให้พวกเขาคิดต่อต้านแต่อย่างใด

ยิ่งไปกว่านั้น คนอเมริกันมีความอดทนต่อระบบเพราะว่าในปี 1960 นักเรียนผิวขาวส่วนมากจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งพวกเขาอยู่ในชนชั้นกลางที่ครอบครองโรงงานและภาคส่วนอื่น ๆ ก็คล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม แม้ในโรงเรียนจะมีค่าใช้จ่ายจริง ๆ เท่าใด แต่มีเยาวชนจำนวนน้อยที่มีอภิสิทธิ์เข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาลหรือโรงเรียนเอกชนที่ดีกว่า แล้วเรียนต่อไปจนถึงวิทยาลัย ผลลัพธ์คือ คนผ่านระบบโดยทั่วไปได้รับในสิ่งที่พวกเขาต้องการ อย่างไรก็ดีประเทศไม่ได้ทำอะไรได้มากจนถึงจุดสูงสุดของการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งหมด

มากกว่าห้าสิบปีที่ผ่านมา ข้อจำกัดของรูปแบบได้เปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เป็นต้นว่าความคาดหวังของโรงเรียนมีเพิ่มมากขึ้น แรงขับจากผู้คนที่เห็นความสำคัญในสิทธิของพลเมืองและการเปลี่ยนแปลงจากสังคมยุคอุตสาหกรรมไปสู่สังคมหลังยุคอุตสาหกรรม ปัจจุบันผู้กำหนดนโยบายมีความคาดหวังให้นักเรียนทั้งหมดประสบความสำเร็จในระดับสูง แต่วิธีการที่จะนำไปสู่ความทะเยอทะยานเหล่านี้ยังไม่มี อัตราส่วนของคนยากจนในอเมริกายังสูงเมื่อเทียบกับมาตรฐานนานาชาติ เพราะว่ารัฐสวัสดิการที่อ่อนแอของประเทศ และทรุดหนักด้วยการล่มสลายของโรงงานอุตสาหกรรมและการแบ่งแยกผิวที่เพิ่มขึ้น และการว่างงานในเมืองใหญ่หลายเมืองในชาติ และโรงเรียนในละแวกใกล้เคียงมีความยากจนสูงไม่ยอมรับการปฏิรูปอย่างกว้างขวาง ผู้หญิงที่ได้รับการศึกษาซึ่งจะออกมาเป็นครูมีจำนวนมากเสมอและมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นด้วย ในขณะเดียวกันกลับลดจำนวนผู้ที่มีความสามารถพิเศษในการประกอบอาชีพครูลง ธรรมชาติของการกระจายอำนาจจากส่วนกลางอย่างสูงของการศึกษาในอเมริกา กลับกลายเป็นจุดอ่อนมากกว่าความเข้มแข็ง อย่างที่นักวิชาการ เดวิท โคเฮนและซูซาน โมฟฟิตต์ (David Cohen and Susan Moffitt) ชี้ว่า เพราะมันมีข้อจำกัดในความสามารถของรัฐบาลกลาง (Federal government) ในการดูแลให้มีการสอนที่ดีได้ตลอดทั้งประเทศ ปัจจุบันประเทศต้องการการยืนยันถึงผลการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพระดับสูงทั่วทั้งระบบโรงเรียน แต่ยังไม่มีการสร้างระบบที่จะทำให้เกิดความสำเร็จนั้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากวงจรชั่วร้าย (Vicious cycle) ที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติ เป็นความหวังเล็กน้อยเทียบความต้องการที่มีมากในการพัฒนาการศึกษาของอเมริกา ผู้กำหนดนโยบายสามารถเข้าใจถึงความต้องการด้วยการเข้าแทรกแซงระบบที่ล้มเหลว แต่ให้ผลการปฏิบัติงานในโรงเรียนต่าง ๆ อย่างไม่มั่นคง อัตราส่วนการออกกลางคันสูงถึงร้อยละ 40 – 50 ในบางเมือง พวกเขาได้ใช้กลไกต่าง ๆ อย่างมาก แต่ผลของความพยายามที่จะสร้างมาตรฐานให้สูงขึ้นแก่นักเรียนและสิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมากับโรงเรียนกลับล้มเหลว ส่วนหนึ่งของความไม่พอใจของครูคือ การมอบอำนาจสั่งการจากภายนอกโดยประชาชน ซึ่งรู้เรื่องเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับงานประจำวันของครู และเป็นผู้ซึ่งไม่เต็มใจที่จะให้การสนับสนุนในสิ่งที่เป็นความต้องการของนักเรียน ครูต่างมีความวิตกกังวลต่อการตกเป็นแพะรับบาป (Scapegoat) ในความล้มเหลวของพวกเขา และอยู่ในตำแหน่งที่จะมองหาเหตุผลมาคัดค้านสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าไม่ยุติธรรมและไม่มีเหตุผลจากการประเมินและตรวจสอบจากภายนอกด้วยความยากลำบาก ในทางกลับกันผู้กำหนดนโยบายหลาย ๆ คน มองโรงเรียนคล้ายเป็นหน่วยที่ต้องการหาวิธีผูกมัดเชื่อมโยงเพื่อเอาชนะการคัดค้านของครูและการคิดรวมตัวกันอันจะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูป วงจรชั่วร้ายนี้ยังคงอยู่ ด้วยแต่ละฝ่ายยังคงปฏิบัติตามบทบาทที่ได้รับการแต่งตั้งมา โดยมองไม่เห็นวิธีการพัฒนา

ลัทธิที่ไม่มีข้อยกเว้นของคนอเมริกัน (AMERICAN UNEXCEPTIONALISM)

ประเทศต้องการหยุดเกลียวที่หมุนต่ำลงและสร้างระบบที่ดีกว่าเดิมจากพื้นฐานขึ้นมา จะเริ่มต้นจากตรงไหนดี ควรจะเป็นเรื่องของเทคนิคการสอน นักวิชาการทางการศึกษาระบุว่า ความรู้สำหรับครูที่ดีมีอยู่ 3 ประเภท คือ ความรู้ที่เป็นเนื้อหาสาระ (Substantive knowledge) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับวิชาที่ครูสอน ความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพ (Pedagogical knowledge) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนและความรู้ที่เกี่ยวกับเนื้อหา (Pedagogical content knowledge) หมายถึง ความรู้ที่นักเรียนควรจะเข้าใจถึงวิธีการเรียนรู้ในวิชาที่เรียน มีอะไรที่ผิดพลาดหรือเกิดความลำเอียงในการมองครูและวิธีการตอบสนองต่อความเข้าใจผิดในเรื่องเทคนิคการสอนที่พวกเขาอาจปิดบังซ่อนเร้นอยู่ ครูที่ดีรู้วิธีการชักจูงและประยุกต์รูปแบบต่าง ๆ ของความรู้เหล่านี้และสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วในสถานการณ์จริง มีงานวิจัยโดยฟิลลิป แจ็คสัน (Philip Jackson) แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกได้เสนอว่า ครูได้ทำการตัดสินใจมากกว่าพันครั้งในการใช้หลักสูตรในแต่ละวัน

ปัญหาการศึกษาในอเมริกาคือ การพัฒนาทักษะเหล่านี้ไม่เป็นระบบในทุก ๆ วิธีการ ครูเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ จากรายงานระบุว่า โดยทั่วไปครูในอเมริกาที่ได้รับการฝึกอบรมนำประโยชน์ไปใช้ในการปฏิบัติได้น้อย การสอบใบอนุญาตสำหรับครูขาดความเข้มงวดในการทดสอบตามมาตรฐาน แต่ยังใช้อยู่ในวิชาชีพนิติศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบัญชีและหลาย ๆสาขาอาชีพ ครูดีเด่นบางคนมีอาชีพนอกเวลา แต่บางคนเรียนรู้เฉพาะการควบคุมห้องเรียน เมื่อเร็ว ๆ นี้ มูลนิธิบิลล์และเมลินดา เกตส์ (Bill and Melinda Gate Foundation) ได้ศึกษาห้องเรียนกว่า 3,000 ห้องเรียนในสหรัฐอเมริกาพบว่า ห้องเรียนมากกว่าร้อยละ 60 ได้มีการจัดการอย่างเหมาะสม หมายความว่านักเรียนไม่เกเรและทำงานตามที่ครูสั่ง แต่มีเพียงร้อยละ 20 ที่มุ่งมั่นเรียนรู้อย่างทะเยอทะยานด้วยความท้าทายในการคิด การใช้เหตุผลและการวิเคราะห์เนื้อหาหรือปัญหา

ไม่ต้องแปลกใจ ที่รูปแบบเหล่านี้เป็นกระจกเงาสะท้อนภาพการสอนของครู ที่ดูได้จากผลการเรียนรู้ของนักเรียนว่าพวกเขาสามารถจะทำอะไรได้บ้าง ผลจากการประเมินความก้าวหน้าทางการศึกษาระดับชาติ (National Assessment of Educational Progress) แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า 2 ใน 3 หรือมากกว่าของนักเรียนในอเมริกาทุกกลุ่มอายุ มีความสามารถในทักษะขั้นพื้นฐาน เช่น การอ่าน การจำ แต่มีเพียง 1 ใน 3 ที่มีทักษะการทำงานได้ดี รวมทั้งการประยุกต์ใช้ข้อมูลข่าวสารและการวิเคราะห์ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาของอเมริกาสอบไม่ผ่านในการประเมินผลระดับชาติ จากการประเมิน PISA ในปี 2009 พบว่า ผลการประเมินด้านการคิดชั้นสูง คะแนนการอ่านอยู่ลำดับที่ 14 วิทยาศาสตร์ลำดับที่ 17 คณิตศาสตร์ลำดับที่ 25 การสร้างระบบโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ต้องการครูที่ช่วยนักเรียนให้สามารถทำงานเหล่านี้ให้ก้าวหน้า

ระบบที่อยากจะทำนั้นคืออะไร ผลการทดสอบของประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ระดับนำในระดับนานาชาติ พวกเขามีรูปแบบต่าง ๆ ที่นำมาใช้ พวกเขาทำงานได้ดีกว่าด้วยการพัฒนาทุนมนุษย์ พัฒนาความรู้และช่วยให้ครูเจริญเติบโตในหน้าที่อย่างกว้างขวาง ไม่เหมือนกับในสหรัฐอเมริกา ที่มียุทธศาสตร์เน้นเฉพาะใช้การทดสอบมาตรวจสอบครูและโรงเรียน ประเทศที่ประสบความสำเร็จจำนวนมากยอมรับการลงทุนโดยเอา ผลลัพธ์สุดท้าย (Front end) มาควบคุมคุณภาพ ผลสัมฤทธิ์ ผลสำเร็จของโรงเรียนในประเทศเหล่านี้ เกิดจากการสร้างวงจรคุณธรรม (Virtuous cycle) การสนับสนุนจากสาธารณะเพื่อการลงทุนทางการศึกษาและสร้างครูให้เป็นอาชีพที่น่าสนใจมากขึ้น แม้ดูว่าสหสัมพันธ์จะไม่เป็นเหตุเป็นผลกันและงานวิจัยจำนวนมากจะเสนอแนะวิธีการทำงานแบบนี้อยู่ ประเทศต่าง ๆ เหล่านี้ได้ยังคงแบ่งปันวิธีดำเนินการเพื่อการปฏิรูปที่ดูเหมือนจะมีความแตกต่างกันอย่างมากกับประเทศที่เดินตามสหรัฐอเมริกา

ที่แน่ ๆ ประเทศที่มีผลการประเมินระดับนานาชาติอยู่ในระดับนำ มีความแตกต่างจากสหรัฐอเมริกาในทุก ๆ ทาง มันเป็นเรื่องลำบากในการที่จะนำเข้าบทเรียนจากพวกเขาโดยตรง ที่เห็นชัดเจนที่สุดคือโดยทั่วไปพวกเขาเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กกว่าและมีเชื้อชาติเดียวมากกว่าสหรัฐอเมริกา อย่างที่พูด มันอาจผิดพลาดได้ถ้าจะสรุปว่า สหรัฐอเมริกาจะสามารถเรียนรู้จากต่างประเทศ โดยเฉพาะการให้การศึกษาประสบความสำเร็จสามารถเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ ด้วยการพัฒนาข้ามวัฒนธรรมที่แตกต่างอย่างไร คุณลักษณะที่พวกเขาแบ่งปันกันสามารถเห็นได้ในวิชาชีพอื่น ๆ ก็มีความเข้มแข็งอยู่ในสหรัฐอเมริกาด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกันกับการนำระบบเครือข่ายกลุ่มโรงเรียน (Charter – school networks) มาเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

เพิ่มมาตรการในการคัดครู
(
RAISING THE BAR)

ความพยายามในการปฏิรูปการศึกษาของสหรัฐอเมริกาทุกครั้งต้องเริ่มต้นจากการจูงใจหาครูที่ดีมาทำงาน ฝึกอบรมพวกเขาและช่วยพวกเขาให้สามารถพัฒนาการปฏิบัติงาน ข้อค้นพบจากการเปรียบเทียบงานวิจัยในระดับนานานชาติส่วนใหญ่แย้งว่า ระบบโรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติงานที่ดีที่สุดรับครูมาจากผู้ที่จบการศึกษาระดับยอดเยี่ยมลำดับหนึ่งในสามของวิทยาลัย ในขณะที่ระบบโรงเรียนที่อยู่ในระดับคุณภาพต่ำไม่ได้เป็นเช่นนั้น เมื่อเร็ว ๆ นี้จากรายงานของแม็คคินเซย์ (Mckinsey) พบว่า ครูในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่สองในสามมาจากห้องเรียนท้าย ๆ ของวิทยาลัยและสำหรับโรงเรียนใกล้ ๆ ที่ยากจน หลายแห่งมาจากห้องเรียนท้าย ๆ อันดับที่สาม

ในประเทศฟินแลนด์ การสอนคืออาชีพเดียวที่คนชอบที่สุด ที่มีมานาน 15 ปี แล้ว การให้ความสำคัญเช่นนี้ทำให้ประเทศยอมรับว่าเป็นอาชีพเดียวที่ผู้สมัครหนึ่งในสิบคนเท่านั้นที่ต้องเข้าสู่โครงการฝึกอบรมการเป็นครู เรื่องเดียวกันในประเทศสิงคโปร์มีเพียงหนึ่งในแปดคนเท่านั้นที่เข้าโครงการ ในทางตรงกันข้ามในสหรัฐอเมริกาแม้ในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงที่สุด มีครูร้อยละ 50 หรือมากกว่าของผู้สมัครต้องเข้าโครงการฝึกอบรมครู

สหรัฐอเมริกาจะต้องจูงใจและคัดเลือกครูมาทำการสอนให้มากขึ้นได้อย่างไร ในปีที่ผ่านมา สหภาพครูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ 2 แห่ง (the American Federation of Teachers and the National Education Association) และสมาคมผู้บริหารโรงเรียน (the Council of Chief State School Officers) ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการเสนอเจ้าหน้าที่ทางการศึกษาของรัฐมาทำงาน ได้มีการยกเลิกรายงานเกี่ยวกับการเพิ่มมาตรการ (The bar) ในการเข้าไปทำการสอน ภายใต้ข้อเสนอของพวกเขา เสนอว่าครูควรจะเริ่มจากการมีสถานะชั่วคราว (Provisional status) ในช่วงแรก ๆ หลายปี ก่อนที่จะมีการได้รับใบอนุญาตอย่างเป็นทางการ พวกเขาควรต้องแสดงความรู้และทักษะการสอนในวิชาของพวกเขาในห้องเรียนก่อน ระยะเวลาในการอยู่ในตำแหน่งไม่นานและมีขั้นตอนน้อย แต่สามารถที่จะได้รับความสำเร็จคล้ายกับตำแหน่งในมหาวิทยาลัยหรือตำแหน่งงานงานที่มั่นคงทางกฎหมาย (Law firm) การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้มีศักยภาพที่พูดได้ว่าทั่วทั้งองค์การ ถ้ามันเป็นเรื่องที่ลำบากขึ้นในการเป็นครู แต่ก็ยอมรับได้เพื่อให้วิชาชีพได้พัฒนาและโรงเรียนอาจได้เริ่มต้นแสดงผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ด้วยกระบวนการนี้จะทำให้สาธารณชนมีความมั่นใจต่อโรงเรียน ความมีศักยภาพมากจะนำไปสู่การจ่ายค่าตอบแทนที่สูงให้กับครูและในการทำงานระยะยาวจะดึงดูดให้คนเก่งได้มาเป็นครูด้วย

การเพิ่มมาตรการที่สูงขึ้นเพื่อพัฒนาการสอน ควรส่งผ่านมือต่อมือด้วยการปรับปรุงวิธีการสู่การศึกษาของครู สหรัฐอเมริกามีสถาบันฝึกหัดครูแบบดั้งเดิมมากกว่า 1,300 แห่ง การเพิ่มจำนวนเป็นการนำเสนอทางเลือกของสถาบัน แต่มีจำนวนน้อยที่จะมีท้องถิ่นเป็นผู้สนับสนุนการฝึกอบรมครูให้ลงปฏิบัติวิชาชีพ (Teacher residencies) และมีโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจำนวนน้อยที่มีโครงการฝึกอบรมด้วยตัวเอง ความสำเร็จสูงสุดของโครงการเหล่านี้ ได้ใช้วิธีการแบ่งปันประสบการณ์ง่าย ๆ หลายอย่าง พวกเขาดึงดูดคนที่ส่วนใหญ่จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี แต่ต้องการสอนในวิชาที่เขาเรียนมา พวกเขาสนใจการปฏิบัติสถานรักษาผู้ป่วยมากกว่าในห้องเรียน พวกเขามีความระมัดระวังในการเลือก (มากกว่าการรักษานักเรียนอย่างง่าย ๆ คล้ายกับเป็นกระแสหลัก) และพวกเขาใช้ข้อมูลเกี่ยวกับว่าจะทำอย่างไรให้นักเรียนได้รับประโยชน์มาก ๆ ด้วยความยุติธรรมคล้ายกับว่าครูได้ทำการประเมินและเปลี่ยนแปลงวิธีการของพวกเขา ความสำเร็จสูงสุดคือ ผู้นำเสนอคุณภาพต่ำทั้งหลายจะต้องหยุดลง แต่การปิดตัวของโครงการที่มีมานานอาจยอมรับได้ยากในทางการเมือง การยอมรับผลการสอบวัดมาตรฐานสำหรับครู สามารถวัดการแสดงออกถึงทักษะการสอน เท่า ๆ กับความรู้ในวิชาที่สอนและวิธีสอน ที่อาจต้องมีผลสัมฤทธิ์เหมือนกันมาแทน โครงการฝึกอบรม ผู้ซึ่งผ่านการสอบวัดความเข้าใจได้ จะเป็นการดึงดูดใจผู้สมัครมากขึ้น ขณะเดียวนักเรียนไม่อยากจะกลายเป็นผู้ที่เลือกครูผิด

ครูรู้อะไร
(
WHAT TEACHERS KNOW)

การพัฒนาการฝึกอบรมครูต้องการนักการศึกษาที่พัฒนารายละเอียดมากขึ้น สามารถใช้ความรู้แนะนำในการฝึกอบรม ความเป็นวิชาชีพคือพื้นฐานที่พวกเขาเรียกร้องให้ปลูกฝังด้วยการนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการวางแผน  เหมือนนักกฎหมายทำสัญญาและหมอเขียนใบสั่งยา เพราะว่าพวกเขาเป็นผู้เข้าใจดีว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เขามีอยู่จะจัดการมันอย่างไร อย่างไรก็ตาม การสอนนั้นขาดการประมวลผลทำให้ขาดองค์ความรู้ ในขณะที่ในวิชาชีพอื่น ๆ การควบคุมคุณภาพจะรับรองได้ด้วยการแบ่งปันความรู้ ดังนั้น ความไม่สัมพันธ์กันในเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องใหญ่ที่เกิดขึ้นจากห้องเรียนหนึ่งไปสู่อีกห้องเรียนหนึ่ง ในบางความเห็น เห็นว่าการศึกษาของคนอเมริกันในวันนี้ คือที่ซึ่งได้รับการเยียวยาน้อยกว่าในศตวรรษที่ผ่านมา จากการวิจัยในบางครั้งพบว่า แทนที่ครูจะยอมรับการแบ่งปันความรู้กันเป็นฐาน ครูเหมือนคนหลังค่อมที่แบกสัมภาระมากมายและบางครั้งยังทำหน้าที่เป็นหมอเถื่อนอย่างเปิดเผย (Outright quackery)

อุปสรรคสำคัญต่อความก้าวหน้าในการศึกษาคือ ไม่มีใครใช้ความรู้เป็นฐานในการพัฒนา นักวิจัยทางการศึกษาเขียนงานขึ้นเพื่อนักวิจัยอื่น ๆ เป็นหลัก ครูได้สร้างความคิดใหม่ ๆ ขึ้นมาในแต่ละวันแต่ไม่ได้ให้ความสำคัญในการนำไปแบ่งปันหรือทดลองดู แนวคิดเชิงอุตสาหกรรมที่แท้จริงคือการพัฒนาวัตถุดิบในห้องเรียน แต่กลับกลายเป็นว่ามาสนใจเพียงการทำตามนโยบายของรัฐมากกว่าการพัฒนาการเรียนรู้ของครูและนักเรียน แอนโทนี บริค (Anthony Bryk) ประธานมูลนิธิ Carnegie Foundation for the Advancement of Teaching ได้ประมาณการว่า ขณะที่วงการแพทย์ วิศวกรรมใช้จ่ายเงินร้อยละ 5 – 15 ของงบประมาณในการวิจัยและพัฒนา แต่การศึกษาของสหรัฐอเมริกาลงทุนน้อยกว่า 1 ใน 4 ของร้อยละ 1 ของงบประมาณเหล่านั้น

ไม่เพียงแต่ในวงการขาดความรู้ แต่ยังขาดแหล่งทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตอีกด้วย

ข่าวดีคือว่า มีงบประมาณเพื่อการพัฒนาความรู้เป็นการเฉพาะ ที่วงวิชาชีพได้รับเพิ่มขึ้น นักวิชาการการศึกษานำการวิจัยทางวิชาการอย่างจริงจัง ในหัวข้อต่าง ๆ ที่หลากหลาย อันประกอบด้วย จะเริ่มต้นการสอนอ่านอย่างไร ข้อแนะนำในการพัฒนาและการใช้ทักษะเฉพาะที่พอเพียงในห้องเรียน ผู้ปฏิบัติการกลุ่ม “โรงเรียนตามสัญญา” (Charter – school operators) และนักวิจัยอิสระมีการศึกษาว่าอะไรคือสิ่งที่ครูและผู้บริหารที่ดีที่สุดจะต้องทำและยังมีการแบ่งปันความรู้ให้มีความเข้าใจที่ลึกซึ้งผ่านหนังสือและวิดีทัศน์อีกด้วย เว็บไซด์ระหว่างครูกับครูช่วยให้ครูไม่โดดเดี่ยวในการสอนและยังช่วยให้ครูได้ทำงานเป็นกลุ่มในการพัฒนาบทเรียนและหน่วยการเรียน โรงเรียนและครูยังสามารถกลับไปหาร้านค้าและสถาบันที่ไม่แสวงหากำไรที่เสนอหลักสูตรและอุปกรณ์การสอน แม้ว่าพวกเขาได้ระมัดระวังตัวอย่างมากในเรื่องคุณภาพและความมั่นคงของระบบกลไกที่มีเล็กน้อย  เหมือนกับแยกข้าวสาลีออกจากฟางข้าว อะไรคือสิ่งสำคัญที่ต้องการผลักดัน ไม่ว่าจะจากรัฐบาลหรือจากผู้ใจบุญภาคเอกชน สู่การบูรณาการแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่แตกต่างเหล่านี้ พัฒนาแบ่งปันมาตรฐานซึ่งพวกเขาสามารถตรวจสอบได้อย่างถี่ถ้วนและสร้างองค์ความรู้ใหม่ในส่วนที่ขาดหายไป

การอยู่อย่างโดดเดี่ยวคืออุปสรรคของการพัฒนา
(
ISOLATION IS THE ENAMY OF IMPROVEMENT)

ความรู้และการฝึกอบรมจะได้ใช้น้อยถ้าองค์การไม่มีการทำงานอย่างเป็นกระบวนการ เพราะนักการศึกษาจะประยุกต์ใช้จากการเรียนรู้ของพวกเขา การศึกษาในระดับอนุบาลาจนถึงมัธยมบริบูรณ์ (K – 12) ขาดมาตรฐานการทำงาน ที่มีอยู่ในงานประจำวันในวิชาชีพอื่นอย่างมาก การทบทวนงานทางวิชาการในกลุ่ม (Peer review) (งานเหล่านี้คือ มาตรฐานภายในที่ความเป็นมืออาชีพใช้แนะนำงานประจำวัน ไม่ใช่ประเมินจากการตรวจจากภายนอก ที่เสนอการลงโทษมากแต่ให้คำแนะนำน้อย) อะไรที่เกิดขึ้นในห้องเรียนหนึ่ง ๆ โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นน้อยในห้องเรียนอื่น ๆ การทำงานแบบโดดเดี่ยวจะเป็นอุปสรรคที่ยั่งยืนของการพัฒนา ถ้าครูต้องการได้สิ่งที่ดีกว่า พวกเขาต้องมีเวลาทำงานร่วมกัน อภิปรายบทเรียน สะท้อนผลการทำงานของนักเรียนและพัฒนาวิธีการใหม่ที่ดีกว่าเดิม

เช่นเดียวกันนี้ ในประเทศที่โรงเรียนมีคุณภาพการศึกษาระหว่างนานาชาติอยู่ในระดับสูงก็ได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น โรงเรียนในญี่ปุ่นครูจะมีระเบียบให้มาร่วมกันศึกษาบทเรียนของผู้อื่นและช่วยกันกลั่นกรอง การทำงานอย่างนี้ให้ดีขึ้นอยู่กับโครงสร้างและวัฒนธรรม ในทางโครงสร้างครูในสหรัฐอเมริกาได้ใช้เวลามากในห้องเรียนและใช้เวลาน้อยในการวางแผนและทำงานร่วมกับผู้อื่นกว่าโรงเรียนในประเทศที่โรงเรียนมีผลการปฏิบัติงานสูง ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหรัฐอเมริกามีชั่วโมงสอนเฉลี่ย 1,100 ชั่วโมงต่อปี เปรียบเทียบกับชั่วโมงสอนของครูในประเทศ OECD (Organization of Economic Cooperation and Development เช่นญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ มีค่าเฉลี่ย 660 ชั่วโมงต่อปีซึ่งน้อยกว่าถึง 600 ชั่วโมง ในเชิงวัฒนธรรม การสร้างความเจริญในหน้าที่การงานเกิดจากความร่วมมือกันในทางวิชาชีพ แล้วทำให้เกิดประสิทธิภาพ ครูในสหรัฐอเมริกาต้องการความรู้สึกเหมือนกับเป็นสมาชิกของการแบ่งปันทางวิชาชีพโดยใช้ความรู้เป็นฐานมากกว่าคนทำงานอิสระ (Freelancers) ที่พวกเขาเพียงแต่มาบอกว่าสิ่งที่ถูกคืออะไร

ที่นี่ก็เหมือนกัน ในเร็ว ๆ นี้ ได้มีการพัฒนาระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกาควรจะเป็น

ในประวัติศาสตร์ ผู้บริหารโรงเรียนในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ฝึกผู้จัดการและยอมรับความมีทักษะในเชิงบริหารอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการผลักดันผลงานทางวิชาการที่มีคุณค่าที่นำไปสู่การยอมรับในโรงเรียนที่มีความสำเร็จ ที่ต้องการความเป็นผู้นำในเชิงวิชาชีพเพิ่มขึ้น และการเตรียมการจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาผู้บริหารให้มีการเริ่มต้นด้วยการฝึกอบรมในเรื่องการทำงานพัฒนาการเรียนการสอนร่วมกับครู จากสภาพการทำงานนี้จะทำให้เห็นถึงการขยายความก้าวหน้าเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ในเชิงวิชาชีพด้วยนั่นคือ ทีมงานครูที่ทำงานร่วมกันท่ามกลางปัญหาที่พวกเขาเผชิญอยู่ในห้องเรียน ความท้าทายของคนรุ่นต่อไปจะต้องผสมผสานและมีความรวดเร็วในการใช้ความพยายามเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงไปสู่ท้องถิ่นที่เริ่มตันพัฒนาที่เน้นโรงเรียนหรือในเมืองที่ต้องใช้ความพยายามมากขึ้นโดยการแบ่งปันความรู้ที่เป็นฐาน

โรงเรียนต้องการวิธีการที่ทำให้เกิดการยอมรับกันอย่างเป็นทางการและการรวมตัวของผู้เชี่ยวชาญในระดับต่าง ๆ มากขึ้น ระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกาได้มีการปฏิบัติมายาวนานบนพื้นฐานความเท่าเทียมของครู ความคิดเห็นของครูแต่ละคนได้มา มีระดับเท่าเทียมกันในเชิงความรู้และทักษะ แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนที่แท้จริงซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นในโรงเรียน ตัวอย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์เสนอความก้าวหน้าให้แก่ครูด้วยการขึ้นเงินเดือนแบบเดียวกัน แต่ในสหรัฐอเมริกาโดยทั่วไปจะให้เพียงผู้ซึ่งออกจากครูและเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหาร สหรัฐอเมริกาควรจะปฏิบัติให้เหมือนกับระบบที่สร้างผู้นำในวิชาชีพการสอนซึ่งจะเป็นรางวัลให้ครูอย่างเป็นทางการ ด้วยว่าครูเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้นและเต็มใจที่จะรับผิดชอบมากขึ้นเมื่อสถานภาพและเงินเดือนเพิ่มขึ้น ในการปฏิบัติระยะยาวผู้นำในวิชาชีพสามารถที่จะบูรณาการการฝึกอบรมครูเข้าไปในวิชาชีพได้ดีขึ้น ครูใหม่ต้องฝึกอบรมอย่างรอบคอบ โดยวิธีการที่มีประสิทธิภาพด้วยประสบการณ์ของที่ปรึกษา ที่จะเข้าไปในโรงเรียนที่พวกเขาต้องการเรียนรู้และจะใช้ความพยายามและความขยันขันแข็งนอกเวลาอีกด้วย  หลังจากนั้นเมื่อได้เป็นผู้เชี่ยวชาญ พวกเขาจะพัฒนาและแบ่งปันความรู้ถ่ายทอดไปยังคนรุ่นต่อไป

บทบาทที่แตกต่างของรัฐ
(
A DIFFERENT ROLE FOR THE STATE)

ในบทนี้ ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการจัดการศึกษาในอเมริกา ซึ่งมีอยู่ 3 ระดับ

ระดับสูงสุด คือ Federal government ซึ่งมีบทบาทต่อการศึกษาของประเทศไม่มากนัก

ระดับที่สองรองลงมาคือระดับ State government หรือรัฐบาลของแต่ละรัฐ ซึ่งมีบทบาทแตกต่างกันในแต่ละรัฐ มีการรวมศูนย์ (Centralized system) หรือกระจายอำนาจ (Decentralized system) ที่แตกต่างกันออกไป และ

ระดับท้องถิ่น (Local government and local education system) นับเป็นระดับที่มีผลต่อการจัดการศึกษา การสนับสนุนการศึกษามากที่สุด

ถ้าประเทศได้รับความสำเร็จในการสร้างทักษะและความรู้ที่สามารถเป็นพลังในการสอน บทบาทของรัฐ รวมทั้งส่วนกลาง มลรัฐและรัฐบาลท้องถิ่นจะต้องเปลี่ยนไป ในปัจจุบันนี้ การศึกษาในอเมริกาเกิดปัญหาจากส่วนกลาง ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลพยายามที่จะกำหนดแนวการสอนมาจากที่ไกล ๆ แต่งานการสอนนั้นเป็นงานหนักและมีความยากลำบากที่การเปลี่ยนแปลงจะมาจากหน่วยเหนือ ดังนั้น ความพยายามที่ทำมา จึงเกิดการก่อตัวของครูที่ต่อต้านผู้กำหนดนโยบาย ถ้าประเทศได้มีการปฏิบัติอย่างมีกระบวนการเพื่อให้มีการรับรองการมีทักษะการสอน การคัดเลือก การฝึกอบรม การพัฒนาความรู้ และองค์การโรงเรียนต้องดีกว่านี้ ครูมาในฐานะผู้เชี่ยวชาญ คล้ายกับวิชาชีพอื่น ๆ หลังจากนั้นรัฐบาลสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงจากการทำหน้าที่การตรวจสอบครู มาทำในบทบาทเพื่อให้ได้ประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โดยเฉพาะรัฐบาลสามารถช่วยเหลือในการสร้างหลักสูตร ลงทุกในการวิจัยและพัฒนา ตรวจสอบประวัติครูและเสนอให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคที่เชี่ยวชาญ และยังสามารถทำหน้าที่งานการบริหาร การจ่ายค่าตอบแทน อาคารสถานที่และให้บริการอาหาร ทำหน้าที่สนับสนุนนักเรียนที่อยู่นอกโรงเรียนให้ดีขึ้น  ในหลาย ๆ ทางยังเป็นการช่วยแบ่งเบางานสวัสดิการสังคมของคนอเมริกันที่อ่อนแอในบางงาน ยังสามารถทำหน้าที่เก็บรักษาผลการตรวจสอบบางงานเอาไว้ จากโรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติงานที่ดี และยังประมาณการในการลงทุนเกี่ยวกับการฝึกอบรม ความรู้และองค์การได้อีกด้วย  แต่ถ้าบางโรงเรียนไม่สามารถทำหน้าที่เหล่านี้ได้เป็นเวลานาน พวกเขาสามารถที่จะถูกปิดกิจการได้โดยอำนาจของรัฐบาล
แต่รัฐบาลไม่ควรใช้การบริหารจัดการการศึกษาจากจุดเล็ก ๆ ข้างบน โดยสร้างความก้าวหน้าอย่างไม่รู้จบบนขบวนการของความต้องการ ความระเบียบแบบแผนและมีการตรวจสอบในเป้าหมาย การทำอย่างนี้เป็นเหตุผลบางประการที่หวังว่าจะทำให้โรงเรียนมีพลังในการพัฒนา แต่มันเป็นวิธีการที่ได้พยายามมาก่อนแล้ว  ครั้งแล้วครั้งเล่าและมันเป็นผลผลิตที่นักสังคมวิทยาชื่อ ชาร์ล เพย์น (Charles Payne) เรียกว่า ปฏิรูปมาก เปลี่ยนแปลงน้อย” (So much reform, so little change)

ระบบโรงเรียนในสหรัฐอเมริกายังเปิดเผยให้เห็นรอยประทับของการก่อเกิด ที่เกิดขึ้นในยุคของงานการผลิตแบบสายการประกอบ ที่ไม่เคยเน้นการผลักดันให้นักเรียนมุ่งมั่นอยู่กับการเรียนรู้ที่สลับซับซ้อนและการคิดวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเป็นทักษะที่ต้องการของการพัฒนาเศรษฐกิจในยุคศตวรรษที่ 21 ในหลาย ๆ ปีที่มีการแทรกแซงการบริหารจัดการการศึกษา ประเทศได้วางกฎระเบียบและมีความคาดหวังอย่างสูงจากการเริ่มต้นจากโครงสร้างส่วนบน แต่วิธีการนี้กลับไม่ใช่พื้นฐานของการกลับมาทำให้การสอนพัฒนาเข้าสู่ยุคของความเป็นวิชาชีพที่ทันสมัย ไม่ง่ายเลยที่จะทำอย่างนี้ เพราะมันต้องเป็นความต้องการทางการเมืองที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและทำให้สถาบันยืนอยู่ได้ในระยะยาว กระนั้นก็ตาม มันเป็นเวลาที่จะต้องเริ่มต้นใหม่อีกครั้งในการสร้างระบบโรงเรียน ที่จริง ๆ แล้วอาจเกิดผลเป็นผลลัพธ์ที่ประเทศกำลังมองหาและมันเป็นสิ่งที่นักเรียนจะต้องได้รับ

อ ---------------

เกี่ยวกับผู้เขียน: Jal Mehta เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard Graduate School of Education) หนังสือของเขาที่ใหม่ที่สุดและได้ตีพิมพ์เมื่อเร็ว ๆ นี้คือ The Allure of Order: High Hopes, Dashed Expectations, and the Troubled Quest to Remake American Schooling (Oxford University Press, 2013) ซึ่งเป็นที่มาของบทความนี้ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Foreign Affairs. May –June, 2013. หน้า 105 -116.

Tuesday, June 25, 2013

สุภาษิตยูกันดา - ความอดทนคือการสวมมงกุฎบนศีรษะ


สุภาษิตยูกันดา - ความอดทนคือการสวมมงกุฎบนศีรษะ

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com


ภาพ เด็กนักเรียนในยูกันดา กำลังศึกษาเล่าเรียน


Keywords: สุภาษิต, proverbs, แอฟริกัน, อัฟริกัน, African, แอฟริกา, อัฟริกา, Africa, ยูกันดา, Uganda, ความอดทน, patience

Patience puts a crown on the head. ~ Ugandan proverb
ความอดทนคือการสวมมงกุฎบนศีรษะ ~ สุภาษิตยูกันดา

ประเทศยูกันดา (Uganda) อยู่ในแอฟริกา มีประชากร 35.8 ล้านคน จัดเป็นประเทศหนึ่งที่มีความยากจนที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง มีประชากรร้อยละ 37.7 มีความยากจนระดับมีรายได้เลี้ยงชีพด้วยเงินเพียงวันละ USD1.25 หรือ 37.5 บาท แม้ได้มีความพยายามขจัดความยากจนอดอยาก ซึ่งมีความก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ จากในชนบทที่มีคนยากจนกว่าร้อยละ 56 ในปี ค.ศ. 1992 ในปี ค.ศ. 2005 ได้ลดลงเหลือร้อยละ 31 แต่ความยากจนก็ยังเป็นปัญหาใหญ่ของชาวยูกันดา และชาวทวีปแอฟริกาอีกหลายๆประเทศ

และเมื่อยากจน สิ่งที่จะทำได้คือการต้องมีความอดทน มีความเพียรพยายามที่จะทำทุกสิ่ง ที่จะไม่อดตายหรืออดอยาก ต้องอดทนและทำทุกอย่างเพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ ท่ามกลางความยังไม่พัฒนา
ดังนั้น ชาวยูกันดา ในประเทศที่ยากจนตามมาตรฐานความเจริญในปัจจุบัน ประชาชนจะดำรงอยู่ได้ก็ด้วยความอดทน (Patience) อดทนต่อความยากจน (Poverty) และขาดแคลน

เขายังต้องอดทนต่อการยังอ่อนด้อยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and technology) ที่ยังมาไม่ถึงประชาชนโดยทั่วไป อดทนต่อสภาพการขนส่งและเดินทาง (Transportation) ซึ่งทำให้เขาแม้แต่เมื่อยังเด็ก ก็ต้องรู้จักที่จะใช้การเดินทางด้วยเท้า คนในยูกันดาและในแอฟริกาทั้งหลาย จึงมีสภาพร่างกายที่แข็งแกร่ง ทนร้อน ทนความขาดแคลน สามารถเดินทางด้วยเท้าได้หลายสิบกิโลเมตรต่อวัน

ในด้านการศึกษา (Education) ในปี ค.ศ. 2002 ยูกันดามีอัตราผู้รู้หนังสือร้อยละ 66.8 หรือคนประมาณหนึ่งในสามยังไม่ได้รับการศึกษา ซึ่งยังเป็นเพียงเพื่อให้อ่านออกเขียนได้ เงินงบประมาณเพื่อการศึกษามีร้อยละ 5.2 จากงบประมาณของประเทศ แต่ก็จากฐานของประเทศยากจน และรายได้ต่อประชากรที่ต่ำ ดังนั้น เมื่อเขามีโอกาสได้รับการศึกษา  แม้จะต้องเดินทางไกลแสนไกล เพื่อไปเรียนหนังสือ เรียนในสิ่งที่ดูเหมือนจะยากสำหรับเขา แต่เขาก็ต้องอดทนสู้ ดีกว่าปล่อยให้อ่อนด้อยด้านการศึกษาและการเรียนรู้ และดำรงชีวิตต่อไปท่ามกลางความอดอยากขาดแคลน

ดังนั้นผู้ใหญ่ที่ผ่านโลกมาก่อนประสบกับความยากลำบากมากมาย เขาจึงสอนลูกสอนหลานว่า  “ความอดทนคือการสวมมงกุฎบนศีรษะ” คนเราจะชนะอุปสรรคทั้งมวล ก็ด้วยต้องมีความอดทน