Monday, July 19, 2010

มหาวิทยาลัยเจมส์ คุก (James Cook University)

มหาวิทยาลัยเจมส์ คุก (James Cook University)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: การอุดมศึกษา ประเทศออสเตรเลีย

มหาวิทยาลัยเจมส์ คุก
James Cook University

JCU Logo

คำขวัญ
Motto

Crescente Luce

แสงสว่างมีแต่จะเพิ่มขึ้น
"light ever increasing"

ก่อตั้งเมื่อ
Established

ค.ศ. 1970

ประเภท
Type

สถาบันรัฐบาล
Public

ประมุข
Chancellor

John Grey

ผู้บริหารสูงสุด
Vice-Chancellor

Sandra Harding

นักศึกษาปริญญาตรี
Undergraduates

12,093[1] (2007)

นักศีกษาบัณฑิตศึกษาPostgraduates

3,663[1] (2007)

ที่ตั้ง
Location

Townsville, Cairns, Qld., Australia

วิทยาเขต
Campus

Suburban

การเป็นสมาชิก
Affiliations

IRUA

Website

http://www.jcu.edu.au

มหาวิทยาลัยเจมส์คุก (James Cook University - JCU) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาล (public university) ตั้งอยู่ที่เมือง Townsville, ในรัฐ Queensland, ประเทศออสเตรเลีย (Australia) ได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1970 JCU จัดเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับที่สองของรัฐควีนส์แลนด์ และเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของรัฐควีนส์แลนด์ตอนเหนือ (North Queensland) และจัดเป็นมหาวิทยาลัยระดับที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของรัฐควีนส์แลนด์ และเป็นหนึ่งใน 17 แห่งของประเทศออสเตรเลีย ที่ได้รับการจัดอันดับโดย ARWU เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด 400 แห่งในโลก

สาขาการวิจัยดีเด่นของมหาวิทยาลัยคือด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล(marine sciences), ความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity), การจัดการระบบนิเวศเขตร้อนที่ยั่งยืน (sustainable management of tropical ecosystems), สาธารณสุขเขตร้อน (tropical health care) และการท่องเที่ยว (tourism)

ในปี ค.ศ. 2003 มหาวิทยาลัยได้เปิดวิทยาเขตนานาชาติขึ้นที่สิงค์โปร์ เรียกว่า JCUS แห่ง Singapore. ในประเทศเตรเลียเอง ในปี ค.ศ. 2006 มหาวิทยาลัยได้ขยายวิทยาเขตไปที่ Brisbane รัฐ Queensland

Sunday, July 18, 2010

เสรีภาพในโลกเครือข่าย

เสรีภาพในโลกเครือข่าย

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: เสรีภาพ สื่อมวลชน โลกยุคข้อมูลข่าวสาร

ในทุกวันนี้ คำว่าเสรีภาพดูจะเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ เด็กอยากได้เงินจากพ่อแม่ แต่จะต้องการใช้เงินได้อย่างเสรี พ่อแม่ไม่ต้องมาบ่นว่า นักวิชาการต้องการเสรีภาพในการค้นคว้าศึกษาสรรพสิ่งได้อย่างเสรี ต้องการมีเสรีภาพที่จะนำเสนอ และหวังให้มหาวิทยาลัยจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆให้อย่างไม่จำกัด และสื่อสารมวลชนก็ต้องการมีเสรีภาพที่จะนำเสนอข้อมูลข่าวสารโดยปราศจากการปิดกั้นหรือกำกับ มีบ่อยครั้งที่สื่อมวลชนใช้คำขวัญว่า เสรีภาพสื่อ คือเสรีภาพของสังคม

ทุกฝ่ายอยากมีเสรีภาพมากที่สุด หรืออย่างเสรี แต่ขณะเดียวกัน ไม่อยากให้มีใครมากำกับตรวจสอบ แต่ในโลกของความเป็นจริง หากเรามีเสรีภาพมาก มีอำนาจมาก ความรับผิดชอบต่อการกระทำก็ต้องยิ่งมากตาม และอีกประการหนึ่งคือไม่มีใครที่เขาจะให้เสรีภาพมาอย่างฟรีๆ มันมักจะได้มาด้วยการต่อสู้และฝ่ายหนึ่งยอมตาม จะด้วยอุดมคติ ความถูกต้อง หรือทานต่ออำนาจที่ต้องการเปลี่ยนแปลงไม่ได้

ดังนั้นเสรีภาพจึงมีราคา มีการต้องลงทุน และเมื่อมีการใช้เสรีภาพอย่างระมัดระวัง ก่อให้เกิดประโยชน์ ราคาของเสรีภาพนั้นก็จะสูงยิ่งขึ้น คนเห็นคุณค่า แต่ในทางตรงกันข้าม หากมีการใช้เสรีภาพอย่างไม่ยั้งคิด ไม่รับผิดชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและคนส่วนใหญ่ เสรีภาพที่ได้มานั้น ก็จะไม่สามารถรักษาไว้ได้ หรือคนที่ใช้เสรีภาพอย่างเสรีนั้นก็ต้องหมดเสรีภาพของตนไป

ในโลกของพัฒนาการของมนุษย์แต่ละคนจะมีลักษณะค่อยเป็นไป ค่อยเรียนรู้ ทารกเกิดมาอย่างพึ่งตัวเองได้น้อยมาก ต้องอาศัยนมมารดากิน ต่อเมื่อโตพอที่จะกินอาหารได้เอง ก็จะหย่านม เด็กจะอยากเรียนรู้ อยากพึ่งตนเองมากขึ้นเรื่อยๆ และเขาก็เรียนรู้จากสิ่งที่เขาแสวงหา หากไปจับของร้อน ทำให้เจ็บแสบ เขาก็จะจำประสบการณ์นั้นไว้ และไม่กระทำเช่นนั้นอีก สำหรับครูอาจารย์เอง ก็จะสอนเด็กๆอย่างค่อยๆเป็นค่อยไป เช่นสอนเขาให้รู้จักใช้ถนน เริ่มจากการต้องออกไปเดินตามถนนโดยมีสายผูกโยงกันเป็นกลุ่มๆ มีครูจูงส่วนหัว และส่วนหาง เด็กอนุบาลน้อยๆเหล่านั้นไม่ได้มองว่าเขาขาดเสรีภาพที่มีคนผูกข้อมือ เพราะเด็กๆจะได้รับเงื่อนไขว่า ถ้าเขาประพฤติดีจะได้ออกไปเดินนอกโรงเรียน ได้ไปเห็นโลก เด็กๆจะได้รับรู้ทั้งจากพ่อแม่และโรงเรียนที่จะต้องระวังเรื่องการใช้ถนน เพราะหากหลุดไปวิ่งในถนนนั้น อาจอันตรายถูกรถชนเป็นอันตรายได้ เด็กๆเมื่อเติบโตขึ้น ก็จะเรียนรู้ที่จะใช้ถนน ข้ามถนนได้เองอย่างปลอดภัย

ในพัฒนาการชีวิต เด็กๆและเยาวชนจะมีเสรีภาพจากครอบครัวได้มากขึ้น ก็ต่อเมื่อเขาแสดงความสามารถในการพึ่งตนเอง มีงานทำ มีรายได้ในการเลี้ยงดูตนเอง ไม่มีครอบครัวไหนที่อยากเลี้ยงลูกแบบมีเงินและทรัพย์สินให้อย่างไม่จำกัด แต่ปล่อยให้ลูกๆได้มีเสรีภาพใช้เงินทองและทรัพย์สินไปอย่างไม่จำกัด จนท้ายสุดไม่เหลืออะไร

เสรีภาพและความเป็นอิสระต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบ คนจะเรียกหาเสรีภาพได้ ก็ต่อเมื่อได้แสดงความรับผิดชอบต่อเสรีภาพที่จะได้มาด้วย

สิ่งที่จะเป็นปัญหาในในโลกดิจิตอลที่ชัดเจนยิ่งขึ้นก็คือ เด็กและเยาวชนไทยได้เรียนรู้ในระบบการศึกษาแบบเดิม เขาอาจอึดอัดกับบรรยากาศในชั้นเรียน ห้องสี่เหลี่ยม บางที่รับการศึกษาจากครูอาจารย์ในแบบจำกัดกรอบความคิด ทำให้ไม่ได้แสดงออกในชั้นเรียนอย่างที่เด็กๆต้องการ แต่ในโลกอินเตอร์เน็ต เขากลับรู้สึกมีเสรีภาพมากล้นที่จะแสดงออก และในโลกอินเตอร์เน็ต ไม่มีครูหรือพ่อแม่ที่จะตามไปตรวจสอบ ในเข้าไปโพสต์ข้อความ เด็กๆอายุสิบปี ก็สามารถเข้าไปดำเนินการได้ไม่ต่างจากผู้ใหญ่วัยเกษียณ และในหลายๆเครือข่ายโดยทั่วโลก ได้เปิดช่องให้แสดงออกอย่างไม่มีการตัดทอนข้อความใน Webblog เหล่านั้น จึงกลายเป็นที่ระบายอารมณ์ของเด็กๆ ที่ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์กับเด็กลักษณะพิเศษ เช่น เด็กๆที่อยู่โรงเรียนกินนอน กลางวันต้องเรียนอยู่ในชั้นเรียน ตอนกลางคืนต้องหลับนอนในกรอบของหอพัก เมื่อเขาได้มีโอกาสใช้คอมพิวเตอร์ที่จะติดต่อกับโลกภายนอก ความรู้สึกอึดอัดขาดเสรีภาพของเด็กๆในลักษณะนี้ เขาจึงแสดงออกมาอย่างระเบิด ไม่เกรงกลัว มีอารมณ์อึดอัดอย่างไร โกรธใครมา ก็แสดงออกอย่างเต็มที่ เพราะคิดว่า ครู หรือแม้แต่พ่อแม่ก็ไม่ได้เข้าไปอยู่ในโลกอินเตอร์เน็ตเหมือนเขา

ดังนั้นเราจึงพบข้อความดิบๆ การกล่าวหาให้ร้ายแก่คนอื่นๆ หรือเป็นการทำร้ายกันด้วยคำพูด หรือการปล่อยข่าวที่ทำให้บุคคล องค์การ หรือสถาบันต่างๆได้รับความเสียหาย

เสรีภาพในโลกอินเตอร์เน็ต ท้ายสุดไม่ว่าใครที่แสดงออกไม่ว่าจะถูกหรือผิด ก็ต้องมีความรับผิดชอบที่ตามมา เพราะข้อความที่เข้าไปโพสต์นั้น ไม่ช่วงแรกๆอาจไม่มีคนพบ แต่ท้ายสุดก็จะมีคนไปพบ หากมีข้อความที่เป็นประเด็นขัดแย้ง ท้ายสุดก็มีการติดตามไปยังแหล่งที่ปล่อยข้อความมา ซึ่งกระทำได้ และตามหาคนรับผิดชอบได้ไม่ยากนัก

ดังนั้น เรื่องที่เยาวชนได้เข้าไปแสดงความคิดเห็น หรือให้ร้ายต่อบุคคล องค์การ หรือสถาบ้นต่างๆนั้น โรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือผู้รับผิดชอบจะต้องมาช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไรที่เด็กๆจะได้เรียนรู้ความรับผิดชอบในการพูดการแสดงออกเหล่านี้

ครูอาจารย์ พ่อแม่จะต้องเป็นที่ปรึกษาแก่เยาวชน และบุตรหลานในความรับผิดชอบ ให้เขาตระหนักในเสรีภาพในการใช้สื่อยุคใหม่ ที่จะต้องใช้อย่างรอบคอบ มีสติ หากจะต้องแสดงความคิดเห็นอย่างไร ก็ควรจะแสดงออกในที่เล็กๆ แสดงออกในวงจำกัด ได้มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนกัน โดยครูอาจารย์ ได้ให้ความคิดเห็น ได้ตรวจสอบให้คำแนะนำ ได้ช่วยกันตรวจสอบข้อความเหล่านั้น ก่อนที่จะมีการนำขึ้นไปเสนอ

จะดีที่ครูอาจารย์สอนให้เยาวชนกล้าแสดงออกในชั้นเรียน แสดงออกได้อย่างเปิดเผยอย่างที่เขาคิด และไม่จำเป็นต้องไปห้ามปรามเสียทั้งหมด แต่การให้เด็กๆได้แสดงออก แล้วร่วมกันตรวจสอบข้อมูลและความคิดกันเอง เขาก็จะเรียนรู้ที่จะแสดงออกด้วยสติ ได้ตรวจสอบการรับรู้ของตนว่าถูกต้องหรือไม่ มีหลักการอะไรรองรับหรือเปล่า ควระกระทำหรือเปล่า และอยางไร

เสรีภาพในโลกมาพร้อมกับความต้องรับผิดชอบ ในโลกอินเตอร์เน็ตก็มีคนที่จะติดตามหาคนทำผิดกฎหมายมาลงโทษได้ ความรับผิดชอบจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนทุกฝ่ายต้องตระหนัก

แม้แต่ผู้ใหญ่ด้วยกันเอง ในกรณีการเข้าไปใช้ Social Network อย่าง Twitter หรือ Facebook ทุกคนที่เข้าร่วม ก็ต้องเข้าไปใช้งานอย่างรับผิดชอบ ต้องช่วยกันทำให้ Social Network ได้สื่อสารกันอย่างสุภาพ สื่อในสิ่งที่เป็นความจริง ไม่ป้ายสีกัน ทำร้ายกันอย่างขลาดเขลา ต้องสื่อสารกันด้วยเหตุผล และความรับผิดชอบ

ก่อนที่จะพูดหรือเขียน เราเป็นนายคำพูด หรือข้อเขียนนั้นๆ แต่หากเมื่อเขียนและโพสต์เข้าไปแล้ว เราก็จะกลายเป็นทาสของคำพูดนั้นๆ บางเรื่องก่อให้เกิดผลเสียต่อคนแสดงออกนั้นไปตลอดชีวิต ดังนั้น อย่าเข้าไป Post ข้อความในขณะที่มีความโกรธ เกลียด เจ็บปวดด้วยการป่วยไข้ ง่วงนอน หรือกำลังมึนด้วยสุราหรือฤทธิยา

เขียนข้อความแล้วเข้าไปขอโทษภายหลัง ในหลายลักษณะก็ไมเกิดประโยชน์ คนเขาไม่รับฟัง ทางที่ดีคือจะพูดหรือจะเขียนอะไร ก็ต้องให้รอบคอบ

ในกลุ่ม Social Network มีการเผยความเป็นส่วนตัวได้ แต่ก็ต้องระวังตัวด้วย เพราะเราไม่รู้ว่าคนที่สื่อสารกันนั้นเป็นอย่างไร บางคนเปิดเผยตัวเองอย่างหมดเปลือก และก็เสนอในสิ่งที่แม้เป็นความจริง ควรนำเสนอ แต่ก็สร้างความเกลียดชังแก่ผู้คน ทำให้เปิดช่องให้คนมาทำร้ายได้ ดังนั้นสำหรับคนที่ต้องการพูดหรือนำเสนอข้อเท็จจริงที่อาจกระทบต่อบุคคล หรือหน่วยงานที่อาจมีผลเสียกลับมา หากคิดว่าสิ่งที่จะนำเสนอนั้นเป็นประโยชน์ ก็ให้ใช้เป็นนามปากกาได้ แต่กระนั้นก็ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เขียน หากเขียนเรื่องโกหกแล้วคนจับผิดได้ ในต่อๆไปก็จะไม่มีใครเชื่อในสิ่งที่เขียน

ดังนั้นเมื่อพูดถึงเสรีภาพของสื่อ ก็ต้องพูดถึงความรับผิดชอบของสื่อต่อสังคมด้วย และในด้านที่ให้สื่อกำกับกันเองนั้น ในประเทศไทยเรามักจะพบว่ามีการใช้เสรีภาพกันอย่างเกินเลย มีทั้งเสนอความจริงเพียงบางส่วน ไม่ทั้งหมด มีการสื่อในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง คือใช้สื่อโกหกประชาชน ตัดต่อ บิดเบือน และเท่าที่เห็น สื่อด้วยกันเองก็ไม่สามารถเข้าไปจัดการกับสื่อที่กระทำผิดจรรยาบรรณได้ ดังนั้นสำหรับประเทศไทย เราอยากเห็นสื่อดำเนินการตามวิชาชีพอย่างเสรี แต่กระนั้นเมื่อสื่อกระทำการอย่างไม่รับผิดชอบ ก็ต้องปล่อยให้ได้รับโทษ ถูกฟ้องร้องกันไปตามกฎหมายอย่างรวดเร็ว

เสรีภาพเป็นของมีราคา อยากได้ก็ต้องแสวงหา ต้องต่อสู้ให้ได้มา อยากให้ได้มีเสรีภาพอยู่กับเรานานๆ ก็ต้องเรียนรู้ที่จะต้องช่วยกันปกปักรักษาเสรีภาพนั้นๆไว้ ด้วยคุณธรรมและความรับผิดชอบอันพึงมี

Saturday, July 17, 2010

โลกกับวัฒนธรรมรถยนต์ (Automobile Culture)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: สิ่งแวดล้อม, พลังงาน

โลกกำลังก้าวสู่ยุค Automobile Culture คือทุกคนหรือครอบครัวอยากมีรถยนต์ ทั้งเพื่อความสะดวก และเป็นสถานะในสังคม ส่ิงในี้ได้เกิดขึ้นแล้วในสหรัฐ เริ่มตั้งแต่ 80-90 ปีที่ผ่านมา ในยุโรปก็เกิดวัฒนธรรมในแบบเดียวกัน แรกๆ รถเป็นของหรูสำหรับชนมีระดับ แต่เมื่อ Henry Ford ได้เริ่มผลิตรถยนต์ในแบบสายพาน ผลิตจำนวนมากดังในรุ่น Model T ก็ทำให้คนทั่วไปมีกำลังหาซื้อไว้ใช้

ในเยอรมันนี้สมัยฮิตเลอร์ รถยนต์โฟคสวาเกน อันแปลได้ว่ารถมหาชน คือรถโฟล์คเต่า ราคาไม่แพง ผลิตจำนวนมาก เพื่อให้คนทั่วๆไปใช้ได้ใช้ แม้สงครามสงบ รถยนต์ราคาไม่แพง ก็กลายเป็นตัวส่งสเริมให้ต้องมีการสำรวจและผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากปิโตรเลียมมาใช้กันอย่างกว้างขวางในช่วงเวลา 80-90 ปีที่ผ่านมานี้

ในปัจจุบัน เฉพาะในสหรัฐประชากร 300 ล้านคนมีรถยนต์กว่า 200 คัน หากตัดคนทีี่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี และคนที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป ซึ่งจะขับรถน้อยลงแล้ว ก็เกือบกล่าวได้ว่า ทุกคนมีรถยนต์กันคนละคัน หรือครอบครัวละอย่างน้อย 1 คัน

รถยนต์เป็นตัวใช้พลังงานสิ้นเปลืองมากที่สุด เพราะเขาจับสถิติแต่ละวันคนขับรถไปทำงานในเมือง มักขับคนเดียวโดยไม่มีผู้โดยสารอื่นๆ

รถยนต์เป็นตัวก่อปัญหาสิ่งแวดล้อมทางอากาศมากที่สุด ตามสถิติของสหรัฐ รถยนต์หนึ่งคันปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 5 ตันสู่อากาศ ทั้งนี้ยังไม่นับรวม Carbon monoxide, hydrocarbons, และ nitrogen

รถยนต์ย่ิงมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งใช้พลังงานมาก โอกาสปล่อยควันเสียสู่อากาศก็ยิ่งมาก

รถยนต์ขนาดใช้ทั่วไปในสหรัฐในปัจจุบัน นับเป็นรถขนาดใหญ่ในไทย คือพวก Camry, Honda Accord, ขนาดเครื่องยนต์ 3000 ซีซี รถยนต์ที่สหรํฐผลิตเองในประเทศ เช่น Ford, GM, `และ Chrysler ในปัจุบบันก็จะจัดอยู่ในระดับดังกล่าว โดยทั่วไปเขามีนโยบายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำมันในรถรุ่นใหม่ๆ โดยทำให้วิ่งได้ 10-12 กิโลเมตรต่อลิตร

รถยนต์ที่ใช้ขนาดทั่วไปในประเทศไทยคือระดับ 1600 ซีซี ดังเช่น Toyota Altis หรือ Honda Civic ซึ่งก็ยังนับว่ายังใหญ่เกินความจำเป็น มีรถที่มีขนาดใหญ่กว่านี้ที่ใช้กันในท้องถนน และมีที่ขนาดเล็กกว่านี้เช่นกัน

รถขนาดทั่วไปในประเทศไทย หากวิ่งประมาณ 30,000 กิโลเมตรต่อปี ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 3,000 ลิตร คิดเป็นมูลค่า 99,000 บาท หรือประมาณเดือนละ 8250 บาท

รถแทกซี่ในกรุงเทพฯวิ่งวันละ 2 กะๆละ 300 กิโลเมตร หรือวันละ 600 กิโลเมตร ปีละประมาณ 353 วันหยุดปีละไม่ถึงครึ่งเดือน

รถแทกซึ่ในกรุงเทพฯ วิ่งไม่หยุดคิดเป็นระยะทางปีละ 211800 กิโลเมตร เกือบทั้งหมดใช้แก๊สหุงต้ม และ NGV ซึ่งท้ายที่สุดไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าสจากปิโตรเลียม ท้ายสุดก็จะหมดไปจากโลกแบบที่ไม่สามารถสร้างทดแทนได้ในแบบเดิม

ผมลองให้ชาวรถแท็กซี่ประมาณดู จะมีรถแท็กซี่ในกรุงเทพฯ รวม 100,000 คัน มากกว่าในฮ่องกง (27000 คัน) ถึง 3-4 เท่า รองรับประชากรใกล้ๆกัน

แต่รถแท็กซี่ฮ่องกงมีรายได้ดีกว่ากรุงเทพฯมาก ทั้งๆที่ค่าโดยสารไม่สูงกว่าแท๊กซีในกทม.มากนัก เพราะรถในฮ่องกงวิ่งได้ไม่หยุด ไม่มีจราจรติดขัด

รถยนต์โดยรวมๆในทุกประเทศ หากปล่อยให้เป็นวัฒนธรรม ต่างมีรถยนต์กันคนละคัน หรือแม้แต่ครอบครัวละคัน โลกก็จะมีปัญหาวิกฤติด้านพลังงาน และสิ่งแวดล้อม

บางประเทศในยุโรป คิดวิธีการทางภาษีที่จะทำให้คนใช้รถและน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างประหยัด เช่น การคิดภาษีตามระยะทางที่วิ่ง

บางแห่งดังเช่นที่เมืองลอนดอน เขาเก็บค่าเข้าเขตจราจรหนาแน่น (Congestion Controlled Zone - CCZ) โดยรถยนต์ทั่วไปต้องเสียค่าตั๋วอย่างแพง

เมืองลอนดอนบีบคนให้ใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะเป้นหลัก ดังเช่นรถใต้ดินที่เรียกว่า Underground หรือ เขาเรียกว่า The Tube

เมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา จะเข้าเขตแมนฮัตตัน ส่วนใหญ่จะต้องเสียค่าผ่านทาง และหากต้องจอดรถตามที่จอดรถเสียค่าจอดถึง วันละ 1300 บาท

เมืองนิวยอร์ค เขาผลักดันให้คนไปใช้ระบบขนส่งสาธารณะ รถใต้ดินที่เรียกว่า Subway จ่ายเที่ยวละ USD 2.25 ไม่จำกัดระยะทาง เป็นราคาเมืองสนับสนุน ดังนั้น ดีที่สุด คือไม่ต้องมีรถยนต์เป็นส่วนตัว และไม่ต้องขับรถไปทำงาน หากที่ทำงานอยู่ในเขตเมือง โดยให้หันไปใช้ระบบขนส่งสาธารณะ

ในประเทศไทย ผมเห็นเศรษฐกิจกลับคืนมาเป็นปกติหลังเหตุการณ์จลาจลในเดือนเมษา-พฤษภา สังเกตตามถนนมีคนถอยรถป้ายแดงออกมาวิ่งกันมากขึ้น และที่เห็นมี Nissan March ซึ่งเป็นรถยนต์เล็ก เครื่องยนต์ขนาด 1200 ซีซี แบบ 3 สูบ จัดเป็นรถ Eco Cars ในค่าย GM, Mazda, ก้มีรถขนาดเล็กและราคาประหยัดออกสู่ตลาดในไทยเช่นกัน ด้วยราคารถและการใช้น้ำมันที่ลดลง คือประมาณ 18 กิโล/ลิตร ก็จะยิ่งทำให้มีรถบนท้องถนนมากขึ้น การจราจรในเขตเมืองก็จะยิ่งมีการติดขัดยิ่งขึ้น

เห็นที่เราต้องหันมาคิดเรื่องรถยนต์ การเดินทาง การพัฒนาคุณภาพชีวิตในแบบใหม่กันบ้างแล้ว มิฉะนั้น เราทั้งหมดคงจะต้องประสบวิกฤติการโลกด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานกันอย่างหนักในไม่ช้านี้