Friday, May 28, 2010

ตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ค Mayor of New York City

ตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ค Mayor of New York City

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
Pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: cw105, USA, สหรัฐอเมริกา

นายกเทศมนตรีมหานครนิยอร์ค
Mayor of The City of New York


ผู้ดำรงตำแหน่ง
Incumbent
Michael Bloomberg

since January 1, 2002

ที่พำนัก
Residence

Gracie Mansion

ผู้แต่งตั้ง
Appointer

6

วาระการดำรงตำแหน่งวาระละ
Term length

4 years

ผู้ทำพิธีเข้ารับตำแหน่ง
Inaugural holder

Thomas Willett

รูปแบบการบริหารเริ่มแต่
Formation

17th century

Website

Office of the Mayor


ภาพ การเข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีมหานครนิวยอร์คของ Mayor Michael Bloomberg ที่หน้าศาลากลางเมืองนิวยอร์ค ค.ศ. 2006.

ตำแหน่งนายกเทศมนตรีของมหานครนิวยอร์ค (Mayor of the City of New York) เป็นผู้มีหน้าที่สูงสุดของฝ่ายบริหารของเมืองหรือมหานครนิวยอร์ค (New York City's government) ตำแหน่งนายกเทศมนตรีของเมือง (Mayor) มีหน้าที่รับผิดชอบบริการของเมืองที่มีตั้งแต่สมบัติสาธารณะของเมือง (public property) การตำรวจ การป้องกันอัคคีภัย (police and fire protection) และหน่วยงานของเมืองทั้งหมด ดูแลรับผิดชอบด้านกฎหมายทั้งหมดของเมืองตามกรอบของรัฐนิวยอรค์ ภายในเมืองนิวยอร์ค

งบประมาณของเมืองนิวยอร์คภายใต้การดูแลของสำนักนายกเทศมนตรีนับว่าใหญ่ที่สุดในบรรดาเมืองทั้งหลายของสหรัฐอเมริกา คือประมาณ USD 50,000 ล้าน มีพนักงานและลูกจ้างของเมืองประมาณ 250,000 คน มีงบประมาณการศึกษาจำนวน USD 15,000 ล้าน สำหรับนักเรียนนักศึกษาทั้งสิ้นจำนวน 1.1 ล้านคน มีการเก็บภาษีทั้งหมด USD 14,000 ล้าน ที่เป็นเงินมาจากรัฐและรัฐบาลกลาง (State and Federal Governments)

นายกเทศมนตรีมีสำนักงานที่ตั้งอยู่ที่ว่าการของเมืองที่เรียกว่า New York City Hall ที่มีเขตการปกครองใหญ่แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ Manhattan, Brooklyn, The Bronx, Queens, และ Staten Island หน้าที่ของนายกเทศมนตรีสามารถแต่งตั้งบุคลากรจำนวนมาก รวมถึงหัวหน้าหน่วยงานในระดับเปรียบเหมือนกรมของเมือง ตำแหน่งผู้ช่วยนายกเทศมนตรี ในปัจจุบัน บุคคลสามารถดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีของเมืองนิวยอร์คได้ไม่เกิน 3 สมัย ก่อนหน้านี้จำกัดที่ 2 สมัย แต่ได้มีการแก้นิติบัญญัติของเมือง โดยได้รับความเห็นชอบของสมาชิกสภาเมืองนิวยอร์ค (New York City Council) ในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2008 ด้วยคะแนนเสียง 29-22 ให้ผ่านเป็นกฏหมายจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของนายกเทศมนตรีเป็น 3 สมัยๆละ 4 ปี

ผู้ดำรงตำแหน่งในปัจจุบัน
Current mayor

เรื่องที่น่าสนใจศึกษาบุคคลที่เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีคนปัจจุบัน คือ Michael Bloomberg เขาเริ่มตำแหน่งการเมืองในนามพรรครีพับลิกัน (Republican) ในปี ค.ศ. 2001 ได้รับการเลือกอีกครั้งในปี ค.ศ. 2005 ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 59 เป็นที่รับรู้ว่าเขาให้ความสำคัญต่อการศึกษา โดยเข้ามามีบทบาทแทนรัฐ

มีการจัดเขตเศรษฐกิจใหม่ มีการจัดการด้านการเงินของเมืองที่เข้มแข็ง มีนโยบายด้านสาธารณสุขที่มุ่งมั่น ในสมัยที่สองที่เขาดำรงตำแหน่ง เขาได้ปฏิรูปการศึกษา การควบคุมการมีการพกพาอาวุธปืน ในวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2007 เขาได้ลาออกจากพรรครีพับลิกัน และกลายเป็นผู้สมัครพรรคอิสระ (Independent)

ในฐานะที่เขาเป็นนักธุรกิจใหญ่ เจ้าของบริษัท Bloomberg จึงได้รับการจับตาเป็นพิเศษว่าเขาได้ใช้วิธีการแบบธุรกิจหรือแสวงหาผลประโยชน์ที่ทับซ้อนของบริษัทกับรัฐหรือไม่ ซึ่งไม่พบว่าเป็นเช่นนั้น เพราะเขาไม่เคยเป็นคู่สัญญากับรัฐบาลกลาง หรือมีการทำสัญญาของบริษัทของเขากับเมืองนิวยอร์คแต่อย่างใด

Bloomberg ประสบความสำเร็จทางธุรกิจอย่างสูง โดยในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2009 นิตยสาร Forbes ได้รายงานว่า Bloomberg มีทรัพย์สินอยู่ประมาณ USD 16,000 ล้าน มีเพิ่มขึ้นจากปีก่อนซึ่งมีอยู่ USD 4,500 ล้าน ทำให้เขามีฐานะเป็นมหาเศรษฐีอันดับต้นๆของอเมริกาในยุคที่ต้องประสบวิกฤติเศรษฐกิจ และเป็นผู้มีรายได้เพิ่มขึ้นมากที่สุดของโลกในปี ค.ศ. 2009 Bloomberg ขยับฐานะจากเศรษฐีอันดับที่ 142 ของโลกเป็นอันดับที่ 17 ในช่วงเวลาเพียงสองปี

ผู้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์
Philanthropy

เพราะความมีฐานะและประสบความสำเร็จทางธุรกิจ เขาจึงได้บริจาคเงินเพื่อสาธารณประโยชน์ดังเช่น บริจาค USD 300 ล้าน ให้กับมหาวิทยาลัย Johns Hopkins University ที่เขาทำหน้าที่เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยในช่วงปี ค.ศ. 1996 - 2002

มูลนิธิ Bloomberg Family Foundation ได้มีการบันทึกบริจาคเงิน USD 138 ล้านในปี ค.ศ. 2004, USD 144 ล้านในปี ค.ศ. 2005, USD 165 ล้านในปี ค.ศ. 2006, และ USD 205 ล้านในปี ค.ศ. 2007 ในปี ค.ศ. 2006 ผู้รับบริจาคจากเขาประกอบไปด้วย Campaign for Tobacco-Free Kids; Centers for Disease Control and Prevention; Johns Hopkins Bloomberg School for Public Health; World Lung Foundation และ World Health Organization ในปี ค.ศ. 2008 ในเว๊บไซต์ของเขาได้ประกาศว่าเขาจะบริจาคเงิน USD 500 ล้านร่วมไปกับ Bill Gates เพื่อช่วยรัฐบาลประเทศกำลังพัฒนาเพื่อการควบคุมการปลูกยาสูบ

ตามการบันทึกของนิตยสาร The New York Times เขาเป็นผู้บริจาคโดยไม่ประสงค์ออกนามให้กับมูลนิธิ Carnegie Corporation ในแต่ละปี เป็นเวลา 7 ปีติดต่อกัน ด้วยเงินตั้งแต่ USD 5 – 20 ล้าน และ Carnegie Corporation ได้กระจายเงินบริจาคนี้ไปยังองค์การต่างๆของเมืองนิวยอร์คอีกนับเป็นร้อยๆแห่ง


Bloomberg เป็นผู้มีเชื้อสายยิว ในปี ค.ศ. 1996 เขาได้ก่อตั้งตำแหน่งศาสตราจารย์กิติคุณ William Henry Bloomberg Professorship ด้วยเงินบริจาค USD 3 ล้าน เพื่อเป็นเกียรติแก่บิดา ซึ่งเสียชีวิตไปในปี ค.ศ. 1963 เขาเป็นผู้ออกทุนเป็นเงินกองทุนให้กับวัดนิกายยิวในเมืองที่เขาเกิด ที่วัด Temple Shalom และได้เปลี่ยนชื่อศาสนสถานั้นเป็น William and Charlotte Bloomberg Jewish Community Center of Medford

Thursday, May 27, 2010

จุดเริ่มต้นของประเทศไทย หลังเหตุการณ์จลาจลเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553

จุดเริ่มต้นของประเทศไทย หลังเหตุการณ์จลาจลเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553

ถึงเพื่อนๆ พี่น้อง และศิษย์ในประเทศไทย

ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา มีคนไทยเป็นอันมากที่มีความทุกข์ใจ กังวลในปัญหาของบ้านเมือง ผมได้เข้าไปสื่อสารในเครือข่ายสังคม (Social Network) อย่าง Twitter จะรู้ถึงความทุกข์ในใจของคนเป็นอย่างดี มาบัดนี้ เหตุการณ์ได้คลี่คลายไปแล้วในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ใช่ว่าจะวางใจได้

ผมเป็นราษฎรอาวุโสแล้ว ได้ผ่านเหตุการณ์บ้านเมือง ผ่านการรัฐประหาร การต่อสู้ล้มตายมาหลายครั้งในประเทศไทยเรา แต่แล้วเราก็ผ่านพ้นมันมา แล้วก็ก้าวเดินต่อไป ในครั้งนี้ก็เช่นกัน มันเป็นความวิบัติอย่างแท้จริง แต่เราคงไม่จมอยู่กับสิ่งที่ได้เสียไป แต่เราต้องมองในสิ่งที่ยังมีอยู่ และจะพัฒนากันต่อไป

เราคงไม่ปล่อยให้ชีวิตจม ซึมเศร้ากับความขัดแย้งของคนไทยด้วยกันเอง แต่ต้องเรียนรู้ และหาทางทำให้บ้านเมืองมีสภาพความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

เราให้อภัยคนที่เขาใส่เสื้อสีต่างได้ การเข้าร่วมการชุมนุมทางการเมืองเป็นสิทธิของประชาชน แต่ก็ต้องดำเนินการกับคนที่ทำร้ายบ้านเมือง ผู้ก่อการร้าย นักลอบสังหาร นักฉวยโอกาสเผาบ้านเผาเมือง ไม่ว่าจะเป็นผาอาคารพาณิชย์ของเอกชน หรือสถานที่ราชการ แต่ขณะเดียวกัน เราต้องตรวจสอบหัวใจของเรา และความเป็นธรรมอันพึงมี หากเราต้องการให้ประเทศอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติสุข งบประมาณ การพัฒนาประเทศควรจะมีการแบ่งสันที่เป็นธรรมต่อทุกเหล่าฝ่าย โดยเฉพาะการยกระดับพัฒนาคนยากจน ไม่ว่าเขาจะอยู่ในจังหวัดใด เป็นฐานเสียงของใคร ใส่เสื้อสีใด หากเขาเป็นคนไทย ต้องได้รับการใส่ใจจากรัฐบาลและชุมชนของเขาอย่างเท่าเทียมกัน

ในวันนี้ผมอาจอยู่ไกล ไม่ได้เห็นความทุกข์เศร้าของพี่น้อง ไม่ได้ผ่านความตระหนกในเสียงปืน เสียงระเบิด ไม่ได้กลิ่นไฟไหม้ เผาเมืองอย่างหลายๆคนที่ประสบ แต่ผมพอจะเข้าใจว่า มันพอแล้วกับการทำร้ายบ้านเมืองตัวเอง เราต้องพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า อะไรที่ผ่านมา ก็ต้องหาความเป็นจริง (Truth) มีการศึกษาจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ แล้วเร่งสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้น (Reconciliation) ทัศนะแบบ "ไม่เป็นไร ลืมเสียเถิด" นั้นไม่เป็นประโยชน์ เราพลาดมาหลายๆครั้ง เพราะเราไม่ได้มีการเรียนรู้จากบทเรียนประวัติศาสตร์อย่างตรงไปตรงมา แล้วมันก็เกิดปัญหาขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก

มองจากภายนอกเข้ามายังบ้านเมืองเรา มีอะไรหลายอย่างที่เราก็ต้องปรับตัว เปลี่ยนแปลง บางอย่างต้องมีการปฏิรูปใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา ระบบการปกครอง การรักษาความมั่นคงปลอดภัย แต่ทั้งหมดจะต้องค่อยๆใช้เวลา และเริ่มทำจากสิ่งที่เป็นอันตรายก่อน ส่วนหนึ่งแน่นอนว่า กิจการตำรวจไทยเป็นจุดอ่อน แต่ก็ต้องมองเขาอย่างเข้าใจ และหาทางพัฒนาอย่างเข้าใจ ไม่ใช่เพียงด่าทอเขา แต่ก็ต้องวางยุทธศาสตร์ที่จะยกระดับทำให้ตำรวจไทยได้ทำหน้าที่รักษาความสงบของบ้านเมืองได้อย่างจริงจัง มีขวัญมีกำล้งใจ ลูกเมียเขาได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ตำรวจกรุงเทพฯ นับเป็นปัญหาหนักที่ต้องมีการดำเนินการปรับปรุงก่อนที่อื่นๆ

แต่การปฏิรูปประเทศไทย (Thailand Reform) ต้องเริ่มจากความเข้าใจ การยึดหลักความเป็นธรรม การมียุทธศาสตร์ และทำตามลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย จากวิกฤติกว่า ไปสู่สิ่งที่ยังพออดทนได้ และทั้งหมดตจะต้องทำอย่างมีความหวัง (Hope) และความมุ่งมั่น (Determination)

ในวันนี้ผมอยู่ไกลบ้านมาครึ่งโลก แต่ท้ายสุดผมก็จะกลับไปเมืองไทย แผ่นดินพ่อแม่ ญาติพี่น้อง และเพื่อนๆของเรา เมืองไทยเรายังมีสิ่งที่ดีงามที่เราทุกคนภูมิใจได้ เรามีข้าวปลาอาหารสมบูรณ์ มีสภาพแวดล้อมที่สบายๆ ไม่หนาว แม้มีร้อนบ้าง ก็พอทน ผมมาอยู่ต่างแดนบ้าง ทำให้เข้าใจว่าทำไมฝรั่งเขาถึงชื่นชมที่อยากมาเมืองไทย เพราะสิ่งหนึ่งที่เรามีอย่างเป็นธรรมชาติ คือ ความโอบอ้อมอารีย์ มีความเป็นมิตร ประนีประนอม อ่อนน้อม ผมอยากจะเรียกรวมๆว่า เรามีความเป็นมนุษย์ (Humanism)

กว่าตึกที่เผาไหม้ไปจะได้มีการบูรณะขึ้นใหม่ก็คงต้องใช้เวลานับเป็นปี แต่การบูรณะใจของเราเริ่มได้ตั้งแต่วันนี้ ทุกวันขอให้ท่านตื่นเช้าขึ้นมาด้วยความสดใส และคิดได้ว่า วันนี้ย่อมดีกว่าวันวาน และอนาคตของลูกหลานเรา ย่อมจะดีกว่าเราในวันนี้ ที่มันจะผ่านไป

ขอส่งความปรารถนาดีมายังพี่น้อง เพื่อนๆ และศิษย์ในประเทศไทยทุกท่าน

ประกอบ คุปรัตน์ (Pracob Cooparat)
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย

SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255, Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Website: www.sb4af.org
Blog: http://pracob.blogspot.com
Skype: pracobc

Wednesday, May 19, 2010

จักรพรรดิเนโร (Nero)

จักรพรรดิเนโร (Nero)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
Pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: การเมือง การปกครอง

จักรพรรดิแห่งอาณาจักโรมัน
Emperor of the Roman Empire

ภาพ แกะสลักหินของเนโร
Bust of Nero at Musei Capitolini, Rome

การครองอำนาจ
Reign

13 October, AD 54 – 9 June, AD 68
(Proconsul from 51)

นามเต็ม
Full name

Lucius Domitius Ahenobarbus
(from birth to AD 50);
Nero Claudius Caesar Drusus Germanicus (from 50 to accession);
Nero Claudius Caesar Augustus Germanicus (as emperor)

เกิดเมื่อ
Born

15 December 37(37-12-15)

สถานที่เกิด
Birthplace

Antium

เสียชีวิต
Died

9 June 68 (aged 30)

สถานที่เสียชีวิต
Place of death

Just outside Rome

สถานที่ฝัง
Buried

Mausoleum of the Domitii Ahenobarbi, Pincian Hill, Rome

ผู้ครองอำนาจก่อน
Predecessor

Claudius

ผู้ครองอำนาจต่อมา
Successor

Galba

ภรรยา
Wives

Claudia Octavia
Poppaea Sabina
Statilia Messalina

ผู้สืบอำนาจ
Offspring

Claudia Augusta

ราชวงศ์
Dynasty

Julio-Claudian

บิดา
Father

Gnaeus Domitius Ahenobarbus

มารดา
Mother

Agrippina the Younger

จักรพรรดิเนโร มีชื่อเต็มว่า Nero Claudius Caesar Augustus Germanicus เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม AD 37 และเสียชีวิตเมื่อ 9 มิถุนายน AD 68 เมื่อเกิดมีชื่อว่า Lucius Domitius Ahenobarbus, และมีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า Nero หรือชื่อว่า Claudius Caesar Drusus Germanicus เป็นจักรพรรดิองคฺที่ 5 และเป็นองค์สุดท้ายของโรมันในราชวงศ์ Julio-Claudian dynasty เนโรได้ถูกรับเป็นบุตรบุญธรรมโดยลุงของเขา คือ Claudius ที่จะให้เป็นทายาทในราชบัลลังค์ เขาได้สืบทอดอำนาจในชื่อว่า Nero Claudius Caesar Augustus Germanicus ในวันที่ 13 ตุลาคม ปี 54 เมื่อ Claudius ได้สวรรคต

เนโรครองอำนาจในช่วงปี 54 – 68 เขาเน้นการบริหารไปที่การทูต การค้า และการเพิ่มค่าด้านวัฒนธรรมของจักรวรรดิโรม เขาส่งเสริมให้สร้างโรงมหรสพ ส่งเสริมการกีฬา ในช่วงที่เขาครองอำนาจ เขาประสบความสำเร็จในสงคราม การเจรจาสันติภาพ Parthian Empire (58–63), การปราบกบถอังกฤษ British revolt (60–61) การปรับปรุงสัมพันธภาพกับกรีซ การเริ่มสงครามครั้งแรกกับชาวยิว First Roman-Jewish War (66–70) ในช่วงเขาครองอำนาจ ในปี 68 เขาถูกทำรัฐประหาร โค่นลงจากอำนาจ ถูกลอบสังหาร และในที่สุด เขาฆ่าตัวตายในวันที่ 9 มิถุนายน ปี 68

การปกครองในยุคของเนโรมักจะเกี่ยวข้องกับความเป็นทรราช การสังหารคน ซึ่งหนึ่งในนั้นรวมถึงมารดาของเขาเอง พี่น้องต่างบุญธรรม (Step brother) เขาได้ชื่อว่าเป็นจักรพรรดิผู้ขับกล่อมดนตรีท่ามกลางการไหม้ของกรุงโรม "fiddled while Rome burned" และเป็นผู้สังหารผู้นับถือในจีซัส ไครส์ หรือพวกคริสเตียน คำบอกเล่าเกี่ยวกับชีวิตและพฤติกรรมของเขามาจากแหล่ง 2 แหล่ง คือ Tacitus, Suetonius และ Cassius Dio ในยุคนั้น มีการวาดภาพของเนโรในฐานะเป็นจักรพรรดิที่คนชืนชอบ โดยเฉพาะกับคนสามัญในโรม โดยเฉพาะพวกฝั่งตะวันออก การศึกษาเกี่ยวกับประวัติของเนโรไม่ค่อยต่อเนื่อง ไม่น่าเชื่อถือในทัศนะนักประวัติศาสตร์ยุคใหม่ เมื่อกล่าวถึงเขาในฐานะผู้ปกครองทรราชย์

Sunday, May 16, 2010

นักลอบยิงระยะไกล (Sniper)

นักลอบยิงระยะไกล (Sniper)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
Pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: cw133, การทหาร


นักลอบยิงระยะไกล (Sniper)

ภาพ การฝึกของทหารทำหน้าที่นักแม่นปืนระยะไกล กองทัพบกสหรัฐ ณ ที่ฝึกในรัฐอาแกคซอว์ เพื่อเตรียมรบในอิรัค ปี ค.ศ. 2005

(Arkansas Army National Guard soldiers practice sniper marksmanship at their firing range near Baghdad, Iraq, in 2005.


ภาพ หน่วยแม่นปืนระยะไกล กับการฝึกอาวุธในปี ค.ศ. 2004
A Special Reaction Team with an M24 Sniper Weapon System in 2004.

นักลอบยิงระยะไกล (Sniper) เป็นผู้ได้รับการฝึกให้มีความแม่นยำในการยิงจากระยะไกลเกินกว่าความแม่นยำในการยิงจากอาวูธปกติ นักแม่นปืนในหน้าที่ดังกล่าวจะมีอาวุธที่มีขีดความสามารถแม่นยำเป็นพิเศษ (high-precision rifles) ความแม่นยำในการยิงนี้ เริ่มตั้งแต่ 300-500 เมตร ไปจนถึงความแม่นยำในระดับ 2 กิโลเมตร ซึ่งอาวุธที่ใช้ยิงต้องมีการออกแบบมาพิเศษ อาวุธที่ใช้ มีลักษณะพิเศษ ตัวแต่ตัวปืนที่ยิงทีละนัด กระสุนที่มีพลังพิเศษ ลดความเบี่ยงเบนที่กระสุนต้องพุ่งแหวกอากาศ ต้องมีกล้องที่ส่องระยะไกล และในระยะหลัง รวมไปถึงขีดความสามารถของกล้องที่เป็นอิเลคโทรนิกส์ ที่เพิ่มความแม่นยำ การมองเห็นในระยไกล หรือการมองในที่มืดได้เป็นพิเศษ

ในทางการทหาร พลแม่นปืนจะมีความสามารถในการยิงพิเศษ (marksmanship) ต้องฝึกพรางตัว (camouflage), ประสบการณ์ภาคสนาม (field craft), การแทรกตัวเข้าไปในฝ่ายตรงกันข้าม (infiltration), การสอดแนม (reconnaissance) และการสังเกต (observation)

การลอบยิงในแบบการฝึกของอังกฤษและสหรัฐนั้น มีแบบทำงานด้วยคนสองคน (two-man sniper teams) คนหนึ่งทำหน้าที่ยิง (shooter) ส่วนอีกคนหนึ่งทำหน้าที่ชี้เป้า เรียกว่า (spotter) เพราะคนยิงที่ต้องจ้องผ่านกล้องสองระยะไกลเป็นเวลานานๆ จะล้าสายตา จึงมีการสลับหน้าที่กันสำหรับสองคน และทีมจะทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยให้แก่กัน แต่สำหรับเทคนิคแบบเยอรมัน คือทำงานคนเดียว แต่อาศัยความสามารถในการพรางตัว และการฝึกทักษะในการทำงานที่เป็นเฉพาะตัวคนเดียว

ภาพ การใช้ Sniper ในการรบในอิรัค

การใช้ในกิจการตำรวจ

พลแม่นปืนระยะไกล หรือ Sniper มีใช้กันในหน่วยงานตำรวจของเมืองขนาดใหญ่ SWAT (Special Weapons and Tactics) เป็นหน่วยฝึกเฉพาะพิเศษ ปฏิบัติงานในส่วนอ้นตรายพิเศษ นอกเหนือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจทั่วไป หน้าที่รวมถึงการต่อต้านการก่อการร้าย การล่าสังหารอาชญากรที่มีอาวุธร้ายแรงพร้อมทำงาน

Thursday, May 13, 2010

ประวัติโจว เอ็นไล (Zhou Enlai)

ประวัติโจว เอ็นไล (Zhou Enlai)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
Pracob@sb4af.org

ศึกษาและ เรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia ทั้งในส่วน ที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

Keywords: cw103, ประเทศจีน, ความเป็นผู้นำ, การเมืองการปกครอง





ภาพ โจว เอ็นไหล ถ่ายเมื่อปี ค.ศ. 1946




นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
1st Premier of the People's Republic of China

อยู่ในตำแหน่งช่วง
1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 – 8 มกราคม ค.ศ. 1976
In office
1 October 1949 – 8 January 1976

ประธานาธิบดี
President

Mao Zedong
Liu Shaoqi

รองนายกรัฐมนตรี
Deputy

Dong Biwu
Chen Yun
Lin Biao
Deng Xiaoping

ผู้รับตำแหน่งคนต่อมา
Succeeded by

Hua Guofeng


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรก
1st Foreign Minister of the PRC

ดำรงตำแหน่งในช่วง
In office
1949–1958

บุคคลในตำแหน่งก่อนหน้า
Preceded by

None

บุคคลรับตำแหน่งต่อ
Succeeded by

Chen Yi


รองประธานพรรคคนที่สอง
2nd Chairman of the CPPCC

รับตำแหน่งเมื่อ
In office
December 1954 – 8 January 1976

บุคคลก่อนหน้า
Preceded by

Mao Zedong

บุคคลรับตำแหน่งต่อ
Succeeded by

vacant (1976–1978)
Deng Xiaoping


เกิดเมื่อ
Born

5 March 1898(1898-03-05)
Huai'an, Jiangsu, Qing Dynasty

เสียชีวิตเมื่อ
Died

8 January 1976 (aged 77)
Beijing, People's Republic of China

สัญชาติ
Nationality

Chinese

พรรคการเมือง
Political party

Communist Party of China

คู่ครอง
Spouse(s)

Deng Yingchao

ศาสนา
Religion

Atheist

การรับราชการทหาร
Military service

สงครามที่เข้ร่วม
Battles/wars

Eastern Expeditions
Nanchang Uprising
Encirclement Campaigns
Second Sino-Japanese War
Chinese Civil War


This article contains Chinese text. Without proper rendering support, you may see question marks, boxes, or other symbols instead of Chinese characters.









































ภาพ โจว เอ็นไหล เมื่อยัีงหนุ่ม

โจว เอินไหล (Zhou Enlai) เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1898 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1976 เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน (first Premier of the People's Republic of China) ทำหน้าที่ในช่วงพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ขึ้นครองอำนาจในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1949 จนกระทั่งเสียชีวิตในเดือนมกราคม ค.ศ. 1976 โจวเป็นเครื่องมืออันสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์ที่ขึ้นสู่อำนาจ และมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน และการพัฒนาโครงสร้าง (Restructuring) ของสังคมจีนใหม่

โจวเป็นนักการทูตที่มีความสามารถ เขาทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (foreign minister) ในช่วงปี ค.ศ. 1949 จนถึงปี ค.ศ. 1958 โดยมีจุดยืนในเรื่องการคงอยู่ร่วมกันกับตะวันตก เขาได้เข้าร่วมการประชุมที่เจนีวาในปี ค.ศ. 1958 และช่วยให้มีการเดินทางของริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) ประธานาธิบดีสหรัฐ ที่เดินทางมาเยือนประเทศจีนในปี ค.ศ. 1972 และเนื่องด้วยความสามารถของเขา เขาได้รอดพ้นเหตุการณ์ที่ฝ่ายซ้ายหัวรุนแรงได้รุกรานเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (Chinese Communist Party) ในช่วง ปฏิวัติวัฒนธรรม (Cultural Revolution) เขาพยายามลดความเสียหายจากการกร้าวร้าวของพวก ยามแดง (Red Guards) เขาได้ช่วยปกป้องพวกเจ้าหน้าที่พรรคในสายปฏิรูปเท่าที่เขาจะทำได้ ซึ่งทำให้เขาได้รับความชื่นชมอย่างกว้างขวางในระยะต่อมา

ภาพ ถ่ายร่วมกับภรรยา และ Edgar Snow นักเขียนประวัติศาสตร์เกี่ยวกับประเทศจีนในยุคของเหมา เจอตุง

เมื่อสุขภาพของเหมา เจอตุง (Mao Zedong) ได้เสื่อมลงในช่วงปี ค.ศ. 1971 และ 1972 เป็นช่วงที่สายปฏิรูปของโจวต้องต่อสู้กับฝ่าย แก็งสี่คน (Gang of Four) เพื่อการนำภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในช่วงเดียวกันนี้ สุขภาพของโจวได้เสื่อมลง และใน 8 เดือนต่อมา เขาได้เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ ในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1976 ประชาชนจำนวนมากได้หลั่งไหลแสดงความคารวะศพ และในช่วงนั้นได้แสดงความไม่พอใจในแก๊งสี่คน นำให้เกิดเหตุการณ์ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน (Tiananmen Incident) ในช่วงดังกล่าว เติ้ง เสี่ยวผิง (Deng Xiaoping) ซึ่งเป็นพันธมิตรในสายปฏิรูปของโจวได้ขึ้นรับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อมา และสามารถมีอำนาจเหนือพวกแก๊งสี่คน และในยุคต่อมาเติ้ง เสี่ยวผิงได้เป็นผู้นำสูงสุด (Paramount Leader) ต่อจากประธานเหมา

ประวัติเหมา เจอตุง (Mao Zedong)

ประวัติเหมา เจอตุง (Mao Zedong)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
Pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia ทั้งในส่วนที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

Keywords: ประเทศจีน, China, การเมือง, เศรษฐกิจ, ผู้นำ


เหมา เจอตุง
Mao Zedong
泽东


ประธานกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีน

1st Chairman of the Communist Party of China

ดำรงตำแหน่งในช่วง
In office
1943–1976

มีผู้ช่วยหรือรอง
Deputy

Liu Shaoqi
Lin Biao
Zhou Enlai
Hua Guofeng

ผู้ดำรงตำแหน่งมาก่อน
Preceded by

Zhang Wentian
(As General Secretary)

ผู้รับตำหแหน่งสืบทอด
Succeeded by

Hua Guofeng


ประธานของสาธารณรัฐประชาชนจีนคนที่หนึ่ง
1st Chairman of the People's Republic of China

In office
September 27, 1954 – April 1959

นายกรัฐมนตรี
Premier

Zhou Enlai

รองประธาน
Deputy

Zhu De

ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้า
Preceded by

Position Created

ผู้รับตำแหน่งสืบทอด
Succeeded by

Liu Shaoqi


ประธานคณะกรรมการทหารคนแรก
1st Chairman of the CPC Central Military Commission

In office
1954–1976

Preceded by

Position Created

Succeeded by

Hua Guofeng


ประธานคนแรกของ
1st Chairman of the CPPCC

In office
October 1, 1949 – December 25, 1954

Preceded by

Position Created

Succeeded by

Zhou Enlai

In office
December 25, 1954 – September 9, 1976 (honorary)


เกิดเมื่อ
Born

26 December 1893(1893-12-26)
Shaoshan, Xiangtan, Hunan, Qing Dynasty

เสียขีวิตเมื่อ
Died

9 September 1976 (aged 82)
Beijing, People's Republic of China

สัญชาติ
Nationality

Chinese

พรรคการเมือง
Political party

Communist Party of China

คู่ครอง
Spouse(s)

Luo Yixiu (1907–1910)
Yang Kaihui (1920–1930)
He Zizhen (1930–1937)
Jiang Qing (1939–1976)

ศาสนา
Religion

Atheist

ลายเซ็น
Signature

ความนำ

เหมา เจอตุง มีทั้งคนที่ยกย่องเชิดชู ทั้งในประเทศจีน และในส่วนอื่นๆของโลก แม้แนวคิดของเขาในปัจจุบัน จะไม่เป็นที่ยอมรับและใช้กันมากนักในโลกปัจจุบัน ลัทธิคอมมิวนิสต์โดยรวมทั้งตามแนวทางของ Marx และ Lenin ก็ถดถอยลง หมดบทบาทในประเทศยุโรปตะวันออก แต่โดยรวมในประเทศจีน แม้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมมีการปรับเปลี่ยนไปมากแล้ว แต่กระนั้น พรรคคอมมิวนิสต์ในสายที่เขาจัดตั้งก็ยังมีบทบาทเป็นพรรคการเมืองหลัก และเป็นพรรคเดียวที่รวมศูนย์ในประเทศจีน

ในการนี้ผู้แปลได้เลือกที่จะใช้การแปลโดยใช้ฐานจาก Wikipedia ในภาษาอังกฤษ เพื่อคงศัพท์ที่เกี่ยวข้องที่จะมีการศึกษาต่อได้ และขณะเดียวกัน สำหรับผู้ที่ต้องการได้ข้อมูลเพื่อเรียนรู้ ก็สามารถกระทำได้ในแบบสองภาษา (Bilingual)

เหมา เจอตุง (Mao Zedong) ซึ่งอาจมีคนเขียนที่เป็นภาษาไทยบางส่วนว่า เหมา เซตุง เกิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1893 และเสียชีวิตเมื่อวันที่9 กันยาน ค.ศ. 1976 เป็นผู้นำการปฏิวัติ revolutionary, นักทฤษฎีการเมือง (Political theorist) และผู้นำคอมมิวนิสต์ (communist leader) เขานำพรรคคอมมิวนิสต์จีน (The People's Republic of China - PRC) เริ่มตั้งแต่ก่อตั้งปี ค.ศ. 1949 จนกระทั่งเสียชีวิตเมือปี ค.ศ. 1976 ทฤษฎีของเขายังประโยชน์ต่อแนวทางการต่อสู้ด้วยการทหารตามแนวทางทฤษฏีการเมืองของ Marxism-Leninism โดยใช้ฐานจากชาวนาและเกษตรกร แทนที่จะเป็นการลุกขึ้นต่อสู้จากกรรมกรและคนยากจนในเมืองแบบในรัสเซียและในยุโรปตะวันออก แนวทางของเขาจึงมีคนเรียกว่า Maoism หรือผู้เดินตามแนวทางของเหมา

แนวทางของเหมานับเป็นความขัดแย้งแม้จนในปัจจุบัน ที่ทั้งต้องโต้เถียงกัน (Contentious) ว่าเป็นผลเสีย และส่วนที่ดีที่ต้องระลึกถึง (Evolving legacy) ในประเทศจีนอย่างเป็นทางการจึงยกย่องเขาในฐานะนักการปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ (great revolutionary) นักยุทธศาสตร์การเมือง (political strategist), นักคิดด้านการทหาร (military mastermind), และผู้กอบกู้ชาติ (savior of the nation)

ชาวจีนเป็นอันมากเชื่อว่าด้วยนโยบายทางเศรษฐกิจที่เขาวางไว้ การได้วางพื้นฐานทางเทคโนโลยีและวัฒนธรรมสำหรับจีนยุคใหม่ ได้ทำให้ประเทศก้าวเปลี่ยนจากความเป็นสังคมเกษตร (agrarian society) สู่ความเป็นมหาอำนาจใหม่ในโลกใหม่ดังในปัจจุบัน

นอกจากนี้เหมายังได้รับการยกย่องว่าเป็นนักประพันธ์ (poet) นักปรัชญา (philosopher) และผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล (visionary) แต่ในอีกด้านหนึ่งเขากระทำโดยการสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่ยกย่องบุคคล (cult of personality) ที่ได้เกิดขึ้นในช่วงเขามีอำนาจ อันเป็นผลให้แม้ในปัจจุบันยังมีภาพของเขาตระหง่านอยู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน (Tiananmen) และบนธนบัตรค่าเงินของจีน (Renminbi bills) ทั้งหมด

ในด้านที่เป็นข้อวิพากษ์ โปรแกรมด้านสังคมและการเมืองตามความคิดของเขาดัง เช่น การก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ (Great Leap Forward) อันเป็นแนวทางการพัฒนาด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมใหม่ และการปฏิวัติวัฒนธรรม (Cultural Revolution) ที่หวังจะปฏิวัติเปลี่ยนแปลงจีนด้านวัฒนธรรมและการเมืองอย่างต่อเนื่อง อันเป็นความขัดแย้งรุนแรงในประเทศ และก่อให้เกิดการเสียชีวิตของคนจำนวนมาก ทำให้เกิดความอดอยากอย่างรุนแรง (famine) มีการทำลายล้างทางวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจของจีน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นที่รับทราบและยอมรับในประเทศจีนและในพรรคคอมมิวนิสต์จีน (Chinese Communist Party) นโยบายของเหมาที่นำไปสู่การทำลายล้างคนที่คิดต่างทางการเมือง (political purges) ที่ได้เกิดขึ้นในช่วงปี ค.. 1949 – 1976 อันเป็นที่เชื่อกันว่าเป็นต้นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตทั้งโดยตรงและโดยอ้อมประมาณ 50-70 ล้านคน เมื่อผู้นำการเมืองสายปฏิรูปอย่าง เติ้ง เสี่ยวผิง (Deng Xiaoping) ได้ขึ้นครองอำนาจในปี ค.ศ. 1978 ได้มีการเลิกนโยบายที่เหมาได้ริเริ่มขึ้น และเปลี่ยนไปสู่การปฏิรูปทางเศรษฐกิจ (economic reforms) เปิดให้มีการใช้แนวทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมบางส่วน มีการเปิดประเทศลดความตึงเครียดทางการเมือง เพิ่มการระดมทุนจากต่างประเทศเพื่อการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมในประเทศให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว

เหมามีทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่บกพร่อง แต่กระนั้นเขาก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลสำคัญที่สุดหนึ่งในร้อยคนของศตวรรษที่ 20 ดังได้มีการจัดอันดับของนิตยสารไทม์ (the 100 most important people of the 20th century) เติ้ง เสี่ยวผิง กล่าวประเมินเหมาอย่างให้เกียรติว่า ท่านประธานเหมามีดี 70 มีเสีย 30”