Monday, July 25, 2016

ทิม เคน (Tim Kaine) ได้รับเลือกชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐ ประกอบ คุปรัตน์

ทิม เคน (Tim Kaine) ได้รับเลือกชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐ

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: politics, การเมือง, governance, การปกครอง, สหรัฐอเมริกา, รองประธานาธิบดี, Vice president, ทิม เคน, Tim Kaine

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia


ภาพ ทิม เคน (Tim Kaine)

ทิม เคน
Tim Kaine
วุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกา จากรัฐเวอร์จิเนีย
United States Senator
from Virginia
กำลังดำรงตำแหน่ง
Incumbent
เข้ารับตำแหน่งเมื่อ
Assumed office
January 3, 2013
Serving with Mark Warner
รับตำแหน่งก่อนหน้านี้โดย
Preceded by
ประธานคณะกรรมการพรรคดีโมแครต
Chair of the Democratic National Committee
อยู่ในตำแหน่ง
In office
January 21, 2009 – April 5, 2011
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้านี้
Preceded by
ผู้ดำรงตำแหน่งต่อมา
Succeeded by
Donna Brazile (Acting)
ผู้ว่าการรัฐเวอร์จิเนียคนที่ 70
70th Governor of Virginia
อยู่ในตำแหน่งในช่วง
In office January 14, 2006 – January 16, 2010
รองผู้ว่าการรัฐ
Lieutenant
รับตำแหน่งก่อนหน้านี้โดย
Preceded by
ผู้รับตำแหน่งต่อมาก
Succeeded by
ผู้ช่วยผู้ว่าการรัฐเวอร์จิเนียคนที่ 38
38th Lieutenant Governor of Virginia
ดำรงตำแหน่งในช่วง
In office January 12, 2002 – January 14, 2006
ผู้ว่าการรัฐ
Governor
ดำรงตำแหน่งก่อนหน้านี้โดย
Preceded by
ผู้ดำรงตำแหน่งต่อมา
Succeeded by
นายกเทศมนตรีคนที่ 76 ของเมืองริชมอนด์
76th Mayor of Richmond
ดำรงตำแหน่งในช่วง
In office
July 1, 1998 – September 10, 2001
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้า
Preceded by
ผู้ดำรงตำแหน่งต่อมา
Succeeded by
ข้อมูลส่วนตัว
Personal details
เกิดเมื่อ
Born
Timothy Michael Kaine
February 26, 1958 (age 58)
St. PaulMinnesota, U.S.
สังกัดพรรคการเมือง
Political party
คู่ครอง
Spouse(s)
Anne Holton (1984–present)
บุตรธิดา
Children
Nat
Woody
Annella
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย
Alma mater
นับถือศาสนา
Religion
ลายเซ็น
Signature
Description: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e7/Tim_Kaine_Signature.svg/128px-Tim_Kaine_Signature.svg.png
Website

ทิม เคน (Tim Kaine) ได้รับเลือกชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐในนามตัวแทนพรรคดีโมแครต ร่วมทีมกับนางฮิลลารี คลินตัน (Hillary Clinton)

ทิม ไมเคิล เคน (Timothy Michael "Tim" Kaine) เกิดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1958 (born February 26, 1958) เป็นนักกฎหมายและนักการเมือง เป็นวุฒิสมาชิกผู้ได้รับการเลือกครั้งแรกเป็นตัวแทนจากรัฐเวอร์จิเนียเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 เขาได้รับเลือกให้เข้าชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีในทีมของนางฮิลลารี คลินตัน

ทิมเกิดที่เมืองเซนต์ปอล รัฐมิเนโซตา เขาจบการศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) อันเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุด และเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา เขาเคยทำงานในภาคเอกชน เป็นอาจารย์ผู้สอนในคณะกฎหมายของมหาวิทยาลัยริชมอนด์ รัฐเวอร์จิเนีย ทิมได้เข้าทำงานภาครัฐเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1994 โดยได้เป็นคณะกรรมการเมืองริชมอนด์

เขาได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีเมืองริชมอนด์ในปี ค.ศ. 1998 ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าการรัฐในช่วงปี ค.ศ. 2006 ถึง 2010 ได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมการพรรคคนที่ 51 ทำหน้าที่ในช่วง ค.ศ. 2009 – 2011 และได้สมัครชิงตำแหน่งวุฒิสมาชิกตัวแทนจากรัฐเวอร์จิเนีย โดยชนะคู่แข่งจากพรรครีพับลิกัน จอร์จ แอลเลน (George Allen) ซึ่งเป็นวุฒิสมาชิกและผู้ว่าการรัฐ ด้วยคะแนนเสียง 53% โดยแอลเลนได้ 47% และได้เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 2013

ทิม เคนเป็นนักการเมืองที่มีลักษณะสมบูรณ์แบบ มีความสามารถในรอบด้าน แม้จะไม่โดดเด่นในด้านใดด้านหนึ่ง เขาเป็นนักการเมืองในสายกลางซ้าย เป็นคนที่ทำงานร่วมกับพรรคฝ่ายตรงข้ามได้ เป็นนักพูดที่ดีปานกลาง แต่พูดภาษาสเปนได้อย่างคล่องแคล่ว เขาจะเป็นตัวแสดงความมั่นใจให้กับคนเชื้อสายเมกซิกันหรือลาติโน ซึ่งมีอยู่ถึง 40 ล้านคนที่พูดภาษาสเปน มีหลายฝ่ายอยากเห็นฮิลลารี คลินตันเลือกคนที่เป็นหัวเสรีนิยมกว่านี้ เป็นคนปากกล้าจะได้ไว้ต่อกรกับฝ่ายของโดนัลด์ ทรัมป์


ทิม เคนจะเป็นนักการเมืองที่เหมาะแก่การทำงานช่วงเมื่อได้รับเลือกตั้งแล้ว เขามีประสบการณ์ภาคเอกชน เคยมีประสบการณ์บริหารทั้งในระดับเมืองและรัฐ โดยเคยเป็นทั้งนายกเทศมนตรีและผู้ว่าการรัฐ ฮิลลารี คลินตันปัจจุบันอายุ 68 แล้ว หากได้เป็นประธานาธิบดีและดำรงตำแหน่ง 2 สมัย ก็คงจะอายุประมาณ 76 ปี ทิม เคนปัจจุบันอายุ 58 ปี หากอีก 8 ปีข้างหน้า เขาก็จะยังมีอายุ 66 ปี ซึ่งยังถือว่าอายุไม่มาก

Sunday, July 24, 2016

อเมริกาเป็นชาติมั่งคั่ง แต่คนกลับไม่มีอายุยืนเท่าที่ควร

อเมริกาเป็นชาติมั่งคั่ง แต่คนกลับไม่มีอายุยืนเท่าที่ควร


ภาพ การแข่งขันอเมริกันฟุตบอลที่ U of Oklahoma, Norman กีฬา ดังอเมริกันฟุตบอล บาสเก็ตบอล เบสบอล เป็นกีฬาสำหรับคนดู  แต่นักศึกษามักไม่ค่อยได้เล่น หรือออกกำลังกาย

Keywords: การมีอายุยืน, Longevity, อายุเฉลี่ยประชากร, life expectancy, college life, obesity, กุลธร อักษรานุเคราะห์, ประสิทธิ์ ยามาลี,

คนสุขภาพดี ไม่ใช่เพราะมีกินมีใช้อย่างเหลือเฟือ จริงๆแล้วในปัจจุบัน แพทย์มักแนะนำให้เรากินอยู่อย่างอดๆอยากๆ ไม่กินตามใจปาก คนจะมีสุขภาพดีคือคนที่ต้องกินเจียมอยู่เจียม กินมาก กินเกินกลับเป็นตัวที่ทำให้อายุสั้น มีปัญหาด้านสุขภาพตามมามากมาย

ลองอ่านเพื่อนร่วมรุ่นของผม เทพศิรินทร์ 04-06 ของผม 2 คน เขาเล่าประสบการณ์ชีวิตนักศึกษาในแบบอเมริกันให้ฟัง ผมไปเยี่ยมลูกที่เรียนที่มหาวิทยาลัยในอเมริกาในระยะหลัง วิถีชีวิตแบบนักศึกษามหาวิทยาลัยก็ยังคงสนุกสนานเหมือนเดิม กินมากกินเกิน ออกกำลังกายน้อย ไม่เหมือนพวกยุโรปทางตอนเหนือ เขามีความระมัดระวังเรื่องสุขภาพองค์รวมมากกว่า

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
Monday, July 25, 2016


คนอเมริกันรุ่น Babyboom ไม่ระวังเรื่องการกิน คิดว่าปัจจุบันก็ยังเหมือนๆเดิม ไม่ค่อยออกกำลังกาย แต่รุ่นหลังๆนี่ การกินอยู่ ออกกำลังมีดีขึ้นในคนบางกลุ่ม และทุกคนจะยังชอบทานเบียร์ เหล้าอาจจะน้อยหน่อย บุหรี่ก็เคยสูบกันจัง แต่ตอนนี้ก็ลดไป(นับเป็นเปอร์เซนต์นะ) นักกีฬาจะตายเร็วกว่าคนทั่วไป เพราะพอเลิกเล่นก็เลิกกันจริงๆ ไม่ออกกำลังเอาเลย เงินทองเหลือเฟือ กินอยู่แบบฟุ้งเฟ้อ สุรา นารี ไม่มีเลิก นี่คือความสุขของคนอเมริกันทั่วไป


สมัยเรียนใกล้ชิดกับครอบครัวอเมริกัน จะไม่ให้อ้วนได้อย่างไร มื้ออาหารเย็นทานมากเกินความต้องการของร่างกาย ถ้าเป็นวันหยุดก็เฝ้าโทรทัศน์ ดูกีฬาพร้อมดื่มเบียร์และกินของว่างประเภท chip ทั้งหลาย ส่วนที่มหาวิทยาลัยที่ผมเรียนอยู่ (มหาวิทยาลัยกลางค่อนข้างเล็กตั้งอยู่ในเมืองการศึกษา college town) เป็นเจ้าภาพกีฬาอาทิตย์เว้นอาทิตย์ (เทอมหนึ่ง Basketball และอีกเทอม American Football) ถ้าเป็นเจ้าภาพหลังจากการแข่งขันเสร็จก็ไปต่อร้านปิซาและกินเบียร์หรือไปฉลองกินอาหารแบบอื่น ถ้าเป็นอาทิตย์ที่ไปแข่งกีฬาต่างเมือง ทางมหาวิทยาลัยจ้างวงดนตรีไปเล่นและเต้นรำที่ Gym ฟรี ส่วนพวก Fraternity ก็จะมี Kegger party กินเหล้าเต้นรำ ผู้ชายเสีย $1 ผู้หญิงฟรี นี่แหละครับที่ทำให้คนอเมริกันอ้วน ตอนนี้ไปTexas มีคนอ้วนมากเพราะ Texas มีคำขวัญว่า "The bigger is the better"


คำแนะนำผู้สูงอายุ เตรียมตัวก่อนเกษียณดีที่สุด

คำแนะนำผู้สูงอายุ เตรียมตัวก่อนเกษียณดีที่สุด


ภาพ กุลธร อักษรานุเคราะห์ (เบิ้ม) เทพศิรินทร์ 2504-2506


ภาพ เทพศิรินทร์ 04-06 ในงานการชุมนุมศิษย์เก่าเทพศิรินทร์ ณ สโมสรวังสวนอัมพร กทม.

โดย กุลธร อักษรานุเคราะห์ (เบิ้ม)
เทพศิรินทร์
2504-2506

กุลธร (เบิ้ม) เป็นคนกว้างขวาง มีเพื่อนในหลายๆสถาบัน ทั้งในและต่างประเทศ โดยพื้นฐานครอบครัว เบิ้มได้ทำงานวิศวกรรม งานบริหารบริษัทกิจการขนาดใหญ่ของครอบครัว ขณะนี้ก็เป็นเหมือนผมและเพื่อนๆศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ เป็นรุ่น Babyboomers อายุ 70 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มที่เกษียณอายุแล้วครับ

ขอขอบคุณที่นำประสบการณ์หลังเกษียณอายุมาเล่าสู่กันฟังครับ –
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat

เตรียมก่อนเกษียณ ดีที่สุด ให้ "มีอะไรทำที่ชอบและพอทำได้" ไม่งั้นหลังเกษียณแล้ว เวลาไม่มีอะไรทำ ยุ่งยากใจมาก ยิ่งเคยเป็นคน active ยิ่งลำบาก

อย่าคิดว่า"ต่อไปจะเล่นกอล์ฟ"ให้สนุกทุกวัน เพราะจะเหลือเพื่อนเล่นด้วยน้อยลงทุกที ที่ตายไปก็มี ที่จ่ายไม่ไหวก็มี งานอดิเรก (Hobby) ต้องไม่เปลืองค่าใช้จ่าย สามารถทำคนเดียวได้ ถ้ามีสัก 2-3 อย่างก็ดี ทำอย่างเดียวซ้ำๆซากๆ ก็เบื่อเหมือนกัน

ถ้าเชื่อเรื่องศาสนา จะหันหน้าเข้าวัดบ้างก็จะดี วัยนี้ต้องเตรียมตัวตาย ถ้าไม่ฝึกไว้ก็ตายไม่เป็น พอจะตายจริงๆไม่รู้จะทำใจยังไง

ที่เขียนมานี้ ผมเองก็ใช่ว่าจะทำได้ มีปัญหาอยู่ ก็เอาปัญหาของตัวมาเล่าสู่กันฟัง

ส่วนเรื่องการเงินก็เป็นเรื่องสำคัญ อันนี้แล้วแต่คนที่จบเกษียณอย่างไร ขอให้คิดว่าเดี๋ยวนี้ “ค่ารักษาพยาบาล" แพงมาก และจะแพงขึ้นเรื่อยๆ พวกข้าราชการก็สบายหน่อย คนจบแบบพ่อค้า หรือลูกจ้างบริษัท ก็ต้องเตรียมตัวไว้ให้ดี ต้องกัดฟันออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพ หาหมอฟัน ถ้าปล่อยทิ้งไว้เป็นดินพอกหางหมู ค่ารักษาพยาบาล จะรับกันไม่ไหว

หวังว่ามีประโยชน์นะครับ


Monday, July 18, 2016

รำลึกถึงนิกร คุปรัตน์ (พี่อ้วน) โดยประกอบ คุปรัตน์

รำลึกถึงนิกร คุปรัตน์ (พี่อ้วน) โดยประกอบ คุปรัตน์

ภาษาไทย นิกร คุปรัตน์, นาย
ภาษาอังกฤษ –
Nicon Cooparat, Mr.


ภาพ รวมญาติหลังการสวดอภิธรรม งานศพนิกร คุปรัตน์ ณ วัดอุท้ยธาราม พระราม 9 กทม. 11-17 กรกฎาคม 2559


ภาพ รวมญาติส่วนหนึ่งของฝ่ายพี่น้องทางบิดาของนิกร คุปรัตน์ นายกฤษณ์ คุปรัตน์ วันฌาปนกิจ นิกร คุปรัตน์ ณ วัดอุท้ยธาราม พระราม 9 กทม. วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม 2559

ความย่อ

เมื่อเด็ก นายนิกร คุปรัตน์ อายุ 75 ปี เกิดวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2483 อาชีพเภสัชกร เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2983 เป็นบุตรคนที่สองของนายกฤษณ์  และนางส้มเทศ คุปรัตน์

มีพี่น้องจากพ่อแม่เดียวกันรวม 5 คน ได้แก่

พี่สาว 1 คน นางกุณฑล (คุปรัตน์) ศิริอักษร เกิดวันที่ พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 อายุ 82 ปี เป็นแม่บ้าน
มีน้องชายอีก 4 คน ตามลำดับ ได้แก่
1.    
นายเกื้อกูล คุปรัตน์ รองศาสตราจารย์ เกิดวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 อาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัย เสียชีวิตแล้ว หากยังมีชีวิตอยู่ก็จะมีอายุ 74 ปี

2.    นายประกอบ คุปรัตน์ รองศาสตราจารย์ ดร.  อาจารย์มหาวิทยาลัย เกิดวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2489 อายุ 70 ปี
3.    
นายบุญเกียรติ คุปรัตน์ นักกฎหมายและข้าราชการ เกิดวันที่ เกิดวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2490 อายุ 69 ปี และ
4.    
นายปัญจะ คุปรัตน์ วิศวกรและข้าราชการ เกิดวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2492 อายุ 67 ปี

มีพี่น้องต่างมารดา 3 คน คือ นายสำอาง คุปรัตน์ นางไพลิน เล็งผลเลิศ และนางสุจินต์ จันทรนิภา ซึ่งทั้งสามท่านเกิดก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง และเสียชีวิตแล้ว

การศึกษา

พี่นิกรเริ่มการศึกษาครั้งแรกที่โรงเรียนวัฒนศิลป์ ระหว่างปี พ.ศ. 2489 จนจบมัธยมศึกษาตอนต้น

ต่อมาย้ายมาเรียนเรียนที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ พร้อมกับน้องชายอีก 3 คน พี่อ้วนจบชั้นมัธยมศึกษาบริบูรณ์ในปี พ.ศ. 2501 และได้เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา จบการศึกษาเภสัชศาสตร์บัณฑิต จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ปี พ.ศ. 2506

ในด้านการศึกษา พี่นิกรเป็นคนเรียนหนังสือดีมาตลอดตั้งแต่เด็กๆ และเป็นการเรียนอย่างสบายๆ ยังทำกิจกรรม และงานอดิเรกที่ชอบได้อีกมากมาย ทำให้น้องๆที่เรียนตามๆกันมาใจชื้น

พี่นิกรไม่ได้เรียนแต่เพียงอย่างเดียว ยังมีกิจวัตรเล่นดนตรีโดยเฉพาะเครื่องที่มีคีบอร์ด แอคอเดียน ออร์แกน เปียโน อิเลคโทน โดยเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองแบบไม่ได้เรียนตามโน้ต แต่เล่นได้ทุกเพลงทั้งไทยและสากลโดยใช้การจำท่วงทำนอง

กีฬาและออกกำลังกาย – พี่นิกรชอบเล่นกล้าม (Body building) เล่นตั้งแต่วัยรุ่นและเล่นมาตลอดชีวิต เพิ่งลดกิจกรรมลงและเลิกเล่นไปเมื่อไม่นานมานี้ กีฬาที่เล่นอย่างจริงจัง คือ เทเบิลเทนนิส หรือปิงปอง

ด้านความสนใจพิเศษ พี่นิกรชอบการวาดภาพและการเขียนแบบ มีความสามารถในการออกแบบ เคยออกแบบบ้านที่อยู่อาศัยจริง แล้วก็อาศัยน้องชายคือปัญจะ คุปรัตน์ วิศวกร เป็นผู้คำนวณแบบ

ลักษณะพิเศษ – ไม่สนใจไปต่างประเทศอย่างตั้งใจ ไม่ว่าไปศึกษาเล่าเรียนหรือไปเที่ยว ไม่มีหนังสือเดินทาง (Passport) การไปเที่ยวต่างจังหวัด ก็จะไปที่ไม่ไกลนัก ไปในงานหน้าที่ หรือกิจกรรมสังคมของครอบครัว เช่นงานศพ หรืองานแต่งงาน

ชีวิตสมรสและการทำงาน

ในปี พ.ศ. 2513 พี่นิกร ได้สมรสกับนางสาวอรนุช (สุรเสียงสังข์) คุปรัตน์ ซึ่งทำงานที่สำนักงานเลขาธิการการศึกษาแห่งชาติ ทั้งสองอยูร่วมกันอย่างอบอุ่นและมีความสุข แต่จนนานก็ไม่มีทายาท ประกอบกับน้องชาย เกื้อกูล และภรรยา วิภา (ปานแก้ว) คุปรัตน์ มีบุตรชาย 3 คน คือ นายกิตติวิทย์ คุปรัตน์ นายไกรวุฒิ คุปรัตน์ และนายวรกิตติ์ คุปรัตน์ ด้วยความเป็นคนรักเด็ก จึงขอบุตรชายคนสุดท้องของน้องชาย คือนายวรกิตติ์ มาเป็นบุตรบุญธรรม

ในด้านการทำงาน เมื่อจบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยแล้ว พี่นิกรได้เริ่มงานครั้งแรกที่องค์กรอ้อยและน้ำตาล ปัจจุบันคือ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม หลังจากทำงานได้ไม่นาน ก็ลาออกมาทำงานให้กับกิจการของครอบครัว

พี่นิกร เป็นพี่ชายที่ทำงานหลักในขณะที่กิจการร้านขายยาของครอบครัวอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน ร้านต้องหมดสัญญาการเช่าที่ และต้องย้ายจากย่านถนนราชดำหริ มาอยู่ ณ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ร้านเป็นอาคารพาณิชย์ 2 คูหา สูง 3 ชั้น บ้านเลขที่ 1875-7 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กทม 10310 (โทรศัพท์: 0-2314-4588) ชีวิตของครอบครัวในขณะนั้นดูจะไม่แน่นอนด้านสถานที่ทำกิน มีทรัพย์สิน หากไม่มีรายได้ ก็ต้องขายสิ่งที่มีไปเรื่อยๆ ซึ่งจะอยู่ไม่ได้นาน

ยิ่งกว่านั้น ในด้านบ้านที่พักอาศัย ครอบครัว 14 ชีวิต ต้องย้ายจากบ้านซอยนายเลิศมาอยู่ ณ ร้านรัตนเวช ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ จากเนื้อที่ดิน 530 ตารางวา เหลือเพียง 250 ตารางวา ถูกเวนคืนที่เพื่อทำทางด่วนสายดินแดง-บางนา ในขณะที่พ่อแม่ก็มีอายุมากขึ้น และน้องๆอีก 4 คนกำลังอยู่ในระหว่างศึกษาเล่าเรียน พี่นิกรได้ลาออกจากงานที่องค์กรอ้อยและน้ำตาล มาเป็นเภสัชกรและผู้จัดการของร้านรัตนเวช นับว่าได้สร้างความอุ่นใจให้กับน้องๆที่ตามมาว่าจะมีเงินรายได้พอที่จะเรียนได้จนจบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย
ในด้านกิจการด้านผลิตยาของร้านรัตนเวช ได้เข้าสู่ยุคต้องยกมาตรฐานการผลิตให้ทันสมัยมาก ขึ้น ซึ่งทางครอบครัวต้องตัดสินใจว่าจะก้าวสู่การผลิตยาแผนปัจจุบันขายหรือไม่ เพราะส่วนหนึ่งได้มีกิจกรรมผลิตยาส่งตามร้านขายยาต่างๆในกรุงเทพฯ และจังหวัดภาคกลางใกล้เคียงอยู่แล้ว ด้วยความเห็นของพี่นิกร ครอบครัวได้ตัดสินใจยุติการผลิตยา ยังคงขายยาแผนปัจจุบัน เหมือนร้านขายยาทั่วไป

ในช่วงที่แม่ซึ่งป่วยเป็นเบาหวานและโรคหัวใจ แม่ได้พักอยู่ที่ร้านรัตนเวช กับพี่นิกรและพี่อรนุช ภรรยา พี่นิกรได้ทำหน้าที่ดูแลแม่ด้านอาหารการกิน และการใช้ยารับประทาน ตลอดจนเสียชีวิต ในช่วงชีวิต

สุดท้ายที่แม่พักอยู่กับพี่นิกรที่ร้านรัตนเวช การดูแลนั้นหมายถึงต้องอุ้มแม่ขึ้นลงบันได้ทุกวัน เพราะที่ร้านรัตนเวชเป็นห้องแถว ชั้นล่างทำเป็นส่วนพาณิชย์ ไม่เหมาะแก่การพักอาศัย ในช่วงนี้แม้แม่มีร่างกายที่ไม่แข็งแรง แต่ดูจะมีความสุขที่สุดในชีวิต ในลูก 6 คน 5 คนได้เรียนจบมหาวิทยาลัย มีภาพรับปริญญาจากพระหัตฯ ติดที่ฝาร้านเรียงกัน 5 รูป ลูก 3 คนเรียนจนจบปริญญาโททั้งในและต่างประเทศ และ 1 คนจบปริญญาเอก พี่นิกรเป็นแบบอย่างในการศึกษาเล่าเรียน และการใช้ชีวิตวัยเรียนที่ไม่ตึงเครียดจนเกินไป

พี่นิกรเป็นนักประวัติศาสตร์ครอบครัว/วงศ์ตระกูล – เป็นผู้รู้ประวัติครอบครัว ญาติพี่น้อง ตลอดจนเครือญาติ ทั้งสายพ่อและแม่เป็นอย่างดี พี่นิกรเป็นหัวแรงในการรวมญาติ โดยมีการทำบุญและร่วมรับประทานอาหารกลางวันกันในวันอาทิตย์หลังสงกรานต์ของทุกปี ณ วัดแสนภูดาษ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งอยู่ในชุมชนถิ่นกำเนิดของครอบครัว งานบุญนี้ ทำเป็นประจำจนกระทั่งปีสุดท้ายก่อนเสียชีวิต

การทำงาน

หลังจบการศึกษา พี่นิกรได้เริ่มทำงานที่องค์การอ้อยและน้ำตาล

การทำงานที่ร้านขายยารัตนเวช เมื่อได้ย้ายร้านจากย่านสะพานเฉลิมโลก ถนนราชดำหริ มายังถนนเพชรบุรีตัดใหม่ นับเป็นหัวแรงการประกอบอาชีพให้กับครอบครัว เป็นอาชีพที่ได้ทำอย่างสุจริตตลอดมาจนเสียชีวิต

บริษัท ชุมชนเภสัชกรรม จำกัด (มหาชน) เป็นกรรมการผู้ก่อตั้ง และทำหน้าที่เป็นเหรัญญิกในคณะกรรมการดูแลบริษัทมาตลอดตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง และสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) เป็นส่วนงานที่พี่นิกรรักและผูกพันมาตลอด

พี่นิกรได้ใช้ชีวิตตามใจตนเองปรารถนา ตามแนวทาง “งานคือธรรมะ” คือทำงานตลอดชีวิต ไม่คิดมีเกษียณอายุ มีความสุขกับการทำงานร่วมกับผู้คน มองคนในแง่ดี เป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับ ใช้ชีวิตอย่างสมถะเรียบง่าย พยายามพึ่งตนเองมาตลอด พี่นิกรได้เสียชีวิตและจากไปอย่างสงบในขณะนอนหลับ ในคืนวันที่ 10-11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ณ บ้านร้านรัตนเวช

ในนามพี่น้องและญาติ ขอแสดงความอาลัยรักต่อการจากไปของนิกร คุปรัตน์ในครั้งนี้ และขอขอบพระคุณต่อเพื่อน เพื่อนร่วมวิชาชีพ ญาติ และผู้มีเกียรติทุกท่าน ที่ได้มาร่วมพิธีอำลาและอาลัยในครั้งนี้


ประกอบ คุปรัตน์ ในนามญาติพี่น้อง
17 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
ณ วัดอุทัยธาราม ถนนกำแพงเพชร 7
แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง
กรุงเทพมหานคร 10310

Saturday, July 16, 2016

คำอาลัยน้าอ้วน จากหลานหมู หมี และแมว

คำอาลัยน้าอ้วน จากหลานหมู หมี และแมว


เมื่อแม่นิ่ม กุณฑล (คุปรัตน์) ศิริอักษร พี่สาวคนโตออกเรือนและมีลูกปีละคนติดๆกันคือ หมู (สิทธิพร ศิริอักษร) หมี (อุดมศักดิ์ ศิริอักษร) และแมว (กุณฑลา ศิริอักษร) ทั้งสามจึงเป็นหลานรุ่นแรกของบ้านรัตนเวช และมีอายุห่างจากน้าๆไม่มากมายนัก

ช่วงแรกที่มาอยู่กับคุณตาคุณยายและน้าๆ ที่บ้านรัตนเวช ซอยนายเลิศ ถนนเพลินจิต น้าอ้วนเป็นหนุ่มนิสิตมหาวิทยาลัยแล้ว ดังนั้น น้าอ้วนเห็นพวกเราตั้งแต่วัยเด็ก จนโตและล่วงเลยวัยกลางคน
เท่ากับที่พวกเราได้เห็นน้าอ้วนจากวัยหนุ่ม กลางคนและล่วงเข้าสู่บั้นปลายชีวิต

น้าอ้วนทำหน้าที่แทนพ่อแม่ เป็นผู้ปกครองของพวกเราในช่วงเรียนชั้นประถม แม้จนจบมหาวิทยาลัย
น้าอ้วนใจดีและรักหลานๆทุกคน

ช่วงที่คุณตาคุณยายและน้าๆรวมถึงพวกเรายังอาศัยรวมกันที่ร้านรัตนเวช ถนนเพชรบุรีตัดใหม่

น้าอ้วนมักจะสรรหาสูตรอาหารมาทำให้ทุกคนได้รับประทานกัน ที่จำได้แม่นคือ ไข่หวาน และไอศกรีมไข่แข็ง ฯลฯ และบ่อยครั้งที่น้าอ้วนออกไปข้างนอกก็จะแวะซื้อก๋วยเตี๋ยวเจ้าอร่อยกลับมา แม้บางครั้งจะดึกไปนิด หลานๆก็ยังสะลึมสะลือลุกขึ้นมาทานก๋วยเตี๋ยวแห้งใส่ห่อของน้าอ้วน

เมื่อใดที่มีหนังหรือการ์ตูนสำหรับเด็กของดิสนีย์มาฉายที่โรงหนังฮอลลิวู้ด หรือหนังดังๆอย่างKing Solomon’s mines หรือหนังไทยดังๆอย่างมนต์รักลูกทุ่งที่โคลีเซียม น้าอ้วนจะบอกล่วงหน้าให้พวกเรานอนกลางวัน เพื่อจะได้ไม่ง่วงตอนดูหนังรอบค่ำ เมื่อน้าอ้วนแต่งงานกับน้านุช (อรนุช สุรเสียงสังข์) พวกเรามีน้าสะใภ้มาร่วมอาศัยใต้ชายคาเดียวกัน แต่พอน้าเล็ก น้าแดงแต่งงาน น้าเล็ก น้าแดงก็ย้ายออกไป
พวกเราจึงมีช่วงเวลากับน้าอ้วนมากกว่าน้าคนอื่นๆ

น้าอ้วนทำงานประจำที่ร้านรัตนเวชเต็มเวลา ทั้งซื้อ ขายและผลิตยาของร้านรัตนเวชภายใต้ตราพระอภัยมณีขี่ปลา

ขณะเดียวกันก็ยังเป็นลูกที่ดีของคุณตาคุณยายไม่ขาดตกบกพร่อง

เมื่อคุณยายเป็นโรคหัวใจ น้าอ้วนก็อุ้มคุณยายขึ้นชั้น 3 ทุกคืน

ถึงจะมีภาระหน้าที่มากมายแต่น้าอ้วนก็ดูแลพวกเราอย่างใกล้ชิด คอยตรวจดูและดมแขนเสื้อหลานหมีทุกวันจนนิสัยชอบใช้แขนเสื้อเช็ดน้ำลายหายไปได้

เวลารับหลานแมวซึ่งเป็นนักเรียนประจำตอนเย็นวันศุกร์ที่รร.เซ็นต์โยเซฟคอนเวนต์ที่สีลม ก็จะพาหลานๆแวะสวนลุมพินี ออกอุบายให้วิ่งแข่งกัน เพราะน้าอ้วนเห็นว่าพวกเราควรออกกำลังกายกันบ้าง

แม้วันหยุดที่น้าอ้วนควรจะได้ใช้เวลาเช่นหนุ่มโสดทั่วไป ก็กลับพาหลานๆทั้งสามไปขึ้นภูเขาทอง โดยมีอุบายให้นับจำนวนขั้นบันไดไปด้วย เมื่อนึกย้อนกลับไป ถ้าไม่ใช่เพราะน้าอ้วน พวกเราก็คงไม่มีโอกาสได้ขึ้นภูเขาทองในชั่วชีวิตนี้เป็นแน่เทียว

น้าอ้วนเป็นตัวอย่างในหลายๆเรื่องของความดีงามและถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต น้าอ้วนไม่ได้พร่ำสอน แต่เป็นผู้แสดงออกในโลกจริงๆ

ในคราวหนึ่งที่น้านุชซึ่งทำงานอยู่ที่สภาพัฒน์ฯได้ให้ดินสอหลานยืมและ เอ่ยปากว่าไม่ต้องคืนเพราะที่ทำงานยังมีดินสออีกหลายแท่ง แต่น้าอ้วนชี้ให้พวกเราเห็นว่า ดินสอแท่งนั้นเป็นสมบัติของหลวง หากเอามาเป็นของส่วนตน แม้เพียงแท่งเดียว ก็เป็นการเบียดบัง คอรัปชั่นแล้ว

น้าอ้วนไม่เคยฟุ่มเฟือย ไม่ยอมเที่ยวต่างประเทศ แต่ก็ไม่เคยตำหนิใครที่ใช้ชีวิตแตกต่าง
น้าอ้วนมีความจำเหตุการณ์สถานที่ เรื่องราวต่างๆในอดีตได้เป็นเลิศ และสามารถเล่าได้อย่างละเอียด
สนุกสนาน พวกเราตั้งใจฟังและได้ข้อมูล ความรู้มากมายหลายแง่มุม

บางอย่างเชื่อว่าแม้ google ก็ยังไม่เจอ น้าอ้วนจะสามารถไล่เรียง จดจำลำดับญาติได้แม่นยำถูกต้อง สามารถโยงใยญาติเรียงขึ้นไปได้หลายสาย

น่าเสียดายที่พวกเราไม่ได้สนใจจดจำและบันทึกไว้

ที่ร้านรัตนเวชนั้น มีคนอาศัยอยู่มากในบางช่วงอาจสูงถึง 13-14 คน แต่มีผู้หญิงแค่คุณยาย น้านุชและหลานแมว นอกนั้นจะเป็นผู้ชายทั้งสิ้น แต่พวกเราก็ไม่เคยได้ยินสรรพนามคำไม่สุภาพ หรือคำด่าทอหยาบคายแต่อย่างใด นั่นคงเป็นสิ่งที่ทุกคนได้รับการบ่มเพาะมา และน้าอ้วนก็เป็นพี่ใหญ่ที่แสดงตัวอย่างให้น้องๆเห็น

เรื่องราวความผูกพันน้าอ้วนกับพวกเรายังมีอีกมากมายสุดจะกล่าวได้ครบถ้วน ทุกเรื่องจะยังคงไว้ในความทรงจำตลอดไปแม้ว่าน้าอ้วนจะไม่อยู่แล้ว แต่น้าอ้วนก็ยังคงเป็นน้าคนโตที่พวกเรารักและเคารพ เป็นพ่อพระของพวกเราเสมอไม่เปลี่ยนแปลง

จากหลานๆ

กุณฑลา ศิริอักษร (แมว) ในนาม
หลานหมู หมี และแมว
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

คำอาลัยน้าอ้วน จากหลานหมู หมี และแมว

คำอาลัยน้าอ้วน จากหลานหมู หมี และแมว


เมื่อแม่นิ่ม กุณฑล (คุปรัตน์) ศิริอักษร พี่สาวคนโตออกเรือนและมีลูกปีละคนติดๆกันคือ หมู (สิทธิพร ศิริอักษร) หมี (อุดมศักดิ์ ศิริอักษร) และแมว (กุณฑลา ศิริอักษร) ทั้งสามจึงเป็นหลานรุ่นแรกของบ้านรัตนเวช และมีอายุห่างจากน้าๆไม่มากมายนัก

ช่วงแรกที่มาอยู่กับคุณตาคุณยายและน้าๆ ที่บ้านรัตนเวช ซอยนายเลิศ ถนนเพลินจิต น้าอ้วนเป็นหนุ่มนิสิตมหาวิทยาลัยแล้ว ดังนั้น น้าอ้วนเห็นพวกเราตั้งแต่วัยเด็ก จนโตและล่วงเลยวัยกลางคน
เท่ากับที่พวกเราได้เห็นน้าอ้วนจากวัยหนุ่ม กลางคนและล่วงเข้าสู่บั้นปลายชีวิต

น้าอ้วนทำหน้าที่แทนพ่อแม่ เป็นผู้ปกครองของพวกเราในช่วงเรียนชั้นประถม แม้จนจบมหาวิทยาลัย
น้าอ้วนใจดีและรักหลานๆทุกคน

ช่วงที่คุณตาคุณยายและน้าๆรวมถึงพวกเรายังอาศัยรวมกันที่ร้านรัตนเวช ถนนเพชรบุรีตัดใหม่

น้าอ้วนมักจะสรรหาสูตรอาหารมาทำให้ทุกคนได้รับประทานกัน ที่จำได้แม่นคือ ไข่หวาน และไอศกรีมไข่แข็ง ฯลฯ และบ่อยครั้งที่น้าอ้วนออกไปข้างนอกก็จะแวะซื้อก๋วยเตี๋ยวเจ้าอร่อยกลับมา แม้บางครั้งจะดึกไปนิด หลานๆก็ยังสะลึมสะลือลุกขึ้นมาทานก๋วยเตี๋ยวแห้งใส่ห่อของน้าอ้วน

เมื่อใดที่มีหนังหรือการ์ตูนสำหรับเด็กของดิสนีย์มาฉายที่โรงหนังฮอลลิวู้ด หรือหนังดังๆอย่างKing Solomon’s mines หรือหนังไทยดังๆอย่างมนต์รักลูกทุ่งที่โคลีเซียม น้าอ้วนจะบอกล่วงหน้าให้พวกเรานอนกลางวัน เพื่อจะได้ไม่ง่วงตอนดูหนังรอบค่ำ เมื่อน้าอ้วนแต่งงานกับน้านุช (อรนุช สุรเสียงสังข์) พวกเรามีน้าสะใภ้มาร่วมอาศัยใต้ชายคาเดียวกัน แต่พอน้าเล็ก น้าแดงแต่งงาน น้าเล็ก น้าแดงก็ย้ายออกไป
พวกเราจึงมีช่วงเวลากับน้าอ้วนมากกว่าน้าคนอื่นๆ

น้าอ้วนทำงานประจำที่ร้านรัตนเวชเต็มเวลา ทั้งซื้อ ขายและผลิตยาของร้านรัตนเวชภายใต้ตราพระอภัยมณีขี่ปลา

ขณะเดียวกันก็ยังเป็นลูกที่ดีของคุณตาคุณยายไม่ขาดตกบกพร่อง

เมื่อคุณยายเป็นโรคหัวใจ น้าอ้วนก็อุ้มคุณยายขึ้นชั้น 3 ทุกคืน

ถึงจะมีภาระหน้าที่มากมายแต่น้าอ้วนก็ดูแลพวกเราอย่างใกล้ชิด คอยตรวจดูและดมแขนเสื้อหลานหมีทุกวันจนนิสัยชอบใช้แขนเสื้อเช็ดน้ำลายหายไปได้

เวลารับหลานแมวซึ่งเป็นนักเรียนประจำตอนเย็นวันศุกร์ที่รร.เซ็นต์โยเซฟคอนเวนต์ที่สีลม ก็จะพาหลานๆแวะสวนลุมพินี ออกอุบายให้วิ่งแข่งกัน เพราะน้าอ้วนเห็นว่าพวกเราควรออกกำลังกายกันบ้าง

แม้วันหยุดที่น้าอ้วนควรจะได้ใช้เวลาเช่นหนุ่มโสดทั่วไป ก็กลับพาหลานๆทั้งสามไปขึ้นภูเขาทอง โดยมีอุบายให้นับจำนวนขั้นบันไดไปด้วย เมื่อนึกย้อนกลับไป ถ้าไม่ใช่เพราะน้าอ้วน พวกเราก็คงไม่มีโอกาสได้ขึ้นภูเขาทองในชั่วชีวิตนี้เป็นแน่เทียว

น้าอ้วนเป็นตัวอย่างในหลายๆเรื่องของความดีงามและถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต น้าอ้วนไม่ได้พร่ำสอน แต่เป็นผู้แสดงออกในโลกจริงๆ

ในคราวหนึ่งที่น้านุชซึ่งทำงานอยู่ที่สภาพัฒน์ฯได้ให้ดินสอหลานยืมและ เอ่ยปากว่าไม่ต้องคืนเพราะที่ทำงานยังมีดินสออีกหลายแท่ง แต่น้าอ้วนชี้ให้พวกเราเห็นว่า ดินสอแท่งนั้นเป็นสมบัติของหลวง หากเอามาเป็นของส่วนตน แม้เพียงแท่งเดียว ก็เป็นการเบียดบัง คอรัปชั่นแล้ว

น้าอ้วนไม่เคยฟุ่มเฟือย ไม่ยอมเที่ยวต่างประเทศ แต่ก็ไม่เคยตำหนิใครที่ใช้ชีวิตแตกต่าง
น้าอ้วนมีความจำเหตุการณ์สถานที่ เรื่องราวต่างๆในอดีตได้เป็นเลิศ และสามารถเล่าได้อย่างละเอียด
สนุกสนาน พวกเราตั้งใจฟังและได้ข้อมูล ความรู้มากมายหลายแง่มุม

บางอย่างเชื่อว่าแม้ google ก็ยังไม่เจอ น้าอ้วนจะสามารถไล่เรียง จดจำลำดับญาติได้แม่นยำถูกต้อง สามารถโยงใยญาติเรียงขึ้นไปได้หลายสาย

น่าเสียดายที่พวกเราไม่ได้สนใจจดจำและบันทึกไว้

ที่ร้านรัตนเวชนั้น มีคนอาศัยอยู่มากในบางช่วงอาจสูงถึง 13-14 คน แต่มีผู้หญิงแค่คุณยาย น้านุชและหลานแมว นอกนั้นจะเป็นผู้ชายทั้งสิ้น แต่พวกเราก็ไม่เคยได้ยินสรรพนามคำไม่สุภาพ หรือคำด่าทอหยาบคายแต่อย่างใด นั่นคงเป็นสิ่งที่ทุกคนได้รับการบ่มเพาะมา และน้าอ้วนก็เป็นพี่ใหญ่ที่แสดงตัวอย่างให้น้องๆเห็น

เรื่องราวความผูกพันน้าอ้วนกับพวกเรายังมีอีกมากมายสุดจะกล่าวได้ครบถ้วน ทุกเรื่องจะยังคงไว้ในความทรงจำตลอดไปแม้ว่าน้าอ้วนจะไม่อยู่แล้ว แต่น้าอ้วนก็ยังคงเป็นน้าคนโตที่พวกเรารักและเคารพ เป็นพ่อพระของพวกเราเสมอไม่เปลี่ยนแปลง

จากหลานๆ

กุณฑลา ศิริอักษร (แมว) ในนาม
หลานหมู หมี และแมว
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

คำอาลัยนิกร คุปรัตน์ จากพี่กุณฑล (นิ่ม) ศิริอักษร

คำอาลัยนิกร คุปรัตน์ จากพี่กุณฑล (นิ่ม) ศิริอักษร


ภาพ พี่นิ่ม (กุณฑล (คุปรัตน์) ศิริอักษร พี่สาวคนโตของพี่น้อง 6 คนในสกุลคุปรัตน์ ที่เกิดจากนายกฤษณ์และนางส้มเทศ คุปรัตน์ ภาพ จากงานสวดอภิธรรม นิกร คุปรัตน์ (อ้วน) 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ณ วัดอุทัยธาราม บางกะปิ กทม.

พี่นิ่มเป็นลูกสาวคนโต แก่กว่าอ้วน 6 ปี เราจึงเป็นพี่น้องที่เหมือนเพื่อนเล่นกันได้ เรามีพี่น้องร่วมพ่อแม่เดียวกัน คน

ต่อจากอ้วน (นิกร คุปรัตน์) ก็เป็นเล็ก (เกื้อกูล คุปรัตน์) ซึ่งอ่อนกว่าพี่นิ่ม 8 ปี แล้วตามมาด้วยแดง (ประกอบ คุปรัตน์) เปี๊ยก (บุญเกียรติ คุปรัตน์) และ ปาน (ปัญจะ คุปรัตน์) ซึ่งอายุห่างกันมาก พี่นิ่มจึงได้เลี้ยงน้องๆ ที่เล็กกว่าอีก 3 คนหลัง

ถึงพี่นิ่มจะมีอายุห่างจากอ้วนถึง 6 ปี แต่เราก็สนิทกันดี

ช่วงที่อยู่ย้ายมาอยู่ตึกแถวย่านประตูน้ำ และเปิดเป็นร้านขายยาตั้งชื่อว่า “ร้านรัตนเวชวันเปิดร้าน คือวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2483 ก็เป็นวันเกิดของอ้วนด้วย และอ้วนเมื่อได้เล่าเรียนจนจบปริญญาทางด้านเภสัชกรรม ก็ได้ดูแลร้านขายยารัตนเวชนี้ต่อจากคุณพ่อคุณแม่มาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อพี่นิ่มย้ายตามสามี พี่ลาภ ศิริอักษร ไปอยู่ต่างจังหวัด พี่นิ่มก็ได้อาศัยส่งหลานๆ หมู หมี และแมว มาให้อยู่กับคุณพ่อคุณแม่ เพื่อเรียนหนังสือ ก็ได้น้องอ้วน ช่วยดูแลรับส่งหลานๆ ตลอดจนเป็นผู้ปกครองแทนพี่นิ่ม พาหลานๆไปมอบตัวที่โรงเรียน และต่อมาก็มหาวิทยาลัยด้วยทุกครั้งไป

พี่รู้ข่าวอ้วนจากไป พี่รู้สึกตกใจเสียใจมากที่น้องอ้วนได้จากไปก่อนเวลาอันควร
ทั้งที่พี่นิ่มเองป่วยหลายโรคและร่ายกายก็อ่อนล้ามากแล้ว เมื่อไม่นานนี้เรายังคุยกันอยู่ว่า “ห้ามแซงคิวกัน

พี่นิ่มขอส่งให้น้องอ้วนของพี่ไปสู่ภพที่ดีนะ และหากชาติหน้ามีจริงก็ขอให้เราได้เกิดมาเป็นพี่น้องกันอีก
รักน้องอ้วนมาก


จากพี่นิ่ม กุณฑล (คุปรัตน์) ศิริอักษร
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

Thursday, July 14, 2016

คิดถึงพี่อ้วน จากปัญจะ คุปรัตน์

คิดถึงพี่อ้วน จากปัญจะ คุปรัตน์


ภาพ ปัญจะ คุปรัตน์ (ชายใส่เสื้อขาวกางเกงดำ นั่งแถวหน้า ที่สองจากขวา) น้องชายนิกร คุปรัตน์ ผู้ประพันธ์ ภาพถ่ายที่วัดอุท้ยธาราม พระราม 9 กทม. งานสวดอภิธรรมงานศพของนิกร คุปรัตน์ วันที่ 2 อังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พี่อ้วน (นิกร คุปรัตน์) เป็นพี่ชายคนโตของตระกูลคุปรัตน์ ที่ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเป็นคนแรก โดยได้เรียนที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พี่อ้วนเปรียบเหมือนเป็นบุคคลตัวอย่างแก่น้องๆ ทำให้ทุกคนมีเป้าตั้งใจเรียนเพื่อให้จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งทำให้น้องๆที่ตามมา 3 คนได้เข้าเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ 1 คนเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พี่อ้วนเป็นเหมือนนักประวัติศาสตร์ประจำตระกูล เพราะจะจำได้หมดว่ามีญาติอยู่ที่ไหนบ้าง ชื่ออะไร อายุเท่าไร เป็นลูกหลานของใคร เป็นญาติฝ่ายไหน ทุกปีพี่อ้วนจะทำหน้าที่เป็นหัวงานรวมญาติไปร่วมทำบุญอัฐิอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ ซึ่งกำหนดเป็นวันอาทิตย์แรกหลังสงกรานต์ ณ วัดแสนภูดาษ จังหวัดฉะเชิงเทรา

พี่อ้วนเป็นคนโอบอ้อมอารีย์ เป็นที่พึ่งให้กับน้องๆและเพื่อนๆเสมอมา วันเกิดของพี่อ้วนคือวันที่ 1 เดือนกันยายน พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นวันเปิดร้านรัตนเวช อันเป็นร้านของครอบครัว และเป็นร้านขายยาที่พี่อ้วนซึ่งเรียนมาทางเภสัชกรรมรับสืบทอดงานต่อจากคุณพ่อตลอดมา

พี่อ้วนเป็นคนมีสุขภาพแข็งแรงโดยตลอด จะออกกำลังกายด้วยการเล่นกล้ามอย่างจริงจังตั้งแต่เล็กๆ พี่อ้วนจะพึ่งตนเองตลอดแม้จนวัย 76 ปี แม้ในวันเสียชีวิต พี่อ้วนก็ยังขึ้นบรรไดไปนอนที่ห้องชั้น 3 ของร้านรัตนเวช และหลับไปอย่างสงบ ไม่มีอาการทรมานก่อนเสียชีวิตเลย

พี่อ้วนได้จากไปแล้ว เหลือไว้แต่ความดีให้ญาติพี่น้องได้ระลึกถึง


ปัญจะ คุปรัตน์, น้องชาย
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

รำลึกถึงพี่อ้วน จากบุญเกียรติ คุปรัตน์

รำลึกถึงพี่อ้วน จากบุญเกียรติ คุปรัตน์


ภาพ บุญเกียรติ คุปรัตน์ (ชายในชุดดำนั่งแถวหน้า) น้องชายนิกร คุปรัตน์ ผู้ประพันธ์ ภาพถ่ายที่วัดอุท้ยธาราม พระราม 9 กทม. งานสวดอภิธรรมงานศพของนิกร คุปรัตน์ วันที่ 2 อังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พี่อ้วน (พี่นิกร คุปรัตน์) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2483 วันเดียวกันกับวันที่ คุณพ่อกฤษณ์ ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์เวชกรรมแผนปัจจุบันมาก่อนหน้านั้น เปิดคลินิก “รัตนเวช” เป็นที่รับรักษาคนป่วยไข้ที่ตึกแถวหน้าตลาดประตูน้ำ ถนนราชปรารภเป็นวันแรก และก็เป็นคลินิกแรกในย่านประตูน้ำเมื่อ 76 ปีที่แล้วด้วย  พี่อ้วนจึงผูกพันกับการรักษาและกับยามาตั้งแต่วันแรกเกิด

พี่อ้วนเรียนหนังสือเก่งมาแต่เด็ก คุณพ่อจึงคาดหวังว่าพี่อ้วนจะเรียนแพทย์มาสืบต่ออาชีพแพทย์จากท่านได้อย่างดี เมื่อพี่อ้วนเริ่มเป็นหนุ่มแล้ว ช่วงที่ว่างจากการเรียนแล้ว คุณพ่อจึงมักให้พี่อ้วนช่วยงานในคลินิกเพื่อเป็นการปูพื้นไว้บ้าง แต่อยู่มาวันหนึ่งขณะที่พี่อ้วนช่วยงานคุณพ่ออยู่ มีผู้ชายคนหนึ่งตกลงไปในคลองแสนแสบใกล้คลินิก ถูกใบพัดเรือฟันร่างกาย มีแผลเหวะหวะถูกหามร่องแร่งมาที่คลินิก “รัตนเวช” พี่อ้วนเห็นคนไข้คนนี้แล้วเป็นลมหมดแรงเลย คราวนั้นจึงไม่ได้มีส่วนช่วยงานคุณพ่อ แต่คุณพ่อก็สามารถจัดการงานใหญ่ เย็บแผลเป็นร้อยเข็ม ได้เสร็จเรียบร้อยด้วยมือท่านเองคนเดียว  คุณพ่อคุณแม่ดีใจเมื่อพี่อ้วนสอบเข้าเรียนในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์สมัยนั้น ซึ่งตึกเรียนตั้งอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันจึงเป็นคณะหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พี่อ้วนมีพรสวรรค์ทางดนตรี แต่ไม่ชอบเรียนโน้ตให้เป็นเรื่องเป็นราว ไม่ชอบเล่นโดยอ่านโน้ต เล่นดนตรีจากความจำตามแบบฉบับนักดนตรีไทยทั่วไป  เป็นมือแอ็กคอเดียนประจำวงดนตรีโรงเรียนวัฒนศิลป์ ถนนราชปรารภ ตั้งแต่อายุ 14 ปี  คุณพ่อก็สนับสนุนโดยซื้อเปียโนใช้แล้วหนึ่งหลังมาให้พี่อ้วนฝึกซ้อมเองที่บ้าน สมัยนั้นครอบครัวเรายังอาศัยอยู่ตึกแถวสองคูหา ทรัพย์สินของศาสนสมบัติ ถนราชดำริ แต่ช่วงที่พี่อ้วนเป็นหนุ่มเรียนมหาวิทยาลัย ครอบครัวเราพักอยู่ที่บ้านถนนเพลินจิต เปียโนถูกทิ้งจนฝุ่นจับ
ตอนปี 2508 บ้านเราที่เพลินจิตถูกเวนคืนที่ดินด้านหลังเพื่อใช้ก่อสร้างทางด่วนขั้นแรกของประเทศไทย ดินแดง-คลองเตย จากเนื้อที่ดิน 530 ตารางวา เหลือเพียง 250 ตารางวา

เคราะห์ซ้ำกรรมซัด ช่วงเวลาเดียวกัน สำนักงานศาสนสมบัติก็แจ้งคุณพ่อเลิกให้เช่าตึกแถวที่ท่านใช้เปิดคลินิค ครอบครัวเราต้องนำบ้านที่เพลินจิตให้ฝรั่งเช่า เปียโนก็ถูกขายด้วย สมาชิกทั้งลูกทั้งหลานรวม 14 ชีวิต ย้ายมาอยู่ตึกแถวสองคูหาที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ราคาตึกพร้อมที่ดินไม่แพง เรามีกำลังซื้อได้สองคูหาอยู่กันได้ไม่อึดอัด ถนนเพชรบุรีคัดใหม่ช่วงเวลานั้นสิ้นสุดแค่จุดตัดกับถนนเอกมัย เมื่อย้ายร้านมาใหม่ๆ ห้องแถวย่านนี้เหมือนชุมชนกึ่งชนบท ตกเย็นก็ไม่ค่อยมีรถวิ่งไปมาแล้ว ตึกแถวสองคูหามีชั้นล่างเป็นร้านขายยา ชั้นสองและสามเป็นที่พักอาศัย

ช่วงที่เปลี่ยนสภาพที่อยู่อาศัย พี่อ้วนที่เรียนมาทางเภสัชกรรม ได้ลาออกจากงานองค์การอ้อยและน้ำตาล และกลับมาทำงานให้ที่บ้าน กิจการร้านขายยาเติบโตรองรับชุมชนที่เริ่มขยายออกชานเมือง ร้านขายยารัตนเวช ได้เปลี่ยนชีวิตในครอบครัวให้เป็นชาวห้องแถวอีกครั้ง แต่ไม่ได้ทำให้เกิดความยากลำบากทางการเงินและวิถีชีวิตแก่ครอบครัวมากนัก ในขณะที่คุณพ่อคุณแม่อายุมากขึ้น และปล่อยงานให้กับพี่อ้วน ครอบครัวต้องพยายามอยู่ให้ได้โดยรายได้จากกิจการ ไม่ใช่ขายสมบัติกิน แต่ความเติบโตนั้นเป็นเรื่องการศึกษาของบรรดาน้องๆ ซึ่งสามารถสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยทุกคน ซึ่งนับเป็นความภูมิใจของครอบครัว

พวกน้องๆที่ 4 คนได้เรียนจนจบการศึกษาขั้นมหาวิทยาลัยกันทุกคน ภาพของพี่น้องทั้ง 5 คนในพิธีรับพระราชทานปริญญาบัตรยังคงติดที่ฝาร้านตลอดมา

ในปัจจุบัน แม้ชุมชนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ย่านนี้จะเปลี่ยนเป็นเส้นทางรถผ่าน กิจการของร้านขายยารัตนเวชผ่านทั้งยุคเงียบเหงาสู่คึกคักในช่วงการเติบโตของย่านชานเมือง สู่ยุคที่มีการจราจรติดขัด ถนนเพชรบุรีถูกบังคับให้เป็นเส้นทางรถผ่าน แต่ไม่ใช่ถนนการค้า ถนนมีเกาะกลาง ผู้คนไม่สามารถจอดรถข้างถนนเพื่อซื้อยาหรือผลิตภัณฑ์ใดๆ

สภาพปัจจุบันย่านถนนเพชรบุรีตัดใหม่เปลี่ยนไป รถติดแทบทั้งวัน มีเกาะกลางถนน และห้ามจอดบนถนนทั้งสายตลอดเวลา คุณพ่อคุณแม่ได้เสียชีวิตแล้ว น้องๆจบการศึกษาและแยกไปมีครอบครัวและพักอาศัย ณ ที่อื่นๆ

ไม่ว่ากิจการจะดีหรือไม่ดี แต่พี่อ้วนก็ยังคงทำงานเป็นเภสัชกรร้านขายยาที่ร้านรัตนเวช ณ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เมื่อพี่อรนุช คุปรัตน์ ภรรยาได้จากไป พี่อ้วนเลือกที่จะอยู่คนเดียว แม้มีบ้านพักที่ได้สร้างขึ้นที่คลองจั่น แต่พี่อ้วนก็เลือกที่จะพักอยู่ในห้องเล็กๆชั้น 3 ที่ร้านรัตนเวชเสียเป็นส่วนใหญ่ เนื่องด้วยคงไม่อยากลำบากในการเดินทางมาทำงานในแต่ละวัน พี่อ้วนไม่มีเด็กรับใช้ ไม่มีคนขับรถ ยังคงทำงานเป็นเภสัชกรตามหลักวิชาชีพ ตราบจนเสียชีวิตเมื่อวัย 76 ปี

พี่อ้วนเป็นเภสัชกรรุ่นแรกๆที่อยู่ประจำร้านขายยา ตื่นจากชั้นสามลงมานั่งขายยา เพื่อนแก้เหงาคือ  “อีเล็กโทนยามาฮ่า”    เล่นเองฟังเองเป็นประจำ ใครอยากให้เล่นเพลงอะไรต้องฮัมทำนองให้ฟังก่อน นักดนตรีคนนี้ความจำเป็นเลิศ เล่นได้ทุกเพลง อีเล็กโทนมีวันหมดอายุ พี่อ้วนก็เลยตัดสินใจซื้อเปียโนมาตรฐานสูง ผลิตจากประเทศจีน เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้เล่นเปียโนหลังนี้ไปตราบนานเท่านาน วันนี้ใช้งานเปียโนมาเกือบ 10 ปีแล้วยังดูสวยเหมือนใหม่ เพราะเจ้าของดูแลเล่นเอยู่ทุกคืน ต่อนี้เปียโนจะต้องอยู่กับความเหงา คนรุ่นหลังเล่นไม่เป็นแล้ว

ช่วงชีวิตที่พี่อ้วนภาคภูมิใจ คือการที่ได้ใช้เวลากว่า 10 ปี ร่วมกับเพื่อนร่วมวิชาชีพระดมทุนจัดตั้งและร่วมบริหารงานบริษัทชุมชนเภสัชกรรมจำกัด มหาชน ผลิตยาคุณภาพสูงจำหน่วยแก่เภสัชกรสมาชิกผู้ถือหุ้น วันนี้ บริษัทที่พี่อ้วนรักมีทรัพย์สินหลายร้อยล้านบาทแล้ว หวังว่าพี่ๆน้องๆเภสัชฯของพี่อ้วนคงจะขยายภาพที่เป็นความภาคภูมิใจของพี่อ้วนช่วงนี้มาเล่าสู่กันฟัง

ด้วยอานิสงค์ผลบุญที่ได้อยู่ดูแลสุขทุกข์คุณพ่อคุณแม่เองมากับมือโดยตลอด กอร์ปทั้งคุณพ่อคุณแม่ รวมทั้งพี่อ้วน ล้วนก็ประกอบแต่สัมมาอาชีพ ช่วยกันสร้างรากฐานให้ครอบครัวของเรามั่นคงสมบูรณ์ จึงเป็นผลให้ทั้งสามท่านมีชีวิตที่เป็นสุขทั้งกายทั้งใจ  จากโลกนี้ไปตามอายุขัยอย่างง่ายๆ  ได้ทำหน้าที่ของตนสำเร็จครบถ้วน  ไม่มีห่วงกังวลใดค้างไว้ให้ใครต่อไปอีก พี่น้องลูกหลานภาคภูมิในแบบอย่างการดำรงชีวิตของพี่อ้วน


บุญเกียรติ  ( เปี๊ยก )  คุปรัตน์
14 กรกฎาคม 2559

Wednesday, July 13, 2016

รำลึกถึงพี่อ้วน นิกร คุปรัตน์ (Nicon Cooparat)

รำลึกถึงพี่อ้วน นิกร คุปรัตน์ (Nicon Cooparat)


ภาพ บรรดาญาติพี่น้องนิกร คุปรัตน์ เท่าที่รวบรวมได้ในคืนสวดอภิธรรม 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ณ วัดอุทัยธาราม พระราม 9 กรุงเทพฯ
ผมมีพี่น้องพ่อแม่เดียวกัน 6 คน ตามลำดับ คนโตพี่สาวคนเดียว กุณฑล (คุปรัตน์) ศิริอักษร พี่นิม แม่บ้าน (82) นอกนั้นเป็นชายหมด; คนที่สอง นิกร คุปรัตน์ หรือพี่อ้วน เภสัชกร (76); คนที่ 3 เกื้อกูล คุปรัตน์ (พี่เล็ก) อาจารย์มหาวิทยาลัย เสียชีวิตแล้ว หากมีชีวิตอยู่จะมีอายุ 74 ปี; ผมคนที่ 4 ประกอบ คุปรัตน์ อาจารย์มหาวิทยาลัย (70); คนที่ 5 บุญเกียรติ คุปรัตน์ เปี๊ยก ข้าราชการ (69); และคนที่ 6 ปัญจะ คุปรัตน์ ปาน วิศวกร (66)
พี่อ้วน เสียชีวิตที่บ้าน ร้านรัตนเวช ถนนเพชบุรีตัดใหม่ในขณะนอนหลับเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 โดยก่อนหน้านี้ไม่เคยมีประวัติเจ็บป่วยใดๆเลย เพราะพี่อ้วนไม่ไปหาหมอ ทั้งๆที่เป็นเภสัชกร คงเกรงใจหมอและไม่อยากกังวล เพราะพี่เขายังดื่มเบียร์วันละขวด สูบบุหรี่วันละ 1 ซอง จากที่แพทย์ชันสูตร บอกว่าพี่มีอาการของเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ และเส้นเลือดเลี้ยงสมองอาจตืบ
จาก 6 คน นับพี่อ้วนเสียชีวิตอีก 1 เราเหลืออีก 4 คน ต่างมีโรคประจำตัวกันตามสภาพ เมื่อนึกถึงพี่อ้วน มักจะนึกถึงพี่ที่เขาเป็นคนสนุกสนาน มีอารมณ์สุนทรีย์ นับเป็นคนที่เล่นดนตรีได้ดีที่สุดในบรรดาพี่น้อง เมื่อยังเป็นวัยรุ่น เขาเล่นยกน้ำหนัก ผมก็เล่นตาม แต่ไม่อดทนเท่าเขา เมื่อเขาเรียนหนังสือตามลำดับในครอบครัว เขาเป็นพี่ที่เรียนได้ดี เข้ามหาวิทยาลัยได้เป็นคนแรก เขาเป็นต้นแบบที่บรรดาน้องๆเดินตาม คิดว่าชีวิตการเรียนมหาวิทยาลัยคงไม่ลำบากนัก
ในชีวิตการเรียน มีพี่สาวนำร่อง พ่อแม่ก็พยายามส่งเสีย แต่พี่เขาเรียนไม่ได้หรือไม่เรียน เพราะเปลี่ยนโรงเรียน 3 แห่งแล้วยังไม่จบมัธยมศึกษาบริบูรณ์ พวกน้องๆตามมาก็ใจแป้ว แต่พี่อ้วนเรียนหนังสือดีมาตลอด เรียนหนังสือแล้วยังมีความสุขสนุกสนานได้ ชอบขับรถยนต์และขับเร็วด้วย ดูเขาจะเป็นหนุ่มเจ้าสำราญ เมื่อเป็นวัยรุ่น พี่อ้วนนี่แหละพาผมและปัญจะ (ปาน) ไปดื่มเบียร์เป็นครั้งแรก ปานดื่มแล้วผื่นขึ้น ตัวแดงทันที ผมไม่เป็นไร แต่พอวันรุ่งขึ้นจึงคันทั้งตัวโดยเฉพาะตามร่มผ้า แพ้หนัก จึงจบชีวิตนักดื่มตั้งแต่วันนั้น
แต่เมื่อพี่อ้วนอายุมากขึ้น เขากลับเป็นคนใช้ชีวิตสมถะ สนุกสนานกับการกินและดื่มอย่างจำกัดกับญาติๆและเพื่อนฝูง เขาทำงานอาสาสมัครเพื่อสังคม งานสมาคมวิชาชีพ งานเภสัชกรชุมชน เขาทำด้วยความซื่อสัตย์โดยไม่คิดเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว รางวัลของเขาคือการที่รู้สึกว่าบรรดาญาติและเพื่อนๆที่ให้ความไว้วางใจเขาในความซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา และอีกด้านคือได้สนุกสนานพูดคุยกับเพื่อนๆและคนคุ้นเคยกัน
ผมเองและน้องๆคงตามอย่างพี่อ้วน คือ "ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ซื่อสัตย์ ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี" พี่น้องท้องเดียวกัน ล้วนอยู่ในกลุ่มสูงวัย พี่อ้วนคงได้จากไปพบกับพี่อรนุช ภรรยา ที่ได้จากไปก่อนหน้าแล้ว พวกเราคงจะทยอยตามๆกันไป See you in heaven ครับ
ประกอบ คุปรัตน์
12 กรกฎาคม 2559

Friday, July 8, 2016

ขอเชิญชวนทำบุญทอดกฐินสามัคคี 23 ตุลาคม 2559

ขอเชิญชวนทำบุญทอดกฐินสามัคคี

Updated: 18 ส.ค. 2559
Keywords: กฐิน, เทพศิรินทร์. วัดเทพโพธิ์ทอง, 2559

ขอเชิญชวนทำบุญทอดกฐินสามัคคี ณ วัดเทพโพธิ์ทอง อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ วันอาทิตย์ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ณ วัดเทพโพธิ์ทอง ตั้งอยู่ที่ ๑๑๒ หมู่ ๑๘ บ้านเทพภูทอง ต.วะตะแบก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ เดิมชื่อวัดป่าเทพโพธิ์ทอง เป็นวัดปฏิบัติธรรมกรรมฐาน สาขาที่ ๑๕๑ ของวัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

วัดฯได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประกาศ ณ วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้เริ่มสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ ศรีเทพสถิตภูมิเมื่อพ.ศ. ๒๕๕๑ จนแล้วเสร็จ และได้รับพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุ เพื่ออัญเชิญมาประดิษฐานบรรจุในพระมหาธาตุเจดีย์ดังกล่าว จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒

ปัจจุบัน ได้ก่อสร้าง ศาลาทรงธรรมบนเนื้อที่ ๒ ไร่ เป็นอาคาร ๒ ชั้น กว้าง ๑๖ เมตร  ยาว ๓๒ เมตร สูง  ๑๒  เมตร ชั้นล่าง ประดิษฐาน พระพุทธเทพนฤมิตรปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๔๘ นิ้ว บนฐานชุกชี ประกอบกับภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม ศาลาดังกล่าวใช้เป็นสถานที่ญาติโยม และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ประกอบศาสนกิจ จำศีลปฏิบัติธรรมทุกวันพระเป็นประจำ รวมทั้งวันสำคัญทางศาสนา ใช้จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนนักศึกษา และใช้จัดประชุมพระสงฆ์ระดับอำเภอ ๓๐๐ องค์ อีกด้วย

ศาลาทรงธรรม

ศาลาทรงธรรม” จุคนได้ทั้งสองชั้นรวม ๔๐๐ คนเป็นอย่างน้อย  มีห้องน้ำ ห้องส้วม ๑๔ ห้อง  ข้างบน ๒ ห้อง  ข้างล่าง  ๑๒  ห้อง สามารถพักได้ชั้นบนและชั้นล่างประมาณ ๑๐๐ - ๒๐๐ คน แต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ยังขาดหน้าต่างชั้นบน  ๑๔  ช่อง (ช่องหนึ่งหน้าต่างมีกระจก    บาน ) กั้นห้อง มีประตู  ๓ ช่อง ทำห้องน้ำข้างบน ๒ ห้อง และระบบประปา ประกอบด้วยแท้งค์ส่งน้ำบรรจุน้ำประมาณ  ๑๐,๐๐๐ ถึง ๑๕,๐๐๐ ลิตร มีขาแท้งค์น้ำ สูงไม่ต่ำกว่า ๑๒ เมตร เพื่อสะดวกในการส่งน้ำเข้าห้องน้ำ ห้องส้วม โดยใช้ปั้มสูบน้ำมาจากสระซึ่งอยู่ห่างจากวัดประมาณ  ๗๐๐ เมตร 

ดังนั้น จึงบอกบุญมายังทุกท่าน ร่วมกันเป็นเจ้าภาพกฐินสามัคคีในวันอาทิตย์ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ (แรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๑) ตามกำลังศรัทธา และด้วยอานิสงส์แห่งการทอดกฐินในครั้งนี้ จงเป็นผลปัจจัยตามส่งให้ท่านมีความสุขความเจริญ ด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ ตลอดกาลนานเทอญ

กำหนดการ

วันเสาร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ตรงกับวันแรม ๖ ค่ำ เวลา น. ตั้งองค์กฐินสามัคคี ณ วัดเทพโพธิ์ทอง อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ

วันอาทิตย์ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ตรงกับวันแรม ๗ ค่ำ
เวลา น.
ทอดถวายองค์กฐินสามัคคี
เวลา น.
ญาติโยมและพุทธศาสนิกชนทั่วไปร่วมรับประทานอาหาร

คณะกรรมการจัดงาน

ประธานกรรมการฝ่ายสงฆ์

พระครูสุมนโพธิสุวรรณ

ประธานกรรมการฝ่ายฆราวาส

ดร. สุทธิพร จีระพันธุ

รองประธานฝ่ายฆราวาส

ทันตแพทย์ถนอม บุญบุตร
พิเชษฐ์ อิศรางพร
คุโณดม ธรรมาภรณ์พิลาศ
รศ. ดร.ประกอบ คุปรัดน์

ประธานอุปถัมภ์

ดร. ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์

อาจารย์อรุณ กระจ่างชิต

กรรมการอุปถัมภ์

พล.ต.ท. ประเสริฐ-ทิพยรัตน์ เหตระกูล
ร.ต.อ. วีรพล-ศศิพรรณ รุจิรวงศ์
ธนิต สุวรรณพงษ์
กฤตพร ศิริวรรณ
จิตติมา ยุวะสุต
เอกศิษฎ์ เก้าคงวุฒิ

ประธานกิตติมศักดิ์

พล. อ. โกญจนาท จุณณะภาต
กุลธร อักษรานุเคราะห์
ชัยรัดน์  โกวิทมงคล
วิชิต ยุกตะทัต
พล.อ.ประดิษฐ์ บุญเกิด
พล. ต.สันติสุข วรกิจโภคาทร
พล.อ.วินิจ บุณยะประภัศร

กรรมการ

ราเมศ วงศ์สายัณห์
ไพศาล ตันชีวะวงศ์
ธนู มนัสเสวี
ปรีชา ประสพสุข
วิม ทยาพัชร
ภิมุข มงคลรบ
แกล้ว วิบูลย์กิจวรกุล
โกวิท เพ็งศรี
อัตถสิทธิ์ กลั่นปรีชา
คงรัฐ เก้าคงวุฒิ
จรัส เสมดี
ชุมชัย คุณหิรัญ
ทวี อรรถโยโค
นิพนธ์ โตสวัสดิ์
บุญส่ง เล้าสุวรรณ
บุญเอก พิทักษ์ดำรงกิจ
ประวัติ แห่งตระกูล
ไพศาล วรรณประเสริฐ
มงคล จิวสิริรุ่ง
อิศรา เหมศาสดร์
ศักดิ์ณรงค์ มีผลกิจ
ร.อ.สงวน เหมือดตะคุ
สุขสวัสดิ์ ศรีรัง
พรชัย วิริยานนท์
กิติพจน์ ชาญเวช
กรัณย์ วุฒิเมธีกุล
สาธิต ศิลปไชย
ยรรยง คูหะเปรมะ
นคร สุคันโธ
สุรชัย ประเสริฐสรวย
วิทยา ติวยานนท์
ศิริพงษ์ -ปทุมวรรณ บุรณศิริ
พล. ต.นเรศวร์ ประเสริฐศิลป์
ไพฑูรย์ วราภาพงษ์
อุเทศ ลีลาวิวัฒน์
ก่อเกียรติ รุ่งสุวนิจฉัย
น. อ. ประทีป ชัยเฉลิมศักดิ์
ประกิตต์ บุญญารักษ์
พล .ต. สัมพันธ์ แจ้งเจนเวทย์
วิสุทธิ์ สุวัณณะสังข์
นภดล พุฒิทานันท์
พล. ต .ต. สมยศ โกเมนธรรมโสภณ
สุรวุฒิ ศาสตระสิงห์
เสริมเวช ช่วยยรรยง
นพ. สิน เศรษฐวรวิจิตร
จิรนัย รัตนาจารย์
บรรพต ฤชุพันธ์
ธเนศ สุคนธะชาติ
ร.อ. อุดม ศรีภิรมย์
พล. ท. วิวัฒน์ วิสนุวิมล
จุมพล อุทัยวัฒน์
สุดสาคร ศักดิ์สูง
โชติวุฒิ ธัชศิริกุล
จุลจักร ภูมิจิตร
ตุลย์ อินทรัมพรรย์
ทวิช สุวรรณแสง
ธงขัย วงศ์วิริยะ
ธนิต ชุษณะโชติ
เอื้อวงศ์ วงศ์ทองเหลือ
นันทชัย ยุกตานันท์
พล ต. ต.บรรจงศิลป์ รักสัดย์มั่น
บุญเทพ วนัสบดีกุล
บุญเลิศ ดวงพลอย
ประพัทธ์ นิติเศรษฐโกวิท
ว่าที่ร้อยตรีประสงค์ เข็มทอง
ดร.พงษ์ศานติ์ พันธุลาภ
พล อินทุวงศ์
เอกเดช สิงหรัดน์
มนัส ไชยเสน
มานพ เทียนสว่าง
ยิ่งยศ อเนกบุณย์
วัฒนา จันทรศร
วันชัย เสริมวิทยากุล
วิชัย กระแสสินธุวานนท์
วิฑูรย์ ไชยเพิ่ม
วิโรจน์ ศิลป์เสวีกุล
วิศิษฐ์ บูรณาการ
พล อ. ต.อารยะ เจตะสานนท์
อาคม นับถือเนตร
สงวนศักดิ์ พวงจินดา
สงัด อุปเถย์
สมเจตน์ นิลเนตรบุตร
สมชาย วิมลจันทร์
สมศักดิ์ นาคเงินทอง
ทศพล จูฑะพล

สุเทพ วานิชกร
สุรศักดิ์ เปรมจิตต์
เสริมศิริ สุขมงคล
โสตถิ โสตภิวัฒน์
อโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์
พ. ต. อ. วิศิษฏ์ นิมิตบุตร
นางพรทิพย์ มัตติกามัย
นางอัญญาพร พานิชกิจ
นางสุนิศา แดงจำรูญ
นางจารุวดี กู้ตลาด
นางนฤมล ศรีจันทร์
นางปัทมา รัชตะวรรณ
นางสิริกานต์ กอนุประพันธ์
ปัทมนิธิ-ฌาริณีย์ เสนาณรงค์
และเพื่อนนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ๒๕๐๔-๒๕๐๖

ประธานกรรมการ สาย สปก.

วรเวทย์ ธำรงธัญลักษณ์

กรรมการ

ฉวีวรรณ ภู่กำชัย
สุจิตรา จริศักดิ์
กุลวิไล สมบัติใหม่
อรยา โมรากุล
มาโนชญ์ คูวรากุล
อุไร ธนานนท์
ดุษณี อื้อเทียน
ธารีสวัสดิ์ พันธ์ฤกษ์
กำธร เจริญวนันท์
รัชดาวรรณ ศิริไพบูลย์
มัลลิกา โชติเวชการ
ลลิตา พึ่งอุดม
ดารณี ชนะชนม์
ดร. โสภิษฐ์ อ่อนแก้ว
สุดา มาลากุล ณ อยุธยา
บุญช่วย อุ่นชัยศรี
สิริสุข สุขค้นธรักษ์
กมล พุทธสุวรรณ
นิยม สิทธินานนท์ชัย
ชัยยุทธนา โตแคล้วภัย
วลัย คุณโลกและครอบครัว
พิชัย สกุลซิ้ม
ธำรงศักดิ์-นภาพร ธาระวานิช
องอาจ-มยุรี มังกรานนท์ชัย
ธวัชชัย-มนต์ทิพย์ รุจิกัณหะ
ชลิดา ศรีเลี้ยง
ประภารัตน์ สินศิริตระกูล
ธีระ สิทธิธรรม
นริศรา ชูยงค์
กาญจนา ตวงชัยธนากร
ลักขณา วรวุฒิวัฒน์
เรวัตร-ดวงแก้ว
โภคาวัฒนา
นิตยา ผิวเหลือง
วิไลรักษ์ ปกป้อง
สมชัย อร่ามพงษ์พันธ์
วัลลภา จารุธีรชน
เปรมจิต สังขพงษ์
ตริตาภรณ์ โขมพัตร
ประยุทธ ทินกร
มนตรี พลพาณิชย์
ภิเศก ธนูรัตน์และครอบครัว
โอวาท-ปรมาพร ยิ่งลาภ
สุรางค์ ผลประเสริฐ
ดาราณี พีรเศรษฐ์
ลักษณา ไชยสุวรรณ์
พรทิพย์ อุ้ยตา
พรรณี สัจจกุล
วิรัลพัชร ทยุตาบุณยวัทน์
สุรีย์ แจ่มแจ้ง
บำรุง คำชื่นและครอบครัว
ฉวี เพ็งนาค
สุชีพ อยู่เลิศ
สุจิตรา สมบุญดี
จุฑาสินี ขำวิไล
ศุภฤกษ์ โกสุขวัฒนะ
ทรรศวรรณ ชลธิศพิทักษ์

การส่งปัจจัย


กรุณาส่งปัจจัยทอดกฐินได้ที่ ดร. สุทธิพร จีระพันธุ (09-4545-2421) หรือ โอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา ซอยอารีย์ เลขที่ 056-250459- 0 ชื่อ นายสุทธิพร จีระพันธุ และ/หรือ นายประกอบ คุปรัตน์ และกรุณาส่งสำเนาใบนำฝากไปทางโทรสารเบอร์ 02-616- 8926 เพื่อจักได้ส่งใบอนุโมทนาบัตรให้อย่างถูกต้อง