Friday, September 18, 2009

มารู้จักเมืองเมลเบิร์น (Melbourne) ประเทศออสเตรเลีย

มารู้จักเมืองเมลเบิร์น (Melbourne) ประเทศออสเตรเลีย

ประกอบ คุปรัตน์
แปลและเรียบเรียง

From Wikipedia, the free encyclopedia
Keywords: cw107, ออสเตรเลีย

Updated: Saturday, September 19, 2009

ภาพ แผนที่ประเทศออสเตรเลีย

ความนำ

ประเทศออสเตรเลีย (Australia) เป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ มีบริเวณทั้งสิ้น 7,686,850 ตารางกิโลเมตร จัดเป็นประเทศใหญ่อันดับที่ 6 ของโลก มีประชากร (Population) สำรวจในปี ค.ศ. 2009 ประมาณ 21,885,016 ล้านคน จัดเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 53 ของโลก หรือมีประชากรประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีความหนาแน่นของประชากร (Density) ที่ 2.833 คน/ตารางกิโลเมตร จัดเป็นความหนาแน่นอันดับที่ 232 ของโลก ซึ่งจัดว่าเบาบางมาก เมื่อเทียบกับประเทศอย่างสิงคโปร์ หรือประเทศไทย


ดังนั้น การจะท่องเที่ยวเพื่อให้ไปถึงในทุกสถานที่ของประเทศจึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา และประกอบกับพื้นที่เป็นอันมาก เป็นเขตแห้งแล้ง ไม่มีผู้อาศัยอยู่มาก การเดินทางข้ามประเทศโดยรถยนต์เป็นเรื่องที่มักไม่ค่อยจะทำกัน การจะไปเที่ยวแบบพอเป็นไปได้ คือ การเดินทางโดยเครื่องบิน แล้วไปเที่ยวย่านเมืองหลัก ดังเช่น เมืองซิดนีย์ (Sydney) อ้นเป็นเมืองใหญ่สุด หรือเมลเบิร์น (Melbourne) ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อ้นดับที่สองของประเทศ


ดังนั้นในช่วงที่เราได้การส่งเสริมการท่องเที่ยวของการบินไทย จึงได้ใช้แต้มสะสมจากการเดินทางที่ผ่านๆมา แล้วรวบรวมแลกตั๋วสำหรับผมและภรรยา จ่ายเงินค่าน้ำมันอีกเล็กน้อย แล้วเดินทางไปเมืองเมลเบอร์นในช่วงวันที่ 23-19 กันยายน ค.ศ. 2009 และในการนี้ได้ศึกษาข้อมูลขึ้นพื้นฐาน เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศก่อนเดินทาง และเพื่อแลกเปลี่ยนกับท่านผู้อ่านทั้งหลาย


ภาพสถานที่่ท่องเที่ยวแนะนำของเมือง Melbourne

ภาพ เมืองเมลเบิร์นในยามคำคืน ถ่ายจากบริเวณท่าเรือ

เมือง Melbourne ตั้งอยู่ในรัฐ Victoria

ประชากร
Population:

3,892,419 คน (2008 Estimate) [1] (2nd)

ความหนาแน่นประชากร
Density:

1566 คน/ตารางกิโลเมตร (km²)
(4,055.9/sq mi) (2006)[2]

ก่อตั้งเมื่อ
Established:

30 สิงหาคม ค.ศ. 1835
30 August 1835

ตำแหน่งที่ตั้ง ดูได้ด้วย GPS
Coordinates:

37°48′49″S 144°57′47″E / 37.81361°S 144.96306°E / -37.81361; 144.96306Coordinates: 37°48′49″S 144°57′47″E / 37.81361°S 144.96306°E / -37.81361; 144.96306

ระดับสูงกว่าพื้นทะเล
Elevation:

31 เมตร (102 ft)

บริเวณ
Area:

8806 ตารางกิโลเมตร
(3,400.0 sq mi)

เขตเวลา
Time zone:

เวลาเปรียบเทียบ
Summer (DST)

AEST (UTC+10)

AEDT (UTC+11)

ระบบบริหารท้องถิ่น
LGA:

จัดแบ่งเป็นเขตเมือง 31 แห่ง รวมเป็นมหานครของเมลเบอร์น
31 Municipalities across Greater Melbourne

เขต
County:

Bourke

รัฐ และเขต
State District:

54 electoral districts and regions

จัดเป็นส่วนของรัฐบาลกลาง
Federal Division:

23 Divisions

อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด
Mean Max Temp

อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด
Mean Min Temp

ปริมาณน้ำฝนตลอดปี
Annual Rainfall

19.8 °C
68 °F

10.2 °C
50 °F

646.9 mm
25.5 in

เมลเบิร์น (Melbourne) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของรัฐวิคตอเรีย (State of Victoria) และจัดเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศออสเตรเลีย และจัดเป็นเขตหลัก ของมหานครเมลเบิร์น ที่รู้จักกันในนามว่า Greater Melbourne metropolitan area ทั้งนี้โดยชื่อ Melbourne เป็นชื่อที่ใช้เรียกกันโดยทั่วไป จากการสำรวจในปี ค.ศ. 2008 มีประชากร 3.9 ล้านคน

ชื่อ Melbourne เป็นการตั้งชื่อตาม 2nd Viscount Melbourne, William Lamb ในปี ค.ศ. 1837 ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศสหราชอาณาจักร (Prime Minister of the United Kingdom) อยู่ในช่วงสมัยครองราชสมบัติของ King William IV และ Queen Victoria เมืองเมลเบิร์นตั้งอยู่บนฝั่งตอนล่างของแม่น้ำยาร่า (Yarra River) และทางตอนเหนือและตะวันออกของท่าเรือฟิลลิป (Port Phillip) และยาวไปจนถึงเขตแผ่นดินที่ใกล้ฝั่งทะเล (hinterland)

ภาพเมืองเมลเบิร์น และแม่น้ำยาร่า
Melbourne and the Yarra in 1928

ในปี ค.ศ. 1835 ได้มีการจัดตั้งเมือง ซึ่งเป็นประมาณ 47 ปีหลังจากได้มีชาวยุโรปได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานจาก Van Diemen’s Land ซึ่งมีลักษณะเป็นเมืองของพวกคนเลี้ยงแกะ (pastoral township) รอบๆเขตที่มีน้ำจืด (estuary) ของแม่น้ำ Yarra และได้กลายเป็นเมืองหลวงของรัฐวิคตอเรีย (Victoria) เมื่อมีการประกาศให้เขตเป็นเมืองขึ้นที่แยกออกจากส่วน New South Wales ในปี ค.ศ. 1851

เมื่อมีการค้นพบแร่ทองคำ (gold) ในเขตเมลเบิร์นในช่วงทศวรรษ 1850s ซึ่งยุคนี้เรียกได้ว่า ยุคตื่นทองของรัฐวิคตอเรีย (Victorian gold rush) วิคตอเรียกลายเป็นเขตเมืองที่มั่งคั่ง จัดเป็นเมืองใหญ่ที่สุดและรวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลกในยุคปี ค.ศ. 1880s

Upon the Federation of Australia in 1901, Melbourne served as the seat of government of the newly founded Commonwealth of Australia until 1927 while the new nation's of Canberra was being built.

ในช่วงปี ค.ศ. 1991 ที่ได้จัดให้มีการปกครองเป็น Federation of Australia เมืองเมลเบิร์นได้กลายเป็นที่ตั้งของ Commonwealth of Australia จนกระทั่งปี ค.ศ. 1927 เมื่อได้เกิดเป็นชาติใหม่ในปี ค.ศ. 1927 เมืองหลวง (capital) จึงได้ย้ายไปตั้ง ณ เมืองแคนเบอร่า (Canberra) ที่ได้ก่อตั้งใหม่

เมลเบิร์นจัดเป็นศูนย์กลางของศิลปะ (arts), การพาณิชย์ (commerce), การศึกษา (education), อุตสาหกรรม (industry), การกีฬา (sports) และการท่องเที่ยว (tourism) ในปี ค.ศ. 2002 ได้รับการจัดอันดับโดยนิตยสาร The Economist ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก และได้รับการจัดอ้นดับให้เป็นเมืองต้นแบบของโลกที่เรียกว่า beta world city+ จากการศึกษาสำรวจเรื่อง การตั้งถิ่นฐานเมือง (The World Cities Study’s inventory) โดยมหาวิทยาลัย Loughborough University

เมืองเมลเบิร์นมีลักษณะพิเศษที่เป็นลักษณะประสมระหว่างแนววิคตอเรียน (Victorian) และสถาปัตยกรรมร่วมสมัย (contemporary architecture) มีเขตสวนสาธารณะและสวนไม้ต้นไม้ดอก (parks and gardens) และเป็นสังคมที่ลักษณะหลายเผ่าพันธุ์ (multicultural society) และเป็นเมืองที่มีเครือข่ายรถรางที่ใหญ่ที่สุด (World’s largest tram network) จัดเป็นเมืองหลวงที่มีสถาบันทางวัฒนธรรมและการกีฬาของชาติ .[15] It is recognised as Australia's 'cultural and sporting capital' and is home to some of the nation’s most significant cultural and sporting institutions.[16]

ในปี ค.ศ. 2007 ได้รับการจัดให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยของโลก โดยสถาบัน RMIT และในปี ค.ศ. 2008 ได้รับการจัดให้เป็นเมืองแห่งวรรณกรรม (City of Literature) โดยองค์การ UNESCO แห่งสหประชาชาติ (UN)

In 2007, it was also ranked in the top five university cities in the Global University Cities Index by RMIT,[17] and was classified as a City of Literature by UNESCO in 2008.[18]

เมืองเมลเบิร์นนอกจากจะได้เป็นเจ้าภาพของานละดับนานาชาติและของชาติ ซึ่งรวมถึงการเป็นที่ตั้งของรัฐบาลแห่งออสเตรเลีย (Parliament of Australia) ที่เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1901

กีฬาโอลิมปิกปี ค.ศ. 1956 Z1956 Summer Olympics), การประชุมกลุ่มประเทศเครือจักรภพ (Commonwealth Heads of Government Meeting) ในปี ค.ศ. 1981การประชุมเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ในปี ค.ศ. 2000, กีฬาเครือจักรภพ ปี ค.ศ. 2006 (2006 Commonwealth Games) และการประชุมกลุ่มประเทศ G20 (G20 Summit) ในปีเดียวกัน

Saturday, September 12, 2009

มารู้จักกีฬาเทนนิส (Tennis)

มารู้จักกีฬาเทนนิส (Tennis)

ประกอบ คุปรัตน์
แปลและเรียบเรียง

Updated: Sunday, September 13, 2009

กีฬา กีฬาเป็นยาวิเศษ

กีฬาเป็นการออกกำลังกาย การทำให้ร่างกายแข็งแรง ห่างไกลจากโรค เป็นการสร้างสุขอนามัยที่ลดปัญหาและค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขหรือการรักษาพยาบาลลงไป ทำให้คนมีความสุข คนเล่นก็สนุก คนดูก็ได้ร่วมสนุก

กีฬาทำให้เป็นคนรู้จักแพ้ รู้จักชนะ เข้าใจความผิดหวังและสมหวัง การเอาชนะ ก็ต้องชนะอย่างถูกกติกา การแพ้ก็ต้องรู้จักทำใจ หากอยากชนะ ก็ต้องไปฝึกซ้อม ใช้ความพยายามกันใหม่

วันนี้ขอแนะนำกีฬาประเภทหนึ่งที่ส่งเสริมให้เล่นได้ทั้งชายและหญิง หากจะส่งเสริมให้เข้าสู่การแข่งขันระดับสากล ก็พอจะสู้กับเขาได้ ไม่เหมือนอย่างกีฬาบาสแก็ตบอล (Basketball) รักบี้ (Rugby) หรืออเมริกันฟุตบอล (American Football) ซึ่งเป็นกีฬาที่คนตัวใหญ่ แข็งแรง ได้เปรียบอย่างมาก

เทนนิส (Tennis) เป็นกีฬาที่คนตัวเล็กไม่เสียเปรียบมาก เป็นกีฬาที่ทุกคนมีสิทธิเล่นได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กอายุ 10-12 ปี หรือคนสูงอายุจนอายุ 60-70 ปี ก็สามารถเล่นได้ หากต้องรู้จักพละกำลังของตนเอง และออกแรงอย่างเหมาะสม เทนนิสเป็นกีฬาที่ไม่ต้องปะทะ หญิงก็เล่นได้ ชายก็เล่นได้

เทนนิส (Tennis)n เป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่เล่นแบบเดี่ยว ระหว่างสองคน ((singles) หรือระหว่างสองทีมที่ประกอบด้วยผู้เล่นฝ่ายละสองคน (doubles).ผู้เล่นแต่ละคน แต่ละฝ่ายจะมีไม้เทนนิสที่ขึงเอ็น (racquet) ใช้ในการตีลูกบอล หรือลูกเทนนิส (Rubber ball) ที่หุ้มด้วยผ้าหรือเส้นใยสักหลาด (Felt) ที่จะต้องตีข้ามตาข่าย (Net) ไปยังบริเวณสนามฝ่ายตรงกันข้าม (opponent's court)

ในเกมเทนนิสยุคใหม่นี้ได้เริ่มขึ้นในประเทศสหรราชอาณาจักร (United Kingdom) ในราวศตวรรษที่ 19 เป็นเกมที่เล่นบนสนามหญ้า เกมนั้นจึงเรียกว่า Lawn tennis หรือเทนนิสบนสนามหญ้า กีฬาเทนนิสได้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็วในหมู่ชนชั้นสูง ก่อนที่จะแพร่หลายไปทั่วโลก และไม่ได้เป็นวัฒนธรรมกีฬาแบบจำกัดชนชั้นอีกต่อไป กีฬาเทนนิสเป็นกีฬาที่จัดแข็งขันในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก

ภาพ สนามเทนนิสมาตรฐาน

สนามเทนนิสมีลักษณะเป็นสีเหลี่ยม (Rectangular) มีขนาดยาว 78 ฟุต (23.77 เมตร) กว้าง 27 ฟุต (8.23 เมตร) สำหรับสนามการแข่งขันเดี่ยว และกว้าง 36 ฟุต (10.97 เมตร) สำหรับการแข่งขันประเภทคู่ นอกจากนี้คือบริเวณรอบๆที่จะต้องเป็นที่โล่ง เพราะนักเทนนิสจะมีการวิ่งล้นขอบ หรือวิ่งไปรอบๆได้อย่างปลอดภัย เท่ากับพื้นที่กว้างและยาว เพิ่มขึ้นอีกเป็น 1 เท่า ส่วนตาข่าย (Net) จะมีความสูง 3 ฟุต 6 นิ้ว (1.07 เมตร) ในบริเวณเสาสองข้าง ส่วนตรงกลางจะมีลักษณะหย่อน แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 91.4 เซนติเมตร

สนามเทนนิส (Courts) เริ่มมีความหลากหลายได้มากขึ้น เช่นเล่นบนลานดินปรับเรียบ (clay court) ปรับดินให้เรียบ ก็ใช้เล่นกันได้ ดังเช่นการใช้ทุ่งนายามที่ไม่เพาะปลูก ลานแห้ง ปรับให้เรียบ ตีเส้น ขึงตาข่าย ก็ใช้เล่นได้ ไม่ตีเทนนิส (Racquet) ในปัจจุบันผลิตเป็นอุตสาหกรรม ราคาในระดับไม่กีร้อยบาทก็หาซื้อได้ บริเวณที่มีลมแรงก็เล่นได้ เพราะลูกเทนนิสเป็นยาง มีน้ำหนักเหมือนลูกขนไก่ในกีฬาแบดมินตันที่ต้องจัดเล่นกันในร่ม หรือในที่ๆไม่มีลมแรง

สนามเทนนิสบนหญ้า (Grass courts) นับเป็นความสวยงาม แต่ปัญหาการดูแลหญ้าที่เมื่อเล่นไปมากขึ้น ก็จะสึก หญ้าจะตาย นับเป็นภาระในการดูแล ในปัจจุบันจึงไม่เห็นมีสนามเทนนิสบนหญ้าให้เล่นกันมากนัก

ในระยะต่อมา การปรับสนามเทนนิสให้เป็นพื้นแข็ง (Hard courts) ดังเช่นพื้นคอนกรีต ปรับพื้นดินให้เรียบเทคอนกรีตเสริมเหล็กเส้น หนาสัก 10-15 เซนติเมตร ตามขนาดของสนามมาตรฐาน ก็สามารถใช้เล่นได้อย่างถาวร เหมาะแก่หมู่บ้าน ชุมชน ตำบล หรือสาธารณสถานจะจัดไว้ให้เยาวชนหรือประชาชนได้มีไว้เล่น เพื่อกีฬาสันทนาการ

ในระยะต่อมา สนามเทนนิสที่เป็นคอนกรีตแข็ง (Hard courts) หากมีการหกล้ม ก็บาดเจ็บถลอกหรือกระดูกแตก จึงมีการเคลือบด้วยยางมะตอยที่ทำเป็นสีเขียว หรือสารยางสังเคราะห์ หรือเป็นยาง ที่สามารถเลือกใช้เป็นสีต่างๆที่มีตีเส้น รองรับการกระแทก ทำให้สามารถนำโรงยิมในร่มมาเป็นสนามเทนนิสเฉพาะกิจ เพื่อการแข่งชันได้ อย่างไรก็ตาม กีฬาเทนนิสยังจัดเป็นกีฬากลางแจ้ง ไม่เหมือนปิงปอง (Table Tennis) หรือบาสเก็ตบอลที่เขาออกแบบมาเป็นกีฬาในร่ม เล่นหรือแข๋งขันในอาคารในร่มได้

ภาพ Umpire คนยืนกลาง กำลังทำความตกลง
กับนักเทนนิสหญิงสองฝ่าย

กีฬาเทนนิสได้เริ่มมีกติกาและเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับ ตั่งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1890s และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1908-1960 เมื่อเสอร์ฟลูกเปิดเกม ผู้เสอร์ฟ (Server) ที่มีเท้าติดพื้นอย่างน้อย 1 เท้าตลอดเวลา หมายความว่าจะกระโดดเสร์ฟไม่ได้ การแข่งขันเทนนิสจะมีกรรมการตัดสิน ถ้าเป็นการแข่งขันในระดับอาชีพ การแพ้ชนะหรือตัดสินพลาดในบางจุดหมายถึงการแพ้หรือชนะไปเลย ดังนั้นในระยะหลังในเกมระดับสำคัญจึงมีการใช้ ตาอิเลกโทรนิกส์ (Electronic review technology) คิอการใช้ภาพที่ถ่ายทอดทางโทรทัศน์ที่เป็นระบบดิจิตอลอยู่แล้วในย้อนกลับมาดู พร้อมใช้โปรแกรมตำแหน่งตกของลูกว่าอยู่ในกรอบ บนเส้น นอกเส้น ฯลฯ ที่ระดับตาข่ายว่าเสอร์ฟถูกเน็ตหรือเปล่า ก็ใช้ระบบอิเลตโทรนิกส์จับการที่ลูกสัมผัสเน็ตหรือไม่ได้อย่างละเอียด ทั้งนี้นอกเหนือไปจากการใช้กรรมการผู้ตัดสิน (Umpire) เป็นผู้ขานคะแนน

ภาพ สถานที่แข่งขันเทนนิส US Open
เมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา

กีฬาเทนนิส นอกจากจะเป็นกีฬาที่ใครๆก็เล่นได้ แม้คนพิการนั่งรถเข็น ก็มีการแข่งขันได้ จึงทำให้มีคนนิยม และเป็นกีฬาที่คนนับล้านทั่วโลกสนใจชมกันอย่างกว้างขวาง และในการแข่งขันที่มีคนนิยมชมมาก ในปัจจุบันมีการจัดการแข่งขันแบบเปิด (Open) ครั้งสำคัญประจำปีของแต่ละชาติในแบบแพ้คัดออก มีสี่รายการที่เรียกว่าในระดับยิ่งใหญ่ หรือ Grand Slam tournaments หรือในบางที่ก็เรียกว่าในระดับใหญ่หลัก หรือ Majors อันได้แก่ the Australian Open จัดแข่งขันบนสนามแข็ง (Hard courts) ในประเทศออสเตรเลีย, the French Open เป็นการแข่งขันบนสนามดิน (Clay courts) จัดแข่งขันในประเทศฝรั่งเศส, Wimbledon จัดแข่งขันบนสนามหญ้า (Grass courts)ในประเทศสหราชอาณาจักร, และ US Open จัดการแข่งขันบนสนามแข็ง (Hard courts) ที่เมืองนิวยอร์ค ในประเทศสหรัฐอเมริกา

ภาพ Bjorn Borg นักเทนนิสชาย รูปร่างไม่ใหญ่โต
แต่มีความเร็ว อดทน ปอดใหญ่ ประสบ
ความสำเร็จในการเป็นนักเทนนิสอาชีพ
คนหนึ่งในประวัติศาสตร์

ภาพ Roger Federer นักเทนนิสชาวสวิส สูง 1.85 เมตร
(หรือ 6 ฟุต 1 นิ้ว) น้ำหนัก 85.0 กก. (187 ปอนด์)
ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์
เงินรายได้จากการแข่งขัน US$ 50,008,919

ภาพ Justin Henin นักเทนนิสหญิงชาวเบลเบี่ยม
รูปร่างเล็ก สูง 1.68 เมตร (5 ฟุต 6 นิ้ว)
น้ำหนักตัว 57 กิโลกรัม (130 ปอนด์)
แต่มีความเร็วเทคนิค และความแม่นยำ
แต่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของโลก

สำหรับนักเทนนิสอาชีพ ในการแข่งขันแบบหญิงเดี่ยว หรือชายเดี่ยว การได้ชนะเลิศสักครั้งในการแข่งขันระดับยิ่งใหญ่แบบ Grand Slam นี้ ถือว่าเป็นความสำเร็จสุดยอดของชีวิตแล้ว เพราะต้องเป็นการสามารถชนะนักเทนนิสอาชีพที่ว่าเก่งที่สุดในโลกแล้ว ต้องชนะนักเทนนิสที่เริ่มต้นที่ 64 คน และชนะแต่ละรอบมา 8 ครั้งติดต่อกันจนท้ายสุดเหลือผู้ชนะเลิศเพียงคนเดียว

สำหรับเด็กๆหรือเยาวชนที่จะเริ่มเล่นกีฬาอะไรสักอย่าง กีฬาเทนนิสนับเป็นกีฬาที่น่าสนใจ เป็นการส่งเสริมสมรรถนะร่างกายแบบรอบด้าน ไม่มีข้อจำกัดทางด้านร่างกายมากจนเกินไป คนร่างกายใหญ่ก็เล่นได้ คนตัวเล็กก็สามารถเล่นจนประสบความสำเร็จได้ แต่แน่นอนว่าคนที่มีรูปร่างและสมรรถนะร่างกายที่เหมาะแก่เกมนั้นมีอยู่ เช่นจะพบว่านักเทนนิสชายระดับอาชีพที่รูปร่างต่ำกว่า 1.75 เมตรจะมีน้อย ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 1.80 – 1.85 เมตรขึ้นไปจนถึงระดับเกือบ 2.00 เมตรก็มี แต่อย่างไรก็ตาม คนตัวเล็กจะเล่นได้ดี ก็ด้วยต้องมีความเร็วสูง มีความอดทน (Stamina) ยืนได้ระยะยาว (Endurance) การลงสนามแต่ละครั้ง จะแข่งขันกันนานถึง 5 เซ็ต (Sets) ใช้เวลา 2-4 ชั่วโมง แข่งขันแบบวันสลับวันในช่วง 2 สัปดาห์ การจะยืนได้ยาวขนาดนั้น ก็คือต้องมีปอด หัวใจ และกล้ามเนื้อที่แข็งแรง และได้สัดส่วน รู้จักใช้กำลัง และออมกำลัง ตลอดจนร่างกายฟื้นตัวได้เร็วกว่าคนอื่นๆ

คนตัวใหญ่มาก หรือสูงมาก ก็มักจะต้องอ่อนด้อยในการพาตัวเคลื่อนไหวในบน court ถูกคู่แข่งขันผลักดันให้เล่นเกมยืดเยื้อ ร่างกายก็จะอ่อนล้าเร็วกว่าคนที่ตัวเล็กกว่า

ในอีกด้านหนึ่ง คนตัวเล็กหรือเตี้ยเกินไป ก็จะเสียเปรียบในด้านพละกำลัง ในการเสอร์ฟลูก เพราะจุดสัมผัสลูกเมื่อโยนขึ้นไปแล้วหวดกดลงมา ก็จะทำได้ไม่สูงนัก สังเกตว่าคนตัวสูงจะได้เปรียบในการเสอร์ฟลูก เสอร์ฟได้แรงและเร็ว กดลูกได้ต่ำ และจะพยายามปิดเกมให้ได้เร็ว ไม่ต้องเสียแรง คนตัวเล็กมีความอดทน ยืนระยะยาวได้ดี ก็จะดึงเกมให้ยืดเยื้อ ใช้การโยกตีสลับซ้ายขวา หน้าและหลัง รวมทั้งหยอดลูก เกมยิ่งยาวและยืดเยื้อ ก็จะยิ่งได้เปรียบ

สำหรับนักกีฬาไทย หากจะหวังให้เล่นได้ดี ก็ต้องสนใจในเรื่องวิทยาศาสตร์สุขภาพ และวิทยาศาสตร์การกีฬา (Sport Sciences) ตลอดจนเข้าใจศิลปะของเกมให้ดี ต้องมีการฝึกฝนทั้งทางร่างกาย เทคนิคของเกม และการมีสภาพจิตใจที่ดี มีสมาธิดี แข็งแกร่ง สู้ไม่ถอย มีวินัยในตนเอง จัดการกับตนเองได้ดี

Saturday, September 5, 2009

เมืองนิวยอร์คเปลี่ยนรถแทกซี่เป็นรถไฟฟ้าลูกประสม

เมืองนิวยอร์คเปลี่ยนรถแทกซี่เป็นรถไฟฟ้าลูกประสม


ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

ศึกษาและเรียบเรียง

Updated: Saturday, September 05, 2009
Keywords: การขนส่ง, เทคโนโลยี, วิถีชีวิต, สหรัฐอเมริกา, รถยนต์ไฟฟ้า, รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสม, Hybrid electric car, New York City, NYC

มหานครนิวยอร์ค (New York City, New York) มีประชากรประมาณ 8.5 ล้านคนมีที่ตั้งอยู่ในเขตตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา จัดเป็นตัวนำการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้าน ทั้งด้านศิลปะ แฟชั่น วัฒนธรรม และรวมถึงวิถีชีวิตอย่างระบบขนส่งในเมือง ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินที่เรียกว่า Subway ในขณะที่โลกต้องแก้ปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เมืองใหญ่อย่างนิวยอร์คก็เป็นตัวนำการเปลี่ยนแปลงที่หลายๆฝ่ายต้องจับตามอง

ดูตัวอย่างจากรถแทกซี่ เมืองนิวยอร์คมีรถแทกซี่ประมาณ62,000 คัน รถเหล่านี้ได้รับการควบคุม
เขาพยายามให้มีปริมาณพอเหมาะแก่ขนาดของเมือง และต้องการควบคุมมลภาวะ.ให้การจราจรไม่ติดขัด

โดยทั่วไป รถโดยสารส่วนบุคคลที่ต้องวิ่งเข้ามาในบางบริเวณดังเช่นเกาะแมนฮัตตัน (Manhattan)
เกือบจะทุกเส้นทางจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสองประการ คือหนึ่ง ค่าผ่านทาง เช่นทางลอดอุโมงค์ใต้ดิน ค่าผ่านทางด่วน และที่สำคัญก็คือเมื่อเข้ามาในหลายบริเวณก็จะต้องหาที่จอดรถ เสียค่าที่จอดรถอย่างแพงระดับอาจถึงเป็นพันบาทต่อวัน


ภาพ รถแทกซี่รุ่นเก่า ที่ใช้ในเมืองนิวยอร์ค เป็นรถขนาดใหญ่ (Full Size)
ภาพ รถแทกซี่สีเหลือง ขนาด Full Size
ที่จะเห็นมีใช้มากทีึ่สุด แต่ต่อไปจะลดลงเป็นลำดับ

รถรับจ้างอย่างแทกซี่เอง ก็มีให้วิ่งอย่างจำกัดตามโควต้า อีกประการที่เขาทำในขณะนี้ คือให้รถต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับมาตรฐานใหม่ของเมือง ซึ่งได้เพิ่มมาตรการเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วย

รถยนต์ที่อนุญาตให้ใช้เป็นรถแทกซี่ในมหานครนิวยอร์คได้จะมีลักษณะพื้นที่สำหรับคนนั่ง ช่วงพักขา
(Leg room) เหยี่ยดขาได้ นั่งสบาย กว้างขวางเพียงพอ มีที่เก็บของในกรณีที่ผู้ใช้บริการเดินทางไปและกลับจากสนามบิน สถานีรถไฟ ที่ต้องมีกระเป๋าเดินทางขนาดใหญ่ ก็สามารถบรรจุได้อย่างเพียงพอ มีความปลอดภัย แม้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ และในยุคต่อไปนี้ คือการสามารถลดมลภาวะทางอากาศ โดยมาตรฐานใหม่รถแทกซี่ต้องใช้พลังงานเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ รถเหล่านี้จะเห็นได้ว่า เขาอนุญาตให้รถประเภทลูกประสมที่ใช้พลังงานปิโตรเลียมร่วมกับระบบไฟฟ้า เกือบจะทั้งหมด ยกเว้นรถ

Volkswagen Jetta
ที่เป็นรถยนต์ใช้เครื่องยนต์ดีเซล (Diesel) ซึ่งใช้น้ำมันประหยัดกว่าเครื่องยนต์เบนซินทั่วไปอีกประมาณร้อยละ 40 นอกจากนี้เทคโนโลยียุโรปที่เรียกว่า Euro Diesel ให้หลักประกันด้านการปล่อยแก๊สเสียออกสู่อากาศในอัตราที่รับได้

ในปี ค.ศ. 2008 เมืองนิวยอร์คได้ให้การรับรองรถยนต์ยี่ห้องและแบบที่จะใช้เป็น รถแทกซี่ได้ดังนี้



รุ่น ค.ศ.


ยี่ห้อและแบบ


เครื่องยนต์


คำอธิบาย

2009



Stretch



รถนั่งขนาดใหญ่ที่ยังคงมีใช้อยู่

2009



Hybrid


รถนั่งขนาดกลาง

2009



Hybrid


รถประเภท
SUV ในแบบเดียวกับMazda Tribute

2009



Hybrid


รถประเภท
SUV

2009



Hybrid


รถประเภท
SUV

2009



Hybrid


รถนั่งขนาดเล็ก

2009



Hybrid


รถประเภท
SUV ในแบบเก๋ง

2009



Hybrid


รถนั่งขนาดกลาง

2009



Hybrid


รถประเภท
SUV

2009



Hybrid


รถนั่งขนาดเล็ก เป็นรถHybrid
ที่ขายดีที่สุดในโลก

2009



Hybrid


รถนั่งขนาดกลาง

2009



Hybrid


รถประเภท
SUV ในแบบเก๋ง

2009



Diesel



รถขนาดเล็กที่ปรับขนาดให้ใหญ่พอสำหรับขนาดคนในอเมริกาเหนือ
เป็นรถยุโรปที่ขายดีที่สุดในอเมริกา

2008



-

modified

Toyota Sienna
(wheelchair accessible) จัดเป็นMinvan

2007



-

modified

Dodge Caravan
(wheelchair accessible) จัดเป็นMinvan

2008



-

modified
Toyota Sienna (wheelchair accessible)
จัดเป็น
Minvan

รถแทกซี่ที่วิ่งตามท้องถนนในเมืองนิวยอร์คในยุคที่ผ่านๆมาจะเป็นรถขนาดใหญ่ (Full size) ที่ใช้น้ำมันเปลือง (Gas-quzzling) ดังรถ Ford Crown Victoria ซึ่งเกือบจะเป็นสัญลักษณ์ของเมืองนิวยอร์คที่เป็นรถแทกซี่สีเหลืองประเภทเดียวกับที่ใช้เป็นรถตำรวจ แต่แนวคิดนี้ได้เปลี่ยนไปในยุคที่ต้องคำนึ่งถึงการใช้น้ำมันเชื่อเพลิงอย่างไม่ประหยัด

ภาพ รถนั่ง Toyota Camry ที่มีใช้กันมาก
และจัดเป็นรถนั่งที่ขายดีที่สุดในสหรัฐอเมริกา

ภาพ รถ Volkswagen Jetta ใช้เทคโนโลยี Euro Diesel
ที่นำมาใช้เป็นรถแทกซี่ในเมือง

ภาพ รถ Chevrolat Malibu รถนั่งขนาดกลาง
ที่เป็น Hybrid จัดทำเป็นรถแทกซี่ได้

แต่ในยุคต่อไปรถจะมีลักษณะหลากหลายขึ้นตอบสนองต่อผู้ใช้บริการรถนั่งขนาดกลาง อย่าง Toyota
Camry, Nissan Altima หรือในชื่อ Nissan Teana ที่มีวิ่งในบ้านเรา, Chevrolet Malibu ซึ่งเป็นรถขนาดกลางของบริษัท GM ในสหรัฐเอง

ภาพ รถนั่งอเนกประสงค์ (SUV) ที่ใช้เป็นระบบรถลูกประสม
ที่จัดเป็นรถแทกซี่ในเมืองนิวยอร์คได้

มีที่เป็นสปอร์ตอเนกประสงค์ หรือแบบ SUV ขนาดที่นั่งสบาย พื้นรถยกสูง ทำให้เวลาขึ้นลงสะดวก จุของได้มากพอ ดังเช่น Ford Escape, Mercury Mariner, Mazda Tribute, Saturn Vue, หรือ Toyota Highlander รถประเภทนี้หากเทียบกับรถนั่งทั่วไปที่เป็นประเภท Sedanจะใช้น้ำมันเปลืองกว่า หากเป็นแบบวิ่งสี่ล้อ แต่หากนำมาใช้เป็นรถแทกซี่ เขาอาจไม่ต้องใช้แบบมี 2 เพลา ส่งกำลังทั้ง 4 ล้อ เพราะส่วนใหญ่เป็นการวิ่งในเมือง บทถนนปกติ

ภาพ รถแบบ Minivan ที่สามารถทำเป็นรถแทกซี่
ในเมืองนิวยอร์คเมื่อเป็นรถนั่งลูกประสม

รถแบบ Minivan ซึ่งเป็นรถมีที่นั่ง 3 ตอนรวมถึงคนขับด้านหน้า จุผู้โดยสารได้มากขึ้น เพราะแบบที่นั่ง 2 ตอนหลัง จุดคนได้ 4-5 คนได้สบาย ซึ่งในอนาคต แทกซี่อาจได้รับอนุญาตให้รับผู้โดยสารซ้อนรายได้
ในกรณีเดินทางไปจุดหมายปลายทางใกล้กันหรือที่เดียวกัน ดังการรับผู้โดยสารจากโรงแรมไปยังสนามบิน
ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของผู้โดยสารที่จะได้ลดค่าโดยสารที่แบ่งจ่าย ทางเมืองเองก็ทำให้ลดการมีรถวิ่งบนท้องถนน และแทกซี่เองก็ได้รับค่าจ้างที่โดยรวมมากขึ้น

ภาพ รถ Toyota Prius เป็นรถขนาดเล็ก ออกแบบมาเป็น Hybrid
มีสถิติประสิทธิภาพการใช้พลังงานดีที่สุดในปัจจุบัน

รถขนาดเล็กอย่าง
Toyota Prius, Honda Civic, หรือ Volkswagen Jetta ซึ่งก็นั่งได้สบายเพียงพอสำหรับขนาดคนมาตรฐานทั่วไป แถมประหยัดน้ำมันเพราะเป็นระบบรถลูกประสม และคันเล็กมีน้ำหนักเบา ในสมัยก่อนๆ จะถือว่าเป็นรถเล็ก คนนั่งแทกซี่ไม่อยากนั่ง คนขับก็ไม่กล้าใช้ เพราะจะไม่มีคนเรียกใช้บริการ แต่ในยุคต่อไป ค่านิยมของคนที่ต้องการรักษาสิ่งแวดล้อม จะทำให้มีคนเรียกใช้บริการรถขนาดเล็กมากขึ้นรถ Minivan หรือรถที่นั่งได้ 7 คนนับว่าเป็นความสะดวกปรับให้คนพิการใช้บริการได้สะดวก หากจัดรับผู้โดยสารจากสนามบินเข้าสู่เมืองสามารถรับผู้โดยสารได้จำนวนมากกว่ารถนั่งธรรมดา 2 เท่า


รถแทกซี่มีมประโยชน์ เพราะโดยเปรียบเทียบ

การมีรถแทกซี่บริการ 4 คันทำให้ลดการใช้รถส่วนตัวในเขตเมืองได้เฉลี่ย 10 คัน แถมรถแทกซี่ไม่ไปแย่งที่จอดรถในเมืองดังรถนั่งส่วนตัว< /p>

การกำหนดให้แทกซี่ที่ใช้ในเมืองนิวยอร์คต้องมีประสิทธิภาพการ ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ระดับ 25 ไมล์/แกลลอน และจะเพิ่มเป็น 30 ไมล์/แกลลอนในปีถัดไป ดังนั้นรถที่จะเข้าข่ายดังกล่าวได้
จึงเป็นรถยนต์ประเภทลูกประสมเป็นส่วนใหญ่ หรือเกือบทั้งหมด

ในแต่ละปี จะมีการเปลี่ยนและนำรถลูกประสมหรือรถประหยัดพลังงานเข้ามาแทนที่รถรุ่นเก่าที่สิ้นเปลืองพลังงานและก่อมลพิษทางอากาศ เท่ากับเปลี่ยนแปลงไปร้อยละ 20 ต่อปีโดยกฎระเบียบของเมือง เจ้าของแทกซี่ต้องเปลี่ยนใหม่ทุก 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้ แม้รถแทกซี่จะเป็นของเอกชน หรือบุคคล แต่ต้องอยู่ในกฎเกณฑ์ของคณะกรรมการควบคุมรถแทกซี่และรถยนต์นั่งบริการ(The Taxi and Limousine Commission)

ซึ่งประธานกรรมการของคณะกรรมการดังกล่าว แต่งตั้งโดยนายกเทศมนตรีของเมืองนิวยอร์ค
ค่ารถยนต์ลูกประสมที่จะใช้มีราคาสูงกว่ารถยนต์ทั่วไปที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างเดียว แต่อัตราการใช้แทกซี่ที่วิ่งระยะทางมากต่อปี ภายในเพียงปีเดียวก็จะคุ้มค่าการประหยัดน้ำมันทดแทนราคาแบตเตอรี่ USD 10,000 หรือประมาณ 350,000 บาท

ดูตัวอย่างจาก Liaquat Janjma อายุ 50 ปีทำงานขับรถแทกซี่กะกลางคืน โดยใช้รถที่เพื่อนเป็นเจ้าของ เมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมา เขาได้เปลี่ยนรถจาก Crown Victoria คันใหญ่ ใช้น้ำมันปกติ มาเป็น Toyota Highlander ใช้เทคโนโลยีรถลูกประสม ด้วยพลังงานน้ำมันปิโตรเลียมและไฟฟ้า ปรากฏผลทันทีคือทุกคืน เขาสามารถประหยัดค่าน้ำมันเชื้อเพลิงได้ระหว่าง USD20-50 หรือประมาณ 700 – 1,750 บาทต่อกะ ถ้าหากขับสองกะ

ทุกวันอย่างในประเทศไทย หนึ่งวันประหยัดเงินได้ถัวเฉลี่ย 2,450 บาท หรือเดือนละ 73,500 บาท หรือปีละ 882,000 บาท นั่นแม้เมื่อบวกค่าซ่อมหรือบำรุงรักษาระบบแบตเตอรี่แล้ว ก็จะยังมีเงินเหลืออีกมากเพียงพอที่จะเป็นแรงจูงใจในการเปลี่ยนรถจากเดิมาใช้เป็นรถรุ่นใหม่ที่เป็นลูกประสม (Hybrid) ที่มีระบบใช้พลังงานไฟฟ้าประสม

ความจริงเมืองใหญ่อื่นๆของสหรัฐอเมริกาอย่าง San Francisco ใน California หรือ Boston ในรัฐ Massachusetts ก็ได้ผลักดันให้มีการนำรถลูกประสมมาใช้ในเมืองเช่นกัน แต่ยังไม่ได้กระทำเป็นขนานใหญ่เหมือนในเมืองนิวยอร์ค

จัดได้ว่าเมืองนิวยอร์คเป็นเมืองต้นแบบด้านการใช้การขนส่งสาธารณะ เมืองนิวยอร์คมีระบบรถไฟฟ้าใต้ดินที่เรียกว่า Subway ที่มีเครือข่ายครอบคลุมกว้างขวางที่สุดในสหรัฐอเมริกา และเมื่อใช้ร่วมกับสเครือข่ายรถประจำทาง (Buses) ซึ่งปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนเป็นรถลูกประสม (Hybrid) ไปแล้วเป็นจำนวนมาก และเมื่อรวมกับรถแทกซี่ซึ่งมีการควบคุมค่าบริการ ทำให้คนนิวยอร์คไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนตัว เพราะแม้รถยนต์โดยทั่วไปในสหรัฐอเมริกาจะมีราคาถูก ไม่เสียภาษีรถยนต์สูงอย่างในยุโรปหรือประเทศไทย แต่การมีรถยนต์ส่วนตัวไม่สะดวกในด้านที่จอดรถ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างนิวยอร์คนายกเทศมนตรี Michael Bloomberg แห่งนครนิวยอร์ค ได้ผลักดันขนานใหญ่ที่จะปรับปรุงระบบรถแทกซี่ของเมือง และหากสำเร็จในวงกว้าง จะเป็นตัวผลักดันให้สหรัฐเองต้องให้ความสำคัญแก่รถและการขนส่งทางเลือก โดยเฉพาะรถลูกประสม ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงร่วมกับระบบไฟฟ้า (Hybrid) วิ่งได้ทั้ววันโดยไม่ต้องรอชาร์ตไฟเข้าแบตเตอรี่อย่างรถไฟฟ้าอย่างเดียว โดยความเป็นจริงแล้ว รถลูกประสมประหยัดพลังงานได้มากถึงร้อยละ 40-50 จากรถธรรมดาหากเป็นการวิ่งในเมืองที่ต้องวิ่งๆหยดๆ แต่สิ่งที่ต้องติดตามคือ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ราคาแบตเตอรี่ที่ต้องเปลี่ยนเป็นระยะ