Tuesday, June 30, 2015

4 กรกฎาคม 1776 วันประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา

 4 กรกฎาคม 1776 วันประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com


ภาพวาด คำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776

Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, governance, government, สหรัฐอเมริกา, US Declaration of Independence, Thomas Jefferson, John Adams, Benjamin Franklin, American Revolution War

ศึกษาและเรียบเรียงจาก United States Declaration of Independence, Wikipedia, the free encyclopedia

คำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา
United States Declaration of Independence

ภาพ สำเนาคำประกาศในปี ค.ศ. 1823
1823 facsimile of the engrossed copy
จัดทำขึ้นเมื่อ
Created
เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม ค.ศ. 1776
June–July 1776
ปรับแก้ไข
Ratified
4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776
July 4, 1776
สถานที่
Location
ฉบับสำเนา จัดเก็บ ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ หอสมุดรัฐสภา
Engrossed copy: National Archives
Rough draft: Library of Congress
ผู้ร่าง
Author(s)
Thomas Jefferson et al.(Engrosser: Probably Timothy Matlack)
การลงนาม
Signatories
ตัวแทน 56 คนในสภาแห่งทวีป
56 delegates to the Continental Congress
วัตถุประสงค์
Purpose
เพื่อประกาศและอธิบายการแยกออกจากอังกฤษ
To announce and explain separation from Great Britain[1]

คำประกาศอิสรภาพ หรือ The Declaration of Independence เป็นชื่อคำประกาศที่ได้รับการยอมรับโดยสภาแห่งทวีป (The Continental Congress) ในยุคอาณานิคมอเมริกา ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 เป็นคำประกาศโดยอาณานิคมอเมริกาทั้ง 13 แห่ง ซึ่งมีผลทำให้เกิดสงครามกับประเทศแม่คืออังกฤษ (Great Britain) คำประกาศนี้ยังผลให้เกิดรัฐอิสระใหม่ 13 รัฐ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอังกฤษ
แทนที่จะประกาศเป็นชาติเกิดใหม่ เขาประกาศเป็น “สหรัฐอเมริกา” The United States of America ในระยะนั้นจอห์น อาดัมส์ (John Adams) เป็นผู้นำผลักดันให้แยกตัวออกเป็นอิสระ ซึ่งได้รับความเห็นชอบเอกฉันท์ในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 และได้มีคณะกรรมการ 5 คน เพื่อร่างคำประกาศนั้นอย่างเป็นทางการ ในคำประกาศไม่ได้มีคำว่า “Declaration of Independence” ปรากฏอยู่


ภาพวาด จอห์น อาดัมส์ ในวัยสูงอายุ และได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่สองของสหรฐอเมริกาแล้ว

จอห์น อาดัมส์ ผู้มีพื้นฐานเป็นนักกฎหมาย เป็นคนชักจูงให้โธมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) เป็นผู้ร่างคำประกาศ และสภาคองเกรส (Congress) เป็นผู้ตรวจสอบปรับปรุงแก้ไขเป็นร่างสุดท้าย คำประกาศนี้เป็นคำอธิบายว่าทำไมสภาคองเกรสจึงออกเสียงในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ประกาศอิสรภาพออกาจากอังกฤษ หลังจากนั้นกว่าหนึ่งปี จึงเกิดสงครามปฏิวัติอเมริกัน (The American Revolution War) และถือเป็นวันชาติของสหรัฐตั้งแต่บัดนั้นจนถึงปัจจุบัน ซี่งคำประกาศถือว่าเป็นในวันที่ 4 กรกฎาคม แม้จอห์น อาคัมต้องการให้เป็นวันที่ 2 กรกฎาคม

หลังจากการร่างคำประกาศ ได้มีการปรับปรุงแก้ไขจนในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 สภาฯได้ลงนามในคำประกาศ คำประกาศนี้ตีพิมพ์ในเอกสารขนาดแผ่นใหญ่ Dunlap Broadside และแจกจ่ายเผยแพร่กันไปอย่างกวางขวางในอาณานิคม

ตัวต้นฉบับจริงที่ใช้เป็นต้นฉบับในการพิมพ์ได้สูญหายไป ซึ่งอาจอยู่ที่โธมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) ซึ่งมีทั้งรอยปรับแก้โดยจอห์น อาดัม (John Adams) และเบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) และมีคำอธิบายของเจฟเฟอร์สันบันทึกในส่วนการเปลี่ยนแปลงที่ทำโดยสภาคองเกรส ซึ่งส่วนนี้มีการเก็บรักษาไว้โดยหอสมุดสภาคองเกรส (Library of Congress)

ในการร่างคำประกาศ มีผู้ถามว่าทำไมจอห์น อาดัมส์ซึ่งมีอิทธิพลในสภาคองเกรส และเป็นนักกฎหมายที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับ ทำไมไม่เป็นคนร่างคำประกาศเสียเอง แต่สนับสนุนให้โธมัส เฟจเฟอร์สัน ผู้แทนจากรัฐเวอร์จิเนียเป็นผู้ร่าง อาดัมส์ให้เหตะผลว่าเขาเองเป็นคนเจ้าอารมณ์ พูดจาโผงผาง สู้ให้โธมัส เจฟเฟอร์สัน ซึ่งเป็นผู้คงแก่เรียน มีความสามารถรอบด้านและรวมถึงทางภาษาศาสตร์ด้วย ให้เป็นคนร่าง ส่วนเขาจะเป็นฝ่ายสนับสนุนผลักดันในสภาคองเกรส


คำประกาศฉบับจริง คือฉบับที่ได้รับการลงนามอย่างเป็นทางการ และมีการจัดเก็บไว้ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ในกรุงวอชิงตัน ดีซี (National Archives in Washington, D.C.


ภาพวาด โธมัส เฟจเฟอร์สัน ผู้ร่างคำประกาศอิสรภาพ และต่อมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่สามของสหรัฐอเมริกา

Sunday, June 28, 2015

GM ท้าทาย Tesla Motors ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า Chevy Bolt EV ในราคาคันละ USD30,000

GM ท้าทาย Tesla Motors ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า Chevy Bolt EV ในราคาคันละ USD30,000

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การขนส่งทางเลือก, alternative transportation, ยานพาหนะทางเลือก, alternative vehicles, พลังงานทางเลือก, alternative energy, รถยนต์ไฟฟ้า, electric vehicles, EVs, รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสม, hybrid electric cars, PHEV, General Motors, Tesla Motors,


ภาพ ผู้บริหารของ GM กับการเปิตดตัวรถยนต์ไฟฟ้าราคาประหยัดที่วิ่งได้ 200 ไมล์ด้วยการชาร์จไฟเพียงครั้งเดียว

บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่สุดของอเมริกา ท้าทาย Tesla Motors ด้วยการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Chevy Bolt EV ที่มีสมรรถนะแข่งกับรถ Tesla Model 3 ด้วยราคาคันละ USD30,000

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia “GM challenges Tesla’s Model 3 with $30,000 Chevy Bolt EV.” Technology, Jun 28, 2015

ท่านรู้หรือไม่ว่าในอเมริกาเอง ก็มีการแข่งขันกันในตลาดรถยนต์ ที่จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทั้งระบบ ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ โดยทางบริษัทรถยนต์ Tesla Motors อันเป็นบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าอันดับต้นของอเมริกาได้มีแผนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าราคาที่คนทั่วไปหาซื้อได้ สามารถวิ่งได้ 200 ไมล์ด้วยการชาร์จไฟครั้งเดียว และในขณะเดียวกัน บริษัทรถยนต์ General Motors อันเป็นบริษัทรถยนต์ใหญ่สุดของอเมริกา ก็มีแผนจะสู้ด้วยการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าขนาดประหยัดที่มีสมรรถนะเดียวกัน และจะสู้ได้ในราคา USD30,000 หรือประมาณ 990,000 บาท ทั้งสองบริษัทมีแผนที่จะนำรถออกตลาดได้ในปี ค.ศ. 2017-2018

Chevrolet Bolt EV ตามการประกาศของ GM สามารถวิ่งได้ 200 ไมล์หรือ 320 กิโลเมตร ด้วยการชาร์จไฟเต็มเพียงครั้งเดียว และสำหรับการชาร์จไฟอย่างเร่งรีบสามารถชาร์จไฟที่สถานีพิเศษ ชาร์จไฟได้เต็มร้อยละ 80 ใช้เวลา 45 นาที ทาง GM โชว์ตัวในงานแสดงรถยนต์นานาชาติที่เมืองดีทรอยต์ ซึ่งเป็นรถออกไปทางสปอร์ต มีหลังคากระจก รถยนต์มีพื้นที่ภายในกว้าง คนนั่งศีรษะไม่ติด และมีพื้นที่เพียงพอสำหรับคนขายาว

ส่วนบริษัท Tesla ยังอยู่ในขั้นสร้างต้นแบบทางวิศวกรรมของ Tesla Model 3 โดยปล่อยให้ทาง GM ออกข่าวไปมากมาย รถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 จะออกสู่ตลาดในปี ค.ศ. 2017 ส่วนรายละเอียดของรถยนต์จะออกมาในปี ค.ศ. 2016 หรือในปีหน้านี้เอง ทาง Elon Musk ผู้บริหารใหญ่ของ Tesla บอกว่าที่จริงเขาอยากให้บริษัทใช้ชื่อรถยนต์ไฟฟ้าใหม่นี้ว่า Tesla Model E แต่ทางบริษัทรถยนต์ Ford Motors ฟ้องว่าไปใช้ชื่อซ้อนกับของ Ford

Tesla กล่าวว่ารถยนต์ใหม่นี้จะมีราคาที่ USD35,000 หรือ 1,155,000 บาทไทย และจะออกสู่ตลาดในปีที่จะถึงนี้ สำหรับราคาในระดับนี้ถือว่าคนทั่วไปในสหรัฐอเมริกาหรืออเมริกาเหนือสามารถหาซื้อได้ ดังเช่น รถยนต์ไฟฟ้า Kia Soul EV ของเกาหลีใต้ วิ่งได้ 93 ไมล์ด้วยการชาร์จไฟครั้งเดียว ราคาใกล้เคียงและถูกกว่าเล็กน้อย คือ USD33,000 ส่วนรถอีกรุ่นหนึ่ง Tesla Model S85D สามารถวิ่งได้ 270 ไมล์ด้วยการชาร์จไฟครั้งเดียว แต่ราคาห่างออกไปอีกระดับหนึ่งที่ USD85,000 ก่อนที่จะได้รับส่วนรถพิเศษจากรัฐบาลกลาง USD7,500

รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ในอนาคต ราคาจะถูกกว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องดีเซล และการเปลี่ยนแบตเตอรี่ก็ง่ายกว่าการเปลี่ยนเครื่องยนต์ ส่วนการชาร์จไฟแบบเร่งด่วนที่ 45 นาที และได้ไฟเต็มร้อยละ 80 แทนที่จะเป็น 5 ชั่วโมงนั้น นับว่าเป็นความสะดวกและลดความกังวลของผู้ใช้อย่างมากแล้ว

GM กล่าวว่ารถยนต์ไฟฟ้าใหม่ของบริษัทนี้จะมีราคาเพียง USD30,000 และจะออกสู่ตลาดในปี ค.ศ. 2017 นอกจากจะชาร์จไฟได้เร็วและมีอายุแบตเตอรี่ที่ยาวนานแล้ว Chevrolet Bolt EV จะได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการจอดรถยนต์ที่พร้อมมีบริการเสริมชาร์จไฟรถยนต์ พร้อมด้วยเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าจะมีซอฟต์แวร์ที่ทำให้ทราบว่ารถยนต์จะใกล้ที่จอดรถพร้อมชาร์จไฟที่ไหน ณ เวลานั้นๆ แต่อย่างไรก็ตาม ทาง GM เคยเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าราคาประหยัดมาก่อนหน้านี้ที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าลูกประสม เรียกว่า Volt Hybrid โดยมีการแสดงตัวเป็นรถยนต์ต้นแบบในปี ค.ศ. 2007 และออกสู่ตลาดในปี ค.ศ. 2010 แต่ผลการตอบรับไม่ดีนัก ไม่สามารถเทียบได้กับรถยนตไฟฟ้าหรู Tesla Model S ที่แม้จะแพงกว่า แต่สามารถทำตลาดได้ดี และเป็นที่ได้รับการตอบรับอย่างดีผิดคาด


สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าทั้งระบบรุ่นใหม่ของ GM นี้จะผลิตที่โรงงาน GM Orion Assembly ที่ Township ในรัฐมิชิแกน


ภาพ รถยนต์ไฟฟ้าหรู Tesla Model S ราคาประมาณ USD75,000 ขึ้นไป  วิงได้ 270 ไมล์ด้วยการชาร์จไฟครั้งเดียว


ภาพ บริษัท Tesla Motors เปิดตัวมาด้วยการสร้างโรงงานชนาดยักษ์ เรียกว่า Gigafactory เพื่อผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าป้อนให้กับ Tesla ที่คาดว่าจะทำให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าถูกลง เพราะแบตเตอรี่จะมีราคาถึงร้อยละ 30 ของรถยนต์ไฟฟ้า

เศรษฐกิจของการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้า

เศรษฐกิจของการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้า

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์, nuclear power plant, HSR, รถไฟความเร็วสูง, high speed train, High Speed Rail Association - USHSR, รถไฟการขนส่ง, transportation, คมนาคมพลังงาน, energy, alternative energy, โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์,


ภาพ โรงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์บรูซ (Bruce Nuclear Generating Station) นับเป็นโรงงานนิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์บรูซ ในประเทศคานาดา นับเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ Kashiwazaki-Kariwa ในประเทศญี่ปุ่นที่ใหญ่กว่านี้ แต่ใช้ได้จริงที่ร้อยละ 48 เนื่องจากแผ่นดินไหว และฝ่ายควบคุมอนุญาตให้ดำเนินการได้อย่างจำกัด โรงงานที่ Bruce ในประเทศแคนาดา มีเตาปฏิกรณ์ 8 ตัว แบบ CANDU Nuclear Reactors มีกำลังผลิต 6,272 MW และ 7,276 MW เมื่อดำเนินการอย่างเต็มที่

ความนำ

โลกยุคใหม่พึ่งพลังงานจากไฟฟ้า แต่หากพลังงานไฟฟ้าต้องอาศัยการเผาปิโตรเลียมหรือถ่านหิน ก็จะไม่เป็นการลดปัญหามลพิษในอากาศและปัญหาโลกร้อน (Global warming) พลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานที่ไม่ต้องอาศัยการเผาคาร์บอน น้ำมันปิโตรเลียม และถ่านหิน ไม่เกี่ยวว่าสถานที่หรือภูมิประเทศนั้นๆมีลมหรือไม่มีลม มีพลังน้ำหรือไม่มีพลังน้ำ ตลอดจนโลกยังมีแหล่งแร่ที่เป็นวัตถุดิบที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้อีกมาก

การใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้ามีความประหยัดมากหรือน้อยกว่าระบบผลิตไฟฟ้าอื่นๆ?

เศรษฐกิจการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้า นับยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ เพราะต้องมีการลงทุนกันด้วยเงินหลายพันล้านเหรียญ หากจะสร้างสักแห่งหนึ่งในประเทศไทย คงต้องใช้เงินประมาณ 50,000 ล้านบาท โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์มีค่าก่อสร้างสูง แต่มีค่าพลังงานต่ำ แต่ก็ต้องคิดถึงค่าสกัดสารกัมมันตภาพรังสี (Fuel extraction) ค่ากระบวนการผลิต (Processing) ค่าจัดเก็บสารกัมมันตภาพรังสี (Fuel storage) ซึ่งจะต้องให้มีความปลอดภัยสูงสุด

เพราะค่าก่อสร้างยังสูงอยู่ ซึ่งจะหักลบกับค่าพลังงานที่ถูกกว่า และเมื่อประเทศโลกพัฒนาแล้ว ได้หันไปคิดภาษีค่าใช้คาร์บอนสูงขึ้น แต่สำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รุ่นที่ 3 ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น และสามารถลดการใช้พลังงานไปได้อีกร้อยละ 17 ค่าการใช้พลังงานนิวเคลียร์จะต่ำลงโดยเปรียบเทียบ

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ยังมีปัญหาด้านการจัดเก็บและทำลายทิ้งขยะนิวเคลียร์

ขยะจากสารกัมมตภาพรังสี ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ และมีเรื่องความปลอดภัยมาเกี่ยวข้อง แต่ปัญหานี้จะหมดไปในวิทยาการใหม่

นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรกำลังออกแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในรุ่นที่ 4 (4th Generation Nuclear Reactors) ที่สามารนำกากนิวเคลียร์ที่เหลือทิ้ง ให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างหมดจรด ไม่ต้องมีปัญหาการจัดเก็บขยะอันตรายอีกต่อไป

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์รุ่นที่ 4 เขาบอกว่าจะใช้พลังงานนิวเคลียร์ได้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม 10,000-30,000% หรือดีกว่าเดิม 100 ถึง 300 เท่า เพราะจะขจัดสารกัมมันตภาพรังสีให้หมดจรดไปเลย


จากปัญหาอุบัติเหตุดังที่เกิดขึ้น ณ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูจิมะ (Fukushima I) หมายเลข 1 ในช่วงเหตุการณ์หลังแผ่นดินไหวและสินามิขนาดยักษ์ ทำให้ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการจัดการพลังงานให้มีความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามการออกแบบโรงไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ ดังเช่น Construction AP1000 โดยใช้ Passive nuclear safety cooling systems ซึ่งไม่เหมือนกับที่ใช้ใน Fukushima I ที่เป็นระบบ Active cooling systems ปัญหาที่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายแบบซ้ำซ้อนเพื่อความปลอดภัยนี้ได้หมดไป


ภาพ การนำน้ำมันปิโตรเลียมมาใช้จะเกิดปัญหาขึ้นมาสักวันหนึ่ง เมื่อน้ำมันหมด ดังได้เคยเกิดปัญหาน้ำมันขาดแคลนในยุคที่ประเ่ทศกลุ่มผู้ผลิตได้รวมหัวกันขึ้นราคาน้ำมันอย่างมาก ดังได้เคยเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา

Thursday, June 25, 2015

จการรถไฟความเร็วสูง (High Speed Rail System – HSR) มีผลบวกต่อเศรษฐกิจของชาติหรือไม่?

กิจการรถไฟความเร็วสูง (High Speed Rail System – HSR) มีผลบวกต่อเศรษฐกิจของชาติหรือไม่?

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: ประเทศสเปน, Spain, HSR, รถไฟความเร็วสูง, high speed train, High Speed Rail Association - USHSR, รถไฟ, การขนส่ง, transportation, คมนาคม, พลังงาน, energy, alternative energy


ภาพ เครือข่ายรถไฟความเร็วสูงของสเปน ยาวที่สุดในยุโรป และเป็นอันดับสองของโลก รองเพียงจากประเทศจีน


ภาพ รถไฟความเร็วสูงในสเปน เหมือนกับการลงทุนด้านนี้ในทุกประเทศทั่วโลก ต้องออกแบบให้เส้นทางวิ่งต้องเป็นเส้นตรง หากผ่านภูเขาก็เจาะอุโมงค์ ผ่านหุบเหว ก็สร้างสะพาน ต้นทุนค่าใช้จ่ายจึงสูง แต่สามารถเพิ่มขีดความสามารถด้านการเดินทางทุดแทนบางส่วนของการบิน และการใช้รถส่วนตัววิ่งบนถนน

ปะสิทธิภาพการใช้พลังงานของ HSR

โดยทั่วไป การขนส่งระบบรางมีประสิทธิผลต่อการขนส่งโดยรวมในบริเวณที่มีประชาชนหนานแน่น (High population density) หรือน้ำมันราคาแพง เพราะรถไฟแบบเดิมใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และรถไฟมีประสิทธิภาพโดยรวมมากกว่ารถยนต์หรือรถโดยสาร โดยเฉพาเมื่อมีจำนวนผู้โดยสารจำนวนมาก (High ridership)

ส่วนรถไฟความเร็วสูง (High Speed Rail System – HSR) มีน้อยคันนักที่จะใช้พลังงานจากเครื่องยนต์ดีเซล แต่จะใช้พลังงานไฟฟ้าจากสถานีจ่ายไฟ ในประเทศญี่ปุ่นและฝรั่งเศสมีเครือข่ายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงอยู่มาก แต่พลังไฟฟ้าเป็นอันมากมาจากโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์

สาย Eurostar ซึ่งวิ่งบนเส้นทางของฝรั่งเศส (French grid) ระหว่างลอนดอน-ปารีส ใช้พลังงานต่ำกว่าเครื่องบินร้อยละ 90 แม้ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าจากการเผาถ่านหินและน้ำมัน รถไฟความเร็วสูงมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานคิดต่อหน่วยผู้โดยสาร/กิโลเมตร ที่เป็นเช่นนี้เพราะรถไฟใช้พลังงานจากเครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่ (Generator technology) และเมื่อใช้จำนวนมาก (Economy of scale) ค่าพลังงานจะยิ่งถูกลง ในด้านแรงเสียดทาน การวิ่งบนรางมีแรงต้านของอากาศน้อยกว่า

ในด้านเครือข่ายรางรถไฟ เทียบกับถนนหลวง จะเป็นเรื่องของความหนาแน่นของประชากร (Population density) ยิ่งหนาแน่นระบบรางยิ่งมีประโยชน์ อีกส่วนคือเรื่องการลงทุนของภาครัฐที่ต้องเกื้อหนุนระบบรางเช่นเดียวกับระบบถนน ซึ่งประวัติศาสตร์คือรัฐมักอุดหนุนระบบทางหลวง แต่ไม่ได้อุดหนุนระบบราง ตัวอย่างดังในประเทศสหรัฐอเมริกา

ประสิทธิผลการจัดการ

อาจมีผู้สงสัยประสิทธิผลการจัดการรถไฟฟ้าความเร็วสูงของสเปน (RENFE) เพราะในประเทศจีน เมื่อมีการส่งเสริมกิจการ HSR แล้ว พบว่ายังไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ รถไฟต้องวิ่งโดยมีที่นั่งว่างจำนวนมาก

RENFE  เป็นคำย่อของคำว่า Red Nacional de los Ferrocarriles Españoles ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า National Network of Spanish Railways – กิจการรถไฟแห่งชาติของสเปน


กิจการ HSR ของสเปนที่เรียกว่า RENFE ก็ประสบปัญหาการใช้งานรถไฟได้อย่างไม่เต็มศักยภาพในช่วงเริ่มต้นของโครงการ เขาจึงได้ใช้วิธีการกำหนดราคาตั๋วแบบเน้นตลาด (Market-based fare) เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 โดยมีผลดำเนินการในช่วง 12 เดือนจนถึงกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 ปรากฏว่า HSR มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 จากจำนวน 12 ล้านคน/ปี เป็น 14.9 คน/ปี ส่วนรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.95 โดยถึงระดับ €784 ล้าน มีผู้โดยสารเต็มร้อยละ 73 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ร้อยละ 65 จากปีก่อน

Wednesday, June 24, 2015

เอลซีด (El Cid) วีรบุรุษแห่งสเปน

เอลซีด (El Cid) วีรบุรุษแห่งสเปน

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: ประวัติศาสตร์, history, ยุโรป, Europe, สเปน, Spain, การเมือง, การปกครอง, politics, governance, military, เอลซิด, El Cid

ศึกษาและเรียบเรียงจาก เอล ซิด (El Cid) จาก Wikipedia, the free encyclopedia
หนึ่งในตำนานวีรบุรุษของสเปน คือเอลซิด (El Cid)


ภาพ อนุสรณ์สถานของเอลซิด (El Cid) 


ภาพ เอลซิด (El Cid) ในภาพยนตร์เรื่อง El Cid (1961) รับบทโดยชาร์ลตัน เฮสตัน

โรดริโก
Rodrigo
เจ้าชายแห่งวาเลนเซีย
Prince of Valencia

ภาพ อนุสรสถานของเอลซิดที่เมืองเบอร์กอส
Statue of El Cid in Burgos by Juan Cristóbal González
เจ้าชายแห่งวาเลนเซีย
Prince of Valencia
ครองอำนาจ
Reign
1094–1099
สถาปนา
Coronation
1094
ผู้ครองอำนจต่อมา
Successor
คู่ครอง
Spouse
Jimena Díaz
บุตรธิดา
Issue
บิดา
Father
Diego Laínez
เกิดเมื่อ
Born
c. 1040
VivarBurgos
เสียชีวิตเมือง
Died
1099
Valencia
ฝังที่
Burial
ลายเซ็น
Signature
Description: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/01/Firma_del_Cid.jpg/125px-Firma_del_Cid.jpg

เอลซีด นักรบที่รบแม้ด้วยชีวิตที่ตายแล้ว

เอลซิด มีชื่อจริงว่า โรดริโก ดิแอซ เดอ วิวาร์ (Rodrigo Díaz de Vivar) เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1043 และเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1099 เขาเป็นขุนนางชาวแคสติเลียนและเป็นผู้นำทางการทหารของสเปนในสมัยกลาง (Medieval Spain) เขาได้รับฉายาว่า “เอลซิด” (El Cid) หรือผู้ยิ่งใหญ่จากพวกมัวร์ (Moors) หรืออีกนามหนึ่งว่า เอล แคมปิดอร์ หรือ แชมเปียน (El Campeador or Champion) โดยพวกคริสเตียน เอลซิดเป็นบุคคลมีจริงในประวัติศาสตร์ที่ได้กลายเป็นตำนาน เป็นวีรบุรุษแห่งชาติของพวกแคสตีล (Castile) เขาเกิดที่วีวาร์ (Vivar) อันเป็นเมืองใกล้กับเบอร์กอส (Burgos)

ตำนานการสู้รับและชีวิตที่ผกผันของเขา จะให้ดีและเข้าใจบรรยากาศมากขึ้น ต้องชมภาพยนตร์เรื่อง El Cid (1958) นำแสดงโดยชาร์ลส์ตัน เฮสตัน และโซเฟีย ลอเรน (Charleston Heston & Sophia Loren) หาชมได้ใน Youtube ครับ

เอลซิดเป็นเชื้อพระวงศ์ในระดับปลาย (Minor nobility) และได้รับการเลี้ยงดูมาในราชสำนักของกษัตริย์เฟอร์ดินานมหาราช (King Ferdinand the Great) และรับใช้ราชวงศ์ต่อมาจนสมัยพระราชโอรสซานโช (Sancho) เขาได้ความก้าวหน้าจนถึงระดับผู้บัญชาการทหารในสมัยของกษัตริย์ซานโชในปี ค.ศ. 1065
ในความขัดแย้งแบบศึกสายเลือด เขาเป็นผู้นำทัพในการสู้รบกับฝ่ายอัลฟองโซ (Alfonso) ผู้น้องของกษัตริย์ซานโช ผู้ปกครองของราชอาณาจักรแห่งลีออง (Leon) และกาลิเซีย (Galicia) และรวมถึงการต่อสู้กับราชอาณาจักรมุสลิมแอนดาลัส (Al-Andalus) เขามีชื่อเสียงในฐานะนักการทหารที่มียุทธวิธีที่เฉียบแหลม เขาช่วยขยายอาณาเขตของแคสติเลี่ยน โดยทำให้ต้องขับไล่พวกมุสลิมและรบกับฝ่ายน้องของกษัตริย์ซานโช แต่ในที่สุดเมื่อกษัตริย์ซานโชถูกสังหาร เขาต้องตกอยู่ในสถานะลำบากในทันที่เมื่ออัลฟองโซ (Alfonso) ได้ขึ้นครองราชย์บัลลังก์ เพราะเป็นเชื้อกษัตริย์สายเลือดตรงที่ยังเหลืออยู่

แม้เอลซิดจะยังคงรับใช้ราชบัลลังก์ของกษัตริย์อังฟองโซต่อไป แม้เมื่อสถาปนาเป็นจักรพรรดิแห่งสเปน เอลซิดได้สูญเสียสถานะและอยู่ในฐานะต้องสงสัย จนในที่สุดในปี ค.ศ. 1081 เขาถูกเนรเทศให้ต้องไปอยู่นอกราชอาณาจักร

เอลซิด หรือ Rodrigo Diaz ต้องทำงานรับใช้ผู้ปกครองมุสลิมของซาราโกซา (Zaragoza) ซึ่งเขาได้ช่วยปกป้องจากอิทธิพลของอรากอน (Aragon) และบาเซโลนา (Barcelona) และเท่ากับเป็นการเพิ่มบารมีของเขาในฐานะนักการทหารและผู้นำ เอลซิดมีชัยในการทำสงครามกับผู้ปกครองชาวมุสลิม เลริดา (Lerida) พันธมิตรชาวคริสเตียน และรวมถึงการสู้รบกับกองทัพพวกคริสเตียนภายใต้กษัตริย์ซานโช รามิเรซแห่งอารากอน (King Sancho Ramirez of Aragon) ในปี ค.ศ. 1086 กษัตริย์อัลฟองโซพ่ายแพ้ต่อพวกอัลมอราวิด (Almoravids) ต้องถอยออกจากอัฟริกาเหนือ ทำให้ต้องละความโกรธแค้นเอลซิด และชักชวนให้เขากลับมาสู้ให้กับราชอาณาจักรสเปนดังเดิม ตลอดเวลาหลายปี เอลซิดหมายมองอาณาจักรเมืองวาเลนเซีย (Kingdom City of Valencia) ซึ่งดำรงอยู่อย่างเป็นเอกเทศจากกษัตริย์อัลฟองโซ
เอลซิดบริหารราชการอย่างเป็นอิสระ ในขณะที่ทางการเมืองได้ให้การสนับสนุนพวกบานู ฮัด (Banu Hud) และราชวงศ์มุสลิมอื่นๆที่ต่อต้านพวกอัลมอราวิด

เอลซิดค่อยๆมีอิทธิพลเหนือเมืองวาเลนเซีย รวมถึงผู้ปกครองอิสลาม อัลคาดีร์ (Al-Qadir) ที่ได้เข้ามาสวามิภักดิ์ในอาณาเขตอิทธิพลของเขาในปี ค.ศ. 1092 อย่างไรก็ตามพวกอัลมอราวิดได้ก่อการกระด้างกระเดื่อง เป็นผลให้ผู้ปกครอง อัลคาดีร์เสียชีวิต เอลซิดจึงได้เข้ายืดเมืองวาเลนเซียในปี ค.ศ. 1094 และสถาปนาเมืองเป็นหัวเมืองอิสระทางชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอเรเนียนของสเปน เอลซิดปกครองเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเขาได้รับการยอมรับทั้งจากฝ่ายคริสเตียนและมุสลิม

ในช่วงบั้นปลายของเอลซิด เขาใช้ชีวิตในการสู้รบกับพวกอัลมอราวิดเบอร์เบอร์ (Almoravid Berbers) เขาเข้าปราบกลุ่มนี้จนแตกพ่ายในปี ค.ศ. 1094 ที่ทุ่งราบคาร์ท (Plains of Caurte) นอกเมืองวาเลนเซีย เขาต่อสู้ต่อมาจนกระทั่งเสียชีวิต แม้เอลซีดจะเสียชีวิต แต่เขาไม่เคยแพ้ที่เมืองวาเลนเซีย แต่เขาต้องเสียใจอย่างมาก ในปี ค.ศ. 1097 เมื่อบุตรชายคนเดียวและทายาทของเขา คือดิเอโก โรดริเกซ (Diego Rodríguez) ต้องเสียชีวิตในสนามรบต่อสู้กับพวกอับมอราวิด เพื่อรับใช้กษัตริย์อัลฟองโซ

หลังเอลซิดเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1099 จิมานา ดิแอซ (Jimena Diaz) ได้ขึ้นครองอำนาจเป็นผู้ปกครองวาเลนเซีย แต่ก็ต้องยอมจำนนต่อพวกอัลมอราวิดในปี ค.ศ. 1102

แม้เอลซิดเสียชีวิตไปนานแล้ว แต่เขายังคงเป็นวีรบุรุษของชาวสเปน บุคลิกและชื่อของเขาเป็นอัมตะ ที่กลายเป็นทั้งบทละคร ภาพยนตร์ เรื่องเล่าพื้นบ้าน เพลง และแม้แต่วิดิโอเกมส์

ข้อมูลเพิ่มเติม


อัลมอราวิด (Almoravids) เป็นราชวงศ์ของชาวอาหรับแห่งเมืองมอรอคโค (Berber Dynasty of Morocco) ซึ่งได้สถาปนาเป็นจักรวรรดิในศตวรรษที่ 11 ซึ่งมีอาณาเขตทางตะวันตกของแมคเรบ (Maghreb) และอัล-แอนดาลุซ (Al-Andalus) ก่อตั้งโดยอับดุลลาห์ บินยาซิน (Abdallah ibn Yasin) มีเมืองหลวงอยู่ที่มาร์ราเกช (Marrakesh) ซึ่งก่อตั้งในปี ค.ศ. 1062 ราชวงศ์นี้ก่อร่างจากชนเผ่าเร่ร่อนเบอร์เบอร์ในทะเลทราย (Normadic Berber tribes) ซาฮารา (Sahara)


ภาพ บาบิเอกา (Babieca) ม้าศึกคู่ใจของเอลซิด


ภาพ เมืองวาเลนเซีย (Valencia) ในปัจจุบัน


ภาพ เมืองวาเลนเซีย (Valencia) .ในยามค่ำคืน

Wednesday, June 17, 2015

อดีตกษัตริย์ฮวน คาร์ลอสแห่งสเปน (Juan Carlos I of Spain)

อดีตกษัตริย์ฮวน คาร์ลอสแห่งสเปน (Juan Carlos I of Spain)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords:ข่าวสังคม, การเมือง, politics, สเปน, Spain, คอรัปชั่น,Corruption, สถาบันกษัตริย์, monarchy, King Juan Carlos, Princess Cristina, อินากิ เออร์แดงการิน, Inaki Urdangarin, Infanta Elena, Duchess of Lugo, Felipe, Prince of Asturias

 ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia


ภาพ อดีตกษัตริย์ ฮวน คาร์ลอส

Juan Carlos I

ภาพ กษัตริย์ฮวน คาร์ลอส ถ่ายในปี ค.ศ. 2009
Juan Carlos I in 2009
ช่วงการครองราชย์
Reign
22 November 1975 –
19 June 2014
วันขึ้นครองบรรลัง
Enthronement
27 November 1975
กษัตริย์ องค์ก่อน
Predecessor
Alfonso XIII
as King of Spain
Rodríguez de Valcárcel
as President of the Regency
กษัตริย์องค์ต่อมา
Successor
นายกรัฐมนตรี
Prime Ministers
See list[show]
คู่ครอง
Spouse
ทรงพระยศ
Issue
Detail
ชื่อเต็ม
Full name
Juan Carlos Alfonso Víctor María de Borbón y Borbón-Dos Sicilias
ราชวงศ์
House
พระบิดา
Father
พระมารดา
Mother
ประสูติ
Born
5 January 1938 (age 77)
RomeItaly
ศาสนา
Religion
ลายเซ็น
Signature
Description: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/f5/Juan_Carlos_I_of_Spain_Signature.svg/125px-Juan_Carlos_I_of_Spain_Signature.svg.png

กษัตริย์ฮวน คาร์ลอส (Juan Carlos) มีพระนามเต็มว่า Juan Carlos Alfonso Víctor María de Borbón y Borbón-Dos Sicilias ประสูติเมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1938 ทรงครองราชย์ในฐานะกษัตริย์แห่งสเปนในช่วงปี ค.ศ. 1975 ถึง ค.ศ. 2014 ก่อนที่จะสละราชบัลลังก์ให้กับพระโอรส ฟิลิเปที่ 6 (Felipe VI)

เมื่อนายพลฟรานซิสโก ฟรังโก (Generalísimo Francisco Franco) ขึ้นครองอำนาจเป็นเผด็จการแห่งสเปน ก่อนหน้านั้นประเทศสเปนได้กลายเป็นสาธารณรัฐที่สอง (Second Spanish Republic) นายพลฟรังโกได้ก่อการกบถที่ประสบความสำเร็จในปี ค.ศ. 1939 และปกครองสเปนในฐานะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนกษัตริย์สเปนที่ลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศ ฮวน คาร์ลอสเป็นหลานปู่ของกษัตริย์อังฟองโซที่ 13 (King Alfonso XIII) ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นกษัตริย์แห่งสเปน โดยข้ามพระบิดา คือฮวนแห่งบอร์บอง (Juan de Borbón) แล้วผ่านการแต่งตั้งมายังฮวน คาร์ลอส ซึ่งนายพลฟรังโกเห็นว่าจะง่ายในการบริหารมากกว่า ฮวน คาร์ลอสได้กลายเป็นกษัตริย์ในวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975 สองวันหลังนายพลฟรังโกเสียชีวิต ส่วนพระบิดากว่าจะให้ความเห็นชอบความเป็นกษัตริย์ก็นานต่อมาอีก 2 ปี จนในปี ค.ศ. 1977 หลังจากได้ครองบัลลังก์ฮวน คาร์ลอสได้เสนอการปฏิรูปโดยลดอำนาจของฝ่ายฟรังโค (Francoist regime) และให้เริ่มการเปลี่ยนผ่านสเปนสู่ความเป็นประชาธิปไตย โดยมีการลงประชามติรัฐธรรมนูญแห่งสเปนในปี ค.ศ. 1978 และเกิดรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมาย กษัตริย์คาร์ลอสทรงมีบทบาทสำคัญในการป้องกันรัฐประหารที่หวังจะให้สเปนกลับไปอยู่ภายใต้รัฐบาลเผด็จการแบบฟรังโกอีก โดยอาศัยพระนามของพระองค์

ในช่วงการครองราชย์ กษัตริย์ฮวน คาร์ลอสได้ทำหน้าที่เป็นประธานของกลุ่มชาติที่อยู่ใต้อิทธิพลของสเปนที่เรียกว่า Ibero-American States Organization ซึ่งมีประชากร 700 ล้านคนใน 24 ประเทศสมาชิก อันประกอบด้วยสเปน ปอร์ตุเกสและประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของสเปนในทวีปอเมริกา ในปี ค.ศ. 2008 พระองค์ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในกลุ่มผู้นำประเทศ Ibero-America ทั้งหมด

ในปี ค.ศ. 1962 ฮวน คาร์ลอสได้เข้าพิธีอภิเษกสมรัสกับเจ้าหญิงโซเฟียแห่งกรีกและเดนมาร์ค (Princess of Greece and Denmark) โดยมีพระโอรสและธิดา 3 พระองค์ อันประกอบด้วย

พระธิดา Infanta Elena, Duchess of Lugo ประสูติเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1964


ภาพ  พระธิดา Infanta Elena, Duchess of Lugo 


พระธิดา Infanta Cristina ประสูติเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1965


ภาพ พระธิดา Infanta Cristina


พระโอรส Felipe, Prince of Asturias ประสูติเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1968 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์แห่งสเปน มีพระนามว่า King Felipe VI


ภาพ กษัตริย์เฟลิเปที่ 6 แห่งสเปน

Saturday, June 13, 2015

เจ้าหญิงคริสตินาแห่งสเปนทรงเสียตำแหน่งในราชวงศ์เนื่องจากต้องเข้าสู่กระบวนการถูกสอบสวน

เจ้าหญิงคริสตินาแห่งสเปนทรงเสียตำแหน่งในราชวงศ์เนื่องจากต้องเข้าสู่กระบวนการถูกสอบสวน

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords:ข่าวสังคม, การเมือง, politics, สเปน, Spain, คอรัปชั่น, Corruption, สถาบันกษัตริย์, monarchy, Princess Cristina, อินากิ เออร์แดงการิน, Inaki Urdangarin

 เรียบเรียงจากข่าว “Spain Princess Cristina loses title amid fraud inquiry.” BBC-Europe, 12 June 2015


ภาพ เจ้าหญิงคริสตินา (Princess Cristina) และนายอินากิ เออร์แดงการิน (Inaki Urdangarin) อาจต้องติดคุกหากพบว่ามีความผิดฐานฉ้อโกง

กษัตริย์ฟิลิเปที่หก (King Felipe VI) แห่งสเปนได้ถอดพระยศตำแหน่ง Duchess of Palma จากน้องสาว เจ้าหญิงคริสตินา ผู้จะต้องถูกขึ้นศาลในข้อหาหลีกเลี่ยงภาษี

เจ้าหญิงคริสตินาได้รับตำแหน่ง Duchess of Palma ในปี ค.ศ. 1997 เมื่อทรงสมรสกับนายอินากิ เออร์แดงการิน อดีตนักกีฬาแฮนด์บอลในโอลิมปิกส์ ผู้ซึ่งถูกกล่าวหาหลีกเลี่ยงภาษี

เจ้าหญิงได้ทรงขอให้กษัตริย์แห่งสเปนซึ่งเป็นพี่ชายให้ปลดเธอออกจากตำแหน่ง ทนายของเจ้าหญิงกล่าว แต่ทางสำนักราชวังได้กล่าวว่ากษัตริย์ฟิลิเปได้ตัดสินใจปลดเจ้าหญิงก่อนที่จะได้รับคำขอ เจ้าหญิงปฏิเสธคำกล่าวหาว่าหลบเลี่ยงภาษี

อัยการของ Palma de Mallorca ได้ดำเนินการสืบสวนธุรกิจของนายอินากิ เออร์แดงการินมานานแล้ว

เออร์แดงการินถูกตั้งข้อกล่าวหา 15 กระทงอันเกี่ยวกับการยักยอกเงินหลวง 5.6 ล้านยูโร จากสถาบันนูซ (Noos Institute) ซึ่งเป็นองค์กรสาธารณกุศลเพื่อการกีฬา เขาจัดการกองทุนนี้ร่วมกับเพื่อนนักธุรกิจด้วยกัน เจ้าหญิงเองถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการกล่าวหานี้

นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สเปนยุคใหม่ ที่สมาชิกในราชวงศ์ต้องถูกกล่าวหาและต้องถูกสอบสวนในศาลในกรณีคอรัปชั่นอื้อฉาว


เจ้าหญิงคริสตินาเป็นธิดาองค์เล็กของอดีตกษัตริย์ฮวน คาร์ลอส ซึ่งได้สละราชบัลลังค์ให้กับฟิลิเป พระโอรสของพระองค์เอง

Friday, June 12, 2015

หุ้นยุโรปตกท่ามกลางความกลัวกรีกผิดนัดจ่ายเงิน

หุ้นยุโรปตกท่ามกลางความกลัวกรีกผิดนัดจ่ายเงิน

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: ข่าว, news, กรีก, Greece, ภูมิศาสตร์, geography, เศรษฐกิจ, economics, การเมือง, politics, การเงิน, monetary, การคลัง, finance, IMF

เรียบเรียงจาก “European shares fall amid Greek default fears.” ข่าวจาก BBC - Business, June 13, 2015


ภาพ วิกฤติการเงินการคลังในประเทศกรีก

เสาร์ที่ 13 มิถุนายน 2015 - หุ้นในยุโรปตกหนักท่ามกลางรายงานจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ EU ที่รายงานความเป็นไปได้ว่ากรีกจะผิดนัดการจ่ายเงินเป็นครั้งแรก

หุ้นในตลาดกรุงเอเธนของกรีกลดลงเกือบร้อยละ 6 Dax ของเยอรมนีและ Cad 40 ของฝรั่งเศสลดลงมากกว่าร้อยละ 1 ส่วนหุ้นในสหรัฐ Dow Jones Index ลดลงร้อยละ 0.8

กรีกมีปัญหาขาดสภาพคล่อง พยายามที่จะเจรจาผ่อนผันให้จบ เพื่อจะได้ไม่ผิดนัดการจ่ายเงิน €1,500 ล้านที่จะต้องจ่ายให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งการจ่ายเงินจะต้องทำให้เสร็จภายในก่อนสิ้นเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2015 นี้

ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ของ IMF ได้เดินออกจากการประชุมกับฝ่ายการเมืองของกรีกที่กรุงบรัสเซล ด้วยเหตุมีความแตกต่างกันในทางออก

ในวันพฤหัสบดี หุ้นในกรุงเอเธนของกรีกก็ยังดีอยู่ด้วยคาดหวังว่ากรีกจะสามารถเจรจากับเจ้าหนี้ได้สำเร็จ หุ้นของกรีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 นับเป็นผลงานที่ดีที่สุดในรอบหลายๆสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่การที่ IMF เดินออกจากที่ประชุมสร้างความกังวลให้กับนักลงทุนทั้งหลาย

ในวันศุกร์ Jeroen Dijsselbloem ประธานของกลุ่มรัฐมนตรีการคลังของชาติยุโรปได้กล่าวว่า “การเจรจาโดยไม่มี IMF เป็นสิ่งที่ “นึกภาพไม่ออก”

หลังจากทราบผล หุ้นของธนาคารแห่งกรีกลดลงกว่าร้อยละ 10 ในขณะที่ธนาคาร Piraeus Bank ลดลงกว่าร้อยละ 11.5 หุ้นในยุโรปและสหรัฐก็ร่วงลงเช่นกันด้วยเกรงว่าการผิดนัดจ่ายเงินของกรีกจะสร้างความกังวลให้กับผู้ลงทุนทั้งหลาย

อย่างไรก็ตามประธานาธิบดี Angela Merkel ของเยอรมนีได้กระตุ้นให้ทุกฝ่ายยังต้องเจรจาต่อไป ในการพูด ณ ที่ประชุมทางธุรกิจแห่งหนึ่งในเบอร์ลิน เธอกล่าวว่า “ที่ไหนมีความพยายาม ที่นั่นมีความสำเร็จ แต่ความพยายามต้องมาจากทุกฝ่าย จึงจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องหันหน้าเข้าเจรจากัน”

Thursday, June 11, 2015

Hughes H-4 Hercules ความล้มเหลวคือบ่อเกิดของความสำเร็จ

Hughes H-4 Hercules ความล้มเหลวคือบ่อเกิดของความสำเร็จ

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การขนส่ง, transportation, การบิน, aviation, อากาศยาน, airplane, US Air Force, Hughes Aircraft Company, Hughes H-4 Hercules, Spruce Goose


ภาพ Hughes H-4 Hercules ทดสอบการบินครั้งแรก และครั้งเดียว

Hughes H-4 Hercules หรือที่รู้จักกันในนาม Spruce Goose จดทะเบียนลิขสิทธิ์ในเลขที่ NX37602 เป็นเครื่องบินต้นแบบที่ถือเป็นเครื่องยุทธศาสตร์ในการขนส่งทางอากาศ ออกแบบและสร้างโดย Hughes Aircraft Company ของมหาเศรษฐี Howard Hughes โดยหวังให้เป็นเครื่องบินที่บินข้ามหาสมุทรแอตแลนติกได้ แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เครื่องบินยุทธศาสตร์นี้ไม่สามารถสร้างเสร็จทันวัตถุประสงค์ได้ เครื่องบินได้มีการทดสอบบินสั้นๆเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 เครื่องบินสร้างด้วยไม้ เพราะในช่วงสงคราม อลูมิเนียมเป็นแร่ธาตุสงวนให้ใช้ได้เพียงในการทหาร และอีกด้านหนึ่งคือการคำนึงถึงข้อจำกัดด้านน้ำหนัก ชื่อ “Spruce Goose” ได้ฉายามาจากการเป็นเครื่องบินใหญ่มากที่สร้างจากไม้และคนไม่คิดว่าจะบินได้

Hercules เป็นเครื่องบินน้ำ (Flying boat) ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา มีปีกที่กว้างที่สุดกว่าเครื่องบินใดในประวัติศาสตร์ ปัจจุบันนี้ยังคงมีอยู่ และอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่แสดงอยู่ Evergreen Aviation & Space Museum ที่เมือง McMinnville ในรัฐโอเรกอน ทางฝั่งตะวันตกประเทศสหรัฐอเมริกา (Oregon, United States)



ภาพ Hughes H-4 Hercules อำนวยการออกแบบและสร้างโดย Howard Hughes มหาเศรษฐีเจ้าของบริษัท Hughes Aircraft Company


ภาพ ภาพสุดท้าของมหาเศรษฐี Howard Hughes ที่กลายเป็นบุคคลลึกลับ อยู่อย่างเก็บตัว


ภาพ เครื่องบินยักษ์ Hughes H-4 Hercules ที่จัดเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ สามารถไปเยี่ยมชมได้



อินโดนีเซียตั้งเป้าพลังงานหมุนเวียนให้มีส่วนแบ่งร้อยละ 19 ในปี ค.ศ. 2019

อินโดนีเซียตั้งเป้าพลังงานหมุนเวียนให้มีส่วนแบ่งร้อยละ 19 ในปี ค.ศ. 2019

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: ประเทศอินโดนีเซีย, Indonesia, พลังงาน, energy, พลังงานทางเลือก, alternative energy, พลังงานหมุนเวียน, renewable energy, geothermal energy, wind energy

จากบทความเรื่อง "Indonesia Sets 19% Renewable Energy Target For 2019" CleanTechnica วันที่ 11 มิถุนายน 2015 โดย Smiti Mittal,


ภาพ อินโดนีเซียได้ชื่อว่าอยู่ในบริเวณ Ring of Fire มีภูเขาไฟมากมายที่สามารถใช้พลังความร้อนใต้ดินมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าได้


ภาพ วิธีการเจาะไปสู่ระดับใต้พิภพ ที่จะปลดปล่อยความร้อนออกมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า




ภาพ โรงงานไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากใต้ดินในประเทศอินโดนีเซีย

ประเทศอินโดนีเซียประกาศเป้าหมายระยะสั้นที่จะเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) ในประเทศอินโดนีเซีย หนึ่งในประเทศสมาชิกของ ASEAN ได้ประกาศว่าเป้าหมายระยะกลางของประเทศคือเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนให้เป็นร้อยละ 25 ในปี ค.ศ. 2025 หรืออีก 10 ปีข้างหน้า ส่วนในเป้าหมายระยะสั้นในปี ค.ศ. 2019 พลังงานทดแทนจะเป็นร้อยละ 19

ในปัจจุบัน พลังงานทดแทนอยู่ที่ร้อยละ 5 ถึง 6

สิ่งที่น่าสนใจคือการประกาศเป้าหมายระยะกลางนี้มาก่อนการประชุมสุดยอดเรื่องความเปลี่ยนแปลงด้านสภาวะอากาศ (Climate Change)ณ กรุงปารีสที่จะมีขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาอย่างก้าวหน้า ซึ่งรวมถึงอินโดนีเซียได้ถูกกดดันให้ต้องมีเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนที่ชัดเจน
พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal energy) ได้รับการคาดหมายว่าจะอยู่ในแผนพัฒนาพลังงานทางเลือกนี้ ซึ่งว่าอินโดนีเซียที่เต็มไปด้วยภูเขาไฟจะมีศักยภาพผลิตไฟฟ้าจากความร้อนใต้พิภพได้ถึง 29 GW ซึ่งเท่ากับร้อยละ 40 ของพลังงานใต้ดินที่มีสะสมอยู่ ในขณะปัจจุบัน มีไฟฟ้าจากความร้อนใต้พิภพมากกว่า 1 GW ที่ได้มีการใช้งาน หรืออยู่ในระหว่างการพัฒนา รัฐบาลเองต้องการเร่งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนใต้พิภพนี้ นอกจากนี้รัฐบาลยังมองไปที่พลังไฟฟ้าจากลม โดยจะมีโครงการพลังไฟฟ้าจากลม โดยจะเริ่มที่ขนาด 50 MW โดยความร่วมมือระหว่างอินโดนีเซียกับบริษัทอเมริกัน โครงการจะเริ่มได้ในปี ค.ศ. 2019


อินโดนีเซียวางแผนที่จะเพิ่มการลงทุนทางด้านพลังงาน โดยรัฐบาลได้เตรียมงบประมาณมากกว่า USD300,000 ล้าน ซึ่งรวมถึง USD38,000 ล้านจะเป็นพลังงานหมุนเวียน