Saturday, March 19, 2011

อานุภาพของกล้องถ่ายรุนแรงกว่าปลายกระบอกปืน


อานุภาพของกล้องถ่ายรุนแรงกว่าปลายกระบอกปืน

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

โม หรือโมฮัมเหม็ด แนบบูส (Mohammed "Mo" Nabbous) เกิดเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983 เสียชีวิตวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2011 เป็นนักจัดการสื่อสารที่เรียกว่า Blogger ชาวลิเบีย เป็นนักหนังสือพิมพ์เอกชน พำนักอยู่ที่เมืองเบงกาซี (Benghazi) ประเทศลิเบีย (Libya) ในช่วงการลุกฮือของประชาชนในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 ในประเทศลิเบีย เขาได้ก่อตั้งโทรทัศน์อิสระ ชื่อ Libya Alhurra TV นับเป็นโทรทัศน์เอกชนแห่งแรกที่เกิดขึ้นในเขตปกครองภายใต้การควบคุมของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลกัดดาฟี ที่เรียกว่า National Transitional Council.[1]

โม หรือโมฮัมเหม็ด แนบบูส (Mohammed "Mo" Nabbous)

ผมไม่กลัวตาย แต่กลัวที่จะแพ้ในการต่อสู้ครั้งนี้
"I am not afraid to die, I am afraid to lose the battle." Martyr of the 2011 Libyan Uprising

ชีวิตภูมิหลัง
Background

Live on Libya Alhurra TV in Benghazi on 19 Feb 2011

โมเป็นคนที่ Andy Carvin นักยุทธศาสตร์ด้านสื่อสังคม (NPR social media strategist) ให้ฉายาเขาว่า เป็นหน้าของนักหนังสือพิมพ์ภาคประชาชนแห่งลิเบีย เขาเป็นคนที่สื่อต่างชาติอาศัยรับข้อมูลต่างๆจากภายในลิเบียที่สื่อต่างๆถูกควบคุมโดยภาครัฐบาลภายใต้การนำของกัดดาฟี โมได้จัดตั้งโทรทัศน์ผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นการสื่อไปทั่วโลก คือ Libya Alhurra TV, ที่เผยแพร่ไปทั่วโลกผ่าน Livestream.com

เมื่อกัดดาฟีปิดการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตในช่วงการลุกฮือเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 โมได้ใช้การเชื่อมต่อการสื่อสารของเขาผ่านดาวเทียมที่ไม่ถูกกฎหมาย เผยแพร่ข่าวสารจากภายในเมือง Benghazi ไปทั่วโลก ถือเป็นเสียงเสรีของชาวลิเบียที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ Clemens Höges จากสื่อ Der Spiegel กล่าวว่า โมคือคนที่อาจสำคัญที่สุดในการปฏิวัติในลิเบีย หากเขาไม่เสียชีวิตเสียก่อน

โมเสียชีวิตแล้ว โดยเชื่อว่าเขาถูกฝ่ายกองกำลังสวามิภักดิ์ต่อกัดดาฟีในเมืองเบงกาซีในขณะที่รายงานข่าวว่า การแถลงยุติการสู้รบของกัดดาฟี ตามประกาศเขตห้ามบินเหนือลิเบียตามมติสภาความมั่นคงของสหประชาชาติ (United Nations Security Council Resolution 1973) นั้นเป็นการหลอกลวง เพราะหลังจากประกาศ ฝ่ายกัดดาฟียิ่งระดมการถล่มเมืองเบงกาซีอย่างหนัก

โมเสียชีวิตด้วยวัยเพียง 28 ปี

Monday, March 7, 2011

กัดดาฟีต้องการเจรจากับฝ่ายต่อต้าน

กัดดาฟีต้องการเจรจากับฝ่ายต่อต้าน

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

วันที่ 8 มีนาคม 2010 เวลา 9:30 น กรุงเทพฯ - ศึกษาและเรียบเรียงจาก Robert Weller, Allvoice

RT @sanfaiz1991: Reports: Gaddafi Ready To Get Out Of Dodge - http://tinyurl.com/5r6fhdy - #Tripoli #Tragedy #Libya - robertweller

ขณะนี้จะมีข่าวที่ไม่ได้รับการยืนยันจากหลายฝ่ายว่า Muammar Gaddafi ผู้นำเผด็จการของลิเบีย ต้องการเปิดช่องเจรจา แต่ขณะเดียวกันก็ความพยายามระดมบุกใหญ่ในหลายเมือง เพื่อให้เห็นว่าในทางการทหารแล้ว ฝ่ายรัฐบาลเป็นฝ่ายได้ชัยชนะ ส่วนหนึ่งเพื่อบีบให้ฝ่ายตรงข้ามทนบอบช้ำไม่ไหวว ต้องเปิดเจรจา

แต่ในการเจรจานั้น เขาคงต้องการเงินจำนวนมากที่จะมีติดตัวไปด้วย ซึ่งฝ่ายต่อต้านคงไม่สามารถเห็นด้วยได้

ในอีกด้านหนึ่ง คงไม่มีเงินที่ไหนมีความสำคัญ เพราะเงินของเขาได้ถูกอายัดไว้ทั่วโลกแล้ว สิ่งที่เขากลัวยิ่งกว่าคือการจะถูกนำตัวขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ พิจารณาความผิดฐานกระทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ซึ่งคงจะมีคนช่วยให้รอดได้ยาก

อีกข้อหนึ่ง เขาคงต้องการความปลอดภัยจากการลอบสังหาร แต่เรื่องนี้ก็ไม่มีใครมีหลักประการให้ได้ ดัง เผด็จการ Somoza (Anastasio Somoza Debayle) ครองประเทศนิคารากัว หลังจากต้องลงจากอำนาจไปเมื่อถูกขับไล่ออกจาก Nicaragua ก็มีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นาน ก็ต้องถูกกองกำลังฝ่ายตรงข้ามลอบสังหาร จบชีวิตด้วยวัยเพียง 57 ปี

Robert Weller is based in Denver, Colorado, United States of America, and is Anchor for Allvoices

Saturday, March 5, 2011

มารู้จักสงครามกองโจร Guerrilla Warfare

มารู้จักสงครามกองโจร Guerrilla Warfare

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: การสงคราม, ยุทธศาสตร์, สังคม, การเมือง

Guerrilla warfare = สงครามกองโจร เป็นรูปแบบการสู้รบที่ไม่ปกติ ด้วยการมีกำลังรบที่แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ใช้กลยุทธการรบ เช่นการดักโจมตี (ambushes), การก่อวินาศกรรม (sabotage), การตรวจค้นหรือเข้าปล้น (raids)

สงครามในลักษณะนี้ใช้โดยกลุ่มคนที่มักเสียเปรียบที่จะต่อสู้ในแบบสงครามปกติทั่วไป หรือเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งไม่สามารถใช้การต่อสู้อย่างสันติได้ ทางออกประการหนึ่งคือการหันมาจับอาวุธในการต่อสู้ และเป็นการเลือกต่อสู้ในสถานที่ เวลา และโอกาสที่คนกลุ่มน้อยไม่เสียเปรียบ

คำว่า Guerrilla เป็นคำที่มาจากภาษาสเปน แปลว่า Little war หรือ สงครามเล็กๆ คำนี้มีใช้กันมากในช่วงศตวรรษที่ 18 หรืออาจจะก่อนหน้านั้น

การรบในลักษณะเช่นนี้มีการใช้กันมากมายในประวัติศาสตร์และปัจจุบัน รวมทั้งในประเทศไทย ส่วนการสู้รบนั้น หากเป็นการต่อสู้ในป่าทึบ ก็อาศัยความทึบในป่านั้นเป็นที่กำบัง แต่หากเป็นการต่อสู้ในเขตเมือง ก็อาศัยการซ่อนตัวอยู่ตามที่ๆมีฝ่ายของตน เป็นพรรคพวกอยู่ในเมืองนั้นๆ ตอนกลางวันก็เป็นเหมือนคนทำงานทั่วไป แต่ตอนกลางคืน ตามการนัดหมายก็ออกมาปฏิบัติการตามที่ได้ตกลง การทำการรบในลักษณะนี้อาจไม่ได้หวังที่จะชนะสงครามได้ในทันที แต่เป็นการทำให้ฝ่ายศัตรูลังเล เสียขวัญ และสับสน

การสู้รบในเมืองในลักษณะดังกล่าวจีงถูกเรียกว่า Urban Guerrilla หรือกองโจรสู้รบในเมือง

ส่วนเมื่อเวลาพร้อมแล้ว ก็จะมีการใช้กำลังรบที่แข็งแกร่งเข้าต่อสู้ หรือยาตราทัพเข้าเมือง โดยมีการต่อต้านน้อยที่สุด หรือฝ่ายตรงข้ามไม่อยู่ในฐานะที่จะต่อสู้ได้แล้ว

Thursday, March 3, 2011

มารู้จักเมืองมิสราตา (Misurata) ของลิเบีย

มารู้จักเมืองมิสราตา (Misurata) ของลิเบีย

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: ภูมิศาสตร์, เศรษฐกิจ, การเมือง, Libya, ลิเบีย

มิสราตา Misurata เขียนในภาษาอาหรับว่า Arabic: مصراتة[1], หรือ Mişrātah[2] และ Madīnat Mişrātah[3]

ภาพ แผนที่เมือง Misurata ในประเทศลิเบีย

เป็นเมืองหนึ่งอยู่ในเขตปกครอง Misurata District ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ Libya ห่างไปทางตะวันออกของ Tripoli เป็นเมืองที่ติดชายฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียนใกล้อ่าวที่เรียกว่า อ่าวมิสราตา เมื่อนับทั้งเขตจะมีประชากรประมาณ 550,000 คน ทั้งนี้หมายรวมถึงเมือง Bani Walid เมือง Misurata จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับสามของลิเบีย รองจาก Tripoli และ Benghazi

เมืองได้รับฉายาว่าเป็นเมืองหลวงทางธุรกิจของลิเบีย อ่าว Misurata มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Qasr Ahmed

Misurata ปัจจุบันจัดเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดในลิเบียในด้านรายได้ มีอุตสาหกรรมเบา เช่น พรม ผลิตภัณฑ์นม ผ้า และอื่นๆ มีอุตสาหกรรมหนัก เช่น เหล็ก และสิ่งที่ทำจากเหล็ก เมืองมีศักยภาพที่จะดึงดูดคนอพยพย้ายถิ่นมาอยู่มากขึ้น เพราะเมืองและบริเวณโดยรอบเป็นพื้นที่ราบ มีท่าเรือในเมืองข้างเคียงที่อยู่ในเขตเดียวกัน คือ เมือง Qasr Ahmad

ในด้านการศึกษา เมืองมีมหาวิทยาลัยของเมือง ชื่อ 7 October University มี 15 คณะ มีสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆรวมทั้งคณะของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกับเมืองอื่นๆในลิเบีย เช่น Al-Tahadi University แห่งเมือง Sirt และ Al Fateh University แห่งเมือง Tripoli

แผนการยึดครองทริโปลี ปราการสุดท้ายของกัดดาฟี

แผนการยึดครองทริโปลี ปราการสุดท้ายของกัดดาฟี

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

แปลและเรียบเรียงจาก “Road map for ending 'Tripoli's siege' “ Middle East Star, Thursday 3rd March, 2011, (Source: The Daily Star)

Keywords: ยุทธการณ์ "ม้าไม้เมืองทรอย" Trojen Horse

อ่าน http://pracob.blogspot.com/2010/11/trojan-horse.html

วันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 2011

ยุทธศาสตร์ของฝ่ายต่อต้าน (Anti-Gaddafi protesters) ในการเข้ายึดครองทริโปลีปราการด้านสุดท้ายของกัดดาฟี ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ มีประชากร 1.2 ล้านคน และอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝ่ายกัดดาฟีมาตลอด ต้องอาศัยการรุกล้อมด้วยประชาชน กดดันต่อฝ่ายกัดดาฟี ย่อมจะใช้กำลังทหารจากภายนอกแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้

The strategy of breaking up Gadhafi's siege of Tripoli requires a popular countersiege on the regime.

Countersiege = การแหกวงล้อม

การใช้ Countersiege โดยการรุกฮือของประชาชนภายในเมือง ในจุดที่พอจะทำได้ โดยสร้างแรงกดดันทางจริยธรรมต่อฝ่ายกัดดาฟี บวกกับการสร้างกลุ่มต่อต้านกัดดาฟีขึ้นภายในเมือง Tripoli โดยเริ่มจากเขตชานเมือง (Suburban) บางจุด โดยการนำยารักษาโรค และอาหารไปยังบางบริเวณใน Tripoli สร้างแนวความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ช่วยคนที่ได้รับบาดเจ็บ แม้จะต้องเผชิญกับฝ่ายรักษาความมั่นคงของกัดดาฟีเป็นครั้งคราว

The countersiege by the uprising is aimed at imposing moral pressure on the regime, coupled with attempts to create pockets of resistance in the capital's suburbs with the objective of bringing medicine and food to some areas in Tripoli, and creating humanitarian corridors to assist those who are wounded in any confrontation with the regime's security apparatus. ...

Tuesday, March 1, 2011

ยุทธศาสตร์เชื่อม 3 เมืองด้วยทางเรือใน Libya

ยุทธศาสตร์เชื่อม 3 เมืองด้วยทางเรือ

ข้อมูลจาก Twitter, Wikipedia,
March 2, 2011

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

แผนที่ประเทศลิเบีย (Libya)

#Libya #Tripoli Way the US can help: Use ships to shuttle food, supplies, arms and revolutionary soldiers between Benghazi/Zawiya/Misrata RT

ในประเทศลิเบีย (Libya) ในขณะนี้ มีผู้วิจารณ์ว่า หากไม่มีการช่วยเหลือจากสหรัฐอย่างใดอย่างหนึ่ง การต่อสู้จะต้องใช้เวลายาวนานและยากที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะชนะเด็ดขาด จะกลายเป็นสงครามกลางเมืองที่ยืดยาว (Civil war)

ฝ่ายสนับสนุนกัดดาฟีจะคุมภาคตะวันตก โดยมี Tripoli เมืองหลวงที่มีประชากร 1.2 ล้านคนเป็นศูนย์กลาง ส่วนฝ่ายต่อต้านกัดดาฟี (Protesters) ซึ่งครองเมืองอื่นๆได้แล้ว แต่ก็จะยังไม่สามารถรุกคืบได้พอที่จะยึดครองเมืองสำคัญด้านตะวันตก

นักวิเคราะห์หลายคนจึงมองว่าทางที่ฝ่ายต่อต้านกัดดาฟีจะสามารถชนะได้ โดยไม่ต้องใช้การบังคับใช้เขตห้ามบิน หรือ No-fly zone ซึ่งต้องใช้กำลังต่างชาติ โดยเฉพาะจากสหรัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง ทางเลือกหนึ่งที่ทำได้คือ การจัดระบบส่งกำลังบำรุง อาหาร ยุทโธปกรณ์ อาวุธ และกำลังทหารโดยทางเรือ โดยเชื่อมโยงระหว่าง เมือง Benghazi ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางของรัฐบาลจัดตั้งใหม่ของฝ่ายต่อต้าน และเมืองสำคัญอีกสองเมืองที่ติดกับฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน คือเมือง Misrata เมืองใหญ่ทาฝั่งตะวันออกของ Tripoli ห่างไปประมาณ 200 กิโลเมตร และอีกเมืองที่จ่อติดกับ Tripoli เพียง 50 กิโลเมตรทางฝั่งตะวันตก คือเมือง Zawiya

ถ้าฝ่ายต่อต้านสามารถปักหลักได้อย่างแข็งแรงที่เมือง Misrata และเมือง Zawiya ได้ สถานะของกัดดาฟีจะลำบาก แม้จะไม่มีการใช้การบังคับห้ามบิน ซึ่งกระทำได้ลำบากกว่า และจะมีกระแสต่อต้านจากชาติอาหรับด้วยกันเอง