ประชาธิปไตยของกรีกโบราณ (Ancient Greek
Democracy)
Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, governance, กรีกโบราณ, Ancient
Greece ประชาธิปไตย, democracy, สิทธิ, right,
privilege, เสรีภาพ, freedom, การลงมือปฏิบัติ,
action, ความรับผิดชอบ, responsibility
3 สถาบันหลักประชาธิปไตย
คลิสเธนิส (Cleisthenes) ผู้ปกครองที่ได้ชื่อว่าริเริ่มระบอบประชาธิปไตยของกรีกโบราณ
ในปี 507 ก่อนคริสตกาล
ผู้นำชาวเอเธนส์ชื่อคลิสเธนิส (Cleisthenes) ได้นำเสนอปฏิรูปการเมืองใหม่ชื่อว่า
“ดีมอเครเตีย” (Demokratia) ซึ่งแปลว่า
“การปกครองโดยประชาชน” ในภาษาอังกฤษปัจจุบันใช้คำว่า Democracy ระบบการปกครองนี้ประกอบด้วย 3 สถาบัน คือ (1)
เอเคลเซีย (Ekklesia) เป็นสภาสูงสุด มีหน้าที่ออกกฎหมาย
กำหนดทิศทางการต่างประเทศ อาจเทียบได้กับรัฐสภาในปัจจุบัน (2) บูเล (Boule) เป็นคณะบุคคลจากตัวแทนชนเผ่าทั้ง 10
ของเอเธนส์ และ (3) ดิกาสเทอเรีย (Dikasteria)
เป็นศาลจากประชาชน ให้สิทธิประชาชนมานำเสนอกรณีปัญหาของตน
ซึ่งจะมีการตัดสินด้วยคณะลูกขุนที่ได้มาด้วยการจับฉลาก
แม้ประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์มีอายุยืนได้ไม่ถึง 2
ศตวรรษ แต่การริเริ่มของคลิสเธนิส
ก็เป็นต้นแบบให้ชาวโลกในยุคต่อมาได้มีแบบอย่างในการดำเนินการ
ข้อคิดของประชาธิปไตยยุคใหม่ที่ได้เริ่มขึ้นเมื่ออาณานิคมอเมริกา ปฏิวัติประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ
ในปี ค.ศ. 1776 เลิกระบอบกษัตริย์ แล้วสถาปนาระบบสาธารณรัฐ
ก็ได้อาศัยพื้นฐานประชาธิปไตยในกรีกโบราณนี้
ในระบอบประชาธิปไตย นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกชื่อ
“เฮโรโดตุส” (Herodotus) ได้เขียนไว้ว่า
ทุกคนในระบอบนี้ได้รับสิทธิเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ในระบอบประชาธิปไตย
คลิสเธนิสได้ยกเลิกสิทธิพิเศษของพวกขุนนาง (Aristocrats) ที่เคยผูกขาดอำนาจในการตัดสินใจเอาไว้
โดยแรงผลักดันมาจากชนชั้นกลางและชนชั้นผู้ใช้แรงงานที่ประกอบเป็นกองทัพบกและกองทัพเรือ
ที่ตนเองต้องมีภาระรับผิดชอบ แต่ไม่มีสิทธิในการปกครอง
แต่อย่างไรก็ตาม ความเท่าเทียมกัน (Equality)
นั้นก็ยังจำกัดอยู่กับเพียงชาวเอเธนส์ ซึ่งในช่วงกลางศตวรรษที่ 4
ก่อนคริสตกาล มีผู้ได้สิทธิเป็นประชาชน (Citizens) เพียง 100,000 คน ส่วนชาวต่างชาติที่มาอยู่ในเอเธนส์ราว
10,000 คน และคนที่เป็นทาส 150,000 คนไม่ได้รับสิทธิ
นอกจากนี้ สิทธินี้ก็มีให้เพียงผู้มีอายุเกิน 18 ปี
และต้องเป็นชาย ดังนั้นคนที่จะมีสิทธิออกเสียงจึงมีอยู่ในคนจำนวน 40,000 คน
เอกเคลเซีย (Ekklesia)
เอกเคลเซีย (Ekklesia) ที่ประชุมทางการเมือง
(Assembly) เป็นองค์กรปกครองสูงสุดของเอเธนส์
คนทุกคนในประชากร (Demos) 40,000 คน ซึ่งเป็นชายอายุเกิน 18
ปีขึ้นไปมีสิทธิเข้าร่วมการประชุมนี้
แต่ในการประชุมจริงมีคนเข้าร่วมเพียง 5,000
คน ส่วนชายที่เหลือต้องไปทำหน้าที่เป็นทหารในกองทัพบกและเรือ
และทำงานหาเลี้ยงครอบครัว ในการประชุมเอกเคลเซีย ทำหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับสงคราม
นโยบายการต่างประเทศ การเขียนหรือแก้ไขกฎหมาย
การรับรองการแต่งตั้งและการลงโทษข้าราชการ
ซึ่งรวมถึงการลงโทษขับสมาชิกออกจากนครรัฐเป็นเวลานานถึง 10 ปี
การตัดสินใจนี้ใช้หลักง่ายๆด้วยเสียงข้างมาก
ภาพ อัฒจรรย์จุคนได้ 5000 คน บริเวณ Acropolis บนเขาสูงกลางเมืองเอเธนส์ในปัจจุบัน การสื่อสารกันในระบอบประชาธิปไตยทางตรง จำเป็นต้องมีการสื่อสารกันสองทาง ปัจจุบันประชาธิปไตยเป็นทางอ้อมและผ่านตัวแทน มีสื่อยุคใหม่ ทั้ง วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และอินเตอร์เน็ต
บูเล คณะผู้บริหาร (The Boule)
สถาบันที่สำคัญถัดมาคือ “บูเล” (Boule) หรือสภาคน 500 คน ซึ่งแต่ละ 50 คนเป็นตัวแทนแต่ละส่วนของ 10 ชนเผ่าของชาวเอเธนส์
ที่ไม่เหมือนกับเอกเคลเซีย อันเป็นที่ประชุมใหญ่คือ บูเลพบกันทุกวัน ทำหน้าที่ปกครองและบริหารกันเป็นรายวัน
ดูแลนิเทศงานดังเช่น การดูแลเรือของกองทัพเรือ การดูแลม้าของกองทัพบก
การมีทูตและตัวแทนจากนครรัฐอื่นๆ
หน้าที่หลักคือการตัดสินใจทำหน้าที่บริหารงานแทนเอกเคลเซีย
และนี้คือสิ่งที่ระบบประชาธิปไตยทำหน้าที่
ส่วนคนที่จะเข้ามาอยู่ในบูเลคือพวกที่ได้รับเลือกแบบจับฉลาก
(Random lottery) ซึ่งถือว่าเป็นประชาธิปไตยกว่าการเลือกตั้ง
ทำให้ไม่สามารถใช้อำนาจเงินและประชานิยมเข้ามาเกี่ยวข้องได้
ระบบจับฉลาดป้องกันพวกที่จะมาเกาะตัวรวมตัวกันเพื่อประโยชน์ของพวกตน
แต่อย่างไรก็ตาม เขาให้ข้อสังเกตว่ามีพวกที่มีฐานะและมีอิทธิพล
และบรรดาญาติพี่น้องได้เข้ามาทำหน้าที่ฝ่ายบริหารบ่อยกว่าและมากกว่าพวกอื่นๆที่จับฉลากเข้ามา
ดิคาสเทอเรีย (Dikasteria)
ดิคาสเทอเรีย (Dikasteria) เป็นสถาบันสำคัญที่ 3 ทำหน้าที่เป็น “ศาลประชาชน”
ในแต่ละวันจะมีลูกขุน 500 คนถูกเลือกมาโดยจับฉลาก
โดยคนเหล่านี้ต้องเป็นชายอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี และสถาบันนี้
อริสโตเติล (Aristotle) ปราชญ์คนสำคัญของชาวกรีกให้ความเห็นว่า
ดิคาสเทอเรียมีความสำคัญที่สุดและสร้างความแข็งแกร่งต่อประชาธิปไตยของกรีก
เพราะคณะลูกขุนมีอำนาจอย่างไม่จำกัด
เอเธนส์ไม่มีตำรวจเหมือนเมืองในปัจจุบัน
ดังนั้นมันเป็นเรื่องที่ประชาชนนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของศาล
และการตัดสินก็ถือเสียงข้างมากเป็นหลัก ในช่วงประชาธิปไตยเริ่มต้นนั้น
ยังไม่มีกำหนดว่าเรื่องอะไรบ้างที่จะนำเข้าสู่การพิจารณา หรือจะนำมาตัดสินกันในศาล
มีบ่อยครั้งที่ประชาชนของเอเธนส์เองใช้ศาลเพื่อลงโทษหรือทำให้ฝ่ายตรงข้ามได้อับอาย
ภาพ อรีสโตเติล นักปราชญ์ นักคิดของกรีกที่ได้ให้ทัศนะต่อระบบศาล และการดูแลความเป็นธรรมในสังคม
คณะลูกขุน (Jurors) ซึ่งมีหน้าที่ในการตัดสินคดีความ
ได้รับค่าตอบแทนในการทำงาน
เพื่อให้บริการนี้เป็นสิทธิของทุกคน ไม่ใช่เพียงคนที่ร่ำรวย
แต่เนื่องด้วยค่าตอบแทนของคณะลูกขุนต่ำกว่าคนทำงานทั่วไป
ลูกขุนทั่วไป
จึงเป็นชายสูงอายุที่เกษียณจากการงานแล้ว และด้วยเหตุที่ชาวเอเธนส์ไม่ได้จ่ายภาษี
เงินที่ได้มาเพื่อใช้จ่ายจึงมาจากพันธมิตรและการเก็บเงินจากคนต่างชาติ
เงินที่เก็บนี้ (Liturgy) เป็นภาษีที่คนมีเงินจ่ายโดยอาสาสมัคร
เพื่อจ่ายเป็นค่าตอบแทนแก่คนทำหน้าที่สนับสนุนการดูแลรักษาเรือในกองทัพเรือ
หรือการใช้เงินเพื่อจัดงานรื่นเริง การแสดงโอเปร่าประจำปี
จุดจบประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์ (The End of Athenian
Democracy)
ในราว 460 ปีก่อนคริสตกาล
มีหลักอยู่ว่า บรรดานายพลในกองทัพ เป็นข้าราชการที่ได้รับการเลือกตั้ง (Elected)
ไม่ใช่การแต่งตั้ง ในระยะต่อมา
ประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบอำมาตยาธิปไตย (Aristocracy) ซึ่งเข้าหลักที่ว่า อำนาจจะมาตกอยู่กับคนหนึ่งคนที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม
ประชาธิปไตยในเอเธนส์ก็ดำรงอยู่ได้ไม่นาน
และอำนาจก็ตกเป็นของนักการเมืองและบรรดาข้าราชการในที่สุด
ภาพ การประชุมร่วมกันของระบบรัฐสภาในยุคกรีกโบราณ