จงทำให้มากกว่าพูด –
สุภาษิตชาวกรีก
Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, governance ประชาธิปไตย, democracy,
สิทธิ, right, privilege, เสรีภาพ, freedom,
การลงมือปฏิบัติ, action, ความรับผิดชอบ, responsibility
หลังจากพูดกันทั้งหมดแล้วก็ทำ
จะกลายเป็นพูดมากกว่าทำ – อีสป นักเล่านิทานชาวกรีกโบราณ
ภาพ ประชาธิปไตยในยุคกรีกโบราณราว 300-500 ปีก่อนคริสตกาล คือการต้องนำปัญหามาถกกัน เพื่อหาทางออก แต่สิ่งที่เป็นจุดอ่อนคือ จะเริ่มมีคนอยากพูด อยากใช้สิทธิ แต่ไม่มีคนอยากเหนื่อยอยากรับผิดชอบ
กรีกในยุคโบราณ (Ancient Greece) ที่รุ่งเรืองนั้น เพราะมีทั้งนักคิด นักปรัชญา (Philosophers) นักพูดที่เรียกว่า Orators แล้วก็มีคนทำงาน
ในยุคประชาธิปไตยรุ่งเรือง เพราะเขามีทั้งนักคิด คิดแล้วนำไปพูดคุยกัน
เมื่อพูดกันเป็นที่รู้เรื่องแล้ว ก็นำไปสู่การลงมือปฏิบัติร่วมกัน
และเมื่อมีปัญหาใหม่เกิดขึ้น ก็นำปัญหานั้นไปสู่การพูดคุยกัน
แล้วให้ได้ข้อตกลงที่จะนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหานั้นๆ
นครรัฐเอเธนส์ (Athens) ในยุคกรีกโบราณที่รุ่งเรือง มีคนอาศัยอยู่ทั้งสิ้นประมาณ 300,000 คน ในจำนวนนี้มีประชากรที่มีสิทธิออกเสียงเป็นชายอายุเกิน 18 ปี 50,000 คน แต่เพราะคนจำนวนนี้มีหน้าที่ต้องทำ
เป็นทหารบก ทหารเรือ พ่อค้าวาณิชย์ มีคนที่จะเข้าไปร่วมใช้สิทธิแสดงความเห็นประมาณ
5,000 คน มีคนที่จะไปทำหน้าที่ฝ่ายบริหารที่เป็นตัวแทนจากชนเผ่าต่างๆ
500 คน ความรุ่งเรืองเกิดขึ้นเมื่อทุกคนรู้หน้าที่ๆจะต้องกระทำ
และยึดมั่นในหลักคุณงามความดี (Virtues) มีค่านิยมยืดถือไปในแนวทางเดียวกันที่ยอมรับได้
ทำอย่างเสียสละ ไม่เอาเปรียบกัน
แต่เมื่ออยู่ๆไป
หลักการที่ดีที่คนยืดถือก็เริ่มมีการแปรเปลี่ยนไป มีคนอยากพูดมาก
มีสิทธิมีเสียงมากกว่าคนอื่นๆ มีคนมีเงิน มีอำนาจ มีบุคคลและญาติพี่น้องมากขึ้นที่ใช้สิทธิอย่างไม่ยุติธรรมต่อคนส่วนใหญ่
ในที่สุดระบอบประชาธิปไตยที่ว่าดีงามก็เสื่อมสลาย
เปิดทางให้กับการยืดครองอำนาจของคนส่วนน้อย และทรราชย์ที่เข้ามาครอบงำชุมชน สังคม
และประเทศในที่สุด
ย้อนกลับมาในสังคมไทยปัจจุบัน
หากเราพูดกันมาก แต่เป็นการพูดอย่างเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน แต่เวลาต้องลงมือปฏิบัติ
ต้องทำงานในอำนาจหน้าที่กลับไม่ใส่ใจ คนจำนวนมากเรียกร้องสิทธิ
แต่ไม่ลงมือปฏิบัติตามหน้าที่ ดังนี้ไซร้ สังคมโดยรวมก็จะเสื่อม
No comments:
Post a Comment