Monday, February 4, 2019

8 แนวโน้มโลกที่มีผลกระทบต่อการอุดมศึกษา


8 แนวโน้มโลกที่มีผลกระทบต่อการอุดมศึกษา

ประกอบ คุปรัตน์
แปลและเรียบเรียง
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

ความนำ

โลกในยุคปัจจุบันเป็นเรื่องของ “โลกาภิวัตน์” (Globalization) หากใครไม่รับรู้ ไม่ตระหนัก ไม่เตรียมการ ย่อมต้องประสบผลร้ายอย่างรุนแรง

ตัวอย่างวิกฤติเศรษฐกิจแห่งเอเชีย (Asian financial crisis) ที่ฝรั่งเรียกว่า “วิกฤติต้มยำกุ้ง” (Tom Yum Goong crisis) ที่ทำให้ไทยจากที่คิดว่าประเทศไทยจะเป็นเสือเศรษฐกิจตัวที่ห้า กลายเป็นล้มละลายทางการเงินทั่วประเทศ ค่าเงินบาทจาก 26 บาทต่อเหรียญ กลายเป็นเกือบ 60 บาทต่อเหรียญ ธนาคารไทยต้องถูกเข้ามาถือครองโดยบริษัทการเงินต่างประเทศ คนไทยที่ลงทุนทำธุรกิจด้วยเงินกู้ แล้วธนาคารไม่สามารถปล่อยเงินกู้ได้ เพราะธนาคารเองก็อยู่ในฐานะล้มละลายเหมือนกัน หรือโครงการที่ดำเนินการจนเสร็จสิ้น แต่ไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เพราะคนไม่มีเงินมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการ
ในปี ค.ศ.2000 กองทุนนานาชาติ (International Monetary Fund – IMF) ได้จำแนก “โลกาภิวัตน์” เป็น 4 ลักษณะพื้นฐาน คือ โลกาภิวัตน์ทางการค้าและการแลกเปลี่ยน (Trade and transaction) ทางการเงินและการลงทุน (Capitial and investment) ทางการย้ายถิ่นฐานของประชากร (Migration and movement of people) และการเผยแพร่ความรู้ (Dissemination of knowledge) นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่เป็นผลกระทบกันทั่วโลก ดังเช่นเรื่องโลกร้อน (Global warming) ผลกระทบแบบข้ามพรหมแดนทางน้ำ (Cross-boundary water) มลพิษทางอากาศ (Air pollution) และการประมงแบบข้ามถิ่นกันทางทะเล (Over-fishing)

โลกาภิวัตน์มีผลกระทบทางธุรกิจ องค์กรการทำงาน ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และทรัพยากรทางธรรมชาติ

ในบทความนี้จะกล่าวถึงผลกระทบของโลกาภิวัตน์ต่อการอุดมศึกษา  (Instituitions of higher learning) ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้นำสถาบันอุดมศึกษาต้องให้ความสนใจ

8 แนวโน้มโลกที่มีผลกระทบต่อการอุดมศึกษา

8 global trends impacting higher ed By Shalina Chatlani, Jan. 24, 2018

เมื่อพูดถึงอนาคตของสถาบันอุดมศึกษาที่มีอยู่ทั่วโลก ผู้นำอุดมศึกษาต่างตระหนักว่ามันไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในแต่ละท้องที่ที่มีผลกระทบต่อสถาบันอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของตน แต่มันเป็นผลกระทบจากภายนอก จากทั้งโลก ที่จะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการอุดมศึกษา

จากรายงาน A New Report โดย StudyPortals สื่อระบบออนไลน์ที่เผยแพร่ในวงการอุดมศึกษาที่มีสมาชิกที่ร่วมเป็นหุ้นส่วนประมาณ 3,000 แห่ง โดยเลือกการทำนายเชิงเส้น (Linear projection modeling) โดยเลือกสถาบันอุดมศึกษาใน 15 ประเทศที่มีรายได้สูง แล้วทำนายออกมาเป็นแนวโน้มการอุดมศึกษาที่จะมีผลกระทบสถาบันอุดมศึกษาที่มีอยู่ทั่วโลก ต่อไปนี้เป็นรายงานผลของอุตสาหกรรมการอุดมศึกษาทั้งในสหรัฐอเมริกาและในประเทศอื่นๆ และอะไรคือสิ่งที่ผู้นำอุดมศึกษาควรตระหนักในการเดินไปข้างหน้า

EDUCATION DIVE

1. ตลาดแรงงานที่เปลี่ยนไปตามผลของระบบอัตโนมัติที่เพิ่มมากขึ้น

1. Labor market shifts and the rise of automation


ภาพ หุ่นยนต์ที่เข้ามาทำหน้าที่งานที่มีความเสี่ยง อย่างเช่น การเชื่อมโลหะ

ตลาดแรงงานที่เปลี่ยนไปตามผลของระบบอัตโนมัติ (Automation) ที่เข้ามามีผลต่อระบบอุตสาหกรรมและบริการ

ซินเธียร์ แอล เอสลุนด์ (Cynthia L. Estlund) ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายแห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค (New York University School of Law) ได้นำเสนองานที่ตีพิมพ์โดย McKinsey Global Institute โดยอ้างว่าร้อยละ 73 ของเวลาที่มนุษย์ในปัจจุบันทำงานโดยได้รับค่าตอบแทนนั้น แรงงานเหล่านี้จะถูกเครื่องจักรกลที่ควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติทำแทน (Automation)

เดวิด ไฟน์โกลด์ (David Finegold) อธิการบดีแห่งมหาวิทยาลัยแชตแฮม (Chatham University) เมืองพิทซเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา กล่าวต่อ StudyPortals ว่า

ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาทั้งหลายต้องกลับมาคิดแล้วว่าจะเตรียมนักศึกษาอย่างไรให้ออกไปเผชิญกับโลกของการทำงานในอนาคต เป็นเวลาหลายทศวรรษแล้วที่ค่าใช้จ่ายด้านแรงงานทั้งในระดับเบื้องต้นและระดับกลางได้เพิ่มขึ้น เราอาจเห็นแนวโน้มที่ผกผัน ที่แรงงานทางเทคนิคที่ใช้ฝีมือแรงงาน เช่น ช่างไฟฟ้า ช่างประปา พ่อครัว เหล่านี้จะได้รับผลกระทบอย่างแรงจากการนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติมาใช้ ในขณะที่การศึกษาในระดับปริญญา เช่น กฎหมาย การบัญชี คนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบพื้นๆ สื่อสารมวลชน และฝ่ายประมวลข้อมูล เหล่านี้ก็จะได้รับผลกระทบ” ไฟน์โกลด์กล่าว

เขากล่าวว่าสถาบันอุดมศึกษาต้องเตรียมผู้เรียนให้มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการและมีความยืดหยุ่น มีความสามารถที่จะเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาตนเองขึ้นใหม่ได้หลายๆครั้งในชั่วชีวิตหนึ่ง

2. เศรษฐกิจที่เคลื่อนไปตามตลาดที่เกิดใหม่

2.  Economic shifts and moves toward emerging markets

ในขณะที่ผู้เรียนในระดับอุดมศึกษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวของชาติที่มีรายได้ระดับกลาง ส่วนชาติมีรายได้ระดับสูงดังในยุโรปและสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มที่จะหยุดนิ่ง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะโปรแกรมการเรียนการสอนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อทั้งในยุโรป และประเทศกำลังพัฒนาได้ลงทุนไปกับแหล่งข้อมูลทางการศึกษา และการเคลื่อนไหวของโปรแกรมนานาชาติ

สถาบันสถิติของ UNESCO ได้รายงานว่าประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับล่าง ได้มีคนเข้าเรียนในระบบอุดมศึกษาเพิ่มมากขึ้นเกินกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ความจริงนี้สะท้อนให้เห็นว่าประเทศกำลังพัฒนาได้มีอัตราการเรียนอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นทั่วโลก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เขียนได้กล่าวว่าร้อยละ 75 ของผู้จบการศึกษาในสาย STEM คือในสายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ได้เกิดมากขึ้นในประเทศอย่างกลุ่ม BRICS อันได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และอัฟริกาใต้ ในปี ค.ศ. 2030 ในขณะที่ตลาดในสหรัฐมีเพียงร้อยละ 8 ในยุโรปร้อยละ 4 นั่นหมายความว่าผู้นำสถาบันอุดมศึกษาดังในสหรัฐอเมริกาและประเทศพัฒนาแล้วในยุโรป ควรเริ่มมองหาทางที่จะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าอุดมศึกษาใหม่ในประเทศกำลังพัฒนาเหล่านี้


Credit: StudyPortals, "Envisioning Pathways to 2030"

3. ความไม่สอดคล้องกันระหว่างความต้องงานของผู้จ้างงาน และประสบการณ์จากมหาวิทยาลัย

3. Growing disconnect between employer demands and college experience 

ความต้องการกำลังคนในตลาดแรงงานไม่ตรงกับประสบการณ์การฝึกอบรมในสถาบันอุดมศึกษา
ในปี ค.ศ. 2016 มีผลงานสำรวจของ PayScale ของบริษัทที่สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเงินเดือน ผลประโยชน์ และค่าตอบแทน พบว่ามีเพียงครึ่งหนึ่งของผู้จัดการที่คิดว่าบัณฑิตจากสถาบันอุดมศึกษาได้รับการฝึกอบรมเพื่อตลาดแรงงานอย่างเหมาะสม ราหุล โชดาฮา (Rahul Choudaha) รองประธานกรรมการบริษัท StudyPortals และเป็นหัวหน้าทีมของผู้เขียนรายงาน ได้บอกแก่ Education Dive ถึงความไม่ต่อเนื่องกันระหว่างตลาดแรงงานและประสบการณ์ที่ได้รับจากมหาวิทยาลัย และด้วยเหตุนี้ สถาบันอุดมศึกษาจึงได้รับการวิพากษ์ที่ไม่สามารถเตรียมตัวนักศึกษาในการนี้ได้

เคน กิลล์ (Ken Gill) ผู้บริหารของ NCIK ฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัยต้องเลือกวิธีให้นักศึกษาได้มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่จะมีผลดีในระยะยาว วิธีหนึ่งที่จะเริ่มเดินไปในทิศทางนี้ คือเพิ่มความร่วมมือแบบข้ามชาติ (Global collaboration)

การเพิ่มขึ้นของระบบอัตโนมัติจะผลักดันให้ทักษะการทำงานไม่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในตลาดแรงงาน และไม่สอดคล้องกับความเร็วของระบบอุดมศึกษาที่จะปรับตัวเอง
กิลล์กล่าวว่า “การเกิดขึ้นของมหาวิทยาลัยในเอเชียที่ก้าวสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยในระดับโลก ทำให้ลดคุณค่าของมหาวิทยาลัยแบบเก่าในโลกตะวันตก และเกิดการไหลของนักศึกษาสู่ตะวันออกไกล โดยเฉพาะประเทศจีน”

“ความไม่สมดุลในศักยภาพนี้ จะทำให้เกิดการเพิ่มการใช้เทคโนโลยีการเรียนการสอนในแบบประสมประสาน ซึ่งยิ่งทำให้เกิดความร่วมมือ ประสานสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษาโดยมีจุดเน้นพิเศษ” เขากล่าว

4. การขยายตัวของชุมชนเมือง และการเกิดวิถีชีวิตคนเมือง

4. The growth in urbanization and a shift toward cities 


ภาพ กรุงเทพฯในอดีต


ภาพ กรุงเทพฯในปัจจุบัน

ตามสภาพแนวโน้มของโลก มีรายงานว่าคนจำนวนมากขึ้นที่ย้ายไปอยู่อาศัยในเขตเมือง (Metropolitan areas) โชดาฮากล่าวว่า มันมีความจำเป็นที่จะต้องจัดระบบการศึกษาให้เข้ากับงานในแต่ละภูมิภาค เขาอธิบายว่าเมืองใหญ่จะกลายเป็นแหล่งของงานและการอาชีพ บทบาทของสถาบันอุดมศึกษา ในการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นจะยิ่งมีความสำคัญ และทำให้ต้องเกิด “ความเป็นหุ้นส่วนกันของอุตสาหกรรมและสถาบันอุดมศึกษา” (Industrial-institution partnerships)

สตีเฟน คิฟฟิน (Steven Kyffin) รองอธิการบดีของมหาวิทยาลัย U of Northumbria ที่ Newcastle ในประเทศอังกฤษ สะท้อนให้เห็นความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาต้องปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของภูมิภาค

การขยายตัวของเมืองระดับหลายล้านคน (Mega-cities) และชุมชนเมือง โดยเฉพาะในโลกใหม่ จะผลักดันให้เกิดการศึกษาแบบใหม่ ที่ทำให้คนมีความสามารถในการงานใหม่อย่างแท้จริง

วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยในอนาคต จะกลายเป็น “ศูนย์สร้างสรรค์” (Creative hub) ที่ทำให้ต้องเกิดความเป็นหุ้นส่วนกัน ไม่ใช่ทุกมหาวิทยาลัยจะมีความเป็นผู้เชี่ยวชาญในทุกๆสิ่งได้

5. ความเข้มงวดของนโยบายคนเข้าเมืองและเคลื่อนย้ายถิ่นของนักศึกษา

5. Restricted immigration policies and student mobility 

นักวิจัยของ StudyPortals ใช้การทำนายเชิงเส้น (Linear projection model) ทำให้มองเห็นว่าจะมีนักศึกษานานาชาติประมาณ 412,000 คน ที่จะเข้ามาศึกษาในประเทศพัฒนาแล้วมีรายได้สูง 15 ประเทศในช่วงปี ค.ศ. 2015-2030 สามในสี่ของนักศึกษาเหล่านี้จะเลือกศึกษาในชาติที่พัฒนามากกว่าชาติของตน ทั้งนี้โดยใช้ Millennium Development Indicators มีหนึ่งในสามของนักศึกษาเหล่านี้จะเลือกศึกษาในสายวิชาเอก STEM (Sciences, Technologies, Engineering, Mathematics) อีกหนึ่งในสามศึกษาในสายวิชาธุรกิจ การบริหาร และกฎหมาย

นักศึกษานานาชาติเหล่านี้เป็นอันมากจะไปศึกษาต่อในประเทศสหรัฐอเมริกา มากกว่าจะเป็นประเทศอย่างชิลี โปแลนด์ สเปน และญี่ปุ่น แต่ก็ยังเทียบไม่ได้กับการเลือกไปศึกษาต่อในประเทศอย่างสหราชอาณาจักร ออกเตรเลีย และเดนมาร์ก โชดาฮากล่าวว่า การขยายตัวของนโยบายต่อต้านผู้อพยพ เมื่อบวกกับการขยายตัวของนักศึกษาต่างชาติ จึงทำให้ต้องหาวิธีการดึงดูดนักศึกษาต่างชาติ

นโยบายการศึกษานานาชาติจะดำเนินไปได้อย่างยากยิ่ง เมื่อยังมีนโยบายต่อต้านการอพยพย้ายถิ่นคนเข้าประเทศ โดยเฉพาอย่างยิ่งเมื่อสถาบันอุดมศึกษาต้องการนักศึกษา การศึกษาในสาย STEM จำเป็นสำหรับนายจ้างที่ขาดแคลนแรงงานยุคใหม่ และการกระตุ้นเศรษฐกิจของท้องถิ่น

 Credit: StudyPortals, "Envisioning Pathways to 2030"

 6. การขาดอุปทาน แต่มีความต้องการที่เพิ่มขึ้น

6.  Lack of supply but growth in demand

สถาบันสถิติของยูเนสโก (UNESCO Institute of Statistics) ประมาณการว่าในปี ค.ศ. 2030 จะมีนักศึกษาในขั้นอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นทั่วโลกประมาณ 120 ล้านคน มี 2.3 ล้านคน เป็นนักศึกษาจากต่างชาติ ซึ่งเรื่องนี้แสดงว่ามีการเปลี่ยนแปลงถึงร้อยละ 51 ของนักศึกษานานาชาติ

รายงานระบุว่าระหว่างปี ค.ศ. 2000-2014 จะมีนักศึกษาขั้นอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นจาก 100 ล้านคน เป็น 207 ล้านคน และร้อยละ 30 ของจำนวนนี้จะเป็นนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

ข้อน่าสนใจ โชดาฮา ชี้ว่า ส่วนที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นจากชาติที่มีรายได้ต่ำและรายได้ระดับกลาง ส่วนชาติที่มีรายได้ระดับสูง จะพบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก เขากล่าวว่า ผลก็คือ ชาติที่พัฒนาแล้วจะหันไปสรรหาชักจูงนักศึกษาจากส่วนของประเทศกำลังพัฒนา

แบรดลีย์ ฟาร์นสเวิร์ท (Bradley Farnsworth) รองประธานกรรมการฝ่ายความร่วมมือนานาชาติของคณะกรรมการอเมริกันเพื่อการศึกษา (American Council on Education) อธิบายว่า รายได้ที่เพิ่มขึ้น และความต้องการโอกาสของการศึกษาในประเทศกำลังพัฒนา หมายถึงสถาบันอุดมศึกษาจะมีโอกาสใหม่ที่เพิ่มขึ้นโดยวิธีการนวตกรรมทางการศึกษาและรูปแบบธุรกิจใหม่

เราควรลองคิดล่วงหน้าไปในเรื่องการหาวิธีการจัดการเรียนการสอนใหม่ (New modes of delivery) และในบางกรณีต้องเป็นสถาบันอุดมศึกษาในแบบใหม่เลย (New types of institutions)

7. การเพิ่มขึ้นของนักศึกษาใหม่

7. The rise in non-traditional students 

ความหมายของนักศึกษาใหม่ – New students

ในช่วงปี ค.ศ. 2015-2030 จะมีนักศึกษาระดับอุดมศึกษาจำนวน 4.3 ล้านคน ที่มีอายุมากว่า 24 ปีจากกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง 15 ประเทศที่จะเข้ามาเป็นนักศึกษาใหม่

เทรเวอร์ โฮล์ม (Trevor Holmes) รองอธิการบดีดูแลด้านกิจการภายนอกและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยไอร์แลนด์ (U of Ireland) อธิบายให้ผู้นำการอุดมศึกษาทั้งหลายให้ต้องมองหาวิธีการที่สร้างสรรค์ในการให้บริการแก่นักศึกษาใหม่เหล่านี้

สถาบันอุดมศึกษาเองต้องแบ่งปันทรัพยากรกันและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการจัดบริการอุดมศึกษา เป็นการให้การศึกษาแบบข้ามชาติข้ามพรมแดนโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ช่วย แต่เมื่อจะประเมินก็ใช้ระบบการประเมินที่กระทำได้ในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งทั้งนี้จึงต้องออกแบบหลักสูตรและโปรแกรมการศึกษาอย่างสร้างสรรค์

Credit: StudyPortals, "Envisioning Pathways to 2030" / OECD (2015) How is the global talent pool changing?

 8. งบประมาณสำหรับสถานศึกษาที่ลดลง

8. Dwindling budgets for institutions

การวิจัยบ่งว่ารัฐทั้งหลายจะใช้เงินเพื่อการอุดมศึกษาลดลง 9,000 ล้านเหรียญ เมื่อเทียบกับในปี ค.ศ. 2008 ใน 33 รัฐ จะมีงบประมาณที่ลดลงจากที่ประมาณการไว้แต่แรก เป็นผลทำให้มีการตัดงบประมาณเพื่อการอุดมศึกษาอย่างกว้างขวางไปทั่ว

แนวโน้มทรัพยากรลดลงอย่างต่อเนื่องมีผลกระทบต่อระบบอุดมศึกษา สตีฟ จอร์แดน (Stephen Jordan) อธิการบดีของมหาวิทยาลัย Metropolitan State University ที่เมืองเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ทำนายว่าในปี ค.ศ. 2025 จะไม่มีงบประมาณสำหรับอุดมศึกษา

เพื่อพิสูจน์คุณค่าของการอุดมศึกษา และแสดงให้เห็นว่าการลงทุนเพื่อการอุดมศึกษาจะได้ผลตอบแทนที่ตัวผู้เรียนอย่างไร เวนดี เพอร์เซล (Wendy Purcell) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และศาสตราจารย์กิติคุณและรองประธานของมหาวิทยาลัยพลีมัธในสหราชอาณาจักร ได้อธิบายว่า “ผู้นำอุดมศึกษาต้องให้คำอธิบายว่าระบบอุดมศึกษาให้ปริญญาทางด้านใดบ้าง ท่านเสริมว่า “เราต้องเห็นการศึกษาตลอดชีวิตเป็นกุญแจสำคัญที่จะสร้างดุลยภาพของเศรษฐกิจโลก เราต้องทำให้ระบบอุดมศึกษาไปกระตุ้นการคิด ความมีชีวิตชีวา และความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น เราต้องก้าวเกินกว่าการให้เนื้อหาสาระ แต่ต้องให้ประสบการณ์

No comments:

Post a Comment