Saturday, December 14, 2013

ปฏิรูป ปราบโกง - ธีระชัย ภูวนารถธารานุบาล


ปฏิรูป ปราบโกง - ธีระชัย ภูวนารถธารานุบาล

เครดิต Thirachai Phuvanatnaranubala ·
ธีระชัย ภูวนารถธารานุบาล
- ปฏิรูป .... ปราบโกง



Keywords: การเมือง, การปกครอง, ประชาธิปไตย, Democracy, ไสว บุญมา, ระบอบทักษิณ (Thaksinocracy, Taksinocracy), อัตตาธิปไตย (Autocracy), ขโมยาธิปไตย (Kleptocracy), ธนาธิปไตย (Plutocracy),ญาติกาธิปไตย (Cronyismocracy), ประชานิยมาธิปไตย (Populismocracy), Thailand reform, economic reform, ปฏิรูป ปราบโกง, ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล (Thirachai Phuvanatnaranubala)
-----------

จาก Wikipedia - ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล (Thirachai Phuvanatnaranubala) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และประธานกรรมการคณะกรรมการกำกับตลาดทุน และเป็นประธานกลุ่ม ก.ล.ต. อาเซียน (ACMF) 2 สมัย
หากเราต้องการแสงสว่างในปัญหาที่เรารู้สึกว่ามืดมิด บางทีลองเปิดใจฟังคนที่เขาเคยอยู่ในวงใกล้ชิดกับทักษิณ แล้วต้องออกมาอยู่วงนอกอย่าง ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล มือเศรษฐกิจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ระยะแรกนี้ – ประกอบ คุปรัตน์ (15 ธันวาคม 2556)
------------

- ถามว่า ขณะนี้มีสงครามชนชั้น จริงหรือ

- ผู้ที่ออกไปชุมนุมครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์สองครั้งที่ผ่านมา มีคนที่มีฐานะ ในสัดส่วนสูง ทำให้มีผู้วิจารณ์(เพื่อสร้างความแตกแยก) ว่านี่เป็นสงครามชนชั้น

- คนรากหญ้ารักษาประชาธิปไตย แต่คนรวยพยายามทำลาย คนรากหญ้ามีเสียงเดียว แต่คนรวยมีหลายเสียง และนโยบายรัฐบาลนั้นพยายามแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ แต่คนรวยคัดค้าน

- คิดแบบนี้ถูกหรือผิด

- ผมได้พูดคุยกับคนที่ไปร่วมชุมนุม เขาไม่ได้คิดเช่นนี้กันครับ

- คนที่ออกไปชุมนุม ที่มีฐานะดีนั้น คือกลุ่มคนที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือเป็นเจ้าของกิจการขนาดกลางขนาดย่อม ที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล พูดง่ายๆ เขาคือกลุ่มคนที่หารายได้หลักให้แก่รัฐบาล

- และข้อกังวลของกลุ่มนี้ ไม่ใช่คัดค้านการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ไม่ใช่ต้องการทำลายประชาธิปไตย และไม่ใช่ต้องการมีเสียงมากกว่าชาวบ้าน

- แต่เขากังวลว่า เงินที่เขาหาเข้ามาเป็นรายได้ให้แก่รัฐบาลนั้น มีการรั่วไหล มีความเสี่ยงการทุจริต และมีการสูญเปล่าที่ไม่จำเป็น (เช่น การเก็บกักตุนข้าว ที่นับวันมีแต่เสื่อมสภาพ)

- ดังนั้น เรื่องนี้ ไม่ใช่สงครามชนชั้น แต่เป็นสงครามปราบโกง ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง

- ถามว่า ปฏิรูปปราบโกงอย่างไร จึงจะได้ผลจริงๆ

- ต้องแก้ไขปรับปรุงกติกาครับ

- บางอย่างอาจจะต้องแก้ไขระดับรัฐธรรมนูญ บางอย่างระดับกฎหมายลูก และบางอย่างระดับระเบียบวิธีปฏิบัติของหน่วยงานราชการ ต้องแก้ไขกติกาอย่างครบวงจร

- สำคัญที่สุด อันดับหนึ่ง คือเรื่องความโปร่งใส

- ต้องบังคับให้มีการเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของราชการ แบบครบวงจร โดยแสดงในเว๊บไซท์

- (ก) เงื่อนไขในการประมูล (ข) คุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิเข้าประมูล (ค) ราคากลางพร้อมวิธีการคำนวณ (ง) รายชื่อผู้ที่ยื่นประมูลทุกราย พร้อมราคาของแต่ละราย (จ) รายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือก (ช) ผลการปฏิบัติงานภายหลัง

- ข้อมูลเหล่านี้ ต้องบังคับให้แสดงในเว๊บไซท์ ทั้งที่กระทรวงผู้จัดซื้อ และที่กรมบัญชีกลาง และต้องเปิดให้ประชาชนเข้าดูได้อย่างเสรี โดยไม่ต้องขออนุญาต

- และต้องกำหนดในระเบียบ ให้กรมบัญชีกลางจะจ่ายเงินได้ ก็ต่อเมื่อมีข้อมูลโปร่งใสแล้วเท่านั้น

- สำคัญอันดับสอง คือเรื่องการตรวจสอบติดตาม

- ขณะนี้ บริษัทใดที่ทำงานให้แก่รัฐ หากมีการจ่ายเงินทอน จะใช้วิธีนำเงินออกไปจากบริษัท โดยจ่ายในรูปเงินสด เขาจะไม่จ่ายเป็นเช็ค หรือโอนบัญชีธนาคาร เพราะจะสามารถติดตามทางเงินได้

- ดังนั้น กรมสรรพากรต้องตรวจสอบบริษัทที่ทำงานให้แก่รัฐ อย่างไกล้ชิดเป็นพิเศษ

- หากบริษัทใด มีการจ่ายเงิน ในรูปเงินสด ไม่ว่าทางตรง หรือทางอ้อมโดยผ่านบริษัทในเครือ หากสัดส่วนนี้เกินกว่าร้อยละสิบของรายได้ ต้องเรียกให้บริษัทนั้นชี้แจงเหตุผล

- หากบริษัทไม่สามารถชี้แจงได้ ก็ไม่ให้ถือเป็นค่าใช้จ่าย ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

- วิธีนี้ ถึงแม้จะไม่สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็จะทำให้การจ่ายเงินไต้โต๊ะ ทำได้ยากขึ้น

- สำคัญอันดับสาม คือเรื่องการช่วยเหลือเกษตรกร

- ต้องบังคับให้รัฐบาลเลิกเข้าไปค้าขายเสียเอง

- รัฐบาลต้องไม่เข้าไปเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าเกษตร

- ธกส. ที่รับจำนำสินค้าเกษตร จะต้องต่ำกว่าราคาตลาด ตามหลักการธนาคารปกติ

- หากรัฐบาลจะช่วยเหลือเกษตรกร ก็ให้จ่ายเงินตรงแก่เกษตรกรไปเลย โดยผ่านบัญชี ธกส.

- และต้องกำหนดนิยามการขายทรัพย์สินของรัฐ แบบ G to G ให้รัดกุม โดยหน่วยงานของรัฐต้องเป็นผู้ส่งออกเอง และการรับเงินต้องผ่านระบบแอลซีที่ธนาคารเท่านั้น

- หากไม่เข้าเงื่อนไขนี้ ต้องบังคับประมูลทุกกรณี เพื่อให้รัฐบาลได้ราคาสูงสุด

- สำคัญอันดับที่สี่ คือต้องให้รัฐสภาควบคุมด้านการเงิน ที่เข้มข้นกว่านี้

- ต้องห้ามไม่ให้มีการออกกฎหมายเฉพาะ เพื่อใช้เงินนอกระบบงบประมาณ

- ไม่ว่าแบบสองล้านล้าน หรือแบบสามแสนห้าหมื่นล้าน หรือแบบไทยเข้มแข็ง

- การใช้เงิน ต้องบังคับให้ผ่านระบบงบประมาณทั้งสิ้น

- แต่หากระบบงบประมาณไม่เอื้ออำนวย ที่จะพัฒนาโครงการต่อเนื่อง ก็ให้ทำการแก้ไขปรับปรุงระเบียบงบประมาณ

- และต้องให้รัฐสภากำกับรัฐบาล ทั้งด้านรายจ่าย และด้านรายได้ เพราะปัจจุบันกำกับเฉพาะด้านรายจ่าย ผ่านระบบงบประมาณ แต่ไม่มีการกำกับด้านรายได้

- จึงต้องกำหนดให้รัฐบาล ทุกๆปี ต้องแจ้งแผนการหารายได้ ให้รัฐสภารับทราบ (รวมไปถึงเป้าหมายหนี้สธารณะด้วย) และทุกๆ ปี รัฐบาลต้องรายงาน ผลการปฏิบัติตามแผน ที่ให้สัญญาไว้แก่รัฐสภาอย่างเคร่งครัด

- สำคัญอันดับที่ห้า คือเรื่องโครงการประชานิยม

- โครงการประชานิยมที่ดี คือโครงการที่ทำให้ประชาชนเสมอภาคกัน ในด้านโอกาส ที่จะก้าวหน้าในชีวิต

- เราไม่มีวันทำให้ทุกคนเสมอภาคกันในฐานะได้ แต่เราสามารถทำให้เสมอภาคกันในด้านโอกาส

- ความเสมอภาคในด้านโอกาส คือการมีสุขภาพอนามัยที่ดีขั้นพื้นฐาน การศึกษาขั้นพื้นฐาน การเข้าถึงเทคโนโลยี่ขั้นพื้นฐาน และการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน

- โครงการเหล่านี้ จะใช้เวลานานกว่าจะออกผล ดังนั้น ในปีใด หากรัฐบาลเก็บรายได้ไม่พอ ก็อนุญาตให้รัฐบาลใช้เงินจากหนี้สาธารณะ เพื่อการนี้ไปได้ ภายไต้กรอบหนี้สาธาณะดังกล่าวข้างต้น

- ส่วนโครงการที่ไม่ใช่ความเสมอภาคในด้านโอกาส โดยเฉพาะโครงการที่เน้นการอุปโภคบริโภค ที่ในอนาคตมีความเสี่ยง ที่พรรคการเมืองต่างๆ จะพลิกแพลงพิสดารมากขึ้นๆ เช่น อาจจะมีโครงการบ้านตากอากาศหลังแรก

- สำหรับโครงการเหล่านี้ ต้องห้ามมิให้รัฐบาลใช้เงินจากหนี้สาธารณะ

- ในแต่ละปี ต้องบังคับให้รัฐบาลเก็บภาษี หรือหารายได้อย่างใดอย่างหนึ่ง

- หากประเทศยังไม่ร่ำรวย รัฐบาลยังไม่สามารถเก็บภาษีเพิ่มได้ โครงการเหล่านี้ ก็ต้องรอไปก่อน

- ถ้าปฏิรูปกันจริงจังแบบนี้ คนจะไม่เสียเวลาออกไปชุมนุมกันดอกครับ

No comments:

Post a Comment