Thursday, December 26, 2013

การเมืองไทย เมื่อเปรียบกับประเทศพม่าในพัฒนาการประชาธิปไตย


การเมืองไทย เมื่อเปรียบกับประเทศพม่าในพัฒนาการประชาธิปไตย

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, governance, ประชาธิปไตย, Democracy, เผด็จการรัฐสภา, คณาธิปไตย, Oligarchy, ทักษิณ ชินวัตร, Thaksin Shinawatra, ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, พรรคเพื่อไทยคอรัปชั่น, Corruption, ปฏิรูปประเทศไทย, ปฏิรูปประเทศไทย, Thailand Reform, อองซาน ซูจี (Aung San Suu Kyi)

“Myanmar opposition leader Aung San Suu Kyi signaled that her party will boycott general elections in 2015.” โดย SHIBANI MAHTANI CONNECT, จาก Wall Street Journal, Updated Dec. 18, 2013 2:44 a.m. ET
-----------


ภาพ นางอองซาน ซูจี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านพม่า

ผู้นำฝ่ายค้านของพม่า นางอองซาน ซูจี (Aung San Suu Kyi) ส่งสัญญาณว่าพรรคของเธอจะไม่เข้าร่วม (Boycott) รับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะมีขึ้นในปี ค.ศ. 2015 และคำประกาศของเธอส่งสัญญาณเตือนไปยังรัฐบาลพม่า ที่ต้องการความไว้วางใจจากต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนขนานใหญ่ในพม่า

ประชาชนไม่ควรมีส่วนร่วมในการแข่งขันที่ทำให้ฝ่ายหนึ่งได้เปรียบอย่างไม่เป็นธรรม อองซาน ซูจี (Aung San Suu Kyi)

ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2008 รัฐธรรมนูญพม่ากำหนดให้อองซาน ซูจีไม่สามารถเป็นประธานาธิบดีได้ เพราะเธอแต่งงานกับชาวต่างชาติ นางอองซาน ซูจีถูกกักบริเวณ หรือเทียบเท่ากับถูกขังคุกในบ้านของตนเอง 15 ปีในช่วง 21 ปีที่ผ่านมา อองซาน ซูจีเข้าร่วมในการเลือกตั้งใหญ่ในเดือนพฤศจิกายน 2010 แม้ไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ทำให้พลเรือนได้เข้ามาบริหารประเทศได้เป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี
ย้อนกลับมาประเทศไทย

การประท้วงใหญ่ในช่วงเดือนตุลาคม 2556 จนถึงปัจจุบัน กว่า 2 เดือนแห่งความขัดแย้ง ที่ทำให้เกิดจากความไม่พอใจในรัฐบาลที่นำประเทศไทยหลงวนอยู่กับประชาธิปไตยเพียงรูปแบบ ประชาธิปไตยเพราะมีการเลือกตั้ง แต่แท้จริงคือเผด็จการรัฐสภา นำไปสู่ความไม่โปร่งใสในการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐบาลบริหารอย่างย่ามใจ ทั้งๆที่ผลงานการบริหารเป็นไปอย่างผิดพลาด มีสัญญาณมากมายส่อความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ ส่อทุจริตมากมายในวงการราชการ ในรัฐสภา ฝ่ายรัฐบาลไม่ฟังเสียงทักท้วงจากฝ่ายค้าน แต่แล้วด้วยการประท้วงของประชาชนในประเด็นนิรโทษกรรมซ่อนเงื่อนที่เรียกกันว่า “พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแบบสุดซอย” หวังจะให้อดีตรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรพ้นผิดในทุกกรณี รวมถึงการทุจริตคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง เมื่อประชาชนออกมาต่อต้าน ซึ่งในที่สุดก็ไม่สามารถทำให้การออกเป็นกฎหมายบรรลุผลได้ และยังนำไปสู่การประท้วงที่ขยายวงกว้างขึ้นไปอีก จนในที่สุดทำให้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรต้องประกาศยุบสภา และหวังจะให้มีการเลือกตั้งใหม่โดยเร็ว คือในวันที่ 2 ธันวาคม 2557

แต่ฝ่ายต่อต้านที่มีคนตั้งฉายาว่า  ปฏิวัตินกหวีด (Whistle Revolution) ได้ประกาศว่า จะไม่มีการเลือกตั้ง จนกว่าจะมีการปฏิรูปประเทศไทยเสียก่อน (Thailand Reform) หรือ Reform Before Election แล้วจึงจะจัดให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิยุติธรรมในภายหลัง พรรคฝ่ายค้านหลักเดียว คือพรรคประชาธิปัตย์ประกาศว่า พรรคจะไม่เข้าร่วมในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น

ณ เวลาปัจจุบัน ประเด็นของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย แต่หมายถึงการขจัดระบอบทักษิณออกไป ระบอบทักษิณที่มีทักษิณ ชินวัตรชักใยอยู่เบื้องหลัง โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเพื่อไทย ทำหน้าที่ไม่ต่างอะไรจากสภาลูกจ้าง ออกเสียงไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของประชาชนที่ตนเองเป็นตัวแทน แต่กลับเพื่อทักษิณ ชินวัตรและเครือข่าย นายจ้างในทางปฏิบัติ

เป้าหมายของฝ่ายต่อต้านคือ ไม่ใช่ต่อต้านเพียงรัฐบาลยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย แต่โดยรวมคือการขจัดระบอบทักษิณ (Taksinocracy) ให้หมดไปจากวงการเมืองของประเทศไทย โดยรวม คือ ขจัดระบบคอรัปชั่นให้หมดจากระบบราชการ การขจัดการเล่นพรรคเล่นพวก (Nepotism, Cronyism) สร้างระบบคุณธรรมในการบริหารราชการแผ่นดิน การกระจายอำนาจการปกครอง ให้ประชาชนมีบทบาทในการปกครองท้องถิ่น มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ตำรวจปรับโครงสร้าง ให้ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นอันหมายถึงระดับจังหวัดเป็นหลัก การขจัดการรวมหัวผูกขาด อันเป็นการร่วมมือกันระหว่างฝ่ายการเมือง ฝ่ายราชการ และฝ่ายธุรกิจ อันทำให้เกิดการโกงกินกันในระดับกว้างขวางทั้งในระดับประเทศ จนในระดับท้องถิ่น

หลังปีใหม่ 2557 จะเป็นช่วงของการชี้ขาดว่า ฝ่ายทักษิณ อันมีพรรคเพื่อไทยที่มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรอันเป็นผู้สมัคร Party List อันดับหนึ่ง จะยังคงอำนาจไว้ได้หรือไม่ โดยอาศัยการเลือกตั้งที่หวังจะให้เกิดขึ้นในวันที่ 2 ธันวาคม 2557 ที่ส่อเค้าความขัดแย้งรุนแรง จะเดินหน้าต่อไปได้หรือไม่ และในอีกด้านหนึ่งตามความมุ่งมั่นของฝ่ายตรงกันข้าม คือการขจัดระบอบทักษิณให้หมดไปจากแผ่นดินไทย ด้วยการปฏิวัติด้วยอารยะขัดขืน (Civil disobedience) แต่ยกระดับความเข้มข้นขึ้น คงจะต้องติดตามกันต่อไปในภาคสอง ปีใหม่ 2557


ภาพ รวมเหตุการณ์ปะทะกันของฝ่ายผู้ชุมนุมประท้วง กับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ศูนย์กีฬาไทย-ญิ่ปุ่น ดินแดง กทม. วันทีี่ 26 ธันวาคม 2556


ภาพ กลุ่มผู้ประท้วงที่เผชิญกับก๊าสน้ำตา 










No comments:

Post a Comment