Saturday, July 17, 2010

โลกกับวัฒนธรรมรถยนต์ (Automobile Culture)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: สิ่งแวดล้อม, พลังงาน

โลกกำลังก้าวสู่ยุค Automobile Culture คือทุกคนหรือครอบครัวอยากมีรถยนต์ ทั้งเพื่อความสะดวก และเป็นสถานะในสังคม ส่ิงในี้ได้เกิดขึ้นแล้วในสหรัฐ เริ่มตั้งแต่ 80-90 ปีที่ผ่านมา ในยุโรปก็เกิดวัฒนธรรมในแบบเดียวกัน แรกๆ รถเป็นของหรูสำหรับชนมีระดับ แต่เมื่อ Henry Ford ได้เริ่มผลิตรถยนต์ในแบบสายพาน ผลิตจำนวนมากดังในรุ่น Model T ก็ทำให้คนทั่วไปมีกำลังหาซื้อไว้ใช้

ในเยอรมันนี้สมัยฮิตเลอร์ รถยนต์โฟคสวาเกน อันแปลได้ว่ารถมหาชน คือรถโฟล์คเต่า ราคาไม่แพง ผลิตจำนวนมาก เพื่อให้คนทั่วๆไปใช้ได้ใช้ แม้สงครามสงบ รถยนต์ราคาไม่แพง ก็กลายเป็นตัวส่งสเริมให้ต้องมีการสำรวจและผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากปิโตรเลียมมาใช้กันอย่างกว้างขวางในช่วงเวลา 80-90 ปีที่ผ่านมานี้

ในปัจจุบัน เฉพาะในสหรัฐประชากร 300 ล้านคนมีรถยนต์กว่า 200 คัน หากตัดคนทีี่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี และคนที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป ซึ่งจะขับรถน้อยลงแล้ว ก็เกือบกล่าวได้ว่า ทุกคนมีรถยนต์กันคนละคัน หรือครอบครัวละอย่างน้อย 1 คัน

รถยนต์เป็นตัวใช้พลังงานสิ้นเปลืองมากที่สุด เพราะเขาจับสถิติแต่ละวันคนขับรถไปทำงานในเมือง มักขับคนเดียวโดยไม่มีผู้โดยสารอื่นๆ

รถยนต์เป็นตัวก่อปัญหาสิ่งแวดล้อมทางอากาศมากที่สุด ตามสถิติของสหรัฐ รถยนต์หนึ่งคันปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 5 ตันสู่อากาศ ทั้งนี้ยังไม่นับรวม Carbon monoxide, hydrocarbons, และ nitrogen

รถยนต์ย่ิงมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งใช้พลังงานมาก โอกาสปล่อยควันเสียสู่อากาศก็ยิ่งมาก

รถยนต์ขนาดใช้ทั่วไปในสหรัฐในปัจจุบัน นับเป็นรถขนาดใหญ่ในไทย คือพวก Camry, Honda Accord, ขนาดเครื่องยนต์ 3000 ซีซี รถยนต์ที่สหรํฐผลิตเองในประเทศ เช่น Ford, GM, `และ Chrysler ในปัจุบบันก็จะจัดอยู่ในระดับดังกล่าว โดยทั่วไปเขามีนโยบายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำมันในรถรุ่นใหม่ๆ โดยทำให้วิ่งได้ 10-12 กิโลเมตรต่อลิตร

รถยนต์ที่ใช้ขนาดทั่วไปในประเทศไทยคือระดับ 1600 ซีซี ดังเช่น Toyota Altis หรือ Honda Civic ซึ่งก็ยังนับว่ายังใหญ่เกินความจำเป็น มีรถที่มีขนาดใหญ่กว่านี้ที่ใช้กันในท้องถนน และมีที่ขนาดเล็กกว่านี้เช่นกัน

รถขนาดทั่วไปในประเทศไทย หากวิ่งประมาณ 30,000 กิโลเมตรต่อปี ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 3,000 ลิตร คิดเป็นมูลค่า 99,000 บาท หรือประมาณเดือนละ 8250 บาท

รถแทกซี่ในกรุงเทพฯวิ่งวันละ 2 กะๆละ 300 กิโลเมตร หรือวันละ 600 กิโลเมตร ปีละประมาณ 353 วันหยุดปีละไม่ถึงครึ่งเดือน

รถแทกซึ่ในกรุงเทพฯ วิ่งไม่หยุดคิดเป็นระยะทางปีละ 211800 กิโลเมตร เกือบทั้งหมดใช้แก๊สหุงต้ม และ NGV ซึ่งท้ายที่สุดไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าสจากปิโตรเลียม ท้ายสุดก็จะหมดไปจากโลกแบบที่ไม่สามารถสร้างทดแทนได้ในแบบเดิม

ผมลองให้ชาวรถแท็กซี่ประมาณดู จะมีรถแท็กซี่ในกรุงเทพฯ รวม 100,000 คัน มากกว่าในฮ่องกง (27000 คัน) ถึง 3-4 เท่า รองรับประชากรใกล้ๆกัน

แต่รถแท็กซี่ฮ่องกงมีรายได้ดีกว่ากรุงเทพฯมาก ทั้งๆที่ค่าโดยสารไม่สูงกว่าแท๊กซีในกทม.มากนัก เพราะรถในฮ่องกงวิ่งได้ไม่หยุด ไม่มีจราจรติดขัด

รถยนต์โดยรวมๆในทุกประเทศ หากปล่อยให้เป็นวัฒนธรรม ต่างมีรถยนต์กันคนละคัน หรือแม้แต่ครอบครัวละคัน โลกก็จะมีปัญหาวิกฤติด้านพลังงาน และสิ่งแวดล้อม

บางประเทศในยุโรป คิดวิธีการทางภาษีที่จะทำให้คนใช้รถและน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างประหยัด เช่น การคิดภาษีตามระยะทางที่วิ่ง

บางแห่งดังเช่นที่เมืองลอนดอน เขาเก็บค่าเข้าเขตจราจรหนาแน่น (Congestion Controlled Zone - CCZ) โดยรถยนต์ทั่วไปต้องเสียค่าตั๋วอย่างแพง

เมืองลอนดอนบีบคนให้ใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะเป้นหลัก ดังเช่นรถใต้ดินที่เรียกว่า Underground หรือ เขาเรียกว่า The Tube

เมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา จะเข้าเขตแมนฮัตตัน ส่วนใหญ่จะต้องเสียค่าผ่านทาง และหากต้องจอดรถตามที่จอดรถเสียค่าจอดถึง วันละ 1300 บาท

เมืองนิวยอร์ค เขาผลักดันให้คนไปใช้ระบบขนส่งสาธารณะ รถใต้ดินที่เรียกว่า Subway จ่ายเที่ยวละ USD 2.25 ไม่จำกัดระยะทาง เป็นราคาเมืองสนับสนุน ดังนั้น ดีที่สุด คือไม่ต้องมีรถยนต์เป็นส่วนตัว และไม่ต้องขับรถไปทำงาน หากที่ทำงานอยู่ในเขตเมือง โดยให้หันไปใช้ระบบขนส่งสาธารณะ

ในประเทศไทย ผมเห็นเศรษฐกิจกลับคืนมาเป็นปกติหลังเหตุการณ์จลาจลในเดือนเมษา-พฤษภา สังเกตตามถนนมีคนถอยรถป้ายแดงออกมาวิ่งกันมากขึ้น และที่เห็นมี Nissan March ซึ่งเป็นรถยนต์เล็ก เครื่องยนต์ขนาด 1200 ซีซี แบบ 3 สูบ จัดเป็นรถ Eco Cars ในค่าย GM, Mazda, ก้มีรถขนาดเล็กและราคาประหยัดออกสู่ตลาดในไทยเช่นกัน ด้วยราคารถและการใช้น้ำมันที่ลดลง คือประมาณ 18 กิโล/ลิตร ก็จะยิ่งทำให้มีรถบนท้องถนนมากขึ้น การจราจรในเขตเมืองก็จะยิ่งมีการติดขัดยิ่งขึ้น

เห็นที่เราต้องหันมาคิดเรื่องรถยนต์ การเดินทาง การพัฒนาคุณภาพชีวิตในแบบใหม่กันบ้างแล้ว มิฉะนั้น เราทั้งหมดคงจะต้องประสบวิกฤติการโลกด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานกันอย่างหนักในไม่ช้านี้

No comments:

Post a Comment