ลองคิดใช้รถรางยุคใหม่เชื่อมเมืองชะอำกับหัวหิน
(Cha-Am & Hua Hin)
Keywords: การขนส่ง, ยานพาหนะ, การขนส่งระบบราง, mass transit system, รถราง, tram,
ชะอำ, หัวหิน Cha-Am & Hua Hin, ทางหลวงสายเพชรเกษม,
ความนำ
ภาพ อำเภอหัวหิน ดานหนึ่งติดฝั่งทะเล อีกด้านหนึ่งเป็นทุ่งนาและภูเขา ติดฝั่งพม่า
ภาพ หัวหิน-ชะอำ มีชายหาดยาวหลายกิโลเมตร
ภาพ เมืองตากอากาศ หัวหิน-ชะอำ ฝั่งติดทะเล มีการทำโรงแรมและที่พักกันมากมาย แต่เป็นอันมาก ยังเป็นที่พักช่วงสั้น ซึ่งควรเน้นการพักระยะยาว (Long stay)
ภาพ หัวหิน-ชะอำ ส่วนที่เป็นด้านตะวันตก เป็นทิวเขา ยังมีพื้นที่มากมายที่จะใช้ประโยชน์ได้ และขณะเดียวกัน ต้องรักษาสภาพแวดล้อมความเป็นป่าเขาเอาไว้ด้วย
ภาพ เวลาช่วงกลางคืนของเมืองหัวหิน-ชะอำ จะไม่คึกคักและอึกทึกเหมือนทางชายทะเลฝั่งตะวันออก อย่างพัทยา
ขอสนับสนุนชาวเมืองหัวหิน-ชะอำ ทั้งผู้มาพักทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ให้ได้เลือกใช้ชีวิตอย่างแช่มช้า (Slow living) เน้นคุณภาพชีวิต
การประสมประสานการออกกำลังกาย เช่นการเดิน การขี่จักรยาน เข้ากับวิถีชีวิตที่ไม่เร่งร้อน
แต่ไม่ถึงกับเชื่องช้า
ในการนี้ ผู้เขียนคิดถึงการใช้การขนส่งมวลชนระบบราง
(Rail transit system) คือรถรางยุคใหม่ e-class tram ที่สะดวกสบาย เสริมด้วยการใช้รถจักรยาน ที่ประหยัดพลังงาน
ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เพิ่มมาตรการกีดกันรถยนต์ส่วนตัวในหลายพื้นที่ ด้วยการลดความเร็ว
(Speed limit) มาตรการห้ามจอด ห้ามผ่านในบางเขต โดยไม่เสียหายระบบการขนส่ง
ผู้พักอาศัยของเมืองไม่ต้องใช้รถยนต์ส่วนตัว หรือรถจักรยานยนต์
รถรางรุ่นใหม่
รถรางรุ่นใหม่ ต่างจากรถรางยุคแรกๆ
ที่ผมเคยใช้เมื่อเป็นเด็ก กว่า 50-60 ปีที่แล้วในกรุงเทพฯ
ทั้งนี้โดยเลือกใช้รถรางรุ่นใหม่ดังที่มีใช้ในกรุงเมลเบอร์น
ประเทศออสเตรเลีย ความเร็ว 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง สามารถใช้เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างเมืองหัวหินในจังหวัดประจวบคีรีขัณฑ์
กับเมืองชะอำ ของจังหวัดเพชรบุรีเข้าด้วยกัน ความยาว 26 กิโลเมตรโดยวางรางคู่ตรงกลางของเส้นทางถนนเพชรเกษม
แล้วเปลี่ยนกฎจราจรให้ถนนเพชรเกษมช่วงดังกล่าวเป็นเขตถนนในเมือง ความเร็วจำกัดที่ 40
กิโลเมตร พร้อมให้มีทางรถจักรยานชิดริมทางเดินขนาดกว้างด้านละ 1.50
เมตร ซึ่งความเร็วจะไม่เกิน 20 กิโลเมตร/ชั่วโมง
หากใครใช้ความเร็วสูงช่วงลงใต้
ให้เลือกเส้นทางอ้อมเมือง (Bypass) ซึ่งสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วถึง
110 กิโลเมตร หรือในอนาคต หากมีรถไฟรางคู่มาตรฐานใหม่
เส้นทางลงใต้วิ่งได้ด้วยความเร็ว 100-140 กิโลเมตร
ก็ให้เลือกใช้รถไฟได้
ภาพ รถรางรุ่นใหม่ที่มีใช้ในเมืองเมลเบอร์น ออสเตรเลีย
ภาพ รถรางที่มีวิ่งในยุโรป
ภาพ รถรางในเยอรมนี
ภาพ รถรางรุ่นใหม่ในยุโรปทั่วๆไป เมืองขนาดกลางและใหญ่ เลือกใช้การขนส่งระบบราง แต่วางรางบนผิวราบ บนถนน
เมืองหัวหิน (Hua Hin City)
หัวหิน เป็นอำเภอที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
เดิมมีชื่อว่า "บ้านสมอเรียง" หรือ "บ้านแหลมหิน" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้ทรงสร้างวังไกลกังวลเพื่อประทับพักผ่อนในฤดูร้อน
และปัจจุบันวังไกลกังวลนั้นเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์องค์
ปัจจุบัน
ทุกวันนี้หัวหินมีชื่อเสียงจากการเป็นสถานที่ตากอากาศที่สามารถเที่ยวได้ใน
1 วันและอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร เริ่มที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพียง 196-198 กิโลเมตร
หากใช้เส้นทางถนนพระรามที่ 2
ตัวเมืองหัวหินและชะอำ ห่างกัน 26 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ 22 นาที
เมืองชะอำ (Cha-Am City)
ชะอำ เดิมมีชื่อว่า
“ชะอาน” ในสมัยกรุงศรีอยุธยาครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงนำทัพมาทางใต้
เมื่อมาถึงเมืองนี้ไพร่พล ช้าง ม้า และได้ชำระล้างอานม้า จึงได้ชื่อว่า “ชะอาน” ต่อมาชื่อนี้จึงเพี้ยนมาเป็น “ชะอำ”[ต้องการอ้างอิง] ชะอำครั้งอดีตเริ่มมีความเจริญทางด้านทางท่องเที่ยว ตั้งแต่ทางรถไฟสายใต้สร้างมาถึงในราวปี พ.ศ. 2459 ชายหาดชะอำเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่รู้จักกันมานานแล้ว
แต่ในอดีตยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร จนกระทั่งปี พ.ศ. 2464 พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และพระบรมวงศานุวงศ์
ข้าราชบริพารในสมัยนั้นได้ออกสำรวจพื้นที่ชายทะเลที่ชะอำ
ได้ทรงมาจับจองที่ดินชายทะเลตำบลชะอำ
ชะอำ ในอดีตเป็นพื้นที่ในความดูแลของเขตอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
มีสภาพเป็นป่า
พื้นที่ส่วนด้านชายทะเลเป็นดงกระบองเพชรป่าหนามเสมาสลับกับต้นมะขามเทศและต้นรัก
การประกอบอาชีพในอดีตประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่สับปะรด และทำการประมง
หมู่บ้านชะอำนั้นตั้งอยู่หลังสถานีรถไฟบ้านชะอำทางทิศตะวันตกของทางรถไฟ
หมู่บ้านชายทะเลนี้เป็นเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ ที่บ้านปากคลอง และบ้านหนองแจง
เมื่อชะอำเริ่มเป็นที่รู้จักว่า เป็นเมืองชายทะเลที่สงบเงียบ ธรรมชาติสวยงาม อีกทั้งมีแหล่งน้ำจืดที่อุดมสมบูรณ์
ทำให้มีราษฎรอพยพมาปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากชุมชนเล็ก ๆ
ขยายตัวเป็นชุมชนใหญ่ มีการรวมตัวจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน ให้ชื่อว่าหมู่บ้าน “สหคาม” โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้โปรดเกล้าแต่งตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก
พระบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ได้ทรงวางผังเมืองชะอำ วางผังเมืองชะอำ
วางผังตัดถนน
และมีพระประสงค์เพื่อให้ชะอำเป็นที่พักตากอากาศตามแผนพัฒนาชะอำที่พระองค์ได้จัดทำขึ้น
โดยมีกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี และพระยามโนปกรณ์ฯ
ร่วมเป็นที่ปรึกษา
ชะอำ
จึงเป็นเมืองตากอากาศที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทยที่รู้จักกันในหมู่ชาวต่างประเทศและยังเป็นที่ตั้งของพระราชนิเวศน์มฤคทายวันซึ่งเป็นพระราชวังฤดูร้อน
ประชากร 30,102 คน
จำนวนครัวเรือน 19,846 ครอบครัว ความหนาแน่น 273.6545
คน/ตารางกิโลเมตร
เส้นทางระหว่างสองเมือง
เส้นทางระหว่าง 2 เมือง
สายหลักคือถนนเพชรเกษม ส่วนที่ติดทะเล มีชายหาดยาวสีขาวยาวเป็นเส้นตรง
เหมาะแก่การเป็นเมืองพักผ่อนตากอากาศ เมืองสำหรับคนสูงอายุได้มาใช้ชีวิตที่มีคุณภาพที่นี่
การเปลี่ยนจากเมืองตากอากาศของคนกรุงเทพฯในช่วงวันหยุด
ให้กลายเป็นเมืองตากอากาศและพักอาศัยของทั้งคนไทยและต่างประเทศ
ให้ความสำคัญสำหรับผู้มาใช้ชีวิตพักยาวนาน (Long stay) มีระบบสาธารณูปโภคที่พร้อมเพรียง
น้ำประปา ไฟฟ้า ระบบกำจัดของเสีย อาหารการกิน การดูแลสุขภาพ ระบบสื่อสาร
การเดินทางและขนส่ง
โดยมีค่าดำรงชีวิตที่พอประมาณสำหรับผู้เกษียณอายุที่มีรายได้จำกัด
ภาพ การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปชะอำ หัวหิน ปราณบุรี สามารถเดินทางไปได้ด้วยรถประจำทางปรับอากาศ
ภาพ การเดินทางไปชะอำ-หัวหิน-ปราณบุรี และการขนส่งสายใต้ด้วยระบบรถไฟฟ้า จะสะดวกยิ่งขึ้นเมื่อมีระบบทางรถไฟรางคู่
ข้อมูลเมืองทางภาคตะวันตก
เมืองในเขตตะวันตกของประเทศไทยที่มีประชากรกว่า
20,000 คน
เมือง
|
ประชากร
|
บางแพ
Bang Phae |
26509
|
บ้านโป่ง
Ban Pong |
51708
|
ชะอำ
Cha-am |
45981
|
ดำเนินสะดวก
Damnoen Saduak |
20838
|
หัวหิน
Hua Hin |
41953
|
กาญจนบุรี
Kanchanaburi |
52369
|
เพชรบุรี
Phetchaburi |
40259
|
โพธาราม
Photharam |
32387
|
ประจวบคีรีขัณฑ์
Prachuap Khiri Khan |
26926
|
ปราณบุรี
Pran Buri |
37994
|
ราชบุรี
Ratchaburi |
82803
|
สมุทรสงคราม
Samut Songkhram |
34985
|
สุพรรณบุรี
Suphan Buri |
52666
|
ท่ามะกา
Tha Maka |
43294
|
ท่าม่วง
Tha Muang |
21957
|
ท่ายาง
Tha Yang |
36790
|
ภาพ โครงการที่เรียกว่า Land Bridge เหมือนสะภานเชื่อมโยงฝั่งมหาสมุทรสองฟาก ในสองประเทศ โดยฝั่งพม่าที่เมืองทวาย ฝั่งไทยอาจใช้ท่าเรือและอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในจังหวัดชลบุรีและระยอง แต่การเชื่อมโยงจะเน้นไปที่ระบบราง (Rail system)
ภาพ จำลองเขตอุตสาหกรรมทางฝั่งพม่าที่ทวาย
ภาพ อีกแผนที่หนึ่งที่ค้นพบใน Google เขตที่จะได้ประโยชน์หากมี Dawei Land Bridge คือจังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม
No comments:
Post a Comment