Friday, November 23, 2012

ไฮด์ปาร์ค (Hyde Park) เวทีเสรีภาพทางการเมือง

ไฮด์ปาร์ค (Hyde Park) เวทีเสรีภาพทางการเมือง


 ภาพ ไฮด์ปาร์ค (Hyde Park) และสวนเคนซิงตัน (Hyde Park and Kensington Gardens
ที่เห็นเป็นส่วนสีเขียวครึ้ม)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: การเมือง, การปกครอง, ประชาธิปไตย, politics, democracy, freedom, liberty, เสรีภาพทางการเมือง, สิทธิในการแสดงออก, majority rules, minority's rights, ไฮด์ปาร์ค (Hyde Park) 

ไฮด์ปาร์ค (Hyde Park) เป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในตอนกลางของกรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร (Central London, United Kingdom)

สวนสาธารณะนี้มีชื่อเสียง เป็นสถานที่แสดงสินค้า (the Great Exhibition of 1851) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1851 ทำให้มี “ราชวังแก้ว” (Crystal Palace) ซึ่งออกแบบโดย Joseph Paxton แต่ที่คนทั่วไปรู้จักกันคือเป็นที่เริ่มต้นของการรณรงค์ทางการเมือง ดังเช่น การเคลื่อนไหวครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ การเคลื่อนไหวผู้ใช้แรงงานเพื่อการปฏิรูปการเมือง (The Chartists), สมาพันธ์ปฏิรูป การผลักดันโดยชนชั้นกลาง (The Reform League), การเคลื่อนไหวของกลุ่มสิทธิสตรี (The Suffragettes) และกลุ่มรณรงค์หยุดสงคราม (The Stop The War Coalition) ล้วนเริ่มต้นที่นี่

ชื่อไฮด์ปาร์ค จึงเป็นเหมือนดังชื่อของเสรีภาพในการพูดการนำเสนอทางการเมือง ใครมีข้อคับข้องใจอะไรจะนำเสนอทางการเมือง ก็ไปใช้เวทีที่นี่ได้ ในประเทศไทย กรุงเทพฯและทุกเมืองใหญ่ มีที่สาธารณะ ที่จะให้คนจัดกิจกรรมทางการเมืองได้อย่างสะดวก ไม่ว่าเขาจะคิดอย่างไร เป็นฝ่ายรัฐบาลหรือต่อต้านรัฐบาล หากให้เขาได้แสดงออกอย่างเสรี และด้วยความระมัดระวังไม่ไปกระทบคนอื่นๆที่เขาไม่ได้เกี่ยวข้อง ย่อมจะเป็นบรรยากาศประชาธิปไตยที่ดี และควรสนับสนุนเปิดโอกาสการแสดงออกอย่างเสรี


ภาพ มุมปราศรัยที่ไฮด์ปาร์ค (Hyde Park, London, UK)

มุมปราศรัยในสวนสาธารณะ (Speakers' Corner) เป็นที่ซึ่งเปิดโอกาสให้คนพูดได้อย่างเสรี ทั้งในแบบโต้วาที และการเสวนา จุดเริ่มต้นที่คนรู้จักกันมากที่สุดคือที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือของไฮด์ปาร์ค (Hyde Park in London, United KingdomUK) คนพูดอาจพูดในประเด็นใดๆก็ได้ ตราบเท่าที่ตำรวจที่ยืนฟังอยู่เห็นว่าไม่ขัดกฎหมาย แต่การพูด ณ ที่นี้ไม่ทำให้ปลอดจากการฟ้องร้องทางกฎหมาย หากการพูดนั้นไปสร้างความเสียหายแก่บุคคลอื่น แต่โดยทั่วไปตำรวจจะมีความอดทน ยกเว้นเสียแต่ได้รับคำร้องเรียนว่าพูดคำหยาบคาย หรือไปดูหมิ่นผู้อื่น (Profanity)

Monday, November 19, 2012

อาจารย์ 360 องศา


อาจารย์ 360 องศา


ภาพ ประกอบ คุปรัตน์ ถ่ายภาพร่วมกับนิสิตนักศึกษาและคณาจารย์ในหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: บันทึกการศึกษา, education diary, บัณฑิตศึกษา, graduate education, การอุดมศึกษา, higher education

ผมเป็นอาจารย์ที่สนใจในหลายๆสิ่งรอบตัวในขณะนี้ จึงอยากเรียกตัวเองว่า “อาจารย์ 360 องศา”
ตื่นเช้าขึ้นมา หลังออกกำลังกายที่ Fitness Center ใกล้ๆบ้านแล้ว ได้รับประทานอาหารเช้าเบาๆแล้ว ก็นั่งหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เข้าไปมีกิจกรรมใน Facebook และ Twitter หรือไม่ก็ดูทีวี ติดตามข่าว CNN ทั้งนี้เพื่อเตรียมตัวเองให้ไม่ตกข่าวสารบ้านเมือง และสรรพสิ่งที่ได้เกิดขึ้นรอบโลก

ผมมีอาชีพเป็นครูและผู้บริหาร เมื่อเคยสอนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในยุคเริ่มต้น สอนวิชาระดับปริญญาตรีเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว มีนักศึกษาฟังบรรยายครั้งละเป็นพันคน ต่อมาเรียนจบปริญญาขั้นสูงแล้ว กลับไปทำงานที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มผู้เรียนเป็นระดับมหาบัณฑิต ลดลงมาเหลือ 20-25 คนต่อชั้น พอเปิดสอนระดับปริญญาเอกที่จุฬาฯ เวลาดูแลวิทยานิพนธ์ เหลือต้องดูแลที่ละคน จากที่สอนระดับสูงขึ้น แต่ความรู้เฉพาะเป็นแบบรู้ลึกแต่คับแคบลงเป็นลำดับ

เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา ผมผันตัวเองเป็นมีอาชีพด้านที่ปรึกษาทางการศึกษา (Consultant) มีความท้าทายตรงที่ คนที่เขาให้ทำงานนั้น เขามักจะเลือกให้ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน แต่เขาเห็นว่าเราน่าจะทำได้ ทำแต่ละเรื่องแต่ละโครงการล้วนเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องเรียนรู้ โดยใช้หลักบริหารนวตกรรม (Innovation Management) เป็นหลักในการทำงาน ซึ่งก็สนุกดี

ถึงวันนี้ในวัย 66 ปี ขอบคุณพระเจ้าที่ร่างกายยังแข็งแรง แต่ด้านจิตใจเริ่มอยากทำอะไรที่แปลกใหม่ ไม่ต้องซ้ำเดิม ทางเลือกหนึ่งคือ “เปลี่ยนบทบาทตนเองจากเป็นผู้สอนอย่างเดียว ไปสู่สอนและเรียนรู้ร่วมกันกับผู้เรียนไปด้วย” จากการสอนเพียงในชั้นเรียน ก็สอนแบบ “ห้องเรียนเปิด” (Open classroom) สอนผ่านระบบออนไลน์เสียเลย แทนที่จะมีคนรับประโยชน์เพียงกลุ่มน้อย ก็ให้มีโอกาสได้ร่วมเรียนกันไปในวงกว้าง เขียนงานมาหนึ่งชิ้น ก็ให้ได้อ่านกันไปทั่ว หลายๆคน

ผมหันมาใช้ประโยชน์จากความสนใจรอบด้านมาช่วยในการเรียนการสอน อยากจะเรียนรู้เรื่องใด ก็เข้าไปค้นคว้าโดยใช้ข้อมูลในระบบออนไลน์ศึกษาหากความรู้ เมื่อสนใจแล้ว ได้รู้แล้ว ก็นำความรู้นั้นมาเผยแพร่ เขียนเป็นข้อความ แล้วขยายเป็นบทความ (Articles) เมื่อเริ่มรู้ลึกมากพอ หากต้องการู้ลึกในบางเรื่อง ก็ไปหาตำราระดับสูงมาอ่านเป็นเฉพาะเรื่องไป

แต่ก็นั่นแหละครับ เมื่อสนใจรู้กว้าง ก็จะไม่รู้ลึกไปเสียทั้งหมด เหมือนแสงเทียนที่สว่างรอบทิศ แต่ก็จะสว่างไม่ได้ไกล ไม่เหมือนไฟฉาย หรือไฟหน้ารถยนต์ ที่ส่องไปเฉพาะจุด (Focusing) แต่ส่องทางได้ไกลมากๆ คนอย่างผม ณ เวลานี้ จึงเหมาะสำหรับการเป็นคนเปิดเกมส์การศึกษาต่อในระดับปริญญาขั้นสูง (Graduate Education) ให้คำปรึกษาแก่นิสิตนักศึกษาในระยะเริ่มต้นที่เขาจะทำวิทยานิพนธ์  ทำให้นิสิตนักศึกษาที่เข้าใหม่ ได้มีความรู้กว้างๆระดับหนึ่งก่อน แล้วจึงเริ่มเจาะจงศึกษาในเรื่องแคบลง และแคบที่สุดเพียงพอที่จะศึกษาเป็นหัวเรื่องวิทยานิพนธ์ (Doctoral Proposal) และทำงานวิจัยตามหัวเรื่องวิทยานิพนธ์นั้นจนจบเรื่องได้

งานอย่างที่ผมทำนี้ ในวงการแพทย์เขามีคนทำงานเป็น General Practitioners คือแพทย์ทั่วไป คอยรับคนป่วยที่เข้ามาโรงพยาบาล ตรวจสอบประวัติ สัมภาษณ์ ตรวจร่างกาย ให้การวินิจฉัยและรักษาพยาบาลขั้นเบื้องต้น ให้แนวทางในการรักษาพยาบาล ในกรณีต้องรักษาต่อเนื่อง ก็ส่งต่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านรับไปรักษาต่อไป ส่วนบทบาทในระยะต่อไป คือติดตามความก้าวหน้าของผู้ป่วยต่อไป เพื่อจะได้ใช้ข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ และปรับปรุงประสิทธิภาพการรักษาพยาบาลต่อไป

แพทย์ในลักษณะนี้ ความรู้รอบ รู้เท่าทันสิ่งต่างๆที่ได้เกิดขึ้นจะเป็นประโยชน์ เพราะถ้าหากเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหนึ่งเรื่องใด ก็จะมีแนวโน้มที่จะรักษาพยาบาลตามลักษณะโรคที่ตนเองคุ้นเคย เช่น หากเป็นแพทย์ผ่าตัด ก็จะมองเห็นความจำเป็นในการผ่าตัดมากเกินเหตุ แทนที่จะวิเคราะห์โรคอย่างเปิดกว้าง ทำความเข้าใจในปัญหาอย่างรอบด้าน แล้วจึงเสนอแนวทางในการรักษาพยาบาลที่เหมาะสมต่อไป
คนอย่างผมนี้จึงเหมาะที่จะเรียกว่า “อาจารย์ 360 องศา” เป็นอาจารย์ที่สนใจรู้รอบ แต่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

Saturday, November 17, 2012

ทฤษฎีเด็กเน่า (Rotten kid theorem) พร้อมกรณีศึกษา


ทฤษฎีเด็กเน่า (Rotten kid theorem) พร้อมกรณีศึกษา

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: cw411, Economics, เศรษฐศาสตร์, sociology, สังคมวิทยา, ทฤษฎีเด็กมีปัญหา, Rotten kid theorem, ระบบรางวัล, reward system, incentive,

ทฤษฎีเด็กมีปัญหา (Rotten kid theorem)

Rotten = เน่าเสีย, เน่าเปื่อย, น่าขยะแขยง, เฟะฟะ, เลวทราม, เหม็นบูด, เสื่อมโทรม

หากจะแปลความหมายอย่างที่เขาใช้เรียกกัน ก็ดูจะแสดงทัศนคติที่ไม่เหมาะสมออกมา จึงของเรียกทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีเด็กมีปัญหา” (Rotten kid theorem) Gary Becker นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชิคาโกได้เสนอแนวคิดด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอันหนึ่ง โดยเรียกว่า Rotten kid theorem โดยอธิบายว่าในทุกครอบครัว แม้จะมีความเห็นแก่ตัว แต่จะช่วยกัน โดยสร้างแรงจูงใจทางการเงิน เพื่อช่วยสมาชิกที่มีปัญหาที่สุด อาจด้วยความไม่แข็งแรง เจ็บป่วย ไม่ฉลาดเท่าคนอื่นๆ เรียนหนังสือหรือมีพื้นฐานที่ไม่ดีเท่าคนอื่นๆ แต่หากคนที่มีปัญหาเป็นจุดอ่อนนี้ ได้รับแรงจูงใจที่เหมาะสม โดยมองเห็นประโยชน์ของส่วนรวมร่วมด้วย เขาก็จะเติบโตและดำชีวิตได้อย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็น

ศาสตราจารย์ Gary Becker นักเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago) ให้สถานการณ์สมมุติฐานว่า เด็กจะได้รับรางวัลทางด้านการเงินจากพ่อแม่ที่เข้าใจปัญหาและมีกุศลจิต (Altruistic) คิดอย่างมองเห็นประโยชน์ของส่วนรวม หากมีเด็กที่เป็นคนเห็นแก่ตัว ที่แสวงความสุขที่เป็นการทำร้ายพี่น้องคนอื่นๆ ทฤษฎี Rotten kid theorem จะมีแรงจูงใจที่ทำให้เด็กที่อาจเห็นแก่ตัวนั้นหลีกเลี่ยงการทำร้ายคนอื่น และเปลี่ยนเป็นช่วยทำในสิ่งที่เป็นความสุขแก่คนอื่นๆ เนื่องจากจะได้รางวัลหรือเงินเป็นแรงจูงใจให้กระทำอย่างนั้น แม้จะไม่มีโครงสร้างอย่างเป็นทางการหรือรูปธรรมใดๆ ทั้งนี้เพียงว่าพ่อแม่มีการกำหนดให้รางวัลของเด็กมีปัญหาให้เป็นผลมาจาก “การทำให้คนอื่นๆได้มีความสุข”
Altruistic = ซึ่งเห็นแก่ผู้อื่น, การกระทำอย่างเสียสละโดยไม่ได้คิดถึงผลประโยชน์ส่วนตน

ทฤษฎีเสนอว่า พ่อแม่ควรชะลอการให้เงินแก่เด็กๆจนกว่าเขาจะโตพอ หรือบางทีอาจหลังจากที่พ่อแม่เสียชีวิตแล้ว หากพ่อแม่ทำพินัยกรรม (Will) มอบเงินให้กับเด็กๆตามความจำเป็น (Needs) เด็กๆก็จะมีแรงจูงใจที่จะทำให้คนอื่นๆได้มีรายได้มากที่สุด เพราะแรงจูงใจที่มาจากการทำให้คนอื่นๆได้มีทรัพย์สินเป็นผลโดยตรงต่อความเป็นอยู่ของตนเอง คือคนอื่นๆได้ดี เขาก็ได้ดีด้วย

กล่าวอย่างง่ายๆ ทำให้คนมีแรงจูงใจที่ทำให้คนอื่นๆได้ดี แล้วเราจะได้ดีตามไปด้วย

กรณีศึกษาที่ 1

ณ หมู่บ้านตากอากาศแห่งหนึ่ง

ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม ในหมู่บ้านที่เป็นเมืองท่องเที่ยวตากอากาศ (Resort Village, or Town) แห่งหนึ่ง ใช้หลักบริหารแบบทฤษฎีเด็กมีปัญหา (Rotten kid theorem) ในการดูแลสวัสดิการคนในหมู่บ้าน ทำให้คนในหมู่บ้านเข้าใจว่า ชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคนขึ้นอยู่กับการที่มีคมมาท่องเที่ยวตากอากาศ การจะช่วยทำให้หมู่บ้านนี้ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศมาพัก คือ ทำให้หมู่บ้านดูร่มรื่น สถานที่สาธารณะทุกแห่งสะอาดสะอ้าน คนมีอัธยาศัยดี ช่วยเหลือคนต่างชาติโดยไม่ต้องหวังสินจ้างใดๆ ห้องน้ำห้องสุขาของสถานที่สาธารณะทุกแห่งสะอาด ทุกร้านอาหารมีอาหารที่อร่อย สะอาดถูกสุขลักษณะ แล้วขณะเดียวกัน ฝ่ายผู้มีฐานะ คนลงทุนในธุรกิจก็จ้างคนในหมู่บ้านด้วยค่าแรงงานที่เป็นธรรมเพียงพอ ทุกคนมีสวัสดิการที่ดี อันเป็นผลมาจากกิจการท่องเที่ยวนั้น ซึ่งทุกคนรับรู้ในเรื่องนี้ และช่วยกันทำให้กิจการท่องเที่ยวของเมืองโดยรวมมีชื่อเสียงจนเป็นที่กล่าวขานทั่วไป คนอยากมาเที่ยวและมาพักผ่อนในหมู่บ้านนี้ ผลที่ตามมาคือ ในทุกกิจกรรมประสบความสำเร็จ หมู่บ้านได้รับเงินภาษีจากกิจการต่างๆในหมู่บ้าน นำมาเสริมให้กับกิจกรรมทุกอย่างที่เป็นส่วนรวมของหมู่บ้าน ทั้งในด้านการศึกษาของโรงเรียนในชุมชน ร้านแพทย์ในชุมชน สวัสดิการร้านค้า ถนนหนทาง ฯลฯ

หลักมีอยู่ว่า ทุกคนรวมถึงคนที่มีฐานะและไม่มีฐานะทั้งหลาย ต้องช่วยกันทำให้หมู่บ้านเจริญ เศรษฐกิจดี และผลดีจะกลับมาตอบสนองต่อทุกคนในหมู่บ้าน แต่การจ่ายเงินหรือรางวัล ไม่ใช่จ่ายตามที่อยากได้ แต่จ่ายตามความต้องการ ตามความจำเป็น ทุกคนไม่ได้รับค่าตอบแทนเท่ากัน แตกต่างได้ตามความสามารถและความยากในทักษะงานนั้นๆ แต่ทำให้ทุกคนได้ตระหนักว่ารางวัลโดยรวมสำหรับทุกคนนั้น เป็นผลมาจากการที่แต่ละคนต้องทำงานให้กับส่วนรวม

คนที่มีปัญหาระดับล่างสุดอาจจะร้อยละ 20 อาจอ่อนแอ ไม่มีทักษะในการทำงานเท่าคนที่แข็.แกร่งกว่า แต่ก็ยังได้รับการดูแลที่ดีเพียงพอ แล้วก็ยังมีใจในการช่วยทำงานให้กับชุมชนของเขา ทั้งหมดนี้ หากเรามีระบบรางวัลในสังคมที่เหมาะสม ทุกคนรับรู้และเข้าใจ

กรณีศึกษาที่ 2

การเลี้ยงลูกและการแบ่งสมบัติ

หลักคำสอนของพ่อแม่ครอบครัวชนชั้นกลาง (Thai middleclass) ที่ประสบความสำเร็จ มีหลักฐานที่มั่นคง และได้สอนลูกๆ 6 คนในช่วงเมื่อ 50-80 ปีที่ผ่านมา เอาไว้ดังนี้

พ่อแม่ไม่มีสมบัติอะไรสำคัญกว่าการจะส่งเสียให้เรียนหนังสือให้สูงที่สุด เพราะแต่ละคนจะได้มีเครื่องมือพึ่งตนเองไปได้ตลอดชีวิต ได้ใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี

สำหรับที่ดินและทรัพย์สิน เมื่อสิ้นพ่อและแม่แล้ว จะแบ่งให้ทุกคนเท่าๆกัน สมบัติที่เป็นที่ดิน หากเป็นชิ้นใหญ่ ก็แบ่งให้ทุกคนมีถนนทางเข้าที่ ใครอยากทำประโยชน์ ทำกิจกรรมใดก็สามารถใช้เป็นฐานทำกิจกรรมกันต่อไป

แต่สิ่งที่จะฝากไว้ คือ เมื่อไม่มีพ่อแม่แล้ว ขอให้ทุกคนยังรักกัน อย่าทะเลาะกัน หากมีใครตกทุกข์ได้ยาก ก็ให้ช่วยกันเท่าที่จะทำได้ เสวนาเรื่อง "การพัฒนาทุนมนุษย์" (Human Capital Development) ว่าด้วยเรื่องการเลี้ยงดูลูก ให้รางวัลลูกได้ที่ Pracob Cooparat at Facebook

กรณีศึกษาที่ 3

หลักสูตรนานาชาติที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

การมีแผนงานที่จะเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรี (BS., BA.) ด้าน Hospitality Management ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (Surindra Rajabhat University – SRRU)
โดยเป็นโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ใช้การเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (English as the medium of instruction) โดยมีผู้สอนที่ใช้ภาษาอังกฤษที่เป็นชาวต่างประเทศ และคนไทยที่สามารถใช้ภาษาต่างประเทศได้ดี และเคยมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศมาแล้ว
มีเป้าหมายผลิตบัณฑิตที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี ทำงานในด้านการโรงแรม การเดินทาง การท่องเที่ยว อาหารและเครื่องดื่ม จบแล้วมีงานทำ สร้างงานได้เอง

มีค่าใช้จ่ายในระดับไม่สูง มีค่าเล่าเรียนที่ประมาณปีละ 100,000-120,000 บาท/คน หรือ 480,000 บาทต่อหลักสูตร 4 ปี

ให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจาก ดร. ประภาพร บุญปลอด – รายละเอียดของโครงการ, การจัดการด้านการเงิน, การบริหารทรัพยากรมนุษย์, การบริหารวิชาการ, การพัฒนาด้านการตลาด, ฯลฯ

หลักสูตรมีความเป็นไปได้หรือไม่, สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายการจัดการ, ทำให้ค่าใช้จ่ายของผู้เรียนไม่สูงจนเกินไปได้หรือไม่ และอย่างไร โปรอดอภิปราย

กรณีศึกษาที่ 4

นโยบายการค้าข้าวของประเทศไทย

ลองใช้แนวคิดเศรษฐศาสตร์สังคม หรือ Human Capital กับการส่งเสริมการผลิตข้าว (Rice production) ในประเทศไทย ทำให้ไทยเป็นผู้ผลิตข้าวที่พัฒนาได้อย่างยั่งยืน (Sustainability) ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์จากการผลิตข้าวอย่างเป็นธรรม เราจะมีระบบรางวัลอย่างไร มีมาตรการในการส่งเสริมอย่างไร จะขายข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าวอย่างไร?

ขอให้เตรียมข้อมูลขั้นพื้นฐานให้พร้อม ก่อนนำไปสู่การตัดสินใจ และการให้ข้อเสนอแนะ

กรณีศึกษาที่ 5

ตลาดการค้าอวัยวะเสรี (Organ market)

ในโลกนี้วงการแพทย์ได้ก้าวหน้าไปสู่การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะได้อย่างเป็นผล ทั้งหัวใจ (Heart) ปอด (Lung) หรือตับ (Liver) โดยเฉพาะไต (Kidney) และความต้องการของผู้ป่วยที่ต้องการได้รับอวัยวะเหล่านี้เพื่อการผ่าตัดมีมาก ในอีกด้านหนึ่ง ในบางสังคม ความต้องการทรัพยากรเงินทุนมีมาก ทั้งระดับบุคคล สังคม และประเทศ จึงมีการเสนอให้มีการค้าขายอวัยวะของร่างกายได้อย่างเสรี เพื่อให้ฝ่ายต้องการใช้อวัยวะเหล่านี้ และมีเงินพอได้ใช้บริการซื้อขายอย่างเปิดเผย เป็นการเร่งกระบวนการให้สั้นเข้า ทำให้โอกาสผู้ป่วยในการรักษาพยาบาลประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้น แทนที่จะต้องรอการบริจาคเป็นเวลายาวนาน

ท่านมีความเห็นอย่างไรต่อแนวคิดนี้ โปรอดอภิปราย

Thursday, November 15, 2012

แกรี เบคเคอร์ (Gary Becker) กับแนวคิดทุนมนุษย์


แกรี เบคเคอร์ (Gary Becker) กับแนวคิดทุนมนุษย์

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: cw411, เศรษฐศาสตร์, สังคมวิทยา, economics, sociology, ทุนมนุษย์, human capital, ทฤษฎีเด็กเน่า, rotten kid theorem,แกรี เบคเคอร์, Gary Becker,


ภาพ ศาสตราจารย์แกรี เบคเคอร์ (Gary Becker) ขณะบรรยายที่มหาวิทยาลัยชิคาโก เมื่อ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 - Gary Becker speaking in Chicago, May 24, 2008

แกรี เบคเคอร์
Gary Becker
วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก
Chicago School of Economics

เกิดเมื่อ
Born
วันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1930
December 2, 1930 (age 81)
Pottsville, Pennsylvania
สัญชาติ
Nationality
อเมริกัน
American
Institution
University of Chicago
(1968–present)
Columbia University
(1957–1968)
สาขาวิชา
Field
เศรษฐศาสตร์สังคม
Social economics
ศิษย์เก่า
Alma mater
อิทธิพลจาก
Influences
สิ่งที่นำเสนอ
Contributions
การวิเคราะห์ “ทุนมนุษย์
Analysis of human capital และทฤษฎีเด็กเน่า
Rotten kid theorem
รางวัลที่ได้
Awards

แกรี สแตนลีย์ เบคเคอร์ (Gary Stanley Becker) เกิดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1930 เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน (American economist) เป็นศาสตราจารย์ทั้งทางด้านเศรษฐศาสตร์ (Economics) และสังคมวิทยา (Sociology) ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago) และเป็นศาสตราจารย์ที่คณะธุรกิจ (Booth School of Business) เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ (Nobel Memorial Prize in Economic Sciences) ในปี ค.ศ. 1992 และรางวัล Presidential Medal of Freedom ของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2007 ขณะปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์อาวุโส ที่สถาบันฮูเวอร์ (Hoover Institution) ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University)

เบคเคอร์เป็นหนึ่งในนักเศรษฐศาสตร์แรกๆที่ปลีกตัวเองออกไปศึกษาในเรื่องที่นักเศรษฐศาสตร์ทั่วไปเห็นว่าเป็นเรื่องนอกสายอย่างสังคมวิทยา (Sociology) ซึ่งเรื่องที่เขาศึกษามีทั้งส่วนที่เกี่ยวกับ การแบ่งแยกผิว (Racial discrimination), อาชญากรรม (Crime), องค์กรครอบครัว (Family organization), และการติดยาเสพติด (Drug addiction), และ การหาเหตุผลของการติดยาเสพติด (Rational addiction)

เขาเป็นกลุ่มแนวหน้าที่ศึกษาเรื่อง “ทุนมนุษย์” (Human capital) เขาเป็นคนได้รับเครดิตที่เสนอแนวทฤษฎีเด็กเน่า (rotten kid theorem) เขาแต่งงานกับ Guity Nashat นักประวัติศาสตร์ ผู้ศึกษาเรื่องตะวันออกกลาง (Middle East) ซึ่งมีความสนใจในงานวิจัยที่สอดคล้องกับเขา

Wednesday, November 14, 2012

เศรษฐกิจฟองสบู่ (Economic bubble)

เศรษฐกิจฟองสบู่ (Economic bubble)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: cw411, Economics, เศรษฐศาสตร์, sociology, สังคมวิทยา, เศรษฐกิจฟองสบู่, speculative bubble, market bubble, price bubble, financial bubble, speculative mania, balloon, เศรษฐกิจลูกโป่งแตก


ภาพ บริเวณที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในเอเซีย ที่เริ่มจากประเทศไทย ดูที่สีแสดโดยช่วงก่อนหน้านี้จะมีอาการของเศรษฐกิจฟองสะบู่ (Economic bubble) คือดูภายนอกเหมือนดี แต่คนทำธุรกิจค้าขายได้ยาก

ความหมาย

เศรษฐกิจฟองสบู่ (Economic bubble) ในภาษาอังกฤษมีชื่อเรียกหลายๆชื่อแต่ในความหมายใกล้เคียงกัน เช่น speculative bubble, market bubble, price bubble, financial bubble, speculative mania หรือ balloon เป็นการค้าขายที่ค่าสินค้าและบริการที่ไม่เป็นจริง หากซื้อวัตถุดิบ หุ้น หรือทรัพย์สินนั้นๆไปดำเนินการต่อ ก็จะไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน แต่เหตุที่ทุกสิ่งราคาสูงกว่าความเป็นจริงเป็นเรื่องของการคาดการณ์ (Speculative) หรือแปลได้อีกว่า การค้าที่ผลิตผลหรือทรัพย์สินมีราคาที่เกินจริง

ในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงฟองสบู่นั้น คนมักจะมองทุกอย่างไปในทางบวก คนจะมองไม่เห็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น สังเกตไม่ได้จากดรรชนีตลาดหลักทรัพย์ (Stock market) ที่ทุกอย่างยังดูดีอยู่ แต่คนในวงการค้าในตลาดจริงๆจะเริ่มบ่นกันว่า การค้าไม่ดี ของแพง ขายไม่ได้ ธุรกิจเริ่มจะไม่อยากจ้างงาน ไม่ขยายงาน สินค้าขายไม่ค่อยได้ ก็จะคิดถึงการปลดหรือลดคนงาน และเมื่อทุกอย่างประสบปัญหา แล้วแก้ปัญหาเป็นรายองค์กรแบบเอาตัวรอด แล้วค่อยๆลามไป ดังนี้ก็จะนำไปสู่ “วิกฤติเศรษฐกิจ”

นำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจ

ตัวอย่างของเศรษฐกิจฟองสบู่เกิดขึ้นในช่วงก่อน “วิกฤติการเงินในเอเชีย” (Asian Financial Crisis) ซึ่งมีผลกระทบทั่วไปในเอเชีย โดยเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1997 และทำให้เกิดความหวั่นไหวว่าจะเกิดเศรษฐกิจโลกล่มสลาย (Worldwide economic meltdown) เป็นเหมือนเศรษฐกิจเติบโตรวดเร็วอย่างร้อนจัด จนกระทั้งเข้าสู่จุดหลอมละลาย กลายเป็นอาการระบาดไปทั่วโลก

ปัญหาเศรษฐกิจฟองสบู่ที่นำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจในเอเชีย หนักที่สุดได้แก่ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia), เกาหลีใต้ (South Korea) และไทย (Thailand) ส่วนประเทศในเอเซียที่ได้รับผลกระทบแต่ในระดับรองลงมาได้แก่ ฮ่องกง (Hong Kong),มาเลเซีย (Malaysia),ลาว (Laos) และฟิลิปปินส์ (Philippines) จีน (China), ไต้หวัน (Taiwan) ,สิงคโปร์ (Singapore), บรูไน (Brunei) และเวียดนาม (Vietnam) ได้รับผลกระทบแต่น้อยกว่า ด้วยความที่มีพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่า หรือเพราะเป็นชาติที่ยังไม่เจริญและพึ่งตลาดต่างประเทศมากนัก

ในช่วงที่เกิดวิกฤตินี้อัตราส่วนของหนี้ภาคสาธารณะต่อรายได้ประชาชาติได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 100 ถึง 167 ใน 4 ประเทศใหญ่ของ ASEAN รวมทั้งประเทศไทย ส่วนก่อนหน้านั้นการขยายตัวของเศรษฐกิจได้เพิ่มขึ้นเป็นเกินร้อยละ 180 แล้วก็ตกลงมาอย่างหนักในช่วงเวลาสั้นๆ

ส่วนการแก้ปัญหาวิกฤติต้องใช้เวลายาวนาน เป็นการลองผิดลองถูก ซึ่งในเอเชียกว่าจะกลับมาสู่สภาพฟื้นตัวได้อย่างชัดเจน ก็ต้องใช้เวลายาวนานถึง 10 ปี

Tuesday, November 13, 2012

ทฤษฎีเด็กเน่า (Rotten kid theorem)


ทฤษฎีเด็กเน่า (Rotten kid theorem)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia


ภาพ สถานที่พักตากอากาศแบบที่ทำให้คนรื่นรมย์กับสิ้งแวดล้อม (Eco resort)

Keywords: Economics, เศรษฐศาสตร์, sociology, สังคมวิทยา, ทฤษฎีเด็กมีปัญหา, Rotten kid theorem, ระบบรางวัล, reward system, incentive,

ทฤษฎีเด็กมีปัญหา (Rotten kid theorem)
Rotten = เน่าเสีย, เน่าเปื่อย, น่าขยะแขยง, เฟะฟะ, เลวทราม, เหม็นบูด, เสื่อมโทรม

หากจะแปลความหมายอย่างที่เขาใช้เรียกกัน ก็ดูจะแสดงทัศนคติที่ไม่เหมาะสมออกมา จึงของเรียกทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีเด็กมีปัญหา” (Rotten kid theorem) Gary Becker นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชิคาโกได้เสนอแนวคิดด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอันหนึ่ง โดยเรียกว่า Rotten kid theorem โดยอธิบายว่าในทุกครอบครัว แม้จะมีความเห็นแก่ตัว แต่จะช่วยกัน โดยสร้างแรงจูงใจทางการเงิน เพื่อช่วยสมาชิกที่มีปัญหาที่สุด อาจด้วยความไม่แข็งแรง เจ็บป่วย ไม่ฉลาดเท่าคนอื่นๆ เรียนหนังสือหรือมีพื้นฐานที่ไม่ดีเท่าคนอื่นๆ แต่หากคนที่มีปัญหาเป็นจุดอ่อนนี้ ได้รับแรงจูงใจที่เหมาะสม โดยมองเห็นประโยชน์ของส่วนรวมร่วมด้วย เขาก็จะเติบโตและดำชีวิตได้อย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็น

ศาสตราจารย์ Gary Becker นักเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago) ให้สถานการณ์สมมุติฐานว่า เด็กจะได้รับรางวัลทางด้านการเงินจากพ่อแม่ที่เข้าใจปัญหาและมีกุศลจิต (Altruistic) หากมีเด็กที่เป็นคนเห็นแก่ตัว ที่แสวงความสุขที่เป็นการทำร้ายพี่น้องคนอื่นๆ ทฤษฎี Rotten kid theorem จะมีแรงจูงใจที่ทำให้เด็กที่อาจเห็นแก่ตัวนั้นหลีกเลี่ยงการทำร้ายคนอื่น และเปลี่ยนเป็นช่วยทำในสิ่งที่เป็นความสุขแก่คนอื่นๆ เนื่องจากจะได้เงินเป็นแรงจูงใจให้กระทำอย่างนั้น แม้จะไม่มีโครงสร้างอย่างเป็นทางการหรือรูปธรรมใดๆ ทั้งนี้เพียงว่าพ่อแม่มีการกำหนดให้รางวัลของเด็กมีปัญหาให้เป็นผลมาจาก “การทำให้คนอื่นๆได้มีความสุข”

ทฤษฎีเสนอว่า พ่อแม่ควรชะลอการให้เงินแก่เด็กๆจนกว่าเขาจะโตพอ หรือบางทีอาจหลังจากที่พ่อแม่เสียชีวิตแล้ว หากพ่อแม่ทำพินัยกรรม (Will) มอบเงินให้กับเด็กๆตามความจำเป็น (Needs) เด็กๆก็จะมีแรงจูงใจที่จะทำให้คนอื่นๆได้มีรายได้มากที่สุด เพราะแรงจูงใจที่มาจากการทำให้คนอื่นๆได้มีทรัพย์สินเป็นผลโดยตรงต่อความเป็นอยู่ของตนเอง คือคนอื่นๆได้ดี เขาก็ได้ดีด้วย

กรณีเพื่อการศึกษา

ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม ในหมู่บ้านที่เป็นเมืองท่องเที่ยวตากอากาศ (Resort Village, or Town) แห่งหนึ่ง ใช้หลักบริหารแบบทฤษฎีเด็กมีปัญหา (Rotten kid theorem) ในการดูแลสวัสดิการคนในหมู่บ้าน ทำให้คนในหมู่บ้านเข้าใจว่า ชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคนขึ้นอยู่กับการที่มีคมมาท่องเที่ยวตากอากาศ การจะช่วยทำให้หมู่บ้านนี้ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศมาพัก คือ ทำให้หมู่บ้านดูร่มรื่น สถานที่สาธารณะทุกแห่งสะอาดสะอ้าน คนมีอัธยาศัยดี ช่วยเหลือคนต่างชาติโดยไม่ต้องหวังสินจ้างใดๆ ห้องน้ำห้องสุขาของสถานที่สาธารณะทุกแห่งสะอาด ทุกร้านอาหารมีอาหารที่อร่อย สะอาดถูกสุขลักษณะ แล้วขณะเดียวกัน ฝ่ายผู้มีฐานะ คนลงทุนในธุรกิจก็จ้างคนในหมู่บ้านด้วยค่าแรงงานที่เป็นธรรมเพียงพอ ทุกคนมีสวัสดิการอันดี อันเป็นผลมาจากกิจการท่องเที่ยวนั้น ซึ่งทุกคนรับรู้ในเรื่องนี้ และช่วยกันทำให้กิจการท่องเที่ยวของเมืองโดยรวมมีชื่อเสียงจนเป็นที่กล่าวขานทั่วไป คนอยากมาเที่ยวและมากพักผ่อนในหมู่บ้านนี้ ผลที่ตามมาคือ ในทุกกิจกรรมประสบความสำเร็จ หมู่บ้านได้รับเงินภาษีจากกิจการต่างๆในหมู่บ้าน นำมาเสริมให้กับกิจกรรมทุกอย่างที่เป็นส่วนรวมของหมู่บ้าน ทั้งในด้านการศึกษาของโรงเรียนในชุมชน ร้านแพทย์ในชุมชน สวัสดิการร้านค้า ฯลฯ

หลักมีอยู่ว่า ทุกคนรวมถึงคนที่มีฐานะและไม่มีฐานะทั้งหลาย ต้องช่วยกันทำให้หมู่บ้านเจริญ เศรษฐกิจดี และผลดีจะกลับมาตอบสนองต่อทุกคนในหมู่บ้าน แต่การจ่ายเงินหรือรางวัล ไม่ใช่จ่ายตามที่อยากได้ แต่จ่ายตามความต้องการ ตามความจำเป็น ทุกคนไม่ได้รับค่าตอบแทนเท่ากัน แตกต่างได้ตามความสามารถและความยากในทักษะงานนั้นๆ แต่ทำให้ทุกคนได้ตระหนักว่ารางวัลโดยรวมสำหรับทุกคนนั้น เป็นผลมาจากการที่แต่ละคนต้องทำงานให้กับส่วนรวม

คนที่มีปัญหาระดับล่างสุดอาจจะร้อยละ 20 อาจอ่อนแอ ไม่มีทักษะในการทำงานเท่าคนที่แข็.แกร่งกว่า แต่ก็ยังได้รับการดูแลที่ดีเพียงพอ แล้วก็ยังมีใจในการช่วยทำงานให้กับชุมชนของเขา ทั้งหมดนี้ หากเรามีระบบรางวัลในสังคมที่เหมาะสม ทุกคนรับรู้และเข้าใจ

การอภิปราย

ประเทศไทยเราปัจจุบัน ใช้การบริหารโดยหลักการ Rotten kid theorem หรือไม่ หากใช้โปรดอธิบาย หากไม่ใช่ โปรอดอธิบาย

ลองใช้ตัวอย่างนี้กับการส่งเสริมการผลิตข้าว (Rice production) ในประเทศไทย ทำให้ไทยเป็นผู้ผลิตข้าวที่พัฒนาได้อย่างยั่งยืน ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์จากการผลิตข้าวอย่างเป็นธรรมเราจะมีระบบรางวัลอย่างไร มีมาตรการในการส่งเสริมอย่างไร จะขายข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าวอย่างไร

Saturday, November 10, 2012

โอบาม่า – เปิดรับความคิดใหม่ แต่คนรวยก็ยังต้องจ่ายมากขึ้น


โอบาม่า – เปิดรับความคิดใหม่ แต่คนรวยก็ยังต้องจ่ายมากขึ้น

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia และอื่นๆ


ภาพ บารัค โอบาม่า ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเป็นสมัยที่สอง

ในที่สุดผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐครั้งที่ 57 ก็ได้เสร็จสิ้นลง โดยการลงคะแนนเลือกตั้งในวันที่ 6 พฤศิจกายน ค.ศ. 2012 ตัวแทนจากพรรคดีโมแครต (Democratic nominee) คือประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า (President Barack Obama) และผู้ร่วมทีมแข่งขัน (running mate) ในตำแหน่งรองประธานาธิบดี คือรองประธานาธิบดี โจ ไบเดน (Vice President Joe Biden) ได้รับเลือกเข้าทำงานต่อเป็นสมัยที่สอง โดยมีชัยชนะเหนือผู้เป็นตัวแทนจากพรรครีพับลิกัน (Republican nominee) อดีตผู้ว่าการรัฐแมสสาชูเสทส์ (Massachusetts Governor) มิท รอมนีย์ (Mitt Romney) และเพื่อนร่วมสมัครเป็นรองประธานาธิดี คือวุฒิสมาชิก พอล ไรอัน(Congressman, Paul Ryan) จากรัฐวิสคอนซิน (Wisconsin)

กระบวนการเลือกตั้งถูกกำหนดโดยรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปี ค.ศ. 2012 ตามรัฐธรรมนูญ ตัดสินกันด้วยคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral vote) โดยแต่ละรัฐหลังผลของการเลือกโดยเสียงประชาชน (Electoral vote) ในแต่ละรัฐ ผลออกมาเป็นอย่างไร ฝ่ายชนะจะได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้งไปแบบยกทั้งรัฐ ส่วนแต่ละรัฐจะได้รับโควตาคณะผู้เลือกตั้งตามจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี จะต้องได้รับเสียงจากคณะผู้เลือกตั้ง 270 ขึ้นไป

คะแนนคณะผู้เลือก (Electoral vote) บารัค โอบาม่า ได้ 303  คะแนน จึงได้รับการตัดสินเป็นประธานาธิบดีในสมัยที่สองต่อไป ส่วน มิต รอมนีย์จากพรรครีพับลิกันได้ 206 คะแนน

หากนับจำนวนรัฐที่ชนะกัน (States carried) โอบาม่าชนะ 25 รัฐ รวมกับเขตเมืองหลวงวอชิงตันดีซี (+ DC) ส่วนมิต รอมนีย์ชนะใน 24 รัฐ ซึ่งดูเหมือนไม่ห่างกันมาก แต่ประเด็น คือโอบาม่าชนะในรัฐที่มีประชากรมาก มีเมืองขนาดใหญ่ แต่รอมนีย์ได้คะแนนจากรัฐที่เป็นเกษตรกร และเป็นรัฐขนาดเล็ก

ส่วนคะแนนเสียงประชาชน (Popular vote) ทั้งประเทศ บารัค โอบาม่า ได้ 61,304,426 คะแนน และรอมนีย์ได้ 58,230,919 คะแนน ห่างกันเพียง 3 ล้านคะแนน ซึ่งห่างกันไม่มาก แต่คะแนนเสียงนี้ไม่ใช่ตัวตัดสิน

ผู้สมัคร
Nominee
บารัค โอบาม่า
Barack Obama
มิท รอมนีย์
Mitt Romney
พรรคการเมือง
Party
ดีโมแครต
Democratic
รีพับลิกัน
Republican
ฐานจากรัฐ
Home state
อิลลินอยส์
Illinois
แมสสาชูเสทส์
Massachusetts
คู่ร่วมสมัคร
Running mate
โจ ไบเดน
Joe Biden
พอล ไรอัน
Paul Ryan
คะแนนคณะผู้เลือกElectoral vote
303
206
รัฐที่ชนะ
States carried
25 + DC
24
เสียงประชาชน
Popular vote
61,304,426
58,230,919
สัดส่วนร้อยละ
Percentage
50.5%
47.9%

ผลด้านนโยบาย

ศึกษาและเรียบเรียงจาก “Obama 'Open to New Ideas,' but Rich Must Pay More.” CNBC, Friday, 9 Nov 2012 | 3:28 PM ET

ตามหลักการบริหารประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นระบบนำโดยฝ่ายบริหาร คือประธานาธิบดี ที่มีคณะผู้ทำงาน คือคณะรัฐมนตรี เป็นฝ่ายดำเนินการในการบริหารประเทศ ซึ่งในนโยบายหลักๆ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ (Legislative) ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) ซึ่งเสียงข้างมากเป็นฝ่ายรีพับลิกัน และวุฒิสภา (Senate) ซึ่งฝ่ายดีโมแครตยังครองเสียงข้างมาก และทั้งหมดนี้ ฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติต้องไม่กระทำการขัดกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีศาลสูง (Federal Judge) เป็นฝ่ายตัดสินชี้ขาด หากมีความขัดแย้งกันด้านตีความรัฐธรรมนูญ

สิ่งที่น่าเป็นห่วงต่อไป คือการที่ฝ่ายประธานาธิบดีและฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถตกลงกันได้ในกรอบงบประมาณและการจัดเก็บภาษี หากตกลงกันไม่ได้จริงๆ ก็จะนำไปสู่ปัญหาหุบเหวทางการเงินและงบประมาณ (Fiscal cliff) เพราะต้องหันกลับไปใช้กรอบภาษีก่อนเกิดวิกฤติ ซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วเกินไป ทั้งการจัดเก็บภาษี และกรอบงบประมาณ อ้นจะมีผลให้ต้องเก็บภาษีสูง ต้องตัดทอนงบประมาณ ผลกระทบคือทำให้คนตกงาน เศรษฐกิจหดตัว เหมือนที่ได้เกิดขึ้นในยุโรป

การต้องพูดคุยกัน

ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่าจะต้องเปิดเจรจากับฝ่ายสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อหาข้อยุติในความเห็นต่างโดยเร็ว

ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่ากล่าวในวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า เขา “เปิดรับความคิดใหม่” เพื่อหาทางแก้ไขวิกฤติทางของประเทศ ที่เรียกว่า “หุบเหวแห่งการเงินการคลัง” (Fiscal cliff) ที่เป็นปัญหาทางด้านวิธีการที่แตกต่างกัน ระหว่างฝ่ายบริหาร กับรัฐสภา โดยเฉพาะสภาผู้แทนราษฎรในด้านการจัดการด้านการเงินการคลังของประเทศที่ทำให้ประเทศมีสถานะติดลบจากการกู้เงินต่างประเทศมาใช้ แต่ไม่มีวิธีการที่ชัดเจนว่าจะหารายได้ไปจ่ายหนี้เหล่านั้นได้อย่างไร

แต่โอบาม่ายืนยันว่า การเพิ่มภาษีสำหรับกลุ่มคนมีฐานะต้องเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง เพราะนี่เป็นส่วนหนึ่งของการหาเสียงกับประชาชน และเมื่อเขาชนะการเลือกตั้งมา นั่นแสดงว่าประชาชนต้องการให้เขาต้องทำในสิ่งที่สัญญาไว้

Nicholas Kamm | AFP | Getty Images

ในช่วงของการหาเสียง มีคำถามว่า “คนส่วนใหญ่ของอเมริกาเห็นด้วยกับแนวทางของผมหรือไม่”
ที่รัฐสภาของสหรัฐอเมริกาในเมืองวอชิงตัน ดีซี John Boehner ประธานสภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) ได้กล่าวว่า “ยังไม่เต็มใจที่จะให้ขึ้นภาษีสำหรับกลุ่มคนมีฐานะ แต่ได้เปิดช่องทางที่จะหาทางจัดงบประมาณแบบสมดุล โดยมีเงินรายได้จากการจัดกรอบภาษีทั้งหมดใหม่ ลดอัตราภาษีลง และขจัดการจ่ายรายได้จากภาษีบางอย่างออกไป

โดยมารยาทและประเพณีปฏิบัติ เมื่อประธานาธิบดีอันเป็นฝ่ายบริหารได้รับคะแนนเสียงยืนยันให้เข้ามาทำหน้าที่อีกครั้ง ฝ่ายรัฐสภาก็ต้องให้ความร่วมมือในด้านการทำให้นโยบายที่หาเสียงไว้และประชาชนเห็นชอบ ได้ดำเนินการไปอย่างเป็นรูปธรรม

 ผมพร้อมที่จะประนีประนอม ผมเปิดรับความคิดใหม่” โอบาม่ากล่าว “แต่ผมปฏิเสธที่จะยอมรับงบประมาณที่ไม่สมดุล ผมจะไม่ขอให้นักศึกษา คนชรา คนชั้นกลางจำนวนมากต้องจ่ายภาษีเพื่อแก้ปัญหาการขาดดุล โดยไม่ได้เก็บเงินภาษีเพิ่มจากกลุ่มคนที่มีรายได้ปีละกว่า $250,000 เช่นผม แม้เพียงสักเล็กน้อย

แนวทางของโอบาม่าคือการกระตุ้นให้เกิดงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ และขยายการงดเก็บภาษีคนมีรายได้ปานกลางออกไป แต่ให้เก็บภาษีของคนมีรายได้มากพอ คือกลุ่มที่มีรายได้ $250,000 ต่อปีขึ้นไป แต่ฝ่ายรีพับลิกัน มองว่า การเก็บภาษีคนมีเงินมากนั้น ทำให้คนกลุ่มนี้หันไปลงทุนในประเทศอื่นๆ ที่มีฐานภาษีต่ำกว่าได้ ความคิดเห็นของธุรกิจตลาดหลักทรัพย์ ก็ออกมาในทำนองนี้

หนึ่งในสาระที่สื่อระหว่างการหาเสียงของประธานาธิบดีบารัค โอบาม่าที่ชัดเจนคือ คนอเมริกันที่ร่ำรวยที่สุดจะถูกขอให้ “จ่ายภาษีมากขึ้นสักเล็กน้อย” เพื่อทำให้สถานะการเงินการคลังของประเทศกลับคืนสู่สภาพความสมดุล ในช่วงเวลาอย่างค่อยเป็นค่อยไป

Tuesday, November 6, 2012

มารู้จัก ฟุตซอล (Futsal) หรือฟุตบอลในร่ม


มารู้จัก ฟุตซอล (Futsal) หรือฟุตบอลในร่ม

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: sports, Futsal, football, indoor football, arena football, การกีฬา, ฟุตบอล, ฟุตซอล
ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia


ภาพ ทีมชาติฟุตซอล (Futsal) ของประเทศบราซิล ก็ยังเป็นระดับนำของโลกเช่นเดียวกับฟุตบอลมาตรฐาน

ฟุตซอล (Futsal)
องค์กรปกครองสูงสุด
Highest governing body
เริ่มเล่นครั้งแรก
First played
1932, Uruguay
ลักษณะกีฬา
Characteristics
มีการสัมผัส
Contact
มี
Yes
จำนวนผู้เล่นต่อทีม
Team members
เล่นข้างละ 5 คน
Five per side
จัดเป็นประเภท
Categorization
กีฬาในร่ม
Indoor
อุปกรณ์การเล่น
Equipment
ลูกฟุตซอล
Futsal ball
สถานที่เล่น
Venue
สนามฟุตซอล
Futsal pitch
การแข่งขันในโอลิมปิก
Olympic
ยังไม่มี
No
การแข่งขันในกีฬาคนพิการโอลิมปิก
Paralympic
ยังไม่มี
No

ฟุตซอลหรือ Futsal ในภาษาปอร์ตุเกสอ่านว่า futˈsaw เป็นกีฬาฟุตบอลที่เล่นในสนามเล็กและเล่นในที่ร่มเป็นหลัก เป็นชื่อย่อ (portmanteau) ของคำปอร์ตุเกสว่า futebol de salão ซึ่งแปลเป็นอังกฤษได้ว่า hall football หรือ Indoor football หรือฟุตบอลที่เล่นในห้องโถงหรือเล่นในร่ม ในสหรัฐอเมริกาจะใกล้เคียงกับคำว่า Arena Football หรือ “ฟุตบอลในสังเวียน” ในการแข่งขันกีฬานี้ในแบบนานาชาติเป็นครั้งที่สองที่เมืองแมดริด (Madrid) ในปี ค.ศ. 1985 ได้มีการใช้ชื่อว่า fútbol Sala และจากนั้นเป็นต้นมา ชื่อเรียกอื่นๆจึงถูกเปลี่ยนมาเป็น futsal อย่างเป็นทางการ

ฟุตซอลเป็นกีฬาที่เล่นระหว่างสองทีม เหมือนฟุตบอลทั่วไป แต่ใช้ผู้เล่นข้างละ 5 คน รวมถึงผู้รักษาประตู 1 คน เกมส์จะเล่นบนสนามแข็ง (Hard court) ไม่ใช่สนามหญ้า หรือสนามดิน สำหรับลูกฟุตบอลจะมีขนาดเล็กกว่าฟุตบอลทั่วไป และกระดอนได้น้อยกว่า สำหรับขนาดสนาม ลูกบอล และกฎกติกา จะเน้นการเล่นที่ใช้ไหวพริบ (Improvisation) ความคิดสร้างสรรค์ และเทคนิค ตลอดจนความสามารถในการควบคุมบอล และการรับการส่งในพื้นที่แคบ

มาตรฐานสนาม

ในภาษาอังกฤษ สนามฟุตซอล เขาเรียกว่า Pitch แทนที่จะใช้เรียกว่า Field ซึ่งมีความหมายและขนาดที่ใหญ่กว่า สำหรับพื้นผิวสนาม จะใช้วัสดุสังเคราะห์ หรือใกล้เคียง โดยให้เป็นพื้นที่เรียบ ไม่ลื่น และไม่สากหรือคม (Non abrasive) เพื่อเมื่อผู้เล่นมีการล้มลง จะไม่บาดเจ็บมาก สำหรับความยาวของสนามคือ 38–42 เมตร (42–46 yd), และความกว้างเช่นเดียวกัน 38–42 เมตร (42–46 yd) ในบางแห่งใช้ขนาด 25–42 เมตร (27–46 yd) และความกว้างที่ 16–25 เมตร (17-27 yd)

ขนาดสนามมาตรฐานสากล 40 เมตร × 20 เมตร (44 yd × 22 yd) ความสูงของเพดานอาคารต้องไม่น้อยกว่า 4 เมตร โดยวัตถุประสงค์ของเกมส์ ต้องการให้ใช้ลูกเลียดไปกับพื้น ไม่ใช้ลูกเตะในระดับสูง

ประตูมีทั้งสองฟาก ความกว้าง 3 เมตร (3 yd) สูง 2 เมตร (2.2 yd) มีตาข่าย ส่วนบนลึก 80 ซม.(31 inch) และล่าง ลึก 1 เมตร (3.3 ft)


ภาพ ขนาดสนามฟุตซอลมาตรฐาน พื้นปูด้วยวัสดุสังเคราะห์ เพื่ออำนวยความปลอดให้กับผู้เล่น

กีฬาฟุตซอลนี้ นับเป็นส่วนสนับสนุนการเล่นฟุตบอลสำหรับกลุ่มคนในเมือง ที่จะหาสถานที่กว้างอย่างสนามฟุตบอล (Football field) มาตรฐาน ที่ต้องยาวกว่า 100 เมตรได้ยาก ซึ่งอาจใช้สนามบาสเก็ตบอล ซึ่งสามารถใช้สถานที่ฝึกซ้อม หรือเล่นกันสนุกๆได้ทั้งในร่ม และกลางแจ้ง นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการส่งเสริมกีฬาสำหรับชุมชน

Sunday, November 4, 2012

การอุดมศึกษา กับการสร้างคนให้ตกงานหรือ?


การอุดมศึกษา กับการสร้างคนให้ตกงานหรือ?

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: การศึกษา, การอุดมศึกษา, มหาวิทยาลัย, Education, higher education, tertiary education, การว่างงาน,


ข่าวจาก SpringNews - "ป.ตรี"แชมป์ตกงาน "แม่บ้าน"คนขาด!, 2012-11-05 11:20:28 | อ่าน 197 ครั้ง

ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือธปท. รายงานสถานการณ์การว่างงานของไทย ช่วงเดือนสิงหาคม 2555 พบมีจำนวนผู้ว่างงานทั้งสิ้น 224,210 คน หรือ 0.6% ของจำนวนผู้มีความสามารถในการทำงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 1,740 คน โดยแบ่งเป็นผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 127,520 คน และเป็นผู้ที่เคยทำงานมาก่อนแต่ขณะนี้ว่างงาน 96,690 คน

ซึ่งอัตราคนว่างงานในประเทศไทยนับว่าไม่อยู่ในเกณฑ์น่ากังวลแต่อย่างไร จึงลองหันมาดูที่ในกลุ่มผู้ว่างงานนั้น สามารถจำแนกออกมาเป็นลักษณะอย่างไร

... เมื่อแบ่งระดับผู้ว่างงานตามการศึกษาพบว่า ระดับการศึกษาที่มีผู้ว่างงานมากที่สุดคือ ระดับอุดมศึกษา หรือระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีผู้ว่างงานทั้งสิ้น 90,200 คน โดยคณะที่เป็นสายวิชาการ มีผู้ว่างงานมากที่สุด 57,200 คน ส่วนสายวิชาชีพ มีผู้ว่างงาน 27,730 คน และในสายวิชาการการศึกษา เกี่ยวกับการวิเคราะห์ วิจัย และการพัฒนาระบบการเรียนการสอน มีผู้ว่างงาน 5,290 คน

อาชีพที่ไม่มีผู้ว่างงาน ในเดือนสิงหาคม ปรากฏเป็นคนทำงานบ้าน กิจกรรมขององค์กรระหว่างประเทศ ธุรกิจด้านศิลปะ บันเทิง นันทนาการ กิจกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ และกิจกรรมด้านการเงิน และการประกันภัย

จาก - ข่าวจริง สปริงนิวส์ ทันเหตุการณ์ เห็นอนาคต

ในวงการศึกษาสำหรับชาวบ้าน ความตื่นตัวคือ การให้ลูกหลานได้เรียนจนจบปริญญาตรี สมัครงานแล้วได้เริ่มต้นที่ 15,000 บาท อันเป็นนโยบายของรัฐบาล ซึ่งกำลังจะเป็นสิ่งที่สร้างความคาดหวังและความสับสนให้กับการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management – HRM) ในประเทศไทยเป็นอย่างมาก

ขณะนี้เริ่มใช้นโยบายอัตราเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท ส่วนในภาคเอกชนยังไม่บังคับใช้ แต่หากบังคับใช้เมื่อใด ก็คงจะวุ่น เอกชนก็ไปหาทางปรับตัวกันอย่างเลี่ยงบาลี เช่น จ้างงานคนจบปริญญาตรีให้น้อยลง หรือ จ้างโดยไม่มีสวัสดิการพิเศษให้ จ้างแบบทดลองทำงานไปก่อน หรือเลือกจ้างคนที่จบสายอาชีวศึกษา เทียบเท่าอนุปริญญาให้มากขึ้น แต่เลือกคนที่ทำงานได้คุ้มค่าเงินจริงๆเอาไว้เป็นหลักก่อน เลือกคนทำงานดีและมีประสบการณ์ตรงก่อน เพราะในภาคเอกชน หากไม่มีอะไรบังคับ เขาก็จะไม่ได้สนใจปริญญาบัตรมากเหมือนกับคนทำงานในภาครัฐ ที่ใช้วุฒิการศึกษาเป็นตัวเทียบการจ่ายเงินเดือนมากกว่าภาคเอกชน

ส่วนภาคเอกชนที่จะได้รับผลกระทบมากๆ คือพวกสถานศึกษาเอกชน (Educational institutions) ตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา เพราะขณะนี้ หากมีอัตราครูในภาคราชการเปิดรับ ครูเขาก็จะหันไปสมัครทำงานให้สถานศึกษาของราชการ เพราะเงินเดือนเริ่มต้นก็ดี มีความมั่นคงในหน้าที่การเงิน มีสวัสดีการดี ขณะนี้จริงๆคือโรงเรียนเอกชนที่ต้องปรับตัวหนัก เหนื่อยเป็นพิเศษ และจะไม่แปลกใจหากมีโรงเรียนเอกชนในต่างจังหวัดต้องปิดตัวเองเพิ่มมากขึ้นในทุกระดับ ส่วนโรงเรียนเอกชนที่มีศาสนาอุปถัมภ์ ก็จะมีความสามารถในการปรับตัวเองได้มากกว่า มีเสถียรภาพในการคงอยู่ได้มากกว่า

ย้อนกลับมายังสถาบันการศึกษาที่ผลิตคนในระดับปริญญาตรีขึ้นไป คือพวก วิทยาลัย มหาวิทยาลัย เมื่อชาวบ้านหันมาส่งลูกหลานให้ได้เรียนในระดับปริญญาตรีกันมากขึ้น เขาคิดว่าเป็นการลงทุนที่คุ้ม แต่ในข้อเท็จจริงยังเป็นสิ่งที่ต้องมาวิเคราะห์กัน เพราะตามข้อมูลที่ได้รับ ไม่แปลกใจ คือ ผู้ที่ว่างงานมากที่สุด คือพวกที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป นั่นแสดงว่าผู้จ้างเขาก็เลือกจ้างคนที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่า มีความสามารถ มีศักยภาพที่ดีกว่า เมื่อคนเขาต้องจ้างด้วยเงินเดือนแพงขึ้น หากเขาเลือกได้ เขาก็จะเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับเขา

ผมจึงอยากย้อนกลับมาเตือนพ่อแม่ผู้ปกครอง และตัวนักศึกษา โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ต่างจังหวัด ความเข้าใจเรื่องคุณภาพมาตรฐานการศึกษานั้นมีไม่มากนัก เพราะต่างก็ทัศนะแบบง่ายๆ คือ “รับปริญญามาเหมือนๆกัน” แต่เชื่อว่าอีกไม่นานก็จะเริ่มมีข้อมูลการตกงาน สมัครงานแล้วไม่ได้งาน หรือได้งานแล้ว ได้เงินเดือนน้อยกว่า ดังนี้ ปรากฏให้เห็นเพิ่มมากขึ้น แล้วก็จะกลับมานั่งเสียดายเสียใจในภายหลัง เพราะผลมิได้เป็นไปดังคาด รู้อย่างนี้ไม่ควรเรียนสาขาวิชาอย่างนี้ หรือสถาบันการศึกษาอย่างนี้ เป็นต้น

ส่วนสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั้งหลาย ก็อยากจะเตือนว่า ต้องหันกลับมาคิดถึงคุณภาพการศึกษา (Education Quality) ที่แท้จริง ทำอย่างไรจึงจะผลิตบัณฑิตที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ตรงทั้งด้านคุณภาพ มีคุณสมบัติทำงานได้จริง สู้งาน รักงาน เสียสละ ทำงานเป็นทีมได้ และค่าใช้จ่ายต่อตัวผู้เรียนและผู้ปกครองที่ไม่สูงจนเกินไป เพราะจริงๆแล้ว ไม่มีใครอยากได้สินค้าและบริการที่มีราคาแพงที่ไม่มีคุณภาพ

ทำอย่างไรจึงจะผลิตบัณฑิตที่จบแล้วมีงานทำ ได้งานที่ดีที่มีอนาคตในตลาดแรงงาน หากหางานไม่ได้ ก็ต้องมองวิธีการผลิตบัณฑิตที่สามารถสร้างงานให้กับตนเองในฐานะผู้ประกอบการรายย่อย การทำงานอิสระ การทำงานเริ่มงานแบบเป็นกลุ่มร่วมงานขนาดเล็กๆ

สิ่งที่ต้องระวังสำหรับการศึกษาในยุคใหม่ ก็คือ จบปริญญาตรีแล้วความคาดหวังสูง ต้องการได้เงินเดือนมากๆ งานสบาย แถม หากตกงาน จะกลับไปช่วยพ่อแม่ทำงานอยู่ตามไร่นาก็ไม่ได้เสียแล้ว เพราะไม่มีค่านิยมสู้งานในนาในทุ่งเหลือเอาไว้ช่วยพ่อแม่ผู้ปกครองให้สู้ปัญหาได้แล้ว

สงครามกลางเมืองซีเรีย - ในสงคราม มีแต่ผู้แพ้และผู้สูญเสีย

สงครามกลางเมืองซีเรีย - ในสงคราม มีแต่ผู้แพ้และผู้สูญเสีย

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: การเมือง, ความขัดแย้ง, politics, conflicts, civil war, สงครามกลางเมือง, ซีเรีย, Syria, 



ภาพ จาก CNN: ท่ามกลางอาคารปรักหักพัง ซึ่งฝ่ายต่อต้านรัฐบาลกล่าวว่าเป็นผลจากการทิ้งระเบิดจากเครื่องบินรบไอพ่นของฝ่ายรัฐบาลประธานาธิบดี บาชาร์ อัล อัสซาด ที่เออร์บีน (Erbeen) ใกล้กรุงดามัสกัส (Damascus) ประเทศซีเรีย

ความขัดแย้งในประเทศซีเรียได้ขยายตัวสู่ความเป็นสงครามกลางเมือง (Syrian civil war) เต็มรูปแบบแล้ว  และในสงครามเช่นนี้ ไม่มีผู้ชนะ มีแต่ผู้สูญเสีย


ภาพ ประธานาธิบดี บาชาร์ อัล อัสซาด ผู้นำฝ่ายรัฐบาล

ฝ่ายรัฐบาลมีกำลังรบ 200,000 คน; ฝ่ายกองกำลังรักษาความมั่นคง 8,000 นาย; และ ทหารพรานชิบาฮา (Shabiha militiamen) 10,000 คน

กองกำลังฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรีย – มีนักรบกองกำลังปลดแอก (Free Syrian Army – FSA) 70,000100,000 คน; มีทหารฝ่ายรัฐบาลที่หนีทัพเข้าร่วมด้วย 30,000 คน; นักรบ Liwaa Al-Umma 6,000 นาย เป็นต่างชาติ 600 คน; นักรบมูจาฮิดีน (Mujahideen) 1,2001,500 คน; และนักรบ PYD 4,0004,500 PYD คน

โดยรวมทั้งสองฝ่ายมีผู้เสียชีวิต 35,079 คน (ตามการกล่าวอ้างของฝ่ายต่อต้าน); มีคนต้องย้ายถิ่นหนีความรุนแรงภายในประเทศ 1.2 ล้านคน; และมีคนต้องอพยพออกนอกประเทศ 335,000500,000 คน



ภาพ อาคารที่ถูกทำลายในสงคราม


ภาพ ย่านชุมชนที่ถูกทิ้งระเบิด เกลื่อนไปด้วยสิ่่งปรักหักพังจากสงคราม