มารู้จักอาจารย์มหาวิทยาลัยเสื้อแดง
Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, governance, อุดมศึกษา, higher
education, tertiary education, มหาวิทยาลัย,
เสรีภาพทางวิชาการ, academic freedom, ความอดทนทางปัญญา, intellectual
tolerance
วัฒนธรรมคนเสื้อแดง ก่อเกิดมาพร้อมกับระบอบทักษิณ และมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อมีการรัฐประหาร
ทำไมอาจารย์หลายคนเป็นเสื้อแดง
ผมได้มีโอกาสพูดคุยถามความเห็นผู้ใหญ่ในแวดวงที่รู้จัก
“อาจารย์เสื้อแดง” เหล่านี้ พอสรุปประเด็นได้ว่านักวิชาการและอาจารย์มหาวิทยาลัยหลายคนที่จบการศึกษามาอย่างดี
แต่ทำไมไปเดินตาม
แนวทางเสื้อแดงเหมือนอย่างหลุดโลก ซึ่งมีหลายเหตุผลดังนี้ครับ
(1)
มีพื้นฐานการเกลียดเจ้า มองไม่เห็นสิ่งดีในสถาบัน (2) มีความเชื่อในทฤษฎีการต่อสู้ทางชนชั้น และเขามองการต่อสู้เพื่อชนชั้นที่เสียเปรียบในสังคมเป็นสิ่งดีงาม
(3) ติดยึดกับหลักปรัชญา ประวัติศาสตร์
มากกว่าที่จะยืดข้อมูลข้อเท็จจริงในสภาพที่เป็นอยู่ ซึ่งในทางวิชาการเรียกพวกนี้ว่า
Dogmatic (4) อยู่ในแวดวงที่ต้องเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์หรือวารสาร
ชนิดที่ไม่ได้มีโอกาสศึกษาวิจัยอย่างลึกซึ้งที่ต้องใช้เวลา
จึงเป็นแนวเขียนแบบใช้ทฤษฎีแล้วตีความออกมาในแนวความเชื่อของตน
มากกว่าที่จะไปศึกษาจากสภาพการณ์ที่เป็นจริง
ยิ่งมีสื่อของระบอบทักษิณรองรับการนำเสนอ มีระบบรางวัลทางสังคมของกลุ่มเขาสนับสนุน
หากจะพูดหรือนำเสนอ ก็มีทั้งสื่อโทรทัศน์เสรี วิทยุ
หนังสือพิมพ์และวารสารสิ่งพิมพ์ต่างๆในค่ายรัฐบาลรองรับ
คนเหล่านี้แม้จะเป็นคนเรียนหนังสือมาสูง
เป็นผู้มีสติปัญญา แต่ก็ติดหล่มวิชาการ มองปัญหาอย่างเพียงด้านเดียว
และหาทางออกจากหล่มไม่พบ
ภาพเก่า จากการชุมนุมของคนเสื้อแดง
-------------
ภาพ ทักษิณ ชินวัตร ผู้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้การเมืองไทยเปลี่ยนแปลงไป สู่ความขัดแย้งรุนแรง
ภาพ อาจารย์เสื้อแดง เหมือนกับคนเสื้อแดงมองไม่เห็นจุดอ่อนของการบริหารบ้านเมืองโดยผ่านระบบตัวแทนอย่างนายกรัฐมนตรีตัวแทน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ภาพ อาจารย์เสื้อแดงยึดการเลือกตั้งเป็นดังคัมภีร์ของประชาธิปไตย และมองไม่เห็นปัญหาเผด็จการรัฐสภา และระบบคอรัปชั่นที่ตามมา
ภาพ นักวิชาการเสื้อแดง มองไม่เห็นและไม่เคยวิเคราะห์ปัญหาระบอบทักษิณว่ามีจริง และมีปัญหาร้ายแรงต่อสังคมไทย
ภาพ นักวิชาการ อาจารย์เสื้อแดง มองไม่เห็นปัญหาของสิ่งที่ตามมาจากระบอบทักษิณ ดังเช่นกรณีนโยบายรับจำนำข้าทุกเม็ด
ทำไมไม่ไล่อาจารย์เสื้อแดงออกจากมหาวิทยาลัย
มีคนถามผมบ่อยครั้ง “ทำไมไม่ไล่อาจารย์เสื้อแดงออก”
แล้วมักให้เหตุผลตามมาว่า เขาหมิ่นเบื้องสูง เขาทำให้บ้านเมืองแบ่งแยก
เขาเป็นคอมมิวนิสต์ เขาเผยแพร่สิ่งที่เป็นอวิชชา และอื่นๆอีกมากมาย
ผมคิดว่าผู้บริหารมหาวิทยาลัยตั้งแต่ระดับอธิการบดี
คณบดี จนระดับหัวหน้าภาควิชาคงจะได้รับคำวิพากษ์ว่า “ใช้ไม่ได้”
คำอธิบายมีดังนี้ครับ ในมหาวิทยาลัยของประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลก
เขาต้องมีหลักหนึ่งที่เหมือนกันคือ ผดุงเสรีภาพวิชาการ (Academic freedom) เขาจึงให้การบริหารคณาจารย์ยึดหลักว่าจะไม่มีการไล่ออกด้วยความคิดเห็นทางวิชาการหรือการเมืองที่ต่างกัน
ตรงกันข้าม
อาจารย์มหาวิทยาลัยพึงร่วมกันรักษาหลักการนี้ไว้ตราบที่อาจารย์เขาได้ทำหน้าที่ในการวิจัยและแสดงความคิดเห็นทางวิชาการอย่างบริสุทธิใจ
แต่มีอีกหลักหนึ่งที่ว่า
อาจารย์มหาวิทยาลัยจะดำรงอยู่ได้ด้วยหลัก Publish or perished หรือ “หากไม่ทำงานวิชาการ ไม่วิจัย ไม่เขียนหนังสือ
ชีวิตของท่านต้องเน่าเสียแน่” และเมื่อเขียนงานวิชาการใดๆ หรือพูดอะไรออกมา
ก็ต้องรับผิดชอบต่อข้อมูลและความคิดความเห็นนั้น และต้องไม่กระทำอย่างรับอามิสสินจ้าง
แล้วมาบิดเบือนงานวิชาการ หรือเขียนอย่างยกเมฆ หรือลอกเลียนงานคนอื่นๆเขามา
อาจารย์เสื้อแดงเป็นคนส่วนน้อยของมหาวิทยาลัย
แต่เขามีสิทธินำเสนอเรื่องราวความคิดความเห็นของเขา
เพราะผู้มีอำนาจในสังคมและสื่อต่างๆ เป็นฝ่ายสนับสนุนเขา แต่ภายในมหาวิทยาลัยเอง เขาเป็นกลุ่มคนแปลกแยก
เรียกว่า พวก Non-conformist สังคมไทยก็ต้องเข้าใจสภาพเช่นนี้ครับ
เมื่อเราเป็นคนกลุ่มน้อย เราก็ต้องการเสียงของเราได้รับการรับฟัง
และเมื่อใดเมื่อเรากลายเป็นคนส่วนใหญ่
เราก็ต้องมีความอดทนที่จะรับฟังเสียงของคนส่วนน้อยอื่นๆด้วย
ซึ่งสิ่งนี้เป็นคุณสมบัติของสังคมอารยะ คือต้องมี “ความอดทนทางปัญญา” (Intellectual
tolerance) พระเจ้าให้ปากเรามา 1 ปาก
แต่ก็ให้หูเรามา 2 หู นั่นคือ
เราต้องฟังคนอื่นๆเขามากกว่าที่เราจะพูดออกไปแล้วไม่รับฟังใครเลยครับ
No comments:
Post a Comment