Thursday, December 24, 2015

ฝูงหมาป่า (Wolf Pack) ในวนอุทธยานในสหรัฐเมริกา

ฝูงหมาป่า (Wolf Pack) ในวนอุทธยานในสหรัฐเมริกา

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: ความเป็นผู้นำ, leadership, ผู้สูงวัย, elders, สัตว์สังคม, social animal, หมาป่า, Wolves, wolf, ฝูงหมาป่า, wolf pack

หมาป่าอยู่เป็นฝูงในทวีปอเมริกาเหนือ ดังในแถบวนอุทยาน Yellow Stones ซึ่งช่วงฤดูหนาว ก็จะหนาวจัด จะดำรงชีวิตได้ ก็ต้องไล่ล่าล้มสัตว์ใหญ่และเล็กมาเป็นอาหาร


ภาพ การเคลื่อนย้ายของฝูมหมาป่า (Wolf pack)


ภาพ หมาป่าเป็นสัตว์สังคม อยู่รวมกันเป็นฝูง แต่ละตัวระดับการเป็นผู้มีอำนาจในฝูงที่ต่างกันตามลำดับ ตัวอ่อนแอกว่าต้องยมอรับตัวที่แข็งแรงกว่า

หมาป่าดำรงชีวิตอยู่ได้เป็นสังคม อยู่เป็นฝูง มีตัวเป็นหัวหน้า ซึ่งต้องพิสูจน์ตัวเองชนะตัวอื่นๆที่ท้าทายความเป็นตัวนำ หัวหน้าต้องมีผู้ตาม แต่ทุกตัวต้องทำหน้าที่ ไม่ว่าหัวหน้า ลูกน้อง ตัวหนุ่มสาว หรือตัวสูงวัย ทั้งฝูงต้องร่วมกันล้มสัตว์ใหญ่ได้สักตัว ก็จะได้กินกันทั้งฝูง

ในรูปแบบการเคลื่อนขบวนของฝูง (Wolf pack) ย้ายถิ่นฐานเพื่อหาแหล่งอาหารใหม่ ตัวนำ 3 ตัวแรก ดังที่เห็นในภาพ เป็นหมาสูงวัย เมื่อมีการเคลื่อนย้ายฝูง เป็นกลุ่มนำหน้า เพราะไม่แข็งแรงหรือเร็วเท่ากับหมาหนุ่มสาว แต่เวลาถูกดักทำร้ายด้วยหมียักษ์หรือฝูงหมาป่าอื่น ก็จะเป็นกลุ่มแรกที่จะต้องเป็นตัวปะทะ ได้รับอันตรายก่อนเขา แต่ทำให้ฝูงที่จะตามมาได้เตรียมตัวทัน แต่ขณะเดียวกัน หากตัวสูงวัยต้องไปอยู่ท้ายฝูง ก็อาจช้าและหลุดหลงฝูง ทำให้ได้รับอันตรายหรืออดตายได้

ส่วนที่วิ่งตามมาในระดับกลางๆ คือกลุ่มที่เป็นตัวเข้าต่อสู้จริง หากเปรียบกับกองทัพก็จะเป็นเหมือนทัพหลวง

ส่วนตัวหัวหน้าจริงอยู่ท้ายสุดของฝูง จะเป็นตัวสั่งการ การจะสั่งเข้าสู้ จะไปทางซ้ายหรือขวา หรือจะต้อนแยกฝูงกวางหรือควายป่าอย่างไร ต้องมีการนำจากตัวหัวหน้า ตัวหัวหน้าวิ่งคุมท้ายฝูง เพราะเร็วพอ แข็งแรงพอ มั่นใจได้ว่าจะไม่หลุดจากฝูง และจะทำหน้าที่ดูอันตรายจากส่วนท้าย

ย้อนมาคิดถึงชีวิตผู้คนในสังคม การดำรงชีวิตก็คือการต้องทำงาน มีงานอย่างใดอย่างหนึ่งทำ แม้เป็นงานที่ไม่มีรายได้มากมาย แต่ก็เป็นความจำเป็นในการดำรงชีวิต คนสูงวัยไม่ต้องทำงานเหมือนคนหนุ่มสาว ไม่ต้องวิ่งอย่างเต็มกำลัง วิ่งไปตามระดับความสามารถของร่างกาย


เมื่อผมเข้าสู่ความเป็นคนสูงวัย มองภาพตัวเองเหมือนหมาป่า 3 ตัวแรกนี้ ผมไม่ได้เป็นห่วงว่าจะตายเร็วหรือตายช้า แต่อยากจะมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า มีความหมาย มีอะไรที่เราจะทำได้และเป็นประโยชน์ก็อยากทำ หากการจะดำรงชีวิตอยู่ ต้องเป็นภาระมากมายแก่คนรุ่นหลัง ต้องมีค่ารักษาพยาบาลมากมาย ทำให้เรามีชีวิตยืนยาวออกไปได้อีกสักระยะ แต่ก็เป็นไปอย่างไม่มีคุณภาพชีวิต อย่างนี้ก็อยากจะสละโอกาสในการรักษาพยาบาลให้กับคนอื่นๆที่เขาต้องการบริการนี้มากกว่า

สุภาษิตเยอรมัน – ของถูกสุดมักจะเป็นของที่แพงที่สุด

สุภาษิตเยอรมัน – ของถูกสุดมักจะเป็นของที่แพงที่สุด

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: สุภาษิต, Proverbs, เยอรมัน, German, Germany, คุณภาพ, quality, ราคา, price
มีสุภาษิตเยอรมันบทหนึ่งกล่าวว่า “Das Billige ist immer das Teuerste.” ตรงกับความหมายในภาษาอังกฤษว่า ““The cheapest is always the most expensive.” หรือแปลเป็นไทยได้ว่า “ของที่ถูกที่สุด คือของที่แพงที่สุด”


ภาพ รถยนต์โฟล์คสวาเกนแบบสองประตู นั่งได้ 4 คน ติดตั้งเครื่องด้านหลัง ใช้ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ ตัดปัญหาหม้อน้ำที่น้ำมักแข็งตัวในช่วงฤดูหนาว



ภาพ รถ VW Beetle รุ่น 2016 รูปทรงยังคงเดิม แต่เทคโนโลยีได้เปลี่ยนไปตามกาลเวลา แต่แฟนๆของ VW ยังคงยึดมั่นในแบรนด์ของ VW อย่างเหนียวแน่น แม้ราคาจะไม่ใช่รถยนต์ราคาประหยัดอีกต่อไป

ในขณะที่สินค้ายามเริ่มแรกของประเทศเมื่อกำลังพัฒนา อย่างญี่ปุ่นหลังสงครามโลก มักจะเน้นการผลิตสินค้าราคาถูกเพื่อการส่งออก หาเงินที่หายากเข้าประเทศ เกาหลีใต้หลังฟื้นตัวจากสงครามเกาหลี และจีนหลังเปิดประเทศสู่ระบอบการค้าเสรี ประเทศเหล่านี้มักดำเนินนโยบายที่คล้ายกัน คือใช้นโยบาย ทำให้สินค้าราคาถูกกว่าเขาไว้ก่อน ดังเช่นรถยนต์นิสสัน หรือดัทสัน (Datsun) ของญี่ปุ่นในระยะแรก คือออกตัวสู่ตลาดได้ด้วยทำให้สินค้าราคาถูก ถูกกว่ารถยนต์จากตะวันตกแบบ ซื้อรถยุโรป 1 คัน ซื้อรถญี่ปุ่นมาทำแทกซี่ได้ 4-5 คัน แต่นั่นเป็นระยะเริ่มแรก ที่ผู้เข้าสู่ตลาดที่เขามีระบบเดิมอยู่แล้ว ก็ต้องทำสินค้าให้ถูกกว่าเข้าไว้ แต่ต่อมาเมื่อเขาตั้งตัวติด ก็ต้องหันมาผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงขึ้น เป็นที่ไว้ใจในตลาดโลก และก็สามารถตั้งราคาแข่งขันที่สูงขึ้นได้

ในอีกด้านหนึ่ง คิดแบบเยอรมัน คือต้องทำสินค้านั้นๆให้ได้ดีก่อน ต้องมีการลงทุนวิจัยและพัฒนาจนมั่นใจว่าสินค้าของตนนั้นจะแข็งแรงทนทาน และแม้จะต้องผลิตขึ้นมาด้วยต้นทุนและราคาขายที่สูงกว่าเขาอื่น สินค้าจากเยอรมันจะเน้นคุณภาพ ความทนทานเสมอ แม้ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เศรษฐกิจย่ำแย่ แต่เยอรมันก็ยังเน้นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ตัวอย่างเช่น รถยนต์โฟล์คเต่า (VW Beetles) เจตนาผลิตให้เป็นรถราคาประหยัด เป็นรถมหาชน แต่ก็ไว้ลาย ผลิตออกมาอย่างมีคุณภาพสูง เป็นรถที่เรียบง่าย ไม่ใช้หม้อน้ำ มีปัญหาจุกจิกในการดูแลน้อยมาก แต่เพราะผลิตอย่างมีคุณภาพนี้เอง แม้ราคาจะสูงกว่าสินค้าที่ผลิตโดยประเทศที่มีสินค้าถูกกว่า แต่รถของเยอรมันก็ขายได้ดี หลักคิดแบบเยอรมัน คือ ทำสินค้าให้มีคุณภาพ ใช้แล้วไม่มีปัญหาจุกจิก เมื่อต้องซ่อมแซม เขาจะคิดถึงระบบบริการอะไหล่ และบริการหลังการขายควบคู่ไปด้วย

สุภาษิตเยอรมันที่ว่า – ของถูกสุดมักจะเป็นของที่แพงที่สุด ยกตัวอย่างนาฬิกาหรือเสื้อผ้า มีเป็นอันมากที่ซื้อมาเพราะมันราคาถูก แต่แล้วก็ไม่ได้ใส่ หรือใส่เพียงครั้งสองครั้งก็ทิ้งไป ในกรณีนาฬิกา ราคาเรือนละไม่กี่ร้อยบาท แต่แล้วก็เสียแบบซ่อมไม่ได้ แล้วก็ทิ้งไป

Tuesday, December 22, 2015

รถไฟฟ้าไร้คนขับของกูเกิล (Google Self-Driving Car)

 รถไฟฟ้าไร้คนขับของกูเกิล (Google Self-Driving Car)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat

แปลและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: พลังงานทางเลือก, เทคโนโลยี, การเดินทางขนส่ง, รถยนต์ไฟฟ้า, electric car, EV, รถไฟฟ้าไร้คนขับของกูเกิล, Google Self-Driving Car


ภาพ รถยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับของ Google ชนาดเล็ก นั่งได้ 2 คน


ภาพ รถยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับใช้ในกิจการของ Google ดัดแปลงจากรถยนต์ไฟฟ้าลูกปผรม Toyota Prius

รถไฟฟ้าไร้คนขับของกูเกิล (Google Self-Driving Car) มีชื่อเรียกย่อๆว่า SDC เป็นโครงการของ Google ซึ่งอยู่ในช่วงของการพัฒนารถยนต์อัตโนมัติ (Autonomous cars) โดยหลักแล้วใช้รถยนต์ไฟฟ้า (Electric cars) โดยมีโปรแกรมควบคุมพัฒนาโดย Google เรียกว่า Google Chauffeur เป็นป่ายติดรถในโครงการทุกคัน โครงการนี้นำโดย Sebastian Thrun อดีตหัวหน้าโครงการห้องทดลองปัญญาประดิษฐ์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford Artificial Intelligence Laboratory and co-inventor)

โครงการได้รับเงินทุนเบื้องต้น USD2 ล้านจากรางวัลชนะเลิศ 2005 DARPA Grand Challenge กระทรวงป้องกันประเทศของรัฐบาลสหรัฐ มีวิศวกรเป็นทีมพัฒนา 15 คนทำงานให้ Google

ในสหรัฐอเมริกาได้มี 4 รัฐ กับหนึ่งเขตปกครองพิเศษ คือรัฐแคลิฟอร์เนีย เนวาดา ฟลอริดา และมิชิแกน และเมืองวอชิงตัน ดีซี อันเป็นเมืองหลวงของประเทศ ที่ได้เปิดให้มีการใช้รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยระบบหุ่นยนต์นี้ Google หวังว่าภายในปี ค.ศ. 2020 หรืออีก 5 ปีข้างหน้าจะได้เปิดให้มีบริการรถยนต์ไร้คนขับนี้ในเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการ

จนล่าสุดเดือนกันยายน ได้เร็วสูงสุดไม่เกิน 25 ไมล์ต่อชั่วโมง เพื่อจำกัดโอกาสเกิดอุบัติเหตุรุนแรง
รถยนต์ไร้คนขับของ Google หรือ Self-Driving Car – SDC

Google หรือ Self-Driving Car ขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ไม่มีพวงมาลัย ไม่มีเบรก ไม่มีคันเร่ง ในเบื้องต้นจำกัดความเร็วไม่เกิน 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพื่อความปลอดภัย รถขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์ที่ชื่อ Google Chauffeur ในปัจจุบันได้มีทดลองใช้งานใน 4 รัฐของสหรัฐอเมริกา คือ แคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีอุตสาหกรรมด้าน ICT และคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ เนวาดา ฟลอริดา ซึ่งเป็นเมืองมีประชากรผู้สูงอายุอยู่มาก และรัฐมิชิแกน ซึ่งยังมีเมืองและบริเวณ Detroit เป็นฐานผลิตรถยนต์ที่สำคัญของประเทศ


ในโลกนี้มีประมาณ 200 ประเทศ คิดว่าประเทศไทยคงอยู่ในกลุ่ม 50 ประเทศท้ายๆที่จะใช้ Self Driving Car เพราะต้องมีการฝึกวินัยด้านการจราจรขั้นพื้นฐาน และมีการปรับปรุงถนนหนทางให้เข้ามาตรฐานกลางที่ดีเสียก่อน แต่หากเป็นการเริ่มทดลองใช้กับบางเมืองที่มีลักษณะเป็นเมืองปิด เช่นใช้ในมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ในต่างจังหวัด ใช้เพื่อการส่งสารภายในมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นการนำร่อง เพื่อให้ได้เรียนรู้นิสัยการใช้รถยนต์ของคนไทย ก็ย่อมจะเป็นไปได้ครับ


ภาพ วิศวกรพัฒนา Google car รถยนต์ไร้คนขับ

Friday, December 11, 2015

เมเจอร์ลีกซอกเกอร์ (Major League Soccer) ในทวีปอเมริกาเหนือ

เมเจอร์ลีกซอกเกอร์ (Major League Soccer) ในทวีปอเมริกาเหนือ

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

 ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: sports, กีฬา,ฟุตบอล, soccer, football, อเมริกันฟุตบอล, American Football, Major League Soccer – MLS, Thai Premier League – TPL

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia
ขอแนะนำสมาคมฟุตบอลใหญ่ในทวีปอเมริกาเหนือ หรือ Major League Soccer – MLS ใช้เวลาในการเติบโตเพียง 23 ปี


ภาพ ทีม Portland Timbers ชนะเลิศฟุตบอลอาชีพของอเมริกาเหนือ ได้ถ้วย Major League Soccer - MLS ไปครองเป็นครั้งแรกในปลายปี 2015 นี้ หลังจากเข้าร่วมฟุตบอลอาชีพนี้มาได้เพียง 5 ปี

ในประเทศสหรัฐอเมริกาในทวีปอเมริกาเหนือ หากเรียก Football เขาหมายถึงกีฬาอเมริกันฟุตบอล (American Football) ที่สามารถเล่นได้ด้วยการพาลูกวิ่งไปข้างหน้าด้วยมือ หรือขว้างไปข้างหน้าและมีผู้รอรับได้ ในสหรัฐอเมริกาฟุตบอลลูกกลมๆอย่างที่เรารู้จัก ที่ใช้เตะหรือเลี้ยงไปด้วยเท้า เขาเรียกว่า ซอคเคอร์ (Soccer)

สมาคมฟุตบอลใหญ่ในทวีปอเมริกาเหนือ หรือ Major League Soccer – MLS

เพื่อให้สอดคล้องกับการสื่อสารเป็นสากล ผู้เรียบเรียงจึงใช้คำว่าฟุตบอล (International football) มากกว่าจะเป็นคำว่า “ซอคเคอร์” (Soccer) ซึ่งจะสับสนกับคนทั่วโลกที่ไม่คุ้นกับคำนี้

ในประเทศไทย เรารู้จักกับฟุตบอลสโมสร (Football Club – FC) ซึ่งเป็นฟุตบอลอาชีพ ต่างจากฟุตบอลโรงเรียน ฟุตบอลมหาวิทยาลัย/อุดมศึกษา หรือฟุตบอลสมัครเล่น

สมาคมฟุตบอลอาชีพใหญ่ของไทย คือ Thai Premier League – TPL ซึ่งเทียบได้กับในอเมริกาเหนือ อันประกอบด้วยสหรัฐอเมริกาและแคนาดา คือ Major League Soccer (MLS) ซึ่งเป็นสมาคมฟุตบอลแบบนานาชาติใหญ่ในสหรัฐอเมริกา

MLS ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสโมสรฟุตบอล 20 ทีม มี 17 ทีมในสหรัฐอเมริกา และ 3 ทีมจากแคนาดา MLS มีฤดูการแข่งขันที่เริ่มในเดือนมีนาคม ถึงเดือนตุลาคม แต่ละทีมเล่น 34 ครั้ง ทีมที่มีสถิติดีที่สุดในฤดูการแข่งขันจะได้โล่ห์ (Supporters’ Shield) ส่วนหลังจากนั้นจะมีการแข่งขันรอบแพ้คัดออก คัดจากทีมที่ดีที่สุด 12 ทีม แข่งกันในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ผู้ชนะเลิศจะได้ถ้วย MLS Cup

MLS ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1993 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตบอลนานาชาติชิงแชมป์โลกในปี ค.ศ. 1994 (1994 FIFA World Cup) ในการแข่งขันฤดูกาลแรกในปี ค.ศ. 1996 มีทีมสโมสรเข้าร่วม 10 ทีม ในช่วง 2-3 ฤดูการแรก MLS ประสบปัญหาทางการเงิน ขาดทุนไปหลายล้านเหรียญ การแข่งขันเป็นอันมากใช้สนามอเมริกันฟุตบอลขนาดใหญ่ ที่เต็มไปด้วยที่นั่งว่างเปล่า ในช่วงนี้มี 2 ทีมที่ต้องเลิกล้มไปในปี ค.ศ. 2002 หลังจากนั้น MLS เริ่มประสบความสำเร็จมีทีมเข้าร่วม 20 ทีม เจ้าของทีมมีการสร้างสนามสำหรับฟุตบอลสากลโดยเฉพาะ (Soccer-specific stadiums) จำนวนผู้เข้าชมการแข่งขันเริ่มเพิ่มขึ้นเกินความคาดหมายจนเกินการแข่งขันกีฬาฮอคกี (National Hockey League – NHL) และแม้แต่การแข่งขันบาสเกตบอลอาชีพ (National Basketball Association – NBA) MLS ได้รับสัญญาสนับสนุนจากสถานีโทรทัศน์ระดับชาติ (National TV contracts) และสมาคมฟุตบอลเองก็สามารถทำกำไรได้แล้ว

ในเชิงการบริหาร แทนที่จะมีสมาคมของเจ้าของทีมที่เป็นอิสระมารวมตัวกัน แต่ MLS เป็นองค์กรที่มีความเป็นนิติบุคคล ที่ซึ่งแต่ละทีมมีเจ้าของและควบคุมโดยผู้ลงทุน (Investors) เจ้าของและผู้ลงทุน (Investor-operators) นี้จะควบคุมทีมของตนเหมือนเจ้าของควบคุมทีมในแต่ละสมาคม (leagues) สมาคม (League) มีสมาชิกจำกัด เหมือนสมาคมกีฬาอื่นๆในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา สมาคมไม่ได้ใช้วิธีการเลื่อนชั้นหรือลดชั้น (Promotion and relegation) MLS มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองนิวยอร์ค ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา


Major League Soccer

ประเทศ
Country
สหรัฐอเมริกา
United States
สโมสรอื่นๆ
Other club(s) from
แคนาดา
Canada
สหพันธ์
Confederation
ก่อตั้งเมื่อ
Founded
17 ธันวาคม 2536
December 17, 1993[1]
แบ่งออกเป็นกลุ่ม
Conferences
กลุ่มตะวันออก
Eastern Conference
กลุ่มตะวันตก
Western Conference
จำนวนทีมเข้าร่วม
Number of teams
ระดับของปิรามิด
Level on pyramid
การขับออกจากกลุ่ม
Relegation to
ไม่มี
None
การแข่งขันชิงถ้วยในประเทศ
Domestic cup(s)
ถ้วยของสหรัฐอเมริกา
U.S. Open Cup
ถ้วยของแคนาดา
Canadian Championship
ชิงถ้วยนานาชาติ
International cup(s)
ผู้ชนะถ้วยล่าสุด
Current MLS Cup
Portland Timbers (1st title)
(2015)
ผู้สนับสนุนโล่ห์
Current Supporters' Shield
New York Red Bulls (2nd shield)
(2015)
สโมสรที่ได้ถ้วยมากที่สุด
Most MLS Cups
LA Galaxy (5 titles)
สโมสรได้โล่มากที่สุด
Most Supporters' Shields
2 ทีม ได้แก่
D.C. United และ LA Galaxy (4 shields)
ทีวีที่สนับสนุน
TV partners
ในสหรัฐอเมริกา
United States
ในแคนาดา
Canada
เวบไซต์
Website

Wednesday, December 9, 2015

ประโยชน์และอันตรายจากนิวเคลียร์ฟิวชั่น (Nuclear Fusion)

ประโยชน์และอันตรายจากนิวเคลียร์ฟิวชั่น (Nuclear Fusion)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: ยุโรป, สหภาพยุโรป, Europe, European Union, EU,พลังงาน, พลังงานทางเลือก, alternative energy, สหรัฐอเมริกา, USA, Nuclear fusion, ฟิชชัน, fission, ฟิวชั่น, fusion

เก็บความจาก “The Tantalizing Promise And Peril Of Nuclear Fusion”  จากนิตยสาร Forbes


ภาพ จาก Tokamak ที่ JET fusion lab ในสหราชอาณาจักร ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าที่จะสร้างโดยITER

ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ในโลกกำลังมองหาเทคโนโลยีที่ทำให้เรามีพลังงานใช้ได้อย่างแทบไม่รู้จบ นั่นคือเทคโนโลยีเกี่ยวกับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่น (Nuclear Fusion Reactor)

เทคโนโลยีฟิวชั่น (Fusion technology) นี้มักถูกมองข้าม เพราะมองเห็นว่าเป็นเทคโนโลยีที่ยังไม่พร้อม แต่ถ้าหากจะมีความพร้อม Lawrence Livermore National Laboratory ให้ความเห็นว่าสหรัฐอเมริกาน่าจะอยู่ในสถานะที่พร้อมที่สุดที่จะเปลี่ยนความคิดนี้ ปัจจุบันสถาบันนี้มีโครงการที่จะใช้เงิน USD3,500 ล้าน หรือประมาณ 119,000 ล้านบาท เพื่อการวิจัยและพัฒนานี้

Fusion แตกต่างจาก Fission ซึ่งเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูในยุคปัจจุบันสร้างพลังงานใช้ Fission
ฟิชชัน (Fission) คือการแตกอะตอม (Splitting atoms apart) แต่ฟิวชัน (Fusion) คือกระบวนการที่ทำให้อะตอมรวมตัวกัน เป้าหมายคือการให้ความร้อนก๊าซไฮโดรเจนให้ร้อนกว่า 100 ล้านดีกรีเซลเซียส ซึ่งจะทำให้อะตอมผนึกเข้าหากัน แทนที่จะแตกแยกออกไป

ความร้อนที่จะใช้นี้มหาศาล แปลไม่ผิดครับ “100 million degrees Celsius

หากนักวิทยาศาสตร์ทำสำเร็จ ผลคือจะสามารถผลิตพลังงาน 10 ล้านเท่าของปฏิกิริยาทางเคมีทั่วไป ดังเช่นการเผาถ่านหิน (Fossil fuels) และในกระบวนการนี้จะไม่มีการปล่อยคาร์บอนหรือสารกัมมันตภาพหลงเหลือออกมา

แต่ก่อนที่จะถึงจุดนั้นสมาคมระหว่างประเทศ (International consortium) ได้ใช้เงินไปแล้ว USD 20,000 ล้านหรือ 680,000 ล้านบาท ในการวิจัยและพัฒนา โครงการ International Nuclear Fusion Project หรือ ITER มุ่งเป้าหมายไปที่สร้างเครื่องปฏิกรณ์สาธิต (Demonstration reactor) ในประเทศฝรั่งเศสภายในปี ค.ศ. 2019 รัฐสมาชิกประกอบด้วยสมาชิกของสหภาพยุโรป และรวมถึงรัสเซีย ญี่ปุ่น จีน อินเดีย และเกาหลีใต้ได้เข้ามีส่วนร่วมด้วย ทั้งด้วยการจ่ายสนับสนุนให้นำทรัพยากรและทักษะทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่จะใช้ในโครงการนี้

หากทำสำเร็จ ผลที่ได้อย่างเป็นรูปธรรมในการลงทุนกับ Nuclear fusion คืออะไร? คำตอบคือ เทคโนโลยีสนามแม่เหล็ก (Magnet technology) ซึ่งใช้ในวงการแพทย์ ดังเช่น การสร้างภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (Magnetic resonance imagery) ที่จะทำให้แพทย์สามารถมองเห็นภายในสมองของมนุษย์อย่างครบถ้วน

Michael Claessens หัวหน้าฝ่ายการสื่อสารของ ITER ได้อธิบายแก่ผู้สื่อข่าวว่า เทคโนโลยี Superconducting และวัสดุศาสตร์ก้าวหน้า (Advanced materials) จะเป็นอีกสองด้านที่จะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีฟิวชั่นนี้

งานก่อสร้างโครงการต้นแบบของ ITER ที่จะมีขึ้นในประเทศฝรั่งเศสนี้จะใช้เงินประมาณ 13,000 ล้านยูโร หรือ 515,056 ล้านบาท ซึ่งชาติสมาชิกของ ITER ร่วมกันจ่าย คิดเป็นมูลค่าประมาณร้อยละ 1 จากงบประมาณการวิจัยและพัฒนาภาครัฐที่มีอยู่ Claessens กล่าวว่า ชาติสมาชิกทั้งหลายเห็นว่าเป็นการลงทุนที่ดี

สิ่งที่เป็นปัญหาในโลกมนุษย์นี้คือพลังงาน Fusion Technology นี้จะปลอดภัยและมีล้นเหลืออย่างเกือบไร้ขีดจำกัด และเป็นสิ่งที่ดีที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนการเผาไหม้ถ่าน หรือแม้แต่นิวเคลียร์ปกติที่ยังมีสารกัมมันตภาพหลงเหลืออยู่


แต่ปัญหาที่อยู่ในใจของคนที่ไม่เห็นด้วยกับเทคโนโลยีฟิวชั่นนี้ คือผลของโครงการนี้จะให้พลังงานได้มากพอกับพลังงานที่ต้องใช้เพื่อกระบวนการฟิวชั่นนี้หรือไม่