ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
แปลและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia
Keywords: พลังงานทางเลือก, เทคโนโลยี, การเดินทางขนส่ง,
รถยนต์ไฟฟ้า, electric car, EV, รถไฟฟ้าไร้คนขับของกูเกิล,
Google Self-Driving Car
ภาพ รถยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับของ Google ชนาดเล็ก นั่งได้ 2 คน
ภาพ รถยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับใช้ในกิจการของ Google ดัดแปลงจากรถยนต์ไฟฟ้าลูกปผรม Toyota Prius
รถไฟฟ้าไร้คนขับของกูเกิล (Google
Self-Driving Car) มีชื่อเรียกย่อๆว่า SDC เป็นโครงการของ
Google ซึ่งอยู่ในช่วงของการพัฒนารถยนต์อัตโนมัติ (Autonomous
cars) โดยหลักแล้วใช้รถยนต์ไฟฟ้า (Electric cars) โดยมีโปรแกรมควบคุมพัฒนาโดย Google เรียกว่า Google
Chauffeur เป็นป่ายติดรถในโครงการทุกคัน โครงการนี้นำโดย Sebastian
Thrun อดีตหัวหน้าโครงการห้องทดลองปัญญาประดิษฐ์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
(Stanford Artificial
Intelligence Laboratory and
co-inventor)
โครงการได้รับเงินทุนเบื้องต้น USD2 ล้านจากรางวัลชนะเลิศ 2005 DARPA Grand Challenge กระทรวงป้องกันประเทศของรัฐบาลสหรัฐ มีวิศวกรเป็นทีมพัฒนา 15 คนทำงานให้ Google
ในสหรัฐอเมริกาได้มี 4 รัฐ
กับหนึ่งเขตปกครองพิเศษ คือรัฐแคลิฟอร์เนีย เนวาดา ฟลอริดา และมิชิแกน
และเมืองวอชิงตัน ดีซี อันเป็นเมืองหลวงของประเทศ ที่ได้เปิดให้มีการใช้รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยระบบหุ่นยนต์นี้
Google หวังว่าภายในปี ค.ศ. 2020 หรืออีก
5 ปีข้างหน้าจะได้เปิดให้มีบริการรถยนต์ไร้คนขับนี้ในเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการ
จนล่าสุดเดือนกันยายน ได้เร็วสูงสุดไม่เกิน 25
ไมล์ต่อชั่วโมง เพื่อจำกัดโอกาสเกิดอุบัติเหตุรุนแรง
รถยนต์ไร้คนขับของ Google หรือ Self-Driving Car – SDC
Google หรือ Self-Driving Car ขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ไม่มีพวงมาลัย ไม่มีเบรก
ไม่มีคันเร่ง ในเบื้องต้นจำกัดความเร็วไม่เกิน 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง
เพื่อความปลอดภัย รถขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์ที่ชื่อ Google Chauffeur ในปัจจุบันได้มีทดลองใช้งานใน 4 รัฐของสหรัฐอเมริกา
คือ แคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีอุตสาหกรรมด้าน ICT และคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ
เนวาดา ฟลอริดา ซึ่งเป็นเมืองมีประชากรผู้สูงอายุอยู่มาก และรัฐมิชิแกน ซึ่งยังมีเมืองและบริเวณ
Detroit เป็นฐานผลิตรถยนต์ที่สำคัญของประเทศ
ในโลกนี้มีประมาณ 200 ประเทศ
คิดว่าประเทศไทยคงอยู่ในกลุ่ม 50 ประเทศท้ายๆที่จะใช้ Self
Driving Car เพราะต้องมีการฝึกวินัยด้านการจราจรขั้นพื้นฐาน
และมีการปรับปรุงถนนหนทางให้เข้ามาตรฐานกลางที่ดีเสียก่อน
แต่หากเป็นการเริ่มทดลองใช้กับบางเมืองที่มีลักษณะเป็นเมืองปิด เช่นใช้ในมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ในต่างจังหวัด
ใช้เพื่อการส่งสารภายในมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นการนำร่อง
เพื่อให้ได้เรียนรู้นิสัยการใช้รถยนต์ของคนไทย ก็ย่อมจะเป็นไปได้ครับ
ภาพ วิศวกรพัฒนา Google car รถยนต์ไร้คนขับ
No comments:
Post a Comment