Monday, September 30, 2013

Vélib'โครงการจักรยานเช่าของกรุงปารีส

Vélib'โครงการจักรยานเช่าของกรุงปารีส


ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat E-mail: pracob.cooparat@gmail.com


ภาพ สัญญลักษณ์ของบริการเช่าใช้รถจักรยาน เวลิบ (Velib) ในกระงปารีส ประเทศฝรั่งเศส


ภาพ ที่จอดรถจักรยานในเมืองใหญ่ ที่เขาต้องการส่งเสริมการใช้จักรยาน เพื่อลดปัญหาจราจรรถยนต์แน่นขนัด


Keywords: การคมนาคม, การขนส่ง, transportation, bicycle sharing, การแบ่งใช้รถจักรยาน, velib, ปารีส, Paris, ฝรั่งเศส, France, China, ประเทศจีน

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

เวลิบ - Vélib'
ภูมิหลัง Background
เจ้าของ Owner
เทศบาลเมืองปารีส
Mairie de Paris (municipality)
สถานที่
Locale
เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ParisFrance
ประเภทการขนส่ง
Transit type
บริการเช่าใช้จักรยาน
Bicycle sharing system
จำนวนสถานี
Number of stations
1,230[1]
ผู้เช่าใช้ในแต่ละปี
Daily ridership
224,000 annual subscribers (2012)[2]
การดำเนินการ
Operation
วันเริ่มดำเนินการ
Began operation
15 กรกฎาคม ค.ศ. 2007
15 July 2007
ผู้ดำเนินการ
Operator(s)
จำนวนจักรยาน
Number of vehicles
14,000[1]

เวลิบ (Vélib’) โครงการให้เช่าใช้จักรยาน (Bicycle sharing system) ขนาดใหญ่ของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้เริ่มโครงการเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2017 ระบบจักรยานให้เช่านี้มีจักรยาน 14,000 คัน และมีสถานีจอดจักรยาน 1,230 แห่ง กระจายอยู่ทั่วกรุงปารีส และในบางเขตปริมณฑล (Municipalities) ในแต่ละวันมีผู้ใช้บริการเฉลี่ย 85,811 คน ตามการสำรวจในปี ค.ศ. 2011

Vélib เป็นคำที่ใช้เป็นชื่อติดไปกับโครงการให้เช่าจักรยานนี้ (Portmanteau) มาจากคำในภาษาฝรั่งเศส vélo คือ “จักรยาน” liberté คือ “เสรีภาพ รวมความก็แปลได้ว่า “เสรีภาพในการขับขี่จักรยาน”

Vélib’ เป็นโครงการที่รัฐบาลเมืองปารีสของฝรั่งเศส ได้ให้สัมปทาน (Concession) แก่บริษัทโฆษณา JCDecaux ในการได้สิทธิติดตั้งป่ายโฆษณาในบริเวณที่กำหนดของกรุงปารีส นับจนถึงปี ค.ศ. 2013 Vélib’ เป็นโครงการเช่าใช้จักรยานที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก ส่วนเมืองที่มีบริการดังกล่าวใหญ่เป็นอันดับหนึ่งและสองของโลกคือที่ วูฮัน (Wuhan) และฮังเจา (Hangzhou) ในประเทศจีน หลังจากเดือนธันวาคม ค.ศ. 2011 Vélib’ ได้มีอีกโครงการตามมา คือ “โอโตลิบ” (Autolib') เป็นโครงการเช่าใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่ดำเนินการบนหลักการเดียวกัน

อัตราค่าบริการ
Rates



ภาพ ตู้ให้บริการเช่าใช้จักรยานเช่าแบบช่วยตัวเอง (Automated)

การจะใช้บริการ เริ่มต้นด้วยการสมัครเป็นสมาชิก หากสมัครเป็นรายเฉพาะวัน เสีย 1.70; ต่อสัปดาห์ €8; ต่อปี €29 ทั้งนี้สำหรับรถระดับทั่วไป ((Vélib' Classique) แต่หากเป็นรถรุ่นพิเศษ คือเบาและมีเกียร์ (Vélib' Passion) เสียค่าสมาชิกปีละ €39

อัตราค่าบริการ
Rate examples (add 15 free minutes for a Vélib' Passion subscription)
time
30 min
1 h
1 h 30
2 h
5 h
10 h
20 h
rate
free
€1
€3
€7
€31
€71
€151

อัตราค่าบริการในแต่ละครั้ง หากไม่เกิน 30 นาที ไม่คิดเงิน; ไม่เกิน 1 ชม. เสีย €1; ไม่เกิน 90 นาที เสีย €3; ไม่เกิน 2 ชั่วโมง เสีย €7; ไม่เกิน 5 ชั่วโมง เสีย €31; ไม่เกิน 10 ชั่วโมง เสีย €71; และไม่เกิน 20 ชั่วโมง เสีย €151

การที่เขาคิดค่าบริการเป็นอัตราก้าวหน้านี้ ก็เพื่อให้รถจักรยานมีการใช้อย่างหมุนเวียนมาก คือขี่จากสถานีหนึ่งไปปล่อยไว้ในสถานีต่อไปที่ใกล้กับจุดหมายปลายทาง ก็ไม่ควรจะใช้เวลายาวนานนัก และเมื่อปล่อยไว้ตามสถานีที่กำหนด ก็ไม่ต้องเสียเงิน หรือเสียแต่น้อย ยิ่งมีการหมุนเวียนต่อวันมาก การต้องมีจักรยานสำรองไว้มากๆ ก็ลดลง แต่เป็นการแบ่งกันใช้ตามแนวคิดของโครงการ

ประโยชน์ของการใช้จักรยานในกรุงปารีสนั้น คือในหลายพื้นที่แม้มีรถก็จะไม่สามารถเดินทางไปได้ เพราะไม่มีพื้นที่จอดรถยนต์ (Parking lots) ส่วนสถานที่จอดรถจักรยานนั้น เนื่องด้วยเมืองปารีสมีการออกแบบมาให้มีบริเวณทางเดินทางกว้าง สามารถใช้เป็นพื้นที่จอดรถจักรยานได้

การสนับสนุนทางการเงิน
Financing



ภาพ ตัวอย่างสถานีบริการให้เช่ารถจักรยาน

Vélib' ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจาก JCDecaux ซึ่งเป็นบริษัทโฆษณาในฝรั่งเศส โดยมีสัญญาที่ลงนามกับฝ่ายบริหารเมืองปารีส อันเกี่ยวกับรายได้ค่าโฆษณาบนพื้นที่ตามถนนจำนวนหนึ่ง บริษัท JCDecaux ประมูลราคาชนะบริษัทคู่แข่ง Clear Channel

ในการจะดำเนินโครงการ JCDecaux ต้องลงเงิน $140 ล้าน และจ้างคนทำงานเต็มเวลา 285 คน เพื่อทำงานซ่อมจักรยานและดูแลระบบ โดยมีสัญญา 10 ปี ฝ่ายบริหารเมืองจะได้รับรายได้จากโครงการ และค่าเช่าใช้ปีละ $4.3 ล้าน และเป็นการตอบแทน JCDecaux จะได้สิทธิโฆษณาในป้าย 1,628 แห่ง เมืองจะยังได้ผลประโยชน์ครึ่งหนึ่งจากการใช้สถานที่สาธารณะที่ให้เช่าเพื่อการโฆษณา และด้วยเหตุของการทำลายและลักขโมย (Vandalism) ในกรุงปารีสที่สูงอย่างไม่คาดคิด เมื่อเทียบกับโครงการให้เช่าจักรยานที่เมืองลีออง (Lyon) คณะกรรมการเมืองปารีส (Paris City Council) ชดใช้ค่าจักรยานที่ถูกทำให้เสียหายคันละ $500 ซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 2 ล้านยูโรต่อปี


ภาพ การคืนรถจักรยาน Velib ต้องคืนตามสถานีที่เขามีอุปกรณ์ลอครถ ไม่ใช่ไปจอดทิ้งไว้ตามที่ต่างๆ




Sunday, September 29, 2013

ทำไมรถยนต์ไฟฟ้าจึงมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานมากว่ารถยนต์เครื่องเผาไหม้



ทำไมรถยนต์ไฟฟ้าจึงมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานมากว่ารถยนต์เครื่องเผาไหม้

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: รถยนต์ไฟฟ้า, ev, electric car, ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน, Fuel efficiency, ประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า, Electrical efficiency, ประสิทธิภาพการให้พลังงานความร้อน, Thermal efficiency, ประสิทธิภาพการเปลี่ยนพลังงาน, Energy conversion efficiency


ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model S เป็นรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเต็มรูป นับว่ามีเทคโนโลยีที่เยี่ยมยอด สามารถวิ่งได้กว่า 400 กิโลเมตรด้วยการชาร์จไฟเพียงครั้งเดียว แต่ก็ยังเป็นรถยนต์ที่มีราคาแพง

ทำไมรถยนต์ไฟฟ้า (Electric car) จึงมีประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Fuel efficiency) มากกว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์พลังงานเผาไหม้ (Internal combustion engines) ดังที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน

คำตอบคือ รถยนต์ใช้พลังงานเผาไหม้นั้นจะเสียประสิทธิภาพไปกับการไม่สามารถเปลี่ยนพลังงานความร้อนให้กลายเป็นพลังงานขับเคลื่อนรถยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พลังงานกลายเป็นความร้อนที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ พลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นมากจนต้องขจัดทิ้ง โดยผ่านการระบายความร้อนผ่านหม้อน้ำ (Radiator) และพัดลม

ในอีกด้านหนึ่ง รถยนต์ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า (electric motors) มีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะสามารถแปลงพลังงานไฟฟ้าให้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนรถยนต์ได้โดยตรง นอกจากนี้ พลังงานที่จะเสียไปด้วยการหยุดรถยนต์ ก็มีเทคโนโลยีสามารถนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ได้ (regenerative braking) ซึ่งสามารถนำกลับคืนมาได้ 1 ใน 5 ที่ต้องเสียไปกับการเบรครถ

โดยทั่วไปรถยนต์เครื่องเบนซิน (Gasoline engines) มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพียงร้อยละ 15 ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลสามารถใช้พลังงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า คือประมาณร้อยละ 20 ของศักยภาพพลังงาน ส่วนรถยนต์ใช้ไฟฟ้าสามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพถึงร้อยละ 80 แต่ขณะเดียวกัน ในการชาร์จไฟฟ้าของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้านั้น จะมีส่วนที่เสียไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพร้อยละ 20 บริษัทรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Motors ระบุว่าประสิทธิภาพของการใช้พลังงานของรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน (lithium-ion battery) ใช้พลังงาน 12.7 kW·h/100 km และถ้าหากนับตั้งแต่จุดต้องขุดน้ำมันมาใช้ จนถึงการทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าจนมาใช้ที่รถยนต์ เรียกว่า “Well-to-wheels efficiency” ก็จะตกที่ 24.4 kW·h/100 km

แต่กระนั้น รถยนต์ไฟฟ้าก็ยังสามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่ารถยนต์ใช้เครื่องยนต์เผาไหม้ถึง 3 เท่า ยกตัวอย่าง รถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Tesla Model S จะมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานเปรียบเทียบเท่ากับ 89 ไมล์/แกลลอน แต่รถยนต์ใช้เครื่องยนต์เผาไหม้ในขนาดเท่าๆกัน จะใช้พลังงานอยู่ที่ 25-30 ไมล์/แกลลอน

สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กและกลาง จะยิ่งมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่สูงยิ่งขึ้นไปอีก เพราะมีขนาดน้ำหนักรถยนต์เบากว่า ทำให้ใช้พลังงานในการขับเคลื่อนลดลง

Mitsubishi i-MiEV, Ford Focus Electric, และ BMW ActiveE ที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กและกลาง จะมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่สูงกว่ารถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model S ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าในขนาดเทียบเท่ากับ Mercedes S Class สามารถจุผู้โดยสารได้ 7 คน

รถยนต์ไฟฟ้ารุ่น
ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
112 mpg-e
(30 kW-hrs/100 miles)
105 mpg-e
(32 kW-hrs/100 miles)
102 mpg-e
(33 kW-hrs/100 miles)
99 mpg-e
(34 kW-hrs/100 miles)
94 mpg-e
(36 kW-hrs/100 miles)
87 mpg-e
(39 kW-hrs/100 miles)
73 mpg-e
(46 kW-hrs/100 miles)



ภาพ รถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ Mitsubishi i-MiEV ที่จะออกมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ทดแทนรุ่นที่ได้เข้าสู่ตลาดแล้ว


ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า Ford Focus Electric


ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า BMW ActiveE 


ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า CODA ของจีน


ภาพ รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กที่สุด Smart ED รูปร่างเหมือนรถยนต์ Smart ในแบบอื่นๆ 




Saturday, September 28, 2013

เหตุการณ์จับตัวประกันชาวอเมริกันในอิหร่าน ปี ค.ศ. 1979


เหตุการณ์จับตัวประกันชาวอเมริกันในอิหร่าน ปี ค.ศ. 1979

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, international relation, สหรัฐอเมริกา, United States, USA, อิหร่าน, Iran

ศึกษาและเรียบเรียงจาก “The 1979 Iran hostage crisis” ใน Wikipedia

สัมพันธภาพระหว่างสหรัฐอเมริกาและอิหร่านไม่เคยพัฒนาขึ้นเลย หลังจากการปฏิวัติศาสนาในอิหร่าน และอิทธิพลของอเมริกันในประเทศนี้ก็เปลี่ยนเป็นลบ ตราบจนถึงปัจจุบัน ความจริงสหรัฐอเมริกามีความสนใจและเคยมีผลประโยชน์ในภูมิภาคนี้ ทั้งทางด้านความเป็นแหล่งพลังงานน้ำมันขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก และการรักษาเสถียรภาพในภูมิภาคตะวันออกกลาง

ในปัจจุบัน อิหร่านเป็นประเทศมีขีดความสามารถจะพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งยิ่งทำให้เป็นที่กังวลของมหาอำนาจตะวันตก อย่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ กลุ่มสหภาพยุโรป และรวมถึงอิสราเอล แต่ทั้งหมดนี้ การเผชิญหน้ากัน และความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันอาจคลี่คลายลงไปในยุคที่อิหร่านได้เปลี่ยนผู้นำทางการบริหารใหม่


ภาพ ภาพอย่างเป็นทางการของ ฮัสซัน รูฮาห์นี (Hassan Rouhani) ประธานาธิบดีคนที่ 7 ของอิหร่าน ผู้เป็นผู้นำสายกลาง มีนโยบายประณีประนอมกับตะวันตก และลดความเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน

เหตุการณ์จับตัวประกัน 1979

ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979 กลุ่มนักศึกษาปฏิวัติมุสลิมเคร่งศาสนา โกรธที่สหรัฐอเมริการับอดีตกษัตริย์ชาห์ ปาห์เลวี (Shah Pahlavi) แห่งอิหร่านให้ลี้ภัยในแผ่นดินสหรัฐอเมริกาได้ จึงได้จับตัวผู้ทำงานสถานฑูตสหรัฐในกรุงเตหะราน (Tehran) ผู้ทำงานด้านการทูตอเมริกัน 52 คน ถูกกักตัวไว้นาน 444 วัน

เหตุการณ์นี้ นับเป็นความรุนแรงที่ทำให้มีการตัดความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิหร่าน และอิทธิพลของอเมริกันต่อชาวอิหร่านสายกลางได้สิ้นสุดลง นายกรัฐมนตรี Mehdi Bazargan ผู้ไม่เห็นด้วยกับการจับตัวประกันได้ลาออกในเวลาต่อมา ส่วนฝ่ายที่จับตัวประกันให้เหตุผลว่า เป็นการตอบโต้ต่อสหรัฐ อันเป็นผลจากการที่สหรัฐหนุนหลังให้มีการรัฐประหารล้มอำนาจของนายกรัฐมนตรี Mosaddeq ในอิหร่านในปี ค.ศ. 1953 โดยกล่าวว่า “ท่านไม่มีเหตุผลใดที่ได้จับประเทศอิหร่านเป็นตัวประกันในปี ค.ศ. 1953” นอกจากนี้ ชาวอิหร่านบางส่วนกังวลว่าสหรัฐอเมริกาจะวางแผนรัฐประหารในปี ค.ศ. 1979


กษัตริย์ชาห์ ปาห์เลวี (Shah Pahlavi) ผู้ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ในยุคสงครามเย็น เพื่อครองอำนาจโดยผ่านรัฐประหาร


อิมาม รูโฮลลาห์ โคไมนี (Ruhollah Khomeini) ผู้นำทางศาสนาคนแรกที่เรียกว่า Supreme leader ผู้เป็นศูนย์กลางในการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน

ในที่สุดตัวประกันการทูตของสหรัฐอเมริกา ก็ได้รับการปล่อยตัว แต่การกักตัวทูตและผู้ทำงานการทูตในครั้งนั้น นับเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายนานาชาติ เป็นการรุกล้ำเขตที่ถือเป็นอธิปไตยของประเทศ

ส่วนในช่วงการกักตัวประกันไว้ในสถานทูต สหรัฐอเมริกาได้ใช้ความพยายามช่วยตัวประกัน โดยมี “ปฏิบัติการกรงเล็บอินทรีย์” (Operation Eagle Claw) ในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1980 แต่ล้มเหลว ทำให้เสียทหารไป 8 นาย และต้องล้มเลิกแผนงาน เหตุวิกฤติจบลงในที่สุด เมื่อมีการลงนามในสัญญา Algiers Accords ในประเทศอัลจีเรียในวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1981 และมีการปล่อยตัวประกัน ในข้อตกลง มีการปล่อยตัวคนอเมริกันที่ถูกกักตัวในอิหร่าน และอีกด้านหนึ่ง มีการปล่อยตัวคนสัญชาติอิหร่านที่ต้องโทษในสหรัฐอเมริกา

แต่สนธิสัญญานี้ครอบคลุมเพียงด้านกฎหมาย แต่ในวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1980 สหรัฐอเมริกาได้ตัดสัมพันธ์กับอิหร่าน ในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1981 รัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์สหรัฐในอิหร่าน และสถานทูตปากีสถานในกรุงวอชิงตันดีซี ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของอิหร่านในสหรัฐอเมริกา แต่เพื่อเป็นการตอบโต้ต่ออิหร่าน จึงมีการลงโทษทางเศรษฐกิจ ทรัพย์สินของรัฐบาลอิหร่านในต่างประเทศ ในธนาคารต่างประเทศถูกอายัด มีการห้ามทุกประเทศทำการค้าขายกับอิหร่าน ด้วยเหตุดังกล่าว อิหร่านจึงได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ฝ่ายรัฐบาลกลับยิ่งใช้นโยบายกร้าวต่อประชากรที่เอนเอียงไปทางการรับวัฒนธรรมตะวันตก และกลุ่มที่เรียกร้องเสรีภาพ

สังคมอิหร่านเริ่มเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการเลือกตั้งใหญ่ในอิหร่าน ประธานาธิบดีสายเหยี่ยวที่กร้าวต่อตะวันตกหมดอำนาจไป ส่วนผู้ได้รับการเลือกตั้งให้เข้ามารับตำแหน่งคนใหม่ ฮัสซัน รูฮาห์นี (Hassan Rouhani) ประธานาธิบดีคนที่ 7 ของอิหร่าน ซึ่งเป็นพวกเดินสายกลาง และต้องการมีสัมพันธภาพใหม่กับทางตะวันตก

คงจะต้องใช้เวลาสักระยะกว่าจะเข้าใจสิ่งที่จะเกิดขึ้น หลังความขัดแย้งแตกหักตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979 และสืบเนื่องยาวนาน นับเป็นเวลาถึง 34 ปีแล้ว

ภูมิหลังประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (Iran) หรือที่รู้จักกันในนาม “เปอร์เชีย” (Persia) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (Islamic Republicof Iran) นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 จัดเป็นประเทศหนึ่งในเอเซียตะวันตก (Western Asia) มีเขตแดนทางเหนือติดกับประเทศอาร์เมเนีย (Armenia), อาเซอร์ไบจัน (Azerbaijan) และเติร์กเมนิสตาน (Turkmenistan), และทางเหนือติดกับคาซัคสถาน (Kazakhstan) และรัสเซีย (Russia) ตลอดไปจนถึงทะเลแคสเปียน (Caspian Sea) และอ่าวโอมาน (Gulf of Oman) ในทางตะวันตกติดกับอิรัค (Iraq) และทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับเตอรกี (Turkey)

อิหร่านจัดเป็นประเทศที่มีขนาดพื้นที่ 1,648,195 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับที่ 18 ของโลก มีความหลากหลายทางชนชาติ (Ethnically diverse) มีประชากร 77 ล้านคน มีพื้นที่เป็นภูเขามาก นับเป็นเขตที่มีความสำคัญทางภูมิศาสตร์การเมือง (geopolitical significance) ด้วยมีพื้นที่สัมผัสทาง 3 เขตของเอเชีย อิหร่านมีเมืองหลวงและมีประชากรมากที่สุด ชื่อ เตหะราน (Tehran) นับเป็นศูนย์กลางทางการเมือง วัฒนธรรม การค้า และอุตสาหกรรมของประเทศ อิหร่านจัดเป็นมหาอำนาจในภูมิภาค มีผลต่อความมั่นคงทางพลังงานและเศรษฐกิจโลก เพราะความเป็นแหล่งพลังงานปิโตรเลียม ทั้งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติขนาดใหญ่ มีแหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่เป็นที่ 4 ของโลก

อิหร่านเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ดี ด้วยมีผลิตผลน้ำมัน มีรายได้ปราชาชนต่อหัว/ปี ที่ประมาณ USD13,000 จัดอยู่ในระดับกลางค่อนข้างสูงของโลก ใกล้เคียงกับมาเลเซีย บราซิล และเมกซิโก
อิหร่านเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลกแห่งหนึ่ง มีราชวงศ์แรกที่ก่อตั้งขึ้นในช่วงราชวงศ์อีลามไมท์ (Elamite kingdom) ในช่วง 2800 ปีก่อนคริสตกาล ในยุค Iranian Medes อิหร่านได้มีการรวมประเทศเป็นอาณาจักรในปี 625 ก่อนคริสตกาล ไซรัสมหาราช (Cyrus the Great) ได้ก่อตั้งอาณาจักรอาเมนิด (Achaemenid Empire) ในช่วง 550-330 ปีก่อนคริสตกาล มีอาณาบริเวณใหญ่สุดในช่วง 500 ปีก่อนคริสตกาล นับเป็นอาณาจักรโบราณขนาดใหญ่เหยียดยาวจากหุบเขาอินดัส (Indus Valley) ไปทางตะวันออก ถึง เธรส (Thrace) และมาซีดอน (Macedon) ทางตะวันออกเฉียงเหนือไปจนจรดกรีก (Greece) นับเป็นอาณาจักรใหญ่สุดเท่าที่โลกเคยเห็น

ในช่วง 633 หลังการเริ่มคริสตกาล กองทัพมุสลิมได้บุกอิหร่าน และได้ปกครองเขตนี้ในปี ค.ศ. 651 ในปี ค.ศ. 1501 ได้เกิดราชวงศ์ซาฟาวิด (Safavid dynasty) ที่ได้ส่งเสริมอิสลามนิกายชีอะ (Twelver Shia Islam) ถือเป็นศาสนาหลักของอาณาจักร นับเป็นช่วงสำคัญของประวัติอิสลามในประเทศอิหร่าน
ในปี ค.ศ. 1906 อิหร่านได้มีการปฏิวัติรัฐธรรมนูญ (Persian Constitutional Revolution) ทำให้ประเทศมีรัฐสภาเป็นครั้งแรก โดยมีระบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ในปี ค.ศ. 1953 ด้วยอิทธิพลของสหรัฐกับอังกฤษ ได้มีการก่อรัฐประหาร ซึ่งทำให้อิหร่านค่อยๆกลายเป็นรัฐเผด็จการ ประชาชนเริ่มปฏิเสธอิทธิพลของต่างชาติ และเมื่อมีการปฏิวัติอิหร่าน (Iranian Revolution) ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1979 จึงได้เกิดสาธารณรัฐอิสลาม (Islamic republic) ปฏิเสธวัฒนธรรมตะวันตก และเกิดการต่อต้านสหรัฐอเมริกา จนถึงระดับจับตัวนักการทูตเป็นตัวประกันในปี ค.ศ. 1979 ดังได้พรรณนามาแล้ว

อิหร่านเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง สหประชาชาติ (United Nations - UN), ประเทศผู้ไม่ฝักไฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement - NAM), องค์การความร่วมมือศาสนาอิสลาม (Organisation of Islamic Cooperation  - OIC) และองค์การประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียม (Organization of the Petroleum Exporting Countries - OPEC) ระบบการปกครองของอิหร่านปัจจุบัน อาศัยรัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ. 1979 ซึ่งมีองค์ประกอบของประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา (parliamentary democracy) ผสมกับอำนาจจากศาสนจักร (Religious theocracy) โดยมีฝ่ายศาสนาเป็นผู้บริหารประเทศ อำนาจสูงสุดอยู่ภายใต้ผู้นำสูงสุด (Supreme Leader) อันมาจากฝ่ายศาสนา ศาสนาอย่างเป็นทางการของอิหร่านคือชีอะ (Shia Islam) และมีภาษาเปอร์เซีย (Persian) เป็นภาษาทางการ






Friday, September 27, 2013

ผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า Nissan LEAF สามารถใช้โดยไม่ต้องเสียค่าชาร์จไฟในรัฐเทกซัส


ผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า Nissan LEAF สามารถใช้โดยไม่ต้องเสียค่าชาร์จไฟในรัฐเทกซัส

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com


ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า Nissan LEAF


ศึกษาและเรียบเรียงจาก “There’s “No Charge to Charge” for New Nissan LEAF Buyers in Texas” EV News, September 26, 2013

Keywords: รถยนต์ไฟฟ้า, Electric Vehicles, EV charging, EV News, LEAF, Nissan

นโยบาย ลด แลก แจก และแถม ใช้ได้กับการส่งเสริมการขายรถยนต์ไฟฟ้า

DALLAS – ผู้ขับรถยนต์ไฟฟ้า Nissan LEAF ไม่ต้องจ่ายค่าน้ำมัน เพราะรถยนต์ไฟฟ้าไม่สามารถเติมน้ำมันได้เหมือนรถยนต์ทั่วไป แต่ที่ยิ่งกว่านั้นคือการได้รับบริการชาร์จไฟฟรี โดยเขาเรียกโครงการนี้ว่า “No Charge to Charge” เป็นการเสนอบริการชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าโดย Nissan และ NRG eVgo ผู้ซื้อรถยนต์ใหม่หรือผู้เช่ารถทั้งหมดของ Nissan ในบริเวณเมือง Dallas-Fort Worth และบริเวณเมือง Houston จะสามารถเติมไฟฟ้าได้อย่างไม่จำกัดจากเครือข่ายของ eVgo สถานีชาร์จไฟสาธารณะในช่วงการเป็นเจ้าของหนึ่งปีแรก โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป ลูกค้าที่เช่าหรือซื้อรถยนต์ไฟฟ้า Nissan LEAF ใหม่ในบริเวณ Dallas-Fort Worth และ Houston ในรัฐเทกซัส จะได้รับสิทธิเติมไฟฟ้าฟรีจากสถานี 23 แห่งในย่าน Dallas-Fort Worth metroplex และ ในบริเวณเมือง Houston และปริมณฑลอีก 17 แห่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย eVgo การมีเครือข่ายเติมไฟฟรีนี้ เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าของ Nissan ในการขับขี่ระยะทางไกล ปัจจุบัน Nissan LEAF จัดเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่มียอดการขายสูงที่สุดในโลก กิจกรรมส่งเสริมการขายและการตลาดของ Nissan นี้ คาดว่าจะมีส่วนกระตุ้นยอดการขายรถยนต์ไฟฟ้าของ Nissan ซึ่งเมื่อมีโรงานประกอบรถยนต์ไฟฟ้าขึ้นในอเมริกาแล้ว ความสามารถในการแข่งขันจะยิ่งสูงขึ้น และในด้านกิจการตลาด ก็จะต้องมีการส่งเสริมให้สอดคล้องกันไปด้วย

บริเวณ Dallas-Fort Worth ซึ่งเป็นเขตชุมชนและตลาดใหญ่ของประเทศ มีอัตราการขาย Nissan LEAF เพิ่มขึ้น 500 เปอร์เซ็นต์ในช่วงปี 2013 เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 2012 การมีระบบโครงสร้างสาธารณะอย่าง eVgo ประกอบกับเทคโนโลยี และคำบอกต่อของเจ้าของรถยนต์ทำให้เกิดการขยายตัวของการขาย Nissan LEAF

สถานที่ติดตั้งระบบชาร์จไฟอย่างเร็วนี้ เรียกว่า eVgo Freedom Station จะตั้งอยู่ตามถนนสายหลัก ให้บริการชาร์จไฟ 2 ระบบ ระบบ DC fast chargers จะสามารถชาร์จไฟได้ร้อยละ 80 ภายในเวลา 30 นาที ส่วนการชาร์จไฟระดับสอง (Level 2 chargers) จะให้ไฟได้เทียบเท่ากับ 12-15 ไมล์ต่อชั่วโมง สถานีชาร์จไฟส่วนใหญ่จะให้บริการตลอดวันและทุกวันในสัปดาห์ (24/7) และตั้งใกล้ร้านค้า ภัตตาคาร เพื่อให้ผู้รอการชาร์จไฟได้มีที่หาอาหารรับประทาน

เกี่ยวกับบริษัท Nissan

Nissan Motor Co., Ltd. จัดเป็นบริษัทรถยนต์ใหญ่อันดับสองของญี่ปุ่น มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองโยโกฮามา (Yokohama) ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทร่วม Renault-Nissan Alliance มีคนงาน 236,000 คนอยู่ทั่วโลก ขายรถยนต์ปีละ 4.9 ล้านคัน มีรายได้ปีละ USD 116,160 ล้าน ในปี ค.ศ. 2012 บริษัทมีรถยนต์เสนอขายกว่า 60 รุ่นภายใต้ Nissan และ Infiniti ในปี ค.ศ. 2010 Nissan ได้เปิดตัวรถยนต์ Nissan LEAF ซึ่งเป็นรถยนต์ไม่ใช้พลังงานเผาไหม้ LEAF นับเป็นรถยนต์ที่ผลิตในระดับสายพานอุตสาหกรรมที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าทั้งระบบ และเสนอขายทั่วโลก และนับเป็นรถยนต์รุ่นที่ขายดีที่สุดในโลก

Wednesday, September 25, 2013

เพื้อนเทพศิรินทร์ 04-06 ร่วมเลี้ยงวันเกิด ดร. ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์


เพื่อนเทพศิรินทร์ (Debsirin School) 04-06 ร่วมงานเลี้ยงวันเกิด ดร. ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์
ที่สนามกอล์ฟปัญญาอินทรา (Panya Golf Club) เย็นวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

Panya Golf Club

99/1 Moo 6, Ramindra Road (Km. 9) Buengkhum, Bangkok, 10230
Tel. (66 2) 943 0000 - 24, Ext 320, 321;
(66 2) 519 5840 - 4 (reservations)
Fax (66 2) 943 - 0000, Ext. 125
E-mail: contact@panyagolf.com

ดร. ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ (19 กันยายน พ.ศ. 2489 -)[1] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (รักษาการรัฐมนตรีว่าการฯ) และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

ดร. ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ เรียนชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ท.ศ. 9293 และจบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาโดยสอบได้คะแนนสูงเป็นอันดับ ที่ 3 ของประเทศแผนกวิทยาศาสตร์ ได้ทุนธนาคารแห่งประเทศไทยไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา, ศึกษาขั้นปริญญาตรีที่ Williams College, ศึกษาขั้นปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์ที่ M.I.T.

ดร. ชัยวัฒน์ เป็นเพื่อนเทพศิรินทร์รุ่น 04-06 ที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานมากที่สุดคนหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน การคลัง

















Monday, September 23, 2013

อากาศยานไอพ่นขนาดจิ๋ว (JetPack) ที่สามารถซื้อหาได้


อากาศยานไอพ่นขนาดจิ๋ว (JetPack) ที่สามารถซื้อหาได้

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การบิน, เทคโนโลยี, aviation technology, เครื่องบินเจ๊ทขนาดกระเป๋า, jetpack, Martin JetPack P12

ศึกษาและเรียบเรียงจาก “The world's "first practical jetpack" is expected to launch in 2014.” โดย Matt Peckham @mattpeckham Time, Sept. 23, 2013


ภาพ Martin JetPack P12 อากาศยานขนาดจิ๋ว

TIME -- Martin JetPack P12 มันดูไม่เหมือน jetpack นัก แต่ดูเหมือนเครื่องบินไอพ่นขนาดจิ๋ว มีเครื่องเทอร์ไบน์ลมคู่ (Twin turbine) พลัง 200 แรงม้า ผูกติดกับคนใช้ที่ด้านหลัง มีจมูกที่ชี้ไปด้านบนท้องฟ้า เคลื่อนไหวได้เริ่มจากแนวตั้ง ไม่ต้องใช้ลานบินหรือพื้นที่วิ่งขึ้นลง

Martin JetPack P12 สามารถเดินทางได้ด้วยความเร็ว 35 ไมล์/ชั่วโมง เร็วสูงสุด 45 ไมล์/ชั่วโมง หรือ 72 กม./ชั่วโมง สามารถบินได้ไกล 32 กม./ครั้ง ผลิตโดย Martin Aircraft ในประเทศนิวซีแลนด์ ราคาอยู่ที่ USD100,000 หรือ 3 ล้านบาท คาดว่าจะวางตลาดได้ในปี ค.ศ. 2014 นี้เอง มีคนสั่งจองแล้วมากมาย ทำให้เขาผลิตเป็นเชิงพาณิชย์ได้


ภาพ Martin JetPack P12 ขณะสาธิตการใช้งาน



ความบังเอิญที่แสนดี (Serendipity)


ความบังเอิญที่แสนดี (Serendipity)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: ภาษาอังกฤษ, English, vocabulary, Serendipity, ความสุขโดยบังเอิญ, happy accident, pleasant surprise, มูลนิธิเพื่อให้โอกาส (Opportunity Foundation Thailand, Narong, Buriram)

Serendipity อ่านว่า “เซเรนดิพิตี้” เป็นคำใหม่ มีความหมายเฉพาะ แปลว่า “ความสุขโดยบังเอิญ” (Happy accident) หรือ “สิ่งดีๆที่มาอย่างน่าแปลกใจ” (Pleasant surprise) หรือโชคดีที่เกิดท่ามกลางความผิดพลาด (Fortunate mistake) นับเป็นหนึ่งในสิบคำอังกฤษที่แปลความหมายได้ยากที่สุด ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2004

ผมต้องการเดินทางไปเมืองสุรินทร์ และมุ่งมั่นแน่วแน่ว่า ไม่ว่าฝนจะตก น้ำท่วม หรือมีเหตุอื่นใด ผมจะไปถึงที่สุรินทร์ ทำหน้าที่ผู้สอนได้อย่างเคย เพราะทำอย่างนี้มานับร้อยๆครั้งแล้ว แต่ในช่วงวันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2556 นับเป็นครั้งแรกที่เมื่อขึ้นรถโดยสารแล้ว แต่ก็ไปไม่ถึงตัวเมืองจังหวัดสุรินทร์ (Surin City) ไปจบลงเพียงที่เมืองนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เหตุเพราะน้ำท่วมใหญ่ที่สุรินทร์

แต่ก็นับว่าเป็นโชคดีที่ได้มีโอกาสบรรลุสิ่งที่เคยพูดกับครู “แอ๊ด” (Add Papitchaya Simpson & Nathan Simpson) ได้พักในบรรยากาศบ้านเพื่อนหรือบ้านญาติ แทนที่จะเป็นโรงแรมที่ตัวเมืองสุรินทร์อย่างที่เคย และในเช้าวันรุ่งขึ้น หลังจากได้เดินเที่ยวตลาดสดที่ขายตามถนนของเมืองในยามเช้า ก็ได้มาเยี่ยมชมมูลนิธิเพื่อให้โอกาส (Opportunity Foundation Thailand, Narong, Buriram)

คงจะมีเรื่องที่จะเล่าถึงมูลนิธินี้ในระยะต่อไป แต่วันนี้ ขอสอนภาษาอังกฤษ คำที่ยากที่สุดคำหนึ่ง คือ Serendipity “สิ่งดีๆที่มาอย่างน่าแปลกใจ” (Pleasant surprise)

ภาพ ไปสุรินทร์ไม่ได้ เพราะน้ำท่วม เลยได้ไปพักที่เมืองนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และได้รู้จักมูลนิธิเพื่อให้โอกาส (Opportunity Foundation Thailand, Narong, Buriram)


ภาพ ประกอบ คุปรัตน์ ถ่ายภาพที่ป้ายของมูลนิธิ ตรงบริเวณทางเข้า



ภาพ อาคารที่ก่อสร้างทั้งหมด เป็นแบบชั้นเดียว สร้างอย่างประณีต คล้ายบ้านชนชั้นกลาง


ภาพ ครูแอ๊ด และนาธาน ซิมพ์สัน กับเด็กๆ


ภาพ กิจกรรมของมูลนิธิ ซึ่งมีเด็กๆต่างวัยที่รับอุปการะอยู่เกือบ 30 คน


ภาพ อาคารแต่ละหลัง


ภาพ อาคารแต่ละหลัง


ภาพ ห้องนอนของเด็กๆ ห้องละ 3-4 คน บ้านแต่ละหลังมีคุณแม่ อาสาสมัครพักร่วมอยู่ด้วย แม่ 1 คนต่อเด็กๆไม่เกิน 10 คน จำลองคล้ายครอบครัวขนาดใหญ่


ภาพ ห้องพักของเด็กๆ


ภาพ ห้องสุขา มีส้วมในแบบชักโครก ที่มีการดูแลอย่างสะอาด 



ภาพ ถ่ายภาพหมู่ร่วมกันกับชาวชุมชน และเด็กๆบางส่วน


ภาพ ถนนทางเข้าพื้นที่ของมูลนิธิเกือบ 70 ไร่ ซึ่งสามารถขยายกิจกรรม และใช้ประโยชน์ได้อีกมาก


Wednesday, September 11, 2013

ครอบครัวเผด็จการเกาหลีใต้ยอมจ่ายค่าปรับ 4620 ล้านบาทพร้อมขออภัยต่อประชาชน


ครอบครัวเผด็จการเกาหลีใต้ยอมจ่ายค่าปรับ 4620 ล้านบาทพร้อมขออภัยต่อประชาชน

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, เกาหลีใต้, South Korea, ชุน ดูวาน (Chun Doo-hwan, คือคิม แดจุง (Kim Dae-jung),

ศึกษาและเรียบเรียงจากข่าว “South Korean ex-dictator's family to settle $154m in fines.” BBC News, September 10, 2013


ภาพ นายชุน แจคุก (Chun Jae-kook) คนกลาง ได้กล่าวว่าครอบครัวของเขาจะชดใช้หนี้ค่าปรับของบิดา อดีตประธานาธิบดีชุน ดูวาน ในความผิดที่ผ่านมา

ครอบครัวของอดีตประธานาธิบดีเผด็จการชุน ดูวาน (Chun Doo-hwan) แห่งเกาหลีใต้ ผู้ต้องคำตัดสินฐานคอรัปชั่นในอดีต ตกลงยอมจ่ายเงินคืนรัฐเพิ่มเติมอีก USD154 ล้าน หรือ 4620 ล้านบาทไทย ในฐานที่รับเงินคอรัปชั่นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการประนอมหนี้และชดใช้สิ่งที่ผิดพลาดในอดีต
บุตรชายของนายพลชุน ดูวานกล่าวว่า ครอบครัวของเขาจะคืนเงินและทรัพย์สินหลายส่วนเพื่อชดใช้แก่รัฐตามค่าปรับ

ชุน ดูวานได้เป็นผู้นำของเกาหลีใต้หลังจากเกิดรัฐประหาร เขาครองอำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จในช่วงปี ค.ศ. 1979 ถึงปี ค.ศ. 1988


ภาพ นายพลชุน ดูวาน ขณะถูกพิจารณาคดี


ภาพ นายพลชุน ดูวาน ขณะหมดอำนาจแล้ว

ในปีค.ศ. 1996 ชุน ดูวานต้องข้อกล่าวหาเป็นกบฏ คอรัปชั่น แต่ได้รับการอภัยโทษในปี ค.ศ. 1997 และได้รับคำสั่งให้จ่ายทดแทนเงินที่ได้เบียดบังเป็นส่วนตัวในช่วงมีอำนาจ ส่วนของการกล่าวโทษสำหรับนายพลวัย 82 ปี อดีตผู้นำเกาหลีใต้ คือการเบียดบังเงินติดสินบนที่ได้รับในช่วงที่เขามีอำนาจ
ในครั้งแรก เขาถูกสั่งให้จ่ายเงิน 220,000 ล้านวอน หรือเทียบเท่ากับ USD202 ล้าน คืนแก่รัฐ ซึ่งเขาได้จ่ายไปบางส่วน แต่เขาบอกว่าไม่มีเงินพอที่จะจ่ายชดเชยส่วนที่เหลือ ในคราวนี้ลูกๆของชุน ดูวาน 4 คน ได้รวบรวมทรัพย์สินส่วนที่เหลือ ซึ่งรวมถึงงานศิลปะและบ้านพักในกรุงโซล ที่ซึ่งนายพลและภริยาพำนักอยู่

บุตรชายคนโตของชุน ดูวานได้เปิดให้สัมภาษณ์ เพื่อขอโทษต่อประเทศชาติ เมื่อฝ่ายอัยการได้เริ่มความพยายามใหม่ในการเรียกเงินที่ยังค้างกลับคืน

 ผมขอก้มศีรษะขอโทษในนามของครอบครัวที่เป็นเหตุให้สร้างความกังวลในการชดใช้ทรัพย์สิน นายชุน แจคุก (Chun Jae-kook) บุตรชายคนโตของชุน ดูวานกล่าวที่เมืองโซลในวันอังคารที่ผ่านมา
 “ครอบครัวของเราจะร่วมมือให้มากที่สุดกับฝ่ายบ้านเมืองที่จะคืนเงินและทรัพย์สิน เพื่อชดใช้ให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่น และพร้อมที่จะร่วมมือด้วยจิตสำนึกอันดีในการสืบสวนใดๆหากจะมีขึ้น

ชุน ดูวาน (Chun Doo-hwan)

ชุน ดูวาน (Chun Doo-hwan) เกิดเมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1931 เป็นนายพลของกองทัพบกที่ได้ก้าวสู่อำนาจและเป็นเผด็จการของเกาหลีใต้ในช่วงปี ค.ศ. 1979 จนถึงปี ค.ศ. 1988 เป็นผู้ปกครองประเทศโดยอาศัยอำนาจจากกองทัพในช่วงเดือนธันวาคม ค.ศ. 1979 และครองอำนาจจนถึงเดือนกันยายน ค.ศ. 1980 จัดเป็นประธานาธิบดีคนที่ห้าของประเทศเกาหลีใต้ในช่วงปี ค.ศ. 1980 ถึงปี ค.ศ. 1988

ชุด ดูวานถูกตัดสินประหารชีวิตในปี ค.ศ. 1996 ในฐานะที่เขามีบทบาทสำคัญในการสังหารหมู่ที่กวางจู (Gwangju Massacre) แต่ในระยะต่อมาได้รับการอภัยโทษโดยประธานาธิบดีคิม ยองซัม (Kim Young-sam) โดยคำแนะนำของประธานาธิบดีผู้จะเข้าสู่ตำแหน่งในขณะนั้น คือคิม แดจุง (Kim Dae-jung) ที่ถูกรัฐบาลของชุน ดูวานตัดสินลงโทษประหารชีวิตเมื่อ 20 ปีก่อนหน้านี้

การสังหารหมู่ที่กวางจู (Gwangju Massacre)

การสังหารหมู่ที่กวางจู (Gwangju Massacre) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “การเคลื่อนไหวประชาธิปไตยที่กวางจู” (Gwangju Democratization Movement) ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 18 - 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 ประมาณว่ามีผู้เสียชีวิต 165 คน ในช่วงเวลาดังกล่าวประชาชนได้ลุกขึ้นต่อต้านเผด็จการทหารชุน ดูวาน และเข้าครอบครองเมือง ในช่วงของการต่อต้าน ได้มีการจับอาวุธขึ้นสู้ โดยปล้นอาวุธจากสถานีตำรวจและค่ายทหาร เพื่อใช้ในการต่อต้านรัฐบาล แต่ก็ถูกการบุกเข้าบดขยี้โดยกองทัพบกฝ่ายรัฐบาลในช่วงเวลาอันสั้น


ภาพ คิม แดจุง (Kim Dae-jung) คู่ปรับทางการเมืองของนายพลชุน ดูวาน ซึ่งต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 8 ของประเทศเกาหลีใต้ ดำรงตำแหน่งในช่วงปี ค.ศ. 1998 ถึงปี ค.ศ. 2003 และเป็นผู้อภัยโทษประหารชีวิตของชุน ดูวาน เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ รางวัลแมนเดลาแห่งตะวันออก และเป็นผู้ต่อสู้กับเผด็จการ และผู้ประกาศนโยบายแสงตะวัน (Sunshine Policy) ในความหวังเพื่อรวมเกาหลีเหนือและใต้เป็นประเทศเดียวกัน

ในช่วงที่ชุน ดูวานเป็นประธานาธิบดี เหตุการณ์นี้ถูกบิดเบือนโดยสื่อว่าเป็นกบฏที่เกิดจากฝ่ายผู้เห็นใจคอมมิวนิสต์ ในปี ค.ศ. 2002 เมื่อประเทศเกาหลีใต้ได้ก้าวสู่ความเป็นประชาธิปไตยแล้ว ได้มีการสร้างสุสานแห่งชาติ และจัดเป็นวันที่ระลึก โดยยึดเอาวันที่ 18 พฤษภาคม เป็นหลัก ทั้งนี้ได้มีกฎหมาย “ชดเชยแก่ผู้เสียหาย การประกาศให้เกียรติแก่ผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บในการต่อสู้ครั้งนี้

ในช่วงชุน ดูวานมีอำนาจ รัฐบาลเรียกการต่อสู้นี้ว่าเป็นกบฏที่นำโดยคิม แดจุง (Kim Kae-jung) ผู้นำฝ่ายค้านและพรรคพวก ผลจากการพิจารณาคดี คิม แดจุงถูกตัดสินประหารชีวิต แต่ต่อมาโทษประหารชีวิตได้ถูกลดลงด้วยเสียงเรียกร้องจากนานาชาติ ในเหตุการณ์นี้มีคนถูกจับดำเนินคดี 1,394 คน มีคนถูกตัดสินลงโทษ 427 คน 7 คนถูกตัดสินประหารชีวิต และ 12 คนได้รับโทษจำคุกตลอดชีวิต

การสังหารหมู่ที่กวางจูมีผลอย่างมากต่อการเมืองและประวัติศาสตร์ในเกาหลีใต้ ประธานาธิบดีชุน ดูวานได้เสียคะแนนนิยมไปอย่างมาก เพราะเขาเองก้าวเข้าสู่อำนาจด้วยการรัฐประหาร และการที่เขาสั่งการให้ใช้ความเด็ดขาดทางทหารเข้าจัดการกับกลุ่มผู้ประท้วง ในการประท้วงนี้ แม้ผู้ต่อต้านจะแพ้อย่างราบคาบในวันเดียว แต่ก็เป็นการสั่นคลอนรัฐบาลเผด็จการทหาร การเคลื่อนไหวได้เกิดขึ้นต่อเนื่องในช่วงต่อมา ซึ่งนำไปสู่การเกิดระบอบประชาธิปไตยในเกาหลีใต้ การสังหารหมู่ที่กวางจูได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ของชาวเกาหลีใต้ต่อเผด็จการอำนาจนิยม และการต่อสู้ให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย

ในช่วงปี ค.ศ. 2000 ในวันที่ 18 พฤษภาคม ได้เกิดรางวัลสิทธิมนุษยชนแห่งกวางจู (Gwangju Prize for Human Rights) เพื่อเป็นเกียรติต่อผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ได้ลุกขึ้นสู้


ภาพ สุสาน และอนุสรสถานระลึกถึงวันที่ 18 พฤษภาคม (Memorial Tower in May 18th National Cemetery)