เซอร์เดวิด พาราดีน ฟรอสต์ (Sir David
Paradine Frost)
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Keywords: สื่อสารมวลชน, mass
communication, TV, เดวิด พาราดีน ฟรอสต์, Sir David
Paradine Frost, รายการสัมภาษณ์, interview, talk show,
Don't aim for success if you
want it; just do what you love and believe in, and it will come naturally. -
David Frost
อย่ามุ่งที่ความสำเร็จ
หากต้องการมัน; เพียงท่านทำมันด้วยใจรัก และเชื่อมั่น
แล้วความสำเร็จนั้นจะมาตามธรรมชาติ - เดวิด ฟรอสต์
เซอร์เดวิด พาราดีน ฟรอสต์ (Sir David
Paradine Frost) เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน
ค.ศ. 1939 และเสียชีวิตในวันที่ 31 สิงหาคม
ค.ศ. 2013 เขาเป็นชาวอังกฤษ เป็นนักหนังสือพิมพ์ ดาราตลก
นักเขียน บุคคลสำคัญในวงการสื่อสารมวลชน และผู้ดำเนินรายการทีวี
หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of
Cambridge) ฟรอสต์ได้เป็นที่รู้จักกันในประเทศอังกฤษ
เริ่มจากเขาถูกเลือกให้เป็นผู้ดำเนินรายการถากถางสังคม ชื่อ That Was the
Week That Was ในปี ค.ศ. 1962
ความสำเร็จจากรายการดังกล่าว
ทำให้เขาได้ก้าวเข้าสู่วงการโทรทัศน์ของสหรัฐอเมริกา
โดยเป็นที่รู้จักกันในฐานะผู้สัมภาษณ์นักการเมืองอาวุโส รวมทั้งผู้นำประเทศจำนวนมากมาย
ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา และอื่นๆ ในบุคคลเหล่านี้ได้แก่ ประธานาธิบดีริชาร์ด
นิกสัน (The Nixon Interviews)
ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์อย่างชนิดที่ทำให้นิกสันต้องเปิดใจแสดงความเสียใจต่อประชาชนสหรัฐ
นับเป็นการสัมภาษณ์ประวัติศาสตร์
ฟรอสต์เป็นหนึ่งในห้าที่อยู่เบื้องหลังรายการ
ITV สถานีข่าวยามเช้าที่เรียกว่า
TV-am ในปี ค.ศ. 1983 สำหรับสถานีโทรทัศน์ BBC
เขาจัดรายการสัมภาษณ์ที่เรียกว่า “อาหารเช้ากับฟรอสต์” (Breakfast with Frost)
ในช่วงปี ค.ศ. 1993 ถึงปี ค.ศ. 2005 เขาใช้เวลานานถึง 2 ทศวรรษกับรายการ “ผ่านรูกุญแจ” (Through the Keyhole)
จากปี ค.ศ. 2006 ถึงปี ค.ศ. 2012 เขาเป็นผู้จัดรายการ “รอบโลกกับฟรอสต์” (Frost Over the World) กับสถานีโทรทัศน์ข่าวทั่วโลกในภาคภาษาอังกฤษ
(Al Jazeera English)
และจากปี ค.ศ. 2012 ในรายการ “สัมภาษณ์โดยฟรอสต์”
(The Frost Interview)
ในรายการหลังสุดที่เขาจัดรายการสัมภาษณ์ให้กับ
Al Jazeera English เขายังคงเป็นคนสัมภาษณ์ที่คนสำคัญอยากให้สัมภาษณ์ คนชมอยากชม
น้ำเสียงของเขาพร่าเหมือนคนเมา แต่คำถามของเขาคมกริบ
แล้วเขาเชื่อมโยงข้อมูลสิ่งที่สัมภาษณ์กับภาพและวิดิโอคลิป เพื่อให้ข้อมูลการสัมภาษณ์อย่างครบถ้วน
เขาใช้คอมพิวเตอร์แทบเล็ต กับผู้ถูกสัมภาษณ์ก็ใช้เช่นกันในการเดินเรื่องสัมภาษณ์
ไม่เป็นการถามอย่างทำให้แปลกใจ แต่ถามเพื่อให้โอกาสผู้ตอบได้ตอบอย่างดีที่สุด
และผู้ชมได้สาระอย่างครบถ้วนที่สุดเท่าที่ช่วงเวลาจะอำนวย
แต่ไม่เป็นการเลี่ยงประเด็น
บุคคลเช่นฟรอสต์นี้แหละที่ในสังคมไทยเรียกว่า
“ขิงแก่” คือยิ่งอายุมาก ประสบการณ์ก็ยิ่งมากตาม เสียดายที่เขาต้องจากไปอย่างเร็วเกินควร
ฟรอสต์เสียชีวิตในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2013 ด้วยวัย 74 ปีในเรือสำราญ
Queen Elizabeth ที่เขาจะต้องเป็นผู้พูดสำคัญ
ภาพ การสัมภาษณ์ครั้งประวัติศาสตร์ ที่ได้กลายเป็นภาพยนตร์ คือการสัมภาษณ์อดีตประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันของสหรัฐอเมริกา
ภาพ Marc Andreesen บุคคลสำคัญในโลกอินเตอร์เน็ตยุคใหม่ World Wide Web ด้วยวัย 41 ปี ที่ฟรอสต์สัมภาษณ์เป็นคนสุดท้าย ก่อนฟรอสต์เสียชีวิต
No comments:
Post a Comment