Thursday, March 26, 2015

เศรษฐกิจประเทศอินเดีย (Economy of India)

เศรษฐกิจประเทศอินเดีย (Economy of India)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: สังคม, society, วัฒนธรรม, culture, เศรษฐกิจ, economics, BRIC, อินเดีย, India, รัสเซีย, จีน, China, บราซิล, Brazil, รายได้ประชาชาติ, ผลผลิตมวลรวม, GDP


ภาพ ธงชาติของอินเดีย


ภาพ แผนที่ประเทศอินเดี ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศไทย หากโครงการ Land Bridge เชื่อมฝั่ง 2 ทะเลทางใต้ของไทย การขนส่งสินค้าระหว่างอินเดียกับไทยก็จะสะดวกขึ้น




ภาพ เมืองกัลกัตตา หรือ Kolkatta ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ ยังมีความเป็นอยู่ที่ยากจน


ภาพ ทางรถไฟใต้ดิน ที่มีมาตรฐานความสะอาดและบริการที่ดี แตกต่างจากพื้นฐานของเมืองอย่างกัลกัตตา


ภาพ รถแทกซี่ที่มีวิ่งในประเทศอินเดีย ยังเป็นรูปแบบเดียว เป็นรถต้นกำเนิดจากประเทศอังกฤษ ที่ตกรุ่นการผลิตไปแล้ว ใช้น้ำมันเปลือง


ภาพ รถแทกซี่ในอินเดีย


ภาพ น้ำคือหัวใจหนึ่งของประเทศอินเดีย 


ภาพ คนทำงานในนาข้าว อินเดียมีประชากร 1,200 ล้านคน ผลิตข่าวได้ 102.75 ตัน/ปีในปี ค.ศ. 2011-2012 เมื่อเทียบกับประเทศไทยมีประชากร 65 ล้านคน มีผลผลิตข้าวประมาณ 30 ล้านตัน/ปี
อินเดียเปลี่ยนไปมากในปัจจุบัน หากใครยังจำภาพอินเดียเมื่อประกาศอิสรภาพ ที่ประเทศเต็มไปด้วยปัญหาความขัดแย้งทั้งภายในและระหว่างประเทศ ในด้านเศรษฐกิจก็ล้าหลัง แต่ในปัจจุบันอินเดียเปลี่ยนไปมากทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม อินเดียปัจจุบันเป็นหนึ่งใน BRIC 4 ประเทศใหญ่ที่ต้องจับตามอง คือ Brazil-บราซิล, Russia-รัสเซีย, India-อินเดีย, และ China-จีน

อินเดียมีประชากรมากเป็นอันดับสองของโลกคือ 1,200 ล้านคน รองจากประเทศจีน ในปี ค.ศ. 2014 อินเดียมีขนาดเศรษฐกิจวัดตามค่าผลผลิตมวลรวมอย่างต่ำของทั้งประเทศ (Nominal GDP) เท่ากับ 2,047,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มีขนาดเป็นอันดับ 10 ของโลก และหากวัดตามผลผลิตมวลรวมของชาติตามอำนาจการซื้อ (Purchasing Power GDP) จะมีมูลค่า 7,277,000 ล้านเหรียญสหรัฐ อินเดียมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ 5.8 จัดเป็นเศรษฐกิจเติบโตอันดับที่สองของโลก แต่ในด้านความเป็นอยู่จริงของประชาชน รายได้เฉลี่ยต่อคนของชาวอินเดียอยู่ในอันดับที่ 140 ของโลก และอันดับที่ 129 เมื่อวัดตามความสามารถทางการซื้อ (GDP per capita at PPP)

ในอดีตตั้งแต่ประกาศอิสรภาพจนถึงปี ค.ศ. 1991 รัฐบาลอินเดียดำเนินนโยบายปกป้องทางการค้าอันเป็นผลมาจากแนวทางเศรษฐกิจสังคมนิยม มีกฎเกณฑ์ต่างๆที่ออกโดยรัฐมากมายเพื่อเป็นกำแพงกั้นเศรษฐกิจจากชาวโลก และถือนโยบายการพึ่งตนเอง หลังปีค.ศ. 1991 อินเดียประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้ต้องเปิดเสรีทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น รวมถึงเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ ในปัจจุบันอินเดียจัดเป็นประเทศทุนนิยม (Capitalist economy)

อินเดียมีประชากรที่เป็นแรงงาน 486.6 ล้านคน ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลก เศรษฐกิจภาคบริการมีสัดส่วนร้อยละ 55.6 ของรายได้ประชาชาติ เป็นภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 26.3 และภาคการเกษตรร้อยละ 18.1 ในผลผลิตทางการเกษตรหลักได้แก่ ข้าวสาลี ธัญพืชให้น้ำมัน (Oilseed) ฝ้าย ปอ ชา น้ำตาล และมันฝรั่ง

ในด้านอุตสาหกรรม อินเดียมีอุตสาหกรรมด้านเสื้อผ้า เครื่องเพชรพลอย โทรคมนาคม เคมีภัณฑ์ ยา เทคโนโลยีชีวภาพ อาหาร เหล็ก อุปกรณ์การขนส่ง ซีเมนต์ เหมืองแร่ ปิโตรเลียม เครื่องจักรกล และซอฟต์แวร์ ในปีค.ศ. 2006 อินเดียมีการค้าขายกับโลกภายนอกที่ร้อยละ 24 ของ GDP เพิ่มจากเมื่อปี ค.ศ. 1985 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6 ในปี ค.ศ. 2011 อินเดียเป็นประเทศนำเข้าสินค้าอันดับที่ 10 และอันดับที่ 19 ทางด้านการส่งออกของโลก


ส่วนสินค้านำเข้าของอินเดียได้แก่ น้ำมันดิบ เครื่องจักรกล เพชรพลอย ปุ๋ย และเคมีภัณฑ์ ในปี ค.ศ. 2001 จนถีง 2011 สัดส่วนของสินค้าปิโตรเคมีและสินค้าวิศวกรรมมีขนาดส่งออกที่โตจากร้อยละ 14 เป็นร้อยละ 42 อินเดียเป็นประเทศส่งออกเสื้อผ้าอันดับที่สองของโลก รองจากประเทศจีนในปีค.ศ. 2013

No comments:

Post a Comment