Wednesday, February 17, 2016

EMILY หุ่นยนต์ช่วยชีวิตทางน้ำ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์

EMILY หุ่นยนต์ช่วยชีวิตทางน้ำ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: วิทยาศาสตร์, sciences, เทคโนโลยี, technology, สิ่งประดิษฐ์, invention, EMILY, Robotic lifeguards


ภาพ Emily เครื่องช่วยชีวิตแบบจาก Remote control หนัก 20 ปอนด์


ภาพ เมื่อ Emily ถึงผู้ประสบภัยทางน้ำ ก็จะทำหน้าที่ช่วยให้คนจะจมน้ำได้เกาะ Emily หนักเพียง 20 ปอนด์ หรือ 9 กิโลกรัม เป็นที่ให้คนเกาะพยุงตัวได้ 4-5 คน


ภาพ โครงสร้างของ Emily ที่สามารถปรับใช้ได้ในอีกหลายๆกิจกรรมทางน้ำ รวมถึงการสำรวจทะเลและอากาศ

E.M.I.L.Y. หรือบางทีเรียกว่า EMILY หรือ Emily เป็นคำย่อจาก Emergency Integrated Lifesaving Lanyard เป็นเครื่องช่วยชีวิตแบบหุ่นยนต์ (Robotic lifeguards) ช่วยชีวิตคนที่อยู่ในน้ำ เป็นระบบใช้พลังจากแบตเตอรี่และควบคุมด้วยระบบควบคุมระยะไกล (Remote control) โดยหย่อนมันลงไปที่บริเวณชายฝั่ง จากเรือหรือแพ หรือเฮลิคอปเตอร์ แล้วอาศัยเครื่องยนต์ผลักดัน (Impeller motor) ให้แล่นไปตามน้ำสู่เป้าหมาย มันพิสูจน์ว่าเข้าถึงผู้ประสบภัยได้ดีกว่าผู้คอยช่วยชีวิต (Lifeguard) ที่เป็นมนุษย์ที่จะว่ายน้ำไปถึงผู้ประสบภัย เมื่อ EMILY ที่เป็นหุ่นยนต์เข้าถึงผู้ประสบเคราะห์ ส่วนที่เป็นโฟมเบาลอยน้ำ (Floatation device) จะทำหน้าที่เป็นทุนลอยให้ผู้ประสบภัยได้เกาะ แล้วมีคน 4-6 คนถือเชือกลากเข้าสู่จุดปลอดภัย

Emily สร้างโดยนักประดิษฐ์ชื่อ Anthony Mulligan และ Robert Lautrup และตั้งชื่อตามเพื่อนของ Marie Mulligan ผู้เสียชีวิตในอุบัติเหตุรถยนต์ Emily ได้รับการทดสอบที่หาดซูมา (Zuma Beach) ใกล้มาลิบู รัฐแคลิฟอร์เนีย (Malibu, California) และที่อ่าวดีโป ในรัฐโอเรกอน (Depoe, Oregon) และที่เวสเตอร์ลี โรดไอร์แลนด์ (Westerly, Rhode Island) โดยเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 เครื่องช่วยชีวิต Emily นี้ได้ใช้ช่วยชีวิตคนจริงๆ โดยสามารถดึงพ่อและลูกชายคู่หนึ่งเข้าสู่ฝั่งหลังจากที่เขาทั้งสองติดอยู่กับคลื่นลมแรง


ในปัจจุบัน Emily มีรุ่นใหม่ที่สามารถใช้ได้หลายๆวัน โดยไม่ต้องกลัวแบตเตอรี่หมด โดยใช้ระบบเครื่องยนต์ใช้น้ำมันขนาดเล็ก เติมน้ำมันได้ง่ายและรวดเร็ว สามารถใช้ในการติดตามสภาวะคลื่นและเก็บข้อมูลด้านอากาศ โดยได้รับเงินช่วยเหลือจาก NOAA (National Oceanic and Atmospheric Administration)

No comments:

Post a Comment