Thursday, February 16, 2017

ไปประชุมกับทีมงาน พัฒนาเมืองอัจฉริยะต้นแบบ (Smart City Project)

ไปประชุมกับทีมงาน พัฒนาเมืองอัจฉริยะต้นแบบ (Smart City Project)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com 


ภาพ การขนส่งด้วยระบบการขนส่งมวลชน (Mass Transit System) ที่คนเมืองจะใช้กันมากขึ้น แต่ต้องวางระบบเชื่อมโยงสู่ระบบการเดินส่วนอื่นๆ


ภาพ การเดินทางอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันในกทม. จะทำให้การจราจรมีแต่คับคั่งยิ่งขึ้น นอกจากต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตผู้คนใหม่


ภาพ รถจักรยานยนต์ในเมืองใหญ่ ดูเหมือนทำให้คนเดินทางได้ แต่ความจริงแล้วมันนำมาซึ่งความไม่ปลอดภัย และเพิ่มการคับคั่งบนท้องถนน


ภาพ ศูนย์การค้าในกรุงเทพฯ ที่ยังเป็นที่นิยมของคนที่เดินทางมาจับจ่าย ทั้งสำหรับคนไทยและคนต่างชาติ


ภาพ ทางเลียบทะเล แม่น้ำ คลอง จะเปลี่ยนเป็นทางสัญจรของผู้คนมากขึ้น เป็นทางเดินเพื่อการสัญจรเพื่อธุระ และเพื่อสันทนาการ

Keywords: พลังงานอัจฉริยะ, Smart energy, การสัญจรอัจฉริยะ, Smart mobility, ชุมชนอัจฉริยะ, Smart community, สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ, Smart environment, เศรษฐกิจอัจฉริยะ, Smart economy, อาคารอัจฉริยะ, Smart building, การปกครอง/การบริหารอัจฉริยะ, Smart governance, นวกรรมอัจฉริยะ, Smart innovation

มีตัวแทนเขตพญาไทเป็นเจ้าภาพ มีคนจากหน่วยงานการไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวง ปตท. และหน่วยงานในแนว CSR – Corporate Social Responsibility และประชาชนจากชุมชนมาร่วมฟัง ด้วยประชาชนจากชุมชนมาร่วมฟังยังไม่มาก ผมจึงขอเกริ่นเอาไว้เป็นเบื้องต้น

คณะทำงานคนรุ่นหนุ่มสาวเขาเสนอพัฒนาเมืองต้นแบบ โดยมองที่เขตพญาไท ระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกจรดถนนพหลโยธิน- ตะวันตกจรดพระราม 6 เหนือจากคลองบางซื่อ-คลองสามเสน
ผมเข้าไปร่วมฟังในฐานะคนในพื้นที่ อยากมองเห็นเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม ในช่วงเวลา 5, 10, และ 15 ปี อยากมองเห็นในพื้นที่ดังกล่าว

1.    สายไฟ/สายสัญญาณจะลงใต้ดินทั้งหมดในแบบร้อยท่อ - ถนนต้องปรับปรุงในแบบรถจักรยาน ยานพาหนะสำหรับคนพิการ/คนชราใช้ร่วมบนท้องถนนในซอยได้ ไม่มีฝาท่อที่จะเป็นปัญหาการสัญจรของรถจักรยาน และยาน e-mobility สำหรับผู้พิการ

2.    ทางด้านข้าง (Foot path) เป็นแบบเรียบเป็นผืนเดียวกันกับผิวถนน หรือสูงขึ้นมาไม่เกิน 10 ซม. รถจักรยานขี่ช้า (10 กม./ชั่วโมง) ร่วมใช้ได้ ยานพาหนะสำหรับผู้พิการ (E-mobility) คนสูงอายุและหรือคนพิการ สามารถเดินทางไปได้ด้วยตนเองภายในชุมชน รถยนต์และยานพาหนะทุกชนิด ที่ใช้วิ่งในซอย จะต้องวิ่งด้วยความเร็วไม่เกิน 15 กม./ชั่วโมง แนวขวางถนนต้องไม่มี เพราะจะใช้กฎและกฎหมาย กับการมี Sanction จากชาวบ้านเพื่อความปลอดภัยของเด็กเล็กที่เป็นลูกหลานเขา

3.    ยานพาหนะสาธารณะแบบรถมอเตอร์ไซค์/สามล้อเครื่อง ซึ่งก่อมลพิษทางอากาศ และสิ้นเปลืองน้ำมัน จะเปลี่ยนเป็นระบบ E-tuk tuk ค่าใช้จ่ายถูกลงครึ่งหนึ่ง ด้วย Subsidy ค่าไฟฟ้า ทางคณะผู้ริเริ่มจะจัดหารถ E-tuk tuk มาทดสอบเป็นโครงการต้นแบบที่ประมาณ 25-30 คัน พร้อมที่สถานีชาร์ตไฟ

4.    พื้นที่ขนาด 3 ตารางกิโลเมตร (เดาเอานะ) จะเปลี่ยนพื้นที่ตาบอดให้เป็นพื้นที่เปิด ให้มีการสัญจรที่ดีขึ้น ความจำเป็นใช้รถยนต์ลดลงเหลือไม่เกินร้อยละ 25 มาตรฐานนี้เทียบเหมือนเมืองนิวยอร์ค ที่ระบบการขนส่งสาธารณะทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คนจึงไม่อยากที่จะต้องมีรถยนต์ส่วนตัว รถ E-tuk tuk, รถจักรยานไฟฟ้า, จักรยาน, และการเดิน จะเป็นทางเลือกในการสัญจรในชุมชน และกับชุมชนภายนอก

5.    ระบบบ้านเรือนที่จะปรับปรุง หลักๆจะเป็น Low Rise Buildings ขนาดความสูง 8 ชั้น สูงไม่เกิน 23 เมตร เพื่อยอดตึกที่แบบเป็นแผ่น อยู่ในระนาบเดียวกัน สามารถผลิตไฟฟ้าจาก Solar Panels ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยไม่มีการบังต่อกัน ค่าคอนโดมิเนียมแบบใหม่จะถูกลง ต้นทุนน้อยลงร้อยละ 30 ด้วยไม่ต้องมีที่จอดรถ

ผมเป็นคนสูงอายุ หากผมเป็นคนระดับทั่วไป สามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในชีวิตที่มากเกินไป นั่นแหละ ความเป็นอัจฉริยะ (Intelligence) มารับใช้เรา และคนแบบผมนี้จะกลายเป็นร้อยละ 30-40 ของประชาชนในเขตนี้

ผมจึงแจงมาเพื่อร่วมรับรู้ข้อมูลและแนวคิดเอาไว้เป็นเบื้องตน

No comments:

Post a Comment