แผนรถไฟความเร็วสูงในแคลิฟอร์เนีย California High-Speed Rail
Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, governance, ประชาธิปไตย, democracy, การมีส่วนร่วม, participation, การคมนาคม,
transportation, commuting
ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the
free encyclopedia
ความนำ
ผมสนใจศึกษาการวางแผนการสร้างรถไฟความเร็วสูง
(High Speed Rail System) ในสหรัฐอเมริกา
โดยเริ่มศึกษาก่อนจากที่ดำเนินการโดยรัฐแคลิฟอร์เนีย
รัฐแคลิฟอร์เนียมีพื้นที่ 423,970 ตรกม. มีความยาวเหนือจรดใต้ 1,240 กม.
มีความยาวจากฝั่งตะวันตกไปตะวันออก 400 กม. มีประชากร 38.3 ล้านคน
ประมาณกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศไทย มีระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก มีเพียง 7 ประเทศในโลกรวมทั้งสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่านี้
แล้วประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีวิทยาการก้าวหน้า
มีกำลังเศรษฐกิจที่จะทำอะไรก็ได้ แต่ทำไมมีปัญหาในการสร้างระบบรถไฟความเร็วสูง
ปล่อยให้ประเทศจีนก้าวรุดหน้าไปกว่าอย่างมากมาย
รถไฟความเร็วสูงของรัฐแคลิฟอร์เนีย
California High-Speed Rail |
|
|
|
Artist's rendering CHSR train set and livery
|
|
ภูมิหลัง
Background |
|
ท้องถิ่น
Locale |
แคลิฟอร์เนีย
California |
ประเภทของการขนส่ง
Transit type |
|
จำนวนผู้ใช้ต่อวัน
Daily ridership |
260,000 (CHSRA projection)[1]
|
Website
|
|
Operation
|
|
Operator(s)
|
TBD
|
Technical
|
|
ความยาวของระบบ
System length |
800+ mi (1,300+ km) (proposed)[2]
|
ความเร็วสูงสุด
Top speed |
220 mph (350 km/h)[3]
|
แผนที่เส้นทางรถไฟความเร็วสูงในรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่จะสร้างขึ้นในอนาคต
รถไฟความเร็วสูงแห่งแคลิฟอร์เนีย (California
High-Speed Rail) เป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงในรัฐแคลิฟอร์เนีย
ดำเนินการโดยหน่วยงานชื่อ California High-Speed Rail Authority แผนในเบื้องต้น คือการเชื่อมโยงระหว่าง 2 เมืองใหญ่คือ
ลอสแองเจลิส (Los
Angeles) กับเมืองซานฟรานซิสโก (San Francisco) และมีแผนที่จะขยายไปทางใต้ถึงเมืองซานดิเอโก (San Diego) และทางเหนือถึงตอนเหนือของเมืองซานฟรานซิสโก
เงินที่ใช้ในการลงทุนแรกนี้มาจากชาวแคลิฟอร์เนียเอง
โดยได้มีการออกเสียงโดยชาวแคลิฟอร์เนียในวันที่ 4 พฤศจิกายน
ค.ศ. 2008 โดยให้ผ่านข้อเสนอ 1A (Proposition 1A) ให้อำนาจดำเนินการได้ในกรอบเงิน
USD 9,950 ล้าน หรือ 318,400 ล้านบาท
ซึ่งรัฐบาลของรัฐให้หลักค้ำประกันด้วยการออกพันธบัตร และถือเป็นเงินลงทุนเบื้องต้น
ส่วนค่าใช้จ่ายทั้งระบบ จากการประเมินคือ USD91,400 ล้าน
หรือ 2,924,800 ล้าน ตามแผนธุรกิจในปี ค.ศ. 2012 ซึ่งเทียบได้กับแผนรถไฟความเร็วสูงของไทยทั้งระบบที่ตกอยู่ที่ 2.0-2,2
ล้านบาท จะสังเกตได้ว่ารัฐบาลของรัฐเขาลงเงินให้เพียงร้อยละ 10-12
ส่วนที่เหลือ ฝ่ายบริหารโครงการต้องไปดำเนินการเอง อาจจะกับภาคเอกชน
หรือต่างประเทศไทย การที่รัฐบาลลงเงินให้เหมือนเงินก้นถุงนั้น
เป็นการแสดงความสนับสนุน ซึ่งใช้เป็นการไปแสวงหาผู้ร่วมทุนอื่นๆต่อได้
ทั้งนี้โครงการฯจะต้องแสดงให้ผู้สนใจได้เข้าใจว่า จะหารายได้มาอย่างไรที่จะคุ้มค่าแก่การลงทุน
การพัฒนาเส้นทางรถไฟความเร็วสูงในรัฐแคลิฟอร์เนีย
จะใช้การพัฒนาเขตเศรษฐกิจที่มีการคมนาคมหนาแน่น ด้วยยานพาหนะแบบดั่งเดิม คือ
รถยนต์ส่วนตัว รถโดยสาร รถไฟความเร็วปกติที่ไม่ตอบสนองด้านเวลา และเครื่องบิน และนับวันจะมีความคับคั่งทางอากาศ
จนเกินขึดความสามารถที่จะรับได้
เมืองลอสแองเจลีส เป็นศุนย์กลาง
ลอสแองเจลิส (Los Angeles,
California) จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 2 ของอเมริกา
และอันดับหนึ่งของรัฐแคลิฟอร์เนีย มีประชากรล่าสุด 3,857,799 คน
มีอัตราการเติบโตในปีที่ผ่านมา 1.72% นับเป็นเมืองศูนย์กลางของการพัฒนา
เปรียบเหมือนกรุงเทพฯ ที่เป็นศูนย์กลางการพัฒนาทางรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทย
การพัฒนารถไฟความเร็วสูงจึงเป็นการพัฒนาที่เริ่มจากเมืองใหญ่ที่มีปัญหาด้านการสัญจรในแต่ละวันอยู่แล้วอย่างลอสแองเจลิส
ไปสู่เมืองใหญ่อื่นๆที่มีความจำเป็นด้านการเดินทางและขนส่งเช่นกัน
ลอสแองเจลีส - ซานฟรานซิสโก
การพัฒนารถไฟความเร็วสูงระหว่างเมืองลอสแองเจลีส
(Los Angeles) ไปยัง เมืองซานฟรานซิสโก (San
Francisco, California) เมืองใหญ่อันดับที่ 15 ของสหรัฐอเมริกา
มีประชากร 825,863 คน เติบโตจากปีที่ผ่านมา 2.56%
หากใช้การขับรถยนต์ตามเส้นทาง I-5 N ระยะทาง 382 ไมล์ (611.2 กม.) ใช้เวลาในการขับ 5
ชั่วโมง 36 นาทีในยามการจราจรปกติ และถึงประมาณ 6-7 ชั่วโมง
เมื่อการจราจรมีความหนาแน่น หากใช้การเดินทางโดยรถประจำทาง จะใช้เวลา 9 ชั่วโมง 20
นาที หรือ 10 ชั่วโมง
เส้นทางนี้นับเป็นความคุ้มที่สุดที่จะพัฒนารถไฟความเร็วสูง
เพราะจะไปลดการจราจรบนทางหลวง เพิ่มความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการเดินทาง
ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ที่หนาแน่นอยู่แล้วบนทางด่วน Interstate ซึ่งการนี้รัฐบาลของรัฐแคลิฟอร์เนียได้มีการให้ความเห็นชอบด้านงบประมาณเบื้องต้นไปแล้ว
ลอสแองเจลิส - เมืองซานดิเอโก
เส้นทางเมืองลอสแองเจลิส กับเมืองซานดิเอโก (San
Diego, California) เมืองใหญ่อันดับ 8 ของสหรัฐอเมริกา
และอันดับสองของรัฐแคลิฟอร์เนีย มีประชากร 1,338,348 คน มีอัตราการเติบโต 2.37%
หากใช้การเดินทางโดยรถยนต์ ผ่านเส้นทาง I-5 S ระยะทาง 120 ไมล์ (192 กม.)
ใช้เวลาในการเดินทางโดยรถยนต์ 2 ชั่วโมง ใช้ทางรถโดยสาร หรือรถไฟแบบเดิม ประมาณ 3
ชั่วโมง เส้นทางนี้มีรถไฟปกติวิ่งอยู่แล้ว แต่ว่าความเร็วต่ำ
ทำอย่างไรจึงจะปรับปรุง โดยใช้เส้นทางเดิมให้มากที่สุด
และลดค่าใช้จ่ายด้วยการสนับสนุนของการเก็บภาษีน้ำมัน เพิ่มค่าผ่านทางปกติ
หรือภาษีรถยนต์
ลอสแองเจลีส – ลาสเวกัส
การเดินทางจาก Los Angeles ไปยัง Las Vegas, รัฐ Nevada เมืองใหญ่อันดับที่
31 ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีประชากร 596,424 คน
มีการเติบโตของประชากรในปีที่ผ่านมา 2.17%
โครงการนี้เข้าข่ายการรับการสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง
เพราะเป็นการต้องใช้ความร่วมมือระหว่างสองรัฐ ในด้านระยะทาง หากขับรถบนเส้นทาง I-15 N ระยะทาง 269 ไมล์ (430 กม.) ใช้เวลาประมาณ 4
ชั่วโมง นับเป็นระยะทางที่รถไฟความเร็วสูงสามารถแข่งขันกับเครื่องบินได้อย่างสบาย
ปัญหาคืออะไร
สหรัฐอเมริกามีระบบขนส่งทางไกลอย่างการบินพาณิชย์
และระบบทางด่วนระหว่างรัฐ อย่าง Interstates ที่พัฒนาไว้อย่างมากมายอยู่แล้ว
การพัฒนารถไฟความเร็วสูงจึงเป็นเหมือนส่วนเกินสำหรับคนอเมริกันทั่วไป หากต้องเดินทางไกลกว่า
500 กม. แล้วเดินทางไปคนเดียว เขาก็เลือกนั่งเครื่องบินไป
แล้วก็ไปเช่ารถยนต์ใช้ในอีกที่หนึ่ง หากเส้นทางสั้น 100-200 กม.
เขาก็ขับรถไปเอง
คนอเมริกันมีวัฒนธรรมการใช้รถยนต์
เพราะมีทางรถยนต์ที่พัฒนาอย่างดีรองรับทั่วประเทศ มีภาษีรถยนต์ต่ำ ราคาน้ำมันต่ำ
ทำให้คนคุ้นเคยกับการใช้รถยนต์ จนอะไรที่ทำให้ต้องจ่ายเพิ่ม
ลงทุนเพิ่มมักจะได้รับการต่อต้าน
การมียุทธศาสตร์
ในทางปฏิบัติ การวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง
จึงต้องลดระดับการลงทุนไปกับระบบดั่งเดิม แล้วหันไปส่งเสริมสิ่งใหม่
นั่นคือใช้มาตรการภาษี เก็บภาษีน้ำมันเพิ่มขึ้น เหมือนดังที่เกิดขึ้นในยุโรป
ที่ราคาน้ำมันแพงขึ้นจนถึง 70-85 บาท/ลิตร และขณะเดียวกัน
เขายังไม่ได้พัฒนาระบบทางระหว่างรัฐที่ใหญ่โตมากมายเหมือนอย่างในสหรัฐอเมริกา
แต่โดยที่ทราบกัน น้ำมันในโลกกำลังจะหมด ราคาจะแพงขึ้นไปเรื่อยๆ
ดังนั้นจึงทำให้การใช้รถยนต์ส่วนตัวมีแต่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
จึงต้องมีทางเลือกด้านการคมนาคมเพิ่มขึ้น ในค่าใช้จ่ายที่รับได้
และการใช้เวลาที่ลดลง
No comments:
Post a Comment