Wednesday, May 28, 2014

กฎการใช้อำนาจ 48 ข้อ โดย ประกอบ คุปรัตน์ (Pracob Cooparat)

กฎการใช้อำนาจ 48 ข้อ โดย ประกอบ คุปรัตน์ (Pracob Cooparat)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com


ภาพ รูปแกะสลักของ ซุนวู  (Sun Tzu หรือ Sun Zi) นักทฤษฎีการรบและการทหารชาวจีน เมื่อกว่า 2000 ปีมาแล้ว


 ศึกษาและเรียบเรียงจาก “กฎการใช้อำนาจ 48 ข้อ” The 48 Laws of Power”, 1998 โดย Robert Greene and Joost Elffers.

Keywords: power48, การเมือง, politics, การปกครอง, government, governance, การบริหาร, Administration การจัดการmanagement, อำนาจ, power, Robert Greene, Joost Elffers
-----------

ในช่วงหลังการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ คสช. ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการกองทัพบกเป็นหัวหน้า การวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆคงจะเปลี่ยนไป บางอย่างฝ่ายคสช.คงไม่บอกในรายละเอียดหมด เพราะมันเป็นการเดินตามเกมส์ยุทธศาสตร์ ที่เหมือนกับการทำศึกในสนามรบ เพียงแต่ว่าไม่ใช่เกมส์ที่แพ้ชนะกันทางการทหาร แต่เป็นการชนะหรือบรรลุผลที่มีเรื่องของเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ความมั่นคง และระบบย่อยอื่นๆของประเทศไทยเป็นเดิมพัน

ผมเคยแปลและเรียบเรียงหนังสือออนไลน์ หรือ e-book เรื่อง “กฎการใช้อำนาจ 48 ข้อในปี พ.ศ. 2554 (2011) ไม่ได้มีแผนที่จะจัดพิมพ์เป็นหนังสือกระดาษเพื่อจ่ายแจกในเวลานี้ หนังสือออนไลน์นี้มี 48 บท ตามจำนวนหลักของการใช้อำนาจ โปรดเข้าไปอ่าน แล้วเราจะมาพูดคุยกันเกี่ยวกับปัญหาบ้านเมือง

หนังสือเล่มนี้ได้โครงร่างมาจาก The 48 Laws of Power”, 1998 โดย Robert Greene and Joost Elffers เขาเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ตแล้ว ความจริงตัวเรื่องนี้เขาได้มาจากตำราพิชัยสงครามของนักปราชญ์ด้านการรบของจีน ชื่อ ซุนวู (Sun Tzu หรือ Sun Zi) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในจีนโบราณ ราวๆ 544–496 ปีก่อนคริสตกาล ตำราพิชัยสงครามนี้ ใครๆก็เข้าไปอ่าน หรือ Download ได้ สำหรับการแปลและเรียบเรียง ผมใช้การเขียนตามความเข้าใจของตนเอง และสิ่งที่สามารถทำให้คนที่ไม่ได้เป็นนักรัฐศาสตร์ หรือนักการทหารอ่านแล้วเข้าใจได้

ตำราพิชัยสงครามของซุนวู หรือ ศิลปะการสงคราม (The Art of War) นี้ไม่เพียงมีอิทธิพลต่อการทหารในจีนและโลกตะวันออก แต่มีอิทธิพลถึงในยุโรปและอเมริกา ทั้งในด้านวัฒนธรรม การเมือง ธุรกิจ และการกีฬา

ระยะนี้ ไม่มีอะไรดีกว่าติดอาวุธทางปัญญาแก่ประชาชนครับ นั่นคือทำให้ทุกฝ่ายได้รู้เท่าทันกัน จะมาแสวงประโยชน์ด้วยการเอาเปรียบกันนั้น ย่อมไม่พึงกระทำครับ


No comments:

Post a Comment