Wednesday, September 17, 2014

ปฏิรูปการศึกษา – ด้วยการกระจายอำนาจ

ปฏิรูปการศึกษา – ด้วยการกระจายอำนาจ

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Keywords: นโยบายสาธารณะ, public policy, ปฏิรูปการศึกษา, education reform, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, human resource development, เขตพื้นที่การศึกษา, Local Education Areas – LEAs, school districts, ศึกษาธิการเขตพื้นที่การศึกษา, ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา, superintendent


ภาพ สภาพห้องเรียนโดยทั่วไปของโรงเรียนในปัจจุบัน

การจะปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญที่สุด ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานว่า การศึกษาเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุดของประชาชนและชุมชน ไม่มีใครจะรักและเห็นประโยชน์ของการศึกษามากไปกว่าพ่อแม่ผู้ปกครอง และชุมชนใกล้ตัวของเด็กและเยาวชน

ดังนั้น สำคัญที่สุดของการปฏิรูปการศึกษา คือการที่รัฐบาลส่วนกลางปรับเปลี่ยนระบบการบริหาร ลดบทบาทของส่วนกลาง และให้พ่อแม่ผู้ปกครอง ท้องถิ่น และองค์กรต่างๆ ทั้งภาคเอกชน ภาคพัฒนาสังคม ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการรับผิดชอบการศึกษา ส่วนรัฐบาลส่วนกลาง จะสนับสนุนการศึกษาในระดับปานกลาง และยืดหลักเข้าช่วยเฉพาะในส่วนที่เขายังไม่แข็งแรงและมีปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข
หลักการในการดำเนินการกระจายอำนาจ ยืดหลัก 5 ขัอดังนี้
1.    
การกระจายอำนาจการศึกษา (Decentralization) สร้างความแข็งแกร่งให้กับการบริหารเขตพื้นที่การศึกษา

a.    ให้เขตพื้นที่การศึกษาเป็นนิติบุคคล (Legal identity of LEAs) สามารถทำนิติกรรมได้ด้วยตนเอง
b.    ให้ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา หรือศึกษาธิการเขตฯ (Superintendents) เป็นตำแหน่งที่สรรหา คัดเลือก และรวมถึงถอดถอนได้โดยท้องถิ่น ภายใต้ความรับผิดชอบของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา (Local Board of Education)

2.    การพัฒนากระบวนการผลิตครู และบุคลากรทางการศึกษา (Teachers/human resource development) โดยยืดหลักให้ได้คนดีคนเก่งมาทำงานให้กับระบบการศึกษา

a.    ให้บุคลากรที่มาจากสายวิชาชีพอื่นๆ มาเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ และหากต้องมีหน้าที่สอน ก็ให้ใช้เวลาในช่วง 2 ปีแรก พัฒนาวุฒิทางการศึกษาเพิ่มเติมขึ้น ให้เข้าเงื่อนไขของการเป็นครู
b.    ให้ครูเป็นข้าราชการหรือบุคลากรของท้องถิ่น ของเขตพื้นที่การศึกษา ให้ครูที่เป็นข้าราชการมีจำนวนจำกัดลงเป็นลำดับ และให้ครูและบุคลาการทางการศึกษากลายเป็นพนักงานของเขตพื้นที่การศึกษา
c.    ส่งเสริมให้มีบุคลากรทางการศึกษาให้มีความหลากหลาย (Diversified resource persons) ทั้งที่เป็นพนักงานของระบบเขตพื้นที่การศึกษา ลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว และที่เป็นอาสาสมัคร
3
.    การสร้างเสริมระบบคุณธรรม (Merit system) และความโปร่งใส (Transparency) ในการบริหารการศึกษา

a.    การสรรหาและคัดเลือกคนดีมีความสามารถมาทำงานเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยไม่เปิดช่องทางให้มีการเล่นพรรคเล่นพวก (Nepotism, spoiled system) ในวงการศึกษา
b.    ให้ส่วนกลาง คือ กระทรวงศึกษาธิการ มีระบบติดตามผลการทำงาน มี “ผู้ตรวจการภาคการศึกษา” โดยมีภาคการศึกษาไม่เกิน 12-15 ภาคการศึกษา สำหรับทั้งประเทศ มีหน้าที่ติดตามตรวจสอบ ไม่ได้มีหน้าที่ลงไปปฏิบัติการ
c.    การติดตามผลการทำงานให้เน้นไปที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency & effectiveness) ของเขตพื้นที่การศึกษา มาตรฐานการศึกษาขั้นต่ำ มีระบบข้อมูลสรุปย่อและสถิติทางการศึกษาที่จำเป็น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ ในการนี้จึงให้สำนักงานผู้ตรวจการภาคการศึกษา (Regional office) ต้องมีคนมีความรู้ทางการเงินการบัญชี (Finance & accounting) ด้วย
d.    เขตพื้นที่การศึกษาต้องจัดทำรายงานผลปฎิบัติการทางการศึกษา เพื่อรายงานต่อประชาชนในเขตความรับผิดชอบของตน และรายงานนี้ส่งผ่านผู้ตรวจการศึกษาไปยังกระทรวงศึกษาธิการ
4
.    การพัฒนาระบบเครือข่ายทางการศึกษา (Education network) เพื่อตอบสนองต่อการใช้ประโยชน์จากระบบเครือข่ายสายและไร้สาย (Wired and wireless) ตลอดจนการใช้โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และ Digital technology

a.    การสนับสนุนให้ทุกโรงเรียนมีเครือข่ายออนไลน์ ทั้งแบบมีสายและไร้สาย โดยมีค่าใช้จ่ายที่เป็นธรรม แก้ปัญหาคน/หน่วยงานอยู่ไกลต้องแบกรับค่าใช้จ่ายสูงกว่าทั่วไป
b.    การสนับสนุนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ผลิตสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Digital content) ในแบบที่เปิดเสรีและมีการแข่งขัน
c.    การส่งเสริมให้เกิดระบบทดสอบออนไลน์ ทั้งเพื่อพัฒนาขีดความสามารถผู้เรียน (Development tests) และระบบใช้เพื่อการวัดผลทางการศึกษา (Evaluation) สำหรับแต่ละผู้เรียน
5
.   การจัดระบบระดมทรัพยากรเพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษา (Financial resources for education)

a.    ให้กระทรวงศึกษาธิการ ส่วนกลางมีหน้าที่ในการจัดทำและจัดหาทุนส่วนกลางในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา และทุนเพื่อพัฒนาสถาบันการศึกษา ในรูปแบบเงินยืม นอกเหนือจากการจัดสรรงบประมาณปกติ
b.    การจัดระบบภาษีอากร (Tax and donation) เปิดโอกาสให้คนหันมาสนับสนุนการศึกษา โดยได้ส่วนหักลดด้านภาษีอากรด้านต่างๆ

c.    การจัดระบบกู้ยืมเพื่อการศึกษา (Education loans) โดยพิจารณาการส่งเงินคืน ให้เป็นไปตามลักษณะงานที่ทำประโยชน์เพื่อสังคมโดยตรง เช่น การเป็นอาสาสมัคร การทำงานในหน้าที่พัฒนาสังคม ฯลฯ

No comments:

Post a Comment