Sunday, September 28, 2014

คำปาฐกถาตอบรับ ในงานรับรางวัลช้างทองคำ รศ.ดร. ประกอบ คุปรัตน์

คำปาฐกถาตอบรับ ในงานรับรางวัลช้างทองคำ 
รศ.ดร. ประกอบ คุปรัตน์

คำปาฐกถาตอบรับ ในงานมอบรางวัลช้างทองคำของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (Surindra Rajabhat University – SRRU) แก่ รศ.ดร. ประกอบ คุปรัตน์ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557 ณ เวลา 18:30-21:00 น. ณ โรงแรมทองธารินทร์ เมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
----------


ภาพ รศ.ดร. อัจรา ภาณุรัตน์ ได้ให้เกียรติอ่านคำสดุดี


ภาพ รศ.ดร. ประกอบ คุปรัตน์ ในพิธี




ขอขอบพระคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ คณะผู้บริหาร โดยเฉพาะอธิการบดี รศ.ดร. อัจฉรา ภาณุรัตน์ หลักสูตรดุษฎีบัณฑิตภาวะผู้นำและการบริหาร คณาจารย์ ศิษย์เก่า นิสิตนักศึกษา สถาบันเอเซียศึกษา โครงการ Surin International Folklore Festival – SIFF ที่ทำให้ผมได้มีโอกาสร่วมทำงานกับมหาวิทยาลัย ชุมชนจังหวัดสุรินทร์ และท้องถิ่นอีสานใต้ และขอบพระคุณที่ได้รับรางวัลช้างทองคำที่ทรงคุณค่านี้

ผมถือโอกาสเล่าเพื่อบันทึกอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต ภาวะผู้นำและการบริหาร (Educational Leadership & Administration) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ซึ่งเมื่อเริ่มต้นกว่า ปีที่ผ่านมา โดยได้ใช้ชื่อว่า “หลักสูตรความเป็นผู้นำและการบริหารการศึกษา” หรือ (Doctoral Program in Educational Leadership and Administration) เพื่อบอกเล่าแก่คนรุ่นหลังที่ยังไม่ทราบความเป็นมา และฝากความหวังสำหรับมหาวิทยาลัย ผู้บริหาร และนักศึกษาผู้ที่จะร่วมรับผิดชอบดำเนินการต่อไป
หลักสูตรนี้ มุ่งหวังการสร้างความเป็นผู้นำแบบมืออาชีพให้กับจังหวัดสุรินทร์ และในท้องที่ใกล้เคียง โดยเน้นการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนดังต่อไปนี้
1.    
1. 8วามสามารถในการสื่อสาร (Communication) เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดต่อสร้างเครือข่ายวิชาการกับต่างประเทศ
1)   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ (Information & Communication Technologies – ICT)
2)   ความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ (Languages Skills) ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และอื่นๆ
2.    ความสามารถในการริเริ่มสิ่งใหม่ ดังในกรณีความสามารถวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม (Environmental Scanning) และการจัดทำแผนงานที่ต้องมีความคุ้มทางธุรกิจ (Business Plan) คือริเริ่มด้วยการคิดและทำได้ได้อย่างเป็นระบบ
3
.    การได้ไปเห็นและมีประสบการณ์ต่างประเทศ (Educational Trips & Training Abroad) ทั้งประเทศเพื่อนบ้าน ในประเทศอื่น และทวีปอื่นๆที่อยู่ไกลออกไป

6-8 ปีที่ผ่านมา ได้พิสูจน์ว่าสิ่งที่เราร่วมกันคิดนี้ ทำได้ ทำจนประสบความสำเร็จ แม้จะไม่ง่ายนัก แต่ส่วนใหญ่ก็สามารถฟันฝ่าอุปสรรคจนประสบความสำเร็จมาแล้ว

อนาคต เราจะทำได้อย่างยั่งยืน และเกิดประโยชน์อย่างเต็มที่หรือไม่?

ยั่งยืน (Sustainability) คือมีเป้าหมายรับผู้เรียนปีละ 7-10 คน มีอัตราความสำเร็จที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 อีก และแม้ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ก็ยังมีผู้ต้องการมาศึกษาต่อที่มีคุณสมบัติเหมาะสม จบได้ในเวลาอันควร ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 70-80

ข้อจำกัดคือ ประชากรที่เกิดน้อยลงทั่วประเทศ และมีสถาบันการศึกษาต่างๆมาให้บริการที่ลักษณะใกล้เคียงกันมากขึ้น แต่เราจะทำได้ด้วย ขยายบริการด้านการศึกษาระดับสูงให้กว้างออกไป ซึ่งกระทำได้ด้วย วิธีการ คือ

1.    จากมุ่งเน้นที่สายวิชาบริหารการศึกษา ไปสู่สายอื่นๆ (Expansion) เช่น บริหารธุรกิจ บริหารรัฐกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน ชุมชน ศาสนา ฯลฯ ดังที่หลักสูตรได้ปรับเปลี่ยนเป็น “ภาวะผู้นำและการจัดการ” (Doctoral Program in Leadership & Administration) แพทย์ สาธารณสุข ทหาร ตำรวจ นักธุรกิจ ฝ่ายการปกครองส่วนท้องถิ่น พระ ฯลฯ สามารถมารับบริการได้

2.    ขยายพื้นที่บริการให้กว้างขวางออกไป (Geographical Areas) โดยมุ่งเปิดสู่ความเป็นนานาชาติ (Internationalization) ดังเช่น เปิดสู่ อาเซียน จีน อินเดีย โดยเน้นการพัฒนาบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา
3.    การขยายบริการวิชาการ (Community Services) ซึ่งทำได้ ทางเป็นอย่างน้อย

1)   การให้บริการวิชาการ การฝีกอบรมระยะสั้นและกลาง ดังเช่น การพัฒนาคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา (Staff Development) ของมหาวิทยาลัยราชภักสุรินทร์ และเครือข่ายในภูมิภาค เช่น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาลัยพยาบาล วิทยาลัยเทคนิค มหาวิทยาลัยสงฆ์ ฯลฯ

2)   การเข้าไปมีส่วนร่วมในแผนพัฒนาท้องถิ่น (Local Community Development Plan) เช่น แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล แผนการพัฒนาการเกษตร การมีชุมชนเกษตรกรรมที่ก้าวหน้า ที่ประชาชนยังคงรักษาที่ดินของตนเองไว้ได้ คนสูงอายุในชนบทได้รับการดูแลอย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี

สุดท้ายนี้ แม้ผมจะไม่ได้เป็นประธานหรือคณาจารย์ประจำหลักสูตร “ภาวะผู้นำและการบริหาร” แต่ก็ยังจะช่วยทำงานได้ตามแต่อัตภาพ หากมีอะไรที่จะรับใช้ได้ ก็จะทำให้ด้วยความยินดี


และอีกครั้ง ต้องขอบพระคุณในไมตรีจิต ที่ได้มอบรางวัลช้างทองคำอันมีเกียรตินี้ ผมจะทำตนให้มีคุณค่าสมแก่รางวัลนี้ตลอดไป


ภาพศิษย์เก่าและคณาจารย์ ดุษฎีบัณฑิตของหลักสูตรฯ


ภาพ แขกผู้มีเกียรติในงาน ณ โรงแรมทองธารินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์


ภาพ รศ.ดร. ประกอบ คุปรัตน์ รับมอบรางวัลช้างทองคำ


ภาพ รศ.ดร. ประกอบ คุปรัตน์ได้อ่านคำปาถกฐา ตอบรับและขอบพระคุณในรางวัลช้างทองคำ


ภาพ ผศ.ดร. ณัฐนิภา คุปรัตน์ ภรรยา ที่มาร่วมในงาน


ภาพ บรรดาแขกผู้มาร่วมในงาน



















No comments:

Post a Comment