Monday, September 29, 2014

รถสกูตเตอร์ไฟฟ้า (E-scooters) ระบบอุตสาหกรรมในประเทศไทย

รถสกูตเตอร์ไฟฟ้า (E-scooters) ระบบอุตสาหกรรมในประเทศไทย

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การขนส่ง, การเดินทาง, transportation, commuting, รถจักรยานไฟฟ้า (Electric bicycles, e-scooters), สามล้อไฟฟ้า (e-trikes), รถยนต์ไฟฟ้า (Electric cars/vehicle)

รถสกูตเตอร์ไฟฟ้า (E-scooters) อย่างที่มีใช้กันมากๆในประเทศจีน สามารถวิ่งได้ 50-55 กม. ความเร็ว 50-60 กม./ชั่วโมง ใช้แบตเตอรี่ตะกั่วแบบปิด ในประเทศไทยราคาเริ่มต้นที่ 25,000 บาท ในจีนคันละ 15,000 บาท หากพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางขึ้นรองรับในประเทศไทย ใช้ชิ้นส่วนจากจีนบางส่วน แต่ร้อยละ 80 ผลิตได้ในประเทศอยู่แล้ว ราคาน่าจะเริ่มต้นที่ 15,000-18,000 บาท

ประโยชน์

อย่างนี้แหละที่อยากให้พัฒนาอุตสาหกรรมผลิต E-scooters นี้ขึ้นในเขตอุตสาหกรรมต่างจังหวัดของไทย แต่รัฐบาลต้องมีนโยบายสนับสนุน เพื่อ

1.    เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ล้วน ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ
2.    ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากปิโตรเลียม ซึ่งยังต้องเป็นสินค้านำเข้า เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้มีทางเลือกมากขึ้นในการใช้พลังงานทางเลือก ดังพลังงานแสงอาทิตย์ และลม
3.    ทำให้มีต้นทุนสินค้าที่ถูกลง เพราะผลิตได้ในประเทศเป็นส่วนใหญ่
4.    เป็นการสร้างงาน เพราะแรงงานไทยเมื่อเทียบกับจีนหรืออินเดียแล้ว เราไม่ได้เสียเปรียบด้านค่าแรงงานสูงมากนักแล้ว นอกจากนี้ การใช้วัตถุดิบที่มีอยู่แล้วในประเทศ เช่นยางพารา เศษเหล็กและพลาสติกจากระบบนำขยะมาใช้ใหม่ (Recycles) ในประเทศได้มากขึ้น

ลักษณะสำคัญ

1.    ใช้พลังจากแบตเตอรี่ล้วน ไม่ใช้กำลังคนถีบเหมือน E-bikes หรือ Pedelec ที่ใช้พลังคนถีบร่วมด้วย E-scooters ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ที่ทำจากตะกั่วแบบปิด (Lead-based battery) มีขนาดใหญ่ ให้พลังวิ่งได้ 50-60 กม. ซึ่งนับว่าเพียงพอสำหรับการวิ่งในเมือง
2.    น้ำหนักมากขึ้นเพราะแบตเตอรี่แบบตะกั่ว  แต่แบตเตอรี่แบบนี้ราคาไม่แพง สามารถใช้ขนาดใหญ่มีน้ำหนักบ้าง แต่เนื่องจากรถ E-scooters โดยรวมจะหนักด้วยแบตเตอรี่บ้าง แต่ก็จะไม่หนักมากเกิน 60-70 กก. ซึ่งยังเบากว่ารถยนต์ไฟฟ้าที่ว่าเบาที่สุด คือประมาณ 200-300 กก.
3.    ใช้มอเตอร์อยู่ที่กงล้อ (Hub motor)  ตัดความยุ่งยากในการส่งกำลัง ไม่ต้องใช้โซ่หรือเพลา เพียงมีสายไฟต่อจากแบตเตอรี่ไปที่กงล้อ เป็นการลดน้ำหนัก ลดความซับซ้อน สามารถใช้พลังงานได้โดยตรง

ภาพ รถสกูตเตอร์ไฟฟ้า ใช้พลังจากแบตเตอรี่


ภาพ การจราจรติดขัดจากรถยนต์บนถนนในเมืองเซียงไฮ้ ประเทศจีน


ภาพ การจราจรติดขัดไปจนถึงถนนทางหลวง


ภาพ จักรยานไฟฟ้า (E-bicycle)  ใช้พลังจากแบตเตอรี่ ควบคู่กับพลังคนถีบ


ภาพ รถ E-scooter sinvจักรยานไฟฟ้า

ภาพ จากศูนย์การค้าแห่งหนึ่งในจังหวัดสุรินทร์

รุ่น
Model
TDX14Z
พลังไฟฟ้า
Power
500W/800W
แบตเตอรี่
Battery
แบตเตอรี่แบบตะกั่วผนึกปิด
48V 20AH lead acid battery! 
เบรก
Brake
เบรกแบบดรัมทั้งหน้าและหลัง
Front drum/rear drum
ความเร็วสูงสุด
Max speed
32 กม./ชั่วโมง
32km/h
ระยะทางวิ่งได้
Range distance
ระยะทางวิ่งได้ด้วยชาร์จไฟหนึ่งครั้ง
>45kms
เวลาในการชาร์จไฟ
Charge time
6-8 ชม. ด้วยไฟบ้าน
ขนาดล้อ
Wheel
3.0-10 นิ้ว
ขนาดที่ต้องสั่งนำเข้า
Capacity
24pcs/20ft
50pcs/40HQ

มีความฝัน มีความหวัง และตั้งมั่นในฐานแห่งความเป็นจริง

ผมเป็นคนชอบรถ แต่ชอบรถที่เป็นความคิดใหม่ อย่าง รถจักรยานไฟฟ้า (Electric bicycles, e-scooters), สามล้อไฟฟ้า (e-trikes), รถยนต์ไฟฟ้า (Electric cars/vehicle) หรือสิ่งที่เป็นยานพาหนะทางเลือกเหล่านี้ ผมเชื่อว่ามันมีช่องทางในการพัฒนาต่อไปได้อีกมาก

กุลธร เบิ้ม < เพื่อนรัก - มหาวิทยาลัยในจีน ดังที่ Xihua University เขาไม่มีที่ให้นักศึกษาจอดรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ หรือแม้แต่จักรยาน ต้องใช้เดินเอา อาจารย์มหาวิทยาลัยและประชาชนในเมืองอย่างเฉิงตู (Chengdu, Sechuan) ซื้อรถยนต์ได้ในราคาถูกกว่าไทยร้อยละ 30 แต่ค่าที่จอดรถถาวร ราคา 500,000 บาท เท่าๆกับราคารถ เสียค่าดูแลรักษาที่อีกเดือนละ 500-600 บาท หากเป็นเมืองปักกิ่งหรือเซียงไฮ้ ราคาที่จอดรถในเมืองอาจแพงไปอีกเป็น 2-3 เท่าของที่เมืองเฉิงตู

ในประเทศไทย ดังในตัวเมืองสุรินทร์ มองไปในโรงเรียนมัธยมของจังหวัด มีแต่จักรยานยนต์เป็นพันๆคัน เด็กนักเรียนมัธยมขอพ่อแม่ซื้อรถจักรยานยนต์ เหมือนนักศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัยขอเงินพ่อแม่ซื้อรถยนต์ ซึ่งต้องเตรียมเงินค่าน้ำมันรถอีกเดือนละ 2000-4000 บาท สำหรับสังคมโดยรวม สิ่งที่ตามมาคือการเผาผลาญพลังงานเชื้อเพลิงปิโตรเลียม

Prasit Yamali  < เพื่อนรัก - ต้องยอมรับครับว่าเราตามหลังเกาหลีใต้อย่างไม่เห็นฝุ่น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราไม่ได้ลงทุนกับการวิจัยและพัฒนา (Research & Development – R&D) คนไทยไม่ได้โง่ แต่เราขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง หากเราต้องมีความเชื่อมั่นว่าเราทำได้ หากเราต้องพยายาม และมีโอกาสและเวลาที่จะทำ

เพื่อนรักทั้งหลาย ทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2557 คือไม่นานมานี้ ผมได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นอาจารย์ประจำของหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ทั้งๆที่ผมได้ตระหนักในระยะหลังว่าผมชอบงานสอน งานที่ได้ค้นคว้า อ่านหนังสือ และได้บรรยายบอกคนอื่นๆว่าผมเห็นอะไร และคิดอย่างไร

แม้ผมได้ลาออกจากตำแหน้งอาจารย์ประจำ แต่ผมเชื่อว่าทางมหาวิทยาลัยและคนรุ่นน้องๆ เขาจะเดินต่อไปได้อย่างราบรื่น แต่ต้องขวนขวาย ทำงานสู้งานเหมือนอย่างตนเองเป็น “หมาตัวล่าง” (The Underdog) ผมเชื่อว่าสปิริตของการสู้และทำในสิ่งที่มีความหมายให้กับส่วนรวม จะทำให้เขาพัฒนามหาวิทยาลัยได้ แม้มีความขาดแคลน เสียเปรียบ เขาจะอยู่ได้ด้วย “การมีความฝัน มีความหวัง และ
ตั้งมั่นบนฐานแห่งความเป็นจริง

มีความฝัน (Dreams) คือมองเห็นสังคมอย่างที่เราอยากมีอยากเป็น เห็นในสิ่งที่ยังไม่เกิดในปัจจุบัน หากเราเดินทางท่องเที่ยวไปทั่วโลก อ่านมากๆ เราจะมีความฝันเหล่านี้

มีความหวัง (Hope) คือมีความหวังว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะดีขึ้นได้ เราไม่ต้องอยู่อย่างท้อแท้ ดังแม้ยามที่บ้านเมืองกำลังจะลุกเป็นไฟ แต่หากเรามีความหวัง และช่วยกันลงแรงดับไฟ ในที่สุด เราจะสามารถนำบ้านเมืองกลับสู่สันติสุขได้อีกครั้ง


ตั้งมั่นบนฐานแห่งความเป็นจริง (Reality/ Truth) เราต้องมีความฝันและความหวัง แต่เราก็ต้องตั้งตนอยู่บนฐานของความเป็นจริง แสวงหาความรู้และข้อเท็จจริงโดยตลอด เมื่อเพื่อนๆให้แง่คิดและเตือนถึงอุปสรรคนั้น ผมว่าเป็นสิ่งที่ดี คนทำงานต้องฟังคน และนำข้อคิดคำเตือนเหล่านี้ไปตรวจสอบ และหาทางปรับปรุงแก้ไข การแสวงหาความเป็นจริงนั้น เป็นเรื่องที่คนทำงานทุกคนต้องตระหนักอยู่แล้ว คนทำงานที่ไม่ยอมฟังคน ไม่ตรวจสอบหาข้อบกพร่องในตนเองและสิ่งที่ตนทำ นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

No comments:

Post a Comment