Tuesday, January 24, 2012

7 รัฐสาวพี่น้องแห่งอินเดีย

7 รัฐสาวพี่น้องแห่งอินเดีย

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org


Keywords: ภูมิศาสตร์, อินเดีย, India, อรุนาจันประเทศ (Arunachal Pradesh), อัสสัม (Assam), เมฆาลัย (Meghalaya), มณีปุระ (Manipur), มิโซรัม (Mizoram), นาคาแลนด์ (Nagaland) และ ตริปุระ (Tripura)

บทบรรณาธิการ

ผมได้ศึกษารัฐทั้ง 7 ของรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย แล้วนำเสนอเป็นบทความใน My Words ซึ่งมี URL http://pracob.blogspot.com บทความเหล่านี้อาศัยการรวบรวมข้อมูลจาก Wikipedia ทั้งในภาษาไทยและอังกฤษ แนวการเขียนคือ ใช้เป็นแบบสองภาษา คือภาษาไทยและอังกฤษ โดยทิ้งศัพท์ภาษาอังกฤษที่ยังอาจแปลความแตกต่างกันเอาไว้ และสำหรับคนที่ต้องการนำเสนอต่อไป ด้วยรายละเอียดที่มากขึ้น และปรับให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา


ภาพ แผนที่ประเทศอินเดีย รวม 7 รัฐสาวพี่น้อง (Seven sister states of India) ที่เป็นส่วนหนึ่งของจงอยสีแสดทางมุม่ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย มีบังคลาเทศเป็นส่วนขวางอยู่

ภาพ แผนที่ 7 รัฐสาวพี่น้องของอินเดีย (Seven Sister States of India) ทางตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นบริเวณที่ไม่มีทางออกทะเล เรียกว่า Landlock

7 รัฐสาวพี่น้องแห่งอินเดีย (Seven Sister States) หรือมีชื่อเรียกว่า “สวรรค์ที่ยังไม่ถูกค้นพบ” เป็นชื่อของรัฐ (States) ขนาดเล็ก 7 แห่งของอินเดียที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ อันประกอบด้วย อรุณาจันประเทศ (Arunachal Pradesh), อัสสัม (Assam), เมฆาลัย (Meghalaya), มณีปุระ (Manipur), มิโซรัม (Mizoram), นากาแลนด์ (Nagaland) และ ตริปุระ (Tripura) 7 รัฐเหล่านี้มีพื้นที่รวม 250,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 7 ของประเทศอินเดีย มีประชากรรวม 38.6 ล้านคน (ปี ค.ศ. 2000) หรือร้อยละ 3.8 ของประเทศอินเดีย ใน 7 รัฐเหล่านี้มีความแตกต่างกันในเชื้อชาติ ศาสนา แต่มีความคล้ายเคียงกันในด้านสภาพแวดล้อมทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ
ภาษาหลักที่ใช้กันในรัฐอัสสัม อันเป็นรัฐใหญ่มีประชากรมากที่สุด คือภาษาอัสสัม (Assamese) ส่วนรัฐตริปุระ คนส่วนใหญ่ใช้ภาษาเบงกอล (Bengali) ในภูมิภาคนี้ประชากรชนเผ่าพูดภาษาหลากหลายในกลุ่มทิเบต-พม่า (Tibeto-Burman) และออสโตร-เอเชียติก (Austro-Asiatic languages) ส่วนภาษาไมไต (Meitei) อันเป็นภาษาที่ใช้พูดกันมากที่สุดอันดับสามของภูมิภาคนี้เป็นภาษาในกลุ่มทิเบต-พม่า (Tibeto-Burman language)

ในด้านศาสนา ศาสนาฮินดู (Hinduism) และคริสต์ศาสนา (Christianity) เป็นศาสนาหลักในภูมิภาคนี้ ในรัฐที่มีประชากรมากอย่าง อัสสัม (Assam), ตริปุระ (Tripura) และมณีปุระ (Manipur) นั้นประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู โดยมีผู้นับถือศาสนาอิสลาม (Muslim) เป็นชนกลุ่มน้อย และด้วยการทำงานของมิชชันนารีในคริสต์ศาสนา จึงทำให้คริสต์ศาสนาเป็นศาสนาหลักในรัฐนาคาแลนด์ (Nagaland), มิโซรัม (Mizoram) และเมฆาลัย (Meghalaya)

อุตสาหกรรมหลักในภูมิภาคนี้คือ ชา น้ำมันดิบ และก๊าสธรรมชาติ ไหม (Silk) ไม้ไผ่ (Bamboo) และงานหัตถกรรม (Handicrafts) ในทั้ง 7 รัฐเป็นป่าทึบ มีฝนตกหนัก เป็นเขตมีสัตว์ป่าที่สงวนไว้ มีไร่ชา และแม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำพรมบุตร (Brahmaputra)

เขต 7 รัฐนี้เป็นบ้านของแรดนอเดียว (one-horned rhinoceros) ช้าง (Elephants) และสัตว์หายากใกล้สูญพันธุ์อื่นๆ ด้วยความที่เขตนี้มีความตึงเครียดกระทบกระทั่งระหว่างชนเผ่า และการก่อการร้าย และความขัดแย้งในเขตแดนกับประเทศจีน จึงทำให้ต้องมีการเข้มงวดสำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งทำให้เป็นอุปสรรคสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพอย่างสูงในเขตนี้

แม่น้ำพรหมบุตร (เทวนาครี: ब्रह्मपुत्र พรฺหฺมปุตฺร; อังกฤษ: Brahmaputra) เป็นแม่น้ำสายหลักที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ และสังคมของบริเวณนี้

ภาพ ทิวทัศน์ของแม่น้ำพรหมบุตร ความยาว 2,900 กิโลเมตรไหลผ่านจากตอนบนของอินเดีย

แม่น้ำพรหมบุตร (Brahmaputra River) เป็นแม่น้ำที่กั้นเขตแดนสายสำคัญสายหนึ่งของทวีปเอเชีย (Asia) มีความความยาว 2,900 กิโลเมตร ส่วนความยาวของลำน้ำตอนบนนั้นไม่ทราบแน่ชัด มีต้นกำเนิดอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเขตปกครองตนเองทิเบต สาธารณรัฐประชาชนจีนโดยมีชื่อเรียกเป็นภาษาทิเบตว่า "แม่น้ำยาร์ลุงซางโป (Yarlung Tsangpo)" [หมายถึง เลือดขัตติยะ] จากนั้นไหลผ่านพื้นที่ตอนใต้ของทิเบต มีชื่อเรียกว่า "แม่น้ำดีฮัง (Dihang)" ไปตัดผ่านเทือกเขาหิมาลัยในโกรกธารใหญ่ แล้วไหลวกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ผ่านหุบเขาอัสสัม (Valley of Assam)และไปทางใต้ผ่านประเทศบังกลาเทศ (Bangladesh) ซึ่งเรียกว่า "แม่น้ำยมุนา (Jamuna River)" จากนั้นได้ไหลมารวมกับแม่น้ำคงคา (Ganges River) เกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) ขนาดใหญ่ นับเป็นแหล่งชลประทานและการคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่ง

แม่น้ำส่วนใหญ่ของอินเดียและบังกลาเทศจะมีชื่อเป็นเพศหญิง แต่แม่น้ำพรหมบุตรมีชื่อเป็นเพศชาย ในภาษาสันสกฤต คำว่า "พรหมบุตร" หมายถึง โอรสของพระพรหม

ภาพ แผนที่ แม่น้ำพรหมบุตร ไหลผ่านตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ผ่านบังคลาเทศ เป็นแม่น้ำที่มีผลต่อชีวิตและเศรษฐกิจของชาว 7 รัฐสาวพี่น้องของอินเดีย โดยเฉพาะรัฐอัสสัม (Assam)

ภาพ ชนเผ่าพื้นเมืองในนาคาแลนด์ ที่มีประเพณีการเจาะหูดังที่เห็นในภาพ

ภาพ สตรีกำลังแบกฟืน โดยใช้สายโยงไปยังบริเวณหน้าผากเป็นส่วนรับน้ำหนัก, นาคาแลนด์

No comments:

Post a Comment