Saturday, February 11, 2012

มารู้จักรัฐเมฆาลัย (Meghalaya) ประเทศอินเดีย

มารู้จักรัฐเมฆาลัย (Meghalaya) ประเทศอินเดีย

ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: ภูมิศาสตร์, เศรษฐกิจ, การเมือง, อินเดีย, Meghalaya, เมฆาลัย, 7 รัฐสาวพี่น้องแห่งอินเดีย, Seven sister states of India

Meghalaya = เมฆาลัย

ภาพ แผนที่รัฐเมฆาลัย เป็นสีแดงเข้ม บริเวณที่เป็นตอนใต้ของจงอย มุมตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย

รัฐเมฆาลัย (Meghalaya) คือหนึ่งในรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียมีเขตติดต่อกับประเทศบังกลาเทศทางทิศใต้และตะวันตก และรัฐอัสสัมทางทิศเหนือและตะวันออก ในปัจจุบันหนึ่งในสามของรัฐยังคงปกคลุมไปด้วยป่าไม้

รัฐเมฆาลัย ตามคำ Megha = เมฆ ส่วนคำว่า Alaya หรือ อาลัย หรือ Abode = ที่พักอาศัย รวมความ “เมฆาลัย” คือบ้านหรือเมืองที่อยู่ท่ามกลางเมฆหมอก เมฆาลัยเป็นแนวเขาทางตะวันออกของประเทศที่มีความยาวประมาณ 300 กม. จากตะวันออกไปตะวันตก มีความกว้างประมาณ 100 กม. มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 22,720 ตารางกม.

รัฐเมฆาลัยแบ่งการปกครองออกเป็น 7 เขน ได้แก่ เขตเทือกเขากาโรตะวันออก (East Garo Hills), เขตเทือกเขากะสิตะวันออก (East Khasi Hills), เขตเทือกเขาจาอินเตีย (Jaintia Hills), เขตริบอย (Ri-Bhoi), เขตเทือกเขากาโรใต้ (South Garo Hills), เขตกาโรตะวันตก (West Garo Hills) และเขตกะสิตะวันตก (West Khasi Hills)

รัฐเมฆาลัย จากการสำรวจในปี ค.ศ. 2000 มีประชากร 2,175,000 คน รัฐนี้มีรัฐอัสสัม (Assam) เป็นรัฐเพื่อนบ้านทางตอนเหนือ และมีประเทศบังคลาเทศ Bangladesh ทางด้านใต้ มีเมืองหลวงชื่อ ซิลลอง (Shillong) ซึ่งได้รับฉายาว่าเป็นเหมือนสก๊อตแลนด์แห่งตะวันออก (Scotland of the East) ซึ่งเมืองนี้มีประชากรประมาณ 260,000 คน รัฐนี้มีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 เป็นป่า เรียกว่าป่ามรสุมเมฆาลัย (Meghalaya subtropical forests) สภาพแวดล้อมของรัฐนี้มีป่าเขาล้อมรอบที่ต่างจากป่ามรสุมเขตที่ราบต่ำทั่วไปที่อยู่ทางเหนือและทางใต้ ป่าของรัฐเมฆาลัยมีชื่อเสียงทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (mammals), นก (birds) และพันธุ์พืช (plants) เมฆาลัยเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐอัสสัม แต่ในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1972 เขตเทือกเขากะสิ (Khasi), กาโร (Garo) และ ไจอินเตีย (Jaintia) ได้แยกออกมา และกลายเป็นรัฐใหม่ คือรัฐเมฆาลัย

รัฐเมฆาลัยในปัจจุบัน มีปัญหาด้านการทำเหมืองแร่ที่ผิดกฎหมาย ที่อุธยานแห่งชาติบัลพาคราม (Balpakram National Park) ตั้งอยู่เขตบริเวณเทือกเขากาโรใต้ (South Garo Hills District) ซึ่งป่าเขาได้ถูกทำลายเพื่อเปิดทางสำหรับทำเหมืองถ่านหิน ในบริเวณนี้ได้มีที่ประชุมเพื่อการต่อต้านการทำเหมืองและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้เสนอให้ปิดเหมืองเหล่านี้ที่ได้ดำเนินการอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งรัฐบาลก็ได้แต่เพียงทำเงียบเฉย ที่เขตเทือกเขาไจอินเตีย (Jaintia Hills District) การทำเหมืองผิดกฎหมายได้ทำให้แม่น้ำหลายสายได้รับสารพิษ ยกเว้นแม่น้ำมินตัง (Myntang River) และแม่น้ำอุมกอต (Umngot River) การทำเหมืองผิดกฎหมายมักเป็นการแอบทำ แต่ในที่สุดก็จะค่อยๆเผยออกมา เมื่อเร็วๆนี้ โทรทัศน์ France 24 ของฝรั่งเศสได้เปิดโปงปัญหาการใช้แรงงานเด็กในการทำเหมืองผิดกฎหมายนี้ ส่วนหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นก็ได้เริ่มเปิดโปงความลับที่เกี่ยวกับการทำเหมืองผิดกฎหมาย
รัฐเมฆาลัยอาศัยเศรษฐกิจการเกษตรเป็นหลัก พืชสำคัญของรัฐคือ มันฝรั่ง (potato), ข้าว (rice), ข้าวโพด (maize), สัปปะรด (pineapple), และกล้วยหอม (banana) ธุรกิจภาคบริการได้แก่อสังหาริมทรัพย์ และประกันภัย รายได้ประชาชาติของรัฐเมฆาลัยอยู่ที่ 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐ

ภาพ ชาวกะสิ (A Khasi man) ชนเผ่าหนึ่งในรัฐเมฆาลัย

ภาพ ทะเลสาบยูเมียมใกล้เมืองชีลลอง (The Umiam Lake near Shillong)

ภาพ น้ำตก ในรัฐเมฆาลัย ด้วยความที่เป็นภูเขามาก และมีน้ำมาก

ภาพ พืชชนิดหนึ่ง ในรัฐเมฆาลัย

ภาพ คนงานเหมืองถ่านหินในแถบเทือกเขาไจอินเตีย (Workers outside a coalmine in the Jaintia Hills)
ภาพ แสดงบริเวณเชอริปุนจิ ซึ่งเป็นที่อ้างว่าฝนตกชุกที่สุดในโลก (A sign board in Cherrapunji)

ภาพ โรงงานซีเมนต์ MCL ที่ทังไก ลุมชนอง แถบเทือกเขาไจอินเตีย (View of MCL Cement plant, Thangskai, P.O. Lumshnong, Jaintia Hills)

1 comment:

  1. ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ เป็นประโยชน์มาก

    ReplyDelete