Sunday, February 5, 2012

รัฐอรุณาจัลประเทศ ดินแดนแห่งขุนเขายามรุ่งอรุณ ของอินเดีย

รัฐอรุณาจัลประเทศ ดินแดนแห่งขุนเขายามรุ่งอรุณ ของอินเดีย

ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: ภูมิศาสตร์, เศรษฐกิจ, การเมือง, อินเดีย, รัฐอรุณาจัลประเทศ, 7 รัฐสาวพี่น้องของอินเดีย, Seven sister states of India

รัฐอรุณาจัลประเทศ (Arunachal Pradesh (Hindi: अरुणाचल प्रदेश,pronounced [ərʊˈɳaːtɕəl prəˈd̪eːɕ] (http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/21/Speaker_Icon.svg/13px-Speaker_Icon.svg.png listen)) คือ ดินแดนใต้การปกครองของประเทศอินเดีย แต่ถูกเรียกร้องจากทางการจีนว่าเป็นดินแดนของตนในชื่อว่า ทิเบตใต้ (藏南 ซั่นหนาน) รัฐอรุณาจัลประเทศมีเขตติดต่อกับ รัฐอัสสัม (Assam) และรัฐนาคาแลนด์ (Nagaland) ทางใต้ รัฐกะฉิ่น ประเทศพม่าทางตะวันออก ประเทศภูฏาน (Bhutan) ทางตะวันตก และเขตปกครองตนเองทิเบต (Tibet) ประเทศจีนทางทิศเหนือ

ภาพ แผนที่รัฐอรุณาจัล อยู่ทางเหนือสุดของ 7 รัฐสาวพี่น้องของอินเดีย

รัฐอรุณาจัลประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดีย มีเมืองหลวงชื่อ อิทานาคระ (Itanagar) ได้รับการยอมรับเป็นรัฐหนึ่งในวันที่ 20 กุมภาพันธุ์ ค.ศ. 1987 มีพื้นที่ 83,743 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 1,382,611 คน มีความหนาแน่นของประชากรเพียง 16.5 คน/ตารางกิโลเมตร มีอัตราผู้รู้หนังสือร้อยละ 66/95 มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ รัฐนี้ในทางภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ จัดเป็นหนึ่งใน 7 รัฐสาวพี่น้องของอินเดีย (Seven sister states of India) ซึ่งเป็นรัฐที่ไม่มีทางออกทะเลของตัวเอง และห้อมล้อมด้วยขุนเขา

ภาพ มองเทือกเขาหิมาลัย จากบริเวณอรุณาจัลประเทศ

Arunachal Pradesh มีความหมายว่า “ดินแดนแห่งขุนเขายามรุ่งอรุณ” (land of the dawn-lit mountains) คำว่า Pradesh คือ ประเทศ ภูมิภาค หรือดินแดนนั้นเอง รัฐอรุณาจัลประเทศ อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือสุดของอินเดีย ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าที่พูดตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า (Tibeto-Burman) เป็นเชื้อสายชาวทิเบต ชาวไท และชาวพม่า โดยมีประชากรร้อยละ 16 เป็นผู้อพยพ เป็นรัฐที่มีชื่อเสียงทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ มีงานศิลปหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์

ภาพ รัฐอรุณาจัลประเทศ มีชื่อเสียงด้านทิวทัศน์แบบภูเขาสูง

วัดทาวัง (Tawang Monastery) ในรัฐอรุณาจัลประเทศ เป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย ตั้งขึ้นมาใกล้ๆกับเมืองเล็กๆที่มีชื่อเดียวกันทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐอรุณาจัลประเทศ โดย Merak Lama Lodre Gyatso ในปี ค.ศ. 1680-1681 ตามความปรารถนาของดาไล ลามะองค์ที่ 5

ภาพ เด็กอุ้มทารก ใน Bomdila, อุรณาจัลประเทศ (Arunachal Pradesh)

ภาพ พระพุทธรูป ที่ Tawang, Arunachal Pradesh มีผู้นับถือพุทธศาสนาร้อยละ 13 ของประเทศ

ภาพ ระบบถนนเพื่อการคมนาคมในเขตหิมาลัย เต็มไปด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะในช่วงหิมะตก

No comments:

Post a Comment