Sunday, September 26, 2010

ระบบบริการแบบเปิด - เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสำหรับโรงเรียนในสหราชอาณาจักร

ระบบบริการแบบเปิด - เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสำหรับโรงเรียนในสหราชอาณาจักร

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก “Open Services: Sustainable ICT for UK Schools” เสนอโดย Admin on Fri, 17/09/2010 - 10:26am

การใช้บริการแบบเปิด (Open Services)

การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บริการระบบเปิด (Open services) และเนื้อหาแบบเปิด (Open content) ในโรงเรียนไปจนถึงในระดับท้องถิ่น ผู้บริหารระดับสูงของ NWLG CEO Gary Clawson on ได้ให้ทัศนะว่าสามารถประหยัดเงินไนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาได้กว่าร้อยละ 25 ได้อย่างง่ายๆ และหากมีการปรับรูปแบบให้เหมาะสมอย่างจริงจังที่จะใช้ ICT เพื่อการศึกษา ก็จะประหยัดเงินได้เป็นร้อยละ 30-35 และในการทดลองใช้ในโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษา อันมีโรงเรียนมัธยมศึกษา 20 แห่ง และโรงเรียนประถมศึกษา 120 แห่ง ทั้งหมดนี้จะประหยัดเงินได้ 1.4 ล้านปอนด์ หรือ 70 ล้านบาทไทย

ทั้งนี้เพราะในประเทศสหราชอาณาจักรและในยุโรปต้องใช้ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ที่มีค่าใช้จ่ายด้านลิขสิทธิ์ทางปัญญาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

แนวทางแรก คือการลองตรวจสอบค่าลิขสิทธิ์ในการในการใช้บริการซอฟต์แวร์ เนื้อหา และระบบที่ต้องจ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ทางปัญญา เมื่อเทียบกับเมื่อใช้ระบผลิตภัณฑ์ที่เป็นแบบเปิด (Open source products)

การหันมาใช้การเรียนในระบบ Open Source อย่าง Moodle/ National Digital Resource Bank ซึ่งง่ายที่จะใช้ ระบบจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่ต้องจ่ายเงินก็มีเช่น BlackBoard แต่ระบบที่เป็น Open Source นั้นมีหลายรายการที่จัดทำขึ้นในระบบเปิด หรือมีการปรับปรุงให้ใช้งานได้ง่ายๆ เบาๆเองก็ทำได้

ลองเปรียบเทียบระบบเมื่อต้องใช้ Microsoft Office ซึ่งต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ กับให้นักเรียนหันมาใช้ Open Office at home

สร้างและใช้ edubuntu/Openeducation ในระดับทั้งครูและนักเรียน โดยเน้นในระดับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต (Desktop) จัดทำเป็นระบบ CD/Disk แล้วเผยแพร่ให้นักเรียนนำไปใช้ได้ที่บ้าน

ในการใช้งานค้นหาในอินเตอร์เน็ต เรามี Web Browser อย่าง Firefox ที่จะใช้งาน และมีระบบ Google ที่จะค้นหาข้อมูล โดยไม่ต้องอาศัย MS Internet Explorer

ในระบบสืบค้นข้อมูล ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ เราสามารถใช้งาน Google

ในระบบสารานุกรม เราสามารถใช้ Wikipedia (www.wikipedia.org ) ทั้งที่เป็นภาษาอังกฤษที่มีฐานข้อมูลมากมาย และมีการสร้างฐานข้อมูลเพิ่มมากขึ้นเป็นภาษาไทย และรวมถึงภาษาอื่นๆ ที่จะใช้เป็นเนื้อหาสาระเพื่อการเรียนการสอนได้

หากต้องการใช้เนื้อหาที่เป็น VDO เราสามารถฝากงานไว้ใน YouTube ทำเป็น VDO clip เพื่อการศึกษา แล้วให้ผู้เรียน/ผู้สอนเรียกใช้ได้ หรือหากทำในวงกว้าง อาจหาเจ้าภาพ มูลนิธิในประเทศจัดตั้ง Server กลางขึ้น เพื่อเรียกใช้ข้อมูลร่วมภายในประเทศ เพื่อลดการพึ่งพาเครือข่ายที่ต้องไปใช้ฐานข้อมูลใน server ที่ตั้งในต่างประเทศ

ทั้งนี้หมายความว่า ประเทศไทยต้องพัฒนาระบบเครือข่ายทั้งแบบสายและไร้สายรองรับ (Wired and Wireless) ตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ที่อาศัยระบบส่งสัญญาณในแบบ Cellular ดังเช่นระบบ 2G, 3G, และต่อไปอาจเป็น 4G ที่ให้บริการได้ด้วยผ่านระบบเครื่องคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ทั้งแบบพกพา แบบกระเป๋าหิ้ว (Laptop) และในเครื่องขนาดเล็กราคาไม่แพง อย่างเช่น Netbook, iPad, E-Pad เป็นต้น

ในเรื่องนี้ หากเขตพื้นที่การศึกษาของไทย (Education Service Areas – ESAs) มหาวิทยาลัย และส่วนงานด้านการศึกษาต่างๆ ได้ร่วมกันพัฒนาเนื้อหาสาระในระบบเปิดที่มีในภาษาไทยให้เพิ่มมากขึ้น ระบบก็จะมีความสมบูรณ์และเพียงพอเพิ่มมากขึ้น

ตรวจสอบดูประสิทธิภาพการใช้งาน และให้มีการปรับปรุงระบบฮาร์ดแวร์และปรับซอฟต์แวร์ที่เขาต้องมีการปรับปรุง (Updated) เป็นระยะในระบบออนไลน์

The report is online at http://www.nwlg.org/downloads/docs/papers/openservices.pdf

1 comment:

  1. ICTE - บ้านคนยุคใหม่มีขนาดพื้นที่จำกัด มีลักษณะเป็น Condomenium หรือ Service Apartments มีขนาดพื้นที่ 40-80 ตารางเมตรก็ถือว่าพอเพียงแล้ว ยิ่งเป็นอยู่ในเมืองใหญ่ หากมีพื้นที่มาก ค่าบริการต่างๆ ก็จะสูงตามไปด้วย

    ICTE - คนยุคใหม่ มีคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายออนไลน์ดี ก็เรียกใช้ข้อมูลและ Applications ผ่านเครือข่ายได้

    เมื่อต้องลงทุนเพิ่มเติมในด้านฮาร์ดแวร์และระบบเครือข่าย ก็ต้องลดค่าใช้จ่ายบางส่วนเช่นพวกหนังสือ หรือกระดาษ หรือแม้แต่ CD ก็จะใช้น้อยลง หากจะบอกรับอะไร ในอนาคต ก็บอกรับผ่านออนไลน์มากขึ้น

    ReplyDelete