Sunday, June 5, 2011

มารู้จักเขื่อน 3 หุบเขา ในประเทศจีน Three Gorges Dam

มารู้จักเขื่อน 3 หุบเขา ในประเทศจีน
Three Gorges Dam

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: พลังงาน, สิ่งแวดล้อม, energy, environment

ภาพ เขื่อนสามหุบเขา (Three Gorges Dam) ประเทศจีน

เขื่อนสามหุบเขา หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า The Three Gorges Dam (simplified Chinese: ; traditional Chinese: ; pinyin: Chángjiāng Sānxiá ) เป็นเขื่อนพลังน้ำผลิตไฟฟ้า (Hydroelectric dam) กั้นแม่น้ำแยงซี (Yangtze River) ใกล้เมืองซานเดาปิง (Sandouping) บริเวณเขตยีลิง (Yiling District) ของยี่ฉาง (Yichang) ในมณฑลหูไป่ (Hubei province) ของประเทศจีน (China) เขื่อนสามหุบเขาจัดเป็นเขื่อนที่ใหญ่พลังไฟฟ้าที่สุดในโลก โดยสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 18,200 MW

ตัวเขื่อนสร้างเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 2006 p ยกเว้นบริเวณช่องยกระดับเรือ (Ship lift) ซึ่งโครงการทำส่วนนี้ให้เสร็จวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 2008 เมื่อมีการติดตั้งกังหันไฟฟ้าได้ครบ 26 ตัว ที่โรงงานชายฝั่งเริ่มดำเนินการ กังหันแต่ละตัวสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 700 MW ส่วนอีก 6 ตัวจะเป็นกังหันที่ติดที่โรงงานใต้น้ำ และคาดว่าทั้งหมดจะแล้วเสร็จได้ไม่เร็วไปกว่าเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 รวมทั้งหมดมีกังหันขนาดใหญ่ 32 ตัว และมีตัวผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้งานในระบบโรงงาน 2 ตัว ขนาดตัวละ 50 MW เมื่อระบบเสร็จทั้งสิ้นจะผลิตไฟฟ้าได้ 22,500 MW

ในขณะที่เขื่อนสามารถผลิตไฟฟ้า แต่การสร้างเขื่อนได้เพิ่มศักยภาพทางการขนส่งโดยทางเรือ ลดโอกาสน้ำท่วมจากแม่น้ำ โดยการกักเก็บน้ำไวเหนือเขื่อน รัฐบาลจีนมองว่าเขื่อนสามหุบเขาเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่เป็นผลงานวิศวกรรมประวัติศาสตร์ ที่ส่งผลสำคัญต่อความสำเร็จทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยการออกแบบให้ใช้กังหันผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ใช้เทคโนโลยีล่าสุด และสามารถลดปัญหาการใช้พลังงานจากระบบเผาไหม้ อันก่อให้เกิดปัญหาเรือนกระจก (Greenhouse gas emissions)

อย่างไรก็ตาม เขื่อนได้ท่วมแหล่งสำคัญทางโบราณคดีและวัฒนธรรม ทำให้ต้องมีการโยกย้ายประชาชนที่อยู่ในบริเวณน้ำท่วมถึงออกไปถึง 1.3 ล้านคน เขื่อนก่อให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม รวมถึงปัญหาแผ่นดินถล่ม (Landslides) เขื่อนสามหุบเขาเป็นประเด็นโต้เถียงทั้งภาในประเทศจีนและนักศึกษาในต่างประเทศ

การผลิตไฟฟ้า

เขื่อนสามหุบเขาได้ออกแบบให้มีการกักเก็บน้ำเหนือเขื่อนถึง 175 ล้านลูกบาตรเมตร โดยในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2010 จะได้ผลผลิตไฟฟ้าที่ 84.7 TWh

Annual Production of Electricity

Year

Number of
installed units

TWh

2003

6

8.607

2004

11

39.155

2005

14

49.090

2006

14

49.250

2007

21

61.600

2008

26

80.812[42]

2009

26

79.47[43]

2010

26

84.37 [44]

2011

26


Total

26(32)

452.354

ภาพ วิวกว้างของเขื่อนสามหุบเขา (Three Gorges Dam)
ภาพ กังหันน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้พลังน้ำจากเขื่อนกั้นแม่น้ำแยงซีในการผลิตไฟฟ้า

ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
Environmental impact

Main article: Environmental impact of the Three Gorges Dam


ภาพ จากการถ่ายภาพทางอากาศบริเวณน้ำท่วม กลายเป็นอ่างเก็บน้ำ อันเกิดจากเขื่อนสามหุบเขา (Three Gorges reservoir) ภาพบนถ่ายเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 ภาพล่างถ่ายเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1987

การลดการเผาไหม้

Emissions

คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีนกล่าวว่า จะต้องใช้ถ่านหิน 366 กรัม (Grams) เพื่อผลิตไฟฟ้าได้ 1 kWh หากใช้ฐานคิดคำนวณนี้ เมื่อเขื่อนสามารถผลิตไฟฟ้าได้เต็มพลัง จะสามารถลดการใช้ถ่านหินถึง 31 ล้านตันต่อปี ลดโอกาสสร้างก๊าสเรือนกระจกลง 100 ล้านตันต่อปี ลดปัญหาควันและฝุ่นจากถ่านหินไปได้หลายล้านตัน ลด sulfur dioxide ได้ 1 ล้านตัน ลด nitric oxide ได้ 370,000 ตัน ลด carbon monoxide ได้ 10,000 ตัน และลดปริมาณปรอท (Mercury) ที่จะต้องฟุ้งกระจายไปได้อีกมหาศาล พลังงานจากเขื่อนทำให้ลดความจำเป็นในการต้องทำเหมืองถ่านหิน การขนย้ายถ่านหินจากทางตอนเหนือของจีน

ในช่วงปี ค.ศ. 2003-2007 พลังงานที่ผลิตไฟฟ้าได้มีค่าเทียบเท่ากับถ่านหิน 84 ล้านตัน ลด carbon dioxide ได้ 190 ล้านตัน ลด Sulfur dioxide ได้ 2.29 ล้านตัน ลด Nitrogen oxide ได้ 980,000 ตัน

เขื่อนเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งทางเรือของแม่น้ำแยงซี 6 เท่า ลดการปล่อย Carbon dioxide emission 630,000 ตัน จากช่วงปี ค.ศ. 2004-2007 ได้มีการขนส่งสินค้าโดยทางเรือผ่านทางแม่น้ำแยงซีได้กว่า 198 ล้านตัน เมื่อเทียบกับการขนส่งโดยทางรถบรรทุก เรือขนาดเล็ก จะสามารถลดการสร้าง Carbon dioxide emission ไปได้ 10 ล้านตัน และลดต้นทุนการขนส่งไปได้ร้อยละ 25

การสึกกร่อนและตะกอน
Erosion and sedimentation

ปัญหาสำคัญอันเกิดจากการสร้างเขื่อน 2 ประการ คือ หนึ่ง ปัญหาการสึกกร่อน (Erosion) ปริมาณการตกตะกอน (Sedimentation) จากโครงการ ที่ยังตกลงกันไม่ได้ว่าเป็นปริมาณเท่าใด และอีกด้านหนึ่งคือบริเวณสร้างเขื่อนตั้งอยู่บนรอยแยกของแผ่นดิน (Seismic fault) ในปัจจุบันร้อยละ 80 ของแผ่นดินประสบปัญหาด้านการสึกกร่อน และมีตะกอนที่แม่น้ำแยงซีนำมาปีละ 40 ล้านตัน

ผลที่ตามมาในระดับปลายน้ำมีสองประการ คือ

นักศึกษาด้านน้ำคาดว่าบริเวณฝั่งแม่น้ำใต้เขื่อนลงไป จะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม (Flood)

การเพิ่มโอกาสน้ำท่วมของเมืองใหญ่ใต้เขื่อน อย่าง Shanghai ซึ่งอยู่ด้านใต้เขื่อนออกไป 1609 กิโลเมตร ซึ่งเป็นบริเวณตะกอนทับถม หากมีการรับตะกอนทับถมดังที่เคยเป็น ก็จะเป็นการเสริมความแข็งแกร่งที่บริเวณพื้นที่ตั้งของเมืองอย่างเซียงไฮ้ (Shanghai) แต่การที่ตะกอนไปตกทับตามบริเวณหน้าเขื่อน กลับทำให้บริเวณท้ายน้ำอ่อนลง เป็นตัวปัญหาที่ทำให้เสี่ยงต่อการมีน้ำท่วมเมืองได้ ปัญหาที่ตามมาอีกด้านหนึ่งทางสิ่งแวดล้อม คือผลกระทบต่อสัตว์น้ำและสิ่งมีชีวิต เพราะแหล่งปลาและพันธุ์ปลาไม่สามารถลงมาหลังเขื่อน หรือจากบริเวณใต้เขื่อนเพื่อขึ้นไปเหนือเขื่อน ทำให้เกิดปัญหาลดความหลากหลายสัตว์น้ำในสิ่งแวดล้อม (Aquatic biodiversity)

แผ่นดินไหวและแผ่นดินถล่ม
Earthquakes and landslides

ปัญหาแผ่นดินไหวที่บริเวณสร้างเขื่อนนี้มีความเสี่ยง ประกอบกับปริมาณน้ำมหาศาลในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ทำให้พื้นที่บริเวณน้ำท่วมถึงได้รับผลกระทบ ทำให้เกิดแผ่นดินสึกกร่อน เพราะระดับน้ำที่สูงขึ้น ทำให้แผ่นดินที่น้ำท่วมนั้นมีฐานดินที่กร่อนละลาย ดินที่มีพันธุ์ไม้คลุมอยู่ก็ไร้ฐาน เกิดการอ่อนตัว ทำให้เกิดแผ่นดินถล่มลงไปในน้ำเพิ่มขึ้นอีก ดังเหตุในช่วงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2009 มีดินและหินถล่มลงไปในแม่น้ำ 50,000 และ 20;000 ลูกบาตรเมตรลงไปในบริเวณหุบเขาวูเซีย (Wuxia Gorge) ของบริเวณแม่น้ำวู (Wu River) และในช่วง 4 เดือนแรกของปี ค.ศ. 2010 มีกรณีดินถล่มครั้งใหญ่ๆแล้ว 97 ครั้ง

การจัดการของเสีย
Waste management


Zigui County seat source water protection area in Maoping Town, a few km upstream of the dam

การจัดการน้ำเสียต้นทางได้ดีขึ้น

การเกิดเขื่อนทำให้กระตุ้นการกำจัดน้ำเสีย (Wastewater treatment) รอบๆเมืองชองกิง (Chongqing) และเขตที่เป็นชุมชนเมือง ตามคำกล่าวของกระทรวงสิ่งแวดล้อม (Ministry of Environmental Protection) ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2007 มีโรงจำกัดขยะเกิดขึ้นกว่า 50 โรง จำกัดขยะได้วันละกว่า 1.84 ล้านตัน เท่ากับเป็นร้อยละ 65 ของความต้องการทั้งหมด มีการสร้างแหล่งฝังขยะเกิดขึ้นกว่า 32 แห่ง สามารถจัดการขยะได้ 7,664.5 ตันต่อวัน แต่ในด้านน้ำยังมีน้ำเสียปีละ 1,000 ล้านตันปล่อยลงไปในน้ำ ทำให้น้ำบริเวณอ่างเก็บน้ำหนือเขื่อนมีลักษณะเน่าเสียได้ แต่ก่อนนี้ น้ำดังกล่าวจะถูกปล่อยปนไปกับสายน้ำ ช่วงของน้ำที่ไหลไปตามแม่น้ำระยะยาวๆ เท่ากับเป็นการเติมออกซิเจน และขจัดความเน่าเสียไปตามธรรมชาติ แต่เมื่อมีเขื่อนมากักไว้ ก็ทำให้น้ำมาหยุดนิ่ง เกิดการเน่าเสียได้ง่าย ซึ่งต้องหาวิธีการแก้ไขต่อไป

บริเวณป่าปกคลุม
Forest cover

บริเวณเขื่อนสามหุบเขาเหลือพื้นที่ป่าเขาร้อยละ 10 จากที่เคยมีร้อยละ 20 ในช่วงทศวรรษที่ 1950s

องค์การ FAO ภายใต้สหประชาชาติได้ศึกษาในเขตเอเซียแปซิฟิกพบว่าโดยทั่วไปมีการได้ป่าเพิ่ม 6000 ตารางกิโลเมตรในปี ค.ศ. 2008 ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนไปจากช่วง 1990s ที่ในแต่ละปีมีการสูญเสียป่าไป 13,000 ตร.กม. การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นผลจากความพยายามของจีนที่จะปลูกป่าเพิ่ม ซึ่งเป็นผลจากน้ำท่วมใหญ่ในปี ค.ศ. 1998 ทำให้รัฐบาลตระหนักว่าต้องมีการปลูกป่าใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือบริเวณรอบๆทะเลสาบและเขื่อนสามหุบเขา

No comments:

Post a Comment