Wednesday, June 15, 2011

ครื่องจักรการเมือง (Political machine) ในประวัติการเมือง

ครื่องจักรการเมือง (Political machine) ในประวัติการเมือง

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail:
pracob@sb4af.org
เรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia


.
ภาพ การ์ตูนล้อเลียนในปี ค.ศ. 1899 จาก Puck, การเมืองในมหานครนิวยอร์คทั้งหมดจะเกี่ยวข้องกับนายใหญ่ที่ชื่อ Richard Croker.

คำว่า “เครื่องจักรการเมือง” ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Political machine หรือเรียกสั้นลงไปอีกว่า Machine เป็นองค์กรจัดตั้งทางการเมือง โดยมีนายใหญ่หรือกลุ่มคนไม่มากนักที่มีอำนาจเรียกการสนับสนุนจากกลุ่มผู้พรรคพวกและกลุ่มธุรกิจ และเมื่อทำในกิจกรรมดังกล่าวแล้ว ต่างฝ่ายก็ได้รับผลประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้น อำนาจของ “เครื่องจักรทางการเมือง” ก็คือทำให้คนทำงานไปจัดการให้เกิดกำลังคนมาลงเสียงให้กับผู้สมัครที่ตนเองสนับสนุนในวันเลือกตั้ง

ถึงแม้องค์ประกอบเหล่านี้จะมีพบโดยทั่วไปในพรรคการเมืองและองค์กรจัดตั้งต่างๆ แต่สำหรับเครื่องจักรทางเมืองแล้วยิ่งมีความสำคัญ เพราะต้องอาศัยระบบรางวัลและอำนาจทางการเมือง ซึ่งมักทำงานควบคู่ไปกับโครงสร้างของพรรค เครื่องจักรเมืองมักต้องมีนายใหญ่ (Political boss) ที่ต้องอาศัยการอุปถัมภ์ (Patronage) และระบบเล่นพวก (Spoils system) ปูนบำเหน็จรางวัลให้กับพรรคพวกตนเองเมื่อได้เข้าสู่อำนาจ

เครื่องจักรการเมืองโดยทั่วไปมีการจัดตั้งที่มีฐานถาวร แทนที่จะจัดเป็นครั้งคราว คำเรียกว่า “เครื่องจักรการเมือง” มักเป็นคำกล่าวอย่างดูหมิ่นไปในทางการคอรัปชั่นทางการเมืองอย่างหนึ่ง

คำว่า “เครื่องจักรการเมือง” มีใช้กันตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งกลไกเหล่านี้มีในเมืองใหญ่ (Municipalities) และการเมืองท้องถิ่นในแต่ละรัฐ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา มีการกล่าวถึงเครื่องจักรการเมืองแบบนี้แล้วในอเมริกาใต้ (Latin America) โดยมีชื่อเรียกว่า clientelism หรือ political clientelism ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในเขตชนบท ในปัจจุบันในประเทศในอัฟริกาและประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นใหม่ ดังเช่นกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก ก็มีปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้

ในประเทศญี่ปุ่น พรรค Liberal Democratic Party (LDP) อันเป็นพรรคใหญ่เก่าแก่ที่ครองอำนาจรัฐมาโดยตลอด มักจะมีอิทธิพลในเขตชานเมือง (Suburban) และเขตชนบท (Rural areas) เครื่องจักรการเมืองเหล่านี้ได้เข้าไปกุมกลไกด้านการเกษตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือมีงานก่อสร้าง ในประเทศญี่ปุ่น คำว่า “จิบาน” (Jiban) ซึ่งแปลได้ว่า “ฐานราก” เป็นคำที่ใช้มากกว่าคำว่า “เครื่องจักรการเมือง” ในประวัติศาสตร์ยุโรป สาธารณรัฐโรมัน (Roman Republic) ก็มีระบบอุปถัมภ์ในลักษณะเช่นนี้
ในประเทศไทยมีคำเรียกในสื่อทั่วไปว่า “ระบบจัดตั้ง” คือการที่เกิดการสนับสนุนทางการเมือง โดยที่จริงๆแล้ว คนไม่ได้ไปเลือกตั้งอย่างอิสระ แต่จะไปเลือกตั้งตามคำสั่งหรือสัญญาณที่ส่งมาว่าจะให้ไปเลือกใคร คนที่สั่งได้ว่าให้ไปเลือกใครนั้น เขาเรียกกันว่า “หัวคะแนน” หัวคะแนนอาจมีฐานทางการเมืองของตนเองอยู่แล้ว เช่นเป็นส่วนของคณะบุคคลในสภาหรือคณะกรรมการบริหารของเมือง เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บางส่วนอาจไม่ได้มีตำแหน่งหน้าที่ แต่มีอำนาจและอิทธิพลทางอื่นๆ เช่นมีธุรกิจ หรือมีเครือข่ายธุรกิจที่มีความสำคัญ ที่ต้องอาศัยอำนาจจากรัฐ เช่น ระบบการขนส่งที่ต้องมีสัมปทาน การเป็นผู้รับเหมา ที่ต้องอาศัยงานก่อสร้างของรัฐขนาดใหญ่ๆนั้น เป็นแหล่งสร้างรายได้ที่มีผลทางธุรกิจ กลุ่มธุรกิจโรงสีข้าว โรงเลื่อย ที่ผูกพันกับผลประโยชน์อันเป็นมาจากนโยบายภาครัฐ

ผลประโยชน์ที่ได้นั้นอาจเป็นเงินที่จ่ายผ่านมา เพื่อซื้อเสียงโดยตรง (Vote buying) อย่างที่เขาเรียกว่า “เงินไม่มา กาไม่เป็น” หรือผลประโยชน์ที่ได้รับปากกันว่าจะช่วยอำนวยให้เกิดขึ้นตามนโยบายที่สัญญาไว้ หรือการให้สัมปทาน หรืองานรับเหมาที่เกิดขึ้นกับภาครัฐ ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น หรือการเอื้ออำนวยในการฝากลูกหลานเข้าทำงานในหน่วยราชการ

หน้าที่ของเครื่องจักรการเมืองFunction

เครื่องจักรการเมืองเป็นองค์กรทางการเมืองอย่างหนึ่งที่มีหน้าที่สรรหา (Recruit) สมาชิกโดยการใช้รางวัลที่เป็นรูปธรรม สัมผัสได้ (Tangible) ดังเช่นเงิน ตำแหน่งหน้าที่การงาน และมีโครงสร้างการนำที่ชัดเจนที่สมาชิกต้องยอมตาม
เครื่องจักรการเมืองเริ่มจากการรณรงค์ระดับรากหญ้า เพื่อดูแลความต้องการของสมาชิก เพื่อให้ท้ายสุดชนะการเลือกตั้ง ด้วยระบบอุปถัมภ์ที่เข้มแข็ง และการรวมตัวดุจสโมสรนี้ ท้ายสุดเพื่อให้ได้คะแนนเสียงในเขตเลือกตั้งนั้นๆ

เครื่องจักรการเมืองในสหรัฐอเมริกาPolitical machines in the United States


ในยุคเหนึ่ง เมืองใหญ่ในสหรัฐอเมริกา Chicago, Cleveland, Kansas City, New York City, Philadelphia, หรือ St. Louis ล้วนถูกกล่าวหาว่ามีเครื่องจักรการเมือง โดยเฉพาะในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงแรกของศตวรรษที่ 20 ช่วงดังกล่าวเมืองต่างๆมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และระบบการปกครองของเมืองต่างๆเหล่านั้นเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

เครื่องจักรการเมืองอาศัยโครงสร้างแบบระดับชั้น (Hierarchical system) โดยมีนายใหญ่ ซึ่งรวบรวมพันธมิตรธุรกิจในท้องที่ เพื่อเลือกคนที่จะเข้าไปทำหน้าที่บริหาร หรือผู้ได้รับแต่งตั้งที่เป็นพรรคพวกของตน และเป็นที่รู้กันว่าคนเหล่านี้เมื่อได้รับเลือกเข้าไป จะทำหน้าที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มพวกที่เลือกตนเข้าไป สิ่งที่ตามมานั้นมีทั้งที่เป็นผลประโยชน์และเป็นปัญหาที่เป็นผลพลอยจากกฏเกณฑ์ของเครื่องจักรการเมือง ส่วนหนึ่งที่ดูว่าดี คือ การทุจริต มีการหยอดน้ำมัน อำนวยความสะดวก ทำให้เรื่องที่มักจะช้า ได้กลายเป็นเรื่องที่ทำให้เร็วได้ เรื่องที่ทำไม่ได้ในกรอบแบบเดิม ก็ทำให้สามารถทำได้ แต่ในทางร้าย พวกที่ได้รับประโยชน์ก็ดีไป ได้เปรียบในทางการค้า แต่พวกที่อยู่ไกลออกไป ไม่ได้ผลประโยชน์เหล่านั้น ก็กลายเป็นพวกเสียเปรียบทางธุรกิจการค้า

Lord Bryce อธิบายนายใหญ่ทางการเมือง (Political bosses) เอาไว้ว่า

การที่กองทัพบริหารโดยคณะกรรมการหรือสภาฯ มักจะไม่ประสบชัยชนะ มันต้องมีคนทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นคนที่จะแก้ปัญหาขัดแย้ง ผลประโยชน์ไม่ลงตัว ต้องตัดสินใจยามที่มีเรื่องรีบด่วนฉุกเฉิน และเพื่อปลุกเร้าไม่ให้หวาดกลัว หรือเพื่อสร้างความผูกพัน เขาทำหน้าที่เป็นหัวหน้าเครือข่าย เขาจะเป็นคนทำให้เรื่องเข้าที่เข้าทาง มีการให้รางวัลแก่คนที่สวามิภักดิ์ ลงโทษคนที่ขัดขืน เขาทำให้เกิดต้นเรื่อง หรือที่เรียกกันว่า “ชงเรื่อง” ทำหน้าที่เจรจาต่อรองเพื่อให้เกิดสัญญาต่างๆออกมาได้

คนที่เป็นนายใหญ่ทางการเมืองมักหลีกเลี่ยงการเป็นข่าว ชอบที่จะอยู่ในจุดที่เป็นเนื้อหาของอำนาจจริง เขาอาจจะนั่งในจุดที่นับว่าเป็นอันตราย เหมือนกับแมงมุมที่ซ่อนอยู่ในที่ลับ คอยชักใยอำนาจนั้นๆ เขาคือเจ้านายทางการเมืองที่แท้จริง (Boss)

เมื่อถูกถามว่าเขาเป็นนายใหญ่ทางการเมืองหรือไม่ James Pendergast ตอบอย่างง่ายๆว่า

ผมถูกเรียกว่าเป็น “นายใหญ่” อ้นที่จริงมันคือการที่ผมมีเพื่อน ทำประโยชน์ให้กับผู้คน แล้วหลังจากนั้น เขาเหล่านั้นก็ทำประโยชน์ให้กับคุณ คุณไม่สามารถไปบังคับใครให้ทำอะไรให้คุณได้หรอก คุณไม่สามารถไปทำให้ใครลงคะแนนเสียงให้คุณ ผมไม่เคยไปบังคับใครในชีวิตผม ที่ไหนก็ตามที่คุณเห็นคนที่ไปใช้อำนาจบาดใหญ่กับคน เขาก็มักจะอยู่ไม่ได้นาน

เครื่องจักรการเมืองในหลายๆเมืองในสหรัฐอเมริกาเป็นไปเพื่อตอบสนองต่อพวกที่อพยพมาใหม่ดังในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ที่เขาต้องการสิทธิประโยชน์ ใช้การลงคะแนนเสียงอย่างเป็นกลุ่มเป็นก้อน เรียกว่าเทคะแนนเสียงกัน เพื่อให้ผู้ที่ตนสนับสนุนได้รับการเลือกตั้งในที่สุด

สำหรับคนที่ต่อสู้เพื่อสิทธิประโยชน์ของราษฎรอย่าง Anthony Alatzas ปฏิเสธเครื่องจักรการเมือง และพยายามผลักดันให้เกิดระบบคุณธรรม (Merit system) ในราชการ เพื่อทดแทนระบบเล่นพรรคเล่นพวกในราชการบริหารเมืองในท้องถิ่นต่างๆ

ในยุคของ Theodore Roosevelt ประธานาธิบดีสหรัฐในยุคก้าวหน้า (Progressive Era) เขาได้รณรงค์คนนับเป็นล้านๆคนเพื่อที่จะต่อสู้กับระบบการเมืองแบบเครื่องจักรนี้ ในช่วงทศวรรษ 1930s James A. Farley จัดเป็นหัวโจกใหญ่ของการเมืองระบบเครื่องจักรในพรรคดีโมแครตนี้ โดยอาศัยกรมไปรสณีย์ และหน่วยงานที่รัฐบาลกลางสร้างขึ้น เช่น Works Progress Administration (WPA) โดยในที่สุดได้ทำให้งานและผลประโยชน์ที่เคยเป็นแบบเครื่องจักรการเมืองนี้ได้กลายเป็นส่วนงานของชาติ

ในยุค New Deal ในสมัยของประธานาธิบดี Franklin Delano Roosevelt (FDR) ได้ปล่อยให้เครื่องจักรการเมืองนี้ได้ระดมกำลังผ่านทางหน่วยงานรัฐบาลกลางดังเช่น WPA และหน่วยงาน Civilian Conservation Corps (CCC) ในยุคสร้างงานเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ทำให้กลไกของ Farley มีอำนาจที่สุด ระบบอุปถัมภ์เป็นอันมากต้องผ่านการตรวจสอบโดย Farley รวมถึงตำแหน่งที่ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งด้วย เครื่องจักรการเมืองในยุค New Deal ต้องล่มสลายลงหลังจากที่ Farley ได้แยกทางจากฝ่ายบริหารของ FDR ในช่วงดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 3 หลังจากนั้นเครื่องจักรการเมืองก็หมดอำนาจลง เมื่อหน่วยงานเหล่านี้ต้องถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1943 อันเป็นช่วงเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง ระบบอุปถัมภ์ก็พลอยหมดอำนาจตามไปด้วย

ในช่วงทศวรรษที่ 1940s เครื่องจักรการเมืองในเมืองใหญ่ๆ ก็สูญเสียอำนาจลง ยกเว้นที่เมืองชิคาโก (Chicago machine) ส่วนเครื่องจักรการเมืองในรัฐเทนเนสซี ก็ถูกให้ออกจากตำแหน่ง ด้วยการต่อสู้ทางการเมืองอย่างที่เรียกว่า “สงครามแห่งเอเธนส์” (Battle of Athens)

เครื่องจักรเหล่านี้มักถูกกล่าวว่าได้อำนาจมา และมีฐานจากพวกประชาชนผู้อพยพมาใหม่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มักจะเป็นพวกไอริชอพยพ (Irish immigrants) ที่ได้ผลประโยชน์อย่างเป็นกอบเป็นกำ และสูงสุดในยุคของ James A. Farley ในช่วงที่ประธานาธิบดี Franklin D. Roosevelt กำลังรณรงค์ในนโยบายกอบกู้เศรษฐกิจที่เรียกว่า New Deal

ในระยะหลัง พรรคฐานเสียงมวลชนอย่างดีโมแครต ก็ต้องการฐานคะแนนจากผู้อพยพใหม่ที่มีมาจากหลายเชื้อชาติ ทั้ง อิตาลี ยิว จากชาติยุโรปตะวันออก แล้วในยุครณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน คนผิวดำ คนเชื้อสายลาตินอเมริกา สิทธิสตรี ฐานเสียงที่ต้องกว้าง ก็ทำให้ฐานเสียงในแบบเดิมที่คับแคบก็หมดความหมายลง

นอกจากนี้ พวกที่กลายเป็นศัตรูต่อต้านเครื่องจักรการเมืองนี้ ก็จะเป็นพวกโปรเตสแตนท์ที่อยู่มาเดิม (Nativist Protestants) ซึ่งมักจะไม่เห็นสอดคล้องกับพวกอพยพใหม่ชาวไอริชที่เป็นพวกคาธอลิก
ในช่วงทศวรรษที่ 1960s เป็นต้นมา นักประวัติศาสตร์ได้ประเมินเครื่องจักรการเมืองใหม่ โดยเห็นว่ามันมีส่วนฉ้อราษฎรบังหลวง แต่ก็มีประสิทธิภาพ เครื่องจักรนี้ไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ก็มีลักษณะตอบสนอง เขาทุจริต แต่ว่าก็สามารถควบคุมการใช้จ่ายของกลุ่มผลประโยชน์ให้อยู่ในวิสัยควบคุมได้ กล่าวได้ว่า พวกเครื่องจักรการเมืองใช้อิทธิพล เอาเปรียบคนอยู่วงนอก แต่ก็เป็นพวกที่ทำงานบริหารเป็น
ใน Mayors and Money ได้เปรียบเทียบรัฐบาลปกครองมหานครชิคาโกและนิวยอร์ค Ester R. Fuchs ได้ให้เครดิตเครื่องจักรการเมืองของพรรคดีโมแครตแห่งเมืองชิคาโกว่า ได้ให้แรงหนุนทางการเมืองแก่นายกเทศมนตรี Richard J. Daley ที่จะปฏิเสธเงื่อนไขกลุ่มสหภาพแรงงานในสัญญาที่ไม่อาจจะรับได้

ศึกษาเพิ่มเติม

See also

เอกสารอ่านเพิ่มเติม

Selected reading

  • Harold F Gosnell; Charles E Merriam (2007). Boss Platt and His New York Machine: A Study of the Political Leadership of Thomas C. Platt, Theodore Roosevelt and Others. Lightning Source Inc. ISBN 1432588508.
  • Jerome Mushkat (1971). Tammany; the Evolution of a Political Machine, 1789-1865. Syracuse University Press. ISBN 0815600798.
  • Jacob M. Schlesinger (1999). Shadow Shoguns: The Rise and Fall of Japan's Postwar Political Machine. Stanford University Press. ISBN 0804734577.
  • Gerald Kurland (1972). Political Machine: What It Is, How It Works. Story House Corp. ISBN 0686072383.
  • Harold Foote Gosnell (1968). Machine Politics: Chicago Model. University of Chicago Press. ISBN 0226304922.
  • Paul Martin Sachs (1974). The Donegal Mafia: An Irish Political Machine. University of California. ISBN 0300020201.
  • Thomas P Clifford (1975). The Political Machine: An American Institution. Vantage Press. ISBN 0533013747.

อ่านเพิ่มเติม Further reading

  • Tuckel, P. and Maisel, R. (2008). Nativity Status and Voter Turnout in Early Twentieth-Century Urban United States. Historical Methods, Vol. 41, No. 2, pp. 99–107.

การอ้างอิงReferences

1. ^ "Political Machine". 2008 Encyclopædia Britannica Online. Encyclopædia Britannica.. Retrieved 2008-12-06.
2. ^ American Journey, 2005
3. ^ a b c d Safire, William, Safire's Political Dictionary, pp 391-392, "Machine politics" article, first edition, 1978 (although the book existed in an earlier version titled "The New Language of Politics"), Random House
4. ^ [1] |Congressional Quarterly reports 1973 v. 1
5. ^ "Political machine" article, Encyclopaedia Britannica website, retrieved December 6, 2008
6. ^ Glazer, Nathan and Monyhan, Daniel Patrick, Beyond the Melting Pot: The Negroes, Puerto Ricans, Jews, Italians and Irish of New York, "the Irish" chapter, p 226, The MIT Press, 1963 ("Ed Flynn ran the Bronx from 1922 until his death in 1953."
7. ^ James Q. Wilson; American Government
8. ^ a b c The Americans: Reconstruction to the 21st Century: California Teacher's Edition. Evanston: McDougall Littell Inc.. 2006. pp. 267–268.
9. ^ Herbert Blumer (1915). The American Journal of Sociology. 20 (1914/1915). p. 603. ""The political machine is in fact an attempt to maintain, inside the formal administrative organization of the city, the control of a primary group."".
10. ^ Harold F. Gosnell (September 1933). "The Political Party versus the Political Machine". Annals of American Academy of Political and Social Science 169: 21–28. doi:10.1177/000271623316900104. "When the spoils element is predominant in a political organization, it is called a political machine.".

No comments:

Post a Comment