เรียนรู้ภาษาอังกฤษกับการเมือง คำว่า Amnesty
Bill
Keywords: การเมือง,
politics, การปกครอง,
governance,
การเปลี่ยนแปลง, change, การวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง, planned change, ร่างกฎหมายนิรโทษกรรม, amnesty bill, รัฐธรรมนูญ, constitution,
ประชาธิปไตย, democracy, ฝ่ายนิติบัญญัติ, legislative,
ฝ่ายบริหาร, executive, ฝ่ายตุลาการ, judiciary
ในระยะที่บ้านเมืองมีความสับสนและความขัดแย้งเกี่ยวกับพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม
(Amnesty Bill) สำหรับประชาชนทั่วไปอย่างเราท่าน ก็ต้องปรับตัวเรียนรู้เกี่ยวกับกฎหมายบ้าง
เริ่มกันจากสิ่งที่ใกล้ตัว และเราต้องเผชิญหน้ากับมันในขณะนี้.
ภาพ การเคลื่อนไหวประท้วง "ร่างกฎหมายนิรโทษกรรม" (Amnesty Bill) ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2556)
Amnesty อ่านว่า แอมเนสตี แปลได้ตรงๆว่า
นิรโทษกรรม หรือการให้อภัย
Bill อ่านว่า บิล แปลว่าร่างกฎหมาย หรือกฎหมายที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาดำเนินการ
แต่หากเมื่อได้ผ่านเป็นขั้นตอนและสามารถบังคับใช้ได้แล้ว
จะเรียกว่า “กฎหมาย” หรือ Law ซึ่งอ่านว่า ลอว์
ในประเทศสหรัฐอเมริกา วุฒิสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่เป็นฝ่ายเสนอร่างกฎหมาย
และเมื่อผ่านการพิจารณาจากทั้งสองสภาแล้ว ก็จะส่งต่อมาให้ฝ่ายบริหาร
คือประธานาธิบดีลงนามเพื่อประกาศใช้
แต่ประธานาธิบดีมีสิทธิยับยั้ง (Veto
– อ่านว่า วีโต) แล้วส่งกลับไปให้ฝ่ายนิติบัญญัติอีกครั้ง
แต่หากฝ่ายนิติบัญญัติจะผลักดันให้ผ่านเป็นกฎหมายให้ได้ ก็จะต้องใช้เสียงรวมกันไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 และในขณะเดียวกัน หากประธานาธิบดีในฐานะฝ่ายบริหารที่จะต้องเป็นฝ่ายบังคับใช้กฎหมาย
เห็นว่ากฎหมายนั้นจะไม่สามารถกระทำได้ ก็จะสื่อสารกับประชาชนถึงจุดอ่อนของร่างกฎหมาย
และประชาชนก็จะต้องแสดงความเห็นของตนเองทั้งทางตรงและทางอ้อมไปยังผู้แทนของตน และในระหว่างนี้
ก็มักจะต้องมีการสื่อสารและต่อรองกัน
มีการติดต่อกันระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ
มีการต่อรองกันทั้งทางตรงหรือทางอ้อม
ประธานาธิบดีไม่สามารถจะลงนามรับรอง และประกาศใช้กฎหมายโดยไม่รับรู้
ไม่รับผิดชอบไม่ได้ และในทางปฏิบัติ ประธานาธิบดีจะต้องทำงานร่วมกับสภา (Congress)
ผ่านทางฝ่ายสภาในซีกพรรคของตนเอง และกับพรรคฝ่ายตรงกันข้าม ที่จะพัฒนาร่างกฎหมาย
เพราะการเมืองของสหรัฐอเมริกาเป็นระบบมีสองพรรคใหญ่ (Bipartisan อ่านว่า ไบพาร์ติซัน)
เกือบจะในทุกเรื่องที่ฝ่ายบริหารรัฐบาลกลางจะดำเนินการนั้น
ต้องมีกฎหมายรองรับ ประธานาธิบดีมีสิทธิใช้อำนาจเต็มตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
แต่ประธานาธิบดีไม่สามารถกระทำการใดๆที่ขัดต่อกฎหมาย และหรือเกินเลยจากที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ในอีกด้านหนึ่ง
ประชาธิปไตยสหรัฐอเมริกาของสหรัฐอเมริกามีฐานอยู่ที่รัฐธรรมนูญ (Constitution)
ที่ตั้งอยู่บนหลักของ 3 สาขา (Branches)
อิสระต่อกัน นั่นคือ หนึ่ง ฝ่ายนิติบัญญัติ (Legislative อ่านว่า ลีจิสเลทีฟ) อันได้แก่สภาผู้แทนราษฎร
และวุฒิสภา สอง ฝ่ายบริหาร (Executive อ่านว่า เอกเซคคูทีฟ)
คือประธานาธิบดีและคณะรัฐมนตรีที่ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
และสาม คือฝ่ายตุลาการ (Judiciary – อ่านว่า จูดิเชียรี) อันมีคณะศาลสูง
(Supreme court) ซึ่งเสนอแต่งตั้งโดยฝ่ายบริหาร
และต้องรับการตรวจสอบและความเห็นชอบโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญของไทย (Constitution
court – อ่านว่า คอนสติติวชั่น คอร์ท)จะทำหน้าที่คล้ายศาลสูงของสหรัฐ
เมื่อมีความไม่แน่ใจว่ากฎหมายที่จะออกมานั้นสอดคล้องหรือขัดกับหลักรัฐธรรมนูญหรือไม่
ก็ต้องมีการนำสู่การตีความโดยคณะตุลาการศาลสูง ซึ่งที่มาของคณะตุลาการศาลสูงนั้นมาจากผู้มีประสบการณ์หรือทรงความรู้ด้านกฎหมาย
ซึ่งต้องตัดสินใจตามตัวบทในรัฐธรรมนูญ
No comments:
Post a Comment