สังคมไทยยุค “พฤศจิกามหานกหวีด” (Whistle
blowers’ society)
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, governance, กฎหมายนิรโทษกรรม, Amnesty
bill, ทักษิณ ชินวัตร, Thaksin Shinawatra, ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, Yingluck Shinawatra, อารยะขัดขืน, civil disobedience, สังคมแห่งการสื่อสาร,
สื่อสังคม, social media, twitter, Facebook, Line, การเล่นพรรคเล่นพวก, nepotism
เพื่อนร่วมรุ่นศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์รุ่น
2504-2506 ท่านหนึ่ง เขียนมาถามผ่าน Line เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนกัน ผมจึงขออนุญาตตอบอย่างเปิดเลยครับ
กอบ – อยากจะทราบความคิดเห็นของนาย
เรื่อง คุณสมบัติของคนไทยที่เกี่ยวข้องกับความเห็นประโยชน์ชาติ
และทำอย่างไรจึงจะนำจุดแข็งที่เป็นคุณมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตอบสั้นๆเข้าใจได้นะ ขอบคุณ (14-11-2013)
ตอบ – คนไทยมีพื้นฐานจากสัมพันธภาพวงใน “จากเล็กไปหาใหญ่”
จากครอบครัว ไปสู่หมู่บ้าน ท้องถิ่น และเรื่องชาติเป็นอันดับสุดท้าย
การปลุกสำนึกรักชาติ จึงมักจะเกิดขึ้นในช่วงสงคราม และยามวิกฤติเท่านั้น ยามปกติ
เราก็กลับไปสู่สัมพันธภาพแบบเดิมของไทยเรา
ข้อเสียคือ คนไทยมักไม่เข้าใจการเล่นพรรคเล่นพวก
(Nepotism) การฝากลูกฝากหลานเข้าโรงเรียน เข้าทำงาน
นับเป็นเรื่องปกติ ทำกันโดยทั่วไป ใครไม่ทำถือว่าไม่รักพวก รักครอบครัว
แต่สำหรับฝรั่งตะวันตก จะเป็นสิ่งตรงกันข้าม เขาถือการเล่นพรรคเล่นพวก
โดยไม่ให้ความเป็นธรรมอย่างเสมอภาคเป็นสิ่งผิดระเบียบสังคม และในหลายกรณี
ผิดกฎหมาย
สังคมคอมมิวนิสต์
เป็นระบบที่ให้เห็นสัมพันธภาพจากส่วนใหญ่ คือ ชาติและสังคมโลก สำคัยกว่าส่วนย่อย ส่วนครอบครัวถือว่าเป็นส่วนเล็ก
ไม่ให้ความสำคัญ
แต่ในทัศนะของผม สังคมไทยมีคุณสมบัติที่ดีอย่างหนึ่ง
คือเป็นสังคมปรับตัวได้ดี (Adaptability) ยืดหยุ่นไม่ตายตัว
โดยเฉพาะในสังคมปัจจุบันที่เป็นสังคมเปลี่ยนผ่าน (Society in transition) ในยุครัชกาลที่ 4-5 เราเอาตัวรอดจากการเป็นเมืองขึ้นตะวันตก
ในสงครามโลกครั้งที่สอง เราอยู่รอดได้อย่างบอบช้ำน้อยที่สุด เพราะเป็นพันธมิตรกับมหาอำนาจญี่ปุ่น
และลับๆ เป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา
ในปัจจุบันเรากำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจาก “สังคมเล่นพวก”
และแบ่งขั้ว ไปสู่สังคมใหม่ที่ต้องยึดหลักนิติรัฐและนิติธรรม ต้องมีระบบการเมืองที่ยุติธรรม
แบ่งปันสำหรับทุกฝ่าย และโปร่งใส ผมเชื่อว่าช่วงการเปลี่ยนผ่านนี้จะไม่ยาว
เพราะสังคมไทยมีความสามารถในการปรับตัวเร็ว เมื่อเรามองเห็นปัญหา ช่วง “พฤศจิกามหานกหวีด”
(Whistle blowers’ Society) คือช่วงที่เราต้องปลุกให้คนไทยตื่น
และหันมาปฏิรูปสังคมและการเมืองอย่างจริงจัง และนั่นแหละเป็นเรื่องที่ทุกคน
ทุกฝ่ายต้องมีการปรับตัว
คำว่าเปลี่ยนอย่างไม่ช้านั้น
ผมหมายความว่าประมาณ 5-10 ปี ในช่วงเวลาดังกล่าว เราต้องสร้างคนรุ่นใหม่
ให้เขามีสำนึกของความเป็นประชากร (Citizenship) ที่ดี
ไม่ใช่เป็นเพียงคนดีของครอบครัว (Good man) แต่ต้องคนดีรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติด้วย
ภาพ การรณรงค์ ปลุกให้ตื่น กระจายตัวเองออกไปทั่วกรุงเทพฯ และทั้วประเทศ
ภาพ การรณรงค์หน้าศูนย์การค้า Platinum ประตูน้ำ 15 พฤศจิกายน 2556
ภาพ การนำของกลุ่มการเมือง จะเปลี่ยนไปสู่มือของสตรีมากขึ้น การต่อสู้ยุคใหม่ ไม่จำเป็นต้องใช้อาวุธ เพียงนกหวีดและธงชาติก็เป็นเครื่องมือที่ดีได้แล้ว
ภาพ ความสำคัญของการปลุกให้ตื่น คือต้องทำให้คนไม่หวาดกลัว ต้องเชื่อมั่นในตนเอง และเชื่อว่าเราเปลี่ยนแปลงสังคมได้
ภาพ เมื่อรณรงค์ในกรุงเทพนย่านศูนย์การค้า คนเดินขบวนก็แบ่งพื้นที่กับยานพาหนะที่สัญจรได้
ภาพ การรอเข้าคิวในการรับอาหารในช่วงการชุมนุม การดูแลปัดกวาดสถานที่ชุมนุม
No comments:
Post a Comment