ตัวอย่างอารยะขัดขืน (Civil
Disobedience)
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Keywords: การเมือง,
politics,
การปกครอง,
governance,
กฎหมายนิรโทษกรรม, Amnesty bill, ทักษิณ ชินวัตร, Thaksin Shinawatra, ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, Yingluck Shinawatra,
อารยะขัดขืน, civil disobedience, สังคมแห่งการสื่อสาร,
สื่อสังคม, social media, twitter, Facebook, Line
เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน
2556
ภาพ การเดินขบวนต่อต้านสงคราม ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี วันที่ 15 พฤศจิกายน 1969
วันนี้ในอดีต 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969
ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา คนกว่า 250,000 คน
จากทั่วประเทศได้รวมตัวกันเดินขบวนแสดงความไม่เห็นด้วยต่อสงครามเวียตนาม (Vietnam
War) นับเป็นการต่อสู้ทางความคิด
กับคนรุ่นพ่อในสงครามที่คนหนุ่มสาวไม่เห็นด้วย แต่ต้องถูกส่งให้ไปรบในสงครามในดินแดนที่ห่างไกลอย่างเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
เวียดนาม กัมพูชา และลาว
ผมเป็นคนรุ่นทารกสะพรั่ง (Babyboomers)
เกิดและเติบโตมาพร้อมกับคนรุ่นนี้ เมื่ออยู่อเมริกา
ก็พบกันเพื่อนๆชาวอเมริกันในรุ่นนี้ บางครั้งเขาต่อสู้อย่างสิ้นหวัง
มีบางคนถึงกับใช้ยาเสพติด LSD เพื่อหนีจากความเป็นจริง
กลายเป็นคนบ้า หนีการถูกเกณฑ์ไปรบในสงครามเวียดนาม ที่เขากลัว ไม่เห็นด้วย
และไม่ต้องการไปในสงครามที่อเมริกันเสียชีวิตไป 60,000 คน
บาดเจ็บกว่า 300,000 คน เศรษฐกิจพินาศ
ในประเทศไทยปี พ.ศ. 2556 "ปฏิวัติยุค Social Meida" ง่ายและอารยะกว่า
แต่ก็ซับซ้อนกว่า ในการต่อสู้ เราไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ เพียงแต่ทุกคนต้องตื่นขึ้น
แสวงหาข้อเท็จจริง อย่าหลงงมงายกับสื่อที่ถูกซื้อ
ใช้ช่องทางการสื่อสารที่รัฐบาลปิดกั้นไม่ได้ ดังเช่น Twitter, Facebook,
Line, ฯลฯ และใช้โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมหลากหลายช่องที่จะรับฟังข้อมูลที่ไม่ปิดกั้น
เมื่อมีความเห็นต่าง ก็นั่งพูดคุยกัน เริ่มจากในครอบครัว กลุ่มเพื่อน ห้องเรียน
โรงเรียน มหาวิทยาลัย ที่ทำงาน
คนสูงวัยรุ่นผม ต้องกล้าที่จะพูดความจริง
ไม่หลอกตัวเอง ไม่มีแรงพูดก็เขียนเอา แต่คนรุ่นลูกรุ่นหลาน
ก็ต้องพร้อมที่จะเปิดใจรับฟัง และไปเห็นข้อเท็จจริงด้วยตนเอง แล้วสักวัน
เราจะได้สังคมใหม่ ที่เป็นธรรม สันติสุข
และเป็นแผ่นดินที่เราทุกคนร่วมมีความภาคภูมิใจ
No comments:
Post a Comment