Tuesday, November 5, 2013
ยอมซะที่ไหน - กฏหมายนิรโทษกรรม สุดซอย
ยอมซะที่ไหน - กฏหมายนิรโทษกรรม สุดซอย
โพสต์ทูเดย์, 06 พฤศจิกายน 2556 เวลา 08:21 น. |เปิดอ่าน 848
Keywords: การเมือง, การปกครอง, นิรโทษกรรม, amnesty bill, นิรโทษฯสุดซอย, โพสต์ทูเดย์
โดย...สันทัด กรณี
ผมภาวนาครับ ภาวนาให้คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สำเหนียกถึงพลังของประชาชนในการต่อต้านการลบล้างความผิดคดีทุจริตคอร์รัปชั่นทุกคดีให้กับคุณทักษิณ ชินวัตร ผ่านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมยกเข่ง
พลังประชาชนที่ทำให้ คุณยิ่งลักษณ์ หลังชนซอยจนต้องยอมออกมาแถลงทะแม่งๆ เกี่ยวกับท่าทีของรัฐบาลต่อร่างกฎหมายฉบับนี้ เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง บางท่านอาจคิดว่าเป็นชัยชนะของประชาชน แต่ผมไม่คิดว่าเป็นเช่นนั้น
อยากให้กลับไปอ่านคำแถลงการณ์ ชนิดอ่านเอาเรื่อง อ่านความระหว่างบรรทัดที่คุณยิ่งลักษณ์นำมาอ่านให้ฟัง ผมเองอ่านอยู่หลายรอบ ยิ่งอ่านยิ่งเกิดความชื่นชมต่อทีมงานที่ร่างแถลงการณ์ฉบับนี้
เหมือนรัฐบาลในระบอบทักษิณ ยอมถอย ตาไม่ถอย เหมือนยอมฟังเสียงประชาชนที่รวมพลังกลายเป็นม็อบธรรมชาติออกมาต่อต้าน แต่ไม่ใช่
ครับ...ทีมงานที่ร่างแถลงการณ์ฉบับนี้ให้คุณยิ่งลักษณ์ ซึ่งเชื่อว่าผ่านการยินยอมจากคุณทักษิณ มีฝีมือในการซ่อนคำงำประกายอย่างยิ่ง เหมือนถอย แต่เป็นการตั้งรับ เพื่อแสวงหาเวลาตอบโต้
ทั้งหมดทั้งปวงเป็นเพียงการปรับยุทธวิธี โดยคงไว้ซึ่งยุทธศาสตร์ในการฟอกตัวล้างคดีให้คุณทักษิณ ด้วยการพยายามชี้นำให้ทุกคนทุกฝ่ายเสียสละให้อภัยเพื่อให้ประเทศเกิดความปรองดองและเดินหน้าต่อไปได้
“หากจะให้บ้านเมืองสงบ การให้อภัยนั้น ก็ต้องปราศจากอคติ ไม่ใช้อารมณ์ และเปิดใจกว้างให้ทุกฝ่ายของความขัดแย้ง ได้มีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ซึ่งดิฉันเข้าใจว่า หลายๆ อย่างเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่เราต้องคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าความเจ็บปวดส่วนตน”
ประโยคนี้ สื่อถึงคนเสื้อแดงที่เริ่มถอยห่าง
“ที่สำคัญมีความพยายามที่จะบิดเบือนว่า กฎหมายจะกลบเกลื่อนการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งก็เป็นคนละประเด็นกับพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ซึ่งพระราชบัญญัตินี้เป็นกฎหมายที่ยกเลิกให้ผู้ที่ได้รับผลพวงจากทางการเมือง การรัฐประหารที่ไม่อยู่ในหลักของนิติธรรม รวมทั้งผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน”
ประโยคนี้ ถ้าใส่ชื่อคุณทักษิณ ชินวัตร เข้าไปจะสมบูรณ์มากและบิดเบือนในข้อเท็จจริงอย่างไม่ละอาย
ครับ...ขอตบท้ายด้วยแถลงของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ดังนี้
ถ้าร่างกฎหมายนิรโทษกรรมยกเข่งมีผลบังคับใช้ คดีทุจริตที่ผ่านมือ คตส. 24 เรื่อง รวมทั้งเรื่องกล่าวหาที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ดำเนินการไต่สวนตามอำนาจหน้าที่ จำนวน 25,331 เรื่อง เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับสูง 400 เรื่อง และเจ้าหน้าที่ของรัฐทั่วไป จำนวน 24,931 เรื่อง ในจำนวนนี้เป็นเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดจำนวน 666 เรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องกล่าวหาเกี่ยวกับการทุจริตจะเป็นอันต้องระงับสิ้นไป และเรื่องที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วให้ถือว่าไม่เคยต้องมีคำพิพากษาดังกล่าว เนื่องจากผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
กระจ่างไหมครับทุกๆ ท่าน กิ้วๆๆๆ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment