การเรียนรู้ความจริงและสมานฉันท์ (Truth
& Reconciliation) จากค่ายกักกันเอาชวิทซ์
Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, governance, ความจริงและการสมานฉันท์,
อาชญกรสงคราม, war criminal, การเรียนรู้ความจริง
และสมานฉันท์ (Truth & Reconciliation), ค่ายกักกันเอาชวิทซ์-เบียร์เคเนา,
Auschwitz concentration camp, Auschwitz-Birkenau
ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
ภาพ ค่ายกักกันเอาชวิทซ์-เบียร์เคเนา (Auschwitz concentration camp หรือ Auschwitz-Birkenau)
ความนำ
ความเป็นจริง (Truth) เป็นสิ่งที่มักขมขื่นและคนอยากลืมเสีย
แต่การลืมข้อเท็จจริง หรือปล่อยประไม่ทำความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น
ท้ายสุดสิ่งเลวร้ายเหล่านั้น หรือความรุนแรงที่ไม่อยากให้เกิด
ก็จะย้อนกลับมาเกิดขึ้นใหม่ได้อีก และอาจรุนแรงกว่าเดิม
ความสมานฉันท์ (Reconciliation) กระทำได้ ให้การอภัยโทษได้ (Amnesty) แต่นั่นต้องมีการทำความจริงให้กระจ่างเสียก่อน
และตามหลักนั้น คือผู้ถูกกระทำให้อภัยต่อจำเลยหรือผู้กระทำ
ค่ายกักกันเอาชวิทซ์
ในประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สอง ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ หรือ ค่ายกักกันเอาชวิทซ์-เบียร์เคเนา(อังกฤษ: Auschwitz
concentration camp หรือ Auschwitz-Birkenau)
เป็นค่ายกักกันและค่ายมรณะที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาค่ายกักกันของนาซีของนาซีเยอรมนีที่ทำการระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ในปัจจุบัน ทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเยาวชนเยอรมัน
ชาวเยอรมัน และคนทั่วโลก มันน่าสะพรึงกลัว ดูเหมือนน่าอับอายสำหรับชาวเยอรมันรุ่นหลังที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความโหดร้ายของสงครามโลกครั้งที่สองโดยตรง แต่ค่ายนี้ก็ยังมีการเก็บรักษาไว้
เพื่อทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์
ชื่อของค่ายกักกันมาจากชื่อของเมือง "ออชเฟียนชิม"
(Oświęcim) หลังจากการบุกครองโปแลนด์ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 ออชเฟียนชิมของโปแลนด์ก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนาซีเยอรมนีและเปลี่ยนชื่อเป็นเอาชวิทซ์
(Auschwitz) ซึ่งเป็นชื่อในภาษาเยอรมัน ส่วนเบียร์เคเนา (Birkenau) เป็นชื่อในภาษาเยอรมันที่แผลงมาจาก "บเจชิงคา"
(Brzezinka, ต้นเบิร์ช)
ซึ่งเป็นชื่อหมู่บ้านเล็ก ๆ
ไม่ไกลนักที่ต่อมาถูกเยอรมนีทำลายเกือบทั้งหมด
ผู้บังคับบัญชาการของค่ายรูดอล์ฟ เฮิสส์ (Rudolf Höss) ให้การในการพิจารณาคดีที่นูเรมเบิร์ก (Nuremberg Trials) ว่าประชากรถึงราว
3 ล้านคนเสียชีวิตที่ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ แต่พิพิธภัณฑ์แห่งรัฐเอาชวิทซ์-เบียร์เคเนาปรับตัวเลขเป็น 1.1 ล้านคน ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ถูกสังหารเป็นชาวยิวจากเกือบทุกประเทศในยุโรป ผู้ประสบชะตากรรมเกือบทั้งหมดถูกสังหารในห้องรมก๊าซโดยใช้ก๊าซ Zyklon B การเสียชีวิตอื่นมาจากความอดอยาก
การบังคับใช้แรงงาน การขาดการดูแลทางสุขภาพ การถูกสังหารตัวต่อตัว และ “การทดลองทางแพทย์”
ความจริงและการสมานฉันท์
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
อาชญากรที่มีส่วนนำในการจัดการค่ายกักกันนี้ถูกตามล่าตัวมาขึ้นศาลจนถึงที่สุด
และรับโทษทั้งประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต ส่วนโทษระดับผู้ใต้บังคับบัญชาที่ทำตามคำสั่งก็ได้รับโทษที่ลดหลั่นกันลงมา
หรืออภัยโทษ
บทเรียนนี้คือ
ความผิดอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเป็นสิ่งให้อภัยไม่ได้โดยสากล ตามหลัก
ผิดที่ไหนในประเทศอะไร ก็ต้องถูกนำตัวมาพิจารณาความผิดและได้รับการลงโทษ
บทเรียนประเทศไทย
ในประเทศไทยเรา ความไม่สงบทางการเมืองช่วงเดือนเมษายน
พ.ศ. 2552 จนถึงเหตุการณ์ยุติเมื่อมีการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553 มีผู้เสียชีวิตกว่า
90 คน บาดเจ็บอีกนับพันคน สิ่งที่ยังมีความกังขา คือ
ใครมีส่วนร่วมทำให้เกิดความรุนแรงที่มีผู้เสียชีวิต ทั้งประชาชนที่เข้าร่วมการชุมนุม
ทหาร ตำรวจ ใครคือคนสั่งการทั้งทางตรง คือสั่งการตามอำนาจหน้าที่ และทางอ้อมหรืออยู่เบื้องหลัง
ใครเป็นส่วนผลักดันให้เกิดการใช้ความรุนแรง การใช้อาวุธสังหาร ใครสั่งการ
ใครคือชายในชุดดำที่ใช้อาวุธในการต่อสู้กับทหารและตำรวจ
สิ่งที่ทำได้คือปล่อยให้กระบวนยุติธรรมได้ทำหน้าที่สืบสวนสอบสวน และนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ
โดยให้ได้ความชัดเจนที่สุดตามกระบวนการศาล ส่วนการพิจารณาอภัยโทษนั้น
ก็จะสามารถเริ่มได้จากโทษเบา ส่วนความผิดระดับอาชญากรรมรุนแรง การฆ่า
การใช้อาวุธสงคราม ก็ต้องได้รับการพิจารณาและตัดสินลงโทษไปตามความหนักเบา ส่วนกระบวนการอภัยโทษนั้น
ก็สามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีการกลั่นกรอง แต่ต้องไม่ใช่กระบวนการ “นิรโทษกรรมแบบเหมายกเข่ง”
ซึ่งรวมไปถึงการทุจริตคอรัปชั่นและอาชญากรรม
No comments:
Post a Comment