การเสียชีวิตของอีริค
การ์เนอร์ (Death of Eric
Garner)
Updated: Monday, December 08, 2014
Keywords: กิจการตำรวจ, กระทรวงยุติธรรม,
สหรัฐอเมริกา, USA, เมืองนิวยอร์ค,
New York City, NYC, กรมตำรวจนิวยอร์ค, NYPC, อีริค การ์เนอร์ (Death of Eric Garner) Daniel Pantaleo, Justin Damico
ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the
free encyclopedia
การเสียชีวิตของอีริค
การ์เนอร์ (Death of Eric
Garner)
|
เวลา
Time
|
|
วันที่
Date
|
July 17, 2014
|
สถานที่
Location
|
|
สาเหตุ
Cause
|
การรัดคอทำให้ขาดอากาศหายใจจนหมดสติ
Compression of neck (chokehold), compression of chest and prone
positioning during physical restraint by police [1]
|
รายงานครั้งแรก
First reporter
|
|
บันทึกภาพโดย
Filmed by
|
|
ผู้มีส่วนร่วม
Participants
|
เจ้าหน้าที่ตำรวจเมืองนิวยอร์คสองนาย
Daniel Pantaleo and Justin Damico ( NYPD officers)
|
ผล
Outcome
|
|
การเสียชีวิต
Deaths
|
1
|
ผลการดำเนินคดี
Litigation
|
ครอบครัวของ Garner ฟ้องค่าเสียหายกรมตำรวจเมืองนิวยอร์ค
75 ล้านเหรียญ หรือ 2400 ล้านบาท
$75 million lawsuit filed by Garner's family against New York City,
the New York City Police Department (NYPD),
and six NYPD officers [5]
|
ในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2014
อีริค การ์เนอร์ (Eric Garner) ชายผิวดำ
ร่างอ้วนและสูงใหญ่ เสียชีวิตที่ชุมชน Tompkinsville ในเขต Staten Island ของมหานครนิวยอร์ค (New
York City – NYC) หลังจากที่เจ้าหน้าที่เข้าบังคับควบคุมตัว
แล้วใช้วิธีล๊อคคอ (Chokehold) นายอีริค การ์เนอร์เป็นเวลา 19
วินาที การจับกุมด้วยการล๊อคคอนี้ถูกห้ามใช้โดยกรมตำรวจนิวยอร์ค (New York City Police Department - NYPD) เนื่องจากเป็นวิธีอันตรายถึงชีวิตได้
ภาพ Eric Garner ก่อนถูกจับกุม ล๊อคคอและเสียชีวิต
ดูวิดิโอคลิปได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=g-xHqf1BVE4
การ์เนอร์ถูกเรียกตรวจโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ Justin Damico ด้วยสงสัยว่าจะขายบุหรี่หนึ่งมวนแกะจากซองที่ไม่ได้ติดแสตมป์เสียภาษีตามกฎหมาย
ซึ่งเขาเรียกกันว่า “Loosies” หลังจากการ์เนอร์บ่นกับเจ้าหน้าที่ว่าเขาเบื่อที่ถูกตามรบกวนในการขายบุหรี่
เจ้าหน้าที่ได้รุกเข้าจับกุม ล๊อคคอดังที่เห็นในวิดิโอ
A loose cigarette or "loosie" is a single
cigarette purchased at the store for usually between 10 cents to a quarter.
Loose cigarette or
"loosie บุหรี่แกะซองขายที่ละมวนจากซองที่ไม่ติดสแตมป์เสียภาษี
มวนละ 10 เซนต์หรือ 25 เซนต์ในสหรัฐอเมริกา
หรือมวนละ 8 บาท
ในทัศนะเจ้าหน้าที่ตำรวจของบางเขตที่บุหรี่ต้องเสียภาษีหนัก แต่บางเขตหรือบางรัฐไม่ต้องเสียภาษี
จึงทำให้เกิดปัญหาทางกฎหมายและการบังคับใช้ แต่ก็ต้องจัดว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมายเล็กน้อย
กระทำการโดยคนยากจนที่อาจจะดีกว่าขอทานสักเล็กน้อย
เจ้าหน้าที่ตำรวจแดเนียล แพนเทลิโอ (Daniel Pantaleo) ซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุได้เข้าทางด้านหลังของการ์เนอร์ซึ่งตัวใหญ่มาก
แล้วล๊อคคอ เหตุการณ์เหล่านี้ถูกบันทึกวิดิโอแล้วถูกส่งต่อไปในสื่อสังคม
ขณะที่การ์เนอร์นอนคว่ำหน้าอยู่กับพื้นได้ร้องบอกถึง 11 ครั้งว่าหายใจไม่ออก
แต่ในที่สุดการ์เนอร์ถูกส่งไปโรงพยาบาลและในอีก 1 ชั่วโมงต่อมาได้มีการประกาศว่าเสียชีวิตแล้ว
หลังเหตุการณ์แพทย์พิสูจน์ศพได้สรุปว่าการ์เนอร์ได้เสียชีวิตด้วยการถูกล๊อคคอ (Chokehold) และถูกลัดตัวอยู่ยาวนาน (Prone
positioning) ในระหว่างการจับกุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ประกอบกับการ์เนอร์ป่วยเป็นโรคหอบหืด (Bronchial asthma) โรคหัวใจ
(Heart disease) โรคอ้วน (Obesity) โรคหลอดเลือดและหัวใจตีบตัน
(Hypertensive
cardiovascular disease) หลังการเสียชีวิต ผู้ช่วยพยาบาลเหตุฉุกเฉิน (EMTs &
paramedics) ที่ไปรับตัวผู้ป่วยสู่โรงพยาบาลถูกสั่งพักงานโดยไม่ได้รับเงินเดือนในวันที่
21 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 เจ้าหน้าที่สองคน คือ ดามิโกและแพนเทลิโอ (Damico & Pantaleo) ถูกให้หยุดงานออกตรวจพื้นที่และให้นั่งอยู่โต๊ะทำงาน
แพนเทลิโอถูกยืดปื่นและตราเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ในวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 2014
คณะลูกขุนได้ตัดสินว่าเจ้าหน้าที่แพนเทลิโอไม่มีความผิด
ซึ่งฝืนความรู้สึกของประชาชนทั่วประเทศ
ทำให้เกิดการชุมนุมประท้วงขึ้นหลายจุดในประเทศ
กล่าวหาเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุ (Police brutality)
อัยการสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา นายอีริค
โฮลเดอร์ (Attorney General Eric Holder) ได้ประกาศว่ากระทรวงยุติธรรมจะทำที่โดยเดินทางไปศึกษาอย่างละเอียดและอิสระอีกครั้ง
และฝ่ายที่ติดตามเรื่องสิทธิมนุษยชนจะเข้าไปศึกษากรณีอย่างใกล้ชิดอีกครั้ง
ภาพ การเดินขบวนใหญ่ทั่วเมืองใหญ่ในสหรัฐอเมริกา แต่ส่วนใหญ่เป็นไปโดยสงบ
ความคิดเห็นต่อกรณีปัญหาเรื่องสีผิวและความยากจนในสหรัฐอเมริกา
ประมวลจาก Facebook, Pracob Cooparat -
Pracob Cooparat > ในสหรัฐอเมริกา
ขับรถแล้วถูกตำรวจเรียกให้หยุด อย่าลงจากรถจนกว่าได้รับคำสั่ง ถ้าลงจากรถ
เขาจะเข้าใจว่าหนีการจับกุมหรือคิดต่อสู้
ในยามวิกาล อย่าไปเคาะประตูบ้านคน
โดยเฉพาะคนสูงอายุ เพราะเขากลัวจะถูกจี้หรือทำร้าย จึงมักเตรียมอาวุธตอบโต้ มีคนถูกยิงตายหน้าประตูบ้านหลายรายแล้ว
โดยเฉพาะคนผิวดำและชนกลุ่มน้อยอื่นๆ
December 8 at 3:30pm
กุลธร เบิ้ม > เหตุการบานปลายเป็นเดินขบวนกันทั่วประเทศ
ผมมีความเห็นว่าเที่ยวนี้ตำรวจ"ซวย"
ถ้าดูให้ดีจะเห็นว่าตำรวจมากันหลายคนเป็นทีม เพื่อมาจับตัวเจ้าหมอคนนี้คนเดียว น่าจะเตรียมกันมาด้วยเหตุผลบางอย่าง
คนตัวใหญ่ๆอย่างนี้ถ้าแข็งแรงดี ตำรวจจิ๋วๆ 4-5 คนที่เห็นเอาไม่อยู่หรอกครับ
มีวิธีเดียวคือต้องล๊อกคอ ล๊อกคอ 19 วินาทีไม่น่าตายหรอกครับ อีกอย่างคือ
คนที่ยังสามารถบอกว่า หายใจไม่ออก หายใจไม่ออก จนตำรวจปล่อยมือแล้วก็ยังพูดอยู่ แสดงว่ายังหายใจออกอยู่
ถา้ไม่เชื่อลองวิ่งด้วยตัวเองดู ช่วงแรกๆจะพูดได้เป็นประโยค
พอเหนื่อยขึ้นก็จะพูดได้เป็นประโยคสั้นๆ แล้วต่อมาก็พูดได้เป็นคำๆ
แล้วพอเหนื่อยหายใจไม่ทันจะพูดไม่ออก ตานี้กลับไปดูผลการชันสูตรศพ
พบว่าคนนี้มีอาการของโรคมากมายหลายอย่างรวมถึงโรคหัวใจด้วย
การตายไม่น่าจะเป็นจากการถูกตำรวจล๊อกคอโดยตรง
แต่ในทางอ้อมอาจทำให้โรคหัวใจหรือโรคอื่นกำเริบทำให้หายใจลำบากจนถึงขั้นตายได้เพราะการล๊อกคอ
ลองกลั้นใจดู 20 วินาทีนะครับ ............
ตายไหมครับ
December 8 at 4:03pm
Thai Hrd > คนผิวขาวในสหรัฐฯไม่น้อยที่ยังมีความรู้สึกเยียดผิวอยู่
จึงทำให้มองคนผิวสีอื่นไปในทางลบเป็นส่วนใหญ่ ไม่เฉพาะคนผิวดำเท่านั้น
ผิวเหลืองก็โดนด้วย
December 8 at 4:18pm
· Edited
กุลธร เบิ้ม > ผิวเหลืองโดนน้อยหน่อยครับ
แต่ถ้าไปอยู่อเมริกาแถบเหนือๆ หรือตะวันออกแล้ว พวกผิวดำก็น่าเหยียดอยู่พอควร
เขารวมกันเป็นกลุ่ม พูดภาษา(แสลง)ของเขาฟังไม่ออก ทำตัวแปลกๆ แต่พอแตกกลุ่มออกมาก็
ok แต่ทางใต้คนผิวดำดี ไม่น่าเหยียดผิวเลย
December 8 at 4:29pm
· Like
Arom Chanuanjit > ปี 1976 รถยางแตกอยู่แถว Houston
หน้าหนาว รถคนขาวผ่านไปคันแล้วคันเล่า จำได้ว่าคนที่ลงมาช่วยคือคนมืดหนึ่งครอบครัว
ช่วยเสร็จยังมอบเสบียงให้อีกเห็นพวกเราเป็นนักศึกษา
จึงประทับใจน้ำใจพวกเขาไม่เคยลืมจนบัดนี้
December 8 at 8:07pm
กุลธร เบิ้ม > Houston ก็ค่อนข้างใต้แล้วแต่เป็น
Texas เจริญหน่อย
December 8 at 11:23pm
Prasit Yamali > เรื่องสีผิวในอเมริกายังอยู่ในลักษณะที่แตกต่าง
ไปทั้งในแง่บวกและลบเหมือนที่เบิ้มเขียน ที่ Cincinnati
คนผิวขาวผิวดำแยกกันอยู่คนละ zone เลย
และไม่ยุ่งซึงกันและกัน
แต่ไม่เป็นศัตรูกันเนื่องจากในอดีตเมืองนี้เคยมีปัญหาเรื่องผิวอย่างรุนแรงเป็น 10
ปี เลยมาตกลงกันว่าจะไม่ยุ่งซึ่งกันและกัน และแบ่ง zone กันอยู่
เมืองนี้จะมีรถเมล์เฉพาะ zone ผิวดำ
เพราะคนผิวขาวมีรถยนส่วนตัว ครั้งหนึ่งเข้าไปร้าน McDonald ใกล้มหาวิทยาลัย
ซึ่งชายแดนของคนผิวดำ แทบทุกคนมีอัธยาศัยดีทักทายพวกเรา(non white) อย่างดี ทั้งไม่รูจักกัน แต่คนผิวขาวและผิวดำไม่ทักทายกัน คนผิวขาวไปซื้อ
พนักงานผิวดำก็ขายให้ตามปกติ คนผิวดำและผิวขาวดีกับพวกเรา (Non white) ทั้งสองกลุ่มเป็นคนดี ยกเว้นกลุ่มเล็กๆของวัยรุ่นและพวกมีปัญหาทางเศรษฐกิจ
ที่น่าเสียดายก็คือเมือง Cincinnati สวยมาก แต่ตึกอาคารย่านผิวดำโทรมขาดการดูแล คนผิวดำท่ีเป็นเศรษฐี
(นักกีฬาอาชีพ) มีบ้านอยู่ย่านเศรษฐีผิวขาวก็มไมมีปัญหาอะไร
December 9 at 12:48am