Thursday, December 24, 2015

ฝูงหมาป่า (Wolf Pack) ในวนอุทธยานในสหรัฐเมริกา

ฝูงหมาป่า (Wolf Pack) ในวนอุทธยานในสหรัฐเมริกา

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: ความเป็นผู้นำ, leadership, ผู้สูงวัย, elders, สัตว์สังคม, social animal, หมาป่า, Wolves, wolf, ฝูงหมาป่า, wolf pack

หมาป่าอยู่เป็นฝูงในทวีปอเมริกาเหนือ ดังในแถบวนอุทยาน Yellow Stones ซึ่งช่วงฤดูหนาว ก็จะหนาวจัด จะดำรงชีวิตได้ ก็ต้องไล่ล่าล้มสัตว์ใหญ่และเล็กมาเป็นอาหาร


ภาพ การเคลื่อนย้ายของฝูมหมาป่า (Wolf pack)


ภาพ หมาป่าเป็นสัตว์สังคม อยู่รวมกันเป็นฝูง แต่ละตัวระดับการเป็นผู้มีอำนาจในฝูงที่ต่างกันตามลำดับ ตัวอ่อนแอกว่าต้องยมอรับตัวที่แข็งแรงกว่า

หมาป่าดำรงชีวิตอยู่ได้เป็นสังคม อยู่เป็นฝูง มีตัวเป็นหัวหน้า ซึ่งต้องพิสูจน์ตัวเองชนะตัวอื่นๆที่ท้าทายความเป็นตัวนำ หัวหน้าต้องมีผู้ตาม แต่ทุกตัวต้องทำหน้าที่ ไม่ว่าหัวหน้า ลูกน้อง ตัวหนุ่มสาว หรือตัวสูงวัย ทั้งฝูงต้องร่วมกันล้มสัตว์ใหญ่ได้สักตัว ก็จะได้กินกันทั้งฝูง

ในรูปแบบการเคลื่อนขบวนของฝูง (Wolf pack) ย้ายถิ่นฐานเพื่อหาแหล่งอาหารใหม่ ตัวนำ 3 ตัวแรก ดังที่เห็นในภาพ เป็นหมาสูงวัย เมื่อมีการเคลื่อนย้ายฝูง เป็นกลุ่มนำหน้า เพราะไม่แข็งแรงหรือเร็วเท่ากับหมาหนุ่มสาว แต่เวลาถูกดักทำร้ายด้วยหมียักษ์หรือฝูงหมาป่าอื่น ก็จะเป็นกลุ่มแรกที่จะต้องเป็นตัวปะทะ ได้รับอันตรายก่อนเขา แต่ทำให้ฝูงที่จะตามมาได้เตรียมตัวทัน แต่ขณะเดียวกัน หากตัวสูงวัยต้องไปอยู่ท้ายฝูง ก็อาจช้าและหลุดหลงฝูง ทำให้ได้รับอันตรายหรืออดตายได้

ส่วนที่วิ่งตามมาในระดับกลางๆ คือกลุ่มที่เป็นตัวเข้าต่อสู้จริง หากเปรียบกับกองทัพก็จะเป็นเหมือนทัพหลวง

ส่วนตัวหัวหน้าจริงอยู่ท้ายสุดของฝูง จะเป็นตัวสั่งการ การจะสั่งเข้าสู้ จะไปทางซ้ายหรือขวา หรือจะต้อนแยกฝูงกวางหรือควายป่าอย่างไร ต้องมีการนำจากตัวหัวหน้า ตัวหัวหน้าวิ่งคุมท้ายฝูง เพราะเร็วพอ แข็งแรงพอ มั่นใจได้ว่าจะไม่หลุดจากฝูง และจะทำหน้าที่ดูอันตรายจากส่วนท้าย

ย้อนมาคิดถึงชีวิตผู้คนในสังคม การดำรงชีวิตก็คือการต้องทำงาน มีงานอย่างใดอย่างหนึ่งทำ แม้เป็นงานที่ไม่มีรายได้มากมาย แต่ก็เป็นความจำเป็นในการดำรงชีวิต คนสูงวัยไม่ต้องทำงานเหมือนคนหนุ่มสาว ไม่ต้องวิ่งอย่างเต็มกำลัง วิ่งไปตามระดับความสามารถของร่างกาย


เมื่อผมเข้าสู่ความเป็นคนสูงวัย มองภาพตัวเองเหมือนหมาป่า 3 ตัวแรกนี้ ผมไม่ได้เป็นห่วงว่าจะตายเร็วหรือตายช้า แต่อยากจะมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า มีความหมาย มีอะไรที่เราจะทำได้และเป็นประโยชน์ก็อยากทำ หากการจะดำรงชีวิตอยู่ ต้องเป็นภาระมากมายแก่คนรุ่นหลัง ต้องมีค่ารักษาพยาบาลมากมาย ทำให้เรามีชีวิตยืนยาวออกไปได้อีกสักระยะ แต่ก็เป็นไปอย่างไม่มีคุณภาพชีวิต อย่างนี้ก็อยากจะสละโอกาสในการรักษาพยาบาลให้กับคนอื่นๆที่เขาต้องการบริการนี้มากกว่า

สุภาษิตเยอรมัน – ของถูกสุดมักจะเป็นของที่แพงที่สุด

สุภาษิตเยอรมัน – ของถูกสุดมักจะเป็นของที่แพงที่สุด

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: สุภาษิต, Proverbs, เยอรมัน, German, Germany, คุณภาพ, quality, ราคา, price
มีสุภาษิตเยอรมันบทหนึ่งกล่าวว่า “Das Billige ist immer das Teuerste.” ตรงกับความหมายในภาษาอังกฤษว่า ““The cheapest is always the most expensive.” หรือแปลเป็นไทยได้ว่า “ของที่ถูกที่สุด คือของที่แพงที่สุด”


ภาพ รถยนต์โฟล์คสวาเกนแบบสองประตู นั่งได้ 4 คน ติดตั้งเครื่องด้านหลัง ใช้ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ ตัดปัญหาหม้อน้ำที่น้ำมักแข็งตัวในช่วงฤดูหนาว



ภาพ รถ VW Beetle รุ่น 2016 รูปทรงยังคงเดิม แต่เทคโนโลยีได้เปลี่ยนไปตามกาลเวลา แต่แฟนๆของ VW ยังคงยึดมั่นในแบรนด์ของ VW อย่างเหนียวแน่น แม้ราคาจะไม่ใช่รถยนต์ราคาประหยัดอีกต่อไป

ในขณะที่สินค้ายามเริ่มแรกของประเทศเมื่อกำลังพัฒนา อย่างญี่ปุ่นหลังสงครามโลก มักจะเน้นการผลิตสินค้าราคาถูกเพื่อการส่งออก หาเงินที่หายากเข้าประเทศ เกาหลีใต้หลังฟื้นตัวจากสงครามเกาหลี และจีนหลังเปิดประเทศสู่ระบอบการค้าเสรี ประเทศเหล่านี้มักดำเนินนโยบายที่คล้ายกัน คือใช้นโยบาย ทำให้สินค้าราคาถูกกว่าเขาไว้ก่อน ดังเช่นรถยนต์นิสสัน หรือดัทสัน (Datsun) ของญี่ปุ่นในระยะแรก คือออกตัวสู่ตลาดได้ด้วยทำให้สินค้าราคาถูก ถูกกว่ารถยนต์จากตะวันตกแบบ ซื้อรถยุโรป 1 คัน ซื้อรถญี่ปุ่นมาทำแทกซี่ได้ 4-5 คัน แต่นั่นเป็นระยะเริ่มแรก ที่ผู้เข้าสู่ตลาดที่เขามีระบบเดิมอยู่แล้ว ก็ต้องทำสินค้าให้ถูกกว่าเข้าไว้ แต่ต่อมาเมื่อเขาตั้งตัวติด ก็ต้องหันมาผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงขึ้น เป็นที่ไว้ใจในตลาดโลก และก็สามารถตั้งราคาแข่งขันที่สูงขึ้นได้

ในอีกด้านหนึ่ง คิดแบบเยอรมัน คือต้องทำสินค้านั้นๆให้ได้ดีก่อน ต้องมีการลงทุนวิจัยและพัฒนาจนมั่นใจว่าสินค้าของตนนั้นจะแข็งแรงทนทาน และแม้จะต้องผลิตขึ้นมาด้วยต้นทุนและราคาขายที่สูงกว่าเขาอื่น สินค้าจากเยอรมันจะเน้นคุณภาพ ความทนทานเสมอ แม้ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เศรษฐกิจย่ำแย่ แต่เยอรมันก็ยังเน้นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ตัวอย่างเช่น รถยนต์โฟล์คเต่า (VW Beetles) เจตนาผลิตให้เป็นรถราคาประหยัด เป็นรถมหาชน แต่ก็ไว้ลาย ผลิตออกมาอย่างมีคุณภาพสูง เป็นรถที่เรียบง่าย ไม่ใช้หม้อน้ำ มีปัญหาจุกจิกในการดูแลน้อยมาก แต่เพราะผลิตอย่างมีคุณภาพนี้เอง แม้ราคาจะสูงกว่าสินค้าที่ผลิตโดยประเทศที่มีสินค้าถูกกว่า แต่รถของเยอรมันก็ขายได้ดี หลักคิดแบบเยอรมัน คือ ทำสินค้าให้มีคุณภาพ ใช้แล้วไม่มีปัญหาจุกจิก เมื่อต้องซ่อมแซม เขาจะคิดถึงระบบบริการอะไหล่ และบริการหลังการขายควบคู่ไปด้วย

สุภาษิตเยอรมันที่ว่า – ของถูกสุดมักจะเป็นของที่แพงที่สุด ยกตัวอย่างนาฬิกาหรือเสื้อผ้า มีเป็นอันมากที่ซื้อมาเพราะมันราคาถูก แต่แล้วก็ไม่ได้ใส่ หรือใส่เพียงครั้งสองครั้งก็ทิ้งไป ในกรณีนาฬิกา ราคาเรือนละไม่กี่ร้อยบาท แต่แล้วก็เสียแบบซ่อมไม่ได้ แล้วก็ทิ้งไป

Tuesday, December 22, 2015

รถไฟฟ้าไร้คนขับของกูเกิล (Google Self-Driving Car)

 รถไฟฟ้าไร้คนขับของกูเกิล (Google Self-Driving Car)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat

แปลและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: พลังงานทางเลือก, เทคโนโลยี, การเดินทางขนส่ง, รถยนต์ไฟฟ้า, electric car, EV, รถไฟฟ้าไร้คนขับของกูเกิล, Google Self-Driving Car


ภาพ รถยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับของ Google ชนาดเล็ก นั่งได้ 2 คน


ภาพ รถยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับใช้ในกิจการของ Google ดัดแปลงจากรถยนต์ไฟฟ้าลูกปผรม Toyota Prius

รถไฟฟ้าไร้คนขับของกูเกิล (Google Self-Driving Car) มีชื่อเรียกย่อๆว่า SDC เป็นโครงการของ Google ซึ่งอยู่ในช่วงของการพัฒนารถยนต์อัตโนมัติ (Autonomous cars) โดยหลักแล้วใช้รถยนต์ไฟฟ้า (Electric cars) โดยมีโปรแกรมควบคุมพัฒนาโดย Google เรียกว่า Google Chauffeur เป็นป่ายติดรถในโครงการทุกคัน โครงการนี้นำโดย Sebastian Thrun อดีตหัวหน้าโครงการห้องทดลองปัญญาประดิษฐ์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford Artificial Intelligence Laboratory and co-inventor)

โครงการได้รับเงินทุนเบื้องต้น USD2 ล้านจากรางวัลชนะเลิศ 2005 DARPA Grand Challenge กระทรวงป้องกันประเทศของรัฐบาลสหรัฐ มีวิศวกรเป็นทีมพัฒนา 15 คนทำงานให้ Google

ในสหรัฐอเมริกาได้มี 4 รัฐ กับหนึ่งเขตปกครองพิเศษ คือรัฐแคลิฟอร์เนีย เนวาดา ฟลอริดา และมิชิแกน และเมืองวอชิงตัน ดีซี อันเป็นเมืองหลวงของประเทศ ที่ได้เปิดให้มีการใช้รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยระบบหุ่นยนต์นี้ Google หวังว่าภายในปี ค.ศ. 2020 หรืออีก 5 ปีข้างหน้าจะได้เปิดให้มีบริการรถยนต์ไร้คนขับนี้ในเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการ

จนล่าสุดเดือนกันยายน ได้เร็วสูงสุดไม่เกิน 25 ไมล์ต่อชั่วโมง เพื่อจำกัดโอกาสเกิดอุบัติเหตุรุนแรง
รถยนต์ไร้คนขับของ Google หรือ Self-Driving Car – SDC

Google หรือ Self-Driving Car ขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ไม่มีพวงมาลัย ไม่มีเบรก ไม่มีคันเร่ง ในเบื้องต้นจำกัดความเร็วไม่เกิน 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพื่อความปลอดภัย รถขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์ที่ชื่อ Google Chauffeur ในปัจจุบันได้มีทดลองใช้งานใน 4 รัฐของสหรัฐอเมริกา คือ แคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีอุตสาหกรรมด้าน ICT และคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ เนวาดา ฟลอริดา ซึ่งเป็นเมืองมีประชากรผู้สูงอายุอยู่มาก และรัฐมิชิแกน ซึ่งยังมีเมืองและบริเวณ Detroit เป็นฐานผลิตรถยนต์ที่สำคัญของประเทศ


ในโลกนี้มีประมาณ 200 ประเทศ คิดว่าประเทศไทยคงอยู่ในกลุ่ม 50 ประเทศท้ายๆที่จะใช้ Self Driving Car เพราะต้องมีการฝึกวินัยด้านการจราจรขั้นพื้นฐาน และมีการปรับปรุงถนนหนทางให้เข้ามาตรฐานกลางที่ดีเสียก่อน แต่หากเป็นการเริ่มทดลองใช้กับบางเมืองที่มีลักษณะเป็นเมืองปิด เช่นใช้ในมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ในต่างจังหวัด ใช้เพื่อการส่งสารภายในมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นการนำร่อง เพื่อให้ได้เรียนรู้นิสัยการใช้รถยนต์ของคนไทย ก็ย่อมจะเป็นไปได้ครับ


ภาพ วิศวกรพัฒนา Google car รถยนต์ไร้คนขับ

Friday, December 11, 2015

เมเจอร์ลีกซอกเกอร์ (Major League Soccer) ในทวีปอเมริกาเหนือ

เมเจอร์ลีกซอกเกอร์ (Major League Soccer) ในทวีปอเมริกาเหนือ

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

 ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: sports, กีฬา,ฟุตบอล, soccer, football, อเมริกันฟุตบอล, American Football, Major League Soccer – MLS, Thai Premier League – TPL

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia
ขอแนะนำสมาคมฟุตบอลใหญ่ในทวีปอเมริกาเหนือ หรือ Major League Soccer – MLS ใช้เวลาในการเติบโตเพียง 23 ปี


ภาพ ทีม Portland Timbers ชนะเลิศฟุตบอลอาชีพของอเมริกาเหนือ ได้ถ้วย Major League Soccer - MLS ไปครองเป็นครั้งแรกในปลายปี 2015 นี้ หลังจากเข้าร่วมฟุตบอลอาชีพนี้มาได้เพียง 5 ปี

ในประเทศสหรัฐอเมริกาในทวีปอเมริกาเหนือ หากเรียก Football เขาหมายถึงกีฬาอเมริกันฟุตบอล (American Football) ที่สามารถเล่นได้ด้วยการพาลูกวิ่งไปข้างหน้าด้วยมือ หรือขว้างไปข้างหน้าและมีผู้รอรับได้ ในสหรัฐอเมริกาฟุตบอลลูกกลมๆอย่างที่เรารู้จัก ที่ใช้เตะหรือเลี้ยงไปด้วยเท้า เขาเรียกว่า ซอคเคอร์ (Soccer)

สมาคมฟุตบอลใหญ่ในทวีปอเมริกาเหนือ หรือ Major League Soccer – MLS

เพื่อให้สอดคล้องกับการสื่อสารเป็นสากล ผู้เรียบเรียงจึงใช้คำว่าฟุตบอล (International football) มากกว่าจะเป็นคำว่า “ซอคเคอร์” (Soccer) ซึ่งจะสับสนกับคนทั่วโลกที่ไม่คุ้นกับคำนี้

ในประเทศไทย เรารู้จักกับฟุตบอลสโมสร (Football Club – FC) ซึ่งเป็นฟุตบอลอาชีพ ต่างจากฟุตบอลโรงเรียน ฟุตบอลมหาวิทยาลัย/อุดมศึกษา หรือฟุตบอลสมัครเล่น

สมาคมฟุตบอลอาชีพใหญ่ของไทย คือ Thai Premier League – TPL ซึ่งเทียบได้กับในอเมริกาเหนือ อันประกอบด้วยสหรัฐอเมริกาและแคนาดา คือ Major League Soccer (MLS) ซึ่งเป็นสมาคมฟุตบอลแบบนานาชาติใหญ่ในสหรัฐอเมริกา

MLS ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสโมสรฟุตบอล 20 ทีม มี 17 ทีมในสหรัฐอเมริกา และ 3 ทีมจากแคนาดา MLS มีฤดูการแข่งขันที่เริ่มในเดือนมีนาคม ถึงเดือนตุลาคม แต่ละทีมเล่น 34 ครั้ง ทีมที่มีสถิติดีที่สุดในฤดูการแข่งขันจะได้โล่ห์ (Supporters’ Shield) ส่วนหลังจากนั้นจะมีการแข่งขันรอบแพ้คัดออก คัดจากทีมที่ดีที่สุด 12 ทีม แข่งกันในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ผู้ชนะเลิศจะได้ถ้วย MLS Cup

MLS ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1993 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตบอลนานาชาติชิงแชมป์โลกในปี ค.ศ. 1994 (1994 FIFA World Cup) ในการแข่งขันฤดูกาลแรกในปี ค.ศ. 1996 มีทีมสโมสรเข้าร่วม 10 ทีม ในช่วง 2-3 ฤดูการแรก MLS ประสบปัญหาทางการเงิน ขาดทุนไปหลายล้านเหรียญ การแข่งขันเป็นอันมากใช้สนามอเมริกันฟุตบอลขนาดใหญ่ ที่เต็มไปด้วยที่นั่งว่างเปล่า ในช่วงนี้มี 2 ทีมที่ต้องเลิกล้มไปในปี ค.ศ. 2002 หลังจากนั้น MLS เริ่มประสบความสำเร็จมีทีมเข้าร่วม 20 ทีม เจ้าของทีมมีการสร้างสนามสำหรับฟุตบอลสากลโดยเฉพาะ (Soccer-specific stadiums) จำนวนผู้เข้าชมการแข่งขันเริ่มเพิ่มขึ้นเกินความคาดหมายจนเกินการแข่งขันกีฬาฮอคกี (National Hockey League – NHL) และแม้แต่การแข่งขันบาสเกตบอลอาชีพ (National Basketball Association – NBA) MLS ได้รับสัญญาสนับสนุนจากสถานีโทรทัศน์ระดับชาติ (National TV contracts) และสมาคมฟุตบอลเองก็สามารถทำกำไรได้แล้ว

ในเชิงการบริหาร แทนที่จะมีสมาคมของเจ้าของทีมที่เป็นอิสระมารวมตัวกัน แต่ MLS เป็นองค์กรที่มีความเป็นนิติบุคคล ที่ซึ่งแต่ละทีมมีเจ้าของและควบคุมโดยผู้ลงทุน (Investors) เจ้าของและผู้ลงทุน (Investor-operators) นี้จะควบคุมทีมของตนเหมือนเจ้าของควบคุมทีมในแต่ละสมาคม (leagues) สมาคม (League) มีสมาชิกจำกัด เหมือนสมาคมกีฬาอื่นๆในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา สมาคมไม่ได้ใช้วิธีการเลื่อนชั้นหรือลดชั้น (Promotion and relegation) MLS มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองนิวยอร์ค ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา


Major League Soccer

ประเทศ
Country
สหรัฐอเมริกา
United States
สโมสรอื่นๆ
Other club(s) from
แคนาดา
Canada
สหพันธ์
Confederation
ก่อตั้งเมื่อ
Founded
17 ธันวาคม 2536
December 17, 1993[1]
แบ่งออกเป็นกลุ่ม
Conferences
กลุ่มตะวันออก
Eastern Conference
กลุ่มตะวันตก
Western Conference
จำนวนทีมเข้าร่วม
Number of teams
ระดับของปิรามิด
Level on pyramid
การขับออกจากกลุ่ม
Relegation to
ไม่มี
None
การแข่งขันชิงถ้วยในประเทศ
Domestic cup(s)
ถ้วยของสหรัฐอเมริกา
U.S. Open Cup
ถ้วยของแคนาดา
Canadian Championship
ชิงถ้วยนานาชาติ
International cup(s)
ผู้ชนะถ้วยล่าสุด
Current MLS Cup
Portland Timbers (1st title)
(2015)
ผู้สนับสนุนโล่ห์
Current Supporters' Shield
New York Red Bulls (2nd shield)
(2015)
สโมสรที่ได้ถ้วยมากที่สุด
Most MLS Cups
LA Galaxy (5 titles)
สโมสรได้โล่มากที่สุด
Most Supporters' Shields
2 ทีม ได้แก่
D.C. United และ LA Galaxy (4 shields)
ทีวีที่สนับสนุน
TV partners
ในสหรัฐอเมริกา
United States
ในแคนาดา
Canada
เวบไซต์
Website

Wednesday, December 9, 2015

ประโยชน์และอันตรายจากนิวเคลียร์ฟิวชั่น (Nuclear Fusion)

ประโยชน์และอันตรายจากนิวเคลียร์ฟิวชั่น (Nuclear Fusion)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: ยุโรป, สหภาพยุโรป, Europe, European Union, EU,พลังงาน, พลังงานทางเลือก, alternative energy, สหรัฐอเมริกา, USA, Nuclear fusion, ฟิชชัน, fission, ฟิวชั่น, fusion

เก็บความจาก “The Tantalizing Promise And Peril Of Nuclear Fusion”  จากนิตยสาร Forbes


ภาพ จาก Tokamak ที่ JET fusion lab ในสหราชอาณาจักร ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าที่จะสร้างโดยITER

ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ในโลกกำลังมองหาเทคโนโลยีที่ทำให้เรามีพลังงานใช้ได้อย่างแทบไม่รู้จบ นั่นคือเทคโนโลยีเกี่ยวกับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่น (Nuclear Fusion Reactor)

เทคโนโลยีฟิวชั่น (Fusion technology) นี้มักถูกมองข้าม เพราะมองเห็นว่าเป็นเทคโนโลยีที่ยังไม่พร้อม แต่ถ้าหากจะมีความพร้อม Lawrence Livermore National Laboratory ให้ความเห็นว่าสหรัฐอเมริกาน่าจะอยู่ในสถานะที่พร้อมที่สุดที่จะเปลี่ยนความคิดนี้ ปัจจุบันสถาบันนี้มีโครงการที่จะใช้เงิน USD3,500 ล้าน หรือประมาณ 119,000 ล้านบาท เพื่อการวิจัยและพัฒนานี้

Fusion แตกต่างจาก Fission ซึ่งเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูในยุคปัจจุบันสร้างพลังงานใช้ Fission
ฟิชชัน (Fission) คือการแตกอะตอม (Splitting atoms apart) แต่ฟิวชัน (Fusion) คือกระบวนการที่ทำให้อะตอมรวมตัวกัน เป้าหมายคือการให้ความร้อนก๊าซไฮโดรเจนให้ร้อนกว่า 100 ล้านดีกรีเซลเซียส ซึ่งจะทำให้อะตอมผนึกเข้าหากัน แทนที่จะแตกแยกออกไป

ความร้อนที่จะใช้นี้มหาศาล แปลไม่ผิดครับ “100 million degrees Celsius

หากนักวิทยาศาสตร์ทำสำเร็จ ผลคือจะสามารถผลิตพลังงาน 10 ล้านเท่าของปฏิกิริยาทางเคมีทั่วไป ดังเช่นการเผาถ่านหิน (Fossil fuels) และในกระบวนการนี้จะไม่มีการปล่อยคาร์บอนหรือสารกัมมันตภาพหลงเหลือออกมา

แต่ก่อนที่จะถึงจุดนั้นสมาคมระหว่างประเทศ (International consortium) ได้ใช้เงินไปแล้ว USD 20,000 ล้านหรือ 680,000 ล้านบาท ในการวิจัยและพัฒนา โครงการ International Nuclear Fusion Project หรือ ITER มุ่งเป้าหมายไปที่สร้างเครื่องปฏิกรณ์สาธิต (Demonstration reactor) ในประเทศฝรั่งเศสภายในปี ค.ศ. 2019 รัฐสมาชิกประกอบด้วยสมาชิกของสหภาพยุโรป และรวมถึงรัสเซีย ญี่ปุ่น จีน อินเดีย และเกาหลีใต้ได้เข้ามีส่วนร่วมด้วย ทั้งด้วยการจ่ายสนับสนุนให้นำทรัพยากรและทักษะทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่จะใช้ในโครงการนี้

หากทำสำเร็จ ผลที่ได้อย่างเป็นรูปธรรมในการลงทุนกับ Nuclear fusion คืออะไร? คำตอบคือ เทคโนโลยีสนามแม่เหล็ก (Magnet technology) ซึ่งใช้ในวงการแพทย์ ดังเช่น การสร้างภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (Magnetic resonance imagery) ที่จะทำให้แพทย์สามารถมองเห็นภายในสมองของมนุษย์อย่างครบถ้วน

Michael Claessens หัวหน้าฝ่ายการสื่อสารของ ITER ได้อธิบายแก่ผู้สื่อข่าวว่า เทคโนโลยี Superconducting และวัสดุศาสตร์ก้าวหน้า (Advanced materials) จะเป็นอีกสองด้านที่จะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีฟิวชั่นนี้

งานก่อสร้างโครงการต้นแบบของ ITER ที่จะมีขึ้นในประเทศฝรั่งเศสนี้จะใช้เงินประมาณ 13,000 ล้านยูโร หรือ 515,056 ล้านบาท ซึ่งชาติสมาชิกของ ITER ร่วมกันจ่าย คิดเป็นมูลค่าประมาณร้อยละ 1 จากงบประมาณการวิจัยและพัฒนาภาครัฐที่มีอยู่ Claessens กล่าวว่า ชาติสมาชิกทั้งหลายเห็นว่าเป็นการลงทุนที่ดี

สิ่งที่เป็นปัญหาในโลกมนุษย์นี้คือพลังงาน Fusion Technology นี้จะปลอดภัยและมีล้นเหลืออย่างเกือบไร้ขีดจำกัด และเป็นสิ่งที่ดีที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนการเผาไหม้ถ่าน หรือแม้แต่นิวเคลียร์ปกติที่ยังมีสารกัมมันตภาพหลงเหลืออยู่


แต่ปัญหาที่อยู่ในใจของคนที่ไม่เห็นด้วยกับเทคโนโลยีฟิวชั่นนี้ คือผลของโครงการนี้จะให้พลังงานได้มากพอกับพลังงานที่ต้องใช้เพื่อกระบวนการฟิวชั่นนี้หรือไม่

Friday, November 27, 2015

การศึกษาแบบมอนเตสซอรี (Montessori education)

การศึกษาแบบมอนเตสซอรี (Montessori education)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: การศึกษา, การศึกษาก่อนวัยเรียน, อนุบาลศึกษา, การศึกษาแบบมอนเตสซอรี, Montessori education


มาเรีย มอนเทสซอรี แพทย์และนักการศึกษา

การศึกษาแบบมอนเตสซอรี (Montessori education) เป็นการศึกษาที่พัฒนาโดยแพทย์และนักการศึกษาชาวอิตาลีชื่อมาเรีย มอนเตสซอรี (Maria Montessori, August 31, 1870 – May 6, 1952) เป็นการศึกษาที่เน้นการสร้างความเป็นอิสระ (Independence) เสรีภาพที่มีเขตจำกัด (Freedom within limits) เคารพในพื้นฐานทางจิดวิทยา ร่างกาย และสังคมของเด็ก ซึ่งแต่ละคนมีแตกต่างกัน ถึงแม้ว่าจะมีคนนำแนวคิดนี้ไปใช้ แต่ก็มีความแตกต่างกัน สมาคมมอนเตสซอรีของอเมริกัน (Association Montessori Internationale (AMI) และ American Montessori Society (AMS) ได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญของการศึกษาในแนวนี้คือ

·       การมีชั้นเรียนคละกลุ่มอายุ (Mixed age classrooms) โดยในชั้นเรียนมีเด็กตั้งแต่วัย หรือ 3 ถึงปี ซึ่งพบเห็นโดยทั่วไป
·       นักเรียนมีทางเลือกในกิจกรรมจากฝ่ายจัดการ (Range of options)
·       มีช่วงเวลาเรียน/ทำงาน (Blocks of work time) ยาวโดยไม่มีการขัดจังหวะ ซึ่งโดยอุดมคติยาวถึง 3 ชั่วโมง

ใช้แนวคิดการศึกษาแบบ Constructivist* หรือการค้นพบด้วยตนเอง (Discovery model) ที่ซึ่งนักเรียนได้เรียนรู้แนวคิดจากการทำงานกับวัสดุ มากกว่าเป็นการพร่ำสอนโดยตรง (Direct instruction)

·       มีวัสดุการเรียนที่พัฒนาโดยมอนเตสซอรีและผู้ร่วมงานของเธอ
·       นักเรียนสามารถเคลื่อนไหวไปได้ทั่วห้องเรียนอย่างเสรี
·       ครูในแบบมอนเตสซอรีต้องได้รับการฝึกอบรม (A trained Montessori teacher)


โรงเรียนแบบมอนเตสซอรี (Montessori schools) หลายแห่งได้ออกแบบโปรแกรมที่อ้างว่าเป็นไปตามรูปแบบพัฒนาของมนุษย์จากพื้นฐานงานเขียนของมอนเตสซอรี ใช้หลักครุศาสตร์ (Pedagogy) บทเรียน (Lesson) และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ เริ่มตั้งแต่การฝึกหัดครูที่มีจัดเป็นชุดวิชาเรียนที่นำเสนอโดยมอนเตสซอรี่ในช่วงชีวิตของเธอ

Wednesday, November 11, 2015

รถยนต์ไฟฟ้าในละแวกบ้าน (Neighborhood Electric Vehicle – NEV)

รถยนต์ไฟฟ้าในละแวกบ้าน
(
Neighborhood Electric Vehicle – NEV)
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: การขนส่ง, transportation, การเดินทาง, commuting, สิ่งแวดล้อม, environment, รถยนต์ไฟฟ้า, electric car, EV, รถยนต์ไฟฟ้าในละแวกบ้าน, NEV, รถยนต์ไฟฟ้าความเร็วต่ำ, Low Speed Electric Vehicles, Battery Electric Vehicles – BEVs,


ภาพ รถยนต์ไฟฟ้าแบบ NEV ชื่อ Twizy ที่พัฒนาและผลิตโดย Nissan-Renault

รถยนต์ไฟฟ้าในละแวกบ้าน (Neighborhood Electric Vehicle – NEV) ตามการเรียกในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicles – BEVs) ใช้วิ่งบนถนนโดยจำกัดความเร็วไม่เกิน 45 ไมล์/ชั่วโมง หรือ 72 กม./ชั่วโมง ซึ่งยังมีความแตกต่างกันในระหว่างรัฐ โดยทั่วไปรถยนต์แบบนี้สร้างมาให้ใช้ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 25 ไมล์/ชั่วโมง หรือ 40 กม./ชั่วโมง น้ำหนักรถรวมการบรรทุกไม่เกิน 3,000  ปอนด์ (1400 กก.) NEVs อยู่ในข่ายที่ทางรัฐบาลกลางสหรัฐเรียกว่า “รถยนต์ความเร็วต่ำ” (Low Speed Vehicles) ซึ่งอาจรวมถึงรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แตกต่างกัน เช่น ใช้พลังงานเผาไหม้ พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ หรืออื่นๆ

NEVs มีชุดแบตเตอรี่ที่รับพลังไฟฟ้าจากการเสียบปลั๊กจากบ้านหรือที่ต่างๆในแบบมาตรฐาน (Standard outlet) ไม่ปล่อยควันเสีย พลังงานที่จะทำไฟฟ้าอาจได้จากพลังแสงอาทิตย์ (Solar power) หรือพลังจากลม (Wind power) NEVs จึงไม่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas emissions) ในรัฐแคลิฟอร์เนียทางฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา คณะกรรมการที่ควบคุมสภาวะอากาศ (California Air Resources Board - CARB) รถยนต์ไม่มีการเผาไหม้ (Zero Emissions Vehicles – ZEVs)

NEVs หากนำมาใช้ในประเทศไทย จะเป็นประโยชน์ดังนี้ คือ

1.    ไทยสามารถผลิตเองได้อย่างไม่ยาก เป็นการสร้างอุตสาหกรรมรถยนต์แบบพึ่งพาตนเองได้ เหมือนที่เราผลิตรถตุ๊กตุ๊ก (Tuk Tuks) เทคโนโลยีต่างๆไม่ยากเกินความสามารถ แต่หากมีการต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูงขึ้น ก็สามารถนำเข้าชิ้นส่วนบางอย่างจากต่างประเทศได้
2.    มีประโยชน์ในการใช้ระดับชุมชน หมู่บ้าน ลำเลียงคนจากภายในซอยหรือถนนย่อยไปสู่ถนนใหญ่ ซึ่งเส้นทางการคมนาคมดังกล่าวไม่จำเป็นต้องใช้ยานยนต์ที่มีระยะทางการวิ่งยาว (Range) ปัจจุบันในประเทศไทย เรายังใช้รถยนต์สามล้อเครื่อง (Tuk Tuks) และรถมอเตอร์ไซค์สองล้อ (Motorcycles) ซึ่งต้องใช้น้ำมันที่นำเข้าจากต่างประเทศ และรถมอเตอร์ไซค์สองล้อบรรทุกคนได้น้อย และมีปัญหาด้านความปลอดภัย ในเมืองใหญ่หลายแห่งในประเทศจีนได้เริ่มจำกัดการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ใช้เครื่องยนต์เผาไหม้ แต่ให้หันไปใช้รถสองล้อไฟฟ้า (E-bikes) ในแบบต่างๆ
3.    NEVs เป็นรถยนต์ 4 ล้อ บางประเทศจัดให้อยู่ในพวกจักรยานสี่ล้อ หรือ Quadricycles มีความปลอดภัยในการขับขี่ ปลอดภัยมากกว่าขี่รถสองล้อ โดยเฉพาะเมื่อมีฝน หิมะ หรือถนนเป็นน้ำแข็งลื่น
4.    NEVs ถูกกำหนดให้เป็นรถยนต์ความเร็วต่ำ มาตรฐานความแข็งแรงและความปลอดภัยลดลงกว่ารถยนต์ทั่วไป น้ำหนักรถก็สามารถลดลงได้มาก ซึ่งอาจเป็น 200-400 กก. และเมื่อเป็นรถยนต์ที่ไม่ได้ออกแบบต้องวิ่งระยะยาวๆระหว่างรัฐหรือจังหวัด แบตเตอรี่ก็ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้มีต้นทุนแบตเตอรี่ไม่สูง ราคารถยนต์โดยรวมจึงลดลง ราคาหากผลิตในประเทศไทยน่าจะอยู่ในระดับเดียวกับรถตุ๊กตุ๊ก หรือไม่เกิน 200,000 บาท/คัน

ในสหรัฐอเมริกาที่นิยมใช้รถยนต์ขนาดใหญ่ ใช้พลังงานจากเครื่องยนต์เผาไหม้ แต่ก็ได้มีแนวโน้มที่จะใช้ยานพาหนะที่ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงมีการสร้างชุมชนแบบใหม่ที่เหมาะแก่การใช้รถยนต์ไฟฟ้า NEVs นี้ ดังเช่นที่

·       ชุมชนเซเลเบรชัน รัฐฟลอริดา (Celebration, Florida)
·       ชุมชนเดอะวิลเลจ รัฐฟลอริดา (The Villages, Florida)
·       เมื่อพีชทรี รัฐจอร์เจีย (Peachtree City, Georgia)

ชุมชนเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อให้เป็นมิตรกับคนสูงวัยที่เกษียนจากงาน แต่ยังสามารถใช้ยานพาหนะที่วิ่งด้วยความเร็วต่ำ เดินทางไปจับจ่ายของในเมือง หรือในกิจกรรมสันทนาการในระแวกบ้านได้
นอกจากนี้ยังมีชุมชนอื่นๆที่อนุญาตให้ใช้ NEVs ได้ เช่นที่

·       อลามิดา รัฐแคลิฟอร์เนีย (Alameda, California)
·       พุทอินเบย์ รัฐโอไฮโอ (Put-in-Bay, Ohio)
·       พลายา วิสต้า เมืองลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย (Playa Vista, Los Angeles, California)
·       เมืองลินคอล์น รัฐแคลิฟอร์เนีย (Lincoln, California)
·       เมืองโคโรนาโด รัฐแคลิฟอร์เนีย (Coronado, California)

·       ลีฟแรปิด มินิโตบา ประเทศคานาดา (Leaf Rapids, ManitobaCanada)


ภาพ รถยนต์ไฟฟ้าแบบ NEVs ที่มีใช้ในบริษัท Google สหรัฐอเมริกา


ภาพ รถแบบ NEV ที่สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 6 คนและมีที่เก็บสัมภาระด้านหลัง เหมาะแก่การใช้งานในที่พักตากอากาศ


ภาพ รถแบบ NEV ที่นั่งได้ 4 คน มีที่เก็บของง่ายๆบนหลังคา




ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า Twizy โดย Nissan-Renault แบบมีประตูข้าง ใช้แบตเตอรี่แบบ Lithium-ion สามารถใช้วิ่งในเมืองใหญ่ได้ แต่ไม่เหมาะจะวิ่งบนทางด่วน

Wednesday, October 21, 2015

คนดีสร้างทีม All Blacks ที่ดียิ่งขึ้น

คนดีสร้างทีม All Blacks ที่ดียิ่งขึ้น

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การกีฬา, sports, รักบี้, rugby, ประเทศนิวซีแลนด์, New Zealand, All Blacks, ความเป็นผู้นำ, leadership, การจัดการ, management

ศึกษาและเรียบเรียงจาก The All Blacks guide to being successful (off the field) เคล็ดลับของทีม All Blacks รักบี้ทีมชาติของประเทศนิวซีแลนด์ ที่เราอาจเรียนรู้การสร้างความสำเร็จ ไม่ว่าจะในอาชีพใดๆ หรือองค์การใดๆ เขียนโดย James Kerr, 14 Nov 2013


ภาพ ทีม All Blacks ชายชุดดำทั้งชุด เสื้อ การเกง และถุงเท้า

ความนำ

เมื่อเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา James Kerr จาก Telegraph ได้เขียนถึงทีมกีฬาที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลก ทีม All Blacks ทีมชาติรักบี้ของประเทศนิวซีแลนด์ ในช่วงกว่า 100 ปีที่ผ่านมามีอัตราการชนะกว่าร้อยละ 75 เป็นทีมชนะเลิศที่มากที่สุดไม่ว่าในกีฬาใดๆ


ภาพ การเต้น Haka ของทีม All Blacks เป็นการเรียกขวัญและกำลังใจในการแข่งขัน ไปแข่งในประเทศไหน เขาก็จะเต้น Haka นี้ นับเป็นสีสันของทีม

แต่ในปี ค.ศ. 2004 บางสิ่งบางอย่างเลวลง ในการแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์โลก นักรักบี้อาวุโสของทีมขู่จะลาออก การลงโทษทางวินัยเพราะเมาสุราและก่อความวุ่นวาย และยิ่งแย่กว่านั้น All Blacks ก็แพ้กันอย่างต่อเนื่อง

เพื่อตอบสนองต่อปัญหานี้ Graham Henry ได้เริ่มสร้างทีมรักบี้ใหม่อีกครั้ง เริ่มแบบจากภายในออกสู่ภายนอก (Inside out) เขาสร้างวัฒนธรรมใหม่ ให้ความสำคัญในบุคลิกภาพและความเป็นผู้นำของผู้เล่นแต่ละคน (Character and personal leadership) ด้วยปรัชญาที่ว่า “คนดีสร้างทีม All Black ที่ดียิ่งขึ้น ('Better People Make Better All Blacks') ผลก็คือทีมกลับมาสร้างสถิติชนะร้อยละ 86 และเป็นแชมป์ในรักบี้ชิงแชมป์โลกในปี ค.ศ. 2011

5 เหตุผลที่ยิ่งใหญ่ที่ All Blacks ประสบความสำเร็จ ที่เราไม่ว่าจะกีฬาใด เป็นคนอาชีพใด หรือองค์กรใดๆ ควรเรียนรู้

1. ปัดกวาดสถานที่ให้สะอาด
Sweep the sheds

จะดูคนว่ามีวินัยและเป็นคนอย่างไร ให้ดูห้องแต่งตัวของนักกีฬา ว่าเมื่อเสร็จการแข่งขันแล้ว เขาดูแลกันอย่างไร ในทีม All Blacks คนระดับดาราอย่าง Richie McCaw, Dan Carter และ Mils Muliana เขาจะดูแลปัดกวาดสถานที่ของตนเอง

Andrew Mehrtens อดีตผู้เล่น All Blacks อธิบายว่าความอ่อนน้อมถ่อมตน (Humility) เป็นคุณลักษณะหนึ่งของทีมนี้

ถึงแม้ทีมจะเกรียงไกรเพียงใด เล่นดุดันเพียงใด แต่ความอ่อนน้อมถ่อมตนถือเป็นค่านิยมที่สำคัญ ซึ่งลักษณะนี้สำคัญยิ่งสำหรับกีฬาอย่างรักบี้ รักบี้เป็นกีฬาประทะ (Contact sports) มีคนตัวใหญ่ แข็งแรง ไม่เชื่อฟังกรรมการ ไม่พอใจก็ต่อยกันในสนาม หรือขณะเล่นก็แอบทำร้ายฝ่ายตรงกันข้าม เกมส์ก็จะหมดความน่าดู ถ้าอย่างนี้คนก็ไปดูมวย หรือมวยปล้ำเสียจะดีกว่า รักบี้ต้องเป็นกีฬาของสุภาพบุรุษ ต้องช่วยกันรักษากติกา เคารพกติกา เคารพกรรมการตัดสิน ลดความรุนแรงโหดเหี้ยมที่ทำให้คนบาดเจ็บหรือถึงตายได้ในเกมส์ลงไป


ภาพ Dan Carter ขณะกำลังเตะทำคะแนน

2. ตามหัวหอก
Follow the spearhead

ในภาษาเมารี (Maori) คำว่า วานาอู (Whanau) หมายถึงครอบครัวใหญ่ ซึ่งเป็นความหมายของหัวหอก (Spearhead) หัวหอกจะเกิดพลังเมื่อทุกส่วนของตัวหอกส่งกำลังตามไปที่หัวหอก ในทิศทางเดียวกัน หอกไม่เหมือนกับดาบที่ใช้ฟาดฟัน หอกมีไว้พุ่งเข้าใส่

ในการเลือกผู้เล่นของทีม นอกจากเขาจะเลือกจากคนที่มีพรสวรรค์ ศักยภาพ เขายังต้องดูบุคลิกภาพ (Character) ซึ่งหมายถึงคนที่มีคุณค่าที่สุดนั้น คือคนที่ไม่มีความอิจฉาริษยากัน คนที่ช่วยเหลือคนในทีมเดียวกัน มองทีมทั้งหมดเป็นหนึ่งเดียว เหมือนหัวหอกที่ต้องส่งกำลังไปด้วยกัน ตัวอย่าง ผู้เล่นรุ่นใหม่อย่าง Julian Savea หรือ Nehe Milner-Skudder ตัววิ่งทำไทรของทีม ในอดีตเคยเล่นพลาดมาแล้ว แต่เพื่อนร่วมทีมก็จะให้กำลังใจ และโอกาสในการเข้าไปวางไทรซ้ำๆเพื่อให้เกิดความมั่นใจ ในเกมส์รักบี้ ความเป็นดาราและอัตตาของแต่ละคนอาจเป็นจุดบอดของทีม ทีมต้องเล่นเป็นหนึ่ง เล่นอย่างเสียสละเพื่อชัยชนะของส่วนรวมในที่สุด

3. คนเป็นแชมเปียนต้องทำงานหนักกว่าคนอื่น
Champions do extra

Brad Thorn อดีตผู้เล่นของ All Blacks กล่าวว่า แชมป์ต้องทำงานหนักกว่าคนอื่น” (Champions Do Extra) ทัศนคติเช่นนี้ที่ทำให้เขาเป็นผู้ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของวงการรักบี้

ปรัชญาง่ายๆก็คือหาทางแม้แต่เล็กๆน้อยๆเพื่อให้ทำได้มากกว่าที่เคย ไม่ว่าจะในโรงยิม ในสนาม หรือกับทีม กีฬารักบี้ก็เหมือนกับทุกกีฬา จะแพ้ชนะกันที่สำคัญนั้นคือความพยายามอย่างไม่หยุดยั้ง อึดกว่าเขาในยามต้องอดทน เร็วกว่าเขาอีกเล็กน้อยเพื่อหลบหลีกได้ ในเกมส์รักบี้ที่สำคัญ คือเอาชนะคู่แข่งที่แข็งแกร่งที่สุด แม้เพียงจะเล็กน้อย

ดังนั้นการมุ่งพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สร้างบรรยากาศเรียนรู้ใหม่ๆ และมุ่งมั่นแม้จะต้องเสื้อเปื้อนเลิอด นั่นคือวัฒนธรรมของ All Blacks


ภาพ Brad Thorn

4. เก็บรักษาหัวสีน้ำเงิน
Keep a blue head

หลังจาก All Blacks ต้องตกรอบใน 2003 World Cup ทีม All Blacks ต้องทำงานร่วมกับจิตแพทย์นิติวิทยาศาสตร์ Ceri Evans เพื่อเข้าใจการทำงานของสมองในช่วงมีความกดดัน เพราะในช่วงที่สำคัญแล้วทีมกลับหมดพลังไปเสียเฉยๆนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร

สภาวะของ “หัวแดง” (Red Head) เป็นสภาวะที่ไม่เกิดประโยชน์ ช่วงที่งานไม่เดิน เกิดความตระหนก และไม่มีประสิทธิภาพ “หัวน้ำเงิน” (Blue Head) เป็นสภาวะตรงกันข้าม เป็นช่วงที่เหมาะที่สุดที่ใจจดจ่อกับงาน และทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถที่สุด

ทีม All Blacks เปลี่ยนความคิดแบบหัวแดงเป็นหัวน้ำเงิน Richie McCaw กระทืบเท้าจัดฐานตัวเองตั้งมั่น ในขณะที่ Kieran Read ใช้มองไปที่ส่วนไกลของสนาม เพื่อมองหาภาพรวมใหญ่ (Big picture)
พฤติกรรมเช่นนี้กระตุ้นให้ผู้เล่นมุ่งที่ความชัดเจน ความแม่นยำ ขจัดความกดดันในการทำหน้าที่ออกไป


ภาพ Richie McCaw

5. รักษาเสื้อเอาไว้ในที่อันควร
Leave the jersey in a better place

ทีม All Blacks มักมีคำกล่าวว่า “รักษาเสื้อทีมเอาไว้ในที่อันควร” (Leave the jersey in a better place.) หน้าที่ของแต่ละคนคือเป็นตัวแทนของทีมก่อนอื่นใด เริ่มที่ผู้เล่นอย่าง George Nepia ถึง Colin Meads, Michael Jones ถึง Jonah Lomu และคนอื่นๆที่ตามหลังมา All Black คือแบบอย่างสำหรับนักเรียนทั่วทั้งนิวซีแลนด์

ความเข้าใจในความรับผิดชอบนี้สร้างสำนึกของเป้าหมายที่สูงขึ้น เป็นบทเรียนที่ดีสำหรับทุกคน เมื่อเขาต้องเล่นในเกมส์ที่สำคัญ เขาจะเล่นอย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

คนดีๆสร้างทีม All Blacks ไม่ใช่เขาที่มาร่วมทีมแล้วเป็นนักกีฬาที่ดี แต่เมื่อเขาเข้าสู่วงการอาชีพหลังชีวิตนักกีฬา เขาจะเป็นแพทย์ที่ดียิ่งขึ้น เป็นทนาย นายธนาคาร นักธุรกิจที่ดียิ่งขึ้น เป็นพ่อ พี่น้อง และเพื่อนที่ดีขึ้น

เก็บความจากหนังสือของ James Kerr ผู้แต่ง “Legacy: What the All Blacks Can Teach Us About the Business of Life. 15 Lessons In Leadership” จัดพิมพ์โดย Constable
------------------

คนดีสร้างทีมกีฬาที่ดี และกีฬาก็ดีตรงสร้างคน

ที่น่าสนใจคือทั้งประเทศนิวซีแลนด์มีประชากร 4 ล้านคน เทียบไม่ได้กับออสเตรเลีย (23.9 ล้านคน) อัฟริกาใต้ (54.9 ล้านคน) อังกฤษ (53.0 ล้านคน) ฝรั่งเศส (66.0 ล้านคน) แต่ด้านรักบี้ All Blacks ถือว่าเป็นตำนานของรักบี้ในโลก ยิ่งกว่านั้นที่น่าสนใจคือเขาสร้างแรงจูงใจนักกีฬาอย่างไรให้มุ่งสู่ความเป็นเลิศ นอกเหนือจากเงินรางวัล

รักบี้คือกีฬาประจำชาติของนิวซีแลนด์ ช่วงต่อไปนี้จะคุยกันเรื่อง “กีฬาสร้างคน” ครับ




Sunday, September 27, 2015

ความเป็นผู้นำ - มองโดยไม่เห็น สู่เห็นโดยไม่ต้องมอง

ความเป็นผู้นำ - มองโดยไม่เห็น สู่เห็นโดยไม่ต้องมอง

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การจัดการ, Management, ความเป็นผู้นำ, leadership, มองโดยไม่เห็น, เห็นโดยไม่ต้องมอง, ตำรวจ, ทหาร, การสืบราชการลับ


ภาพ จากภาพยนตร์เรื่อง The Untouchables (1987)  มาโลน (Sean Connery) คือคนที่สองจากซ้าย สารวัตรเนส (Kevin Costner) คนที่สามจากซ้าย

คนจะเป็นผู้นำ และนำในหมู่คนที่มีทั้งดีและไม่ดี ดังเช่นในวงการตำรวจและทหาร จะทำอย่างไร เพื่อนผู้มีประสบการณ์คนหนึ่งเขาแนะเทคนิค

บางทีการไปแสดงความสนิทสนมกับพวกคนไม่ดี ก็มีผลเสีย คนอื่นๆที่เขาเป็นคนดี เขาก็สงสัยว่าทำไมไปสุงสิงกับคนไม่ดี ทำไมต้องไปง้อคนไม่ดี คนดีๆที่จะร่วมงานด้วยก็ไม่มั่นใจในตัวเรา

คนเป็นผู้นำจึงต้องรู้จักวางตัว วางระยะห่างจากผู้คน “ต้องฝึกเห็นโดยไม่ต้องมอง” แทนที่เราจะไปมอง หรือจ้องมอง แล้วจริงๆก็ไม่เห็น แต่เป็นในอีกลักษณะหนึ่ง คือฝึกสมาธิ พัฒนาส่วนรับรู้ต่างๆ ใช้เครื่องมืออื่นๆ และมุมมองอื่นๆ ที่ทำให้เห็นโดยไม่ต้องมอง โดยสายตาเรามองเห็นทั้งหมดใน 120 องศาขึ้นไป แม้เราไม่จ้องไปที่จุดนั้นๆ แต่เราก็มองเห็นเพียงพอ การติดตามดูพฤติกรรมของเจ้านาย เพื่อน หรือลูกน้องก็เช่นกัน เราไม่จำเป็นต้องไปเฝ้าดูเขา แต่ก็มีวิธีการที่จะรู้ได้ว่าเขามีพฤติกรรมอย่างไร

เล่าตัวอย่างจากภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ The Untouchables (1987) เกี่ยวกับอเมริกาในยุคอาชญากรครองเมืองราวๆ ทศวรรษ 1930s ในการปราบเจ้าพออาชญากรครองเมืองดังเช่น แอล คาโปน (Al Capone) สารวัตรเอลเลียต เนส (Eliot Ness) แสดงโดย Kavin Costner จากหน่วยปราบของรัฐบาลกลาง เขาไม่รู้สภาพความเป็นไปในเมืองที่พวกโจรได้ซื้อตำรวจส่วนหนึ่งเอาไว้แล้ว อะไรที่เขาอยากจะทำ แล้วใช้กำลังตำรวจในท้องที่เข้าบุกค้น ก็มีแต่ความล้มเหลว เพราะโจรได้รับข้อมูลจากตำรวจไปก่อนแล้ว

สารวัตรเนสพยายามมอง แต่ไม่เห็น เขาเปลี่ยนใหม่ เป็นเห็นโดยไม่ต้องมอง เขาเลือกทีมงานของเขาเอง เขาเลือกทีมงานเล็กๆของเขาเอง เขาเริ่มด้วยเลือก จิมมี มาโลน (Jimmy Malone) แสดงโดย Connery ตำรวจน้ำดีสูงวัยที่ไม่ถูกซื้อเหมือนคนอื่นๆ มาโลนคือตาของสารวัตรเนส ที่ทำให้เขาเห็นเบื้องลึกของวงการตำรวจ รู้เห็นมากมายในสิ่งที่สารวัตรเนสเองไม่อาจเห็น เขาเลือกคนร่วมงานอื่นๆจากระบบของท้องที่ ชนิดที่ไม่มีอะไรผูกพันกับโครงสร้างตำรวจท้องที่เดิม


และนี่คือจุดเริ่มต้นของความสำเร็จของ “เห็นโดยไม่ต้องมอง”

Wednesday, September 2, 2015

อะไรคือสาเหตุของการคอรัปชั่นในแต่ละประเทศ?

อะไรคือสาเหตุของการคอรัปชั่นในแต่ละประเทศ?

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, governance, คอรัปชัน, corruption, ยากจน ไร้เงินทอง, penniless, สิ้นหวัง, hopelessness, รู้สึกไร้อำนาจ, powerlessness,

ภาพ การรณรงค์ต่อต้านคอรัปชันนานาชาติ


ภาพ ซูฮาร์โต อดีตประธานาธิบดีแห่งอินโดนีเซีย ผู้นำและนักการเมือง 1 ใน 10 ที่โกงมากที่สุดในโลก


ภาพ โมบูตู เซเซ เซโกะ (Mobutu Sese Seko) ทำหน้าที่ประธานาธิบดีของประเทศคองโก จากปี ค.ศ. 1965 ถึง ค.ศ. 1997 เป็นผู้นำและนักการเมือง 1 ใน 10 ที่โกงมากที่สุดในโลก


ภาพ เฟอร์ดินานด์ มาร์คอส อดีตประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์ ผู้นำและนักการเมือง 1 ใน 10 ที่โกงมากที่สุดในโลก

ในโลกนี้ ประเทศที่มักจะตกอยู่ในวงจรอุบาท (Vicious circles) ภายใต้รัฐบาลเผด็จการทหาร หรือเผด็จการรัฐสภา เกิดปัญหาคอรัปชัน แล้วก็อ่อนแอลงไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นความสิ้นหวังของชาติ 

สาเหตุอย่างน้อย 4 ประการ ที่มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ

1.    ยากจน ไร้เงินทอง (Penniless) ประเทศในอัฟริกา หลายประเทศในอาหรับ ลาตินอเมริกา และรวมถึงเอเซียมักมีปัญหาความยากจน แต่ประเทศที่กำลังพัฒนาและหลุดพ้นจากความยากจน ปัญหาคอรัปชัน และเผด็จการก็จะลดลงไป ดังเช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ซึ่งเป็นตัวอย่างของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ที่ท้ายสุดนำไปสู่การพัฒนาทางการเมืองได้

2.    ไร้ความหวัง (Hopeless) แม้ประเทศที่เคยเป็นประชาธิปไตยมาก่อน ดังเช่นฟิลิปปินส์ แต่เพราะความสับสนทางการเมือง เปิดโอกาสให้มีการยืดอำนาจ และในที่สุดก็เข้าสู่วงจรเผด็จการเบ็ดเสร็จ ดังในสมัยประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์คอส เผด็จการในแบบนี้มักจะรู้จักวิธีการให้ความหวัง แม้เป็นความหวังที่ลมๆแล้งๆไปเรื่อยๆ

3.    ไร้อำนาจ (Powerless) ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของวงจรที่ประชาชนคนชั้นกลางไม่ใส่ใจในการเมือง รู้สึกว่าตัวเองสู้ไปก็ไม่ชนะ สู้การเมืองแบบประชานิยมไม่ได้ และเพราะความรู้สึกไร้อำนาจจึงไม่อยากเข้าไปมีบทบาททางการเมืองใดๆ ซึ่งก็ยิ่งเปิดโอกาสในการเมืองถลำลึกเข้าไปวงจรอุบาทมากยิ่งขึ้น

4.    ไร้การศึกษา (Educationless) คำว่าการศึกษาในที่นี้ไม่ได้หมายความถึงการศึกษาอย่างเป็นทางการ การวัดกันด้วยปริญญา หรือประกาศนียบัตรต่างๆ แต่หมายถึงการศึกษาที่ทำให้คนรับรู้สภาพแวดล้อม รู้การอาชีพ พัฒนาการอาชีพ รู้บทบาทและความรับผิดชอบของตนเองในสังคมและประเทศชาติ หากประเทศใดขาดการศึกษาในลักษณะดังกล่าว ก็จะยิ่งทำให้ประเทศถลำลึกไปสู่วงจรอุบาท ในหลายประเทศในอาหรับ คนมีการศึกษา แต่กลับไม่มีงาน อยู่ในประเทศตนเองก็นับว่าจะยิ่งยากจน เพราะไม่มีงานทำ แถมเสี่ยงในเรื่องความขัดแย้งของคนในชาติอย่างไม่รู้จบ ดังนี้คนในชาติก็จะยิ่งอ่อนแอ ไร้อำนาจ เผด็จการก็จะคงอยู่ต่อไปเรื่อยๆ


ย้อนกลับมาประเทศไทย เราจะหลุดพ้นจากวงจรอุบาทได้ ก็ต้องร่วมกันพัฒนา ส่งเสริมให้คนมีการศึกษา หลุดพ้นจากความยากจน มีความหวังในชีวิต และกระจายอำนาจ ให้เขามีอำนาจในการปกครองตนเอง ให้เขาได้เรียนรู้ในความสำเร็จและล้มเหลวในการเข้ามีส่วนร่วมในทางการเมืองทั้งในระดับล่าง ชุมชน จนไปถึงในระดับชาติ