ปัญหาการใช้ ICT ของครูมัธยมศึกษาในประเทศไทย
Keywords: 126, ICT, master teachers
Title: การ ศึกษาสภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 10
Other Titles: A study of state and problems concerning the use of information and communication technology in science instruction of teachers in secondary schools participating in SchoolNet Thailand Project under the Department of General Education, educational region ten
Authors: กรรณิการ์ พิมพ์รส
Advisor: อลิศรา ชูชาติ
Subjects: โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย
เทคโนโลยีสารสนเทศ, คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน, วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
(มัธยมศึกษา)
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract:
ศึกษา สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 10 ตัวอย่างประชากรคือ ครูวิทยาศาสตร์ฯช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 ในโรงเรียนดังกล่าว จำนวน 411 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเรื่อง สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศฯ ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ พบว่า มีครูวิทยาศาสตร์ 55.96% ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศฯ ในการเรียนการสอน สำหรับครูวิทยาศาสตร์ที่ใช้ฯ นั้นพบว่า 93.09% ใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด เพื่อสร้างสื่อการเรียนการสอนและพบว่า 64.06% ใช้เวลาในเรื่องดังกล่าวน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ชม./เดือน ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนพบว่า ครูวิทยาศาสตร์ฯ 77.43% ใช้เพื่อนำเสนอเนื้อหาบทเรียนรองลงมา 60.00% ใช้ในการบันทึกผลการทดลองในบทเรียน โปรแกรมที่ใช้คือ ไมโครซอฟต์เวิร์ด และคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
สำหรับบทเรียนที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศฯ พบว่า ครูวิทยาศาสตร์ฯ ในช่วงชั้นที่ 338.64% ใช้ในการเรียนการสอน สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต และช่วงชั้นที่ 4
ครูวิทยาศาสตร์ฯ 24.65% ใช้ในสาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร นอกจากนี้มีครูวิทยาศาสตร์ฯ 77.16% ใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เอกเซลล์ เพื่อจัดเก็บหรือประมวลผลการเรียนของนักเรียน และใช้เวลาในเรื่องนี้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ชม./เดือน
2. ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศฯ ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์พบว่า ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศฯ ครูวิทยาศาสตร์ฯ 83.91% รองลงมา 78.23% และ 77.39% มีความคิดเห็นว่า จำนวนห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานในเวลาเดียวกัน จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอกับความต้องการของครูและนักเรียน และจำนวนอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ ตามลำดับ ด้านงบประมาณพบว่า ครูวิทยาศาสตร์ฯ 82.17%มีความคิดเห็นว่า งบประมาณการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ ด้านการบริหารจัดการพบว่า ครูวิทยาศาสตร์ฯ 67.83% รองลงมา63.04% มีความเห็นว่า โรงเรียนขาดการฝึกอบรมครูแกนนำเพื่อช่วยเหลือครูคนอื่น และขาดการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศฯ ในการเรียนการสอนของแต่ละรายวิชาตามลำดับ
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับครู ด้านความรู้ความเข้าใจ พบว่า ครูวิทยาศาสตร์ฯ 71.30% มีปัญหาเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นในการประเมินโปรแกรมที่เหมาะสม 69.13% มีปัญหาในการสร้างสื่อการสอนบนเว็บในช่วงชั้นที่ 3 ครูวิทยาศาสตร์ฯ 72.73% มีปัญหาเกี่ยวกับภาษาอังกฤษเพื่อใช้สื่อสารและสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต ส่วนช่วงชั้นที่ 4 ครูวิทยาศาสตร์ฯ69.72% มีปัญหาเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นในการทำงานของอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับ คอมพิวเตอร์ด้านทักษะ ครูวิทยาศาสตร์ 79.13% มีความคิดเห็นว่าตนเองมีปัญหาด้านการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ด้านเจตคติ พบว่า ครูวิทยาศาสตร์ฯ มีเจตคติทางบวกต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศฯ มาใช้ในการเรียนการสอนทุกด้าน แต่ขณะเดียวกันพบว่า ครูวิทยาศาสตร์ฯ ยังมีความวิตกกังวลในการใช้ และขาดความมั่นใจในแก้ปัญหาขณะใช้ รวมทั้งครูวิทยาศาสตร์ฯ มีความรู้สึกกลัวและอายที่จะใช้คอมพิวเตอร์ต่อหน้านักเรียน ในระดับมากเช่นกัน
ผมได้เข้าไปค้นพบบทคัดย่องานวิจัยนี้ ซึ่งได้ทำเกี่ยวกับครูสายวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ข้อสรุปค้นพบนำเสนออย่างง่าย แต่อ่านแล้วเข่้าใจในสถานภาพของครูไทยได้ดี
ReplyDeleteประเด็นคือผมอยากทราบเ้พ้ิ่่มเติมว่า หลังจากการทำวิจัยฉบับนี้ ซึ่งเป็นช่วงก่อนปี พ.ศ. 2546 หรืออย่างน้อย 6 ปีมาแล้ว แล้วปัจจุบัน คือ 2552 นี้ สถานภาพของครูมัธยมศึกษาของไทยในสายวิทยาศาสตร์ หรือในทุกสายวิชาการเป็นอย่างไร หากใครมีข้อมูลช่วยเล่าให้ฟังด้วย หรือหากใครต้องการทำวิจัยต่อเนื่อง ทาง SpringBoard For Asia Foundation (SB4AF) ยินดีให้ความร่วมมือครับ